รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
luckyman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2222
ผู้ติดตาม: 16

รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เพื่อนๆ คิดว่าอีกกี่ปี ประเทศไทยถึงจะใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลายครับ

เห็นสิงคโปร์เขาประกาศ ปี 2040 จะไม่มีรถน้ำมันที่ประเทศเขาอีก

ยุโรป จีน ก็เริ่มส่งเสริมรถไฟฟ้า

ซึ่งถ้ารถยนต์ไฟฟ้ามาแทนรถยนต์น้ำมัน 100%
ธุรกิจน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขุดเจาะ โรงกลั่น ปั๊มน้ำมัน หรือ ธุรกิจผลิตรถยนต์ อะไหล่ โรงงาน คลังสินค้า แบตเตอรี่ น่าจะได้รับผลกระทบทั้งหมด

แต่เหมือน น้ำมันในประเทศไทย เหมือนจะต้องใช้เวลาสักพัก หลายสิบปี เนื่องจาก infrastructure, ภาษีแพง และอาจจะมีเรื่องการเมืองมาเกี่ยว เพราะ รัฐได้เงินมาจากน้ำมันเยอะเหมือนกัน
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมคิดว่าคงต้องรอดูว่าEECจะส่งเสริมโรงงานรถไฟฟ้าขนาดไหน
ภาพประจำตัวสมาชิก
PrasertsakK
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมว่ารัฐบาลน่าจะคิดหนักมาก ๆ นะครับ เนื่องจากต้องหา solution ของภาษีสรรพสามิตที่หายไปเป็นแสนล้านต่อปี จะหาอะไรทดแทน รวมถึง ภาษีเงินได้จากอุตสหกรรมเกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ในประเทศไทยที่หายไป และยังแรงงานอีกว่าจะเอาพวกเขาเข้าไปทำงานในส่วนไหน เอาเค้าจริง ๆ ผมว่าประเทศไทยเราก็น่าจะรอให้ประเทศอื่นขยับไปก่อน แล้ว เราน่าจะค่อย ๆ ขยับตามมากกว่า
http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Lucid เผยโฉมและสเปครถ EV ของตัวเอง Lucid Air แล้ว
จริงๆอันนี้ก็ไม่ค่อยน่าตื่นเต้นเท่าไหร่ครับ เพราะว่าพวกสเปคต่างๆคร่าวๆทาง Lucid เองก็ทยอยๆปล่อยออกมาเรื่อยๆให้คนได้ตื่นเต้นกัน แต่วันนี้ทาง Lucid ปล่อยรายละเอียดออกมาทั้งภาพและสเปคค่อนข้างเยอะ มาๆ แอดมินจะสรุปให้ฟังกันนะครับ
1. อย่างแรกเลย โคตรจิตวิญญาณ California เหมือนเทสล่าเลยครับ มีกาาใส่สัญลักษณ์หมีของรัฐนี้ลงไปในปุ่มที่เบาะด้วย โคตร(รัฐนิยม)5555
2. จะมีวางขายสี่รุ่นนะครับ ขอเรียกว่า 1 2 3 4 แทนชื่อล่ะกัน
ซึ่งแต่ละรุ่นจะประมาณนี้
1 - ต่ำกว่า $80,000 ระยะทางขับได้ไม่ระบุ
2 - ราคา $95,000 ขับได้ 406ไมล์
3 - ราคา $139,000 ขับได้ 517ไมล์
4 - ราคา $169,000 ขับได้ 503ไมล์
อ่ะ มาคุยกันเรื่องดีไซน์ก่อนนะครับ แล้วค่อยคุยสเปค
ส่วนตัวแล้วแอดมินว่าสวยดีครับ เบาะดูน่าจะนั่งสบายกว่า Tesla ด้วยทั้งเบาะหน้าและเบาะหลัง
แอดมินชอบจอที่แบ่งเป็นสองตอนแบบนี้ครับ (คล้ายๆ Jaguar I-Pace, Porsche Taycan) เดาว่าน่าจะมี Heptic Feedback ตอนกดที่จอด้วย (ซึ่งดีมากๆแต่เทสล่าไม่ยอมทำบ้าง)
ดีไซน์ล้อแอดมินว่าไม่สวยครับ (คหสต)
อ่ะ มาเรื่องสเปคบ้าง
สั้นๆเลย ตอนนี้สเปคคือชนะทุกค่ายรวมถึง Tesla ด้วย (ยังไม่ได้คำนวณเรื่องราคา $/kWh นะครับ ไว้โพสหน้า)
Tesla Model S รุ่น Long Range ตอนนี้ขับได้ 402ไมล์ แต่ Lucid Air รุ่น2 ขับได้ 406ไมล์ รวมถึงอัตราเร่งก็ดีกว่าด้วย
อันนี้ต้องบอกก่อนว่าทาง Lucid เองเคลมว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่และมอเตอร์เค้าเจ๋งกว่า Tesla ณ ตอนนี้ครับ
(ซึ่งในฐานะแอดมินเพจอวยเทสล่าอย่างไม่เคยถูกแต่งตั้งและไม่เคยโพสเป็นทางการ 555555 ขอบอกเลยว่า ใช่ เจ้า Lucid Air นี่เหนือกว่า Model S ทุกขุมเลยครับ แต่ต้องไม่ลืมว่า Model S เนี่ยออกมา 8ปีแล้วนะครับ ที่ผ่านมามีแค่ Major Upgrade หลักๆแค่ตอน Facelift + Raven เพราะฉะนั้นต้องมารอดูว่าหลัง Battery Day ทางเทสล่าจะมีอะไรมาให้ว๊าว)
ส่วน Lucid Air รุ่น 3 กับ 4 นั้นก็คงเป็นตัวเทียบกับ Model S Long Range และ Performance แบบชนกันเห็นได้ชัด สำหรับคนที่เบื่อๆ Tesla เจ้า Lucid Air เนี่ยก็ถือได้ว่าเป็นรถที่ดูน่าขับมากๆอีกคันหนึ่งครับ
ซึ่งตอนนี้ทาง Lucid ยังไม่ได้มีผลิตจริง (ก่อนหน้านี้ตอนเปิดตัวเมื่อสองปีที่แล้วก็เจอปัญหาด้านการเงิน) กว่าจะผลิตออกมารุ่น 3 กับ 4 ได้ก็คงช่วงกลางๆปีหน้าครับ ที่โรงงานที่ Arizona
เอาเป็นว่าเดี๋ยวแอดมินจะคอยอัพเดทให้ฟังกันนะครับ
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Great Wall Motors ยืนยันผลิต EV โรงงาน จ.ระยอง
02 Sep 2020 09:41 น.
อ่าน 7,544 ครั้ง
4.2k Shares
facebook sharing button
twitter sharing button
line sharing button
sharethis sharing button

เกรท วอลล์ มอเตอร์ส ( Great Wall Motors ) ถก EEC ยืนยันผลิตรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ปกติ และ รถพลังงานไฟฟ้า 100% EV ในไทยแน่นอน รอเคลียร์โรงงงานที่ซื้อจาก GM ปลายปีนี้

หลังจาก เกรท วอลล์ มอเตอร์ส ( Great Wall Motors ) จากจีน เข้ามาซื้อศูนย์การผลิตของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส (GM) จ.ระยอง ปัจจุบันกำลังอยู่ขั้นตอนส่งมอบ และมีแผนขึ้นไลน์ผลิตรถยนต์ต้นปีหน้า

ขณะเดียวกัน เกรท วอลล์ มอเตอร์ส ( Great Wall Motors ) ยังทำแผนการลงทุนเสนอต่อ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ภายใต้ขอบข่ายที่ดูแล

Great Wall Motors ลุยผลิตรถในไทย (ซ้าย) จาง เจียหมิง - (ขวา) ดร.คเณศ วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย EEC
Great Wall Motors ลุยผลิตรถในไทย (ซ้าย) จาง เจียหมิง - (ขวา) ดร.คเณศ วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย EEC

นายจาง เจียหมิง ประธาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ส ภูมิภาคอาเซียน ยืนยันกับ EEC ว่า มีแผนผลิตรถยนต์ในไทยหลายรุ่น ทั้งรถยนต์ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และ EV ในอนาคต อันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย และมุ่งไปที่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งถือเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ EEC ให้การส่งเสริม

“ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพูดคุยกับทาง GM เกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ของโรงงานที่จังหวัดระยอง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ และจะเริ่มเดินสายการผลิตภายในต้นปีหน้า โดยตั้งเป้าจะให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของ Great Wall Motors ในภูมิภาคอาเซียน โดยโมเดลที่จะผลิตในประเทศไทยจะมีทั้ง รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน และ EV รวมถึงการพัฒนา Autonomous car ในอนาคตอีกด้วย

นายจาง เปิดเผยว่า Great Wall Motors พยายามใช้ชิ้นส่วนในประเทศให้มากที่สุด และพร้อมร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าภายประเทศ เพื่อจัดหาชิ้นส่วนให้กับบริษัท นอกจากนี้ ยังมีแผนแนะนำบริษัทลูก ให้มาตั้งโรงงานผลิตในไทย เช่น ชิ้นส่วนแบตเตอรี่ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งยังให้ความสำคัญกับการพัฒนบุคลากร โดยบริษัทแม่ Great Wall Motors ในประเทศจีนจะจัดตั้ง Training Center เพื่อพัฒนาบุคลากรของบริษัทสำหรับประเทศไทย เพื่อรองรับการพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ อีกด้วย
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ว่าด้วยเรื่องการชาร์จ
เช้านี้แอดมินมาพูดอีกรอบเกี่ยวกับการชาร์จครับ เอาแบบสรุปๆเลยล่ะกันเนอะ
1. ถ้าไฟเฟสเดียว ชาร์จเข้าได้ประมาณ 7กม./ชั่วโมง
2. ถ้าไฟสามเฟส ชาร์จเข้าได้ประมาณ 50+กม./ชั่วโมง
ส่วนตัวแล้วสำหรับแอดมิน ไลฟ์สไตล์แอดมิน คิดว่าใช้ไฟชาร์จเข้าแค่เฟสเดียวก็พอเพราะว่า
1. ตอนเย็นแอดมินกลับบ้านอย่างช้าประมาณสองทุ่ม ออกจากบ้านประมาณ 6 โมงเช้า เพราะฉะนั้นจะชาร์จประมาณ 10ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ก็จะได้ 70กิโลเมตรต่อคืน ซึ่งวันๆหนึ่งแอดมินใช้รถไม่เคยถึง 70โลเลยครับ (อยู่กรุงเทพ)
2. ยิ่งชาร์จไฟเข้าช้า แบตยิ่งเสื่อมช้า (แล้วแต่ความเชื่อ บางสำนักก็บอกว่าไม่เสื่อมนะครับ) และตั้ง Limit/ Threshold ไว้ที่ 90% อยู่แล้ว
3. ต่อให้เปิด Sentry Mode ไว้ที่ดูดไฟไปด้วย แต่ยังไงไฟก็เข้าถึง 90% ทุกคืนอยู่ดี
4. ขี้เกียจต่อปลั๊กลากไฟใหม่ หมู่บ้านที่แอดมินอยู่เค้ามีไฟแค่เฟสเดียว (ที่หมู่บ้านก็มีบ้านอื่นมีเม้งกวงอยู่ เค้าก็ไปขอไฟนะครับ แต่ถ้าเป็นแอดมิน แล้วใช้รถแค่นี้บอกตรงๆว่าขี้เกียจไปขอครับ)
แต่ แต่ แต่
การมีที่ชาร์จและขอไฟแบบสามเฟสไว้ก็ถือได้ว่าปลอดภัยครับ เผื่อกรณีวันไหนเราใช้รถโหดๆหนักๆมา แล้ววันรุ่งขึ้นก็ได้ใช้รถไกลๆอีก แค่ชาร์จสองสามชั่วโมงก็เต็มล่ะ ถ้าใช้ที่ชาร์จแค่เฟสเดียว งานเข้าแน่ๆ
แต่อย่างที่ทุกคนทราบว่าคนใช้รถเทสล่าส่วนใหญ่ก็คงไม่ได้มีรถแค่คันเดียวกัน ถ้าขับทางไกลจริงๆแอดมินจะเอาอีกคันไปครับ
อันนี้แล้วแต่ความชอบ ความสะดวกของแต่ละเจ้าของนะครับ ไม่มีอะไรถูกผิดครับ แอดมินแค่เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบให้ดูกันเฉยๆ
อ่อ แต่ แต่ แต่
จะชาร์จแบบไหน แอดมินก็แนะนำให้ใช้ที่ชาร์จ Official ของ Tesla นะครับ เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้นกับที่ชาร์จหรือ On board Charger ทางเทสล่าเค้าก็ยังรับประกันอยู่ ตัว Log มันจะจำหมดเลยว่ารถเราใช้ที่ชาร์จอะไรมา ถ้าใช้ยี่ห้ออื่นมาทางเทสล่าอาจจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้ครับ
(ในรูปคือ 3เฟสนะครับ)
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ที่เห็นลงทุนเป็นรูปธรรมคือBANPUเช่น
รถตุ๊กๆไฟฟ้าMovMiให้บริการรับล่งลูกค้าตามสถานีรถไฟฟ้า
รถยนต์ไฟฟ้าFOMMให้บริการเช่า
เรือไฟฟ้าบ้านปูเน็กซ์ อีเฟอรี นพมัลลี
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

BOI เล็งเปิดแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุนโครงการรถยนต์ไฟฟ้ารอบใหม่ คาดรอรับ “เกรทวอลล์ มอเตอร์ส” ( Great Wall Motors ) ทุนใหญ่จากจีน ที่พร้อมขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์ ICE ในไทยต้นปี 2564 และมีแผนทำ EV ในลำดับถัดไป

ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% จากกำลังผลิตทั้งหมดในปี 2573 โดยคาดว่าในปีนั้นจะผลิตรถยนต์รวม 2.5 ล้านคัน(เพื่อตลาดในประเทศ,ส่งออก) และจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 7.5 แสนคัน (รวมอีวี, ไฮบริด)


เพื่อก้าวไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พยายามผลักดันการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ด้วยการอำนวยความสะดวกและให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่ บริษัทผู้ผลิตต่างๆ

ที่ผ่านมา BOI เปิดให้บริษัทผู้ผลิตยื่นแผนส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้กรอบเวลาที่กำหนดโดยกลุ่มไฮบริดให้ยื่นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2560 กลุ่มปลั๊ก-อินไฮบริด และอีวี ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2561 และปัจจุบันอนุมัติไปหลายโครงการแล้ว

ล่าสุด BOI ยอมรับว่า กำลังพิจารณาเปิดให้ผู้สนใจยื่นแผนส่งเสริมการลงทุนในโครงการรถยนต์ไฟฟ้าอีกครั้ง และเน้นไปที่รถพลังงานไฟฟ้า 100% EV ซึ่งการประชุมบอร์ดใหญ่ของ BOI นัดถัดไป เตรียมพิจารณาวาระนี้แน่นอน (ประชุมครั้งแรกหลังปรับคณะรัฐมนตรี)



“เราเตรียมประชุมบอร์ด BOI ครั้งหน้าจะมีการหารือกันเรื่องเปิดส่งเสริมการลงทุนโครงการรถยนต์ไฟฟ้ารอบใหม่ ทั้งกลุ่ม รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า รวมถึงกลุ่มรถยนต์นั่งที่มีผู้สนใจลงทุนเพิ่มเติม” นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการ BOI กล่าว

ขณะที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เคยเปิดเผยว่า การลงทุนของ “เกรท วอลล์ มอเตอร์ส” ( Great Wall Motors- GWM ) ในไทย จะผลิตเอสยูวี ปิกอัพ และกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ทั้ง ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และ อีวี เพื่อทำตลาดในประเทศและส่งออก เบื้องต้นวางกำลังผลิตไว้ 100,000 คัน/ปี

ด้านแหล่งข่าวจาก BOI เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า "เกรทวอลล์ มอเตอร์ส" ( Great Wall Motors ) มีแผนลงทุนประกอบรถยนต์ในไทยหลายรุ่น หลังจากรับมอบโรงงานผลิตจาก เจนเนอรัล มอเตอร์ส ปลายปี 2563 แต่รายละเอียดของแผนยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากยังไม่ได้รับการอนุมัติ

ทั้งนี้ Great Wall Motors - GWM ประกาศซื้อศูนย์การผลิตของ“เจนเนอรัล มอเตอร์ส” จังหวัดระยอง โดยบรรลุข้อตกลงกันในปี 2562 ตอนนี้อยู่ระหว่างการโอนถ่ายทรัพย์สิน และส่งมอบโรงงาน คาดจะดำเนินงานจะเรียบร้อยในเดือนตุลาคม 2563

ขณะเดียวกัน Great Wall Motors ยังตั้ง บริษัท ฮาวาลเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยจดทะเบียนวันที่ 7 มกราคม 2563 วัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าปลีก ค้าส่ง รถขับเคลื่อนสี่ล้อพลังงานไฟฟ้า รถอเนกประสงค์ ปิกอัพ รวมถึงชิ้นส่วน อะไหล่และอุปกรณ์ ส่วนการขึ้นไลน์ประกอบและทำตลาดจะเริ่มต้นปี 2564 กับเอสยูวีแบรนด์ Haval ส่วนกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า จะเป็นแผนงานถัดไป และขึ้นอยู่กับการพูดคุยในรายละเอียด กับ BOI เช่นกัน

ขณะที่ MG แบรนด์อังกฤษ เจ้าของจีน SAIC ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนในโครงการรถยนต์ไฟฟ้าเรียบร้อย จะประเดิมประกอบและเปิดตัวเอสยูวี ขุมพลังปลั๊ก-อินไฮบริด รุ่น MG HS ภายในไตรมาส 4 ปี 2563 ส่วน EV จะพร้อมปลายปี 2564

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เดลต้า” บุกตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV) ในปั๊ม ปตท. 100 จุด ขึ้นแท่นผู้ประกอบการสถานีชาร์จรายที่ 11 ของไทย ผลิตป้อนทั้งในและต่างประเทศ ชูจุดแข็งหัวชาร์จเข้าได้กับทั้งรถยุโรป-จีน-ญี่ปุ่น-เอเชีย นำร่องหัวชาร์จแบบใหม่ในยุโรปก่อน 300 จุด ก่อนนำเข้ามาติดตั้งในไทยเร็ว ๆ นี้

นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงการตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของเดลต้าในประเทศไทย ขณะนี้เริ่มติดตั้งไปประมาณ 100 จุด ในสถานีน้ำมันของ ปตท. โดยตัวสถานีชาร์จบริษัทเดลต้าเป็นผู้ผลิต แต่ยังมีบางชิ้นส่วนต้องนำเข้าจากไต้หวันเข้ามาประกอบ เช่น IC ที่เป็นของเดลต้าแต่ต้องนำเข้ามาเพราะไทยยังไม่มีความสมบูรณ์ในเรื่องของชิ้นส่วน อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศจะยังมีจำนวนไม่มาก แต่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนออกมาอย่างชัดเจน เดลต้าจึงมีแผนขยายไปยังบ้านที่อยู่อาศัยด้วย

“ตอนนี้โมเดลของเดลต้าจะตั้งสถานีชาร์จในปั๊มน้ำมันไปก่อน เริ่มที่ปั๊ม ปตท. แต่ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะที่นี่ เรามองที่จะทำปั๊มอื่นด้วย ส่วนราคาต่อตัวมันแล้วแต่ว่าการใช้งานที่ไหน อย่างตัวชาร์จเจอร์ ถ้าซื้อไปไว้เองที่บ้าน ตัวละไม่กี่หมื่นบาท แต่กว่าจะเต็มก็ใช้เวลาหลายชั่วโมงโดยการใช้ไฟบ้าน (normal charge) แต่ถ้าที่ปั๊มน้ำมันการลงทุนก็จะแพงขึ้น เพราะมันต้องไล่ระบบไฟจึงต้องเป็นแบบควิกชาร์จ (fast charge) ชาร์จเสร็จภายใน 10-15 นาที เช่นเดียวกับที่ยุโรปทำอยู่ตอนนี้ ส่วนแผนขยายการติดตั้งในพื้นที่อื่น ๆ ก็จะเป็นตามตัวอาคารและหน่วยงานราชการ อย่างตอนนี้ที่ติดตั้งไปแล้วที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และตึกเซ็นทรัล”


นอกจากเดลต้าจะนำเข้าชิ้นส่วนสถานีชาร์จจากไต้หวันแล้วก็ยังมีบางชิ้นส่วนที่สามารถซื้อจากผู้ผลิตรายเล็ก (startup) ในไทยได้ ผ่านทางโครงการอบรมจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ที่เดลต้าให้เงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ (Delta Angel Fund) ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการจนถึงขั้นสามารถผลิตสินค้าที่เป็นนวัตกรรม เดลต้าก็จะให้เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ โดยสั่งซื้อชิ้นส่วนสำคัญจาก startup เหล่านี้ และยังเป็นฝ่ายที่ซัพพอร์ตบางชิ้นส่วนให้กับ startup เพื่อลดต้นทุน สำหรับแผนการทำตลาด EV ในต่างประเทศ ได้เริ่มติดตั้งสถานีชาร์จไปแล้ว 300 จุดในยุโรป ใช้โมเดลเดียวกันกับที่ประเทศไทย คือ ติดตั้งในสถานีบริการน้ำมัน

โดยใช้โรงงานเดลต้าผลิตในสโลวะเกียและยุโรป ทั้ง 2 โรงงานจะร่วมกันผลิตเพื่อขยายสถานีชาร์จในยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการรถ EV เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม สถานีชาร์จแบบควิกชาร์จของเดลต้าได้พัฒนาหัวชาร์จสามารถเสียบเข้าได้กับรถทุกประเทศทั้งรถยุโรป รถเอเชีย รถญี่ปุ่น รวมถึงรถจีน จากเดิมหัวชาร์จจะเสียบเข้าได้กับรถยนต์แค่เฉพาะที่ผลิตในบางประเทศเท่านั้น อย่างหัวชาร์จของญี่ปุ่นจะใช้ได้กับรถญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้เสียบกับรถยุโรปได้

“ตรงนี้ถือว่าเดลต้าเป็นผู้ใช้อินโนเวชั่นเข้ามาพัฒนาสินค้าให้ไปได้เร็ว แน่นอนว่าพอเราวางหัวชาร์จสามารถเสียบเข้าได้กับทุกประเทศออกมา ตลาดก็จะก๊อปปี้ของเรา ตอนนี้เราวางที่ตลาดยุโรปนำร่องไปก่อน และจะนำมาวางที่ตลาดในไทยต่อไป เนื่องจากความต้องการใช้รถ EV ในยุโรปมีมากกว่าไทย” นายอนุสรณ์กล่าว

ส่วนการดำเนินธุรกิจของเดลต้าในช่วงครึ่งปีหลัง นายอนุสรณ์กล่าวว่า “ไม่ห่วงอะไรเลย” เนื่องจากธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ยังเติบโตได้ดี และเดลต้าเองค่อนข้างมีกำไร ธุรกิจเป็นไปในทิศทางที่ดี

อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยประคองธุรกิจและสนับสนุนเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม เดลต้าฯยังจะเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนแบบเงินให้เปล่า (Delta Angel Fund) ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ (startup) ที่มีไอเดียหรือต้นแบบสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ให้สามารถดำเนินธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ เช่น 1) ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม 2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีการใช้พลังงานอย่างมีความรับผิดชอบ 3) นวัตกรรมเพื่ออนาคต ครอบคลุม 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ การแพทย์ครบวงจร อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและดิจิทัล สำหรับปีนี้ตั้งงบฯไว้ 4 ล้านบาท ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 10

โพสต์

phpBB [video]


ไปลองขับ tesla กัน
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 11

โพสต์

narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 12

โพสต์

🚥 จ่อชง ครม.อนุมัติเช่ารถ EV 2,511 คัน เล็งจ้างเอกชนเดินรถ พร้อมเตรียมแผนฟื้นฟู ขสมก.
.
เวลา 09.30 น. วันที่ 14 ก.ย. ณ ห้องประชุม 302 ตึกบัญชาการ 1ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณา รายละเอียดแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับปรับปรุงใหม่)
.
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยกรมการขนส่งทางบก จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ 1.แนวทางการปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง โดยมีโครงข่ายหลัก จำนวน 162 เส้นทาง และให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพบริหารจัดการเดินรถตามแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ทั้งนี้ ให้กรมการขนส่งทางบก พิจารณาปรับปรุงเส้นทางให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ให้ครอบคลุมพื้นที่และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งในอนาคตต่อไป
.
2.ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางที่มีการกำหนดใหม่ หรือเส้นทางเดินรถที่มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ก่อนผู้ประกอบการขนส่งรายอื่น ในกรณีที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพไม่ประสงค์เดินรถในเส้นทางดังกล่าว ให้กรมการขนส่งทางบกโดยอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศรับคำขอเป็นการทั่วไป
.
3.นโยบายการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจัดเก็บเป็นอัตราเดียว (Single price)ในอัตรา 30 บาท / คน / วัน / ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว โดยในอนาคตอาจปรับเพิ่มหรือลดอัตราค่าโดยสารเพื่อให้เหมาะสม กับสถานการณ์และภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
.
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ขณะที่ ขสมก. จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ 1.การเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ที่เห็นชอบในหลักการของแผน ฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับเดิม) เป็นเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับปรับปรุงใหม่) โดยให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เช่ารถโดยสารไฟฟ้า (EV) จำนวน 2,511 คัน และจ้างเอกชน เดินรถให้บริการ (รถโดยสารไฟฟ้า (EV) หรือรถโดยสาร NGV] จำนวน 1,500 คัน
.
2.อนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำหรับโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด
.
3.อนุมัติในหลักการให้รัฐบาลรับภาระหนี้สินของ ขสมก. โดยจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ของ ขสมก. เมื่อ Ebitda เป็นบวก (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 เป็นต้นมา รัฐบาลรับภาระชำระดอกเบี้ยของ ขสมก. แล้ว) ทั้งนี้ ยอดหนี้คงค้างที่รัฐบาลรับภาระจะเป็นยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2564
กรณี Ebitda เป็นบวกแค่ 1 หรือ 2ปี แล้วกลับมาเป็นลบ ในหลักการปีถัดไป รัฐจะไม่ชำระหนี้เงินต้นให้
.
4.อนุมัติหลักการเพื่อขอสนับสนุนเงินอุดหนุนจากภาครัฐ จำนวน 7 ปี โดยเป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
.
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม มติที่ประชุมดังกล่าว ยังต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ก่อนเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติต่อไป
.
#ขสมก #StockRadars #ทำเรื่องหุ้นเป็นเรื่องง่าย #StockRadarsNews
.
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Lucid Motors เปิดตัว Lucid Air ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า มีให้เลือกหลายรุ่นในราคาเริ่มต้นไม่ถึง 80,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2.5 ล้านบาท

เปิดตัว “Lucid Air” รถยนต์ไฟฟ้า มีหลายรุ่นให้เลือก
Lucid Motors บริษัทยานยนต์ที่สร้างมาตรฐานใหม่ด้วยการเปิดตัวรถซีดานพลังงานไฟฟ้า “Lucid Air” ผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ไปทั่วโลกจากสำนักงานใหญ่ในซิลิคอนแวลลีย์ โดยรถซีดานหรูพลังงานไฟฟ้า 100% คันนี้ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถหรู ทั้งในด้านสมรรถนะ ประสิทธิภาพ และการออกแบบ โดยจะเริ่มส่งมอบรถในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีหน้า



แนวคิด
Lucid Air คือผลพวงของแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า Lucid Space Concept ซึ่งเป็นการลดขนาดของระบบส่งกำลังไฟฟ้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ภายในห้องโดยสาร แนวคิดดังกล่าวเป็นหัวใจสำคัญของสถาปัตยกรรม Lucid Electric Advanced Platform (LEAP) ของรถหรู Lucid Air และรถรุ่นต่อไปในอนาคต โดยเป็นแนวคิดใหม่แบบองค์รวมในการสร้างสรรค์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัย โดยไม่ใช้โซลูชันสำเร็จรูปที่บริษัทยานยนต์ส่วนใหญ่ใช้กัน

มอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
การพัฒนามอเตอร์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กลงแต่ทรงพลังมากขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงการวางระบบส่งกำลังไฟฟ้าทั้งหมด ช่วยให้สามารถออกแบบห้องโดยสารที่กว้างขวางเพื่อความสบายของผู้โดยสาร

Space Concept ยังผสานสัดส่วนที่ล้ำสมัยและแตกต่างโดยไม่ยึดติดกับการออกแบบยานยนต์ทั่วไป ส่งผลให้ Lucid Air มีรูปลักษ์สวยงามโดดเด่นบนท้องถนน

Lucid ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดในการมองต่างมุมและสานฝันให้กลายเป็นความจริง ทั้งหมดนี้สรุปรวมอยู่ในสโลแกน “Dream Ahead” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ปฏิเสธสิ่งเดิม ๆ และเดินหน้าก้าวข้ามขีดจำกัดของเทคโนโลยียานยนต์พลังงานไฟฟ้า


มอเตอร์คู่
Lucid Air มีมอเตอร์คู่กำลังสูงสุด 1,080 แรงม้า พร้อมระบบขับเคลื่อนทุกล้อ จึงสามารถวิ่ง 1/4 ไมล์ได้ใน 9.9 วินาทีในการทดสอบซ้ำหลายครั้ง นับเป็นรถซีดานพลังงานไฟฟ้ารุ่นเดียวในตอนนี้ที่สามารถวิ่ง 1/4 ไมล์ในเวลาต่ำกว่า 10 วินาที นอกจากนี้ พลังของ Lucid Air ยังได้รับการเติมเต็มด้วยระยะทางการวิ่งสูงสุด 517 ไมล์ด้วยการชาร์จเพียงครั้งเดียว

เมื่อออกสู่ตลาด Lucid Air จะเป็นยานยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ชาร์จเร็วที่สุด ด้วยอัตราการชาร์จสูงสุด 20 ไมล์ต่อนาทีเมื่อเชื่อมกับสถานีชาร์จ DC Fast Charging สำหรับผู้ขับขี่ที่ชาร์จไฟระหว่างวิ่งบนถนนอาจชาร์จได้ถึง 300 ไมล์ในเวลาเพียง 20 นาที



แบตเตอรี่แพค
Lucid Motors นำประสบการณ์กว่า 10 ปี และการทดสอบวิ่งจริงกว่า 20 ล้านไมล์ มาใช้พัฒนาแพคแบตเตอรี่แบบ Extended-range ความจุ 113kWh โดยเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ผ่านสนามแข่งรถยนต์ไฟฟ้ามาแล้วแสดงประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมด้วยระบบจัดการแบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ รวมถึงแพคเซลล์แบตเตอรี่อัจฉริยะ และระดับความหนาแน่นของพลังงาน


ภายใน
Lucid Air มาพร้อมห้องโดยสารขนาดใหญ่และหรูหราภายใต้แนวคิด Space Concept แต่ยังคงมีรูปลักษณ์ปราดเปรียวตามสไตล์รถสปอร์ตซีดาน นอกจากนั้นยังมีช่องใส่สัมภาระใต้ฝากระโปรงหน้า (Frunk) ขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดายานยนต์พลังงานไฟฟ้า จึงสามารถเก็บของได้ทั้งกระโปรงหน้าและกระโปรงหลัง

Lucid Air คือรถหรูที่มีแอโรไดนามิกดีที่สุดในโลก โดยจากการทดสอบในอุโมงค์ลมอันทันสมัยพบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศเพียง 0.21


Lucid Air ผสมผสานจอแสดงผลรูปทรงอิสระกับการออกแบบภายในห้องโดยสารอย่างสวยงาม และช่วยให้ผู้ขับขี่ใช้งานซอฟต์แวร์และยูสเซอร์อินเทอร์เฟซได้อย่างราบรื่น เบื้องหน้าคนขับคือจอโค้ง Glass Cockpit 5K ขนาด 34 นิ้วที่ “ลอย” อยู่เหนือแผงหน้าปัด ให้ความรู้สึกโปร่งไม่อึดอัด ส่วนตรงกลางมีแผงควบคุมที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารสามารถเอื้อมถึงได้ง่ายและควบคุมระบบในรถได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีระบบควบคุมแบบกายสัมผัสอีกมากมาย เช่น ระบบพวงมาลัยมัลติฟังก์ชัน ปุ่มควบคุมเสียง และสวิตช์ปรับอุณหภูมิในห้องโดยสาร



ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่
Lucid DreamDrive ซึ่งเป็นระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ของ Lucid Air เป็นระบบแรกที่มีเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ครอบคลุมมากที่สุดในตลาด พร้อมระบบ Driver Monitoring System (DMS) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นมาตรฐานของรถรุ่น Air Dream Edition โดยมีเซ็นเซอร์มากถึง 32 ตัว ทั้งเซ็นเซอร์ภาพ เรดาร์ และอัลตราโซนิก พร้อมเซ็นเซอร์ LIDAR ความละเอียดสูงครั้งแรกของโลกในยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้งหมดทำงานร่วมกับระบบมาตรฐานอย่าง DMS และระบบสร้างแผนที่ระดับ HD เพื่อสนับสนุนการทำงานของเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ Level 2 และ Level 3 ให้มีความปลอดภัยสูงสุด


ไฟหน้าของ Lucid Air เป็นระบบ Micro Lens Array ที่ประกอบด้วย “ช่องแสง” หลายพันช่อง เทคโนโลยีที่บริษัทพัฒนาขึ้นเองก่อเกิดเป็นระบบไฟส่องสว่างที่ทันสมัยที่สุด แม่นยำที่สุด และสว่างที่สุด นอกจากนั้นยังสามารถปรับทิศทางช่องแสงด้วยระบบดิจิทัล นับเป็นการปฏิวัติทัศนวิสัยในการมองเห็นและเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่



ระบบควบคุมด้วยเสียง Alexa
Lucid จับมือกับ Amazon นำระบบควบคุมด้วยเสียง Alexa มาติดตั้งในรถ Lucid Air ช่วยให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารเพลิดเพลินกับการใช้งาน Alexa ตลอดการเดินทาง ทั้งการนำทาง โทรศัพท์ สตรีมมิง ควบคุมระบบสมาร์ทโฮม หรือแม้แต่ช็อปปิงออนไลน์ โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องละสายตาจากถนนและปล่อยมือจากพวงมาลัย ทั้งยังสามารถใช้ระบบควบคุมในรถ เช่น ปรับอุณหภูมิในรถได้อย่างง่ายดายเพียงแค่สั่งด้วยเสียง นอกจากนี้ เมื่อผู้ขับขี่ใช้งาน Alexa จะมีภาพปรากฏบนจอแสดงผลสำหรับคนขับเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ฟีเจอร์ที่ใช้งานได้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีการอัปเดตผ่านระบบ Over-the-Air (OTA) ที่ติดตั้งมากับรถ



Lucid Air จะจำหน่ายในอเมริกาเหนือก่อน โดยมีให้เลือก 4 รุ่น ดังนี้

Air รุ่นเริ่มต้น วางจำหน่ายในปี 2565 ในราคาเริ่มต้นไม่ถึง 80,000 ดอลลาร์ (72,500 ดอลลาร์ หลังลดหย่อนภาษีของรัฐบาลสหรัฐ)*
Air Touring รุ่นออปชันแน่น วางจำหน่ายปลายปี 2564 ในราคาเริ่มต้น 95,000 ดอลลาร์ (87,500 ดอลลาร์ หลังลดหย่อนภาษีของรัฐบาลสหรัฐ)*
Air Grand Touring รุ่นออปชันครบ วางจำหน่ายกลางปี 2564 ในราคาเริ่มต้น 139,000 ดอลลาร์ (131,500 ดอลลาร์ หลังลดหย่อนภาษีของรัฐบาลสหรัฐ)*
Air Dream Edition รุ่นพิเศษผลิตจำนวนจำกัด วางจำหน่ายช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2564 ในราคา 169,000 ดอลลาร์ (161,500 ดอลลาร์ หลังลดหย่อนภาษีของรัฐบาลสหรัฐ)*
มีให้เลือกสามสี ได้แก่ Stellar White, Infinite Black และ Eureka Gold ซึ่งเป็นสีเฉพาะของรุ่นนี้เท่านั้น แต่ละสีมาพร้อมการตกแต่งภายในสุดพิเศษในธีม “Santa Monica” โดยมีการใช้หนัง Nappa จากบริษัท Bridge of Weir Leather ทั้งคัน และไม้ยูคาลิปตัสประดับด้วยเงิน รถรุ่นนี้ใช้ล้อดีไซน์ “AeroDream” ขนาด 21 นิ้ว รวมถึงมีของแต่งและเครื่องหมายพิเศษที่แสดงให้เห็นว่าเป็นรถที่ผลิตจำนวนจำกัด



การวางจำหน่าย
ลูกค้าในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงบางประเทศในยุโรปและตะวันออกกลาง สามารถจองรถ Lucid Air ได้แล้ววันนี้ ด้วยการวางเงินดาวน์ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือวางเงินดาวน์ 7,500 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับรุ่น Dream Edition ที่ผลิตจำนวนจำกัด นอกจากนั้นยังสามารถซื้อจากโชว์รูมและศูนย์บริการ 20 สาขา ที่มีแผนเปิดตัวทั่วอเมริกาเหนือภายในสิ้นปี 2564 สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับราคา วันส่งมอบรถ รวมถึงโชว์รูมและศูนย์บริการในยุโรปและตะวันออกกลาง จะมีการเปิดเผยในภายหลัง

ข้อมูล “Lucid Air

https://www.autospinn.com/2020/09/lucid ... tors-80382
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 14

โพสต์

https://titechcusk.com/2013/07/25/batte ... tion-2020/

บทความนี้เขียนดีมาก อธิบายภาพให้เข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า เพียงแต่เขียนมานานพอสมควร
ใครมีข้อมูลแบบนี้ที่ใหม่ และ update ช่วยกันส่งมาครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
luckyman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2222
ผู้ติดตาม: 16

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สงสัยว่า ต่างประเทศที่ใช้ รถไฟฟ้า
ถ้าคนอยู่คอนโด หรืออพาร์ตเม้น เขาจะชาร์จไฟได้ยังไงเหรอครับ

ผมเข้าใจว่า ต้องชาร์จทิ้งไว้หลาย ชม ถ้ามีบ้าน ก็ชาร์จตรงโรงจอดรถทิ้งไว้ได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
luckyman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2222
ผู้ติดตาม: 16

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ราคาเทสล่า แต่ละประเทศ

https://www.billionmindset.com/tesla-mo ... the-world/
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 17

โพสต์

แห่ตั้งสถานีชาร์จรับรถอีวีโต บูม”ควิกชาร์จ-วอลบอกซ์”บ้านคอนโดพุ่ง
วันที่ 17 กันยายน 2563 - 18:35 น.

สถานีชาร์จรถอีวีโตพรวดพราด หน้าใหม่ดาหน้าลงทุนหลังรัฐบาลขีดกรอบขายไฟฟ้า 2.63 บาทต่อยูนิต ด้าน “อีเอ” ปรับกลยุทธ์บุกตลาดควิกชาร์จ ตอบโจทย์ลูกค้าพร้อมผนึก ปั๊ม-ห้าง-ศูนย์ฟาสต์ฟิต เร่งขยายเน็ตเวิร์ก ด้านผู้นำเข้าชุดชาร์จ wallbox เผยตลาดติดตั้งในคอนโดฯ-บ้านโตไม่หยุด

ความแพร่หลายของการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้งรถยนต์อีวี และรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด ในบ้านเรามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากรัฐบาลประกาศเป้าหมาย นโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ (EV) โดยมีเป้าหมายว่าในปี 2569-2573 จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด 30% ของการผลิต หรือ 750,000 คัน โดยในปี 2563-2665 รัฐต้องผลักดันการใช้อีวีในรถราชการ รถสาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ 60,000-110,000 คันนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานตัวเลขจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ว่า สถิติยอดจดทะเบียนสะสมของรถยนต์ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่ (BEV) ในช่วง ปี พ.ศ. 2558-มิถุนายน 2563 พบว่า มียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 4,301 คัน แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ 2,301 คัน รถยนต์ 1,731 คัน รถบัส 120 คัน และรถสามล้อ149 คัน

ขณะที่รถยนต์ไฮบริด และปลั๊ก-อินไฮบริด มีจำนวนทั้งสิ้น 167,767 คัน แบ่งเป็นรถยนต์ 162,192 คัน รถจักรยานยนต์ 5,573 คัน รถบัส 1 และรถบรรทุก 1 คัน

นอกจากจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นแล้ว สิ่งที่เติบโตควบคู่เพื่อรองรับความต้องการ คือ แหล่งชาร์จพลังงานไฟฟ้า ที่ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดโครงสร้างพื้นฐานรองรับการส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งกำหนดค่าไฟฟ้าคงที่ 2.63 บาทต่อหน่วย และตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะให้ตั้งภายในรัศมี 50-70 กิโลเมตร ทำให้มีจำนวนผู้ให้บริการ 10 ราย มีสถานีชาร์จเกือบ 560 แห่ง มีจุดชาร์จมากกว่า 1,800 จุดชาร์จ

ในจำนวนนี้แบ่งเป็นหัวชาร์จแบบ AC (ชาร์จปกติ) กว่า 1,200 จุด และแบบ DC(ชาร์จเร็ว) กว่า 600 จุด ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการสถานีชาร์จต่างเร่งมือเพื่อโอกาสและช่องทางการให้บริการทั้งในรูปแบบสาธารณะ รวมทั้งการขยายธุรกิจ การจัดจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าไปยังที่พักอาศัย เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน



หน้าใหม่ดาหน้าทำสถานีชาร์จ
นายบูรพา เลาหะรัตนะวิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท มาริซี่ ประเทศไทย จำกัด หนึ่งในผู้นำด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลัง ภายใต้แบรนด์ Fimer จากอิตาลี เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนจะเปิดตัวพร้อมแนะนำชาร์จเจอร์ เอซี สเตชั่น และอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ในงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2020 เป็นงานนิทรรศการการแสดงเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ครบครันที่สุดในภูมิภาค ระหว่างวันที่ 23-26 กันยายนนี้ ก่อนที่จะมีการเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า

โดยเบื้องต้นบริษัทตั้งเป้าจะมีการลงทุนเพื่อจัดทำสถานีชาร์จ Fimer ขนาด 20 กิโลวัตต์ก่อน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการมองหาพันธมิตรทางธุรกิจในการลงทุน เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นโอกาสและศักยภาพการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

“เราอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดและเตรียมความพร้อมของแผนธุรกิจ เนื่องจากเราเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ และมีเทคโนโลยี บวกกับการลงทุนต่อสาขาสำหรับสถานีชาร์จไม่ได้สูงมาก แต่เราต้องมองหาพันธมิตรในส่วนของสถานที่และโลเกชั่น ตอนนี้เรามีคู่ค้าอยู่ราว 200 ราย”

จากนั้นในสเต็ปต่อไป ราวต้นปี 2564 บริษัทเตรียมเปิดตัวชุดวอลบอกซ์ สำหรับชาร์จไฟ โดยเริ่มจากขนาด 3.7 กิโลวัตต์ก่อน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าจะขยายสถานีชาร์จไว้ที่ 50 แห่งต่อปี และจัดจำหน่ายชุด wallbox แบบดีซีไว้ที่ 20 ตัว


อีเอปรับแผนขยายจุดชาร์จด่วน
นายธนพัชร์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ในเครือบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวถึงแผนการดำเนินธุรกิจ กับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนการขยายสถานีติดตั้งเครื่องชาร์จพลังงานให้กับยานยนต์ไฟฟ้า โดยปัจจุบันได้โฟกัสไปที่การติดตั้งหัวจ่ายระบบ DC (ชาร์จแบบเร็ว) มากกว่าการชาร์จแบบ AC (ชาร์จปกติ) เนื่องจากสามารถตอบสนองการใช้งานได้รวดเร็วกว่า

โดยปัจจุบันบริษัทได้มีการลงทุนเพื่อติดตั้งสถานีชาร์จไปแล้ว 400 สถานีทั่วประเทศ ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาจากเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ 1,000 แห่ง ล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ส่งผลให้บริษัทต้องพิจารณาเพื่อทบทวนแผนการดำเนินงานอีกครั้ง

“เมื่อวันที่ 9 เดือน 9 เราได้เปิดใช้งานระบบชาร์จแบบ DC ตามสถานีชาร์จของเรา รวมทั้งที่เครือข่ายพันธมิตร อย่างเซเว่นอีเลฟเว่นและโรบินสันในเฟสแรก 40 สาขา โดยให้บริการในเวลา 22.00-08.00 น. ในวันธรรมดา ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดบริการทั้งวันก่อน จากนั้นก็เพิ่มในเฟสที่ 2 อีก 200-300 แห่ง ไปจนครบทุกแห่งที่เปิดให้บริการของเรา”

บุกเครื่องชาร์จติดตามบ้าน
นอกจากนี้ บริษัทยังเดินหน้าขยายธุรกิจในส่วนของการจัดจำหน่ายเครื่องชาร์จไฟฟ้า หรือ wallbox ไปยังลูกค้ากลุ่มผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด เพิ่มมากขึ้น ภายใต้แบรนด์ “อีเอ เอนี่แวร์” (EA Anywhere) หลังจากพบว่าความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้มีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ คอนโดฯ และบ้านพักอาศัย

ควบคู่ไปกับการขยายจุดชาร์จไฟฟ้าไปยังเครือข่ายพันธมิตรที่ได้มีข้อตกลงร่วมกัน ทั้งห้างสรรพสินค้า โรบินสัน, บิ๊กซี ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สถานีบริการน้ำมันเชฟลอน, ซัสโก้ ศูนย์บริการรถยนต์ แอค

ยอดติดตั้งคอนโดฯ-บ้านเดี่ยวพุ่ง
นายภัทร์ การุณกรสกุล ประธานกรรมการ บริษัท พร้อมชาร์จ จำกัด ผู้จัดจำหน่าย เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมี่ยม EO charging สัญชาติอังกฤษ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงสถานการณ์และการตอบรับของลูกค้าผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย พบว่าใน 12 เดือนที่ผ่านมา ยอดขายเครื่องชาร์จไฟฟ้า EO charging สำหรับติดตั้งที่บ้าน (home EV charger) มากกว่า 1,000 เครื่อง ส่วนปีหน้าคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 เครื่อง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากพฤติกรรมของลูกค้าที่เปิดรับ และมีความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ตลาดการจำหน่ายเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

“หลัก ๆ ลูกค้าของเราคือกลุ่มลูกค้าผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ประเภทปลั๊ก-อิน ไฮบริด ที่มีความมั่นใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ของเรา เนื่องจากเครื่องชาร์จ EO charging นั้นมีมาตรฐานสากล ยอดขายทั่วโลกกว่า 30,000 เครื่อง โดยเครื่องชาร์จนี้ผลิตและนำเข้าจากประเทศอังกฤษ จึงทำให้ลูกค้ามั่นใจถึงคุณภาพและการบริการหลังการขาย แม้ว่าปัจจุบันจะมีสินค้าประเภทเดียวกันจากจีนเข้ามาตีตลาด โดยใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ถูกเข้ามาแข่งขันก็ตาม”

ตลาดปลั๊ก-อิน ไฮบริด โตพรวด
ด้านนายพีระภัทร ศิริจันทโรภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV charging station) และจำหน่ายเครื่องชาร์จ โดยก่อนหน้านี้ได้จับมือกับพันธมิตร อย่างกลุ่มปตท., ไบเทค ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล รวมทั้งบริษัทอสังหาริมทรัพย์ คอนโดฯต่าง ๆในการเข้าไปติดตั้งสถานีอัดประจุไฟ

ปัจจุบันมีหัวจ่าย 247 หัวจ่าย 9 สถานี และปีนี้จะเพิ่มจำนวนหัวจ่ายอีก 100 แห่ง ซึ่งบริษัทเชื่อว่าโอกาสการเติบโตของธุรกิจการให้บริการอัดประจุไฟฟ้ายังเติบโตได้สูงตามการเติบโตของยอดขายรถยนต์โดยเฉพาะรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนรถยนต์ไฟฟ้านั้นอาจจะใช้เวลาอีกระยะในการเติบโต

ปตท.ปูพรมสถานีชาร์จไบเทค
ก่อนหน้านี้ บริษัทเปิดตัวให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV charging station) ของกลุ่ม ปตท.ที่ดำเนินการในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกในพื้นที่ศูนย์ประชุมไบเทค ให้บริการสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

ปัจจุบัน ปตท.ได้ติดตั้ง EV charging station ที่พร้อมให้บริการแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ไบเทค และ True Digital Park สุขุมวิท 101 มุ่งรองรับการเติบโตตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ

เบนซ์-บีเอ็ม กระตุ้นชาร์จทูเชนจ์
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า 2 ค่ายรถยนต์ยุโรป ทั้งบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด ต่างมีความพยายามในการรณรงค์และกระตุ้นให้คนไทยเกิดการรับรู้ โดยเฉพาะผู้ใช้รถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้า หันมาชาร์จไฟฟ้ามากขึ้น ระหว่างรอความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

โดยเบื้องต้นเมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้เปิดตัวโครงการ Charge to Change เพื่อรณรงค์ในเรื่องดังกล่าวและแจก wallbox เพื่อการชาร์จพลังงานไฟฟ้าแก่รถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด จำนวน 150 กล่องไปให้บริการในโรงแรมและห้างสรรพสินค้าชั้นนำ

เช่นเดียวกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ที่ยังคงผลักดันโครงการ ChargeNow เพื่อขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ผู้จำหน่ายทั้งหมด 141 หัวจ่ายใน 63 แห่งทั่วประเทศ สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ทั้งรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าล้วนในทุกรุ่นและทุกแบรนด์

ปีนี้จะเพิ่มหัวจ่ายเป็น 150 หัวจ่ายได้ภายในปีนี้ ขณะที่ลูกค้าบีเอ็มดับเบิลยูและมินิมีการติดตั้งตู้ชาร์จ iWallbox ที่บ้านและสำนักงานของตนเองมากกว่า 1,230 ตู้ และจะเพิ่มขึ้นรวม 1,840 จุดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

เอ็มจีเพิ่มจุดชาร์จอีกเท่าตัว
เช่นเดียวกับค่ายเอ็มจีที่ปัจจุบันมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้า อย่างเอ็มจี แซดเอส อีวี เป็นกอบเป็นกำ และกำลังจะแนะนำรถยนต์อีวี, ปลั๊ก-อิน ไฮบริด รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ประกาศเดินหน้าขยายและลงทุนติดตั้งจุดชาร์จในรูปแบบ DC จำนวน 100 แห่งในโชว์รูม และศูนย์บริการเอ็มจีทั่วประเทศ และจะเพิ่มอีกเท่าตัวในปีหน้า ก่อนขยายแผนงานในระยะที่ 2 เพื่อขยายจำนวนสถานีชาร์จไปยังเส้นทางหลักตามทางหลวง และจะเพิ่มสถานีชาร์จที่ศูนย์การค้า ออฟฟิศ หมู่บ้าน ที่พักอาศัย
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 18

โพสต์

มีภาพ Battery ตัวใหม่ของ Tesla ที่ผลิตขึ้นมาเองไว้ใช้สำหรับโปรเจค Roadrunner ที่เคลมว่าแบตเตอรี่รุ่นนี้จะใช้ได้เกิน 1ล้านไมล์หรือ 1.6ล้านกิโลเมตร

ซึ่งจากภาพที่หลุดออกมาคนก็ยังไม่ทราบรายละเอียด ยังไงก็คงต้องรอไปอีก 4วันที่งาน Battery Day กันล่ะครับ แต่ลูกพี่มาทวิตตอบแล้วครับว่า

เจ้าตัวนี้มันจะโคตรเจ๋งมากๆ ยังไงก็ต้องมารอดูกันครับ อีกแค่ 4 วันเอง

Tesla club thailand
แนบไฟล์
Screenshot_2020-09-18-10-49-19-290_com.facebook.katana.jpg

narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 19

โพสต์

Honda เตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ และ CR-V ขุมพลังปลั๊กอินไฮบริด!!

ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด Honda จากแดนมังกรออกมาเปิดเผยว่า พวกเขาเตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ถึง 2 รุ่นในเดือนกันยายนนี้

Honda ระบุผ่านทางเว็บไซต์ว่า พวกเขาจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบรุ่นใหม่ในงาน 2020 Beijing Motor Show ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 กันยายนนี้ ซึ่งมันจะถูกผลิตและจำหน่ายที่ประเทศจีนในอนาคต

นอกจากนี้ทาง Honda ยังได้เผยภาพตัวอย่างของรถรุ่นดังกล่าวออกมาด้วย โดยในภาพได้เผยให้เห็นรายละเอียดในบางจุด เช่นกระจังหน้าพร้อมโลโก้ และโคมไฟหน้าแบบ LED พร้อมล้ออัลลอยขนาดใหญ่

ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เช่น ชื่อรุ่นที่จะเปิดตัว และขุมพลัง ยังไม่มีการเปิดเผยออกมาแต่อย่างใด

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอีกรุ่นที่จะเปิดตัวในงาน Beijing Motor Show คือ Honda CR-V PHEV ที่จะมาในขุมพลังปลั๊กอินไฺฮบริด ซึ่งจะเปิดตัวเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีนด้วย

ที่มา www.honda.co.jp/news/2020/4200915.html
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 20

โพสต์

อ่านข่าวเช้านี้เห็นว่าธนาคารไทยพาณิชย์ถูกพูดถึงกับโซเชี่ยลกันมาก

แต่เพราะ #นี่เพจEVจริงๆค่ะ
เราจะไม่ยุ่งการมุ้งการเมืองอะไรหร๊อกกกกกก

ได้ยิน(ข่าวลือ)มาว่าเร็วๆนี้ทางธนาคารเตรียมใช้รถรุ่นนี้สำหรับผู้บริหารในนั้นกันครับ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่ธนาคารแห่งนี้เป็นหนึ่งในหัวหอกของเอกชนที่เริ่มใช้รถEVกันแบบ Big Lot ครับ เห็นว่าตอนนี้มีเทรนคนขับและผู้ใช้บางส่วนก่อนจะเริ่มส่งมอบเร็วๆนี้กัน

ใครไปเที่ยวตึก SCB Park แล้วเจอรถรุ่นนี้เดือนหน้าๆแวะมาเล่าให้แอดฟังด้วยนะครับ

ส่วนพรุ่งนี้แอดจะไปถอนเงินจากSCBมาซื้อ TSLA รองาน Battery Day ในอีก 2วันครับ

(สรุปตังค์ไม่พอถอน ถถถถ)
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เตรียมตัวให้พร้อม !!!
ท่านจะได้พบกับงาน iEVTech 2020 จัดขึ้นครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ “Scaling-up Electric Mobility & Beyond” ระหว่างวันที่ 23-26 กันยายน 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการไบเทค บางนา

ในช่วงพิธีเปิด วันที่ 23 กันยายน 2563 (12:30-17:00) ” CEO eMobility Forum” มีตัวแทนภาครัฐ และ ผู้บริหารระดับสูงจากค่ายรถยนต์ชั้นนำมาร่วมพูดคุยถึงแนวทางการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบทิศทาง และมุมมองของค่ายรถยนต์ว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆ ในระยะยาว

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนเข้าร่วมงาน iEVTech 2020ได้ที่: http://www.evat.or.th/17134742/ievtech-2020

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
โทร.0863903339
E-mail: [email protected]
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 22

โพสต์

Tesla เตรียมจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าล้วนราคาเริ่มต้น 7.85 แสนบาทภายใน 3 ปีข้างหน้า
By Tangsiri -23/09/2020
Elon Musk ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Tesla มีความตั้งใจว่าต้องการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูก และล่าสุดมันก็เกิดขึ้นจริง ผ่านการประกาศทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าราคาเริ่ม 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 7.85 แสนบาท

Elon Musk Tesla
Tesla Model X
อีก 3 ปีข้างหน้าเจอกัน
รายละเอียดของการประกาศทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือปี 2023 เป็นอย่างน้อย จุดเด่นของมันคือการกดราคาจนลงมาเริ่มต้นที่ 25,000 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดตั้งแต่ที่ Tesla เคยมีมา เพราะปัจจุบันรุ่นถูกที่สุดของ Tesla คือ Model 3 ราคา 35,000 ดอลลาร์

ทั้งนี้การกดราคารถยนต์ไฟฟ้าลงมาได้มากขนาดนี้ หัวใจหลักคือการกดราคาแบตเตอรี่ให้มีต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งจุดนี้ Tesla ทำมาอย่างต่อเนื่อง เช่นการเริ่มต้นผลิตแบตเตอรี่เอง และขยายโรงงานผลิตแบตเตอรี่ให้มากขึ้น เช่นล่าสุดอยู่ระหว่างสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ และประกอบรถยนต์ในเยอรมนี

tesla
ภาพจาก Tesla
“เมื่อเราทำอะไรเองมากขึ้น การทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าราคาประหยัด และให้ทุกคนเข้าถึงง่ายกว่าเดิมก็เกิดขึ้นได้ นี่คือความฝันตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจของ Tesla ซึ่ง 3 ปีจากนี้เรามั่นใจว่าเราจะสร้างรถยนต์ไฟฟ้าล้วนที่มีราคาดึงดูดใจเพียง 25,000 ดอลลาร์ และรถยนต์ไฟฟ้าล้วนรุ่นนี้จะติดตั้งเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับเต็มรูปแบบ” Elon Musk กล่าว

ในทางกลับกัน Tesla อยู่ระหว่างพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในมุมการขับขี่ และการควบคุมต้นทุน ดังนั้นการเข้ามาตอบโจทย์ในอนาคตที่รถเครื่องยนต์สันดาปภายในจะทยอยหายไปจากตลาด Tesla จึงทำได้ดีขึ้น ผ่านรุ่นรถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย

สรุป
การกดราคาลงมาของ Tesla กลุ่มที่น่าจะมีปัญหามาที่สุดน่าจะเป็นแบรนด์รถยนต์ดั้งเดิมที่พยายามทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าล้วน เพราะชื่อของ Tesla นั้นติดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยิ่งมีราคาถูก มันก็ยิ่งจูงใจผู้บริโภคมากกว่า ทำให้ฝั่งค่ายรถยนต์ดั้งเดิมที่ไม่ใช่กลุ่มรถยนต์หรูต้องมาวางกลยุทธ์กันใหม่แน่นอน

อ้างอิง // Bloomberg

https://brandinside.asia/tesla-new-cheap-ev/
ภาพประจำตัวสมาชิก
luckyman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2222
ผู้ติดตาม: 16

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 23

โพสต์

น่าสนใจมากครับ ราคาต่ำกว่าล้าน
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 24

โพสต์

Tesla เตรียมผลิตแบตเตอรี่เซลล์ขนาดใหญ่ กำลังผลิต 100GWh ภายในปี 2022, รีไซเคิลแบตเตอรี่เอง, ใช้แบตเตอรี่เป็นโครงรถ
By: lew FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid on 23 September 2020 - 10:02 Tags:Tesla MotorsBattery
Node Thumbnail
Tesla ประกาศผลิตเซลล์แบตเตอรี่ด้วยตัวเองหลังจากใช้แบตเตอรี่จากผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น Panasonic, LG, หรือ CATL มาโดยตลอด โดยเซลล์ที่ Tesla เรียกว่า 4680 จะผลิตนี้มีขนาดใหญ่มากเทียบกับเซลล์แบตเตอรี่ที่ Tesla ใช้งานอยู่ทุกวันนี้

เซลล์ 4680 (เส้นผ่านศูนย์กลาง 46 มิลลิเมตร สูง 80 มิลลิเมตร) ใหญ่ขึ้นมากเมื่อเทียบกับเซลล์ 2170 (เส้นผ่านศูนย์กลาง 21 มิลลิเมตร สูง 70 มิลลิเมตร) เมื่อนำมาใช้งานจะทำให้รถ Tesla มีพิสัยการขับขี่เพิ่มขึ้น 16% ข้อจำกัดของผู้ผลิตเดิมที่ไม่สามารถทำเซลล์แบตเตอรี่ให้ใหญ่ขึ้นได้คือเมื่อเซลล์ใหญ่ขึ้น แบตเตอรี่จะชาร์จช้าลงเรื่อยๆ ทาง Tesla ระบุว่าบริษัทพัฒนาโครงสร้างใหม่จะทำให้ชาร์จได้เร็วขึ้นแม้เซลล์มีขนาดใหญ่ก็ตาม

นอกจากตัวโครงสร้างเซลล์แบตเตอรี่เองแล้ว Tesla เตรียมจะเปลี่ยนแนววัตถุดิบเสียใหม่ โดยเตรียมมใช้ขั้ว anode แบบซิลิกอน และ cathode แบบนิเกิลสูง หลังจากนี้ Tesla จะเข้าไปผลิตวัตถุดิบพื้นฐานเหล่านี้ ทั้งสายการผลิตแร่ลิเธียมและนิเกิล รวมถึงจะเปิดโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่เองด้วย เพราะโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่เดิมต้องรองรับแบตเตอรี่หลายรูปแบบ แต่โรงงานของ Tesla รองรับเฉพาะแบตเตอรี่ของ Tesla เองทำให้ต้นทุนลดลง นอกจากนี้ทาง Tesla ยังได้สิทธิ์ทำเหมืองแร่ลิเธียมขนาด 10,000 เอเคอร์แล้ว

การปรับปรุงสุดท้ายคือการนำชุดแบตเตอรี่ไปเป็นโครงสร้างรถแบบเดียวกับเครื่องบินสมัยใหม่ที่ใช้ปีกเครื่องบินเป็นถังน้ำมัน แนวทางออกแบบใหม่นี้จะทำให้น้ำหนักรถลดลง 10% และชิ้นส่วนรถลดลง 370 ชิ้น

โรงงานแบตเตอรี่ของ Tesla กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาคาดว่าจะมีกำลังผลิต 10GWh ต่อปีเร็วๆ นี้จากนั้นบริษัทมีเป้าว่าจะผลิตให้ได้ 100GWh ต่อปีภายในปี 2022 และเพิ่มเป็น 3TWh ภายในปี 2030
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 25

โพสต์

https://www.car250.com/great-wall-poer-ev-405.html


2020 Beijing Auto Show กำลังจะจัดขึ้นในแดนมังกรพรุ่งนี้ หรือวันที่ 26 กันยายน 2020 ทาง GWM มีรถเปิดตัวมากมาย หนึ่งในไฮไลท์คงหนีไม่พ้น กระบะยอดขายดี Great Wall Cannon EV
Beijing Motor Show 2020 (2020 Beijing International Automobile Exhibition (ครั้งที่ 16) หรือ Auto China 2020 มหกรรมรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก เตรียมจัดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน (รอบสื่อ) ถึง 5 ตุลาคม 2020
Great Wall Cannon EV ราคาแนะนำ 279,800 ถึง 292,800 หยวน หรือประมาณ 1.29 -1.35 ล้านบาท
Great Wall Cannon EV มาพร้อมการออกแบบโดยใช้พื้นฐานจากรุ่นปัจจุบัน กระจังหน้าขนาดใหญ่ พร้อมเส้นสีน้ำเงินสร้างความโด่ดเด่นให้รถ EV บนตัวถังสีขาว คิ้วล้อในตัวถัง พร้อมล้ออัลลอยขนาดใหญ่ไฟท้ายซ้ายและขวาใช้แบบแนวตั้ง
การตกแต่งภายใน ใช้วัสดุที่แข็งแกร่งเน้นออกแบบสมมาตรซ้าย-ขวา ด้วยการใช้วัสดุไม้วีเนียร์ไม้เทียมสีน้ำตาลและวัสดุหนังทูโทนสีน้ำตาลและสีขาว หน้าปัดแบบ LCD
ขนาดตัวถัง
ยาว 5362 มม.
กว้าง 1883 มม.
สูง 1882 มม.
ฐานล้อ 3230 มม.
Great Wall Cannon EV ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า ให้กำลัง 204 แรงม้า แรงบิต 300 นิวตัน-เมตร ระยะการวิ่ง 405 กม./ชาร์จ
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 26

โพสต์

วันนี้ บริเวณด้านหน้าตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะผู้บริหาร พร้อมทีมวิจัย เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงผลงานวิจัย และนวัตกรรม “การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าโครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. (City transit E-buses)”
.
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุดมศึกษาฯ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และภาคเอกชน 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท พานทอง กลการ จำกัด บริษัท โชคนำชัย-ไฮเทคเพลสซิ่ง จำกัด บริษัท รถไฟฟ้า ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท สบายมอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
.
โดยพัฒนารถประจำทางที่หมดอายุการใช้งานมาดัดแปลง เป็นรถโดยสารไฟฟ้าต้นแบบ ขนาด 12 เมตร จำนวน 4 คัน มีความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 80 – 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบการใช้งานจริง โดยนายกฯ กล่าวชื่นชม การพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสาร ขสมก. ที่สามารถใช้ชิ้นส่วนอุตสาหกรรมภายในประเทศเกือบทั้งหมดช่วยสนับสนุนระบบ Supply Chain สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารส่วนตัว
.
นายกฯ ได้แนะนำการปรับปรุงระบบเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับน้ำมันมาตรฐานยุโรป ยูโร 5 และยูโร 6 ระบบการซ่อมบำรุง และชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องยนต์ และต้องขอขอบคุณที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันวิจัย และพัฒนาจนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าใช้ได้เองภายในประเทศ ตามแผนกว่าร้อยละ 60 ขณะเดียวกันยังรับทราบว่าการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีกว่าเดิมภายในประเทศ ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ได้คุณภาพ โดยเฉพาะแบตเตอรี่ที่บรรจุไฟฟ้าได้นานกว่าที่ใช้อยู่ รองรับการใช้รถไฟฟ้าเต็มระบบในไทย รวมถึงระบบกำจัดแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพ
.
ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าของไทย แต่การเปลี่ยนผ่านเองก็ต้องคำนึงถึงประชาชนผู้มีรายได้น้อย เพราะขีดความสามารถแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมนายพาหนะของภาครัฐ หากในอนาคตสามารถพัฒนารถโดยสารทั้งหมดเป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าได้ก็จะจัดหางบประมาณเพื่อจัดซื้อ จัดจ้าง เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นประโยชน์

-------------------------------
แหล่งข่าว

https://thainews.prd.go.th/th/news/deta ... 9112639071

https://www.posttoday.com/politic/news/634258

-------------------------------
ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
Facebook :
https://www.facebook.com/thvi5ion
Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2r ... 9FW2QEWjHQ
A61289

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ผมเองก็อยากจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าใจจะขาด
แต่เข้าใจว่า เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เกี่ยวข้องกันหมด มันต้องพร้อมทุกด้านถึงจะก้าวไปได้ คนเสียอาชีพคนตกงาน ที่สิ้นหวัง ปรับตัวไม่ได้ ถ้ากระทบเป็นจำนวนมาก ก็จะก่อเกิดการจราจล

ขอให้ บ้านเราค่อยๆปรับตัว โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังจำนวนมาก
รอขับTesla อยู่ครับ

ทีแรกกำลังคิดว่าจะใช้รถยนต์ คันเดิม จนรอรถไฟฟ้าเลย
แต่ดูไปดูมาสงสัย ต้องซื้อ เครื่องสันดาป อีกสัก 1-2 รุ่น
กว่าจะถึงวันที่รถไฟฟ้าเหมาะกับประเทศไทยและมีจุด ชาร์จไฟ มากพอ
โชคดีน้ำมันถูกลงมาก แต่ค่าmaintenanceรถ เดี๋ยวนี้มันแพงจริงๆ
ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าmaintenanceง่าย พวกช่างซ่อม อู่รถต่างๆ รายได้หายแน่นอน
narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 28

โพสต์

แนบไฟล์
Screenshot_2020-09-30-11-03-27-280_com.facebook.katana.jpg

narongthb
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3107
ผู้ติดตาม: 176

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 29

โพสต์

Solid-State battery ถูกนำมาใช้เป็นทางการกับรถบัสไฟฟ้าของเบนซ์ บางท่านอาจจะประหลาดใจว่าทำใมไม่เริ่มจากรถยนต์?

หลายค่ายเร่งพัฒนา แบตเตอรี่แบบโซลิดสเตท ซึ่งไม่มีอิเลคโตรไลค์ (ที่เป็นของเหลว) ทำให้ปลอดภัยกว่าและมีความจุมากกว่า

จากข้อมูลที่นำเสนอ จะเห็นว่าตัวเลขที่แสดงสเปคออกมาไม่สูงกว่าแบตเตอรี่แบบ (Li) NMC มากนัก (อยู่ที่ประมาณ 25%) เข้าใจว่าผู้ผลิตไม่กล้าเคลมสเปคตามจริงแต่สำแดงให้ต่ำไว้ก่อน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่มากและเสนอเวลารับประกันนานถึง 10 ปี

แบตเตอรี่ชนิด Solid-State จะเข้ามาเร็วมากกว่าที่หลายคนประเมินไว้ว่าจะต้องรอถึงปี 2022 เอาเข้าจริงแล้วไม่มีใครรอจะมีหลายค่ายทยอยเปิดตัวเร็วขึ้น

ในช่วงเวลานี้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ปั่นป่วนมากเพราะนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาตลอดเวลา การลงทุนสร้างโรงงานแบตเตอรี่จึงมีความเสี่ยงที่จะได้หรือจะเสียสูงมาก

https://insideevs.com/news/444449/merce ... e-battery/
papergirl
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 36
ผู้ติดตาม: 0

Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ไปปักกิ่งมาตอนปีก่อนรถยนต์ไฟฟ้าเยอะมากเกินครึ่งในแถบไฮเตี้ยนซึ่งเป็นโซนมหาวิทยาลัยและบริษัทต่าง ๆ เท่าที่ถามราคาเบามาก ต่ำกว่าแสน ถ้าไทยสนับสนุนแบบจีนบ้าง คนคงมาใช้กันเยอะ
โพสต์โพสต์