SPELT/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1937
- ผู้ติดตาม: 376
SPELT/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
Value Investor จำนวนมาก “ถูกสอน” ไม่ให้สนใจภาวะเศรษฐกิจการเมืองหรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่ “ไม่เกี่ยว” กับบริษัทที่เราจะลงทุน พวกเขาอ่านหนังสือของ ปีเตอร์ ลินช์ ที่บอกว่าเราไม่ควรสนใจว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญก็คือตัวกิจการหรือบริษัทหรือหุ้นที่เราจะลงทุน ถ้ามันดีเสียอย่าง เราก็ไม่ต้องกังวล ราคาหุ้นนั้นจะปรับตัวตามผลประกอบการของบริษัท ไม่ใช่ตามภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้น VI ยังมีประสบการณ์โดยตรงจากเหตุการณ์ในประเทศไทยเอง ทั้งเรื่องภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงมาต่อเนื่องแต่ทั้งหมดก็ไม่ได้กระทบต่อหุ้นมากนัก พวกเขาพบว่าเมื่อเกิดภาวะรุนแรงหรือวิกฤติเศรษฐกิจหุ้นก็อาจจะลงหนักแต่หลังจากนั้นมันก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤติด้วยซ้ำ นอกจากนั้น เมื่อพูดถึงการเมืองที่เกิดเหตุการณ์รุนแรง บางทีแทนที่หุ้นจะลงมันกลับปรับตัวขึ้น ดังนั้น VI จึงค่อนข้างจะเชื่อและมั่นใจว่าเราไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องภาวะเศรษฐกิจ การเมือง หรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เป็น “ภาพใหญ่” สิ่งที่เราต้องวิเคราะห์ก็คือตัวบริษัทว่ามันเป็นอย่างไรและอาจจะถูกกระทบโดยตรงอย่างไรจากปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น
ผมเองคิดว่าแนวความคิดดังกล่าวนั้นอาจจะถูกต้องเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะในตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา เหตุผลไม่ใช่เพราะว่าปัจจัยภายนอกนั้นไม่ได้มีอะไรที่จะกระทบกับการลงทุน แต่เหตุผลนั้นเป็นเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น “ไม่เคย” กระทบกับการทำธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจะมีบ้างก็เป็นช่วงสั้น ๆ ไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี และดังนั้น เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม และในระยะยาวแล้ว สภาพแวดล้อมก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และดังนั้น VI ที่ไม่ได้สนใจกับเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ก็ไม่เกิดความเสียเปรียบหรือเสียหาย นาน ๆ เข้าเราก็เลยรู้สึกว่าเราไม่ต้องสนใจกับการวิเคราะห์ “ภาพใหญ่” ให้เสียเวลา และถ้ายิ่งไป “คิดมาก” ก็อาจจะทำให้เรากระวนกระวายใจหรือกลัวและอาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้
แต่ความเป็นจริงก็คือ ภาพใหญ่นั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญและมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปอย่าง “ถาวร” ซึ่งจะกระทบกับกิจการหรือบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุน อย่าลืมว่า กิจการนั้นเหมือน “ปลา” และภาพใหญ่นั้นเหมือน “น้ำ” ถ้าน้ำนั้นมีปัญหาหรือไม่เหมาะสม ปลาจะอยู่ลำบาก ถ้าน้ำเป็น “พิษ” ปลาก็อยู่ไม่ได้ ที่ผ่านมานั้นน้ำค่อนข้างจะ “สะอาด” และอยู่ในสภาพที่ดี เราก็เลยไม่รู้สึกอะไร เราไม่รู้สึกว่าคุณภาพของน้ำนั้นมีความสำคัญและเราไม่สนใจที่จะต้องเฝ้าดูและติดตาม แต่เราไม่รู้หรอกว่าน้ำ โดยเฉพาะของประเทศไทยนั้น อาจจะเปลี่ยนไปได้มากมายและกลายเป็นพิษที่อาจจะทำลายปลาได้ การวิเคราะห์ภาพใหญ่หรือปัจจัยภายนอกนั้น ถ้าจะให้ครอบคลุมเราควรใช้กรอบที่เรียกว่า “SPELT” ซึ่งเป็นคำย่อของคำต่อไปนี้:
S มาจากคำว่า Social หรือสังคม สิ่งที่เราจะต้องตามก็คือ พฤติกรรมของคนไทยในเรื่องต่าง ๆ เราต้องรู้ว่าสังคมไทยนั้นเป็นอย่างไร มีอะไรที่แตกต่างจากชาติอื่นและเป็นเพราะอะไร และการเปลี่ยนแปลงจะไปทางไหนและเกิดขึ้นเมื่อไรและจะส่งผลกระทบอะไรบ้างโดยเฉพาะกับหุ้นที่เราลงทุน วิธีการวิเคราะห์นั้น ประเด็นใหญ่ก็คือการสังเกตพฤติกรรมของคนทั่วไป คนรอบข้าง ดูว่าเป็นใครและอายุเท่าไร การอ่านข่าวสารทางสังคมในแวดวงต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เป็นคนชั้นนำ เช่น เหล่า “ดารา” ในวงการต่าง ๆ “ไอดอล” ของคนแต่ละกลุ่มเป็นใคร ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ดูการ “เปลี่ยนแปลง” ที่เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นตัวที่จะกระทบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทและต่อหุ้นในที่สุด ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราเห็นการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างชัดเจนในช่วงนี้ก็คือ การที่คนมักจะ “ก้มหน้าจิ้มเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่นาน ๆ” หรือการที่ผู้หญิงหรือแม้แต่ผู้ชายบางคนทำศัลยกรรมหรือปรับแต่งใบหน้าและร่างกายส่วนอื่นกันจนเป็นเรื่อง “ปกติ” หรือการที่คนหนุ่มสาวต่างก็มีคอนโดมิเนียมกันแพร่หลายและอาศัยอยู่กันเป็นบ้านหลังแรกเป็นต้น
P มาจากคำว่า Politics นี่คือเรื่องของการเมือง เราต้องวิเคราะห์ว่าแนวโน้มของการเมืองไทยนั้นจะเป็นอย่างไรและมันจะกระทบกับเศรษฐกิจและธุรกิจโดยรวมอย่างไร ประเด็นก็คือ การเมืองที่อันตรายที่สุดของตลาดหุ้นก็คือ ระบบการเมืองที่ “ปิดประเทศ” หรือทำให้ประเทศกลายเป็นประเทศปิดเนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลก อันตรายต่อมาก็คือ การเมืองที่ทำให้เกิดความวุ่นวายเนื่องจากคนไทยกลุ่มใหญ่บางกลุ่มไม่ยอมรับ “กติกา” ในการเข้าสู่อำนาจในการปกครองและนำไปสู่การต่อสู้หรือการรบพุ่งจนทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินไปได้เป็นปกติอย่างเช่นที่เกิดในประเทศตะวันออกกลางบางประเทศ เป็นต้น ตรงกันข้าม ระบบการเมืองที่เอื้ออำนวยที่สุดต่อตลาดหุ้นและบริษัทก็คือ ระบบเสรีประชาธิปไตยอย่างที่เป็นในประเทศที่ก้าวหน้าทั้งหลาย
E มาจากคำว่า Economics นี่คือเรื่องของเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ผมไม่ใคร่สนใจภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ แค่ปีหรือสองปี เพราะผมคิดว่ามันไม่ค่อยจะมีผลอะไรกับบริษัทในระยะยาว สิ่งที่ผมสนใจติดตามและวิเคราะห์ก็คือ การเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศว่ามันจะไปถึงไหน? การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ผมมักจะดูถึง “โปรไฟล์” ของประชากรคนไทย ซึ่งรวมถึงอายุ ความสามารถ และรวมถึงทำเลที่ตั้งของประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องของ “โครงสร้าง” ที่ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งสิ่งที่ผมจะพยายามหาข้อสรุปก็เช่น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะโตต่อไปได้ประมาณปีละกี่เปอร์เซ็นต์และจะโตไปได้อีกกี่ปี คำตอบของผมก็อาจจะเป็นว่า ประเทศไทยก็อาจจะโตแบบค่อนข้างเร็วต่อไปได้อีกซัก 10 ปี หลังจากนั้นคงจะโตช้าลงหรือหยุดโต กลายเป็นประเทศที่ “ติดกับดัก” ชาติที่มีรายได้ปานกลางเหมือนอย่างอาร์เจนตินาหรืออีกหลาย ๆ ประเทศ เป็นต้น และถ้าเป็นแบบนั้น การลงทุนของผมจะทำอย่างไร?
L มาจากคำว่า Legal หรือกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมาและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือบริษัทหรือต่อความมั่งคั่งของเราในแง่ของการลงทุนในหุ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงที่จะเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนในหุ้น แบบนี้ก็เห็นได้ชัดว่าทำให้ผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นลดลง ราคาหุ้นคงถูกกระทบอย่างรุนแรงเพราะเป็นเรื่องที่กระทบกับหุ้นโดยตรง ยังมีกฎหมายมากมายที่อาจจะกระทบกับบริษัทโดยรวมหรือกระทบอย่างแรงต่อบางบริษัทในด้านของผลประกอบการ แบบนี้เราก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และในบางครั้งเราก็ต้องลงมือทำอะไรบางอย่างถ้าดูแล้วว่าความเสี่ยงที่มันจะเกิดขึ้นนั้นสูงพอควรเป็นต้น
สุดท้ายก็คือ T ซึ่งมาจากคำว่า Technology นี่คือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่นับวันเกิดบ่อยและเร็วขึ้นมากจนเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่งของการลงทุนโดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเทคโนโลยี หลาย ๆ บริษัทต้องล้มหายตายจากหรือมีผลประกอบการตกต่ำลงมากอย่างรวดเร็วก็เพราะเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่หรือมาทำลายความเข้มแข็งเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหนังสือและเทปเพลงที่ถูกอินเตอร์เน็ตเข้าแย่งชิงตลาดไปมาก เป็นต้น ดังนั้น การติดตามเรื่องของเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะกิจการที่อาจจะอยู่ในข่ายที่ถูกกระทบอย่างรุนแรงได้
ก่อนที่จะจบบทความนี้ ผมขอพูดย้ำอีกครั้งว่าภาพใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการลงทุนของเรานั้นมักจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของระยะสั้นที่เรามักจะไม่ต้องทำอะไร อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งมันก็อาจจะมีผลกระทบและเมื่อเกิดขึ้นก็มักจะแรงกว่าที่คิดและเราอาจจะต้องทำอะไรบางอย่างเช่น อาจจะต้องขายหุ้นทิ้ง ผมเองก็ได้แต่หวังว่า การเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ของประเทศไทยเรานั้น ถ้าจะเกิดความเสียหายก็เกิดขึ้นเฉพาะจุด เฉพาะบางบริษัท อย่าได้เกิดรุนแรงจนกระทั่งกระทบไปทั้งระบบ เพราะในกรณีอย่างนั้น มันอาจจะเหมือนกับ “น้ำ” ที่เสียจนกระทั่ง “ปลา” ทั้งหลายไม่สามารถอยู่รอดได้
ผมเองคิดว่าแนวความคิดดังกล่าวนั้นอาจจะถูกต้องเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะในตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา เหตุผลไม่ใช่เพราะว่าปัจจัยภายนอกนั้นไม่ได้มีอะไรที่จะกระทบกับการลงทุน แต่เหตุผลนั้นเป็นเพราะว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น “ไม่เคย” กระทบกับการทำธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจะมีบ้างก็เป็นช่วงสั้น ๆ ไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปี และดังนั้น เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม และในระยะยาวแล้ว สภาพแวดล้อมก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และดังนั้น VI ที่ไม่ได้สนใจกับเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ก็ไม่เกิดความเสียเปรียบหรือเสียหาย นาน ๆ เข้าเราก็เลยรู้สึกว่าเราไม่ต้องสนใจกับการวิเคราะห์ “ภาพใหญ่” ให้เสียเวลา และถ้ายิ่งไป “คิดมาก” ก็อาจจะทำให้เรากระวนกระวายใจหรือกลัวและอาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้
แต่ความเป็นจริงก็คือ ภาพใหญ่นั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญและมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปอย่าง “ถาวร” ซึ่งจะกระทบกับกิจการหรือบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุน อย่าลืมว่า กิจการนั้นเหมือน “ปลา” และภาพใหญ่นั้นเหมือน “น้ำ” ถ้าน้ำนั้นมีปัญหาหรือไม่เหมาะสม ปลาจะอยู่ลำบาก ถ้าน้ำเป็น “พิษ” ปลาก็อยู่ไม่ได้ ที่ผ่านมานั้นน้ำค่อนข้างจะ “สะอาด” และอยู่ในสภาพที่ดี เราก็เลยไม่รู้สึกอะไร เราไม่รู้สึกว่าคุณภาพของน้ำนั้นมีความสำคัญและเราไม่สนใจที่จะต้องเฝ้าดูและติดตาม แต่เราไม่รู้หรอกว่าน้ำ โดยเฉพาะของประเทศไทยนั้น อาจจะเปลี่ยนไปได้มากมายและกลายเป็นพิษที่อาจจะทำลายปลาได้ การวิเคราะห์ภาพใหญ่หรือปัจจัยภายนอกนั้น ถ้าจะให้ครอบคลุมเราควรใช้กรอบที่เรียกว่า “SPELT” ซึ่งเป็นคำย่อของคำต่อไปนี้:
S มาจากคำว่า Social หรือสังคม สิ่งที่เราจะต้องตามก็คือ พฤติกรรมของคนไทยในเรื่องต่าง ๆ เราต้องรู้ว่าสังคมไทยนั้นเป็นอย่างไร มีอะไรที่แตกต่างจากชาติอื่นและเป็นเพราะอะไร และการเปลี่ยนแปลงจะไปทางไหนและเกิดขึ้นเมื่อไรและจะส่งผลกระทบอะไรบ้างโดยเฉพาะกับหุ้นที่เราลงทุน วิธีการวิเคราะห์นั้น ประเด็นใหญ่ก็คือการสังเกตพฤติกรรมของคนทั่วไป คนรอบข้าง ดูว่าเป็นใครและอายุเท่าไร การอ่านข่าวสารทางสังคมในแวดวงต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เป็นคนชั้นนำ เช่น เหล่า “ดารา” ในวงการต่าง ๆ “ไอดอล” ของคนแต่ละกลุ่มเป็นใคร ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ดูการ “เปลี่ยนแปลง” ที่เกิดขึ้นซึ่งจะเป็นตัวที่จะกระทบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทและต่อหุ้นในที่สุด ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราเห็นการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างชัดเจนในช่วงนี้ก็คือ การที่คนมักจะ “ก้มหน้าจิ้มเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่นาน ๆ” หรือการที่ผู้หญิงหรือแม้แต่ผู้ชายบางคนทำศัลยกรรมหรือปรับแต่งใบหน้าและร่างกายส่วนอื่นกันจนเป็นเรื่อง “ปกติ” หรือการที่คนหนุ่มสาวต่างก็มีคอนโดมิเนียมกันแพร่หลายและอาศัยอยู่กันเป็นบ้านหลังแรกเป็นต้น
P มาจากคำว่า Politics นี่คือเรื่องของการเมือง เราต้องวิเคราะห์ว่าแนวโน้มของการเมืองไทยนั้นจะเป็นอย่างไรและมันจะกระทบกับเศรษฐกิจและธุรกิจโดยรวมอย่างไร ประเด็นก็คือ การเมืองที่อันตรายที่สุดของตลาดหุ้นก็คือ ระบบการเมืองที่ “ปิดประเทศ” หรือทำให้ประเทศกลายเป็นประเทศปิดเนื่องจากไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมโลก อันตรายต่อมาก็คือ การเมืองที่ทำให้เกิดความวุ่นวายเนื่องจากคนไทยกลุ่มใหญ่บางกลุ่มไม่ยอมรับ “กติกา” ในการเข้าสู่อำนาจในการปกครองและนำไปสู่การต่อสู้หรือการรบพุ่งจนทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินไปได้เป็นปกติอย่างเช่นที่เกิดในประเทศตะวันออกกลางบางประเทศ เป็นต้น ตรงกันข้าม ระบบการเมืองที่เอื้ออำนวยที่สุดต่อตลาดหุ้นและบริษัทก็คือ ระบบเสรีประชาธิปไตยอย่างที่เป็นในประเทศที่ก้าวหน้าทั้งหลาย
E มาจากคำว่า Economics นี่คือเรื่องของเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ผมไม่ใคร่สนใจภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ แค่ปีหรือสองปี เพราะผมคิดว่ามันไม่ค่อยจะมีผลอะไรกับบริษัทในระยะยาว สิ่งที่ผมสนใจติดตามและวิเคราะห์ก็คือ การเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศว่ามันจะไปถึงไหน? การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ผมมักจะดูถึง “โปรไฟล์” ของประชากรคนไทย ซึ่งรวมถึงอายุ ความสามารถ และรวมถึงทำเลที่ตั้งของประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องของ “โครงสร้าง” ที่ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งสิ่งที่ผมจะพยายามหาข้อสรุปก็เช่น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะโตต่อไปได้ประมาณปีละกี่เปอร์เซ็นต์และจะโตไปได้อีกกี่ปี คำตอบของผมก็อาจจะเป็นว่า ประเทศไทยก็อาจจะโตแบบค่อนข้างเร็วต่อไปได้อีกซัก 10 ปี หลังจากนั้นคงจะโตช้าลงหรือหยุดโต กลายเป็นประเทศที่ “ติดกับดัก” ชาติที่มีรายได้ปานกลางเหมือนอย่างอาร์เจนตินาหรืออีกหลาย ๆ ประเทศ เป็นต้น และถ้าเป็นแบบนั้น การลงทุนของผมจะทำอย่างไร?
L มาจากคำว่า Legal หรือกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกมาและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือบริษัทหรือต่อความมั่งคั่งของเราในแง่ของการลงทุนในหุ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงที่จะเก็บภาษีกำไรจากการลงทุนในหุ้น แบบนี้ก็เห็นได้ชัดว่าทำให้ผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นลดลง ราคาหุ้นคงถูกกระทบอย่างรุนแรงเพราะเป็นเรื่องที่กระทบกับหุ้นโดยตรง ยังมีกฎหมายมากมายที่อาจจะกระทบกับบริษัทโดยรวมหรือกระทบอย่างแรงต่อบางบริษัทในด้านของผลประกอบการ แบบนี้เราก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และในบางครั้งเราก็ต้องลงมือทำอะไรบางอย่างถ้าดูแล้วว่าความเสี่ยงที่มันจะเกิดขึ้นนั้นสูงพอควรเป็นต้น
สุดท้ายก็คือ T ซึ่งมาจากคำว่า Technology นี่คือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่นับวันเกิดบ่อยและเร็วขึ้นมากจนเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่งของการลงทุนโดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเทคโนโลยี หลาย ๆ บริษัทต้องล้มหายตายจากหรือมีผลประกอบการตกต่ำลงมากอย่างรวดเร็วก็เพราะเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่หรือมาทำลายความเข้มแข็งเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหนังสือและเทปเพลงที่ถูกอินเตอร์เน็ตเข้าแย่งชิงตลาดไปมาก เป็นต้น ดังนั้น การติดตามเรื่องของเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะกิจการที่อาจจะอยู่ในข่ายที่ถูกกระทบอย่างรุนแรงได้
ก่อนที่จะจบบทความนี้ ผมขอพูดย้ำอีกครั้งว่าภาพใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการลงทุนของเรานั้นมักจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของระยะสั้นที่เรามักจะไม่ต้องทำอะไร อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งมันก็อาจจะมีผลกระทบและเมื่อเกิดขึ้นก็มักจะแรงกว่าที่คิดและเราอาจจะต้องทำอะไรบางอย่างเช่น อาจจะต้องขายหุ้นทิ้ง ผมเองก็ได้แต่หวังว่า การเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ของประเทศไทยเรานั้น ถ้าจะเกิดความเสียหายก็เกิดขึ้นเฉพาะจุด เฉพาะบางบริษัท อย่าได้เกิดรุนแรงจนกระทั่งกระทบไปทั้งระบบ เพราะในกรณีอย่างนั้น มันอาจจะเหมือนกับ “น้ำ” ที่เสียจนกระทั่ง “ปลา” ทั้งหลายไม่สามารถอยู่รอดได้
- JobJakraphan
- Verified User
- โพสต์: 749
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: SPELT/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
SPELT นี่เป็น conventional macro environment analysis framework ครับ
เริ่มจาก PEST ก่อนและมี variation ออกไปหลายรูปแบบทั้ง
SLEPT, SPELT (เพิ่ม legal)
PESTEL, PESTLE (เพิ่ม environment)
STEEPLE (เพิ่ม ethics)
STEEPLED (เพิ่ม ethics + demo)
STEER (socio-cultural + technological + conomic + ecological + regulatory)
เริ่มจาก PEST ก่อนและมี variation ออกไปหลายรูปแบบทั้ง
SLEPT, SPELT (เพิ่ม legal)
PESTEL, PESTLE (เพิ่ม environment)
STEEPLE (เพิ่ม ethics)
STEEPLED (เพิ่ม ethics + demo)
STEER (socio-cultural + technological + conomic + ecological + regulatory)
value trap
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 456
- ผู้ติดตาม: 10
Re: SPELT/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
เป็นการเปรียบเทียบที่ทำให้เห็นภาพได้ชัด สภาพใหญ่ คือ น้ำ แต่ละกิจการคือปลาThai VI Article เขียน:[/size]โค้ด: เลือกทั้งหมด
แต่ความเป็นจริงก็คือ ภาพใหญ่นั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญและมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปอย่าง “ถาวร” ซึ่งจะกระทบกับกิจการหรือบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุน อย่าลืมว่า กิจการนั้นเหมือน “ปลา” และภาพใหญ่นั้นเหมือน “น้ำ” ถ้าน้ำนั้นมีปัญหาหรือไม่เหมาะสม ปลาจะอยู่ลำบาก ถ้าน้ำเป็น “พิษ” ปลาก็อยู่ไม่ได้ ที่ผ่านมานั้นน้ำค่อนข้างจะ “สะอาด” และอยู่ในสภาพที่ดี เราก็เลยไม่รู้สึกอะไร เราไม่รู้สึกว่าคุณภาพของน้ำนั้นมีความสำคัญและเราไม่สนใจที่จะต้องเฝ้าดูและติดตาม แต่เราไม่รู้หรอกว่าน้ำ โดยเฉพาะของประเทศไทยนั้น อาจจะเปลี่ยนไปได้มากมายและกลายเป็นพิษที่อาจจะทำลายปลาได้ การวิเคราะห์ภาพใหญ่หรือปัจจัยภายนอกนั้น ถ้าจะให้ครอบคลุมเราควรใช้กรอบที่เรียกว่า “SPELT” ซึ่งเป็นคำย่อของคำต่อไปนี้:ได้
แต่ที่บอกว่าที่ผ่านมาน้ำค่อนข้างสะอาด ผิดข้อเท็จจริงอย่างแรง การคอรัปชั่นอย่างมหาศาล
และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เฉพาะ จำนำข้าวอย่างเดียวก็เสียหายไม่ต่ำกว่า หกแสนล้านบาท
ผมจะไม่พูดแล้วว่าคอรัปชั่นชั่วร้ายอย่างไร เหมือนกับน้ำที่เน่าและจะเพิ่มระดับความเน่าขึ้นเรื่อยๆ
ปลาที่ทนไม่ได้จะตาย(SME) ปลาที่ชอบน้ำเน่า จะแข็งแรงและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้ายเราก็จะเหลือปลาที่ชอบน้ำเน่ากับหนอนเท่านั้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
Re: SPELT/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
thank you kub