สรุปพื้นฐานกลุ่มธนาคารและกลยุทธ์ในการลงทุน โดย คุณ ธนเดช บล พาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2646
ผู้ติดตาม: 273

สรุปพื้นฐานกลุ่มธนาคารและกลยุทธ์ในการลงทุน โดย คุณ ธนเดช บล พาย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุป พื้นฐานกลุ่มธนาคารและกลยุทธ์การลงทุน
ธนเดช รังษีธนานนท์ บล พาย จำกัด(มหาชน)
By Seminar Knowledge page

เนื้อหาบรรยาย
1.พื้นฐานหุ้นธนาคาร
2.งบการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน
3.กลยุทธ์การลงทุน
4.Top picks

1.พื้นฐานหุ้นธนาคาร
ธนาคารอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
แหล่งที่มาของเงินที่เข้าธนาคาร
1.เงินฝากจากประชาชน
2.ดอกเบี้ยจากผู้ให้ยืม
3.ค่าธรรมเนียมการให้บริการ
เงินจากธนาคารไปที่
1.ให้กู้กับธุรกิจ ,ปล่อยสินเชื่อบ้าน,ปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล
2.ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม เช่น เงินเดือน ภาษี
3.ดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับผู้ฝากเงินหรือหุ้นกู้
4.เงินที่ต้องตั้งสำรองไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแบ่งเป็น
1.Commercial Bank 13แห่ง
2.SFIs ธนาคารเฉพาะกิจ 6 แห่ง

ณ สิ้นปี2022 มีสินเชื่อรวม 15.4 ล้านล้านบาท เงินฝากรวม 16.8 ล้านล้านบาท สินทรัพย์รวม 24.3 ล้านล้านบาท
และเศรษฐกิจไทยรวม 16.6 ล้านล้านบาท

สินเชื่อลดลงจากปี1997 เนื่องจากวิกฤตต้มยำกุ้ง และกลับมาเท่าเดิมในปี2007 ใช้เวลา10ปี
ตอนวิกฤต IMF บอกให้ไทยขึ้นอัตราดอกเบี้ย ธุรกิจล้มหายไปเยอะ
US เจอวิกฤตsubprime แต่วิธีแก้ไขต่างจากไทย คือ ลดดอกเบี้ย
ประเทศมาเลเซีย มหาเธร์ สั่งปิดประเทศ ซึ่งตอนนั้นโดนด่า แต่เวลาพิสูจน์แล้วว่าแก้ปัญหาได้ถูกต้อง

ผลการดำเนินงานย้อนหลังและหนี้เสีย
เวลาดูกลุ่มธนาคาร ไม่ได้ดู DE Ratio ปกติpeak ได้ถึง 9-10 เท่า เพราะมีฐานเงินฝาก แต่ถ้าliabilityถูกดึงไว้ อาจมีปัญหาเหมือนปี1997 ซึ่งช่วงนั้น ธนาคารไทยขาดทุน300,000ล้านบาท และ NPL ขยับไปที่ 40กว่า%
ซึ่งต้องตั้งสำรองสูงมาก จนหลายธนาคารต้องปิดตัว หรือไปควบรวมกับธนาคารอื่น
ปกติ NPL ขึ้นทุกไตรมาส แต่ไม่มีปัญหา ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของธนาคารเพราะ
หนี้ตรงนี้คิดเป็น 30%เอง อีก70%เป็นของNon Bank เพราะธนาคารกระจายพอร์ตในการปล่อยสินเชื่อได้ดี
Retail 30%, SME 30% และ Corporate 30-40%
สินเชื่อของธนาคารใหญ่6แห่ง (BBL,KTB,KBANK,SCB,BAY,TTB) คิดเป็น 87%
และ เงินของธนาคารใหญ่6แห่งคิดเป็น 85%

สาขาธนาคารครั้งนึงเคยเพิ่มขึ้นและ พีคปี2015 7,000สาขา จากนั้นค่อยๆปิดสาขาลง SCBผิดพลาดมีสาขาเยอะสุด
ช่วงหลังSCBเป็นธนาคารที่ลดสาขาลงเร็วสุด และ KBANKเริ่มลดสาขาตาม

2.งบการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน
งบแสดงฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์
-รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน เป็นการรับรู้ทางบัญชีที่เกิดขึ้น
-เงินลงทุนสุทธิ มาจากที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีสภาพคล่องสูง
-สินเชื่อคงค้าง เป็นคีย์สำคัญ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับธนาคาร
-หักค่าผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดจะเกิดขึ้น ซึ่งปกติตั้งสำรองจากข้อมูลในอดีต พอมีIFRS9 ก็เลยมีข้อนี้ขึ้นมา

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
-รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ คิดเป็น 70%ของรายได้ทั้งหมด
-รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เช่น รายได้จากบลจ และ ประกันชีวิต ประกันภัย ซึ่งค่อนข้างswing
ส่วนกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินวัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไร ซึ่งธนาคารขนาดใหญ่เช่น ธ สีน้ำเงิน
ชอบทำตอนกำไรเยอะ ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ยากมาก
-ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(สำรองหนี้)
เมื่อก่อนจะแบ่งเป็น
1.Specific provision ตั้งสำรองตามสินเชื่อที่ปล่อย
2.General provision ตั้งสำรองเผื่อเอาไว้
ต่อมาโลกยุคใหม่ตัว General provision เปลี่ยนเป็น State1,2,3แทน’
Management Overlay เป็นสำรองส่วนเกินคล้ายกับ Generative provision

งบแสดงฐานะทางการเงิน หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ
การประกาศของทพ1 ทุกเดือน เอาไว้ดูประกอบเท่านั้น ก็จะบอกว่า ดี หรือ ไม่ดีในระยะสั้น มีผลต่อการเทรด
ตัวเลขFixed asset net ไม่ค่อยขยับแล้ว เพราะช่วงหลัง ไม่ค่อยลงทุนอะไรใหม่
ส่วนนี้ ดูรายการว่า มีรายการไหนที่กระโดดขึ้นมา ค่อยนำมาวิเคราะห์หาผลกระทบ
ดังนั้นเวลาลงทุน จะลงทุนในธนาคารที่ไม่ overstate

หลักการวิเคราะห์แบบ CAMEL
-Capital ( C ) : BIS ratio , Tier1 capital
-Asset Quality ( A ) : NPLs, NPL Ration , NPL Coverage , ECL model (Provision)
-Management (M) : Business Strategy , Customer targeting ,Dividend policy
-Earning (E) : Loan growth , Earning growth , Net interest margin (NIM) , CIR , ROE,ROA
-Liquidity (L) : Loan to deposit ration , Liquidity ratio

Earning ( E ) :
ประเภทสินเชื่อ : Corporate loans , Government and state enter loans, SME loans , Retail loans ,Micro Finance (จำนำทะเบียน จำนำที่ดิน รถเพื่อการเกษตร และ Nano & Pico finance)
จะเห็นว่า ธนาคารDBS asset ใหญ่กว่าธนาคารไทย 3เท่า และ ROA 10กว่า% ส่วนธนาคารไทย 7-8%
ดังนั้นธนาคารไทย เพิ่มการเติบโตโดยไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ส่วนสินเชื่อรวมหดตัวในQ2 2023 จากสินเชื่อ SME

Portสินเชื่อ รอบนี้ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อcorporate เติบโตมาก ยิ่งช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ได้ประโยชน์เยอะสุด เช่น BBL,KTB แต่สำหรับธนาคารที่เน้นปล่อยSME จะมีปัญหาเยอะเพราะretailมีปัญหา

ตัวอย่าง การขยายสินเชื่อของSCB
Yield on loan ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 2Q22 to 2Q23 ( 4.92% to 5.85% ) เพราะปล่อยกลุ่ม SME,Corporate
NIM ขยับขึ้น จาก 3.17% to 3.7% Y on Y
Cost of funds ขยับขึ้นจาก 0.65 to 1.26 %

ประเภทของเงินฝาก
CASA : เงินฝากกระแสรายวัน , ออมทรัพย์ , เงินฝากประจำ (fixed) แต่ไม่รวมเงินฝากพิเศษ เช่น 5 เดือน ดอกเบี้ยสูง
สัดส่วนเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่ CASA สูงประมาณ 82-85% เพราะต้นทุนถูก ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์เลย

NIM ปรับสูงขึ้นล้อกับทิศทางดอกเบี้ยของไทย
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากแบ่งเป็น3case
Case1 NIM สูงขึ้น ปรับดอกเบี้ยกู้มากกว่าดอกเบี้ยฝาก ในช่วงเทรนดอกขาขึ้น
Case2 NIM ลดลง การลงทุนในหุ้นธนาคาร ขาดความน่าสนใจ
Case3 NIM ทรงตัว ดอกเบี้ยขึ้นลงในทิศทางเดียวกัน

ค่าธรรมเนียม
รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ= รายได้ค่าธรรมเนียม - ค่าใช้จ่ายบริการ
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย = รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ + กำไรจากเงินลงทุน + ดอกเบี้ยรับ + กำไรพอร์ตลงทุน + รายได้อื่นๆ

KBank เจาะตลาดSME แต่SMEมีปัญหา และยังมีปัญหาจากstark อีก ที่perform คือ ธนาคารที่ลูกค้า Big Corporate
ส่วนธุรกิจประกัน ล้อไปกับเศรษฐกิจ ถ้าดีจะขายประกันง่าย แต่ถ้าไม่ดี การจ้างงานเยอะสุดคือSME
ถ้าSMEแย่ โอกาสในการขายประกันก็น้อย

CIR ( อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงาน )
CIR (Cost to income ratio) = ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน/รายได้จากการดำเนินงาน
รายได้จากการดำเนินงาน = รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ + รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
ในปี2020 พอร์ตลงทุนขาดทุน ทำให้ CIR เพิ่มขึ้น

ความสามารถในการทำกำไร : กำไรก่อนสำรองหนี้และภาษี , กำไรสุทธิ และ ROE
จะเห็นว่า ช่วงปี2011-12 ROE สูงถึง 16% ปัจจุบันอยู่ที่ 8.8%

Liquidity (L)
LDR (Loan to deposit ration) = สินเชื่อ / เงินฝาก

ปกติ LDR ไม่ค่อยมีปัญหา ยกเว้นปี1998 เงินไหลออก ยกเว้นธนาคารขนาดเล็ก
KKP,Tisco สูงหน่อย สาขาไม่เยอะ
ตัวอย่าง BBL
Loan to deposit ration : ในระบบ 90%up สำหรับBBL 84%

Asset quality (A) :
NPL ratio : ระบบ ประมาณ 3% , แต่ละธนาคารประมาณ 2-3%
บางไตรมาสกำไรดีมาก เอารายได้มาunrealize gain มาเติมเป็นสำรอง
Coverage ratio : ประมาณ 140-170%

Loan staging and credit risks
State1 : หนี้ทั่วไป
State2: ระยะเวลา 30-90วัน
State3: หนี้เสีย

Capital ( C ):
Tier1 capital >= 8.5-9,5%
BIS ratio >= 11-12%
ทั้งกลุ่ม ทำได้เกินเป้าหมาย
Banks’Tier 1 Capital , BIS ratio

Management ( M ):
Ex: SCB strategy & Business Plan
ได้ลงทุนเชิงระบบมาsupport Gen1,2
โดย GEN2 คือ cardx , auto , Digital lending

3.กลยุทธ์ในการลงทุน
Bernard Baruch : บอกว่า ยากที่จะขายในราคาสูงสุด และ ซื้อในราคาที่ต่ำสุด

วงจรชีวิตของความมั่งคั่งแบ่งเป็น
1.ระยะสะสม
2.ระยะมั่นคง
3.ระยะใช้จ่าย
4.ระยะอุทิศ

สินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้ คือ หุ้น ตราสารหนี้ และ เงินฝาก
ซึ่งระดับความเสี่ยงและผลตอบแทน ขึ้นกับประเภทสินค้า

วิธีการลงทุน จะมีสองแบบคือ
1.Top-Down Investing.
2.Bottom-up Investing
Investment Process
1. Asset allocation : Stock,Bond,cash
2. Sub-asset allocation : Geographic , sector , market cap.
3.Stock selection :
4.Market timing : Entry / Exit Strategies

Major Investment Strategies :
1.Value Investing
2.Growth Investing
3.Momentum Investing
4.Technical Investing

วัฏจักรเศรษฐกิจและการลงทุน
ช่วงถดถอย มีAsset ตราสารหนี้ พันธบัตร และ หุ้นกลุ่มการบริโภค ดี
ช่วงฟื้นตัว มีหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ น่าสนใจ
ช่วงเฟื่องฟู ทองคำน่าสนใจสุด
ช่วงถดถอย บวกกับ เงินเฟ้อ เงินฝากน่าสนใจ
ช่วงถดถอย มีตราสาร พันธบัตรน่าสนใจ

การลงทุนในช่วงเงินเฟ้อ และ เงินฝืด
สินทรัพย์แต่ละประเภท ในแต่ละจังหวะไม่เท่ากัน
Inflation เงินเฟ้อกำลังเพิ่มสูงเรื่อยๆจนถึงจุดสูงสุด สินทรัพย์ทุกอย่างติดลบหมด
Disinflation เงินเฟ้อเริ่มปรับตัวลดลงมา
Deflation เงินเฟ้อติดลบกลายเป็นเงินฝืด
Reflation เงินฝืดที่จุดต่ำสุด ค่อยๆฟื้นตัวจนเริ่มบวก

Sector Rotation : Market Timing
1. Market bottom กลุ่ม Finance Technology cyclicals ดี
2. Full recession กลุ่ม Technology Industrials Basic Materials ดี
3. Early Recovery กลุ่ม Basic Material , Energy , Staples. ดี
4. Full Recovery กลุ่ม Energy ,Staples , Healthcare ดี
5. Early Recession กลุ่ม Healthcare , Utilities
ราคาหุ้น จะเคลื่อนไหว ตามeventsที่เข้ามา ส่วนระยะยาว ราคาหุ้นจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน
อัตราการเติบโตของกำไร คุณภาพสินเชื่อ และ ความสามารถการทำกำไร (ROE)

Headwinds vs Tailwinds
Headwinds ความท้าทาย
เช่น ศก โลก ชะลอตัว กระทบส่งออก , อัตราดอกเบี้ยโลกทรงตัวสูงและยาวนาน
Tailwinds โอกาส
เช่น ศก ไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

น้ำหนักการลงทุน แนะนำ มากกว่าตลาด เช่น BBL , KTB , SCB

มาดูนโยบายพรรคเพื่อไทย
กระเป๋าเงินดิจิตอล 10,000 บาท
ความท้าทาย คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ วินัยการคลัง และ หนี้สาธารณะ อัตราเงินเฟ้อ
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และ เสถียรภาพของรัฐบาล
ปีนี้คาดว่า สินเชื่อจะโตต่อเนื่องปานกลางราว 3.0-4.5%
สินเชื่อสุทธิของธนาคารหดตัว 0.7% YTD
แม้คุณภาพสินเชื่อทรงตัว ธนาคารเน้นตั้งรับ เพิ่มสำรองหนี้ รับความเสี่ยง 2Q23 NPLลดลงที่3.6%,
Coverage ration เพิ่มเป็น 184%
ส่วนหนี้ครัวเรือนสูง กดดันการบริโภคระยะยาว และ เสี่ยงต่อหนี้เสียสูงขึ้น
NIMเป็นขาขึ้นล้อกับทิศทางดอกเบี้ยเป็นผลบวกต่อกลุ่มธนาคาร
คาดว่ากำไรของกลุ่มจะเติบโต 18%ในปีนี้ และปีหน้าเหลือ 12%
ROE จะโตมากกว่า 12%ยาก ยกเว้น SCB ที่มีแยกธุรกิจออกมา น่าจะทำได้สูงกว่า12%

ROE คือ ทุกสิ่ง ถ้าต่ำกว่าเดิม ต่างชาติก็ยังไม่จ่ายราคาหุ้น โดยPB มากกว่าหรือเท่า1เท่า

4.Top Picks
สรุปมุมมองการลงทุน ให้น้ำหนักกลุ่มธนาคาร มากกว่าตลาด เราชอบธนาคารขนาดใหญ่ เลือก BBL,KTB,SCB
หุ้นปันผลเลือก TISCO,TCAP

สุดท้าย ขอขอบคุณ ทาง คุณเอ๋ Thaivi และ บล พาย ที่จัดสัมมนาครั้งนี้
โพสต์โพสต์