Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 91

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP2 TFUND

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ วันที่ 12 พค 2548 เป็นกองแบบFree hold
ถือเป็นproperty fund ลำดับแรกของ Ticon
ซึ่งต่อมากองทุนมีการเพิ่มทุนซื้อทรัพย์สินของTicon หลายรอบ

ล่าสุดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทคอนประกอบไปด้วย โรงงาน 235 แห่ง และ คลังสินค้า 8 แห่ง
มูลค่าทรัพย์สินล่าสุดอยู่ที่ 13,589 ลบ

อันดับของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ประกอบไปด้วย ไทคอน ถือประมาณ 18.17%
สำนักงานประกันสังคม 18.05%
เครือธนาคารกรุงเทพ ประกอบด้วย BBL,BKI,BLife ถือประมาณ 16%
กองทุนรวม ของ SCBAM, ONE , BBLAM ถือประมาณ 5%
สภาพคล่องกองนี้จะดีกว่าBKKCP สังเกตว่า มีกองทุนรวมเข้ามาถือด้วย

การจ่ายปันผล อยู่ในช่วง 0.15-0.17 บาทต่อไตรมาส คิดเป็นผลตอบแทน 5-6%
กองทุนนี้เจอวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ปี2554 ทำให้ Occupancy rateลดลงเหลือประมาณ 50%
และ ค่อยๆปรับเพิ่มขึ้น โดย Occupancy rate ล่าสุดอยู่ที่ 72%
ราคาตลาดหลังจากเจอน้ำท่วมจะต่ำกว่า NAV มาตลอด จนกระทั่งมีข่าวจะควบรวมกับ TREIT
ทำให้ราคาตลาดเริ่มขยับมาใกล้กับ NAV 11.5016 บาท(30 Jun 17)

ถ้ามองเรื่องราคา กองทุนนี้ ราคายังไม่แพง เพราะมีDiscountจากราคาตลาดบ้าง
ถ้าเทียบกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์อื่นที่มีราคาpremiumหมายถึง ราคาตลาดสูงกว่าราคาNAV

ปัจจุบัน กองทุนไม่สามารถขยายกองทุนโดยซื้อทรัพย์สินเพิ่มเติมได้แล้ว
ดังนั้น บริษัท TICON จึงเสนอให้มีการควบรวม TFUND,TLOGIS,TGROWTH เข้ากับ TREIT

ข้อดีของการแปลงสภาพเป็น TREIT

1. สามารถขยายขนาดของกองทุนได้ สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้หลายประเภทรวมถึงต่างประเทศ
2. สามารถกู้ได้สูงสุด 60% ถ้าเป็นกองทรัสต์ที่
มีrating investment grade ดังนั้น ถ้าโอนเข้าTREIT จะได้รับเงิน
1.6977 บาทต่อหน่วยจากกำไรสะสม และ ส่วนลดทุน เพราะ เดิมกองTFUNDกู้ยืมได้ไม่เกิน 10% แต่TREITกู้ยืมได้มากขึ้น ไม่ต้องใช้เงินจากผู้ถือหน่วยเท่ากับTFUND เลยคืนเป็นเงินสดให้
แต่ตอนแลกหน่วยลงทุน จะได้รับ TREIT 0.9874 หน่วย ต่อ TFUND 1 หน่วย
3. กระจายความเสี่ยงของกองดีขึ้น เพราะทำเลที่ตั้งหลายหลาย และ มีกระจายสัดส่วนของโรงงาน คลังสินค้าดีกว่าเดิมที่มีเน้นหนักที่โรงงานถึง 97%
4. ถ้าโอนเข้าTREITก่อนสิ้นปีนี้ จะได้รับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น
5. IRR หลังแปลงสภาพ จะสูงขึ้น เพราะใช้เงินกู้มากขึ้น ใช้ทุนน้อยลง
6. สามารถขยายกองโดยการรับซื้อสินทรัพย์จากTicon ในปีหน้า 3,500 ลบ
7. ค่าบริหารจัดการ ที่ TMANคิดจะถูกกว่าบลจ คิดเล็กน้อย

ข้อเสียในมุมมองของผม
1. สัดส่วนของFree hold ลดลง เพราะ TREIT ใหม่ มี Lease hold ผสมอยู่ด้วย
2. นิติบุคคล ต้องเสียภาษีเงินปันผล
3. ต้องรับสัดส่วนของคลังสินค้ามากขึ้น ซึ่งนักลงทุนบางท่านอาจไม่ต้องการ

สุดท้ายผู้ถือหน่วยเป็นผู้พิจารณาว่าสมควรแปลงสภาพเป็น TREIT

วันที่ 18 ตค อย่าลืมไปประชุมเพื่อโหวตนะครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 92

โพสต์

Property fund & REITs & Infrafund Series
EP3 เรื่องน่ารู้สำหรับ Property fund & REITs & Infrafund

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตอน IPO จะออกโดย บลจ และ นำเอาเงินจากผู้ซื้อหน่วยลงทุนไปซื้อทรัพย์สินต่างๆ
หลังจาก IPO ก็สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือผ่านตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น จำนวนหน่วยลงทุนจะเท่าเดิมเหมือนตอนIPO
ยกเว้นกองนั้น มีการเพิ่มทุนภายหลัง

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ แบ่งออกเป็น 3 แบบ

1. Property fund ปัจจุบัน 51 กองทุน Market cap 332,139 ล้านบาท
2. Infrastructure fund ( IFF ) ปัจจุบัน 5 กองทุน Market cap 232,991 ล้านบาท
3. Real Estate Investment Trust ( RIET ) ปัจจุบัน 9 กองทุน Market cap 61,300 ล้านบาท

กรรมสิทธิ์ของกองทุนมี2แบบคือ

1. Free Hold หมายถึง การซื้อขาย มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตลอดจนกว่าจะขายออกไป
2. Lease Hold หมายถึง การซื้อสิทธิการเช่า หรือ เซ้ง นั่นเอง

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ เริ่มมีกองแรก เมื่อ 13 ปีที่แล้ว คือ กองทุนยูโอบีอพาร์ตเมนต์หนึ่ง ซึ่งเป็นกองทุนแบบ Lease Hold ส่วนกองที่สองตามมา คือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์บางกอก ( BKKCP )
ซึ่งมีกรรมสิทธิ์บางส่วนของตึกชาญอิสระ1,2 ส่วนกอง RIET เช่น กอง Golden Venture Leasehold Real Estate หรือ GVREIT ราคาเข้าตลาดวันแรก พุ่งกว่า 40% เพราะ ดอกเบี้ยต่ำทำให้คนสนใจกองนี้มาก ปันผลสูงเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยปัจจุบัน เคยขึ้นไปสูงสุดกว่า 64% ก่อนตกลงมา

หลักการตรวจสอบกองทุนอสังหาริมทรัพย์ก่อนซื้อ

1. กรรมสิทธิ์ Freehold or Leasehold
2. ทรัพย์สินที่ไปลงทุน ทำธุรกิจอะไร ตั้งอยู่ไหน จำนวนแห่งในกอง
3. รายได้มาจากธุรกิจอะไร Occupancy Rate (ปริมาณการใช้พื้นที่ ) เท่าไหร่
อัตราการขึ้นค่าเช่า โอกาสขึ้นค่าเช่า

สิ่งที่ควรเช็คเพิ่มเติม มี 3 ข้อ

1. เงินปันผล เป็นข้อดีของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่เงินปันผลค่อนข้างสม่ำเสมอ
2. สภาพคล่อง ถ้าขนาดกองทุนเล็ก ก็อาจเกิดสภาพคล่องน้อย อยากขายก็ขายไม่ได้
สามารถเช็คจากมูลค่าการซื้อขายจริงในตลาดได้
3. ราคา เป็นปัจจัยท้ายสุด

นอกจากนี้ จะดูว่าราคานี้สามารถลงทุนได้ไหม เราต้องมี IRR อยู่ในใจ และ คำนวณIRR จาก
ราคาตลาดตอนนี้ และ เงินปันผลที่จะได้รับ ถ้าสูงกว่าที่ เราตั้งไว้ ก็น่าลงทุน
นอกจากเราได้คำนวณราคาที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องสนใจว่า ทรัพย์สินในกองเป็นอะไร และ
ลองแวะไปดูก่อนการตัดสินใจซื้อด้วย
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 93

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP4 เข้าใจREITs มากขึ้นจากสัมมนา How raise fund from REITS from SCB

วิทยากร คุณ Tanadech Opasayanont FSVP Investment Banking1 Division ,SCB

REITs มีStructureอย่างไร
ต่างประเทศมีมาหลายสิบปีแล้ว สิงคโปร์ก็มีช่วงหลังต้มยำกุ้ง
แต่ไทย REITsพึ่งเข้ามาสามปี เมื่อก่อนมีแต่property fund
เมื่อก่อนอสังหาต้องลงทุนสูง มีการจ้างงาน แต่ต่างประเทศมีREITSs มาช่วยโดยระดมทุนจากคนทั่วไป
มีผลบวกต่อเศรษฐกิจ โดยREITsได้รับประโยชน์จากภาษี
REITsต้องเป็นอสังหาที่investment riskไม่สูงเกิน อสังหาอยู่ในช่วงที่สร้างไปแล้ว
เปิดโอกาสให้คนเม็ดเงินไม่มาก มาซื้อได้
ไทยมาใช้ปี2000 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยใช้platform Mutual fund

โครงสร้างของ REITs
Sponser & Investor คือ Buyer ถือได้ไม่เกิน50%
ที่เหลือก็จัดสรรตามความเหมาะสม

REIT Manager ดูแลนักลงทุนในแง่เปิดเผยข้อมูล ดูแลทรัพย์สินและportfolio
ซื้อ ขาย ปรับโฉม ทรัพย์สิน รวมถึงจัดหาเงินลงทุน

ส่วนTrustee คอยดูเช็คกับREIT Manager ว่าทำสมเหตุผลหรือไม่
ตัวREITs ไม่ใช่นิติบุคคล ไม่สามารถทำtransaction ได้
เป็น Trusteeเป็นคนทำนิติกรรม

รูปแบบการลงทุน
มี3แบบ ได้แก่ Freehold , Leasehold และสุดท้ายคือการไปเข้าถือหุ้นในReal Estateแต่ช่วงนี้มีน้อย
เพราะไม่ได้ประโยชน์ทางภาษี มีสาเหตุ ถ้ามีการโอนผ่านการถือหุ้น
ต้องเสียTAX ประมาณ 20%ของEBITDA และ มีค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่น Depreciation
ดังนั้นจึงนิยมถือแค่ Freehold, Leasehold

การกู้เงิน ต่อให้ไม่มีrating สามารถกู้ได้ 35%
แต่ถ้าได้investment grade กู้ได้ถึง 60%
เนื่องจากผลประโยชน์ทางภาษี จึงให้ Trusteeเป็นคนทำธุรกรรม
แต่ยังคงควบคุมความเสี่ยงของกองอยู่
Nature of asset : เหมือน property fund เพิ่มขึ้นคือ ธุรกิจโรงเรียน หรือ โรงพยาบาล มีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง
โดยลงทุนhardwareของโรงเรียนหรือโรงพยาบาล ให้คนบริหารreal estateเพื่อให้ได้มูลค่าเพิ่มสูงสุด
มีในต่างประเทศ (เรียกว่า Asset Light Strategy )
การแยกการบริหาร โดยจัดproperty company and REITs company ออกจากกัน
ในแง่ cash flow อาจมี property ที่ให้เช่าหักcarpex 100 ลบ
ถ้าเราhappyก็เก็บไว้
แต่ REITs เสนอ ผลตอบแทน 1,500 ลบสำหรับการซื้อทรัพย์สิน แทนรับปันผล 100 ลบต่อปี
คนขายได้เงินไปทำอย่างอื่น หรือ มาถือสินทรัพย์ที่ขาย และจะได้เงินปันผลด้วย
เช่น ถือ 20% ก็ได้ปันผลปีละ 20 ลบ
REITs มีFeatureให้เก็บไว้บางส่วน ไม่จำเป็นต้องขายทั้งตึก เพราะคนขายต้องการเงินบางส่วนเท่านั้น

ภาษีหลักๆที่เกี่ยวกับREITs

1. Transaction cost
Freehold : SBT 3.3% , Transfer fee 2% , VAT 7% , CIT on Gain 20%
Leasehold : Registration 1%, Stamp Duty 0.1%

2. Dividend Tax : Non resident & Individual 10% withholding tax

Q: มีบริษัทที่ถือตอนIPOและทยอยออกเหลือต่ำกว่า 20% หรือไม่
A: ยังกลับไปถือ ทำให้รายย่อยเกิดความมั่นใจ และ ไม่ได้ต้องการเงินทั้งหมดจากการขาย
Listed company ถือpreperty fund ไม่ต้องเสียภาษี พอเป็นREITs เสียภาษี เลยไม่อยากถือเยอะ
แต่ถ้าเราถือREITs ต่ำกว่า 20% ทางบัญชีถือเป็นกำไรได้ทั้งหมด
แต่ถ้าถือเกิน20% จะใช้วิธีการลงบัญชีแบบEquity method
ดังนั้นการถือหน่วยต้องดูทั้ง marketing & Finance ต้องdesign case by case
แต่ถ้าบริษัทที่ถือไม่ใช่บริษัทListed (จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)
จะนับยอด50%ของปันผล ไปเสียภาษีในอัตรา 10%

ประโยชน์ของREITs
ถ้าไม่มี REITs นักลงทุนที่ต้องการสร้างตึก ต้องเก็บเงินกว่าจะได้หลายปี
อาจเสียโอกาสทางธุรกิจ หรือกู้เงินซึ่งมีต้นทุน5-6%น้อยกว่าที่จ่ายให้REITS 8-10%
ถ้ากู้ได้ ควรกู้มาลงทุน แต่ถ้ากู้ไม่ได้ REITsน่าสนใจ โดยขายassetชิ้นนึงเพื่อไปลงทุนอีกasset
หรือมีprojectใหม่ที่น่าสนใจ ถึงแม้กู้เงินได้
เช่น cpnเมื่อ10ปีก่อน มีการcontrol finance ต้นทุนสูงกว่ากู้ธนาคาร แต่ทำให้ขยายสาขาได้เร็วขึ้น

How to achieve Full & Fair Valuation :

1. Selecting the right Assets ปกตินักลงทุนต้องการผลตอบแทน7%
แต่assetช่วงแรกให้ผลตอบแทน7ล้านบาทในช่วงโครงการเริ่มต้น แต่ต่อมาผลตอบแทนสูงจากการเช่าเพิ่มขึ้น ท้ายสุดได้ผลตอบแทนเท่ากับนักลงทุนที่หวัง แต่คนจะรอได้ไหม เหมือนนักลงทุนไปซื้อหุ้นPEสูงเพราะมีความหวังว่าบริษัทจะเติบโต

REITs ส่วนใหญ่คนที่ถือประมาณ 40%มาจากคนฝากเงิน อีก 40%มาจากสถาบันการเงิน ดังนั้นจึงเอาasset ที่ Matureและไม่ต้องมีcapex นักลงทุนจะชอบ อย่างแรกคือเลือกassetให้เหมาะสม
Gland มีหลายasset ก็พิจารณาเอาตึกuni-leverส่วนofficeเข้ามาก่อน ไม่จำเป็นต้องเอาassetเข้าพร้อมกัน
มาจากความจำเป็นต้องใช้เงิน
REITsอันไหนที่มีpipe line นักลงทุนสถาบันจะสนใจ ทำให้valuationดีขึ้น (ควรมี inorganic growthด้วย)
ซึ่งตอบโจทย์ การใช้เงินและvaluation

2. Optimal Structure
การขจัดการแข่งขัน เนื่องจากนักลงทุนกลัวเจ้าของทรัพย์สินมาแข่งขันด้วย เช่น
ปิ่นทอง มีกลไกนี้ เช่น OR เดิม90% ถ้าลดลง แต่เจ้าของORมากกว่า สามารถเข้าไปขอซื้อ ช่วยลดการแข่งขันได้
แต่ไม่สามารถลดRiskได้ ทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้น
มีหลายกองให้Garuntee ช่วยในassetที่โตไม่สุด แต่บริษัทอยากขาย เชื่อมั่นว่าโตได้ เพราะเชื่อว่าอนาคตโตได้
และขายในราคาที่premium ข้อเสีย ถ้าOR drop ลงมาหลังหมดgaruntee จะออกใหม่ได้ลำบาก
Transaction cost ช่วยได้

3. Effective Marketing plan
Ex the Nine tower & Uni liver pack รวมกันขาย คล้ายBond uni lever 30% อีก 70% ขายgrowthของ
ตึก the Nine tower ที่กำลังgrowthอยู่
ตอนขาย ถนนรัชดาพระราม9 ถนนติดน้อยกว่าพระราม3 พื้นที่เช่าราคาน่าสนใจ
เป็นgrowth story ต่อไป มี Future project ที่จะโตต่อไป
ทำให้เราpositioning ของ REITS ว่าเหมาะสมกับขายใคร ขายprivate or public
FA ต้องแนะนำว่าทำอย่างไรให้คนซื้อสนใจซื้อ

ประเด็นที่จะทำหรือไม่ทำ REITS
1.Cost benefit ขายไปแล้วดีอย่างไรกับบริษัท ต้องเทียบกันด้านการเงิน
2.เรากลับเข้าไปinvolveได้ แต่ไม่สามารถvoteอะไรที่conflict เราเป็น silense vote
3. ผมอยากขายแต่ถือสัดส่วนมากพอเช่น 40%แต่โดนเรื่องภาษี การถือเกิน25%ไม่ต้องรับซื้อหน่วยทั้งหมด
4.หลายตึกmixed used cpnrf ไม่ได้เอาเข้าส่วนโรงแรม บางอย่างต้องshareกันอยู่ costส่วนนี้ทำอย่างไร
5. การรับรู้ทางบัญชี ถ้าขายตรงๆ อาจมีเรื่องภาษี หรือ take overง่ายๆ

REIT Manager
Set up บริษัทขึ้นมา หรือ ถ้าอยากเป็นREIT Manager ต้องfull time 3 คน แต่จริงๆต้องใช้ 6 คน
มีประสบการณ์ด้านreal estates หรือ การลงทุน 3 ปี อย่างน้อย 2 คน
1.ทำ marketing , DD , เปลี่ยนหน้าตาทรัพย์สิน
2.Finance กู้จากใคร เพิ่มทุน ซื้อของ
3.Risk & compliance ทำ internal control
ค่าใช้จ่าย 7-10 ล้านบาทต่อปี หรือ ใช้บริการของ 3rd party แต่ต้องระวังว่า
REIT Manager ไม่สามารถบริหารREITsประเภทเดียวกันเกิน 1 กองทุน

ขอบคุณวิทยากรจากSCBมาให้ความรู้ครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 94

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP5 CPNCG


ถือเป็นกองproperty fund ที่Hotพอสมควร
ลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ อาคารสำนักงานดิ ออฟฟิศเคส แอท Central world อายุการเช่าหรือเซ้งเป็นเวลา 20 ปี พื้นที่สำนักงานประมาณ 113,328 ตรม หรือ คิดเป็นพื้นที่เช่าประมาณ 74,605 ตรม และพื้นที่จอดรถ 1,218 คัน

กองทุนนี้บริหารโดย บลจ ไทยพาณิชย์ เปิดให้จองในช่วงที่property fund นิยมมากในช่วงนั้น โดยเปิดให้จองช่วง4-10 กย พศ. 2555 ในราคา 10.30 บาท
โดยจำกัดให้ซื้อไม่เกิน 10,000 หน่วยลงทุน หาซื้อค่อนข้างยาก กว่าจะหาซื้อได้ก็เป็นสาขาของSCBที่ไม่ค่อยมีคนไป

จดทะเบียนเข้าตลท ในวันที่ 21 กย 2555
ผู้ถือหน่วยลงทุน ลำดับแรก เซ็นทรัลพัฒนา ถือ 25% ส่วนลำดับที่ 2-10 เป็นธนาคาร ประกันชีวิต และ property fund ของ บลจ ธนชาติ รวมประมาณ 26%

ผลตอบแทนจากเงินปันผล ประมาณ 6%

ราคาตอนเข้าซื้อขายวันแรก ขึ้นไปถึง 13บาท ถือเป็นกลยุทธ์ที่limit supply
ทำให้มีความต้องการกองนี้มากตอนเข้าตลาด ตอนหลังๆมีบลจนึง ให้สิทธิ์เฉพาะลูกค้ารายใหญ่ซื้อเท่านั้น
ทำให้ราคาเปิดตอนเข้าตลท เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ช่วงจังหวะที่ซื้อกองทุนนี้ที่ดีที่สุด คือ ช่วงที่มีการปิดกรุงเทพตอนต้นปี 2557 ซึ่งการเข้าออกอาคารค่อนข้างยาก
เพราะมีการตั้งเวทีอภิปรายกันตลอดวันตรงCentral world ราคาหล่นไปเหลือ10 บาทต่ำกว่าราคาจองเสียอีก

หลังจากเหตุุการณ์ปิดกรุงเทพเสร็จสิ้น ราคาก็ทยอยปรับขึ้นไป และสูงสุดช่วง 16.xx บาทในช่วง 1H 16 ซึ่งเป็นช่วงที่property fund นิยมมากสุด มีการออกหนังสือเกี่ยวกับ property fund ออกมา สัมมนามีพูดถึงอยู่บ่อยๆ

แต่ต่อมาอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ราคาตลาดค่อยๆลดลงมาอยู่ที่ 13บาท

ช่วงกลางปี2560 ที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มไม่เพิ่มขึ้น ทำให้property fund เริ่มน่าสนใจอีกครั้ง ทำให้ราคาปรับไปใกล้ 14บาท

จุดซื้อสำหรับ property fund คือ

1. ช่วงวิกฤตชั่วคราวสำหรับกองนั้น แต่ยังมีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว

2. ช่วงที่คนไม่ค่อยสนใจ หรือ อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ คือ

1. ช่วงที่ทุกคนพูดถึงproperty fund มีสัมมนาจัดกันตลอด แม้แต่เซียนยังมาพูดถึง

2. ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวที่จุดต่ำสุด และ มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น

คำเตือน
กองทุนนี้เป็นสิทธิการเช่า ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณ 15 ปี ดังนั้นถ้าเราถือไว้ต้องระวังตอนช่วงใกล้ๆหมดอายุของ
สิทธิ์การเช่า ราคาอาจปรับลดมากๆ เพราะเมื่อครบอายุ ต้องคืนพื้นที่ให้เช่ากับเจ้าของ หรือ ต้องซื้อสิทธิ์การเช่าใหม่
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 95

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP6 Fund of Property Fund
ONEPROP-RMF


วันนี้ผมขอแนะนำ กองทุนที่ลงทุนในproperty fund
เหมาะสำหรับคนที่สนใจลงทุนProperty fund แต่ไม่มีเวลาศึกษาหรือติดตาม
และ ถ้าเป็นกองRMFก็สามารถซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้อีกต่อ
เป็นทางเลือกสำหรับลงทุนใน RMF ขณะที่ดัชนีหุ้นอยู่ในระดับสูง
วันนี้เลยมาแนะนำกอง ONEPROP-RMF

Background

ONEAM เป็นหนึ่งในสองบลจ ที่ริเริ่มออกกองทุน Fund of Property fund
บลจอีกหนึ่งแห่งคือ บลจ กองทุนรวม หรือ MFC
กลับมาที่บลจ วรรณ ซึ่งถือว่าเป็นบลจแรก ที่ริเริ่มออกกอง Property fund ในช่วงที่คุณวิวรรณ
เป็นผู้บริหาร ได้รับมอบหมายจากตลาดหลักทรัพย์ให้ศึกษา property fund จากต่างประเทศ
เพื่อจะได้ออกกองทุนในไทย ในช่วงต้มยำกุ้ง ซึ่งทางภาครัฐอยากช่วยภาคอสังหาริมทรัพย์
จึงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ property fund ที่เป็นกองประเภทที่1
ท้ายที่สุดทางบลจ วรรณ ก็สามารถออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์บางกอก หรือ BKKCP ออกมาได้
หลังจากนั้นผ่านไป8ปี ได้เปลี่ยนผู้บริหารใหม่ที่บลจวรรณ และได้มีการออก ONEPROP ซึ่ง
เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนเฉพาะproperty fund มีนโยบายauto redemption
หมายถึง นโยบายการขายหน่วยลงทุนออกให้กับลูกค้าหลังจากได้กำไร
ซึ่งไม่ต้องเสียภาษี ถูกใจนักลงทุนมาก ถ้ายังจำกันได้ ช่วงนั้นเป็นช่วงบูมของproperty fund
กองนี้ได้ capital gain จากราคากองทุนproperty fund ที่ถืออยู่ เช่น CPNRF
และสามารถจ่ายคืนบางส่วนให้กับผู้ถือหน่วยผ่านทาง auto redemptionได้
ต่อมากองนี้ไม่สามารถขายเพิ่มได้ ดังนั้นได้ออกกองทุนรวมใหม่ที่ลงในproperty fund
และ จ่ายผลประโยชน์ผ่านทางเงินปันผล ซึ่งต้องเสียภาษีเงินปันผลด้วย
ท้ายที่สุด บลจ วรรณ ได้ออก ONEPROP-RMF เป็นทางเลือกสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนในRMF

IPO
กองทุนนี้บริหารโดย บลจ วรรณ เปิดให้จองในช่วงที่property fund นิยมมากในช่วงนั้น โดยเปิดให้จอง
19 Nov 2012

สัดส่วนที่กองนี้ถือในProperty fund ล่าสุด
5อันดับแรกที่ถือรวมกัน ณ 30 Jun 17 เกิน 50% ได้แก่
1. CPNRF 15.25%
2. TLGF 14.57%
3. SPF 11.82%
4. QHPF 8.95%
5. QHHR 7.9%

ผลตอบแทนการลงทุน
ผลตอบแทนจากเงินปันผล ย้อนหลัง 3 ปี ประมาณ 7%
ผลตอบแทนจากเงินปันผล ย้อนหลัง 6 เดือน ประมาณ 4.79%
ผลตอบแทนของกองนี้ ขึ้นลงตามราคาตลาดของproperty fund ที่ถืออยู่

ช่วงจังหวะที่ซื้อกองทุนนี้ที่ดีที่สุดที่ผ่านมา
ช่วงตั้งแต่กลางปี2560 ที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มไม่เพิ่มขึ้น ทำให้property fund เริ่มน่าสนใจอีกครั้ง

จุดซื้อสำหรับ fund of property fund คือ

ช่วงที่คนไม่ค่อยสนใจ หรือ อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ช่วงตั้งแต่ต้นปีจนถึงกลางปีนี้
ซึ่งราคาของproperty fundขยับลงมาพอสมควร
หรือช่วงนี้ต้องการลดหย่อนภาษี และ กองหุ้นที่เป็นRMFอยู่ในช่วงที่สูง กองONEPROP-RMF
ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ

ช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงการซื้อ คือ
1. ช่วงที่ทุกคนพูดถึงproperty fund เช่นช่วงปี 2556 , 2560
2. ช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวที่จุดต่ำสุด และ มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น

เรื่องที่ต้องรู้
กองทุน Fund of Property fund มีการค่าใช้จ่ายเช่น Backend fee , Management fee
โดยรวม 3.5% ซึ่งเป็นต้นทุนค่อนข้างสูง

สรุป
น่าจะเหมาะสมเป็นasset class อันนึงสำหรับลงทุนใน RMF
สัดส่วนเท่าไหร่ ก็ขึ้นกับผู้ลงทุนว่าต้องการผลตอบแทนโดยรวมเท่าไหร่



ติดตามตอนต่อไปโดยกดดาวที่เพจ เพื่อติดตามได้ครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 96

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP7 SPF หรือ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย


วันนี้ผมขอแนะนำ property fund ที่ลงทุนในสินทรัพย์อีกประเภทที่แตกต่างจากที่เคยเขียน
ที่เป็น สำนักงานให้เช่า โรงงาน คราวนี้เป็นสนามบิน
หลายคนที่ลงทุนในหุ้น จะเห็นว่า AOT เป็นหุ้นที่ดูแลสนามบินทั่วประเทศและผลประกอบการที่ผ่านมา
ดีเยี่ยม ราคาตลาดก็ขึ้นไปเร็วมาก อยากลงทุนแต่กลัวว่าราคาที่ซื้อจะสูงไป ลองมาศึกษาProperty fund
ที่ลงทุนในสิทธิการเช่าสนามบินดู เป็นอีกทางเลือกนึง

Background
กองทุนอสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าสนามบินสมุย ถือว่าเป็นAssetที่แปลกกว่าสินทรัพย์อื่น
มีแค่กองเดียวในไทยที่ลงทุนในสิทธิการเช่าระยะยาวของสนามบินบนเกาะสมุย รวมถึง ทางวิ่งของเครื่องบิน
ลานจอดเครื่องบิน อาคารผู้โดยสารปัจจุบัน และ อาคารใหม่ อายุการเช่า30ปี แต่เป็นการเช่าช่วงละ3ปี
และต่อสัญญาใหม่ อายุเหลืออยู่ประมาณ 19 ปี

IPO
กองทุนนี้บริหารแรกเริ่มโดย Siam city asset management จดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
24 Nov 2006 ต่อมาบลจ SCI ถูกซื้อไปโดย บลจ เกียรตินาคิน และท้ายสุดเปลี่ยนชื่อเป็น บลจ ภัทร

ผู้ถือหน่วยลงทุน 10 อันดับแรก ณ 28 สค 60 ประกอบไปด้วย
1. บริษัท การบินกรุงเทพ 33%
2. ธนาคาร เกียรตินาคิน 8.05%
3. อลิอันซ์ ประกันชีวิต 7.14%
4. นายชาลี วลัยเสถียร 1.81%
5. ONEAM 1.46%
6. MFC รวม 2 กอง 2.64%

สังเกตว่าเจ้าของถือเต็มสิทธิ์ คือ 33%
มีนักลงทุนรายใหญ่ นามสกุลวลัยเสถียรเข้ามาถือลงทุนด้วย
และ มีอีก 2บลจ มาลงทุนในรูปแบบ fund of property fund

ผลตอบแทนการลงทุน

ผลตอบแทนจากเงินปันผล ประมาณ 6.18%ณ ราคาตลาด 24บาท
แต่อัตรานี้รวมเงินที่จ่ายคืนเงินต้นด้วย
ถ้าอัตราการจ่ายปันผลที่ 6.18% รับจนครบอีก 19 ปี จะได้เงินเท่ากับ 28.18 บาท เงินต้นจะหมดไป
เท่ากับว่าเราซื้อตอนนี้ที่ราคา 24 บาท และ รับปันผลไปเรื่อยๆอีก 19 ปี เป็นเงิน 28.18 บาท
ลองคิดดูว่าน่าลงทุนหรือไม่
แต่ถ้าผลประกอบการดีขึ้นมากๆในอนาคต มาจากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น เงินปันผลในอนาคต
ก็ดีขึ้น อาจดูยังน่าลงทุนอยู่

ช่วงจังหวะที่ซื้อกองทุนนี้ที่ดีที่สุด

คือ ช่วงที่การท่องเที่ยวมีปัญหา ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยว ราคาหล่นไปเหลือ4 บาทกว่า
ต่ำกว่าราคาจองเสียอีก แต่เป็นแค่ช่วงสั้นๆหลังจากนั้นก็ปรับขึ้นมาเพราะจ่ายเงินปันผลดี หลังจาก
มีรายได้จากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวสมุยมากขึ้น

ช่วงปัจจุบัน
ช่วงต้นปี2560 ที่มีข่าวเรื่องที่ดินสนามบินสมุยทับซ้อนกับที่สาธารณะ
ก็เป็นอีกจุดที่ต้องตรวจสอบด้วยตนเอง ผมถือว่าเป็นจุดเสี่ยงอย่างนึงของกองนี้

คำเตือน
กองทุนนี้เป็นสิทธิการเช่า ซึ่งเหลือเวลาอีกประมาณ 19 ปี ดังนั้นถ้าเราถือไว้ต้องระวังตอนช่วงใกล้ๆหมดอายุของ
สิทธิ์การเช่า ราคาอาจปรับลดมากๆ เพราะเมื่อครบอายุ ต้องคืนพื้นที่ให้เช่ากับเจ้าของ หรือ ต้องซื้อสิทธิ์การเช่าใหม่

สรุป
ถ้าผลตอบแทนต่อปี6.18%ต่อปีที่ราคาตลาด24บาท ( 31 oct 17)
กองมีอายุ19ปี แล้วมูลค่าเป็น0บาท
สรุปได้เงินคืน 28.18 บาท ยังน่าลงทุนหรือไม่ถ้าเปรียบเทียบกับราคาตลาดตอนนี้
Suphat
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 473
ผู้ติดตาม: 0

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 97

โพสต์

ข้อมูล กองทุน SPF แน่นมากครับ อ่านแล้วตาสว่างเลยครับ

ขอบคุณ คุณ amornkowa อีกครั้งครับ :D
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 98

โพสต์

Stock Battle the series
EP1 SIS & SYNEX ตอนที่1 SIS


ที่มาของบทความเรื่องนี้ ผมได้ไอเดียจากรายการ วีไอกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งดำเนินรายการโดย กรรมการและอนุกรรมกาสมาคมไทยวีไอ ได้แก่ น้องตู้ น้องเบส น้องปริญญ์ โดยทุกเดือนจะมีการเปรียบเทียบหุ้นที่มีลักษณะคล้ายกัน ว่าแต่ละบริษัท
มีความเหมือน และ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ก็เลยคิดว่าจะลองเขียนแนวนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านบ้าง

เหตุที่เลือกคู่ Battle SIS & SYNEX เป็นคู่แรกนั้นส่วนนึง คืออยู่ในวงการคอมพิวเตอร์มาตลอดเลยอยากแชร์ข้อมูลที่ไปสัมผัสมา และ ข้อมูลหาได้ไม่ยากจาก Webboard Thaivi , Finomina ที่เขียนก่อนหน้านี้ ต้องขอบคุณทั้งสองแหล่งข้อมูลนะครับ
ผมจะเริ่มที่บริษัท เอสไอเอส หรือ SIS Distribution (Thailand ) ก่อนนะครับ

ข้อมูลช่วงแรกของ SIS

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจขายส่งคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงและอุปกรณ์สำนักงานอัตโนมัติต่าง ๆ โดยบริษัทฯ เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตประมาณ 53 ราย และมีจำนวนสินค้าที่จำหน่ายมากกว่า 4,600 รายการ บริษัทฯ มีฐานลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นร้านค้าปลีก บริษัทผู้ค้าที่จำหน่ายเข้าภาคธุรกิจและหน่วยงานราชการ ผู้รับวางระบบ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของตัวเอง ฯลฯ โดยในปี 2549 มีจำนวนคู่ค้ามากกว่า 3,900 ราย

วิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ

1.1) ความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้ผลิตน้อยราย

ถึงแม้บริษัทฯ จะซื้อสินค้าจากผู้ผลิต 53 ราย ในปี 2549, ร้อยละ 80 ของยอดขาย เป็นสินค้าที่มาจากผู้ผลิตเพียง 8 รายคือ Acer, Apple, Dopod, HP, IBM, Lenovo, Philips, Samsung

ผู้ผลิตที่บริษัทฯ ขายสินค้ามากที่สุดในปี 2549 คือ HP ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 45 ของสินค้าทั้งหมดเนื่องจาก HP เป็นผู้ผลิตสินค้า IT หลายประเภท ครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคทั้งส่วนบุคคลและองค์กร รวมไปถึง HP ก็มีนโยบายที่จะจัดจำหน่ายสินค้าผ่านผู้ค้าส่งจึงทำให้บริษัทฯ มียอดจำหน่ายสินค้าของ HP เป็นสัดส่วนที่สูง อันทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงในแง่ของการพึ่งพาผู้ผลิตน้อยราย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ก็เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ HP เช่นกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ และ HP เป็นความสัมพันธ์ที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ต่อมาเมื่อHP drop ลง ก็มาขายสินค้าของ Acer แทน ทำให้ยังรักษาส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ แต่หลังจากแบรนด์อื่นเริ่มเข้ามาทำตลาดมากขึ้นเช่น Asus , Lenovo ทำให้ SISเข้ามาทำตลาดในสองยี่ห้อมากขึ้น ทำให้ยังมีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่น่าเสียดายว่า เทรนของTablet , Smart phoneมาแรง ทำให้ยอดขายโดยรวมdropลง

ส่วนสินค้าSmartphone ถือว่าในอดีตค่อนข้างทำได้ดี เป็นผู้นำในตลาด โดยได้นำสินค้า Dopodเข้ามาขาย ต่อมาได้
เปลี่ยนชื่อเป็นHTC ก็ยังสามารถโปรโมทแบรนด์ให้ติดอันดับหนึ่ง ต่อมาได้ทำตลาดมือถือBB ในช่วงที่ตลาดเริ่มเป็นขาลง แต่ก็พยายามทำตลาดในส่วนองค์กร โดย BB มีจุดแข็งที่สามารถchatหากันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และโทรฟรีหากันในองค์กร สุดท้ายก็ไม่สามารถฝืนแนวโน้มตลาดได้ ทำให้สินค้าค้างstockมากมาย
อย่างไรก็ตาม กำไรในส่วนsmartphoneก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างกำไรให้บริษัทมากมายในช่วงที่ผ่านมา
ต่อมาทางOperatorเริ่มเข้ามาทำตลาดเอง มีการsubsidizeราคาให้กับผู้ใช้บริการ ทำให้บทบาทของSISค่อยๆลดลง
ปัจจุบัน ได้ทำตลาดมือถือWIKOจากฝรั่งเศส ยอดขายถ้าเทียบกับสมัยก่อน ถือว่าน้อยมาก ยังไม่ใช่จุดแข็งที่จะช่วยSISได้มากนัก

ส่วนตลาดเครื่องประกอบนั้น SIS ถือเป็นอันดับTOP3 ร่วมกับ DCOM, SYNEX ต่อมา DCOM เกิดปัญหาภายใน
ทำให้ต้องปิดกิจการไป ทำให้เหลือผู้เล่นรายใหญ่แค่ SIS,SYNEX ต่อมาก็มา chainstoreเข้ามาทำตลาดได้แก่ Advice , JIB เป็นต้น ถือเป็นตลาดที่แข่งขันกันสูง ส่วนใหญ่จะเจาะไปที่ตลาดของคนเล่นเกม ส่วนถ้าผู้ใช้ที่ใช้งานเอกสาร ดูwebsite ส่วนใหญ่หันมาซื้อเครื่องBrand name มากกว่าเพราะราคาได้ลดลงมามาก ตลาดPantipซึ่งเป็นเครืองประกอบในสมัยก่อน ตอนนี้ก็หันไปขายเครื่องbrand nameกันมากขึ้น แต่ผู้เดินก็น้อยลง

1.2) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่กระทบต่อสินค้าคงคลัง
เนื่องจากสินค้าหลักของบริษัทฯ เป็นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งสินค้าในกลุ่มนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้สินค้าคงคลังของบริษัทฯ อาจจะมีการล้าสมัย สร้างความเสียหายกับบริษัทฯ ได้ เช่น สินค้ามือถือBB เป็นต้น

1.3) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
บริษัทฯ มีการสั่งซื้อสินค้าบางส่วนโดยชำระด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่สินค้าทั้งหมดจะจำหน่ายในประเทศเป็นเงินบาท บริษัทฯ มีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดย มีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าบางส่วน ส่วนนี้ทางSynexทำได้ค่อนข้างดีกว่า เพราะ ตัวคุณสุทธิดามีความเชี่ยงชาญในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนได้ดี

1.4) ความเสี่ยงจากการแข่งขันและกำไรขั้นต้นต่ำ
ธุรกิจขายส่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ถือเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีกำไรขั้นต้นอยู่ในระดับต่ำ แต่เป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่และมีการเติบโตสูง โดยคาดว่ายังคงมีการเติบโตที่มากกว่า 10% ไปได้อีกหลายปี ซึ่งจากลักษณะอุตสาหกรรมแบบนี้ อาจมีคู่แข่งใช้ราคามาเป็นกลยุทธหลักในการแข่งขัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้น บริษัทฯ อาจต้องลดราคาสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น และอาจจะกระทบผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้ บริษัทฯ ได้พยายามลดความเสี่ยงด้วยการเพิ่มประเภทสินค้า ทำให้มีการขายสินค้ากระจายมากประเภทขึ้น ส่วนนี้ถือว่า SIS ทำได้ดีกว่า SYNEX จากการสังเกตพบว่า SYNEX เน้นเรื่องการตัดราคาเพื่อให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้น ทำให้GPไม่ค่อยสูง

1.5) ความเสี่ยงจากลูกหนี้การค้า
บริษัทฯ มียอดขายเครดิต และลูกหนี้ส่วนใหญ่ ไม่ได้มอบหลักประกันที่ครอบคลุมหนี้สินทั้งหมดให้กับบริษัทฯ รวมไปถึงลูกค้าของบริษัทฯ หลายราย เป็นบริษัทขนาดเล็กและเป็นบริษัท ใหม่ที่ยังไม่มีเงินทุนมากนัก ดังนั้นหากลูกหนี้การค้าของบริษัทฯ เกิดปัญหาในการบริหารงาน ไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด จะส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัทซึ่งในส่วนนี้ ทั้ง SIS , SYNEX ก็เจอปัญหาหนี้เสียรายเดียวกันในช่วงปี 2556 และยังเก็บหนี้ไม่ได้

1.6) ความเสี่ยงด้านการเงิน
จากการที่ธุรกิจค้าส่งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นธุรกิจที่มี cash cycle อยู่ในช่วง 30 - 50 วัน ทำให้ปริมาณเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ เพิ่มขึ้นตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น และจากการขยายงานของบริษัทฯ ที่มีเพิ่มของยอดขายในอัตราสูงกว่าร้อยละ 10 มาตลอด ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความเสี่ยงและภาระของบริษัทฯ ที่ต้องจัดหาเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

1.7) ความเสี่ยงจากการพึ่งพาบุคลากร
IT เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน เข้ามาร่วมงานจำนวนมากซึ่งนอกเหนือจากการรับพนักงานที่มีประสบการณ์เข้ามาร่วมงานแล้ว บริษัทฯ ยังต้องมีการฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งหากบุคลากรที่มีความสามารถและความชำนาญงานได้ลาออกจากบริษัทฯ อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานและความสามารถในการขยายงานของบริษัทฯ ในระยะสั้น และก่อให้เกิดงบประมาณเพิ่มเติมที่ต้องใช้ในการฝึกอบรมบุคลากรกลุ่มใหม่ขึ้นมาทดแทน ทางSIS ผู้บริหารหลักๆจะมีคุณสมชัยและคุณสมบัติ แต่ทาง SYNEX ส่งเสริมให้ผู้บริหารรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเติม ทำให้มีความคิดหลากหลายมากกว่า

ปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับ แบบประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (แบบ 247-3) จากบริษัท ไทยอัลลิแอนซ์จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของ SIS ที่ต่างประเทศ
ประเภทของหลักทรัพย์ และจํานวนหุ้นที่เสนอซื้อ: 350,198,655 หุ้นสามัญ ราคาที่คาดว่าจะเสนอซื้อ: 7.00 บาท วันที่คาดว่าจะยื่นคําเสนอซื้ออย่างเป็นทางการ: 6 พฤศจิกายน 2560 ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อ: บริษัท อวานการ์ด แคปปิ ตอล จํากัด
ดูราคาตลาดตอนนี้ขึ้นไปสูงกว่าราคารับซื้อค่อนข้างมาก แต่ดูจากวัตถุประสงค์ของการซื้อครั้งนี้ถ้าได้จำนวนหุ้นมากพอให้ถือเกิน 50% ก็ยังมีโอกาสอยู่ รอลุ้นต่อไปว่ามีการปรับราคารับซื้อหรือไม่

ตอนต่อไปจะพูดถึง SYNEX นะครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 99

โพสต์

สัมมนา Thailand Economic Outlook 2018
หัวข้อ Infrastructure Opportunities โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม
เผยแผนลงทุน 103 โครงการโครงสร้างพื้นฐานรองรับ EEC มูลค่ารวม 7.45 แสนลบ.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ( EEC) มูลค่ารวม 7.45 แสนล้านบาท จำนวน 103 โครงการ ใช้ในระยะเวลา 5 ปี โดยโครงการที่เร่งการลงทุนก่อนได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง ซึ่งจะรวมกับการเชื่อมสนามบิน 3 แห่ง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำการศึกษาอยู่ โดยคาดว่าจะเปิดประมูลปลายปีนี้
รองลงมาคือโครงการลงทุนศูนย์ซ่อมและบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่าง บมจ.การบินไทย (THAI) กับ แอร์บัส โดยในปลายปีนี้จะมีการร่วมลงนามครั้งที่ 2 อีกทั้งการลงทุนขยายสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งกองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินงาน นอกจากนี้มีโครงการลงทุนท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 รวมทั้งมีการลงทุนทางหลวงทั้งสายหลักและสายย่อย
ขณะที่การลงทุนโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ยังเหลือ 3 เส้นทางได้แก่ สายสีชมพู สายสีเหลืองและสายสีส้มตะวันออกที่กำลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรคี (ครม.) พิจารณาทั้งหมดในปี 61
โครงการรรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชันที่ล่าช้าเพราะจะรวมทั้งงานก่อสร้างและการบริหารการเดินรถสายสีส้มรูปแบบ PPP คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในปลายปีนี้หรือต้นปี 61
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่ง ครม.อนุมัติแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างออก TOR คาดเปิดประมูลปลายปีนี้ และเริ่มก่อสร้างในปลายปี 61
โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต- ธรรมศาสตร์ จะทยอยเสนอครม.ในปี 61

นายอาคม กล่าวว่าในปี 61 จะเป็นการ Transformation ครั้งที่3 ในด้านคมนาคมขนส่ง หลังจากได้ผ่านช่วงที่ 1 ในยุคการลงทุนอีสเทิร์นซีบอร์ด และช่วงที่ 2 ที่ลงทุนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 58-60) ที่เน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลนี้จะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องไปอีก 10 ปี
การลงทุนภาครัฐจะมีส่วนการวางพื้นฐานให้เศรษฐกิจ ให้ทุกคนได้รับประโยชน์ ทุกภาค จึงมีกรอบ 4 เรื่องในการดำเนินการ ได้แก่
1. ประสิทธิภาพระบบคมนาคมขนส่ง ต้นทุนการขนส่งที่ถูกที่สุด คือ ทางน้ำ รองลงมา คือ ระบบราง ต่อมาคือทางถนน สุดท้าย เครื่องบินแพงสุด แต่ไทยมีสัดส่วนใช้ทางถนนในการขนส่งมากที่สุด ส่วนระบบรางไม่ได้ปรับปรุงมานาน 100 ปีดังนั้น ที่ผ่านมาราว 80% จึงได้ลงทุนในระบบราง โดยรัฐบาลให้ความสำคัญทุกระบบ อาทิ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมไทย ลาว และจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ One Belt One Road ของจีน , ขนส่งมวลชน . รถไฟระหว่างเมือง , รถไฟฟ้าที่รออนุมัติอีก3สาย และในปี 61-62 จะวางแผนลงทุนระบบทางน้ำมากขึ้น
2. การจัดระบบBus Bay ให้มีการเชื่อมต่อการใช้ระบบคมนาคมขนส่งระบบรางเชื่อมกับระบบอื่น โดยมีรถshutterบริการให้ รวมทั้งการใช้บัตรตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมคาดว่าจะใช้ได้ในเดือน เม.ย.-พ.ค.61 โดยเริ่มต้นให้ใช้กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง- สายสีน้ำเงินและแอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ก่อน
3. ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยนั้น หัวใจการคมนาคมคือ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย แต่ในไทยต้องเพิ่มเรื่องการเข้าถึง ซึ่งไม่ได้พูดถึงเข้าถึงบริการระบบคมนาคมของทุกคนในสังคมที่ตั้งเป้าให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่ง ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และคนพิการ โดยมองว่ากลุ่มนี้จะแนวโน้มขยายขึ้นโดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด
4. เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยนำ IT,Innovation มาช่วย

การลงทุนของภาครัฐนำไปสู่การปฏิรูป 2 เรื่อง คือ

1.เรื่องการบิน มีการแยกหน่วยงานกำกับ (Regulator) และ เป็นผู้ประกอบการ (Operator)
หลังจากปลดธงแดงภายใน2ปี ซึ่งเร็วกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปี แต่มีเรื่องต้องทำต่อเรื่องไฟล์ดิ้ง
หลายสายการบินเริ่มขยายสายการบิน เช่น Thai vietjet ของการบินไทย คาดว่าปี 61 จะมีความคึกคักเพราะจุดหมายปลายทางเป็นเอเชียแปซิฟิค มียอดสั่งซื้อเครื่องบินในอนาคตจะมาจากเอเชียแปซิฟิค เรามีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งมีcapacity รองรับได้สูงสุด 60ล้านคน ธุรกิจการบินเติบโต การซ่อมแซมมีความจำเป็น
รัฐบาลเห็นโอกาสซ่อมบำรุงอากาศยาน เกิดโครงการ MRO
อีกไม่กี่สัปดาห์เราก็จะมีการเซ็นสัญญาระหว่างแอร์บัสกับการบินไทย ครั้งที่ 2

2. ปฏิรูปเรื่องรถเมล์ มีการแยกผู้กำกับดูแล และผู้ดำเนินการ องค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.) ได้สิทธิเดินรถในกรุงเทพทั้งหมด และให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาเดินรถ จึงเปลี่ยนให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ดูแล และ ขสมก.เป็นผู้เดินรถในกรุงเทพ พร้อมทั้งให้โอกาส ขสมก เลือกเส้นทางเดินรถที่มีโอกาสทำกำไรได้บ้าง และปฏิรูปเส้นทางเพื่อลดความซ้ำซ้อนและลดระยะทางเดินรถให้สั้นลง เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า กับท่าเรือ ขณะที่ระบบรางจะแยกกรมราง กับ รฟท.ซึ่งอยู่ขั้นตอนแก้กฎหมายอยู่คณะกรรมการกฤษฎีกา

นายอาคม กล่าวว่า การลงทุนของกระทรวงคมนาคมต่อเนื่องมา 3 ปี (58-60) คิดเป็นเงินลงทุนมูลค่า รวม ประมาณ 2.39 ล้านล้านบาท โดยบางโครงการยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่ อยู่ระหว่างการศึกษา บางโครงการอยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วนกรอบลงทุนในปี 61 มีจำนวน 1.03 แสนล้านบาทที่มี 8 โครงการใหม่

Cr: ข้อมูลจาก อินโฟเควสท์ โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/รัชดา/ศศิธร
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 100

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP8 UNIPF


สาเหตุที่นำกองทุนอสังหาริมทรัพย์ยูนิล๊อฟ(UNIPF) มาพูดเพราะว่าทางศิริราชมูลนิธิได้ติดต่อขอซื้อทั้งโครงการ
ในราคา 535 ลบ มาลองตามดูว่าทำไมศิริราชจึงสนใจกองทุนดี มีจุดเด่นอะไรบ้าง

เกริ่มนำ

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ยูนิล๊อฟหรือ UNIPF ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พย 2556 โดยเป็นโครงการหอพักให้เช่าที่เป็นFreehold
ซึ่งก่อสร้างโดย Perperty perfect และบลจ วรรณ ได้ตั้งกองทุนขึ้นเพื่อซื้อสินทรัพย์นี้ ในราคา 514 ล้านบาท
ตั้งอยู่ใกล้กับ ม มหิดล ศาลายา ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี เป็นหอพักที่ทันสมัยมาก่อน
ซึ่งกองทุนนี้เน้นผู้เช่าที่เป็นนักศึกษา มีอาคารหอพักสูง 8 ชั้น จำนวน 3 อาคาร พื้นที่อาคารหอพักรวม 22,889.50 ตร.ม. สระว่ายน้ำ 1 สระ ลานจอดรถ และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ มีห้องพัก และห้องที่ให้เช่าพื้นที่เพื่อเปิดเป็นร้านค้า ร้านบริการต่าง ๆ รวมจำนวน 527 ห้อง โดย UNIPF จัดหาผลประโยชน์โดยนำทรัพย์สินให้ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เช่าเหมาในอัตราเช่าปีละ 43.50 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี นับจากวันที่กองทุนรวมเข้าลงทุนครั้งแรก และกองทุนรวมได้ต่อสัญญาให้เช่าออกไปอีก 1 ปีจนถึง 31 ตค 2556 กองนี้มีทำประกันความเสียหายรวมถึงน้ำท่วม ไว้ 33% เพราะดูแล้วไม่น่าจะเกิดกับทั้ง3ตึกพร้อมกัน ก็เลยไม่ทำประกัน 100% เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กองทุน

อัตราการให้เช่า ( Occupancy Rate ) & เงินปันผล

อัตราการให้เช่าของกองนี้ปรับเพิ่มจากช่วงแรก 50.3% ปรับเพิ่มเป็น 67.85% ในปี2560
แต่ก็ยังไม่สามารถทำกำไรเท่ากับที่PFจ่ายเหมาให้กองทุนปีละ 43.50 ลบ ดูจากตาราง PFจะต้องชำระส่วนต่างปีละ10-30 ลบ ทำให้ PF ขอยกเลิกการเช่าเหมาตั้งแต่ 31 ตค 2560 ถ้ากองทุนมาปล่อยเช่าเอง ผลตอบแทนจะตกลงจาก 7% เหลือประมาณ 3.5%
สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ลงทุนในตั้งแต่แรก ที่รับปันผล7%ต่อปีสำหรับ กองนี้ที่เป็น Freehold ย้ำนะครับ 7%
ซึ่งหาไม่ค่อยได้ได้ในปัจจุบัน ถ้าPFไม่ต่อสัญญา บลจ จะเริ่มหาทางออกว่าจะทำอย่างไร
ปรากฏว่า ทางศิริราชเข้ามาติดต่อขอซื้อพอดีในราคา 535 ล้านบาทในเดือน กย 2560 ทำให้adminมีความสงสัยทำไมมาประจวบเหมาะขนาดนี้ มาติดต่อตอนใกล้จะครบสัญญากับPFในปีที่4 แล้วศิริราชมูลนิธิเล็งเห็นอะไรในหอพักนี้จึงเข้ามา
ซื้อต่อ ราคาที่ดินแถวนี้จะขึ้นหรือเปล่า เป็นคำถามที่ต้องให้ประธานกรรมการกองทุนไขปัญหา
แล้วราคาที่ขายเหมาะสมหรือไม่ ก็ต้องให้ที่ปรึกษาอิสระที่ไปสำรวจมาให้ความคิดเห็น
Adminเลยเข้าประชุมเมื่อวันที่ 13 พย 17 เพื่อจะไปหาคำตอบเหล่านี้ รวมถึงทำไมอัตราการเช่าต่ำขนาดนี้
ทั้งที่ตอนเปิดกองช่วงปลายปี56 บอกว่า มีสถาบันนานาชาติมาตั้งใหม่เพิ่มมากหลังจากเปิดกองทุน แต่อัตราเช่าไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวไว้ มีการแข่งขันตัดราคากันระหว่างหอพัก ซึ่งส่วนนี้Adminเคยสำรวจดูห้องพัก พบว่าเตียงนอนมีขนาดเล็กกว่าปกติ ถ้าเป็นนักศึกษาที่สูงอาจไม่ได้รับความสะดวกในการเข้าพัก อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่นักศึกษาต่างชาติไม่มาใช้บริการ
กองทุนไขคำตอบก่อนลงมติว่าจะขายหรือไม่
จากการสอบถามผู้บริหารดูพบว่า ทางกองทุนได้เคยติดต่อกับศิริราชมูลนิธิมาบ้าง (เรื่องนี้ขอชื่มชมผู้บริหารบลจ วรรณที่ได้เห็นผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วย น่าจะมองออกว่าหลังจากปีที่4 รายได้จะลดลงอย่างมาก เลยหาทางออกล่วงหน้า) ดังนั้นทางศิริราชจึงสนใจอาคารหอพักดังกล่าว และ ไม่ได้มีจุดประสงค์เข้าไปเก็งกำไรแต่อย่างใด
จุดประสงค์ในการเข้าซื้อคือเป็นที่พักให้กับเจ้าหน้าที่ พยาบาล คุณหมอของรพ ศิริราช
ทางกองทุนได้ประกาศทางหน้านสพ 3 ฉบับเพื่อหาผู้ซื้อมาแข่งขันปรากฏว่าไม่มีผู้ใดสนใจ ดังนั้นศิริราชมูลนิธิ
จึงเป็นผู้ซื้อรายเดียวของกองทุน UNIPF

ส่วนอัตราการเช่าที่ไม่ได้ตามเป้า ที่ปรึกษาได้เข้าไปสำรวจพบว่าตอนนี้มีอาคารให้พักสำหรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นมากมายและ
ใหม่กว่าตึกของกองทุน ทำให้โอกาสจะเพิ่มอัตราการพัก (Occupancy rate)เพิ่มขึ้นเต็มที่ 80% อย่างไรก็ตามก็ไม่น่าจะได้
เท่ากับที่ PF ประกันรายได้ให้ตอนนี้ ซึ่งทางบลจได้ขอให้PFเช่าต่อจนถึง 15 พย 17
ซึ่งAdminได้คำตอบที่คาใจก่อนหน้านี้ และทางกองทุนได้เสริมว่าที่ดินตรงนี้ราคาขึ้นน้อยมาก และ น้อยกว่าค่าเสื่อมทำให้สินทรัพย์รวมมีราคาลดลง
การคิดราคาทรัพย์สินสำหรับกอง Freehold
ราคาของที่ปรึกษาที่ได้มาจาก กระแสเงินสดในช่วง 10 ปีข้างหน้า รวมถึงราคาทรัพย์สินที่ขายไปในปีที่ 11 ดูรูปประกอบ
ส่วนอัตราการคิดลด มาจากสูตร CAPM คือ อัตราพันธบัตรซึ่งกองนี้คิด30ปี บวกกับ Risk Premium สรุปแล้วประมาณ 6%กว่าๆ แล้วเอาไปคิดลดแล้วจะได้ราคาในปัจจุบันประมาณ 500 ลบ
ความคิดเห็นของAdmin ว่าแสดงตัวอาคารที่จะขายในปีที่11ประมาณ 300 ลบ
แสดงว่าตอนเปิดกองขาย ราคาตึกอาจไม่ถึงราคาที่ขาย แต่มีประกันรายได้ช่วง4ปี

บทสรุป

สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนถ้าถือมาตั้งแต่แรก
Adminว่าไม่ได้เสียหายอะไร เหมือนซื้อพันธบัตรอายุ 4 ปี ดอกเบี้ย 7% ส่วนระหว่างทางอาจผันผวนตามราคาตลาดบ้าง
ถือเป็นการลงทุนที่ไม่เลวเลย ราคาที่ขายให้ศิริราช หลังหักค่าใช้จ่าย โอนที่ดิน ค่าภาษีจะเหลือ 508 ล้านบาท ซึ่งตีเป็นราคาต่อหน่วยประมาณ 10 บาท บวกลบนิดหน่อย ตอนนี้ มติของผู้ถือหน่วยได้ผ่านเรียบร้อย หลังการขายจะได้เงิน
ประมาณกลางเดือน ธค 17 แต่ไม่เกิน มค 18 และยังมีเงินปันผลช่วง 1 ตค – 15 พย 17 ซึ่งจะนำส่งให้ผู้ถือหน่วยในช่วง Q1 18 อีก

ตอนนี้ราคาตลาดปิดเมื่อวาน 9.75 บาท ถ้าถือไปจนปิดกอง จะได้ 10+เงินปันผลในช่วงสั้นๆ ก็ดูน่าสนใจที่จะถือต่อนะครับ
ananya24
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 43
ผู้ติดตาม: 0

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 101

โพสต์

ขออนุญาตพี่อมรมาร่วม share ค่ะ

งานสัมมนา Thai Equity Day จัดโดย Phatra (23-11-17)

ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและราคาสินทรัพย์ของโลก
1 – สามธนาคารกลางของโลก (Fed, BOJ, ECB) จะเริ่มถอนเงินออกจากระบบเต็มรูปแบบตั้งแต่ Q4/18 ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ
2 – การขึ้นของดอกเบี้ยระยะยาวที่ต่ำมาเป็นเวลานาน
3 – ธนาคารกลางจีนก็พยายามดึงเงินออกจากระบบโดยลดการปล่อยสินเชื่อเนื่องจากหนี้ภาคเอกชนที่สูง (ที่ผ่านมาก็เคยพยายามทำแต่ก็ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจจีนคล้ายกับเศรษฐกิจไทยที่โตได้จากการปล่อยสินเชื่อ

Recommendation for 2018: overweight - tourism, ค้าปลีก, property

Banking sector
หุ้นในกลุ่มนี้ราคายังไม่แพงแต่ก็ไม่ถูก ปีหน้าเราเชื่อว่ากำไรของกลุ่มนี้จะยังไม่ดีขึ้นเนื่องจากได้รับแรงกดดันจาก prompt pay ที่ส่งผลต่อกำไรของธนาคารในส่วนที่เป็นรายได้ค่าธรรมเนียมประมาณ 20% ที่ผ่านมาธนาคารขนาดเล็กซึ่งมักมีสินเชื่อรายย่อยในสัดส่วนที่สูงใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ได้รับผลดีจากการลดดอกเบี้ย แต่ปีหน้าจะได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นแต่ปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้

BoA Merrill Lynch ชอบธนาคารในตลาดเกิดใหม่แต่ไม่เลือกไทย สาเหตุหลักๆ มาจาก หนี้ครัวเรือนที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดเกิดใหม่ 2.5 เท่าตัว spread ที่แคบลงของรายได้จากการปล่อยสินเชื่อกับรับฝากเงิน อีกประเด็นคือกำไรของธุรกิจธนาคารอยู่บนการปล่อยสินเชื่อ ต้องมี D/E สูงๆ ที่ผ่านมา D/E ลดจาก 10 เท่าเหลือ 7 เท่า ทุนใหญ่ขึ้นแต่สินเชื่อไม่โต แต่ถ้าต้องบังคับเลือกคือ TMB, BBL (เลือกในเชิงเปรียบเทียบเมื่อเทียบกับกลุ่ม)

Finance sector
ปี2560 เติบโตได้ดีกว่าคาด แม้จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนจากการออกตั๋ว BE และกฎระเบียบใหม่ที่ออกมา บริษัทยังคงความสามารถในการบริหารความเสี่ยงได้ดี โดย focus ไปที่ลูกค้าปัจจุบันและใช้ประโยชน์จากสาขาที่มีอยู่ การ lock ต้นทุนระยะยาวโดยการออกหุ้นกู้ระยะยาว 3-5 ปี ส่งผลให้ปี 2561 ต้นทุนทางการเงินก็ของกลุ่มนี้ก็จะยังไม่ขึ้นแรง (บางบริษัท THANI อาจมีต้นทุนที่ลดลงจาก credit rating ที่ดีขึ้น)

สิ่งที่ควรระวังคือ สินเชื่อโตเร็ว แต่งานหลังบ้าน collection โตตามไม่ทันส่งผลต่อการเก็บหนี้และหนี้เสียที่เร่งตัวขึ้น Finance sector แบ่งเป็น

- กลุ่มจำนำทะเบียนรถยนต์
คาดว่าปี 2561 จะสินเชื่อจะเติบโต 30% vs 50% ในปีนี้ เนื่องจากยังมีบางพื้นที่ที่ยังเข้าไม่ถึงเช่น กรุงเทพที่ยังมีความต้องการสินเชื่อมอเตอร์ไซค์อยู่ และจากสาขาใหม่ยังทำ volume ได้ไม่เต็มปี

- กลุ่มบัตรเครดิต
ธปท ออกกฎระเบียบใหม่กระทบลูกค้าใหม่เท่านั้น purchasing power ยังดีอยู่ ไม่กระทบกับลูกค้าเก่า issuers ก็จะมา focus กับลูกค้าปัจจุบันมากขึ้น

- กลุ่มเช่าซื้อรถบรรทุก
ยังคงเติบโตได้ดี จาก demand ที่มาจากจากการเติบโตของงานภาครัฐ contractor เซ็นรับงานไปแล้วรอการกระจายให้ subcontractor และจากความเข้มงวดของภาครัฐในการจัดการกับรถบรรทุกที่น้ำหนักเกิน

กลุ่ม Telecom & Media
กลุ่ม Telecom มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีจากรายได้ที่เติบโตได้ดีและการบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้นในปีนี้ (จากการงด promotion มือถือ) รายได้มือถือโต 5% ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศที่ใกล้เคียงกันที่โตเพียง 2% หรือในประเทศพัฒนาแล้วที่เติบโตติดลบ fix broadband โต 20% แต่ธุรกิจ telecom ก็ยังมีปัจจัยกดดันจากกฎเกณฑ์การประมูลคลื่นโดย กสทช แต่ก็ยังเป็นแรงกดดันที่ไม่แน่นอนเพราะมาจากชุดรักษาการ ขณะที่ชุดใหม่จะเริ่มทำงานในเดือนมีนาคม 2561

Media
มีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศและการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติปลายปีนี้ แต่ก็คาดว่างบโฆษณาจะเติบโต 5% เทียบกับ 8-15% ในอดีต จากการฟื้นตัวของการบริโภคยังจำกัดอยู่ในเมืองใหญ่และการแข่งขันในธุรกิจที่รุนแรงขึ้นทำให้มีการตัดราคาโฆษณา
ในกลุ่มนี้ยังคงชอบ WORK เพราะ Cost per Rating Point (CPRP) ยังถูก เป็นครึ่งเดียวของช่องใหญ่ๆ ทำให้ยังขึ้นราคาได้เรื่อยๆ และรายการส่วนมากเป็น variety show ที่ผลิตใน studio มีต้นทุนการผลิตเป็น ครึ่งนึง หรือ 1 ใน 3 ของละคร (คำถาม BEC น่าสนใจมั้ย คำตอบ แม้จะมีทีมผู้บริหารเข้ามาใหม่ แต่ก็มีกลุ่มทุนใหม่ใส่เงินเข้ามาใน GRAMMY ที่จะเป็นคู่แข่งของช่อง 3 โดยตรง ที่ผ่านมาช่อง 3 เสียฐานคนดูให้ digital TV แต่ CPRP ไม่เคยลดและยังแพงอยู่มาก ก็จะเป็นปัจจัยกดดันให้ช่อง 3 ลดราคาโฆษณา)

กลุ่มรับเหมา
Sentiment ของกลุ่มรับเหมาปีนี้ยังไม่ดี ผลประกอบการของกลุ่มรับเหมาปีนี้ต่ำกว่าคาดทั้งในส่วนรับรู้รายได้และ margin ส่วนนึงมาจากการเลื่อนการประมูลรถไฟรางคู่ที่ margin ไม่สูงมากลางปีและมีการแก้ TOR มีการซอยสัญญา ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นส่งผลต่อ margin

Earningsของกลุ่มนี้ จะ contribute growth จริงๆ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 โดยรับเหมาที่มี backlog สูง คือ STEC UNIQ

Project ที่อยู่ใน pipeline ของปีหน้าที่น่าสนใจมากขึ้นเป็น mass transitคือ ม่วงใต้ bid ภายในครึ่งปีแรก และสายสีส้มส่วนต่อขยาย ครึ่งปีหลัง ซึ่งไม่ได้มีการ split สัญญา การแข่งขันไม่สูง กับมีงานรถไฟฟ้าใต้ดินที่ margin สูงรอการประมูล (CK เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานใต้ดิน มีโอกาสชนะการประมูลสูง) ส่งผลให้ earning ดีขึ้น แต่สิ่งที่เป็นความเสี่ยงคือ พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ ราคากลางต้องคำนวณตามคณะกรรมการกำหนดและประกาศบน website กรมบัญชีกลาง หากมีข้อผิดพลาดการลงโทษจะเป็นทางแพ่งและอาญา ทำให้พนักงานระมัดระวังมากขึ้นในการร่าง TOR ส่งผลให้เกิดความล่าช้า

กลุ่ม Beverage
ไตรมาส 3 ตลาดเครื่องดื่มโตติดลบ ต้องหันไปเน้นการส่งออก (ออกไปในรูป JV) หรือ diversify สู่ธุรกิจใกล้เคียง เช่น MALEE เอา personal care จาก Indonesia มาขาย OEMเน้นการ diversify ลูกค้าไม่ให้พึ่งลูกค้าจำนวนน้อยต่อไป อีกประเด็นคือ excise tax กระทบชา กาแฟที่กระทบ MALEE ในส่วนลูกค้า OEM ขณะที่ตลาดน้ำผลไม้จะทยอยปรับราคาขึ้น Sector นี้ยังไม่ค่อยน่าสนใจ

กลุ่มค้าปลีก
เป็นกลุ่มที่ราคาหุ้น underperform ตลาดในช่วงครึ่งปีแรก และมาขยับขึ้นในไตรมาส 3 โดยกลุ่มที่เป็นห้างสรรพสินค้าขึ้นเร็วกว่ากลุ่มหุ้นร้านสะดวกซื้อ (25% VS 10-15%) SSSG เริ่มกลับมาปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 3 ปีนี้ (จาก -6 เป็น +2%) และยังไปต่อได้ในครึ่งแรกของปีหน้าจากฐานที่ต่ำในครึ่งแรกปีนี้ แต่ครึ่งปีหลังปีหน้าจะเริ่มตื้อๆ เฉลี่ยทั้งปีจะโต 3% แม้ consumption จะฟื้นแต่ก็ยังอยู่ในเมืองใหญ่ แต่สัดส่วนของสาขาของค้าปลีก 60% ตั้งอยู่ใน ตจว. เป็นหลัก

โรงไฟฟ้า Utilities
Catalyst ที่ขับเคลื่อนราคาหุ้นมาจาก bond yield ที่อ่อนตัวลงในช่วงกลางปี ส่งผลให้หุ้น Utilities ราคาเพิ่มขึ้น และการประมูลโรงไฟฟ้าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คือ โซลาร์สหกรณ์ และ SPP Hybrid สำหรับปีหน้า bond yield ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ valuation DCF ของหุ้นกลุ่มนี้มีราคาแพงขึ้น ขณะที่โรงไฟฟ้ามี reserve margin ที่สูงไม่มีความจำเป็นต้องเปิดประมูลโรงไฟฟ้า ดังนั้นหากจะโตได้ต้องมาจากการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ

อีกประเด็นที่สำคัญคือการขึ้นของ bond yield ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นขณะที่รายได้ Feed in Tariff เป็นเส้นตรง ทำให้ต้นทุนการสร้างโรงไฟฟ้าสูงขึ้นส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร ดังนั้น Catalyst จะมาจากการขายไปต่างประเทศ

กลุ่ม Property
2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นกลุ่มที่ laggard backlog ตกลงมาตั้งแต่ปี 2012 มีปัจจัยกดดันจากหนี้ครัวเรือนและธนาคารคุมเข้มในการปล่อยกู้ และ มีinventory เหลือขายสูง ปีนี้ธนาคารปล่อยกู้เพิ่มขึ้น และมีนักลงทุนจีน ฮ่องกง มาเป็นหนึ่งในผู้ซื้อหลักคิดเป็นสัดส่วน 15% ของยอดขายทำให้ sector นี้ดู การเปิดตัวคอนโดระดับล่างที่ผ่านมาลดลง ทำให้ระบาย stock ที่มีอยู่ได้ดีขึ้น ยอดขายเริ่มทำ new high มาตั้งแต่ไตรมาส 2 และต่อเนื่องถึงQ3 Q4 การขายการโอนก็จะยังคงเพิ่มขึ้น

สำหรับธุรกิจปูน เชื่อว่าราคาปูนปีนี้น่าจะ bottom out ไปแล้วและปีหน้าน่าจะฟื้นตัวจากการก่อสร้างภาครัฐ แต่ปัจจัยที่น่ากังวลคือราคาปูนที่ไปขายในตลาด พม่า ลาว เขมร ที่เคยได้ราคาดีส่งผลให้มี supply/capacity เพิ่มขึ้นในภูมิภาค การแข่งขันสูงขึ้น ขายไม่ได้ราคาเหมือนเมื่อก่อน SCC ปี 2017 จะกลับมาอยู่ใน investment cycle จากการสร้างโรงปูนในเวียดนาม

กลุ่มปิโตรเคมี-พลังงาน

Upstream: มุมมอง neutral to cautious คาดว่าราคาน้ำมันจะยืนอยู่ที่ประมาณ 55 เหรียญ/barrel ในช่วง 3 ปีข้างหน้า จาก supply ของ US shale oil ที่จะกลับเข้ามา ซึ่งจะส่งผลบวกต่อกลุ่มโรงกลั่นที่มี demand ปรับเพิ่มขึ้นอยู่

Downstream กลุ่มโรงกลั่นหมดช่วงการขยายกำลังการผลิต new capacityมีน้อยมาก ไปทำให้ supply มีจำกัด global utilization rate ตึงตัวอยู่ที่ 85% หากมีประเด็นโรงกลั่นใหญ่ในโลก shutdown ก็จะส่งผลต่อการปรับตัวขึ้นของค่าการกลั่นทันทีและราคาหุ้นกลุ่มโรงกลั่น ค่าการกลั่นจะยังคงตัวอยู่ที่ 7 เหรียญ/barrel ในปีหน้า (เทียบกับช่วง peak เมื่อหลายปีที่แล้วที 9 เหรียญและช่วงราคาน้ำมัน bottom อยู่ที่ 3 เหรียญ) ปีนี้กลุ่มโรงกลั่นกำไรทำ historical high ไปแล้ว

ปิโตรเคมี มีหลาย sub-sector ประกอบด้วย
- กลุ่ม Olefin ประกอบด้วย HDPE และ PP HDPE ผลิตโดย SCC และ PTTGC ภัทรมองว่า spread ของกลุ่มนี้ผ่านช่วง peak ไปแล้ว (คิดจากspread HDPE-Naphta) เนื่องจากจะมี supply ใหม่จาก US ที่เริ่มกำลังการผลิตแล้ว ต้องใช้เวลาให้ตลาดซึมซับ supply ส่วนเกิน ควรรอให้ราคาหุ้นสะท้อน worse case scenario ก่อนเข้าซื้อ น่าจะเป็นช่วงต้นปีหน้า
- โพลีพลอเพลีน (PP): ไม่มี supply ใหม่เข้ามาในตลาด (supply จากเมืองจีนก็หมดไปแล้ว) คนที่มีเยอะสุดคือ IRPC ใช้ในธุรกิจ automotive ซึ่งมี demand ยังดีอยู่ และจะยังคงมี margin ที่ดีอยู่ในปีหน้า
- PVC: VNT เป็น pure play และ SCC ซึ่งมี part นึงของ port เป็น PVC เป็นsupplier หลัก PVC จะยังคงเป็น star ต่อไปในปีหน้า (ปีนี้ไตรมาส 3 เป๋ไปเพราะได้รับผลกระทบจาก hurricane Harvey) ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา PVC เป็น down cycle ทำให้ไม่มี supply ใหม่เข้ามาเลย ขณะที่จีนที่เป็นหนึ่งใน supplier หลักของ PVC โดยใช้ถ่านหินเป็นตัวตั้งต้นมีนโยบายลด pollution ก็เลยปิดโรงงาน PVC ไป นอกจากนี้ PVC ยังมี by-product เป็น caustic soda ซึ่งราคาขึ้นจาก 300 เป็น 700 USD/ตัน
- โพลีเอสเตอร์ เริ่มมี margin เริ่มดีตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว มาจาก 2 เจ้าใหญ่ที่ล้มละลายไปทำให้ supply หายไปและ IVL ยังมี story ในเรื่องการ acquire asset ทำให้น่าสนใจ
- Aromatic อยู่ใน business trendที่ไม่ ok TOP และ ESSO มี ประมาณ 15% เป็น weak spot ของบริษัท

ถ่านหิน drive โดย capacity cut ในเมืองจีนจากปัญหามลภาวะ

อาหาร TU ปีหน้าน่าจะดีขึ้นจากต้นทุนราคาทูน่าที่ลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถขึ้นราคาได้
CPF: ช่วงเจปีนี้ ราคาหมูไก่ลดลงกว่าเจปีก่อนหน้า หมูหาก oversupply ในประเทศ ส่งออกไม่ได้เพราะต้นทุนสูงแข่งขันไม่ได้ ขณะที่ไก่ส่งออกได้
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 102

โพสต์

ขอบคุณน้องananya24ครับที่มาแชร์งานสัมมนา
จริงๆแล้วทุกท่านสามารถมาแชร์เนื้อหาสัมมนาในโพสนี้ได้นะครับ
ข้อดีคือง่ายต่อการเข้าไล่ดูเนื้อหาสัมมนากัน
ขอฝากเพื่อนๆพี่ๆน้องในweb boardด้วยครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 103

โพสต์

ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน meeting ที่หาดใหญ่
ประทับใจมากๆกับการไปหาดใหญ่ครั้งนี้ ได้มีโอกาสพบน้องๆวีไอภาคใต้หลายคน
รวมถึง การต้อนรับที่อบอุ่นจาก พี่ใหญ่ใจดี (พี่หมอหนึ่ง) คุณโจ คุณเจี๊ยบ คุณปุ๊ก น้องเตียน น้องบี พี่แมว ยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยถึง ขอบคุณมากๆครับ
ทริปนี้ได้รับความรู้ไปเต็ม แถม ยังได้มีโอกาสไปชิมอาหารของหาดใหญ่ด้วย
สงสัยต้องไปลดนำ้หนักขนานใหญ่เลย เพราะอร่อยทุกอย่าง
ขอบคุณเปี๊ยกที่ให้คำแนะนำในการเดินทางมาหาดใหญ่เป็นอย่างดี

ผมขอเริ่มเนื้อหาในงานสัมมนา ตอนแรกนะครับ

อ โจ ได้เริ่มงาน VI หาดใหญ่ MEETING ด้วยการให้แต่ละคนแนะนำตัว
รวมถึงชื่อ log in ใน Webboard thaivi
ทำให้ผมได้รู้จักหลายๆท่านเพิ่มขึ้น

หลังจากนั้น ก็เข้าสู่meetingเลย
อ โจ พูดว่า ปีนี้เป็นปีฝีแตก หุ้นตัวไหนที่อ่อนแอ
พอตลาดตั๋วB/Eพัง บริษัทต่ออายุตั๋วB/Eไมได้
แหล่งเงินกู้ต่อมาที่หาได้คือธนาคาร
บริษัทที่มี D/E Ratioสูง ถ้าD/Eเกิน1เท่าธนาคารที่ไหนกล้าปล่อยกู้
แต่ถ้าบริษัททำกำไรได้ก็ยังไม่เป็นปัญหาในการกู้ยืม
แต่ถ้าบริษัทขาดทุนเรื่อยๆ เหมือนเลือดไหลออกจากร่างกายตลอด
บริษัทแบบนี้เราต้องหลีกเลี่ยงในการลงทุน
บริษัทหลายๆแห่งเป็นแบบนี้ ก็ต้องระวัง

เราต้องทำตัวเป็นWorry investor
เราไม่ควรรอการตัดสินใจ เพราะการลงทุนครั้งไหนที่ตัดสินใจผิด หรือ ไม่เป็นไป
ตามที่คาดการณ์ ควรออกทันที

คุณโจถามต่อว่า ปีนี้ยังมีใครขาดทุนบ้าง ปรากฏว่ามีน้อยมาก
คนที่ขาดทุนเป็นมือใหม่ พึ่งลงทุน ถือหุ้นน้อยตัว เช่น 2 ตัว หรือ เป็นtrader
Trader ซื้อขายทุกวันก็ต้องเสียค่าคอมทุกวัน
อ โจ บอกว่าทางแก้ไขสำหรับคนที่ขาดทุน ก็ไปหาตัวใหม่แทน
ตลาดหุ้นปีนี้ขึ้น13% เราพยายามชนะนิดหน่อยไปเรื่อยๆก็สามารถทำผลตอบแทน
ที่ใกล้เคียงตลาดได้
ตอนนี้ตลาดหุ้นไทยมี PE 18 เท่า คิดเป็นYield 6%
ใครขายหมูไปได้แต่ได้20% ถือว่าเยี่ยมแล้ว บางคนได้ 40-50%แต่ในระยะยาวควรได้ 15%ต่อปี
แม้แต่นักลงทุนที่มีชื่อเสียงเช่น คุณบัฟเฟตต์ หรือ คุณ ปีเตอร์ ลินซ์ ยังได้ผลตอบแทน20กว่า%

ดังนั้น ถ้าทำได้ 15% ต่อปี เวลาแค่4ปีนิดๆก็ได้ผลตอบแทนเท่าตัวแล้ว
สมมติ ลงทุนด้วยเงิน 3แสนบาท อีก 5 ปี ก็เป็น 6 แสนบาทแล้ว
มีความขยัน และ เรียนรู้ตลอดเวลา

คุณโจแนะนำสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ไปอ่านหนังสือที่ คุณปีเตอร์ ลินซ์
เขียนที่มีทั้งหมดสามเล่ม คือ Learn to earn , One Up On Wallstreet , Beating the Street.
ลองหาอ่านดูนะครับ ทุกเล่มมีการแปลเป็นภาษาไทยเรียบร้อยครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 104

โพสต์

Meeting VI หาดใหญ่ ตอนที่2

คุณโจบอกสมาชิกไทยวีไอจะมาร่วมประชุมว่า

เราต้องติดตามข่าวตลอดเวลา เวลาที่เจอข่าวเราจะสามารถคิดได้ทันที
ว่าต้องอย่างไรต่อไปได้

คุณเปี๊ยก ก็เสริมว่า ตอนเรียนcourseของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
อาจารย์คเชนต์ก็แนะนำแบบนี้เหมือนกัน

ผมขอเสริมว่า ตอนไปสัมมนาหรือประชุมที่บริษัทจัดไม่ว่าจะเป็นประชุมประจำปี
หรือ ประชุมระหว่างกาล ก็สำคัญ บางครั้งมีข้อมูลสำคัญที่บริษัทแจ้งในที่ประชุม
ถ้าเป็นไปตามที่บริษัทแจ้ง ก็สามารถรู้ได้เลยบริษัทจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์
จากข่าวที่ประกาศออกมา

สรุป เราต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา พอถึงเวลาที่รับทราบข่าวสาร เราก็นำข้อมูล
ที่ติดตามมาประมวลผลว่าส่งผลดีหรือผลเสียต่อบริษัท จะได้ตัดสินใจทันท่วงที

ช่วงนี้หุ้นIPO ค่อนข้างเป็นที่นิยม

ตอนดัชนีหุ้นSETอยู่ที่ระดับ 1200 จุด สังเกตว่าหุ้นIPOเข้าน้อยมาก
แต่พอดัชนีอยู่ในช่วง 1700จุดในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทใหม่มาออกIPOกันเยอะ
เขาโก่งราคาได้แพง เพราะอ้างอิงจากดัชนีปัจจุบัน
สักวันนี้บางบริษัทที่ขายแพงไปก็ต้องจบแบบบางบริษัทตอนนี้
นี่เป็นตัวอย่างที่คนจองIPOอาจจะขาดทุนได้เหมือนกัน

บริษัทท่าเรือ ที่พึ่งIPO เข้ามา PEสูงมาก แต่ไปJointกับสายเดินเรือใหญ่ กำไรน่าจะเพิ่มขึ้น
ตอนนี้มี2ท่าเรือทีสำคัญ ส่วนท่าเรือที่เหลือไม่มีนัยยะ
ผู้บริหารเรียนหลักสูตรthaivi13 เขาพยายามเข้าใจนักลงทุนวีไอคิดอย่างไร
จะได้บริหารบริษัท หรือ เอาความรู้ไปพัฒนาความแข่งขันของบริษัท โดยรวมๆ
เป็นธุรกิจที่ใช้ได้ ใหญ่สุดในไทย
ระยะทางจากอ่าวไทยมาที่บริษัทนี้ใกล้กว่าท่าเรือกรุงเทพ
เรือกว่าจะเข้าท่าเรือกรุงเทพจะลำบากกว่า
บริษัทนี้ได้เปรียบเพราะที่ตั้งอยู่ที่อ่าวไทย

อ้าวจบตอนสองแล้ว ตามต่อตอนสามได้เลยครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 105

โพสต์

Meeting VI หาดใหญ่ ตอนที่3

อาจารย์โจ ได้ให้โอกาสผมในการแชร์ในเรื่องนักลงทุนที่กรุงเทพเรียนรู้กันอย่างไร
ให้กับนักลงทุนทางภาคใต้ได้ฟัง

ผมได้บอกกับเพื่อนพี่ๆน้องๆว่า การเรียนรู้สมัยนี้ถึงแม้จะอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถ
เรียนรู้ได้ไม่แพ้ในนักลงทุนในกรุงเทพ ถึงแม้ในกรุงเทพจะมีสัมมนาตลอด แต่ก็มีการนำไปลง
ในyoutubeให้ทุกคนได้ศึกษากัน สำคัญว่าแต่ละคนมีความตั้งใจอยากศึกษาแค่ไหน
ผมขอยกตัวอย่างเพื่อนที่เรียนปริญญาตรีด้วยกัน และ ประสบความสำเร็จในด้านการลงทุน
คือ คุณธันวา อดีตนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) คนแรก ซึ่งตอนที่
ลงทุนใหม่ๆช่วงนั้น คุณธันวายังทำงานเป็น CFO ที่บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
ซึ่งงานCFO น่าจะยุ่งมากๆ แต่คุณธันวายังได้แบ่งเวลาช่วงเย็น ในการศึกษาเรื่องการลงทุน
รวมถึงการวางแผนในการลงทุนให้เรียบร้อย ดังนั้นช่วงเวลาทำงาน คุณธันวาก็ไปมุ่งทำงาน
ที่บริษัทให้ดี และ กลับมาดูผลในช่วงเลิกงาน นักลงทุนที่ทำแบบนี้ก็เห็น น้องกานต์ Mario
ที่ศึกษาเรื่องการลงทุนในช่วงเย็น ตอนทำงานที่ SCG

กลับมาที่คุณธันวา หลังจากที่ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ไอบีเอ็ม
แล้ว ตอนนั้น ผมคาดว่าเขาคงมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว จึงได้ลาออกมาเพื่อทำงานรับใช้สังคม
เช่น ทำงานเป็นกรรมการของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ TOT , ธนาคารกรุงไทย
ทราบจากคุณธันวาว่า ตอนที่ตอบรับเป็นกรรมการ ไม่ได้ดูเรื่องผลตอบแทนซึ่งไม่สูง แต่ตั้งใจ
มาเพื่อนำความรู้ที่เคยทำงานในองค์กรเอกชนมาช่วยทำให้บริษัทเจริญก้าวหน้าขึ้น
อันนี้ถือเป็นแบบอย่างที่เพื่อนนักลงทุนน่าจะศึกษาและทำตาม

ผมเองก็ได้เรียนรู้ในด้านการลงทุนมาก่อนจาก webboard thaivi และศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ
โดยได้เข้ารับการอบรมcourse Thaivi เมื่อต้นปี2557 หลังจากนั้นก็ได้แชร์ข้อมูลเรื่องการลงทุน
จากสัมมนาที่เคยไปฟังมา ส่วนการประชุมผู้ถือหุ้นก็เริ่มเข้าประชุมในปีเดียวกัน
และเริ่มโพสลงwebboard thaivi ติดต่อกันตั้งแต่ปี2557 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนรายการMoney Talk ต้องขอบคุณ อาจารย์ไพบูลย์ ที่ให้โอกาสมาช่วยเรื่องการสรุปเนื้อหาสัมมนา
ร่วมกับน้องบิ๊ก i-salmon ซึ่งตอนสรุปก็มีการอัดเสียงไว้ เพื่อทบทวน แก้ไข ก่อนโพสลงwebboard thaivi
เมื่อปีที่แล้ว ก็เกิดไอเดียว่า ความรู้เรื่องลงทุน นอกจากหุ้นแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมาก สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ หรือ ผู้ที่ต้องการวางแผนทางด้านการเงิน สำหรับเกษียณ หรือ การศึกษาของลูก

ผมเลยได้เปิด Facebook Page ชื่อว่า Seminar Knowledge by Amorn ขึ้น เพื่อเป็นที่ๆจะให้ความรู้กับคนทั่วไป ซึ่งเพจนี้พึ่งมีอายุแค่ 1 ปี ยังต้องพัฒนาเรียนรู้อีกเยอะ พยายามฟังความต้องการของผู้เข้าชมว่าต้องการให้เขียนเรื่องอะไรบ้าง จะได้เขียนให้ตรงกับที่เขาต้องการ
อันนี้ผมได้จากเจ้านายที่บริษัทเก่าสอนมาว่า คุณจะpresentอะไรออกไป คุณต้องคิดหรือสำรวจก่อนว่าคนฟังต้องการอะไรจากเรา


มีคนถามเหมือนกันทำแบบนี้จะได้อะไร ส่วนตัวผมว่า ผมได้ความรู้มากขึ้นนะจากการสรุปเนื้อหาที่ไปฟังมา
เพราะกว่าจะได้เนื้อหาที่จะเขียนลง ต้องมีการทวน เรียบเรียง หรือ หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจ
มากขึ้น สุดท้ายคนที่ได้ความรู้เยอะที่สุดคือผมนั่นเอง

สรุป การทำอะไรที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน สุดท้ายคนที่ได้ผลประโยชน์มากสุดก็คือคุณนั่นเอง
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 106

โพสต์

เมื่อวานได้ไปร่วมงานแต่งงานของลูกชายเพื่อนที่เรียนสมัยประถม
เดี๋ยวนี้รูปแบบงานเริ่มเปลี่ยนไป
จำได้ว่าสมัยก่อนถ้าเป็นงานแต่งงานของคนจีน
หลังงานแต่งงาน ก็จะมีการยกน้ำชาของคู่บ่าวสาวให้กับญาติผู้ใหญ่
กว่าจะเสร็จก็เกือบเที่ยงคืน จึงจะกลับไปพักผ่อนที่บ้าน
ถึงแม้โรงแรมจะให้ห้องพักก็ตาม ก็ไมสามารถไปพักได้
เพราะคืนแต่งงานต้องไปอยู่ท่ีบ้านเราเท่าน้้น

เดี๋ยวนี้ จากการได้สัมผัสหลายงาน ช่วงหลังงานแต่งงานเสร็จ
คู่บ่าวสาวก็อาจมีปาร์ตี้หลังเลิกงาน หรือ เป็นงานสังสรรค์ของพ่อแม่คู่บ่าวสาว
บางครั้งก็มีงานสละโสดก่อนวันแต่งงาน หรือ บางครั้งเจ้าบ่าวก็เปลี่ยนเสื้อผ้าเพื่อเตรียมไปเที่ยวกับเจ้าสาวในต่างจังหวัดทันที

ไม่เหมือนกับสมัยก่อนที่เจ้าบ่าวสาวต้องอยู่ที่เรือนหอสามวัน
และต้องร่วมกันปลูกต้นไม้ที่ในตัวบ้านด้วย
หลังครบกำหนด จึงสามารถออกจากบ้านได้

เรียนรู้สิ่งรอบข้างที่เริ่มเปลี่ยนไป และทำนายเรื่องของอนาคตที่จะถึง

ประเทศเราจะเริ่มเข้าสู่ Aging Society แล้วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าแล้วใช่ไหม
เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หรือเปล่า

คำถามในใจเราที่ต้องหาคำตอบ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 107

โพสต์

Meeting VI หาดใหญ่ ตอนที่4

Q: หุ้นที่ไม่ชัดเจนราคาไม่แพง กับ หุ้นชัดเจนราคาแพงแล้ว อันไหนน่าสนใจมากกว่ากัน
A: คิดว่าคุณวอร์เรน บัฟเฟตจะซื้อหุ้นที่ไม่ชัดเจนหรือเปล่า
คำตอบคือ ไม่ใช่ รอซื้อแพงหน่อยตอนชัดเจนน่าจะดีกว่า
หรือ ปีเตอร์ ลินซ์ ซื้อแพงกว่า1เท่าเมื่อเหตุการณ์ชัดเจน แต่ได้อีก 10 เท่าในอนาคต
ยกเว้นเรามีกลยุทธ์ในบริษัทไม่ชัดเจน ผ่านstartup 100 บริษัท ซึ่งจะมีรอดเพียงไม่กี่บริษัท
เราเป็นวีไอ รอให้มีความแน่นอนดีกว่าค่อยเข้าไปลงทุน

Q: อยากทราบหลักการในการดูWarrantว่าน่าลงทุนหรือไม่
A: Warrant ที่ out of money ไม่น่าสนใจ
(หมายถึง ราคาที่ซื้อwarrantบวกกับราคาที่exerciseหรือราคาแปลงมากกว่าราคาตลาดปัจจุบัน)
หุ้นแม่ที่โอกาสไปต่อได้สูง และราคาแปลงwarrant รวมราคาwarrantแล้วใกล้เคียงจะน่าสนใจ
สมมติให้เราเป็นวอร์เรน บัฟเฟต์ แล้วตัดสินใจแบบเขาว่า
การซื้อwarrant out of money เขาจะทำไหม
สรุปคือถ้าต้องการลงทุนwarrant ให้ลงทุนแบบ in the money

Q: คุณโจถามคุณตี้ ซึ่งเป็นนักลงทุนแนววีไออีกท่านที่หาดใหญ่เรื่องแนวคิดในการขายหุ้น
A: ตอบว่า ไม่มีอะไรซับซ้อน มันยากตอนซื้อมากกว่า
เราซื้อตอนราคาผิดพลาด หุ้นPEต่ำ สุดท้ายก็ได้กำไร
สรุป ต้องดูที่ราคาตอนซื้อ
ต่อมา เราจะขายตอนไหนก็ได้
ถ้าบริษัทเติบโตไปเรื่อยๆ ก็ถือต่อ แต่จะหาบริษัทแบบค้าปลีกห้องแถวปากซอยก็ยากมาก

Q: คุณโจถามคุณวรพงษ์เรื่องแนวทางในการลงทุน
A: เวลาไปซื้อของให้ลูก ก็ไปที่กรุงเทพซื้อ เพราะราคาถูกกว่าที่หาดใหญ่
คุณวรพงษ์จะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกองทุนรวม
กองทุนรวมSET50 เมื่อก่อน SCBAM คิดค่าธรรมเนียม0.4% ตอนนี้ขึ้นเป็น 0.9% ทำให้
SCBAM ไม่ใช่บริษัทที่คิดค่าใช้จ่ายต่ำสุดแล้ว
TMBSET50 ค่าใช้จ่าย 0.63% performance 15%
ผลประกอบการตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ผลตอบแทน 14-15%
ผลตอบแทนย้อนหลัง 8% ต่อปี

(ผมขอเสริมจากที่ไปตรวจสอบข้อมูลพบว่า เมื่อก่อน SCBSET50 คิดค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.394295%
ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนการคิดค่าธรรมเนียมของpassive fund ทั้งหมดเป็น 0.72% ซึ่งปรากฏว่า
ค่าธรรมเนียมของSET50เพิ่มขึ้น แต่ไปลดของSCBSETลงจาก0.993495%เป็น 0.72% )

คุณวรพงษ์ค่อนข้างละเอียดกับปลีกย่อยค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้องเพราะpassive fund (index fund)

สรุป เวลาลงทุนต้องหากองทุนที่มีค่าบริหารจัดการต่ำสุด
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 108

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP9 TREIT


วันนี้เป็นวันเริ่มเทรดวันแรกของ REIT ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ TREIT ซึ่งมีการแปลง property fund 3 กอง
คือ TFUND, TLOGIS, TGROWTH รวมกับ TREIT
เปิดเทรดวันแรกวันที่ 28 ธค 17 หลังรวมกองที่ราคา 10.40 บาท เพิ่มจากวันก่อนหน้า 0.60 บาท
มาดูประวัติของกองTREITเริ่มแรกกันครับ

TREIT ลงทุนในกรรมสิทธิ์ (Freehold) และสิทธิการเช่า (Leasehold) ในอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารคลังสินค้า จำนวน 24 หลัง 71ยูนิต
โดยมีTicon ขายพื้นที่พร้อมอาคารคลังสินค้าให้ TREITมีพื้นที่อาคารรวมประมาณ 292,755 ตารางเมตร และอาคารโรงงาน จำนวน 27 หลัง 27 ยูนิต มีพื้นที่อาคารรวมประมาณ 75,900 ตารางเมตร คิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 51 หลัง หรือ 98 ยูนิต พื้นที่อาคารรวมทั้งสิ้นประมาณ 368,655 ตารางเมตร บนที่ดินที่มีเนื้อที่รวมประมาณ 502 ไร่ 4 งาน 71.5 ตารางวา

จดทะเบียนเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 จำนวน 566,800,000 หน่วยลงทุน
Property fund ภายใต้ Ticon ทั้งสามกอง คือ TFUND, TLOGIS, TGROWTH ไม่สามารถขยายขนาดกองทุนแล้ว
หลังจากมีทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT ) เกิดขึ้น พอดีช่วงก่อน ธค 2560 ถ้ามีการแปลงสภาพจาก
Property fund เป็น REIT ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นจึงได้ให้ บล ภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการแปลงทั้งสามกอง
รวมกับTREIT ซึ่งมีTime lineที่แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะถ้าเวลาคลาดเคลื่อนจะเสร็จไม่ทันสิ้นปีนี้
ในที่สุด ก็สามารถรวมกองทุนเสร็จทัน และ สามารถมาเทรดใหม่ ด้วยมูลค่าของกองทุน 32,000 ล้านบาท
ถือเป็น กองทรัสต์อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบไปด้วย Freehold 69% และ Lease hold 31%
โดยสิทธิการเช่าของLease hold คงเหลือ 26 ปี
พื้นที่ให้เช่าทั้งส่วนของคลังสินค้า จำนวน 192 ยูนิต และ อาคารโรงงาน 300 ยูนิต โดยมีทรัพย์สินตั้งอยู่ในพื้นที่ของ
EEC กว่า 1 ล้านตารางเมตร โดยมีผู้เช่าทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติในหลากหลายธุรกิจ
นโยบายการจ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี ในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ

จุดเด่นของ TREIT

1. กระจายพื้นที่ให้เช่าของTREIT ทั้งคลังสินค้าและโรงงาน ไปใน7จังหวัด ถือเป็น Diversified สินทรัพย์
และ ผู้ลงทุนมีความมั่นใจในโครงการมากขึ้น
2. Freehold สูงถึง 69% และ Lease hold มีอายุนานถึง 26 ปี
3. กองทุนได้รับการจัดลำดับอยู่ใน Investment grade ทำให้สามารถกู้ยืมเงินได้ถึง 60% ของทรัพย์สิน
4. มีโอกาสขยายกองทุน โดยทำสัญญาจะซื้อสินทรัพย์เพิ่มจากไทคอนอีก 3,500 ล้านบาท และมีโอกาส
จะซื้อทรัพย์สินจากผู้ประกอบการรายอื่นในอนาคตด้วย

สรุป หลังจากรวมกองทุนทั้งสี่เข้าด้วยกัน สัดส่วนของFreeholdในกองTFUND ลดลง แต่TREITก็ยังมีสัดส่วนสูงถึง 69%
มีโอกาสขยายกองทุนโดยซื้อจากไทคอน และ บริษัทอื่น โดยอาจไม่ต้องเพิ่มทุน แต่สามารถกู้ยืมเงินแทน
มีคลังสินค้าและโรงงานในเขต EEC 1.09 ล้านตารางเมตร ที่รองรับต่างชาติมาเช่าเพื่อขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีในอนาคต
นักลงทุนสามารถติดตามผลการดำเนินงาน แล้วจะตัดสินใจลงทุนหรือไม่ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนของแต่ละท่าน
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 109

โพสต์

วันนี้เป็นวันทำการสุดท้ายของตลาดหลักทรัพย์ ของปี 2560
ก็เลยจะพูดถึงหุ้น IPO บริษัทสุดท้ายที่พึ่งเข้าเทรดวันที่ 28 ธค 17 : SUN

บริษัท ซันสวีท จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน พร้อมรับประทานชนิดบรรจุกระป๋อง สดแช่แข็ง และสุญญากาศภายใต้แบรนด์สินค้า KC เปิดเผยว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารทั้งในและต่างประเทศ ยังคงมีการเติบโตที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกไปยังต่างประเทศยังคงมีการขยายตัวทุกปี เนื่องจากความต้องการด้านอาหารของโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ข้าวโพดหวานซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทมีความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปริมาณการส่งออกข้าวโพดหวานทั้งประเทศในปี 2559 อยู่ที่ 580,000 ตันต่อปี ซึ่งประเทศไทยถือว่าประเทศที่ส่งออกข้าวโพดหวานเป็นอันดับหนึ่งของโลก

ปีนี้บริษัทคาดว่าจะใช้ปริมาณข้าวโพดหวาน 130,000 ตันในการผลิตสินค้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 30% และทำให้บริษัทมียอดขายประมาณ 2,000 ล้านบาท จากปี 2559 ที่มียอดขายประมาณ 1.67 พันล้านบาท ซึ่งจะมาจากการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ และการเพิ่มสินค้าใหม่ให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิตสินค้า ส่วนที่เหลือจะใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องบริหารการเงินภายในบริษัท อีกทั้งจะใช้เป็นทุนสำรองในการเข้าไปลงทุนธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักที่บริษัททำอยู่ โดยบริษัทนำเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปประมาณ 25% หรือประมาณ 100 ล้านหุ้น ราคาจองหุ้นละ 5.85 บาท จากราคา PAR 0.50 บาท
หลังจากเข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะเป็นโอกาสให้ผลประกอบการของบริษัทฯสามารถเติบโตขึ้นได้อีกมาก ไม่น้อยกว่า 10-15% เทียบกับรายได้ในปีก่อนหน้า หรืออาจเติบโตได้ถึง 20% เนื่องจากโครงสร้างของบริษัทฯเน้นการทำตลาดในต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปยังต่างประเทศที่ 70% เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน รวมไปถึงกลุ่มตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน และยุโรปด้วย โดยแบ่งเป็นข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง (CAN) 70% ข้าวโพดหวานแช่แข็ง (FROZEN) 20% และข้าวโพดหวานแบบฝักบรรจุสุญญากาศ (POUCH)
ขณะที่อีก 30% เป็นการขายภายในประเทศ ซึ่งมีจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อในประเทศ นอกจากนี้บริษัทเตรียมผลิตและจำหน่ายสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าวโพดหวาน เช่น ถั่วขาวในซอสมะเขือเทศ

ส่วนภาพรวมธุรกิจสินค้าเกษตรในครึ่งหลังปี 2560 จะมีแนวโน้มที่สดใสขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศ และความต้องการน้ำเพื่อเพาะปลูกมีปริมาณมากเพียงพอ จะสามารถผลักดันการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ซึ่งในต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้มีการเพิ่มเครื่องจักรในกระบวนการผลิตเข้ามาทดแทนแรงงานบุคคล เพื่อให้มีคุณภาพได้ตามความต้องการมาตรฐานสินค้าอาหาร และมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง โดยประเมินว่ายอดการผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20% เทียบกับยอดการผลิตสินค้าที่ทำได้ในปีที่แล้ว โดยบริษัทมีหนี้สินต่อทุนหรือ D/E ในปัจจุบันอยู่ที่ 1.3-1.4 เท่า ซึ่งหากเข้าระดมทุนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ที่ปรึกษาทางการเงินคาดว่าหนี้สินต่อทุนของบริษัทจะปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1.1-1.2 เท่า

ทั้งนี้บริษัทประกอบธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารเพื่อการส่งออกแบบครบวงจร โดยมี บริษัทฯผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ข้าวโพดหวานแช่แข็ง (Frozen) ข้าวโพดหวานบรรจุถุงสุญญากาศพร้อมรับประทาน (Pouch) ภายใต้ตราสินค้า KC (King Of Corn) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 108 ล้านบาท ซันสวีทถือเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตข้าวโพดหวานของประเทศไทย จากสัดส่วนประมาณ 25-30% ของมูลค่าตลาดโดยรวมที่มีผลผลิตส่งออกไปยังต่างประเทศ ประมาณ 580,000 ตันต่อปี ปัจจุบัน ไทยถือว่าเป็น ประเทศที่ส่งออกข้าวโพดหวาน เป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 5% ของมูลค่ารวม 50 ล้านเหรียญดอลล่าร์ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และฮังการี
รายได้และผลประกอบการ
รายได้ปีที่แล้ว (2559) 1,726 ล้านบาท
90% ผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานแปรรูป ที่เหลือทำ trading ซื้อมาขายไปสินค้าเกษตรอื่น ๆ เช่น หอมหัวใหญ่ สับปะรดกระป๋อง น้ำมันข้าวโพด รวมไปถึงขายซังข้าวโพด เศษข้าวโพด ที่ได้จากการผลิต

ถ้ามาเจาะดูที่ตัวรายได้จากข้าวโพด 75% เป็นข้าวโพดกระป๋อง 15% เป็นข้าวโพดแช่แข็ง และ 10% ข้าวโพดเป็นฝักใส่ถุงสุญญากาศ ซึ่ง 2 แบบหลังกำไรจะดีกว่า

80% ส่งออก (52% คือเอเชีย เจ้าหลักได้แก่ ญี่ปุ่น อิหร่าน ไต้หวัน เกาหลี) เวลาส่งออกหลัก ๆ คือขายให้พวก Agent/Distributor แล้วเค้าไปขายต่ออีกที

11% ขายในประเทศ และที่เหลือคือรายได้อื่นไม่ว่าจะเป็น ขายเศษซากข้าวโพด กำไรอัตราแลกเปลี่ยน

74% เป็น OEM ให้แบรนด์ลูกค้า 19% แบรนด์ตัวเองคือ KC ที่เหลือก็รายได้อื่น

ชื่อแบรนด์ KC ไม่ใช่ King of Corn แต่มาจากนามสกุล “กิตติคุณชัย” และ “แซ่ฉั่ว” ของคุณแม่

** ผลประกอบการของ SUN เป็นอย่างไร **

ปี 2557 รายได้ 1,625 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 52 ล้านบาท (%NP = -3.2%)
ปี 2558 รายได้ 1,700 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท (%NP = 1.1%)
ปี 2559 รายได้ 1,726 ล้านบาท กำไรสุทธิ 111 ล้านบาท (%NP = 6.5%)
9 เดือนแรก ปี 2559 รายได้ 1,323 ล้านบาท กำไรสุทธิ 90 ล้านบาท (%NP = 6.8%)
9 เดือนแรก ปี 2560 รายได้ 1,274 ล้านบาท กำไรสุทธิ 111 ล้านบาท (%NP = 8.7%)
IPO 5.85 บาท 130 ล้านหุ้น ได้เงินมา 760.5 ล้านบาท เอาไปทำอะไรบ้าง

>> หักค่าใช้จ่ายในการเข้าตลาด 32.7 ล้านบาท
>> เป็นเงินทุนหมุนเวียน 417.8 ล้านบาท เพราะอย่างที่บอกสภาพคล่องต่ำ CR 0.63 และ QR 0.14 เท่า

>> คืนเงินกู้ธนาคาร 50 ล้านบาท ถ้าไปดูงบดุล หนี้สินที่มีกับธนาคาร มีอยู่ 510 ล้านบาท เป็นหนี้สั้น 412 และหนี้ยาว 98 ล้าน

>> เอาไปลงทุนเครื่องจักร 260 ล้านบาท
วันแรกในการเข้าตลาดในวันที่ 28 ธค 17 ต้องจัดที่ Hall A แทนที่เป็นชั้น 3 Hall B เนื่องจาก TREIT จองไว้ก่อนหน้า
ทำให้ไม่สามารถให้นักลงทุนที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ เพราะเป็นส่วนของoffice ตลาดหลักทรัพย์
เปิดราคามาด้วยราคาเท่าราคาIPO หลังจากนั้นก็หล่นมาที่ราคาปิด 5.25 บาท เนื่องจากสภาพตลาดไม่ค่อยดี
ส่วนวันต่อมาก็เริ่มขยับขึ้นมาได้บ้าง
บริษัทนี้ มีนักลงทุนวีไอเข้าไปถือ คือ คุณ ไลท์ ประชา ก็เลยคิดว่าน่าจะมีอะไรดีในบริษัทเหมือนกัน

ข้อดี คือ

1. ข้าวโพดแช่แข็ง และ ข้าวโพดเป็นฝักใส่ถุงสุญญากาศ มีmarginที่ดี ตอนนี้กำลังมาเน้นในส่วนของข้าวโพดแช่แข็ง
ซึ่งตอนนี้เครื่องจักรเต็มกำลังการผลิต หลังจากIPO ก็นำเงินมาขยายกำลังการผลิตได้
2. มีแบรนด์เป็นของตัวเอง คือ KC มีขายตามร้านขาย เช่น 7-11
3. ขยายตลาดไปยังต่างประเทศกว่า 50 ประเทศ ผ่านทางบริษัทและบริษัทลูก
4. PE ตอนเข้าตลาดประมาณ 18 เท่า ซึ่งถูกกว่า PE ของกลุ่ม
ข้อเสีย คือ

1. รายได้หลักมาจากข้าวโพดกระป๋อง ซึ่งราคาขึ้นลงตามตลาดโลก ไม่สามารถควบคุมราคาได้

2. ถ้าเปรียบเทียบบริษัทที่ทำธุรกิจคล้ายกัน
Cx ที่ราคาปิด 5.55 บาท P/E 11.5 เท่า
APUxx ราคาปิด 1.84 บาท P/E 10.5 เท่า
ปรากฏว่า PE ของบริษัทแพงกว่า เนื่องจากอัตราการทำกำไรต่ำกว่า

3. ความสามารถในการทำกำไรน้อยกว่า Cx , APUxx
SUN GP 21.6% EBITDA 13.9% NP 8.7%
Cx GP 26.6% EBITDA 20.3% NP 13.8%
APUxx GP 27% EBITDA 17.4% NP 10.7%

ข้อมูลที่นำเสนอ เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การศึกษาเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจซื้อ หรือ ขายนะครับ

Cr: ข้อมูลจาก Thaivi Webboard ,Forb Thailand , เพจ วิตามินหุ้น
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 110

โพสต์

Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP10 ERWPF


สาเหตุที่นำกองทุนอสังหาริมทรัพย์เอราวัณ โฮเทล โกรท ( ERWPF )
มาพูดเพราะว่ามีแฟนเพจสอบถามมาว่าราคาตลาดลดต่ำลงมามาก จะถือหรือขายดี

เกริ่มนำ

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ERWPF ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 26 มีนาคม 2556 โดยประกอบไปด้วย โรงแรม ไอบิสป่าตอง
และ โรงแรมไอบิสพัทยา รายละเอียดดูจากภาพที่แนบ บริหารโรงแรมโดยบริษัทลูกของ ERW คือ Erawan Growth Management โดยมีการรับประกันรายได้ปีละ 111.62 ล้านบาท เป็นเวลา 4 ปี จนถึง วันที่ 31 มีนาคม 2560
กำหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี นับจากวันที่กองทุนรวมเข้าลงทุนครั้งแรก และกองทุนรวมให้ต่อสัญญาการเช่าออกไปอีกคราวละ3ปี

กองทุนนี้ตอนออกกองใหม่ มีมูลค่าตราไว้ 10.40 บาทต่อหน่วย หน่วยที่จำหน่ายทั้งหมด 176,100,000 หน่วย
คิดเป็นเงิน 1,831,440,000 บาท มีการลดทุนทั้งหมดสี่ครั้ง จนมูลค่าตราไว้เหลือ 9.927 บาทต่อหน่วยลงทุน (22 ธค 17)

เงินปันผล

ปี 2560 ไม่มีการจ่ายเงินปันผล แต่บลจ ไทยพาณิชย์ได้ทำการลดทุนจ่ายให้ผู้ถือหน่วยลงทุน 2 ครั้ง

ผลดำเนินงาน

งวด 9 เดือน ขาดทุนจากการประเมินทรัพย์สินซึ่งลดลงจากปีที่แล้ว รวมกับผลการดำเนินงานที่ลดลง จากครบกำหนดการประกันรายได้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2560
สรุป งบ9เดือน คิดเป็นขาดทุน 0.7892 บาทต่อหน่วย

บทสรุป

บทเรียนจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่เคยมีการรับประกันค่าเช่า ทำให้สามารถขายหน่วยลงทุนในราคาที่แพงขึ้น
เมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไร ดังนั้นถ้าการรับประกันสิ้นสุด และ สถานการณ์ของการเช่าไม่เปลี่ยนแปลง
จะเกิดการขาดทุนเนื่องจากรายได้ที่แท้จริงน้อยกว่าที่ประกันรายได้ค่อนข้างมาก
ดังนั้น ถ้าเราเช็คงบการเงินเกี่ยวกับรายได้ที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับรายได้จากการประกัน ถ้าต่างกันมาก
ควรถอยห่างจากกองทุนก่อนที่การรับประกันจะหมดไป
แต่ถ้ารายได้ที่เกิดขึ้นจริงใกล้เคียงกับรายได้ที่รับประกัน ก็สามารถถือต่อเพื่อรับปันผลได้
ดังนั้น เราควรหมั่นตรวจสอบรายได้ของกองทุนที่เกิดขึ้นจริง เหมือนกับการลงทุนในหุ้น
ที่เราต้องหมั่นเช็คผลประกอบการทุกไตรมาส เพื่อตัดสินใจถือต่อ หรือ เปลี่ยนบริษัทที่ลงทุน
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 111

โพสต์

Money Talk Weekly 21 ธค 2560

คุณโจ ลูกอีสานบินจากหาดใหญ่มากรุงเทพในวันที่ 15 ธค 2560
เพื่อมาอัดรายการ Money Talkในหัวข้อ การลงทุนแบบโจ ลูกอีสาน ในปี 2018


เกริ่นนำโดยดร ไพบูลย์ว่า
คุณโจเกิดที่จังหวัด พังงา มาเรียนหนังสือที่ม หาดใหญ่ ชอบหนังสือที่แต่งโดย คำพูน บุญทวี เรื่องลูกอีสาน
เลยมาใช้ชื่อ โจ ลูกอีกสาน จริงๆเป็นคนพังงา
เรียนป โท การเงินที่ ม รามคำแหง เคยเป็นนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า สมัยที่สอง

คำถาม สถานการณ์ตอนนี้แตกต่างจากที่คุณโจ ลงทุนในช่วงแรกอย่างไร

คุณโจ ตอบว่า ผมลงทุนในปี40 ประมาณเมื่อ 20ปีที่แล้ว
มีที่เปลี่ยนไปคือ คนเก่งเยอะขึ้น
ผมลงทุนตามหลังดร นิเวศน์ไม่นาน
ตอนนี้คนเก่งมากขึ้น การหาหุ้นถูกๆดีๆในตอนนี้ยากขึ้น
ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อน
ราคาหุ้นสะท้อนพื้นฐานของบริษัทมากขึ้น

คำถาม ตอนนี้เราจะหาหุ้นกันอย่างไร

คุณโจ ตอบว่า ผมว่ายังต้องลงทุนต่อไป
ถึงแม้ว่าจะยากขึ้นก็ยังใช้วิธีการลงทุนแบบเดิม
แต่อาศัยมุมมองที่เฉียบคมมากขึ้น อดทนรอมากขึ้น
เมื่อก่อนใช้เวลา1ปี ก็ขายได้ ตอนนี้ 3 ปีก็ยังรอ
โดยมีเงื่อนไขว่าพื้นฐานบริษัทยังดีอยู่
ในอดีตหุ้นดี ใน1ปี มีคนเห็นหุ้นนั้น ทำให้ราคาหุ้นขึ้น
สมัยนี้ 2-3ปี เราก็ต้องยอมรอ ถ้าพื้นฐานหุ้นยังดีอยู่
ดังนั้นผลตอบแทนเทียบกับสมัยก่อนลดลงเยอะ
ส่วนนึงมาจากฐานทุนของ อ โจที่เพิ่มขึ้นด้วย
ตอนนี้คาดหวังผลตอบแทน30-40% ยากมาก
คนที่ได้return สูงๆ เปรียบเสมือนการเห็นแต่ยอดข้างบนของภูเขาน้ำแข็ง
แต่ใต้ภูเขาน้ำแข็งเราไม่เห็น ตอนพลาดเขาไม่มาบอกเราหรอก
ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลจากนี้ไปได้ 15% ต่อปี โดยเฉลี่ย
ตลาดหุ้นไทยในระยะยาวจากนี้ไป จะให้ผลตอบแทน 9-10%ต่อปี

คุณโจ อธิบายที่มาของผลตอบแทน ประกอบไปด้วย เงินปันผล3%
ซึ่งได้ค่อนข้างแน่สำหรับหุ้นที่มีพื้นฐานดี
ตลาดหลักทรัพย์ปีนี้เทรดที่ Price per book 3.2 เท่า
PEตลาดหุ้นตอนนี้ 18 เท่า ถ้าเรากลับเศษและส่วนก็คือ 100/18 = 6%
Yieldคิดเป็น 6% แบ่งเป็นอย่างละครึ่ง มาจากมูลค่าทางบัญชีที่บริษัทจดทะเบียน
สะสมไว้ครึ่งนึง ส่วนที่เหลืออีกครึ่งนึงเป็นเงินปันผล
แต่ตลาดเทรดที่ PE 2 เท่า
ดังนั้น ทุนจะเป็น 3*2= 6%
รวมกับ เงินปันผลอีก3% รวมแล้ว ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 9-10%ต่อปี
แต่ถ้าเราใส่ความรู้เข้าไปสักหน่อยในการคัดเลือกหุ้น
ผลตอบแทนที่ได้น่าจะประมาณ 15%ต่อปีในระยะยาว
แต่ถ้าคาดหวังมากกว่านี้ ค่อนข้างไม่แน่นอนสูง

คำถามจากดร นิเวศน์ว่า Profile ของนักลงทุนเปลี่ยนไปหรือไม่ถ้าเทียบกับสมัยก่อน

คุณโจ ตอบว่า เปลี่ยนไปค่อนข้างชัดเจน
ผมดูตัวเลขของนักลงทุนรายย่อยล่าสุดปรับลดจาก 70-80% เหลือแค่ครึ่งเดียว
สัดส่วนของต่างชาติเท่าเดิม แต่ที่เพิ่มมาคือนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนรวม
LTF , RMF หรือ กองทุนส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันถือในสัดส่วนประมาณ 20%
กองทุนจะอิงกับพื้นฐานหรือ Fundamental ของบริษัท จะเริ่มคล้ายกับต่างประเทศ
ที่รายย่อยจะเหลือแค่ 30% รายย่อยในต่างประเทศจะไปลงทุนในกองทุนรวมมากกว่า

ดร นิเวศน์ ถามต่อว่า Profile ของนักลงทุนรายย่อยได้เปลี่ยนแปลงไปไหม

คุณโจตอบว่า ที่เห็นได้ชัดเจนตอนมีงาน IPOหุ้นใหม่ หรือ จัดเลี้ยงลูกค้า
แนะนำหุ้นใหม่ จะเห็นคนอายุน้อยมากขึ้น
คนที่เกษียณและมาลงทุนหุ้น ถ้าขาดทุนบ่อยๆ สุดท้ายทุนหมดก็จะหายไป
นักลงทุนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ที่ดีขึ้นเนื่องจากเข้าหาข้อมูล
เรียนรู้การลงทุนจากสื่อทางInternetได้ง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อน
มีการเปิดเผยข้อมูลที่ดีพอสมควร ขึ้นกับนักลงทุนมีการเตรียมตัวพร้อมขนาดไหน

ดร ไพบูลย์เสริมว่า คนที่ไปเรียน Thaivi course อายุน้อยลง
คุณโจ พูดต่อว่า คนที่อยู่รอดได้ต้องเป็นมืออาชีพมีความรู้ดี
ถ้ามาเล่นๆ คงอยู่ยาก แนะนำไปลงทุนกองทุนรวมดีกว่า

คำถาม ปี2018 ลงทุนอย่างไร จะเลือกหุ้นประเภทไหนบ้าง

คุณโจตอบว่า โดยเนื้อแท้ของวีไอ มีความเป็นตัวของตัวเอง เป็นแนว contrarian
แนวทางไม่เปลี่ยนง่ายๆ ตราบใดที่ผลตอบแทนยอมรับได้
ตลาดหุ้นปลี่ยนแปลงไป สมัยก่อนที่ลงทุนในปี2540 PEต่ำสุดที่เคยซื้อได้ 3 เท่า
สมัยนี้ PE ถูกสุด 7-8 เท่าแต่คุณภาพไม่ค่อยดี เลือกหุ้นอาจผิดพลาด
สุดท้ายต้องมาดูคุณภาพของกิจการมากกว่าเน้นราคาถูกไว้ก่อน
เพราะมีปัจจัยที่ทำให้หุ้นเหล่านั้นถูกเสมอ
( หมายถึงตลาดฉลาด รู้ว่าบริษัทไม่ค่อยดีเลยให้ราคาถูก )
แต่ถ้าเป็นหุ้นดี ราคาหุ้นมักจะแพง เช่น PE มากกว่า 50 เท่า
หุ้นถูก หมายถึง บริษัททำกำไรได้มาก ดูจากPE สูงสุดไม่เกิน 50 เท่า
มีหุ้นบางตัวที่สูงกว่า 50 เท่า ต้องมั่นใจว่าหุ้นต้องโตมากๆ มีอนาคตดี
จะทำให้หุ้นมีPE ลดลงจากกำไรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตเช่น เพิ่มขึ้น100%
นี่เป็นสิ่งที่เราต้องปรับตัวตามตลาด
คุณโจอธิบายต่อว่า สาเหตุที่PEของตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 12 เท่าเป็น 18 เท่า
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยตอนนี้ต่ำมากเหลือ 1% จากสมัยก่อนที่ดอกเบี้ยที่ระดับสูง
ดังนั้นหุ้นPE 18 เท่า ได้ผลตอบแทน 3%กว่า ก็ยังคุ้มกว่าการฝากเงิน

เหตุผลในการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ
ผมลงทุนในต่างประเทศ เป็นการกระจายความเสี่ยงของอำนาจเงินของเรา
เราไม่เสี่ยงลงทุนAssetในตระกร้าเงินบาทอย่างเดียว
ถ้าเงินบาทอ่อนตัว อำนาจในการซื้อลดลงถ้าถือเฉพาะสกุลเงินบาท
ตอนนี้ลงทุนในฮ่องกง และ เวียดนาม
เวียดนามมีความเสี่ยงเรื่องค่าเงินอ่อนตัว (ปีที่แล้ว ขาดทุนค่าเงินประมาณ 10%
ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมลดลง)
ประเทศไทยปีที่แล้ว มีดุลบัญชีเดินสะพัดดีมากทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ส่งผลให้ผลตอบแทน
ของการลงทุนต่างประเทศลดลง บางทีอาจขาดทุนด้วย
ผมลงทุนในต่างประเทศมาสามปี แต่ยังไม่เพิ่มสัดส่วนมากขึ้น
การลงทุนในต่างประเทศ สภาวะแวดล้อมไม่เหมือนกับในไทยที่เราชำนาญกว่า
สัดส่วนของportต่างประเทศลดลงจาก 10% เหลือ 7%
เพราะสัดส่วนของหุ้นไทยเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ผมลงทุนในหุ้นเกือบ100%มีลงทุนที่ดินนิดหน่อย
โดยหุ้นต่างประเทศ คิดเป็น 7% ของ Port มีลงทุนที่เวียดนามและฮ่องกง

คำถามจาก ดร ไพบูลย์ว่า ลงทุนหุ้น 100% ถ้าเจอหุ้นที่ดีทำอย่างไร

คุณโจตอบว่า ขายหุ้นที่มีupsideน้อยมาซื้อหุ้นที่มีupsideที่สูงขึ้นแทน
คนที่อยากประสบความสำเร็จในการลงทุน ต้องตีราคาหรือประเมินราคาหุ้นได้
เพราะเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจซื้อหรือขาย
เรารู้มูลค่าที่แท้จริงจากคุณภาพและกำไรที่บริษัททำได้

1.หุ้นที่มีคุณภาพดี สะท้อนไประดับที่PEที่ตลาดให้ หุ้นดี PEต้องสูงกว่าตลาดอาจเป็น
20,30,40เท่า สะท้อนมาจากการเติบโตของบริษัท ผู้บริหารเป็นต้น

2.ปัจจัยเรื่องกำไร
กำไรต่อหุ้น เราต้องประเมินได้ปีหน้าจะกำไรเท่าไหร่มาจากข้อมูลที่ผู้บริหารให้ข่าว
และกำไรที่เคยได้ในอดีต
สมมติ เราให้PE 20 กำไร 1 บาท ดังนั้น ราคาที่คำนวณได้ 20 บาท
ถ้าเราประเมินมูลค่าของบริษัทได้ใกล้เคียง จะช่วยในการเลือกซื้อได้

สุดท้ายราคาหุ้นจะขึ้นอยู่กับกำไรของกิจการ

คนที่เข้าใจกำไรของกิจการ ก็สามารถคำนวณราคามูลค่าที่แท้จริงได้
ทุกวันนี้อ่านบทความที่วิเคราะห์ในบริษัทของโบรคเกอร์ จะสนใจข้อมูล
ที่นักวิเคราะห์ให้มาจากที่ไปเยี่ยมบริษัท แต่จะมาคำนวณตามกระบวนการของตนเอง
เพื่อหามูลค่าที่แท้จริง โดยไม่ดูราคาเป้าหมายที่เขียนไว้ในบทวิเคราะห์
สุดท้ายรับฟังโบรคเกอร์ได้ แต่เราต้องคิดเอง

ปีที่ผ่านมา มีกิจการที่มีปัญหามาจากธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
เราต้องดูผู้บริหารซึ่งเป็นปัจจัยหลักให้คุณภาพของกิจการ
วิธีการดูผู้บริหารไม่ยาก เหมือนเราติดตามผู้บริหารนานๆ
เราต้องรู้ว่าคนไหนดีหรือไม่ดี พยายามอย่าไปข้องเกี่ยวกับหุ้นที่มี
ผู้บริหารมีการใช้ข้อมูลinsider ซึ่งเราไม่สามารถสู้กับคนที่มีข้อมูลวงใน
ผมไปประชุมผู้ถือหุ้น ฟัง oppday ถึงแม้อยู่หาดใหญ่ก็สามารถสัมผัสผู้บริหารได้
six sense ไม่ค่อยพลาด เราสงสัยและก็พบว่าเป็นไปตามที่เราสงสัย
เราจะประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาว เราจะต้องมีวินัยในการลงทุน
ถึงแม้หุ้นบริษัทนั้นดูเย้ายวน น่าเข้าไปลงทุน แต่ผิดหลักเกณฑ์การลงทุน
เราจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว หรือ ซื้อขายหุ้นบริษัทนั้น
แต่ถ้าทนไม่ไหว ก็จะซื้อเล็กน้อย ไม่มีวันจะเข้าไปซื้อจนเป็นสัดส่วนหลักของพอร์ตเด็ดขาด
เพราะว่าวันดีคืนดี มันอาจจะหายไปได้เลย
Portfolio หุ้นที่ถือมาก5-10ตัวแรก คิดเป็น 50-60%
และจะไม่ถือหุ้นแต่ละตัวเกิน 30% กรณีแย่สุดยังมีอีก 70%ไว้เพื่อแก้ไขได้
ก่อนหน้านี้ถือหุ้นไทยและต่างประเทศเกือบ 100 ตัว
ตอนนี้ถือหุ้นไทย 30กว่าตัวปลายๆ และหุ้นต่างประเทศอีก 20ตัว รวมแล้ว 50กว่าตัว
มีการซื้อหุ้นทุกวัน เพราะบางบริษัท สภาพคล่องน้อย เก็บหุ้นมาสี่เดือน
ยังไม่ครบเลย แต่ไม่ใช่เดย์เทรด เพราะซื้อแล้วถือ 2-3 ปี
เหตุผลที่คุณโจเลือกหุ้นไทย 30กว่าตัว จากหุ้นทั้งหมด 700 กว่าตัว
เพราะหุ้นแต่ละตัวมีตัวเร่ง ทำให้แต่ละปีจะมีหุ้นที่สามารถทำผลตอบแทนที่ดี
หมุนเวียนกันไปในแต่ละปี แต่ก็มีหุ้นขาดทุนที่ขายออกไป
ประมาณ 6-7 ตัวในปีที่แล้ว แต่ถือในสัดส่วนที่น้อย
แต่หุ้นที่ถือเป็นสัดส่วนที่เยอะยังมีผลประกอบการที่ดี
ปริมาณซื้อขายในแต่ละวัน คิดเป็นสัดส่วนของพอร์ตน้อยมาก
เพราะซื้อแล้วถือยาวมากกว่าจะขายออกมา

สุดท้ายขอขอบคุณ รายการMoney Talk ดร ไพบูลย์ ดร นิเวศน์
และ คุณ โจ ลูกอีสานที่มาให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์ครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 112

โพสต์

Money Talk ช่วงที่สอง
หัวข้อ “หลากหลายกลยุทธ์ลุ้นหุ้นปี 61”


เกริ่นนำ แนะนำวิทยากรของสัมมนาช่วงที่สอง

1.คุณประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด
เป็นนักลงทุนวีไอ ก่อนหน้านี้เคยบริหารกองทุนแนววีไอ ผลประกอบการดีมาก
ทุกหุ้นที่ลงทุน ต้องไปดูได้ตัวเอง เลือกหุ้นโดยใช้วิธี Bottom up
คือการเลือกหุ้นโดยวิเคราะห์จากข้างล่าง
ช่วงที่น้ำท่วม ก็เช่าเฮลิคอปเตอร์ไปดูพื้นที่ที่น้ำท่วม

2.คุณวัชระ แก้วสว่าง หรือ เซียนป๋อง
เป็นเซียนเทคนิคคนแรกที่ได้รับเชิญมางานสัมมนา Money Talk
เพราะคุณป๋องเป็นพูดตรง แนะนำตรง เป็นคนจิตใจดี

3. คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย)
ปกติจะนึกถึงคุณพ่อ คือ ดร ศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นนักการเมืองสะอาดที่สุด
ท่านช่วยสร้างชื่อเสียงประเทศไทยในตลาดโลก

4. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร พูดในฐานะกูรูวีไอ

ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ

อ.เสน่ห์ นำกลอนมาขึ้นช่วงต้นรายการ

“กินอาหาร ถูกวิธี นี้หลากหลาย
อย่าเอาง่าย กินซ้ำซ้ำ จำเจแสน
การลงทน หุ้นให้ดี ต้องมีแพลน
ควรรู้แก่น หลากวิธี ที่ลงทุน
จะยึดแนว วีไอ ไปให้สุด
หรือปรับยุทธ์ ใช้เทคนิค จิกเลือกหุ้น
หรือยักย้าย ไปต่างแดน แผนละมุน
หรือลองลุ้น กองทุนเด่น เป็นแนวทาง
เรื่องวีไอ ต้องให้เขา เต่านิเวศน์
คนพิเศษ จอมกูรู รู้ทุกอย่าง
เรื่องเทคนิค จับจังหว วัชระหว่าง
เสี่ยป๋องกาง กลยุทธ์ สุดน่าฟัง
เรื่องกองทุน หุ้นเด่น เน้นฉลาด
คุณประภาส มือเก๋า เขาสุดขลัง
เรื่องต่างแดน เลือกอย่างไร ไม่ให้พัง
คุณปริญญ์ชั่ง เชี่ยวชาญ ชำนาญจริง
ฟังหลากหลาย ลงทุน หุ้นปีจอ
หุ้นยอดหอ ออลไทม์ไฮ ใจต้องนิ่ง
ไม่พลาดผิด ติดดอย หรืออ้อยอิ่ง
ฟังแล้วปิ๊ง เป็นหลักคิด พิชิตชัย “


อ.เสน่ห์ พูดถึงดร นิเวศน์ ช่วงปีใหม่ไปพิชิตยอดดอยเชียงใหม่
เขาได้ขี่เต่า มีภาพประกอบ จากprofile Line ของ ดร นิเวศน์
แสดงว่าความเป็นตัวตน แต่มีคนควบคุมดรอีกคน (ภรรยา)

เข้าสู่เนื้อหาสัมมนา

คำถามแรก “หุ้นไทยในปี61 ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นมีมากมาย”

เริ่มที่คุณประภาส
ตอบว่า สินทรัพย์เสี่ยงในตลาดโลกไม่มีติดลบ ตลาดหุ้นสหรัฐบวกติดต่อกันห้าปี
ตลาดหุ้นไทยย้อนหลังไป40ปี ผลตอบแทนติดลบ 16 ปี และเป็นบวก 20กว่าปี
ดูจากข้อมูล เคยบวกติดต่อกันต่อเนื่อง นับจากดัชนี106จุด ขึ้น3ปีติดกัน
แล้วลดลง1ปี หลังจากนั้นก็ขึ้นติดต่อกัน 4ปี อีก 400%และ กลับมาลงต่อ
หลังจากนั้นขึ้นติดต่อ3ปี จนดัชนีสูงสุดที่ 1789 จุดในวันที่ 5 มค 2537 แล้วลงยาว
ปีนี้ถ้าบวกอีกเป็นปีที่3 จะเป็นปีที่3บวกติดต่อกัน จะต้องระวัง
ย้อนกลับไปสมัยก่อน เศรษฐกิจดีอย่างต่อเนื่องครั้งแรก ดัชนีบวกจาก100จุดมาเป็น 140จุด
ปรับฐานช่วงนึง และ กลับมาบวกเป็น400กว่าจุด
ช่วง ป๋าเปรม ที่มีโครงการEastern Seaboard
หุ้นบวกจากปี1982 ถึงปี 1993 โดยมีพักติดลบ2ครั้ง
ตอนนี้ไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ น่าจะเป็น S Curve
จากนี้ไปมองยาว น่าจะเป็นยุคทองของไทยอีกยุค
แต่มีความเสี่ยงการปรับฐานเป็นระยะ
การปรับฐานปกติ จะลงท้ายในปีเป็นตัวเลข 7 หรือ 8
ปี17ไม่เจอ ปี 18 ต้องระวัง
การปรับฐานจากตลาดหุ้นโลกกระทบมาที่ตลาดหุ้นไทย
ถ้าไม่ใช่เหตุผลจากเศรษฐกิจของไทย ก็จะขึ้นกลับมาได้ในระยะสั้น

คุณปริญญ์ พูดเป็นคนถัดมาว่า
ปีนี้ตลาดหุ้นไทยมีเสน่ห์มากขึ้น
กองทุนไทยมีเงินเยอะ แต่กองทุนต่างประเทศขายเอาๆ ขายสุทธิมาสองปีซ้อน
เพราะฝรั่งมีตัวเลือกให้ลงทุนมากขึ้น
รอบนี้ เป็นอะไรที่โตพร้อมกัน ปีนี้เป็นปียุคทองในเศรษฐกิจในเชิงปริมาณ คือ ตัวเลขGDP
GDPไทยโต4%กว่า ,GDPของUS 3%, GDPโลกก็โตมากกว่าคาด ราคาน้ำมันก็สูง รัสเซียกับซาอุดิ มีวินัย
และต่างกุมกำลังการผลิตน้ำมันโลก ทำให้เห็นว่า มุมมองของGlobal fund มองcommodityว่าดี
แต่กองทุนต่างประเทศมองว่า ตลาดหุ้นไทยปีที่แล้วขึ้นจริง แต่แพ้จีน อินเดีย และ อีกหลายประเทศ
เขารอตัวเลขเศรษฐกิจ ความคืบหน้าของโครงการใหญ่ๆ และ การเลือกตั้งปีนี้มีหรือไม่
ตอนนั้นช่วงที่มีโครงการ Eastern Seaboard เกิดขึ้น เริ่มจาก พลเอก เกรียงศักดิ์
และ พลเอก เปรมมาสานต่อ มีคุณเสนาะ อูนากูลมาดูแล และมีคนเข้าร่วมมากมายในPhase I
ตอนนี้มีท่านเสนาะและคุณคณิตก็มาในช่วยในphaseII โครงการEEC
คุณปริญญ์ ว่าปีที่แล้วฝรั่งกังวลเรื่องการเมือง ตอนนี้คลี่คลายไป
ฝรั่งมองข้ามชอตการเมือง มามองว่าก่อสร้างจะมาจริงหรือเปล่า
แต่เราเจอกฏเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงเช่นอนุญาติให้รายเล็กสามารถเข้าประมูลได้ด้วย
ตอนนี้หลายคนคิดว่าโครงการใหญ่จะไม่เกิด และไปบอกต่างชาติ ทำให้ต่างชาติไม่ค่อยเชื่อมั่นไทย
แต่ตามที่คุณประภาสบอกว่าปีนี้เป็นยุคทองของเศรษฐกิจ
ธนาคารขนาดใหญ่ โดนต่างชาติขายเอา บางธนาคารเจอorderขาย 500ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่flowขายพลังงานไม่เห็น อาจชอบหุ้นพลังงานด้วยซ้ำ
ดังนั้นเขาเลือกอุตสาหกรรมในการลงทุน เช่น หุ้นในกลุ่มน้ำมัน คือ PTTGC
ตอนนี้บางกองทุนต่างประเทศไม่มีการถือธนาคารขนาดใหญ่เลย
แต่ละจังหวัดในต่างจังหวัด มีความเจริญไม่เท่ากัน
คิดว่าโครงการต่างๆของรัฐบาลจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำลงได้
สุดท้ายปีนี้ USมีการเลือกตั้งกลางปี ทรัมป์รู้ว่าปีนี้โตไม่ค่อยดี
GDPชองUS ดูเหมือนโตดี ถ้าตัดsectorพลังงานออกไป
พบว่า GDPโตต่ำกว่า 2%
มีคนจนมากมาย เศรษฐกิจยังฝืดอยู่ SMEยังไม่ดี
เขาต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตอนนี้มีการกระตุ้นโดยลดภาษีบริษัท ส่งผลดีต่อคนรวย
เศรษฐกิจUSไม่ดี แต่ส่งผลดีต่อไทย เพราะดอกเบี้ยไม่ขึ้น
เงินจะไหลเข้าไทยได้ หรือไป cryptocurrency เดี๋ยวมาพูดอีกที

เซียนเทคนิค คุณป๋องขอบคุณดรไพบูลย์ที่เชิญมารายการ
ผมเห็นกับพี่ประภาสโยงดัชนีกลับมา ใครดูกราฟเป็น จะเห็นปี1982 เป็นช่วงเริ่มต้นของหุ้นไทย
เดิมทีไม่เคยดูเทคนิค เล่นหุ้นปีกว่า ดัชนีขึ้นไป 1789 จุด วันที่ 5 มกราคม 2537(1993)
ตอนนั้นไม่เคยดูกราฟ หุ้นซิลลิ่งทุกวัน หลังฟองสบู่แตกจนดัชนีตกลงเหลือแค่ 204 จุด
ผมเป็นวีไอแท้จริง ถือหุ้นมาตลอดทาง ตอนนั้นไม่รู้ว่าทำไมธนาคารถึงเจ๊ง
ล้มลุก สุดท้ายก็ cut loss ไปตอนดัชนี204จุด
ช่วงนั้นเจอนักเทคนิคที่เก่ง เลยขอให้สอนกราฟ และ ตัวคุณป๋องกลับไปดูกราฟในอดีต
เห็นกราฟ สามเหลี่ยมรูปใหญ่มาก แต่ตัดลงตอนดัชนี 1,500 ตอนนั้นก็ซื้อถัวลงมา
จนถึง 800จุดก็เลิกถัว แต่ถือมาถึงดัชนี200จุด ถือว่าเป็นวีไอในช่วงนั้น
เซียนป๋อง พูดว่า วีไอ ควบคู่ เทคนิคอล จะแมทกันได้ดี
ศึกษาเทคนิคเป็นส่วนนึง แต่เราต้องรู้พื้นฐานของบริษัทแต่ละบริษัทด้วย
เทคนิคทำให้เรารู้ว่าหุ้นเคลื่อนไหวไปมาอย่างไร
บางคนดูพื้นฐาน แต่ถ้าใช้กราฟดูราคาที่ผ่านมาอาจไม่กล้าซื้อ
ต้นปีที่แล้ว คิดว่าหุ้นขึ้นแต่ไม่กล้าบอกใคร เพราะมองเรื่องคลื่นElliott Wave
คลี่นของหุ้นไทยอยู่ขาสาม เรียกว่า Grand super cycle
ขาขึ้นมี5ขา ขึ้นขาหนึ่ง ลงสอง ขึ้นสาม ลงสี่ ขึ้นห้า
ขาสามยาวมาก
ปี1975 ดัชนีอยู่ที่100 จุด ใช้ระยะเวลา 19 ปี จบขาหนึ่งใหญ่
ขาสองจบปี 2008 มีขาสามต่อ และมีคลื่นย่อย
ขาa ดัชนี 700 จุด , ขาb ปี2007 , ขาc ดัชนี380จุด (ปี2008) ใช้เวลา14 ปี
ดังนั้นตลาดหุ้นไทยอยู่ขาสาม เราสามารถทำhighเกินขาหนึ่งที่ดัชนี 1789 จุดแล้ว
ตามตำรา ดัชนีไปอีกไกลมากจนไม่กล้าพูด
ขาหนึ่งใช้เวลา19 ปี
ขาสองใช้เวลา 14 ปี
ขาสาม น่าจะใช้เวลามากกว่า 19 ปี เพราะยอดสูงกว่าขาหนึ่ง
ดังนั้นจะเหลืออีก 9 ปี แต่ดัชนีมีขึ้นและลงในระหว่างนั้น
มีขาย่อยอีก5ขา ตอนนี้กำลังจะจบขาหนึ่งใหญ่ ซึ่งตอนนี้มี5 ขา
ปีนี้น่าจะระวังตัว เป้าหมายของดัชนีที่ 1,925 จุด
ถ้าขาสามเท่ากับขาหนึ่ง ถ้าดูจากFibonacciที่161.8% คิดเป็นดัชนี 2,700 จุด
ปีที่แล้วเป็นปีไก่ตรงกับปีพ.ศ 2537 ตำราจีน ตอนนั้นถือว่ายังเป็นปีไก่
เพราะยังไม่ข้ามตรุษจีน ต้องอาศัยความรู้วีไอของวิทยากรมาช่วยยืนยัน
ที่ผมคำนวณ รัฐบาลได้ทำโครงการต่างๆมากมาย
อาจได้เห็น Rating ในการลงทุนที่ดีขึ้น
ระยะสั้นSET50 หุ้นมีPE 40 เท่า แต่ยังหุ้นอีก 25 ตัวที่PE 15 เท่าด้วย
ผมคิดว่าดัชนีจะจบในกลางปีนี้ หุ้นใหญ่จะเป็นหุ้นที่ขึ้น แต่น่าจะเป็นหุ้นไม่แพงด้วย
หุ้นในตลาดDow Jones หุ้นที่ขึ้นมารับข่าวล่วงหน้าจากลดภาษีหรือเปล่า
แอบเสียว ตีกราฟมา น่าจะไม่เกิน 28,000 จุดไม่น่าจะขึ้นอีกเยอะเพราะห่างจาก
ตอนนี้เพียงพันกว่าจุดเอง ตอนนี้อยู่ในขาห้าของขาหนึ่งใหญ่แล้ว น่ากลัวมาก
เรื่องเทคนิค ต้องมีระดมความคิดเพื่อยืนยันอีกที
แต่ที่หนักใจ ธุรกิจในเมืองไทยเป็น old economy
เพราะฉะนั้นตลาดทุนจะไปทางไหน
อนาคตประเทศในโลกมีแผนการลดการใช้น้ำมันทั่วโลก
บ้านเรา หุ้นขนาดใหญ่ที่listในตลาดหลักทรัพย์ คือบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่
สมัยก่อนมีประกอบด้วยกลุ่ม Bank ,Finance ,Property
ตอนนี้เป็นยุคพลังงานไฟฟ้าทดแทน

ดร นิเวศน์ เสริม ผมทำนายรอบนี้เป็น Grand super cycle ถือว่ายาว
ดัชนี 2,790 จุด ถือว่าน้อยเกินไป
แบบที่ผมคิด ถ้าหุ้นขึ้นปีละ 10% เป็นเวลา7ปี
ใช้กฏ72 ดัชนีก็ขึ้นได้ถึง 3,600 จุด
ถ้า9ปี น่าจะเป็น 4,000 จุด
คุณป๋อง เสริมว่า แนวต่อไปของFibonacci = 4,400 จุด
ดร นิเวศน์พูดต่อว่า มองแบบวีไอ ราคาหุ้นจะขึ้นได้ต้องมีกำไร
กำไรขึ้นเท่าไหร่ ราคาหุ้นก็ขึ้นตามนั้น แต่ถ้าขึ้นเกินไป ก็เป็นการเก็งกำไร
ตอนปี 2551 ปีนั้นตลาดหุ้นไทยกำไร 3แสนล้านบาท ปีที่แล้ว กำไร 9แสนล้านบาท
แสดงว่า 9 ปี กำไรเพิ่มขึ้น 3 เท่า ราคาหุ้นควรขึ้น 3 เท่า
ดัชนีตอนนั้นอยู่ประมาณ 400 จุด
แต่ดัชนีตอนนี้ 1,800จุด ขึ้นมา 4เท่ากว่า แสดงว่าเป็นน้ำ (ย้อนดูข้างบน)
ตอนนั้น หุ้นมีPE 10ต้นๆ ตอนนี้ PE 10ปลายๆ ถ้าน้ำหายไป หรือ Fundflowหายไป
หุ้นไทยแพงเกินไป เพราะตอนนี้น้ำเยอะจากการใส่เงินเข้ามา ทำให้คนซื้อหุ้นกันเยอะ
โดยเฉพาะกองทุนเข้ามาซื้อเยอะ
คนกลัวตกรถ ดังนั้นคนมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์2 ล้านคนแล้ว
ซื้อโดยไม่สนใจว่าแพงไหม ผมเลยพยากรณ์ว่าตลาดหุ้นไทยไม่น่ารอด

ดัชนีDow jonesขึ้นไป3เท่า ผลตอบแทนทบต้นประมาณ 17%ต่อปี
จาก 9ปีที่ผ่านมา ส่วนหุ้นไทยขึ้น 20%ต่อปี ในช่วงที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นประกอบด้วยหุ้น2กลุ่ม
1. กลุ่มFundamental ราคาหุ้นเหมาะสม มีพื้นฐาน
2. กลุ่มฟองสบู่ ประมาณ ไม่กี่สิบตัว แต่มีน้ำเยอะ
เป็นหุ้นที่มีPE100เท่า ที่ซ่อนอยู่ในน้ำที่กว้างใหญ่
ถ้าเราไปเล่นก็เสียหาย หุ้นอาจตกได้รุนแรง ให้นักลงทุนระมัดระวัง
คุณป๋องเสริม ตอนจบขาหนึ่งลงขาสอง พักตัวประมาณ 2 ปี ลงได้อย่างต่ำ20%
ส่วนขา3ของขา3ใหญ่ จะดูดี

คำถามที่สอง คำแนะนำในการลงทุนปี61
ควรจัดพอร์ตอย่างไร แบ่งเงินลงทุนในหุ้นเท่าไร ลงทุนต่างประเทศ
หรือไม่ และลงทุนที่ไหน


คุณประภาส ตอบคนแรก
นักลงทุนอาจงง เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ตลาดหุ้นขึ้นมาถึงดัชนี 1,800จุด
การลงทุนหุ้นเป็นรายตัว จะเจอปัญหา เช่นเข้าซื้อหุ้นช้า หรือ ออกช้า
การจัดสินทรัพย์ ไม่ว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างไรก็ตาม การจัดสินทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญ
ถ้ารับความเสี่ยงได้สูงก็ลงทุนหุ้นได้เยอะ ตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย ถ้าปรับฐานปีนี้แต่กำไรยังเพิ่ม
ความเสี่ยงปีหน้าจะลดลง ติดลบปีนี้ แต่ปีหน้าน่าจะดี

สัดส่วนของพอร์ตที่คุณประภาสแนะนำ

1.หุ้น สัดส่วน 50-60%
ผู้สูงวัย เงินจำกัด อาจลงทุนหุ้นน้อยกว่านี้ เพราะถ้าเจอหุ้นตก จะหาเงินไม่ได้
จัดพอร์ตเชิงรับแทน ลงในกองทุนหุ้นปันผล

2.ตราสารหนี้สัดส่วน 20-30% ดอกเบี้ยต่ำอีก 1-2ปี
อัตราผลตอบแทนประมาณ 1-2%

3.ที่เหลือลงใน REITs ผลตอบแทน 5-6%

ผมเริ่มลงทุนโดยอ่านหนังสือElliott Wave ของคุณนาถสิริ วิมลเฉลาในปี 1989
เห็นด้วยกับเสี่ยป๋อง คลื่นลูกที่ 3 ยาวและใหญ่ด้วย ขนาดใหญ่ 1.78 เท่า
ดังนั้น ดัชนีหลังปรับฐาน ประมาณ1,500+ สองเท่าคือ 3,000จุด =4,500จุด
ตลาดที่พัฒนาแล้วเก่งกว่าสัก2เท่า ดังนั้นGDP 5% บริษัทกำไรโต 10%
ตัวที่ทำให้ตลาดหุ้นขึ้นมาคือกำไรที่โตขึ้นมาเอง 220%
แต่ตลาดโต 290%หมายถึงที่ ดร นิเวศน์พูดถึงมีน้ำเยอะ PE โตมาเท่ากับ 18 เท่า
ดร นิเวศน์เสริมว่า ถ้าอยากเป็นนักลงทุนวีไอ ก็ต้องขาดทุนก่อน
แนะนำลงในกองทุน มีผลตอบแทน 10-15%
ผมมีมุมมองที่ดีในตลาดหุ้นระยะยาว แต่ตอนนี้ขึ้นมาเยอะ
PB ของตลาดโดยเฉลี่ยที่2.1เท่า กลัวว่าไม่น่าผ่าน
PB 2.2 อาจมีการปรับฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในระยะยาว

คุณปริญญ์ ตอบว่า ดร นิเวศน์ ผิดแค่ 0.5% โดยเอาน้ำไปเติมในเวียดนาม
สถาบันต่างประเทศ เช่น Templeton ไปตั้งสาขาที่เวียดนาม
เงินเริ่มเข้าเวียดนาม ตอนนี้ยังมีหลายบริษัทต่างชาติเตรียมเข้าเวียดนาม
ถ้าแก้ไขข้อกำหนด หรือ ข้อจำกัดได้
ปีที่แล้วค่าเงินบาท แข็ง 9% ถ้ามองใน$ เราแพ้เวียดนามประเทศเดียว
ผมเชื่อว่าไม่พักฐาน หรือ พักฐานไม่แรง แล้วขึ้นรวดเดียว
คุณปริญญ์บอกว่า จะมีการจัดงานเดือนมีนาคา เชิญฝรั่งมาฟังเยอะ
ยังมีฝรั่งที่ยังไม่ได้ลงทุนในไทยเลยอีกเยอะ
เขาไม่ลงทุนในธนาคาร เพราะไม่เชื่อมั่นจากNPLที่ขยายตัว
ปลายมกราคม หรือ ต้น กุมภาพันธ์ ถ้ามีเซนต์สัญญา EEC เงินจะเข้ามาเยอะ
ในแง่รัฐบาลทำแน่
อุตสาหกรรม 4.0 จะเกิดได้จาก การปฏิรูปกฎหมายเก่า ล้าสมัยออกไป
ประเทศไหนที่มีกฎหมายมากในการขอทำธุรกิจ ทำให้คนไม่อยากเข้ามาทำธุรกิจ
ข่าวดีภาครัฐเริ่มรู้และเริ่มทำ E-catalog กฎหมายที่แก้ไข ต่างชาติจะมาลงทุนแบบก้าวกระโดด
อาลีบาบา ร่วมมือกับกลุ่ม ซีพี โดย Ant finance ร่วมมือกับ Ascend Money
และ JD.com Joint venture กับ Central ตั้งบริษัทใหม่ทำE-commerceในไทย
มีการขายสินค้าเข้าไทย และ ขายข้ามไปขายในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
ปีหน้าเราเป็นเจ้าภาพจัดงาน ASIAN
ปีที่แล้วเราถวายความอาลัยมาเกือบทั้งปี
ปีนี้เป็นปีท่องเที่ยว เราเฉลิมฉลองกัน มีการอัดฉีดเงิน
ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งน่าจะเป็นปีหน้า โครงการก่อสร้างจะรีบเซนต์ก่อนการเลือกตั้ง
หุ้นขึ้นแรง จะเกี่ยวกับเศรษฐกิจฐานราก หุ้นกลุ่มส่งออก
Megatrend กำลังจะมา เช่น Aging Society
บางบริษัทที่ไม่เคยทำ eco system ก็เริ่มทำแล้ว
หุ้นเกี่ยวกับทำ Battery charger , charging station
การวัดGDPในอนาคตน่าจะเปลี่ยนแปลงไป
WHA ได้โจทย์มาว่า Warehouse ในอนาคตจะไม่มีคนอยู่ทำงาน
ใช้ Robot มาทำแทน
วิธีการวัดปริมาณในอนาคตจะเปลี่ยนแปลง เพราะบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจโฆษณาปีนี้พบว่า
Lineไม่เสียภาษี
FACEBOOK เสียภาษี3แสนบาท
ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการเปลี่ยนแปลง และมีวิธีการเก็บภาษีใหม่

คุณป๋อง แนะนำ Portปีที่แล้ว อัดหุ้นมาเต็ม ตอนนี้กระจายน้ำออกไปบ้าง ขึ้นกับขนาดของport
ยิ่งสูงยิ่งหนาว ปี 2008 ปัญหาเกิดจากต่างประเทศ แต่กระทบเรา ก็เลยระแวงตลอดเวลา
คุณป๋องเห็นว่ากราฟชัน ก็กระจายหุ้นจากเดิมที่ถือหุ้นจำนวน 2-3 ตัว ที่แพง
เปลี่ยนเป็นหุ้นที่ราคายังถูก 5-6 ตัว ยังคิดว่าหุ้นPEต่ำ พื้นฐานดี ยังไปได้
แต่ตอนนี้เริ่มระวัง แต่ยังปล่อย Let profit run

ดร นิเวศน์
อยู่ตลาดมานาน สังเกตคนมาเยอะ เป็นนักปรัชญาชีวิต
ไม่เชื่อว่าตัวเองมีเงินขนาดนี้
เจอคนที่เรียนไม่เก่ง ไม่ค่อยทำงานหนัก แต่มีเงินพันล้านบาท
ปกติคนที่มีเงินมากๆ ต้องทำอะไรพิเศษ ต้องทุ่มเทเยอะ ต้องเก่งด้วย
รอบนี้มีคนกลุ่มนึง วีไอ และ เก็งกำไร ที่มีเงินมากๆ
สงสัยว่า พวกนี้ควรมีเงินขนาดนี้หรือเปล่า
ในระยะยาวต้องปรับตัว สังคมไม่ควรเป็นแบบนั้น
ตอนนี้อาจเป็นจุดสูงสุด หรือ ท้ายสุดก็ลงมาที่พื้นฐาน
โลกมีความยุติธรรม เกิดมาจน ก็พยายามมากขึ้น เพื่อให้รวยขึ้น
เกิดมารวย ไม่ค่อยขยันก็จนลง
ดร นิเวศน์ สรุปว่า ควรกระจายการลงทุนออกไปเพื่อลดความเสี่ยง
แต่ถ้าเราไม่รวย เราต้องอดทน ใจเย็น ลงทุนหุ้นที่ชัวร์ กิจการมั่นคง อยู่ยาว
บริษัทอยู่มานาน ซื่อสัตย์ อย่าไปตามคนที่รวยเร็ว
อย่าไปเล่นหุ้นเก็งกำไร อยู่แบบเดิม แต่ลงทุนหุ้นที่มีYieldเพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นไม่ทำให้เรารวยขึ้น แต่ทำให้เราได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากเดิม
การเล่าเตือน บอกประสบการณ์ เป็นการให้พรปีใหม่

คำถามสุดท้าย ให้คะแนนตลาดหุ้นไทยปีนี้

คุณประภาส ให้ 7 คะแนน
คุณปริญญ์ ให้ 8 คะแนน จากปัจจัยภายนอกดี ปีแห่งการตักตวง
เสี่ยป๋อง ให้ 8 คะแนน ครึ่งปีแรก แล้วมารายการบอกคะแนนในครึ่งปีหลัง

อ เสน่ห์ ตบท้ายด้วยกลอนก่อนจบสัมมนา

“ประภาสว่าหุ้นไทยอาจไปต่อ
คำถามก้อขึ้นสามปีมีกี่หน
สี่สิบปีมีสองครั้งหวังเวียนวน
ปรับฐานบนเป็นได้ในปีนี้
คุณปริญญ์ว่าฝรั่งเขาเฝ้ามองอยู่
ฝรั่งรู้ว่าเศรษฐกิจไทยไปไหมนี่
เข้าน้ำมันออกธนาคารบานบุรี
หุ้นใหญ่มีกำลังไม่รั้งรอ
ด้านเสี่ยป๋องมองกราฟยังจ๊าบแจ่ม
ขาสามแหร่มอีกเก้าปีที่ไปต่อ
อาจยึกยักพักแล้วขึ้นฝืนชะลอ
หลังกลางปีอาจมีย่อพอฮึกเหิม
เต่านิเวศน์มองยามนี้มีน้ำมาก
เนื้อลำบากยากเพราะว่าน้ำมาเพิ่ม
หวังวันหนึ่งน้ำหยุดฉุดไม่เติม
หมดแรงเลิกลุยแหลก น้ำแตกเอย”


สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ดร ไพบูลย์ ดร นิเวศน์ อ เสน่ห์
และ Staff Money talk ทุกท่านครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 113

โพสต์

SETROBOT Digital Investment 4.0
ช่วง Gurus Talk


สัมมนานี้ออกตัวนิดนึงว่า ผมอาศัยความเข้าใจจากการสัมมนามาสรุปอาจไม่เหมือนกับที่วิทยากรพูดทุกประโยค
แต่พยายามจะคงใจความสำคัญให้ใกล้เคียงที่สุด

คุณวีระพงษ์ ธัม หรือ คุณหลิน กรรมการสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
มาพูดถึงการเลือกหุ้นมี2ปัจจัยที่นำมาพิจารณาคือ
การเติบโตของกำไร และ คุณภาพของกำไร

คุณหลินจะให้น้ำหนักกับคุณภาพของกำไรมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า
บริษัทจะเติบโตไปอย่างมีคุณภาพหรือไม่

แต่นักลงทุนส่วนมากจะดูที่กำไร ถ้ากำไรโตก็เข้ามาซื้อ ในช่วงหลังๆกำไรยังไม่มาเลย
มีแต่storyที่บอกว่าบริษัทจะโตในส่วนของกำไรจากโครงการในอนาคต
ซึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ ราคาหุ้นขึ้นด้วยความคาดหวังอย่างเดียว
หุ้นแบบนี้ต้องควรระวัง

คุณหลินพูดถึง การดูว่าคุณภาพของกำไรของบริษัทจะดูได้อย่างไร
ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และ สามารถทำกำไร
เพิ่มขึ้นจากสาขาใหม่รวมทั้งสาขาเดิม อย่างนี้ก็จะมั่นใจได้ว่า
บริษัทมีกำไรที่มีคุณภาพ

คุณหลินเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนการลงทุนในหุ้น จะใช้เวลาในการหากำไรในแต่ละไตรมาส
การหาค่าPE , PB ของหุ้นแต่ละตัว ซึ่งใช้เวลานาน ตอนนั้นก็อาศัย Excel File ของพี่ครรชิต
ที่ทำขึ้นมาเพื่อช่วยนักลงทุนในการคำนวณอัตราส่วนทางการเงินต่างๆในการดูว่าหุ้นต่ำกว่า
มูลค่าพื้นฐานหรือไม่ สมัยก่อน กำไรQ4จะไม่ได้ประกาศออกมา แต่เป็นการประกาศรายได้
และ กำไรของทั้งปีมาแทน ซึ่งนักลงทุนต้องมาหักรายได้และกำไรของทั้ง9เดือนออกจากงบปี
จึงจะรู้ว่ารายได้และกำไรเติบโตอย่างไร ซึ่งเป็นช่องทางในการหาหุ้นที่มีผลประกอบการดีได้
แต่เดี๋ยวนี้ มีโปรแกรมต่างๆซึ่งมาจากเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นช่วยให้เราสามารถรู้ข้อมูลได้ทันที
ทำให้ช่องว่างของการเข้าถึงข้อมูลแคบขึ้นไปอีก เราจะเก่งกว่าคนอื่นได้จากการเอาเวลาที่เมื่อก่อน
เสียไปกับการคำนวณตัวเลขทางการเงินต่างๆซึ่งโปรแกรมสมัยนี้ช่วยได้แล้ว ไปศึกษาข้อมูลเชิงลึก
เพื่อสร้างความได้เปรียบ หรือ เข้าก่อนคนอื่นเขา การเข้าก่อนคนอื่นอาจเป็น นกตัวแรก หรือ หนอนตัวแรก
ที่โดนนกกินก็ได้ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ก่อนคนอื่นก็ยังถือว่าได้เปรียบคนอื่น

ส่วนเรื่อง Crypto currency ที่มีการพูดถึงแพร่หลายว่าน่าสนใจลงทุนหรือไม่
เมื่อสมัย3-4ปีที่ผ่านมา Bit coinราคาไม่ถึงเหรียญ แต่ตอนนี้ราคาเป็นหมื่นเหรียญ
ถ้าเช็คเรื่องความรู้ในเรื่องนี้ ตอบได้เลยว่าเรารู้น้อยกว่าคนที่เชี่ยวชาญ
ดังนั้น ถ้าเรารู้น้อยกว่าคนอื่น และ มาทีหลังคนอื่น เราไม่ควรเข้าไปยุ่งดีกว่า

สุดท้ายขอบคุณ คุณหลินที่มาให้ความรู้กับนักลงทุน
และขอบคุณ KTBST , SETROBOT ที่สนับสนุนสัมมนานี้ครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 114

โพสต์

สัมมนา ก้าวสู่การลงทุนหุ้นเวียดนามปี2561 By VVI investor

หัวข้อ กลยุทธ์การลงทุนหุ้นเวียดนามปี 2561

โดย ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ คุณภาคภูมิ ศิริหงส์ทอง

ผู้ดำเนินรายการ คุณจิตติมา ทวาเรศ พิธีกรรายการรู้ใช้เข้าใจเงิน FM96.5

ดร นิเวศน์ ได้พูดถึงผลตอบแทนการลงทุนในตลาดเวียดนาม ได้ประมาณ 20% แต่ขาดทุนค่าเงิน 10%
เนื่องจากเงินบาทแข็ง ดังนั้นผลตอบแทนสุทธิประมาณ 10%
แต่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเวเนซุเอล่า เงินเฟ้อเพิ่มสุดๆ ไม่คิดว่าเมืองไทยจะเป็นแบบนั้น
ที่เวียดนามหวังผลตอบแทนระยะยาว ลงทุน5ปี ปีที่แล้วก็ลงทุนหุ้นเวียดนามเพิ่มอีก

ย้อนกลับไปตอนเงินทุนก้อนแรกปลายปี 2013 ประมาณ5%ของพอร์ต
ปีแรกไม่ได้ผลตอบแทนเลย ครบปีที่สองถึงได้กำไร 40%
ก็เลยลงเงินทุนก้อนที่สองเพิ่มอีก 5% ตลาดหุ้นเวียดนามช่วงนั้นไม่ได้ขึ้น แต่พอร์ตเราเพิ่มขึ้น 40%

ปีที่แล้วหุ้นใหญ่ไม่กี่ตัวขึ้นมากๆ ปีนี้น่าจะถึงรอบของหุ้น Small stock บ้าง (ซึ่งเป็นหุ้นที่ดร ถือ )
เป็นความหวังลม ๆ แล้ง ๆ

รอบแรกที่ซื้อหุ้นเวียดนาม คัดกรองด้วยโรบอต โดยใส่เงื่อนไขว่า PB = 1 , Div yield ที่ต้องการลงไป
รอบหลังไม่ได้ใช้โรบอต ผมไปเวียดนามมาหลายครั้ง ทำให้รู้จักบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามมากขึ้น
รอบหลัง เราเลือกหุ้นเอง 30-40% เป็นหุ้นขนาดกลาง market capของหุ้นแต่ละตัวประมาณ หมื่นกว่าล้าน
หุ้น 5-6 ตัวคิดเป็นสัดส่วน 30-40% ของพอร์ตหุ้นเวียดนาม
Performanceของพอร์ตหุ้นเวียดนามประมาณเกือบ 20% หุ้นที่ถืออยู่ยังมีอนาคต ตอนนี้ก็รอต่อไป

หุ้นกลุ่มพลังงาน PEแค่ 10เท่า
ที่เวียดนามโตมากกว่าไทยเยอะ
หุ้นเวียดนามถูกๆก็ยังมีเยอะ
สมัยก่อนที่ลงทุนในไทยยังมีหุ้นถูกๆให้เลือก ดังนั้นที่เวียดนามยังมีหุ้นถูกๆเยอะ
คนรุ่นใหม่มีพลังในการหาหุ้น และยังมีโอกาสลงทุนได้ผลตอบแทนดีๆเหมือนตลาดหุ้นไทยสมัยก่อน
ดร ยังถามคนที่มาสัมมนาว่าไปลงทุนที่เวียดนามกันหรือยัง ถ้ายัง ไปเที่ยวก็ยังดี

คุณจิตติมาถามคุณบอลว่าปีที่แล้วผลตอบแทนเป็นอย่างไร
คุณบอลบอกว่า พึ่งกลับจากเวียดนามเมื่อคืน หลังจากไปอยู่ที่นั่นมาหนึ่งสัปดาห์
ตลาดหุ้นเวียดนาม ดีมาก ผลตอบแทนของดัชนีประมาณ 50% ในปีที่แล้ว
แต่คิดเป็นเงินบาทจะหักค่าเงินบาทที่แข็งสุทธิคิดผลตอบแทนประมาณ 30กว่า%
มีหุ้นใหญ่บ้างแต่น้อยกว่าของดร นิเวศน์
หวังว่าหุ้นเล็กและหุ้นขนาดกลางจะกลับมาPerformบ้าง
คุณบอล มองหุ้นเวียดนามเป็นสามกลุ่ม
หุ้นในดัชนีVN30 PE100 เริ่มมีบ้าง แต่ก็อาจมีหุ้นที่อาจจะเป็น superstockก็ได้
หุ้นIPOปีนี้อาจแตกต่างจากปีที่แล้วบ้าง

คุณจิตติมาถามต่อว่า หุ้นใหญ่จะไปต่อหรือจะเปลี่ยนกลุ่มดีคะ

คุณบอลตอบว่า ดูหุ้นเป็นตัวๆ หุ้นใหญ่ที่มีอยู่อาจมีเงินปันผลที่น่าพอใจ
หุ้นsuper growth stock อาจไม่ใช่ Mobile world
ปกติจะเปรียบเทียบหุ้นเวียดนามกับหุ้นไทย
เช่น หุ้นธนาคารของไทยยังถูกกว่าหุ้นธนาคารที่เวียดนาม ก็จะไม่ลงทุนหุ้นธนาคารที่เวียดนาม
วิธีการหาหุ้น ดูเป็นSectorเยอะหน่อย และ ต่อมาดูเป็นรายหุ้น
หุ้นใหญ่แพงขึ้น ทำให้เห็นว่าหุ้นขนาดกลางและเล็กดูถูกลง
หุ้นที่ขึ้น 50% เป็นหุ้นขนาดใหญ่ 20ตัวแรก
หุ้นmid & small cap เริ่มจะมีgapมากขึ้นเมื่อเทียบกับหุ้นขนาดใหญ่
หุ้นถูก อาจต้องรอ ถ้าไม่มีcatalyze
หุ้นmid & small cap ต้องมาปิดgapกับหุ้นขนาดใหญ่ (หมายถึงจะขึ้นมาใกล้เคียงกับหุ้นใหญ่)

คุณจิตติมาถาม ดร นิเวศน์ว่าจะเพิ่มหรือลดหุ้นที่ตลาดหุ้นเวียดนามคะ

ดรตอบว่า มีโอกาสเพิ่มแต่คิดว่า เรื่องหุ้นขนาดใหญ่ที่ติดFL มีคนเสนอขายแบบbig lotมา
และเป็นหุ้นที่เราชอบ เราไม่มีเงินสด ก็อาจมีการขายหุ้นไทย และ โอนเงินสดจากไทยไปก่อนจะซื้อ
ดังนั้นต้องมั่นใจว่าหุ้นไทยไม่ดีจริง จึงต้องทำอย่างนี้
ถ้าหุ้นเวียดนามดีแบบมีนัยยะสำคัญ แสดงว่าหุ้นไทยไม่ดี

ปีที่แล้วลงหุ้นไทยพอสมควรหลังจากถือเงินสดมาช่วงนึง ได้returnดี หุ้นที่เราลงทุนก็ใช้ได้
กลายเป็นว่า หุ้นไม่performหมายถึงหุ้นเวียดนาม จะเอาเงินไปเพิ่มเหรอ
ดังนั้น นี่เป็นความคิดแบบปถุชน คนธรรมดา
การเอาเงินออกนอกประเทศไม่ควรมากเกินไป เลยคิดว่า10%สำหรับdiversifiedก็เหลือเฟือ
เลยคิดว่าหุ้นเวียดนามน่าจะมีปรับขึ้นอีกสักรอบ แล้วค่อยไปลงทุนเพิ่ม
เช่น ถ้ามีoffer Mobileworld 2-3ล้านหุ้น ก็อาจสนใจ
ผมไม่เดือดร้อนเรื่องการลงทุน กำไรของหุ้นไทยแค่ 10% ก็พอใจ
ตอนนี้ถ้าลงทุนแล้วจะได้กำไรในตลาดหุ้นไทยสูงๆ คงยากแล้ว
ตอนนี้หุ้นไทยอย่าหวังรวยแบบเศรษฐี โอกาสน้อย
เวลาดูหุ้น จะดูmarket cap จะตัดเรื่องที่ชั่วคราวไปเยอะ
ตอนนี้กำลังสร้างศักยภาพ พอถึงเวลา ก็จะถึงเวลาที่บริษัทโตพอดี
ตอนนี้กำลังวางรากฐาน สร้างศักยภาพอยู่
หุ้นไทย ไม่ได้สร้างฐานแบบเวียดนาม มีประวัติศาสตร์และการสร้างไม่เร็วเท่ากับเวียดนาม
หุ้นที่โตๆเช่น CPN อยู่มาหลายสิบปีถึงจะโตแบบทุกวันนี้
เขาค่อยๆสร้าง เจ้าของไม่ยอมขาดทุนก่อน ทำไปต้องได้กำไร
ไม่เหมือนstartupอย่าไปรอกำไรช่วงแรก ต้องยึดพื้นที่ก่อน กำไรจะตามมาทีหลัง

คุณจิตติมาถาม คุณบอลว่าลงทุนหุ้นเวียดนามสัดส่วนเท่าไหร่

คุณบอลตอบว่า ลงทุนเวียดนามสัก 70%แล้ว ต้องมาพร้อมความใส่ใจอย่างมาก
แต่ไม่แนะนำคนอื่นให้ลงทุนสัดส่วนเยอะ
ผมมีประสบการณ์การลงทุนในหุ้นไทยไม่เยอะ พึ่งมาลงทุนช่วงปี2011
ได้ผลตอบแทนบ้าง หุ้นgrowthไม่ค่อยมีเยอะ แต่PEสูงมาก
หุ้นVRE กลยุทธ์ในการโต เวียดนามเปิดเสรีการค้าเยอะ แต่แอบกีดกันประเทศอื่น
เพื่อคุ้มครองบริษัทในประเทศ
หลังจากที่ไทยไปซื้อค้าปลีกที่เวียดนามเยอะ รัฐบาลเวียดนามเริ่มกลัว
แต่ก็มีปัจจัยสนับสนุนบริษัทให้โตเยอะมากกว่าในเมืองไทย

คุณจิตติมาถาม กลุ่มอุตสาหกรรมใดน่าสนใจ

คุณบอลตอบว่า กลุ่มค้าปลีก กลุ่มaviation
ตัวเลขนักท่องเที่ยวน่าจะมีศักยภาพเท่ากับหรือมากกว่าเมืองไทยในระยะยาว
อาจต้องแยกสินค้าของค้าปลีก คือ
สินค้าจำเป็น เช่น สินค้าในMobile world
ส่วนสินค้าไม่จำเป็น เช่น รถยนต์
ท่องเที่ยวในเวียดนาม ได้ประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม เช่น cargo , duty fee
โรงไฟฟ้า 4 บริษัทในเวียดนาม จ่ายไฟเท่ากับ 80%ของทั้งประเทศ

คุณจิตติมาถาม ดร นิเวศน์ว่าจะมีการตีแตกหุ้นเวียดนามหรือไม่

ดร ตอบว่า ธุรกิจในเวียดนามไม่แตกต่างจากไทย แต่เวียดนามโตเร็วมาก
ศักยภาพของไทย เวียดนามก็ไม่เสียเปรียบเราสักเท่าไหร่
เพราะอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวเหมือนกัน วัฒนธรรมก็คล้ายกัน
ประเทศเวียดนาม พอวันหนึ่งก็จะอีลุ่ยฉุยแฉกแบบเราได้
ประเทศไทย มีอากาศอบอุ่น
เวียดนาม ก็มีอุคสาหกรรมผลิตไฟฟ้า บริษัทอีเล็คทรอนิคก็เหมือนเรา
รถยนต์ก็ไม่แพ้เมืองไทย
ดังนั้นต้องดูmarket cap เมื่อเทียบกับหุ้นอื่น
สิ่งที่ไม่รู้ คือ Rule speculation
เวียดนามที่ทำทางด่วน ขนาดใหญ่กว่าเมืองไทย แต่มีmarket capนิดเดียว
โรงไฟฟ้าที่ไม่โตเพราะแตกต่างจากโรงไฟฟ้าในบ้านเรา
สนามบินของประเทศไทยสามารถบริหารร้านค้า เก็บภาษีสนามบิน แต่ที่เวียดนามมีข้อจำกัดในการโต
เราต้องศึกษาลึกๆก่อนตัดสินใจลงทุน
นี่คือสิ่งที่แตกต่าง ที่เราต้องใส่ใจดู
AOT Market cap โตสุดๆเพราะไม่มีกฎหมายควบคุม
ที่เวียดนาม ตอนนี้บ้านส่วนใหญ๋ไม่มีเครื่องซักผ้า

Infrastructure มี2เรื่องที่ต้องคำนึงคือ
1. Regulation
2. ดอกเบี้ย
อีกประเด็นการกู้เงิน บริษัทออก convertible bond ดอกเบี้ย 8-9%
ถ้าดอกเบี้ยlotใหม่ ที่จ่ายดอกเบี้ยลดลง ก็จะทำให้ต้นทุนลดลงด้วย
ดอกเบี้ยในเวียดนามประมาณ 10กว่า%
Geography เวียดนามอายุเฉลี่ยอยู่ตรงกลาง แต่ไทยเข้าสู่ aging society

คุณบอลเสริมว่า ที่เวียดนาม รัฐบาลฉลาดมากปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศตัวเอง
ที่เวียดนาม บางอย่างที่แตกต่างจากไทย เช่นการซื้อขายที่ดิน
โรงไฟฟ้าบ้านเขาก็ไม่เหมือนเรา
ต้องคิดว่า ห้างค้าปลีก คู่แข่งเหมือนในไทยหรือเปล่า
ก่อนลงทุนอยากให้ระวังตัว รู้เขารู้เรา
ต้องกลับไปดู Business model อีกที

คุณจิตติมาถามดร นิเวศน์ว่าถ้าไม่มีประสบการณ์ลงทุนในหุ้น
ไปลงทุนในกองทุนรวมคิดเห็นอย่างไร

ดร บอกว่า มีสามวิธีในการลงทุน

1.Active fund : กองทุนปิดDragon capital ซึ่งเป็นกองทุนที่จดทะเบียนในอังกฤษ
จะมีการdiscount สองต่อ
กองทุนปิดเวลาซื้อก็มีdiscount 20-30% เพราะสภาพคล่องน้อย
2.ซื้อหุ้นถูกๆโดยเลือกหุ้นเอง
3.Passive Fund อีกแบบลงทุนตามindex (ETF)
หุ้นมีวันดี หรือ วันที่ไม่ดี
ถ้าตลาดหุ้นขึ้นหนักๆ ก็มีความเสี่ยงได้
แต่ถ้าถือยาวพอ ก็ซื้อหุ้นเวียดนามได้
ยิ่งถ้าซื้อแบบไม่เสียค่าPremium
หุ้นเวียดนาม ถ้าเราเลือกถูกหุ้น ก็ได้ผลตอบแทนที่ดี
ตอนนี้ต้องมีอ่านข่าวเวียดนามด้วย แต่ก็ดูแบบผ่านๆ

พักเบรก แล้วมาต่อ Business model ของหุ้นเวียดนาม
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 115

โพสต์

สัมมนา ก้าวสู่การลงทุนหุ้นเวียดนามปี2561
หัวข้อ ประสบการณ์การลงทุนหุ้นเวียดนาม โอกาสและความท้าทายจากบาทแข็งและหุ้นเวียดนามพุ่งสูง
วิทยากร
คุณธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ หรือ คุณเอก ผู้จัดการทั่วไปธนาคารกรุงเทพสาขาประเทศเวียดนาม
คุณพิกุล พิทยาอิสระกุล Vietnam Private Fund Manager บล Phillip
คุณวิศวกร ปันยารชุน หรือ คุณแจ๊ค นักลงทุนประสบการณ์8ปีในตลาดหุ้นเวียดนาม
คุณจิตติมา ทวาเรศ พิธีกรรายการรู้ใช้เข้าใจเงิน เป็นผู้ดำเนินรายการ

คุณจิตติมาเริ่มคำถามแรก เริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามอย่างไร
การขึ้นมาของหุ้นใหญ่ปีที่แล้ว ผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมา
คุณวิศวกรหรือคุณแจ๊ค พูดเป็นท่านแรกว่าผมเริ่มลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามเมื่อปี 2008
ช่วงที่ลงทุน การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของภาครัฐไม่ดี ลงทุนห้าปีแรกไม่ค่อยได้อะไร
คุณแจ็คพูดถึง ดร นิเวศน์ว่าดรไปลงทุนช่วงปลายปี 2013 จังหวะดีมาก กระแสเวียดนามค่อยๆดีขึ้น
แต่ถ้าเทียบPerformance กับตลาดหุ้นไทยจะไม่ดี เพราะตอนปี2008 set แค่400จุดเอง
แต่สามปีหลัง ดัชนีหุ้นเวียดนามชนะดัชนีหุ้นไทย โดยปี2017 return 40กว่า%
ผมตั้งเป้าแค่26%ต่อปี
ดูจากศักยภาพของประเทศเป็นหลัก

คุณพิกุลกล่าวเป็นท่านถัดมาว่า ไปลงทุนหลังพี่แจ็คนาน ดูตลาดเวียดนามน่าจะไปได้นาน
ลงทุนจริงจังตั้งแต่ปี2015 ลงทุนแบบVI หุ้นไม่ใหญ่มาก
คิดว่าตลาดมีประสิทธิภาพและเติบโตมาก
คุณธาราบดีหรือคุณเอกกล่าวเป็นท่านที่3ว่า ผมน่าจะอยู่เวียดนามอีกสิบกว่าปี
เมื่อก่อนดูbubble สินเชื่อธนาคารเพิ่มขึ้น50%ในปี 2012
ถือว่าธนาคารเกือบเจ๊งหมด แต่รัฐบาลจัดการดี เปลี่ยนวิธีคิดในการแก้ไขเศรษฐกิจ
ทำอย่างไรให้เงินเฟ้อต่ำ ดอกเบี้ยต่ำ
คุมอัตราแลกเปลี่ยนให้นิ่งมากจนถึงตอนนี้ ถือเป็นช่วงโอกาสที่ดีที่สุด
ส่งออกเดือนละ 18.5 Billion
FDI มากกว่า พันล้านเหรียญ
อีก 10-15ปีข้างหน้า จะโตมากกว่านี้สองเท่า
ผมเข้าไปลงทุนปี2012 ถือว่าเหมือนตลาดหุ้นไทยปี1998(ช่วงต้มยำกุ้ง)
Return ดีมาก ซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
พิธีกร คุณจิตติมาสรุปว่ายังเข้าไปได้

คุณจิตติมาถามต่อว่า เข้าไปเวียดนามเหมือนกับเข้าซื้อหุ้นแบบเมืองไทย
คุณแจ็คตอบว่าวิธีการลงทุนอาจไม่เหมือนในไทย
มีการกระจายลงทุนหุ้นค่อนข้างสูง
ซื้อหุ้นจำนวนเยอะตัว ผลตอบแทนไม่ได้กลายเป็น20-30 เท่า
ไม่รู้ว่าหุ้นไหนดี เลยตั้งเป้าถือไม่เกิน15ตัว
และซื้อแบบยิงยาว ทิ้งไว้10ปี สมมติโตปีละ26%ก็โตได้ในระยะยาว
เทียบกับตลาดหุ้นไทยวันก่อนมีรุ่นน้องlineมาบอกว่า portวันเดียวโต300ล้านบาท
อีกคนบอกว่า 10ปีก่อนมีแค่ 10 ล้าน แต่ตอนนี้มี 10,000ล้านบาท โดยถือหุ้นแค่2ตัว

คุณพิกุลตอบว่า ลงทุนในไทยแบบfocus ทำการบ้าน เข้าใจธุรกิจก่อนลงทุน
แต่ในเวียดนามการเข้าถึงข้อมูลยาก ไม่สามารถรู้เรื่องได้ดีเหมือนเมืองไทย
เลยใช้วิธี Top down approach
เรามองว่าอุตสาหกรรมใดได้ประโยชน์ ค่อยมาดูว่า บริษัทไหนดีสุดในอุตสาหกรรม
แต่เรื่องCGต้องใส่ใจด้วย เราอยู่เมืองไทย เราจะรู้ว่าคนไหนดี ไม่ดี
แต่ที่เวียดนามเราต้องหาข้อมูลมากขึ้น
คุณเอกพูดเป็นท่านต่อมาว่า ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดFrontier (Note: ตลาดชายขอบ ยังไม่ถึงขั้น Emerging Market)
CG ไม่สูง หาหุ้นเพชรในตมค่อนข้างยาก
เปรียบไทยเมื่อก่อน น่าซื้อหุ้นใหญ่ทีน่าจะโดนตรวจสอบเยอะเช่น หุ้นธนาคาร
ดูปลอดภัยดีกว่าหุ้นเล็กๆ
ผมจะbuy and forget เพราะเวียดนามจะพีคและค่อยstableในอีก10กว่าปีข้างหน้า
แรงงานถูก ตอนนี้คนส่วนใหญ่ยินยอมทำในโรงงาน หาแรงงานง่ายไม่เหมือนไทย
คนทำงานในไทยสนใจไปทำ7-11ซึ่งเป็นส่วนภาคserviceมากกว่าไปทำในโรงงาน
ผมทำแค่นี้ก็รอผลประกอบการ เลือกหุ้นใหญ่เป็นหลัก และ ถือยาวไปเลย
ผมต้องทำงานประจำ และ ซื้อหุ้นเป็นประจำเหมือนฝากธนาคาร

คำถามจากคุณจิตติมาว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนหลังจากนี้ไหม
คุณแจ็คตอบว่า ยึดVI เป็นหลักการ แต่ปรับรูปแบบการลงทุน
ตลาดหุ้นเวียดนามจะ All time high หุ้นที่อยู่ในตลาดต่อไปจะไม่ถูก
วิธีการต้องปรับ อนาคตเราจะมองแม่นขนาดไหน
ต้องvaluationมูลค่าในอนาคต
อย่ายึดติดกับเมื่อก่อนที่PE 7 , div 4%
ตอนนี้ PE 17เท่า,div 3%
ดังนั้นต้องvaluationให้ถูกต้อง

ส่วนคุณพิกุลพูดว่าเป็นเรื่องของทั่วโลกที่หุ้นขึ้นหมดมาจากสภาพคล่องล้นโลก
จากแต่ละประเทศปั้มเงินออกมา
มาดูธุรกิจ และ valuation แบบ conservative
ต้นทุน(cost of fund )ถูกลง ราคาหุ้นยังไปต่อได้
การประเมินมูลค่าตอนนี้ WACC ลดลงจาก10กว่า% เหลือ 7%
ดังนั้นราคาไปต่อได้อีก ทุกธุรกิจเติบโตได้
คำถามที่จะต้องหาคือ Cost of fund ที่ reasonable คือเท่าไหร่
เราต้องคิดว่าราคาในอนาคตสมเหตุผลไหม ถ้าใช่ราคาก็ยังแพงได้อีก

คุณเอกพูดว่า ยังไงเราก็ลงทุนระยะยาวเหมือนเดิม

คุณจิตติมาถามวิทยากรว่า หุ้นตีแตกคือหุ้นไหนบ้าง
คุณแจ็ค บอกว่า ให้พูดถึงหุ้นที่พร้อมที่จะถือยาว
ถามดร ก็บอกว่า ลงทุนในหุ้นSuper stock
ตอนนั้นมาลงทุนแบบไม่รู้เรื่อง ตอนนี้นำมาapplyกับหุ้นในตลาดหุ้นเวียดนาม
Vinmcom (ticker: VIC)มีPE 100 เท่า สมัยนั้นซื้อหุ้นตอนPE40เท่า
เหมือน CPN และ บริษัทลูกที่เป็นretailเข้าตลาด (Vincom Retail, VRE)
เลยยอมซื้อหุ้นแพงตอนหลังบริษัทไปทำเกี่ยวกับรถยนต์ Vin Fast
ส่วนเรื่องท่องเที่ยวก็มีVietjet(VJC) ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติอันดับ2
ภาพสนามบินยังโตได้อีกเยอะน่าจะเป็นsuperstock
อีกบริษัทคือ บ่าวเวียดBao Viet(ticker: BVH) เป็นบริษัทประกันที่เป็นผู้นำทั้งประกันภัยเละประกันชีวิต ก็น่าสนใจ

ส่วนคุณพิกุลบอกว่า เรามองเทรนใหญ่
Trend consumerเพราะสุดท้ายส่งออกดี จ้างงานมากขึ้นมีการขึ้นค่าแรง
ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้นทำให้ค้าปลีกน่าจะดี
หุ้นร้านเพชรPNJได้กำไรสามเท่ากว่า
ก่อนหน้านั้น Foreign Room เต็ม ซื้อไม่ได้ เต่ที่ได้มาเป็นช่วงที่เป็นหุ้นที่ซื้อได้เพราะโชคดีที่มีข่าวว่า Dong A Bank ถูกสอบสวน (PNJ ถือหุ้นของ Dong A Bank) บริษัทในเครือญาติมีปัญหา ทำให้ราคา PNJ ร่วงแรงทางคุณพิกุลเลยเข้าไปเก็บ
บริษัทมีสาขาสองร้อยกว่าสาขา ยอดขายหมื่นกว่าล้านบาทต่อปี
หลังจากนั้น SSS (same store sales)โตdouble digit อีกหลายปี
บริษัทPNJ เป็นแบรนด์ที่มีความเชื่อถือ
อีกตัว บริษัทเหล็ก อ่านออกเสียงว่า ท๊อคฟัค
PE ห้าเท่าเอง มีmarket shareเพิ่มขึ้นทุกปี สร้างโรงงานเพิ่มเติม
Utilizationเต็มเร็วมาก ผู้บริหารมีCGดีมาก
กำไรสองเท่ากว่า
วิธีคิด คือ เรามองtrendของประเทศ ซึ่งมีconstructionมาก
เราโชคดี จีนดั้มราคาเหล็ก แต่เวียดนามมีการคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ
ผู้ผลิตเหล็ก (Local producer ) ไม่โดนกระทบ
เพราะรัฐบาลออกมาตรการภาษีปกป้องธุรกิจlocal

คุณเอก บอกว่า (จากนโยบายลดภาษีรถยนต์นำเข้าจากAECเหลือ0%)
ทำให้ค่ายรถยนต์อย่างฮอนด้า ฟอร์ต ชะลอการประกอบรถที่เวียดนาม
แต่มาเร่งผลิตจากไทย อินโด เพื่อเริ่มส่งเข้าเวียดนาม หลังจากคำนวณว่า
ต้นทุนลดลง20% ปรากฏว่ารัฐบาลเวียดนามดัดหลังโดยเพิ่มมาตรการเพื่อชะลอ
การนำเข้ารถ : ผู้สรุป)
รถที่เข้ามามีการเช็คenvironment ทุกรุ่นของแต่ละล๊อต ใช้เวลานานประมาณ 2 เดือน
ต้นทุนการเช็คหลายแสนบาททำให้ต้นทุนการนำเข้ารถจากAECเพิ่มขึ้น
และต้องออก certificate หรือออกกฏเพิ่มป้องกันบริษัทรถที่ส่งเข้าไปเวียดนามแทนการประกอบรถในเวียดนาม
ช่วงปลายธค 17 รัฐบาลเวียดนามให้ส่วนลดภาษีSpare Parts สำหรับนำเข้าอุปกรณ์รถยนต์ เข้ามาประกอบผลิตในประเทศเวียดนาม
ปกติเวียดนามยอดขายรถยนต์300,000กว่าคัน ต่อปี

ผมซื้อvietcom bank ใช้ POS 80%กว่า
ไม่ปล่อยสินเชื่อในบริษัทที่ดูไม่ดี
เป็นธนาคารที่แก้หนี้เสียโดยทำทั้งวิธี IMF , USมาmixกัน
โดยเปิด issue special bond อายุ5ปี โดยยอมให้ทำ amortize
และ เอากำไรมาทำ ทำให้ไม่กระทบกำไรเยอะเหมือนไทย
ซึ่งธนาคารต้องเพิ่มทุน หาคนซื้อยาก
ปกติหนี้เสียเยอะจะทำให้GDPหดตัวมาก
เวียดนามฉลาดมาก ศึกษาว่าไทยเคยล้มอย่างไรก็ไม่ทำ เช่น ไม่เปิด Exim bank
การกู้เงินต่างประเทศ ก็มีโควตา ไม่ใช่ให้บริษัทกู้อย่างไม่จำกัด
ตอนนี้เงินตราต่างประเทศเข้ามา ทุนสำรองมี 3-4 เดือนของนำเข้า และจะเพิ่มขึ้นต่อ
เงินเฟ้อต่ำ Risk ratio ไม่สูงสำหรับธนาคารไปซื้อหุ้น
ถ้าmodel subtainsustainก็ดีด้วย
Vietcapital,SSIได้ประโยชน์จากการที่ตลาดหุนเป็นขาขึ้น
Peitro Vietnam GAS(ticker: GAS)gasเขาเป็นคนสร้างและส่งให้โรงไฟฟ้า ต่างชาติไม่สามารถทำได้ เป็น Monopoly
GAS DE ไม่ถึง 0.3
ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว หุ้นที่ซื้อได้ราคาแพง แต่ก็ยังขึ้นได้อีกได้อีก

คำถามต่อมาสำหรับวิทยากรคืออยากให้แชร์มุมที่เป็นประสบการณ์ผิดพลาด
คุณแจ็คตอบว่าที่มีผิดพลาดคือขับรถเลยป้าย มีหุ้นตัวหนึ่งที่ทำรถบรรทุก ได้ประโยชน์จากเหตุกาณ์
การควบคุมน้ำหนักรถเลยทำให้ซื้อหุ้นได้ถูก และ หุ้นขึ้นไป5เท่า ตอนนี้ราคาลงมาเกือบเท่าทุน
มองระยะยาว หุ้นบริษัทนี้ยังพอไหว แต่ก็มีเก็งกำไรบางช่วง ผมไม่อยากขาย
ต้องยอมรับความผันผวนระหว่างทาง
อีกเคส ไปกับน้องเต๋า เจอบริษัทที่ทำเฟอร์นิเจอร์ เชียร์ให้ซื้อ มีการขายที่ดินให้วินกรุ๊ฟ VIN group
เราไม่ได้ซื้อ ปรากฏว่าหุ้นขึ้นแรง แต่หลังจากนั้นลง11floor
เรารอดมาได้อย่างหวุดหวิด
อีกเรื่องเป็นการเสียโอกาส หุ้นบางตัวroomเต็ม(ติดFForeign Limit) ขนาดตลาดตกเยอะยังซื้อไม่ได้
ทำใจซื้อหุ้นpremiumไม่ได้ (หมายถึงซื้อราคาแพงกว่าตลาดตั้งแต่ 7-30%)
เช่น Mobile world(MWG) ถ้าเราซื้อตอนนั้น ก็ขายในราคาpremiumได้

คุณพิกุล บอกว่าจ่ายค่าเรียนเยอะ (ขาดทุนจากการลงทุน)
ตลาดหุ้นเวียดนามมีข่าวเยอะมากเข้าตอนแรก บริษัท JVBC
บริษัทขายอุปกรณ์การแพทย์ เจ้าของจบจากญี่ปุ่น มีสัมพันธ์ที่ดีกับมีHitachi ได้เป็น Exclusive distributor และมาถือหุ้นใหญ่ด้วย มี board seat
ทำmodelการขาย LeasingMobile unit
มีMobile unitไปตรวจร่างกายพนักงานโรงงานญี่ปุ่นถึงโรงงาน (ไม่ต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาล) และ คิวเต็มตลอด
ต่อมามีข่าวผู้บริหารโดนจับ ตอนนั้นยังไม่ได้ซื้อ
หุ้นลงมา50% ผู้บริหารญี่ปุ่นบอกว่าจะบริหารเอง
เลยเข้าไปซื้อ ปรากฏว่าหุ้นลงไปอีก 50%
ปรากฏว่าผู้บริหารญี่ปุ่นก็ลาออก สุดท้ายเราเลยต้องออกตาม
แต่มีเคสเจ็บตัวเยอะ คือบริษัท Hoang Huy Services (วังลี HHS)DL
นำเข้ารถจากจีนเพื่อที่จะขายให้ญี่ปุ่น (HDL) เราคิดว่าตลาดน่าจะเติบโตได้ และได้ประโยชน์จากกฎหมายควบคุมน้ำหนัก และน่าจะได้ประโยชน์จากการขนส่ง Logistics เนื่องจากการส่งออกมีมากขึ้น
บริษัทกำไรค่อนข้างดีเพราะเป็นผู้นำเข้ารายเดียว แต่ HDL เป็น dealer
ตอนเข้าหุ้นไปต่อ แต่หลังจากนั้นภาพกลับกัน
ราคาลงมาจุดนึง เลยเข้าไปคุยกับผู้บริหารพบว่า
มีการนำเข้ารถมือสองจากอีกอเมริกาประเทศคิดว่าถือว่าเป็นเรื่องดี
ปรากฏว่าหุ้นยังลงต่อ ราคาหุ้นจนถึง Net-Net(คือเอา current assets – current liabilitiedของบริษัทแล้วยังมากกว่า Mkt cap)ซึ่งถือว่าถูกมาก เพราะบริษัทมีเงินสดเยอะมาก และมีรถยนต์
ถ้าเป็นอย่างที่คิด ถ้ามีปัญหา สามารถขายรถที่มีอยู่ได้ในราคาที่discount20%ก็ยังมีกำไร
แต่สุดท้ายเรามาเจอว่ามีการตั้งบริษัทที่เป็นญาติกัน มาเป็นนายหน้าในการซื้อขาย คล้ายกับมาทำTransfer pricing
ดังนั้นหุ้นเวียดนามมีปัญหาเป็นเรื่องของCGค่อนข้างเยอะต้องระวัง

คุณเอก บอกว่า ผมเทรดแต่หุ้นใหญ่ก็ไม่ค่อยเจอบริษัทที่ไม่มีCG
บริษัทPV gGas ขับรถเลยป้าย ซื้อตอนสี่หมื่น ราคาขึ้นไปและ แต่กลับมาราคาเดิม ยังพอโชคดีที่
ตอนนี้ ราคาขึ้นไปเป็นแสนเหมือนเดิม

คำถามต่อมา จากประสบการณ์การคัดเลือกหุ้นในปัจจุบันช้าไปไหมถ้าเข้าตอนนี้
คุณแจ็คตอบว่า เวียดนามไม่ใช่ประเทศที่ผลตอบแทนอันดับหนึ่ง เพราะประเทศซิมบับเว่ ได้อันดับหนึ่ง
ซึ่งประเทศนี้ดูน่ากลัวกว่าเวียดนามเยอะ
ประเทศเวียดนามคล้ายประเทสไทยเมื่อสมัยก่อนช่วงหลังปี2004 หุ้นไทยขึ้น 100%
ดังนั้นหุ้นเวียดนามขึ้น 47%ถือว่าน้อย
ดังนั้นวิธีดูหุ้นคือ ดูMarket cap เทียบกับ GDPทำให้รู้ว่าหุ้นจะไปต่อได้อีกเยอะไหม
ตลาดหุ้นเวียดนามตอนนี้มีPE 18 เท่า บริษัทมีGrowth 18% ในแง่ PB,Divไม่ขึ้เหร่
ถึงแม้แพงกว่าสมัยก่อน แต่มองอีกสิบปีข้างหน้า
ผมเทียบกับจีน เวียดนามตามจีนอีก 11 ปี
เขาพยายามทำคือไปที่4.0ให้ได้ เพราะมีญี่ปุ่น จีนมาลงทุนในเวียดนามเยอะ
เวียดนามมีอิสระ ไม่กีดกันธุรกิจต่างชาติ เช่น Facebook,Uber,Youtubeเข้ามาทำธุรกิจได้
ไม่มีการกันUber จนlocalจะเจ็ง
เวียดนามมีส่วน4.0 แต่ไทย เป็นแค่ยุค 2.5-3.0 เอง
สรุปว่าไม่ช้าที่จะลงทุนต่อ

คำถาม อยากทราบกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ
คุณพิกุล บอกว่าเวลาลงทุนจะดู Investment timeframe
Vietnam น่าสนใจถ้าเรามองไป 5 ปีข้างหน้าจะดูน่าลงทุน
ตลาดหุ้นมีความผันผวน มีลง 2%กว่าในวันเดียวกัน
ต้องระวัง Vitalityคนที่ไม่มั่นคง จิตใจหวั่นไหวมีโอกาสขาดทุน
อุตสาหกรรมน่าสนใจ
Consumer ค่อนข้างชัวร์ ถ้ารู้ว่าคนอยากได้อะไร ก็ลองหาดู
อุตสาหกรรมที่เป็นMonopoly
ระยะสั้น Privatization , corporatization เอาบริษัทมาlist เข้าตลาด

คุณแจ็ค ตอนลงทุนแรก อุตสาหกรรมคล้ายไทย
ผมลงทุนไทยและเวียดนาม ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยไม่มี
เช่น Tourism ไทยมีโรงแรม
แต่เวียดนาม มี duty free มีสายการบินที่ดีกว่า
ไทย Foodไม่ใหญ่ แต่ที่เวียดนามมีFoodที่ใหญ่กว่าและ listในตลาดหุ้นUS
ธุรกิจBeerก็มี consumerน่าจะเติบโต
Phamasuticle Pharmaceuticalมีบริษัทใหญ่อยู่พอสมควร
Logisticมีทั้งท่าเรือน้ำลึก มี portเต็มไปหมด
MSCI index ประกอบไปด้วยกลุ่มconsumer 50% พยายามมองหุ้นที่ไม่แพงและถือ

คำถามต่อมา แล้วเรื่องค่าเงินน่าเป็นห่วงไหม (ปีที่แล้วค่าเงินบาทแข็งทำให้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน10%)
คุณเอกบอกว่า คิดว่าเวียดนามมี Balance of payment ดีขึ้น
เขาต้องการให้นักธุรกิจไม่ต้องดูค่าเงินในการทำธุรกิจ
พยายามไม่ให้ค่าเงินแกว่งเกิน 1-2%
ค่าเงินตอนนี้นิ่งมาก
เมื่อก่อนมีสงคราม เงินเฟ้อสูง
คนที่ได้เงินเดือน จะเปลี่ยนเป็นถือทองคำ หรือ ที่ดิน
เศรษฐีทุกคนจะถือassetพวกนี้ไว้
Dollarization ทำให้มีตลาดมืดอัตราแตกต่างกันกับตลาดทางการซึ่งพบในพม่า เขมร
แต่เวียดนามมีวิธีการจัดการ มีการmonitorตลอดเวลา
เดี่ยวนี้ส่งออกดี FDI (การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ) มีคนนอกประเทศโอนเงินเข้ามาเยอะ
ค่าเงินตั้งแต่ปี2012 devalue น้อยมาก ยกเว้นปี 2015 มี Brexit ทำให้ค่าเงินแกว่งเยอะหน่อย
(Stable Foreign Exchange)
แต่ต้องระวัง Publice Debtตอนนี้ติดเพดาน 65% พยายามขอขยายไป 70%แต่ไม่ได้
พยายามขายบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเอาเงินมาลดหนี้ Public Debt
ถ้าไม่เกิดวิกฤต ก็ไม่น่าจะกระทบตลาดหุ้นเวียดนาม

คุณจิตติมาถามว่า อสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามก็น่าสนใจ
ระหว่างไทยกับเวียดนาม ถามคุณเอกว่าเป็นอย่างไร
คุณเอกบอกว่า ที่ดินที่อยู่นอกเมือง ราคาถูกหน่อย
รถเยอะขึ้นตลอด ในโฮจิมิน รถยนต์ 500,000 คัน รถมอเตอร์ไซด์
6,500,000 คัน ถ้าตัวเลขรถกลับกัน จะกระทบเยอะ
โครงการจัดสรรหมู่บ้าน ที่ให้คนต่างชาติมาซื้อ ไม่เกิน 30%
ให้เช่า50ปี+50ปี
เวียดนามตอนกู้ ให้จ่าย 90% แล้วมาผ่อนอีก 10%
Urbanizationกำลังเกิดในเวียดนาม คนเริ่มแยกออกมาอยู่เองตามคอนโด
ถ้ารถไฟฟ้าเสร็จก็ยังมีโอกาสโตอีก
ผลตอบแทนอสังหาริมทรัพย์น้อยกว่าหุ้น ให้เช่าคิดเป็น 6-7%

ถามคุณพิกุลเรื่องPrivate fund ขอรายละเอียดของprivate fundของหุ้นเวียดนามที่ดูแลอยู่
คุณพิกุลตอบว่า ลงทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาทโดยไปซื้อหุ้นเวียดนามผ่านกองทุนส่วนบุคคลของPhillip
เราลงทุนโดยตรง รับเงินปีละครั้ง เวลาเราขายทำกำไรถ้าเอาเงินกลับในปีเดียวกันต้องเสียภาษ๊
ดังนั้นเราให้ถอนปีละครั้ง

ส่วนคุณเอกทิ้งท้ายก่อนปิดสัมมนาส่วนนี้ว่าอยากทำงานจนเกษียณที่เวียดนาม
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้ครับ
ขอบคุณ คุณพรชนก พวงสุข หรือ น้องเป้ที่ช่วยเสริมข้อมูลเพื่อให้บทความสมบูรณ์ขึ้น
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 116

โพสต์

FSS เปิดให้ส่งคำสั่งซื้อหุ้นเวียดนามด้วยตนเองแล้ว

https://www.facebook.com/permalink.php? ... 4232617862
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 117

โพสต์

สรุปงานสัมมนา ก้าวสู่การลงทุนในเวียดนาม 2561
ช่วง 5 Business Models (21/1/2018)
วิทยากร
• คุณ Tuan NhanSenior Manager - Institutional Sales & Trading, Viet Capital Securities
• ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เผยแพร่แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าคนแรกในประเทศไทย ผู้จุดประกายการลงทุนหุ้นเวียดนาม
• คุณบอล ภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง นักลงทุนอาชีพแบบเน้นคุณค่า เจ้าของแฟนเพจ “Road to Billion”
1) SVC
ทำธุรกิจ dealer รถยนต์ยี่ห้อ Honda, Toyota, Ford, Mitsubishi มี 22 showrooms ทั่วประเทศ
ทำ after sale services และขายอะไหล์รถยนต์ แต่มีธุรกิจอื่นอีกเช่นอสังหาและทำบริหารพื้นที่ เช่นให้เช่าพื้นที่จัดงานแต่งงาน,
รีสอร์ท (โรงแรม) รวมทั้งมี land bank ด้วย
คุณ Tuan
SVC mkt share 10%
ถ้ามองย้อนกลับไป 4 ปี พบว่ายอดขายรถยนต์ในเวียดนามเติบโตปีละ 20-40% เมื่อเทียบกับประเทศไทย ทำไมถึงโตขนาดนั้น เพราะยอดขายรถยนต์ในเวียดนามยังอยู่ในฐานที่ต่ำ
คุณ Tuan ตามบริษัทนี้มา 5 ปี พบว่ามีศักยภาพ แต่อยากให้บริษัทตัดธุรกิจอสังหาออกไป แล้วมาโฟกัสที่ธุรกิจหลักคือการขายรถยนต์ และเน้นส่วนงานที่มี margin สูงๆ เช่น การบริการหลังการขาย และขายอะไหล่รถยนต์มากกว่านี้(margin ประมาณ 30%) แต่ว่าก้อยังไม่เห็นความชัดเจนตรงนี้จากผู้บริหาร
ถามถึงเรื่องผลกระทบจากมาตรการลดภาษีรถยนต์นำเข้า import tariff 30% >> 0% โดยเริ่มมีผลวันที่ 1 มกราคม 2018
ปีนี้ยอดขายน่าจะกลับขึ้นมา เพราะผู้คนต่างชะลอการซื้อขายเมื่อปีที่แล้ว เพื่อรอซื้อรถราคาถูกในปีนี้
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
มองภาพรวมของตลาดรถยนต์ก่อน และมีข้อมูลคนละชุดกับ คุณ Tuan ไทยขายรถยนต์ได้ปีละ ล้านคัน ที่เวียดนามขายได้ปีละ สามแสนคัน (ผู้จดบันทึก: น่าสนใจมาก วิทยากรคู่นี้มีมุมมองที่ต่างกันในหลายๆบริษัท ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้เห็นมุมมองหลายๆด้านจากผู้เชียวชาญ สัมมนาในวันนี้ สนุกมากๆ ขอบพระคุณทีมผู้จัดงาน)
คุณบอลก้อเพิ่งไปพบผู้บริหาร SVC มาเหมือนกัน ใครๆก้อเก็งว่าปีที่แล้วไม่ดี ปีนี้ต้องดีแน่ แต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป
มองว่ายังไงแล้ว การที่ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ประกอบนอกเข้ามาทั้งคันไม่มีผลอะไรที่ทำให้ราคารถยนต์ถูกลง เพราะสุดท้ายก้อถูก offset ด้วย Special consumption tax อยู่ดี
อีกประเด็นนึงคือ รัฐบาลเวียดนามออกมาตรการเพื่ม เพื่อชะลอการนำเข้ารถประกอบทั้งคัน เพราะระบุให้ผู้นำเข้าออก Certificate ต่างๆออกมา เช่น Certificate of Origin และใช้เวลาตรวจสอบค่อนข้างนาน ทำให้รถยี่ห้อต่างๆระงับการส่งรถเข้าเวียดนาม
ธุรกิจนี้ โดยธรรมชาติมี margin ไม่สูงมาก อำนาจต่อรองเองก้อไม่สูง เพราะลูกค้าย้ายไปซื้อที่showroom
ไหนก้อได้ที่ได้โปรโมชั่นดีกว่า
ส่วนหุ้นที่คล้ายๆกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน คราวที่แล้วเราพูดเรื่อง Haxaco (HAX) ซึ่งทำ showrooms ขายรถ Benz
(ผู้จดบันทึก: คุณบอลหมายถึง รอบสัมมนาเดือนสิงหาคม 2017 )
แต่เทียบกับ SVC ที่ยังถือหุ้นใหญ่โดย Ben Thanh group ทำให้ระบบบริหารงานยังมีอารมณ์ SOE (ผู้จดบันทึก: State-Owned Enterprise ) อยู่ สไตล์การบริหารจะไม่ aggressive เท่า HAX
ดร. นิเวศน์
จำไม่ได้ว่ามีในพอร์ตมั้ย หุ้นเยอะจำไม่ได้ แต่คิดว่าคงไม่มี ธุรกิจนี้ไม่ค่อยโดดเด่น margin บางมาก สัก 1% ได้ ตัวนี้เป็นดีลเล่อร์ใหญ่ ยอดขายหมื่นกว่าล้านบาท มีโชว์รูม22 แห่ง ถือว่าใหญ่เลยละ ในเมืองไทยไม่ค่อยมีหรอก ยอดขายระดับนี้ แถมยังมีธุรกิจ Real estate อีก ถือว่าหุ้นตัวนี้ไม่ธรรมดา จากระบบเศรษฐกิจของเวียดนามตอนนี้ ดูตัวเลข GDP พอทุกคนเริ่มรวย ก้ออยากจะซื้อรถยนต์ใช้
มาดูราคา mkt cap 1,900 ล้านบาท ยอดขายหมื่นกว่าล้านมีหนี้พอสมควร แต่ถ้าธุรกิจยังไปได้เรื่อยๆ ก้อไม่น่าจะมีความเสี่ยงเรื่องล้มละลาย ลองมาดูเมืองไทย mkt cap ขนาดนี้ จะเทียบกับธุรกิจอะไรได้บ้างในเมืองไทย กดซื้อไม่กี่ที เราก้อติดผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้วP/BV 1.14 , PE 13xด้วยศักยภาพของการเติบโตในธุรกิจนี้ ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโชว์รูม แต่เช่าได้ระยะ 50 ปี จะเรียกว่าแพงก้อเรียกไม่ได้ เล่นเก็งกำไร แต่ไม่เหมาะจะถือยาว เผื่อถ้าในอนาคตมีระบบปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อน่าจะกระตุ้นยอดขายได้อีก แต่ตัวใครตัวมันนะ อย่ามาโทษกัน
คุณ Tuan
เรื่องภาษีที่กระทบราคาขายของรถยนต์ ถึงแม้ว่าจะจะมี offset จากการขึ้น Special consumption tax แต่สุดท้าย net net แล้วยังมี discount อีกประมาณ 25%
เห็นด้วยเรื่องมี margin ต่ำ แต่อย่างที่บอกถ้าผู้บริหารหันมาเอาจริงเอาจังกับเรื่องการบริการหลังการขาย กับขายอะไหล่รถยนต์ จะทำกำไรได้สูงกว่าปัจจุบัน ลองดูธุรกิจอื่นๆในตลาดที่ผู้บริหารเน้น core competency ของตัวเอง ต่างก้อประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งนั้น
2) QNS
Business Lines
1. Soy Milk
2. Sugar
3. 95 MW Business Power Paint in An Khe , Largest biomass plant in Vietnam
4. เบียร์ท้องถิ่นยี่ห้อ Duag Quat Beer , น้ำดื่มและ soft drinkยี่ห้อ “Thach Bich”, ขนมยี่ห้อ “Biscafun”
คุณ Tuan
ทำนมถั่วเหลือง มี mkt share 85% ในธุรกิจนมถั่วเหลือง, NPAT 61% ไม่ธรรมดา แต่มีการไปลงทุนทำโรงงานน้ำตาล และโรงไฟฟ้าชีวมวล ประมาณ USD 200 ล้าน
ลองคิดดูนะ ลงทุนเพิ่ม 30% แต่ยอดขายปีที่แล้วเพิ่มแค่ 4% แบบนี้เป็น Value trapมันจะต้องมีอะไรสักอย่างในการบริหารธุรกิจ ตัวนี้เป็นผู้นำตลาดนมถั่วเหลือง มีเครือข่ายการกระจายสินค้าที่ดี แต่ทำไมทำยอดขายเพิ่มได้น้อยมาก
ตัวนี้คุณ Tuan แกพยายามติดต่อเข้าพบผู้บริหารมา 3 ปีแล้ว แต่ไม่เคยสำเร็จเลย ผู้บริหารทำธุรกิจแบบครอบครัว ไม่สนใจที่จะให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์เลย มองหุ้นตัวนี้เป็น commodities และไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน

คุณบอล ภาคย์ภูมิ
ตัวนี้หลักๆ มี 3 ธุรกิจ คือ
นมถั่วเหลือง น้ำตาล แล้วก้อ biomass
เห็นด้วยที่ว่าธุรกิจไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
แต่ส่วนเรื่องการขยายโรงงานน้ำตาล เค้าคงมองว่าอาจจะเป็นเพราะผู้บริหารมองว่าปีนี้ รัฐบาลจะลดภาษีน้ำตาล เลยขยายกำลังการผลิต แต่กลายเป็นว่าเอาเงินไปลงทุนในธุรกิจที่มันกำลังแย่ (หรือเปล่า?) ส่วนตัวผมไม่ขอคอมเม้นท์ เพราะไม่ชอบธุรกิจน้ำตาล
มามองในมุมธุรกิจนมถั่วเหลือง คนเวียดนามเป็นชาติที่ดื่มนมเยอะในอันดับต้นๆ ของโลก (ได้อิทธิพลมาจากจีน ที่ชอบดื่มน้ำเต้าหู้) แต่ปริมาณการดื่มนม70% นี่คือต้มดื่มเองที่บ้าน
ลองมาดูเปรียบเทียบกับไทย บริษัทอย่าง Lactasoy, Vitamilk ที่บ้านเรา ขายเข้าร้านสะดวกซื้อ เดินเข้าไปหยิบง่ายๆ
โดยรวมๆ ตลอดนมถั่วเหลืองยังมีโอกาสโตมากกว่านี้ 2-3 เท่า หุ้นตัวนี้ก้อลงมาเยอะ ไม่รู้ว่ามันจะ bottom เมื่อไร

ดร. นิเวศน์
ตัวนี้ถ้า mkt cap เล็กกว่านี้อีกสักหน่อยน่าสนใจ แต่เอาแบบเก็งกำไรนิดๆนะ เพราะมองว่าบริษัทใหญ่ๆ ลงมาทำนมถั่วเหลืองไม่น่าจะเวริค์สักเท่าไร ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีmarginพอใช้ stable ชัดเจน มีโอกาสโตได้บ้าง
แต่ผมเคยทำงานโรงงานน้ำตาลมาก่อนธุรกิจน้ำตาลเนี้ยกำลังจะเปิดเสรี หมายความว่าจะมีประเด็นเรื่องน้ำตาลจากไทยก้ออาจจะไหลเข้าประเทศเวียดนาม เพราะผมมองว่าเครื่องจักรเอย หรือคุณภาพน้ำตาลเอย จากไทยน่าจะมีคุณภาพมากกว่า ได้ผลผลิตที่ดีกว่า ที่เวียดนามนี่น่าจะเป็นเครื่องจักรและกระบวนการผลิตยังเป็นแบบโบราณๆ อยู่ผลผลิตยังต่ำ ชาวไร่ยังปลูกอ้อยกระจัดกระจาย ไม่มีระบบ ใครจะขายอะไรก้อขายไป ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าน้ำตาลไทย ถ้าน้ำตาลไทยเข้าไป เค้าจะสู้ไหวมั้ย อันนี้ก้อเป็นประเด็นที่ต้องตาม
Mkt cap 17,000-18,000 ล้านบาท ไม่เล็กนะ แต่ถ้าเอาเฉพาะโรงน้ำตาลอย่างเดียวไม่คุ้มแน่นอน แต่เพราะมีส่วนของนมถั่วเหลืองเข้ามาช่วยแต่ถ้าเผื่อฟลุ๊คจู่ๆวันนึงรัฐบาลเวียดนามเกิดออกกฎหมายมาช่วยชาวไร่ ชาวโรงงานน้ำตาล ก้ออาจจะได้อานิสงค์ รวมทั้งเผื่อวันนึงราคาน้ำตาลโลกเกิดขึ้นราคาขึ้นมาก้ออาจจะได้เป็นสองเด้ง แต่ก้อเช่นเคย ถือเก็งกำไร แต่ถ้าเค้าทำนมถั่วเหลืองอย่างเดียว ผมว่าไม่น่าสนใจ

3) Ho Chi Minh City Infrastructure Investment JSC ( CII )
Business Lines:
1. Toll Collection
2. Real Estate : Low-rose resident in Thu Thiem , Lakeview
3. Construction : BOT highway projects
4. BT Project : Thu Thiem BOT Infrastructure project
5. Others
คุณ Tuan
ตัวนี้ธุรกิจซับซ้อน ไม่ชอบ งบไม่ค่อยคลีน ไม่โปร่งใส มี earning จากธุรกิจแบบไม่ใช่เงินสด
เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจก่อสร้าง ทำอุโมงค์ สะพาน
มีที่ดินที่มีมูลค่ามากในเขต Thu Thiemเยอะ น่าจะประมาณ USD 200-240 ล้าน (เขต Thu Thiemอยู่ใน โฮจิมินท์ district 1จะถูกพัฒนาให้เป็นCBD เมืองใหม่ในอนาคต จะกลายเป็น the next Pudong, the next Manhattan)
ทำธุรกิจครอบคลุมทั้งระบบของงานก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่ออกแบบ ถึงลงมือสร้าง
ประเมินมูลค่ายาก คาดการณ์ projection ยาก ถ้าจะเล่นจะออกแนว financial game
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
มี 3 ธุรกิจหลัก อยู่ในสเกลที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ล่าสุดมีโปรเจคสร้างทางด่วนเข้าเขต Thu Thiemงบประมาณ USD 2 billion ในสเกลระดับนี้คู่แข่งรายอื่นทำไม่ได้ แสดงว่าเค้ามีความสามารถในการแข่งขันระดับนึงที่จะเข้าถึงเงินทุนขนาดใหญ่
ข้อเสียคือลงทุนเยอะ แล้วโครงการใช้เวลาก่อสร้างนาน
อย่างที่สองคือ ธุรกิจอสังหา เพราะเวลาเค้าทำงานแล้วรัฐบาบไม่มีเงินจ่ายเงินเค้า เลยแลกด้วยที่ดิน ตอนที่ได้ที่ดินมาดูเหมือนไม่มีมูลค่า แต่พอเวลาผ่านไปราคาที่ดินกลับวิ่งขึ้นไป 2-3 เท่าตัว
อีกธุรกิจที่ผมชอบมาก แต่ยังอีกไกล คือ ธุรกิจระบบบำบัดน้ำ และล่าสุดไปวางระบบส่งน้ำประปาแถวๆ อุโมงค์ Cu Chi (เป็นโปรเจคแบบ BOO, เพิ่มเติมโดยผู้จดบันทึก BOO = Build-Own-Operate สัญญาก่อสร้างโครงการที่ทำกับรัฐบาล เมื่อสร้างโครงการเสร็จแล้ว ผู้ลงทุนจะเป็นเจ้าของและมีสิทธิดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ในระยะเวลาที่กำหนด) ผมมองว่าน่าจะมีอนาคต (แต่ตอนนี้ ยังไม่ใช่เวลา) เพราะคนเวียดนามส่วนใหญ่ยังใช้น้ำบาดาลกันอยู่ ก้อจะให้มาจ่ายค่าน้ำประปา (ถึงแม้ค่าน้ำจะยังไม่แพง) เทียบกับใช้น้ำบาดาลฟรี ใครจะหันมาจ่ายค่าน้ำง่ายๆ มันก้อจะใช้เวลาอีกสักพักนึง
Earning ส่วนใหญ่จะเป็น one time gain และปีนี้ก้อจะรับรู้รายได้ประเภทone time gain เข้ามาอีกสักก้อนนึง เวลาประเมินมูลค่าจะใช้วิธี DCF
ผู้บริหาร CII จะเก่งเรื่องการหาเงินทุน
หุ้นที่คล้ายๆกันในอุตสาหกรรมนี้ ก้อจะมี HUT แต่ศักยภาพต่างกัน แต่ก้อทำงานให้รัฐบาลแล้วไดที่ดินมาเป็นสิ่งตอบแทน แล้วก้อเอาที่ดินไปสร้างบ้านขาย
ดร. นิเวศน์
บริษัทนี้น่าสนใจ เพราะเวียดนามเนี้ย ถนนหนทางยังขาดแคลนอยู่มาก เป็นผู้นำ มีศักยภาพที่จะแข่งขันกับคนอื่นได้ ตัวนี้ทำหลายอย่าง เหมือน TTW+S + BEM ในส่วนของทางด่วนของไทยมารวมกันที่ดิน Thu Thiemนี่เค้าได้มาเยอะ และอาจจะได้เพิ่มอีกเพราะไปทำสะพานให้เค้า ก้ออาจจะได้ที่ข้างๆมาอีก แล้วเอาไปดำเนินการต่อ ที่แถวนี้จะกลายเป็นที่สุดยอดในโฮจิมินท์ เลยล่ะ คล้ายๆแถวสาธร แต่โครงการมันยังไม่เสร็จ รายได้เลยยังไม่มี กำไรก้อเลยยังไม่เข้า
ที่สำคัญไปดู mkt cap ตอนนี้ 13,000 ล้านบาท เผลอๆเอาที่ดินตีราคาเข้าไปอาจจะตกใจ เพราะที่ดินที่เวียดนามนี่แพงมากๆดังนั้นบริษัทนี้มีศัยภาพมาก
และถ้าดอกเบี้ยลงอีก เค้าจะได้ประโยชน์อีกเยอะ ผมก้อถืออยู่นะ แต่ยังไม่ได้อะไรเลย ถ้าพวกคุณซื้อตอนนี้ ซื้อได้ถูกกว่าผมอีก
คุณ Tuan
เห็นด้วยกับ ดร. นิเวศน์เรื่องราคาที่ดินที่ยังไม่ได้ปรับเข้ามาใน Book
ระวังเรื่อง convertible bonds ที่เค้าออกมา 2 รอบ ก้อคิดว่าจะมี dilutions
บริษัทไปร่วมมือกับ Hong Kong Land เพื่อพัฒนาโรงแรม
ตัวนี้ถ้าจะถือ ต้องถือยาวมากๆ

4) Vincom Reatail ( VRE )
คุณ Tuan
ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้า41 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 200 แห่งโดยห้างสรรพสินค้าหลักจะอยู่ในโฮจิมินท์ และฮานอย
เข้าตลาดเดือนที่แล้ว
จับมือกับ consortium partner ที่ลงทุนเข้ามาอีก UDS 300 ล้าน
ถ้าไปที่เวียดนาม ห้างสรรพสินค้าเค้าจะแนวพรีเมียม สินค้าที่ขายในห้างก้อมีราคาพอสมควรเพราะเน้น จับลูกค้าที่มีรายได้สูง เค้าบอกว่าสร้างห้างสรรพสินค้าเพื่อรองรับกำลังซื้อในอีก 3-5 ปี รายได้ที่ใช้สำหรับจับจ่ายใช้สอย disposable income ของคนเวียดนามจะเพิ่มมากขึ้น และห้างสรรพสินค้าเหล่านี้จะตอบโจทย์
โดยส่วนตัวไม่ค่อยชอบ เค้าพยายามผลักดันการเพิ่มพื้นที่ GFA (Ground Floor Area) ให้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่มันทำกำไรได้หรือเปล่ายังเป็นคำถามอยู่ สรุปเค้าไม่ซื้อหุ้นตัวนี้
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
เวลาดูการเติบโต หรือการสร้างรายได้พวกห้างสรพพสินค้าค้าปลีก เราก้อจะดู GFA กับ NLA (ผู้จดบันทึก: NLA = พื้นที่เช่าสุทธิ ) ของ CPN จะมีประมาณหลักแสนปลายๆ แต่ถ้ามาดูของ VRE พบว่าของเค้าจะใหญ่กว่า CPN แล้วนิดนึง
แต่ที่น่าสนใจคือ VRE Mkt share เฉพาะในโฮ จิ มินท์ 60% เพราะไม่ได้มีผู้เล่นมากมาย CPN Mkt share ประมาณไม่ถึง 20% (น่าจะสัก 18% )เพราะในเมืองไทยมีผู้เล่นในตลาดเยอะ อย่างเช่น The Mall
ที่ผมชอบหุ้น VRE เพราะ Growth, retail spending/capita ยังน้อยดี เทียบแล้วศักยภาพในการเติบโตได้อีก 3-4 เท่า สบายๆ ไม่อย่างนั้น พวก ZARA, H&M ไม่มาเปิดสาขาที่นี่ ZARA เพิ่งเปิดสาขาแรกเมื่อปีที่แล้วที่โฮ จิ มินท์ ยอดขายวันแรกสูงที่สุดในโลก คนเวียดนามมาต่อแถวซื้อ แล้วคนที่มาซื้อเป็นคนเวียดนามล้วนๆ อย่างบ้านเรา CPN ตอนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจีนมาซื้อทั้งนั้น
อีกอย่างที่ผมชอบคือ เค้าอยู่ในเครือ VIN group ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามด้านค้าปลีก มีทั้ง Vin Mart Plus, VinPro นู่น นี่ คือขายทุกอย่างทั้งของชำ ผักสด ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ เพราะฉะนั้นเวลาเค้าเปิดห้างใหม่ เค้าสามารถเอาบริษัทในเครือไปลง ได้พื้นที่เช่าแล้ว 70-80% ในวันแรกๆที่เปิดห้างสรรพสินค้า คนอื่นทำแบบนี้ไม่ได้หรอก แน่นอนว่ากำไรยังไม่เยอะ แต่เค้าได้โลเคชั่น นอกจากนี้เค้าทำธุรกิจอสังหา เป็นขอได้เปรียบ ถ้าคู่แข่งจะเข้ามาเปิดสาขาใหม่ จะหาพื้นที่ไม่ได้ อย่างเช่น AEON
ภายในปี 2021 ผู้บริหาร VRE บอกว่าจะเปิดพื้นที่เช่า เพิ่มเป็น 2 เท่า หมายความว่าถ้าเราคิดอัตราค่าเช่าเท่าเดิม รายได้ก้อจะ double ละ แต่ถ้าเพิ่มค่าเช่าขึ้นมาได้สัก 1/3 ของ CPN อย่างน้อยก้อดูมีศักยภาพ ถ้าผมเป็นผู้เช่า มาเปิดตามสาขาต่างๆในห้างเข้าผมก้อโตไปตามเค้าได้ ตรงนี้มองเป็นความได้เปรียบเชิงแข่งขัน และมีอำนาจต่อรองสูง เพราะเค้าเป็นเจ้าของที่ดินด้วย ถึงจะแพงแต่ทุกคนเห็นว่าศักยภาพเค้าชัดเจน เค้าไล่ขยายตลาดเพราะถ้าเค้าไม่ทำคู่แข่งต้องเข้ามาแน่นอน เค้าจึงจ้องเร่งขยายสาขา แต่วันนึงเป็นผู้ชนะได้แน่นอน ถ้าเราถือยาวๆไป เมื่อกำไรมา valuation เค้าก้อจะถูกลงเอง
ดร. นิเวศน์
ตัวนี้เมื่อเทียบกับ CPN โดยดูที่ Mkt cap พบว่าตัวนี้เล็กกว่า CPN 30% แต่เมื่อดูไปที่ศักยภาพของประเทศเวียดนาม ไม่แพ้ใครแน่ ในเศรษฐกิจที่โตเร็วมากๆ พวกที่เป็น real estate จะเป็นผู้ชนะ เพราะราคาที่ดินจะเพิ่มเร็วมากๆการเพิ่มขึ้นของรายได้ เค้าจะต้องไปจอดในห้าง จอดข้างทางไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แล้วพอคนเวียดนามมีรายได้มาก อยากไปเดินเที่ยวนู่น นี่ ยังไม่มีที่ไป ก้อไปเดินห้าง ร้านอาหารดังๆ ต่อไปก้อขึ้นห้าง มันถือเป็นโอกาส ในสมัยช่วงที่กำลังบูมมาก CPN สามารถปรับราคาค่าเช่าขึ้นได้ 3-5% ทุก 3 ปีตอนนั้นแระ ที่จะกินกำไร เพิ่มมาร์จินขึ้นเร็วมาก เพราะต้นทุนมันคงที่
ตอนนี้เราบอกว่ามันแพง ใครจะไปเช่า แต่อีกสักพัก ก้อมีคนเข้าไปเอง ยิ่งถ้าคนเดินมากในอนาคต เหมือนบ้านเรา เสาร์ อาทิตย์ ไม่มีที่ไป ก้อเดินห้าง เย็นสบาย ตรงนี้ผมมองว่าน่าสนใจ หุ้นตัวนี้ที่ดินเค้าเยอะมาก
แต่จุดที่ผมกลัวคือ ถ้า e-commerce เข้ามากๆ การขึ้นค่าเช่าจะลำบาก เหมือนห้างในอเมริกา ที่ปิดตัวลงไปบ้าง แต่ที่เวียดนามควรจะต้องผ่านกระบวนมีห้างก่อน แล้วถึงเจ๊งทีหลัง (ฮา) ส่วนตัวผมมองว่าตัวนี้น่าจะโอเคในระดับนึง แต่ไม่ได้เชียร์มากเพราะไม่แน่ใจว่าเวียดนามจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเหมือนไทยมั้ย


คุณ Tuan
อยากจะ reiterate(ย้ำ)ว่า นี่คือบริษัท USD 4.7 billion
ตอนนี้ PE ประมาณ 45x, สมมติต่อให้ EPS growth 100% ก้อยังมี PE 25x อยู่ดี
พอมาดูที่ Cash flow ในปี 2017 มีรายรับ USD 200 million , แต่ net profit USD 400 million สงสัย ไหมครับ ทำไม net profit มากกว่ารายรับถึง 2 เท่า ก้อเพราะมันไม่ได้มาจากเงินสดรับแต่มันเป็นการปรับมูลค่าที่ดินในพอร์ต ถ้าคุณจะถือหุ้นตัวนี้ คุณต้องไปไล่เดินห้างเค้ามีกี่แห่งๆ แล้วคอยตีราคาที่ดินมาประเมินมูลค่าหุ้น
ก้อยังไม่ชอบอยู่ดี
5) VietCapital Securities JSC (VCI)
คุณ Tuan
ตัวนี้คุณเค้าถนัดเลย เพราะเป็นบริษัทของเค้าเอง ^^ บริษัทนี้ก่อตั้งมา 10 ปีแล้ว ก่อตั้งช่วงพีคของตลาดหลักทรัพย์เวียดนามเลยให้บริการครบวงจรทำกำไรมาตลอด 10 ปี
สัดส่วนรายได้มาจาก 3กิจกรรมใหญ่ๆ ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน (อย่างละ 1/3 ) คือ Investment Banking, Broker และ Financial Investment
ROE 32% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกันของเวียดนามถึง3เท่า ทำให้ P/BV สูงกว่าบริษัทอื่น ในแง่ของ Mkt share หลายปีที่ผ่านมาก ... ถ้าในปีที่แย่ๆ ทำได้ขั้นต่ำที่ 50%, แต่ถ้าในปีที่ดีๆ จะทำได้ถึง 70%
ทำกำไรจาก Investment banking มากที่สุด แต่ถ้าเป็น Mkt share ทั้งหมดจะประมาณ 9%
Deal IPOs ในครึ่งปีแรกของ 2018 ก้อมี Techcombank, Genco2, Genco3,PV Power ส่วนดีลใน 2H2018 ยังบอกอะไรมากไม่ได้แต่รับรองว่าเด็ด ^^
เชื่อมั่นว่าในอนาคตจะไปได้ดี
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
ตัวนี้ไม่อยากคอมเม้นท์อะไรมาก เป็นหุ้นที่แปลกมาก เป็นหุ้นที่ดี เพราะก้อถือมาตั้งแต่ IPO ตัวนี้เค้าเด่นเรื่อง Investment Banking เอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ออกบอนด์ ออกหุ้น deal ทั้งประเทศผ่านโบรกนี้ประมาณ 60-70% มีดีลดีเยอะมาก นักลงทุนคนไหนอยากได้ IPO ก้อต้องมาเทรดกับเค้า
บางคนบอกต่างชาติจะมาทำดีลเอง แต่สุดท้ายก้อต้องประสานงานกับ Viet Cap อยู่ดี เพราะเรื่องของกฎ ข้อกำหนดต่างๆ
แถมยอดการเทรดหุ้นในเวียดนามเพิ่มมากขึ้น พอมีหุ้นเจ๋งๆ เข้ามาในตลาด ก้อจะช่วย drive ธุรกิจของ Broker ให้ดีขึ้น แถมยอดเทรดต่อวันของเวียดนามตอนนี้มีแค่ประมาณ 1/5 ของยอดเทรดในประเทศไทยเท่านั้น ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกเยอะ, mkt cap ของประเทศยังโตได้อีกสัก 2-3 เท่า
แต่ความเสี่ยงก้อคือ คนเก่งๆ (อย่างเช่นคุณ Tuan ) อาจจะโดนซื้อตัวไปก้อได้ ทางบริษัทอาจจะได้รับผลกระทบ
ดร. นิเวศน์
ผมก้อมีตั้งแต่ IPO เหมือนกัน แล้วก้อยังถืออยู่ บริษัทนี้เก่งมาก เหมือนภัทร ในเมืองไทยที่ไม่มีทิสโก้
เรื่องจะโดนซื้อตัวพนักงาน ไม่ต้องห่วง บริษัทนี้ถ้าไม่มี คุณ Tuan ก้อไม่เป็นไร เพราะลูกค้าก้อจะติดกับแบรนด์มากกว่าติดกับคน ฐานลูกค้ายังอยู่กับบริษัท
บริษัทนี้ทุกอย่างแข็งแกร่งหมด ดีหมด แต่เค้าอยู่ในธุรกิจที่มีความผันผวน เช่น ปล่อยmarginเยอะ อาจจะเจ้งได้ หรือ วอลุ่มหาย ก้อแย่เลย และสุดท้ายถ้าธุรกิจที่ลงทุนเจ๊ง ก้อแย่ไปอีก

คุณ Tuan
รายได้จากการปล่อย margin ไม่เยอะ เป็นเศษเสี้ยว เพราะค่อนข้างconservative5 จะปล่อยmarginแบบเลือกเฉพาะเจาะจง ดังนั้น risk profile ค่อนข้างต่ำ แต่ VCI จะเน้นทำ Investment banking มากกว่า
บริษัท brokers รายอื่นๆจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะไปทำโปรโมชั่นลดค่าคอมฯ ทำให้ต้องไปหารายได้ชดเชย จากการปล่อยmarginเพราะได้กำไรดีกว่า
ในส่วนของการลงทุนนั้นถ้าตลาดหลักทรัพย์โดยรวมตก ในส่วนนี้จะ drop ลง อาจจะมีขาดทุนกำไร แต่ยังมีกำไรอยู่
Unlisted position >> mark to cost
Listed position >> mark to market

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้commentหุ้นทั้ง5ตัว
ช่วยกันสรุปสัมมนา โดย อมร และ น้องเป้ ผู้ช่วยแปลสัมภาษณ์คุณ Tuan Nhan ช่วง 5 Business Models
###

8
Suphat
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 473
ผู้ติดตาม: 0

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 118

โพสต์

ขอบคุณ คุณ amornkowa มากเลยครับ

อ่านกระทู้นี้แล้วได้ความรู้ใหม่ตลอดๆ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 119

โพสต์

Suphat เขียน:ขอบคุณ คุณ amornkowa มากเลยครับ

อ่านกระทู้นี้แล้วได้ความรู้ใหม่ตลอดๆ
ครับ
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2608
ผู้ติดตาม: 255

Re: Seminar Knowledge เรียนรู้การลงทุนผ่านการสัมมนา

โพสต์ที่ 120

โพสต์

ช่วงนี้ตลาดหุ้นผันผวน บางทีอยู่นอกตลาด
ไปออกกำลังกายบ้างก็อาจจะทำให้จิตใจสงบได้บ้างนะครับ
ขอฝากบทความให้อ่านเผื่อจะมีประโยชน์กับบางท่านได้บ้างครับ

กีฬา กับ การลงทุน

วันนี้ได้มีโอกาสไปร่วมวิ่งในงาน Run for Study
ถือเป็นงานวิ่งงานแรกในรอบหลายๆปีที่ผ่านมา
เห็นว่ามีหลายอย่างที่สอดคล้องกับการลงทุน
ก็เลยอยากมาแชร์ให้กับเพื่อนๆน้องๆครับ
1. การเรียนรู้
การฝีกซ้อมเพื่อให้สามารถวิ่งได้ นั้น ต้องมีการฝึกเป็นขั้นตอน
เริ่มจากพื้นฐานก่อน ได้แก่การฝึกเดินให้ร่างกายเคยชิน
จากนั้นก็มีการผสมวิ่งลงไป จากนั้นก็เริ่มวิ่งได้ระยะทางมากขึ้น
หลังจากนั้นก็สามารถวิ่งได้ตามที่เราฝีกมา แต่ถ้าร้างลาไปขาดการ
ฝีกวิ่งนานๆ ก็ต้องมาเริ่มใหม่ ไม่เหมือนการขี่จักรยาน
ซึ่งพอมีทักษะแล้ว. จะติดตัวเราไปตลอด
การลงทุนก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการสำรวจดูว่าเราถนัดกับการลงทุน
แบบไหน หลังจากนั้นก็เริ่มเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่สามารถข้าม
ขั้นตอนได้ เหมือนกับการวิ่ง ถ้าเราใจร้อนอยากวิ่งให้ได้ระยะทางเยอะ
แต่อาจทำให้บาดเจ็บที่เข่า หรือ ขาได้ ต้องปรับสภาพร่างกายอย่างค่อยเป้นค่อยไป. การลงทุนในช่วงแรกอาจมีการขาดทุนบ้าง แต่เราจะได้บทเรียนเพื่อปรับปรุง
2.Team
การวิ่งถ้าทำกันเป็นทีม จะทำให้การเรียนรู้ไปได้เร็วขึ้น มีการเเลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน มีการช่วยเหลือในระหว่างการวิ่ง เพื่อให้ทุกคนไปถึงจุดหมาย
พร้อมกัน
การลงทุนก็เฉกเช่นเดียวกัน เราควรมีเพื่อนนักลงทุน ที่สามารถช่วยเหลือกัน
ในด้านข้อมูลที่เป็นpublic หรือข้อมูลด้านสัมมนา ซึ่งเป็นข้อสำคัญอย่างนึง
เพื่อให้ขอบข่ายความรู้ขยายได้กว้างขึ้น
และมีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จด้านการลงทุนได้เร็วขึ้น
3.สุขภาพ
การวิ่งในระยะยาว ทำให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีไม่ต้องไปหาหมอบ่อยๆ
เหมือนกับการลงทุนถ้าเราเน้นลงทุนในระยะยาว มีการจัดasset classตาม
ความเหมาะสม ก็สามารถมีอิสระภาพในทางการเงินในโอกาสที่เหมาะสม
ทำให้สุขภาพทางการเงินดีขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพทางกายและใจด้วย
4.การแบ่งปัน
ผมเห็นว่าการจัดวิ่งแต่ละงานเป็นการแบ่งปันให้กับบุคคลอื่นที่ต้องการ
ความช่วยเหลือ และ ยังเป็นการช่วยเหลือสถานที่สาธารณ เช่น สวนลุม
ให้มีรายได้ในการปรับปรุงสถานที่ด้วย
ถ้าเราสามารถที่จะแบ่งปันในเรื่องความรู้ด้านการลงทุน
ก็จะช่วยเหลือนักลงทุนใหม่ที่พึ่งเข้าตลาดได้ส่วนนึง
โดยเราไม่ต้องหวังผลตอบแทน เพราะสุดท้ายเราก็เป็นผู้ได้รับประโยชน์
ทางอ้อมจากที่เราได้แบ่งปันไป ในส่วนตัวผม ก่อนการสรุปเนื้อหาสัมมนา
ก็มีการทบทวน ตรวจสอบ หาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งทำให้เราได้ความรู้มากขึ้น
โดยไม่ได้คิดมาก่อน

เวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ถ้าเราสามารถบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ
เราก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ถึงแม้เราจะทำงานประจำก็ตาม
มาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีกันนะครับ