อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
always24
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 854
ผู้ติดตาม: 10

อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล” / โดย : บากบั่น บุญเลิศ
http://www.thansettakij.com/content/192951

กลายเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่รู้จบว่า เศรษฐกิจไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างพรวดพราด

ผมไปดูดัชนีค่าเงินของรอยเตอร์เมื่อเทียบเคียงกับเงินดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคนี้พบว่า ตอนนี้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมากที่สุดเข้าไปแล้ว โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2560

ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 7.78%

เงินวอนของเกาหลีใต้ที่ว่าแข็งค่ามากนั้นตอนนี้แข็งค่าแค่ 7.37% เท่านั้น

เงินดอลลาร์ไต้หวันแข็งค่า 6.70%

เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่า 6.66%

ค่าเงินรูปีของอินเดียแข็งค่า 6.65%

เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่า 6.28%

เงินริงกิตมาเลเซียแข็งค่าแค่ 4.86%

เงินหยวนของจีนแข็งค่า 3.35%

เงินดอลลาร์ฮ่องกงอ่อนค่า 0.79%

เงินเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนค่าลง 0.85%

ค่าเงินบาทของไทยไปยืนหัวแถวในอัตราที่ถือว่าแข็งค่าเอามากๆ

แน่นอนว่า การแข็งค่าของค่าเงินบาทนั้นเป็นตัวสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจการคลังของประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะได้เปรียบในด้านการค้า

อย่าลืมว่า ไทยนั้นเป็นประเทศที่พึ่งพาด้านการส่งออก ถ้าพิจารณาจากยอดการส่งออกแค่เดือนละ 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 7.78% หมายถึงว่า เม็ดเงินที่ได้จากการค้าขายข้างนอกมาหล่อเลี้ยงการซื้อขายสินค้าภายในประเทศ จะหายไปทันทีเดือนละ 1,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อแปลงเป็นเงินสกุลบาทหมายถึงว่า เม็ดเงินที่ได้จากการค้าขายจะหายไปทันทีเดือนละ 48,770 ล้านบาท

เงินรายได้ที่หายไปจากค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้น มีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยไม่น้อยทีเดียว เงินก้อนนี้คือหน่วยที่สร้างการจ้างงาน การผลิตสินค้า และสร้างกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจอย่างแข็งขันและทรงพลัง

ใครอย่าริอ่านมาบอกชาวบ้านเชียวว่า นั่นคือ ค่าเงินที่หายไปทางบัญชี..มิได้มีผลทางเศรษฐกิจ

ผมเจาะข้อมูลลงไปเพิ่มเติมเพื่อดูว่าเงินบาทที่แข็งค่านั้นมาจากมูลเหตุเงินทุนไหลเข้าใช่หรือไม่ พบว่าเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) นับจากต้นปีมาถึงปัจจุบันมีเงินไหลเข้ามาแล้วรวม 4,558 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินก้อนนี้ไหลเข้ามาลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง เข้ามาลงทุนในธุรกิจบริการทางการเงิน และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้อีก 4,657 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ลงทุนในตลาดบอนด์ถึง 3,474 ล้านดอลลาร์ จะพบว่ามีเงินไหลเข้ารวม 9,215 ล้านดอลลาร์

อันนี้ยังไม่นับรวมเงินที่ทางกลุ่มธนาคาร CTBC จากประเทศไต้หวัน โอนเงินเข้าซื้อหุ้นบริษัท LH ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (LHBANK) จำนวน 16,595 ล้านบาท และเงินก้อนโตที่ทางบริษัทประกันภัย FWD นำเข้ามาสดๆ ร้อนๆ เพื่อจ่ายให้กับทางธนาคารทหารไทยในสัปดาห์นี้อีก 2 หมื่นล้านบาท

แต่เมื่อพิจารณาจากเม็ดเงินไหลออกของไทย ที่คนไทยนำไปลงทุนพบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือตกประมาณ 4.5 แสนล้านบาท

ไตรมาสแรกไหลออกสุทธิ 6,785 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไตรมาส 2 ไหลออกสุทธิอีก 6,893 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีเงินไหลออกสุทธิถึง 3,339 ล้านดอลลาร์ เงินทุนไหลออกไปลงทุนนอกประเทศมากกว่าเงินทุนไหลเข้า

ดังนั้น การกล่าวอ้างว่าเงินบาทที่แข็งค่ามาจากเงินทุนไหลเข้าจึงไม่ใช่คำตอบ...

แล้วคำตอบที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วอยู่ตรงๆ ไหน...

ผมไปตรวจสอบข้อมูลแล้วตกตะลึงพรึงเพริด เมื่อพบว่ายอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยนั้นก้อนโตมหาศาล โดยนับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาไทยเกินดุลมาตลอด โดยถึงตอนนี้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาแล้ว 23,522 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือตกประมาณ 787,987 แสนล้านบาท ตกประมาณ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีเข้าไปแล้ว

เฉลี่ยไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนละ 3,000 ล้านดอลาร์สหรัฐ เดือนมกราคมเพียงเดือนเดียวเกินดุลไปกว่า 5,416 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 181,436 แสนล้านบาท

ดุลบัญชีเดินสะพัด (current account balance) ที่บวกมากขนาดนี้มาจากไหน ก็มาจากดุลการค้าที่เป็นบวก เรามีรายได้จากการส่งออกมากกว่ารายจ่าจากการนำเข้าสินค้า เรามีรายได้จากภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยว บริการทางการเงิน และอื่นๆเข้ามามาก เรามีเงินโอน และเงินที่จ่ายแก่เจ้าของ เช่น ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่า และกำไรส่งกลับประเทศน้อย

ตรงนี้แหละครับที่เป็นโจทย์ชวนให้คิดกันว่า ที่เราเกินดุลนั้น เพราะเราไม่ลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช่หรือไม่….อย่าหลงระเริงกับการเกินดุลจนเกินไปนะครับ...

ที่เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ไม่ใช่เพราะส่งออกได้มากขึ้นนะครับ แต่เป็นเพราะการนำเข้าที่หดตัวอย่างรุนแรง ทั้งจากราคาน้ำมันที่ลดลง การชะลอตัวของการนำเข้าสินค้าเพื่อบริโภค การนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ลดลงไปตามการผลิตและการลงทุน

นี่คือปัจจัยที่ทำให้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแบบไม่คาดฝันใช่มั้ย....

และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเยอะๆ กำลังแปลว่า เรากำลังอยู่ในภาวะเงินออมล้นประเทศ เราใช้จ่ายในประเทศน้อยกว่าที่ประเทศหาได้ใช่หรือไม่….

คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อผมไม่รู้...ผมรู้แต่ว่าตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังบิดเบี้ยวพิลึก อัตราดอกเบี้ย 10 ปีของรัฐบาลไทย อยู่ในระดับ 1.7-1.8% ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย 10 ปีของสหรัฐเข้าไปแล้ว...มันเกิดอะไรขึ้น...
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

สิ่งที่น่ากลัวคือ
ตอนเข้ามาก็ทำการ Short ค่าเงินบาทแล้วก็ซื้อดอลล่าร์ไว้ ตอนขาออก
แล้วเอาเงินที่เข้ามา ยืมหุ้นมา Short แล้วก็ Buy back แล้วก็ออกไป
สังเกตว่า ช่วงนี้เงินแข็งแล้วเจอะเจอแบบนี้เลย
คือ ตลาดหุ้นลงด้วย พร้อมกับเงินแข็ง
ตอนจะเอาเงินออก ตลาดหุ้นดี ค่าเงินอ่อน แสดงว่าเงินร้อนเข้ามาเกร็งกำไร
:)
:)
tanatat
Verified User
โพสต์: 348
ผู้ติดตาม: 0

Re: อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เห็นคนเขียนมองในแง่ลบค่อนข้างมาก ผมว่า ลองมองว่า
1.เงินบาทแข็งขึ้น 7.78%เทียบกับต้นปี 2560 แต่จากต้นปีมาไม่ได้แข็งขึ้น 7.78%ตลอดการคิดความเสียหายมว่าไม่ค่อยถูกครับ
2.ลองมองในแง่การนำเข้าบางก็ได้ครับ สินค้าทุนหลายอย่าง น่าจะถูกลงทำให้ประเทศไม่น่าจะเสียหายมากตามที่คาด
ผมมองว่าการ บริหารการจัดการเงินที่เข้าและออก ต่างหาก ธปท.ต้องตั้งทีมดูว่าการแข็งค่าขึ้นมาจากตลาดหรือมาจาการเข้ามาเก็งกำไร หรือการพยายามของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในที่จะทำอะไรบ้างอย่างต้องเข้าไปสอบถาม การ take action ที่รวดเร็วและจริงจังของ รัฐบาลและ ธ.ชาติ จะส่งสัญญาณกับการเก็งกำไรในค่างเงินบาทให้หยุดได้ถ้าไม่ได้ต้องการมาทำอย่างอื่น
nu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 446
ผู้ติดตาม: 15

Re: อันตรายที่ซุกซ่อน “บาทแข็ง-เกินดุล”/ บากบั่น บุญเลิศ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

C/A จะเทียบได้กับ Saving - Investment
C/A ที่เกินดุลมหาศาล ก็พอจะบอกเป็นนัยๆ ได้อยู่แล้วว่าบ้านเราลงทุนไม่เพียงพอ, Domestic Demand น้อยเกินไป จนต้องไปใช้ Demand จากต่างประเทศ
โพสต์โพสต์