ศาสตร์แห่งความสุข/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1894
ผู้ติดตาม: 313

ศาสตร์แห่งความสุข/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์หรือคนเรานั้นไม่ใช่เงิน อำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ แต่คือ “ความสุข” สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนั้นแท้ที่จริงมันเป็นเพียง “หนทางหรือทางผ่าน” ที่อาจจะหรือมักจะนำไปสู่ความสุขเท่านั้น ความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้แต่มันคือความรู้สึกของเรา มันอยู่ในใจ มันเป็นอารมณ์ที่มีแต่ “เจ้าตัว” เท่านั้นที่จะบอกได้ ความสุขนั้นอยู่ตรงกันข้ามกับ “ความทุกข์” ที่ก็เป็นอีกหนึ่งอารมณ์ที่อยู่ในใจที่มีแต่เจ้าตัวเท่านั้นที่รู้สึกเอง ตามนิยามของท่านพุทธทาสภิกขุที่ผมเคยอ่านสมัยที่เคยบวชเป็นพระในช่วงวัยหนุ่ม ความทุกข์ก็คือสิ่งที่เราต้องทนและอยากจะหลีกเลี่ยง อยากจะไปให้พ้น ส่วนความสุขนั้นเป็นอะไรที่เราไม่ต้องทน เราอยากได้และอยากอยู่กับมันนาน ๆ ในยุคปัจจุบันที่ความรู้ด้านของชีววิทยาก้าวหน้ามากนั้น เรารู้ว่าความทุกข์และความสุขของมนุษย์นั้นมีรากฐานมาจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตผ่านยีนที่สร้างอารมณ์ทุกข์และสุขขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาตัวรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ ความสุขมีไว้เพื่อกระตุ้นให้เราอยากทำในสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีโอกาสรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นอารมณ์ใคร่กระตุ้นให้คนอยากมีเพศสัมพันธ์ซึ่งจะทำให้มี “ความสุข” และในที่สุดก็นำไปสู่การมีลูก

เราทำงานเพื่อหาทรัพยากรหรือเงินเพื่อที่จะได้มีอาหารกินซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขเพื่อที่เราจะได้รอดจากการอดตาย เวลาหิวเราจะเป็นทุกข์ซึ่งเราจะต้องทนและพยายามหลีกเลี่ยงก็โดยการรีบไปกินอาหารซึ่งจะก่อให้เกิดความสุข ความกังวลว่าพรุ่งนี้หรือเดือนหน้าหรือปีหน้าจะมีอะไรให้เรากินหรือใช้ไหมก็ทำให้เราเป็นทุกข์และก็เป็นแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจให้เราวางแผนและทำกิจกรรมที่จะทำให้เรามีเงินเพื่อเอาไว้กินหรือใช้ซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในอนาคต ดังนั้น ทั้งความสุขและความทุกข์ต่างก็เป็นอารมณ์ที่สำคัญมากที่ทุกคนต้องมี ถ้ามีอารมณ์แห่งความสุขหรือความทุกข์แต่เพียงอย่างเดียว เผ่าพันธุ์ของมนุษย์หรือสัตว์รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นก็คงอยู่ไม่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้น คนที่เกิดมาทุกคนในปัจจุบันนี้จึงมียีนที่ผลิตฮอร์โมนของความทุกข์และความสุขในอัตราส่วนที่พอเหมาะหรือเหมาะสมที่สุดที่จะทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์มีโอกาสอยู่ได้ยั่งยืนที่สุด แน่นอน แต่ละคนอาจจะมีระดับของฮอร์โมนแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างก็ไม่มาก และมันก็ขึ้นกับยีนของแต่ละคน บางคนโชคดีที่มียีนของคนที่มีความสุขมากกว่า ดังนั้น เขาก็อาจจะมีโอกาสมีความสุขมากกว่าคนอื่น อย่างไรก็ตาม ความสุขหรือทุกข์ยังขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ อีกมากในชีวิต ที่สำคัญและมีผลมากก็คือ การปฏิบัติหรือพฤติกรรมของเราที่อาจจะเอื้อให้เกิดความสุขมากกว่า เช่นเดียวกัน สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ก็มีผลสำคัญต่อระดับความสุขหรือทุกข์ที่เราจะได้รับในชีวิต

เรื่องของยีนและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสุขสูงนั้นบางทีเราก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก ผมจึงอยากจะพูดถึงวิธีหรือการปฏิบัติตัวที่จะช่วยเพิ่มความสุขที่เป็นสิ่งที่เราต้องการสูงสุดว่าควรจะทำอย่างไร สิ่งที่พูดนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ความคิดของผมเอง แต่มาจากการศึกษาเรื่องราวของ “ความสุข” จากผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่มีการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ถึงเรื่องของความสุขของคน ว่าที่จริงในขณะนี้เรารู้แม้กระทั่งว่าใครกำลังมีความสุขโดยการใช้เครื่องวัดที่นำมาครอบศีรษะคนที่ยอมให้ทดลอง ความสุขนั้นไม่ใช่เป็นเรื่อง “ในใจ” ของเจ้าตัวเท่านั้นอีกต่อไป ความสุขเป็นเรื่องของร่างกายที่เราสามารถรู้ได้ด้วยเครื่องตรวจวัดการทำงานของสมอง

เรื่องของความสุขนั้นกว้างและซับซ้อนมาก ผมจึงอยากเพียงแต่สรุปหลักการใหญ่ที่เป็นหัวใจของมัน ประเด็นแรกก็คือ ความสุขของคนน่าจะมีสองส่วนนั่นก็คือ ความสุขในระยะสั้นและความสุขในระยะยาว หน้าที่ของเราก็คือพยายามทำให้ “ภาพรวม” ของชีวิตเรามีความสุขมากที่สุด ความสุขในระยะสั้นก็คือ ความพึงพอใจที่เราได้รับในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าสิ่งที่เราทำนั้นสนุก ท้าทาย และเราประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เราก็จะมีความสุข บางทีการไม่ทำอะไรเลยเอาแต่นอนก็ทำให้มีความสุขได้ เช่นเดียวกัน การกินหรือดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือการเสพยาเสพติดก็เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสุขได้ แต่ความสุขเหล่านี้ก็มักจะเป็นความสุขสั้น ๆ หลังจากนั้นร่างกายก็ “ปรับตัว” กลับสู่ภาวะปกติ และในอนาคตก็อาจจะนำไปสู่ความทุกข์ได้

ความสุขในระยะยาวของคนนั้นขึ้นอยู่กับการที่เรา “บรรลุเป้าหมายที่มีความหมาย” ในชีวิตของเรา เป้าหมายที่มีความหมายของแต่ละคนก็แตกต่างกันแม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันอยู่ คนบางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของเงิน อำนาจ ชื่อเสียง การได้สร้างคุณูปการให้กับสังคมหรือคนอื่น บางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของการอุดหนุนเกื้อกูลศาสนาและการ “นิพพาน” ใครก็ตามที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เขาก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความสุขมากขึ้น

ประเด็นสำคัญก็คือ ความสุขในระยะสั้นนั้น บ่อยครั้งก็มักจะขัดกับเป้าหมายหรือความสุขระยะยาวซึ่งทำให้ความสุขโดยรวมของเรานั้นไม่ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น คนบางคนทำงานหนักมากและงานนั้นไม่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นงานที่ต้องทนทำ เป็นความทุกข์แต่เขาต้องทำเพื่อที่จะทำเงินให้มากเพื่อหวังที่จะรวยเพราะหวังที่จะได้รับความสุขในระยะยาว ซึ่งบางทีเมื่อรวยแล้วก็กลับพบว่าความสุขไม่ได้เกิดขึ้นจริง ความรวยอาจช่วยให้สามารถซื้อสิ่งของมาปรนเปรอตัวเองได้แต่มันก็เป็นเพียงความสุขสั้น ๆ ที่จะหายวับไปอย่างรวดเร็ว มันเป็นความสุขระยะสั้น ความสุขที่จะอยู่ “ยาว” ก็คือกระบวนการในการเดินทางสู่เป้าหมายที่มีความหมายในชีวิต ดังนั้น คำพูดที่ว่า ความสุขนั้นไม่ได้อยู่ที่เป้าหมาย แต่ความสุขคือการเดินทางสู่เป้าหมายนั้นผมคิดว่าเป็นคำพูดที่ถูกต้องแต่จะต้องเพิ่มอีกนึดหนึ่งว่าต้องเป็น เป้าหมายที่ “มีความหมาย” ด้วย

การที่จะทำให้ชีวิตเรามีความสุขเต็มที่ตามศักยภาพของตนเองนั้นก็คือ การพยายามทำให้กระบวนการเดินทางสู่เป้าหมายทุกอย่างนั้นก่อให้เกิดความพึงพอใจซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในระยะสั้นให้มากที่สุด และสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวมากที่สุด แน่นอน เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ทำอะไรที่เราไม่พึงพอใจเลย คนส่วนใหญ่อย่างน้อยก็ยังต้องทำงานบ้านเช่น ล้างถ้วยชามทำความสะอาดซึ่งอาจจะไม่เกิดความพึงพอใจ วิธีแก้ก็คือ “ทำใจ” ให้รู้สึกว่านี่เป็นเรื่อง “ผ่อนคลาย” คิดเสียว่าแม้แต่ บิล เกต เองก็ยังบอกว่าตนเองชอบล้างจาน เพราะมันคลายเครียดดี แต่สิ่งที่เราควรต้องตระหนักจริง ๆ ก็คือ เราจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรืองานที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจสูงและเป็นงานที่ต้องใช้เวลามาก ตัวอย่างเช่น งานประจำโดยเฉพาะงานที่เราต้องทำเพื่อหาเงินมาใช้ในชีวิตประจำวันและเก็บออมไว้ใช้ในอนาคต สิ่งที่เราควรทำก็คือ เราควรหางานที่เราทำแล้วรู้สึกสนุก ท้าทาย เป็นงานที่มีความหมาย ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนเป็นเงินที่ดีหรือยอมรับได้แม้ว่าอาจจะไม่ใช่งานที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด นี่จะทำให้เราทำอย่างมีความสุขและอยากไปทำงานทุกวัน และมันก็ยังสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวที่มีความหมายเช่น ความมั่นคงทางการเงิน เป็นต้น

งานหรือเป้าหมายที่มีความหมายเองนั้น หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นงานที่ต้อง “เสียสละ” ความสุขของตนเองให้เป็นความสุขของผู้อื่น นี่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะถ้าคุณต้องเสียสละ มันก็จะไม่ใช่สิ่งที่คุณพอใจ ถ้าคุณพอใจ คุณย่อมมีความสุข มันก็ไม่ใช่การเสียสละ มันเป็นเรื่องที่ได้กันทุกคนไม่มีคนเสีย

และนี่ก็คือเรื่องราวของความสุขแบบสั้นที่สุด ซึ่ง VI ควรจะต้องเข้าใจและต้องแสวงหากลยุทธ์ที่จะนำเราไปสู่ความสุขที่มากกว่า แทนที่จะเป็นเงินที่มากกว่า
miracle57
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

Re: ศาสตร์แห่งความสุข/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ศาสตร์แห่งความสุข / ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 30 เมษายน 2560
**********************
เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์หรือคนเรานั้นไม่ใช่เงิน อำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ แต่คือ “ความสุข” สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนั้นแท้ที่จริงมันเป็นเพียง “หนทางหรือทางผ่าน” ที่อาจจะหรือมักจะนำไปสู่ความสุขเท่านั้น ความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้แต่มันคือความรู้สึกของเรา มันอยู่ในใจ มันเป็นอารมณ์ที่มีแต่ “เจ้าตัว” เท่านั้นที่จะบอกได้ ความสุขนั้นอยู่ตรงกันข้ามกับ “ความทุกข์” ที่ก็เป็นอีกหนึ่งอารมณ์ที่อยู่ในใจที่มีแต่เจ้าตัวเท่านั้นที่รู้สึกเอง ตามนิยามของท่านพุทธทาสภิกขุที่ผมเคยอ่านสมัยที่เคยบวชเป็นพระในช่วงวัยหนุ่ม ความทุกข์ก็คือสิ่งที่เราต้องทนและอยากจะหลีกเลี่ยง อยากจะไปให้พ้น ส่วนความสุขนั้นเป็นอะไรที่เราไม่ต้องทน เราอยากได้และอยากอยู่กับมันนาน ๆ ในยุคปัจจุบันที่ความรู้ด้านของชีววิทยาก้าวหน้ามากนั้น เรารู้ว่าความทุกข์และความสุขของมนุษย์นั้นมีรากฐานมาจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตผ่านยีนที่สร้างอารมณ์ทุกข์และสุขขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาตัวรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ ความสุขมีไว้เพื่อกระตุ้นให้เราอยากทำในสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีโอกาสรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่นอารมณ์ใคร่กระตุ้นให้คนอยากมีเพศสัมพันธ์ซึ่งจะทำให้มี “ความสุข” และในที่สุดก็นำไปสู่การมีลูก

เราทำงานเพื่อหาทรัพยากรหรือเงินเพื่อที่จะได้มีอาหารกินซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขเพื่อที่เราจะได้รอดจากการอดตาย เวลาหิวเราจะเป็นทุกข์ซึ่งเราจะต้องทนและพยายามหลีกเลี่ยงก็โดยการรีบไปกินอาหารซึ่งจะก่อให้เกิดความสุข ความกังวลว่าพรุ่งนี้หรือเดือนหน้าหรือปีหน้าจะมีอะไรให้เรากินหรือใช้ไหมก็ทำให้เราเป็นทุกข์และก็เป็นแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจให้เราวางแผนและทำกิจกรรมที่จะทำให้เรามีเงินเพื่อเอาไว้กินหรือใช้ซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในอนาคต ดังนั้น ทั้งความสุขและความทุกข์ต่างก็เป็นอารมณ์ที่สำคัญมากที่ทุกคนต้องมี ถ้ามีอารมณ์แห่งความสุขหรือความทุกข์แต่เพียงอย่างเดียว เผ่าพันธุ์ของมนุษย์หรือสัตว์รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นก็คงอยู่ไม่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้น คนที่เกิดมาทุกคนในปัจจุบันนี้จึงมียีนที่ผลิตฮอร์โมนของความทุกข์และความสุขในอัตราส่วนที่พอเหมาะหรือเหมาะสมที่สุดที่จะทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์มีโอกาสอยู่ได้ยั่งยืนที่สุด แน่นอน แต่ละคนอาจจะมีระดับของฮอร์โมนแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างก็ไม่มาก และมันก็ขึ้นกับยีนของแต่ละคน บางคนโชคดีที่มียีนของคนที่มีความสุขมากกว่า ดังนั้น เขาก็อาจจะมีโอกาสมีความสุขมากกว่าคนอื่น อย่างไรก็ตาม ความสุขหรือทุกข์ยังขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ๆ อีกมากในชีวิต ที่สำคัญและมีผลมากก็คือ การปฏิบัติหรือพฤติกรรมของเราที่อาจจะเอื้อให้เกิดความสุขมากกว่า เช่นเดียวกัน สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ก็มีผลสำคัญต่อระดับความสุขหรือทุกข์ที่เราจะได้รับในชีวิต

เรื่องของยีนและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสุขสูงนั้นบางทีเราก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก ผมจึงอยากจะพูดถึงวิธีหรือการปฏิบัติตัวที่จะช่วยเพิ่มความสุขที่เป็นสิ่งที่เราต้องการสูงสุดว่าควรจะทำอย่างไร สิ่งที่พูดนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่ความคิดของผมเอง แต่มาจากการศึกษาเรื่องราวของ “ความสุข” จากผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่มีการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ถึงเรื่องของความสุขของคน ว่าที่จริงในขณะนี้เรารู้แม้กระทั่งว่าใครกำลังมีความสุขโดยการใช้เครื่องวัดที่นำมาครอบศีรษะคนที่ยอมให้ทดลอง ความสุขนั้นไม่ใช่เป็นเรื่อง “ในใจ” ของเจ้าตัวเท่านั้นอีกต่อไป ความสุขเป็นเรื่องของร่างกายที่เราสามารถรู้ได้ด้วยเครื่องตรวจวัดการทำงานของสมอง

เรื่องของความสุขนั้นกว้างและซับซ้อนมาก ผมจึงอยากเพียงแต่สรุปหลักการใหญ่ที่เป็นหัวใจของมัน ประเด็นแรกก็คือ ความสุขของคนน่าจะมีสองส่วนนั่นก็คือ ความสุขในระยะสั้นและความสุขในระยะยาว หน้าที่ของเราก็คือพยายามทำให้ “ภาพรวม” ของชีวิตเรามีความสุขมากที่สุด ความสุขในระยะสั้นก็คือ ความพึงพอใจที่เราได้รับในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ถ้าสิ่งที่เราทำนั้นสนุก ท้าทาย และเราประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เราก็จะมีความสุข บางทีการไม่ทำอะไรเลยเอาแต่นอนก็ทำให้มีความสุขได้ เช่นเดียวกัน การกินหรือดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือการเสพยาเสพติดก็เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสุขได้ แต่ความสุขเหล่านี้ก็มักจะเป็นความสุขสั้น ๆ หลังจากนั้นร่างกายก็ “ปรับตัว” กลับสู่ภาวะปกติ และในอนาคตก็อาจจะนำไปสู่ความทุกข์ได้

ความสุขในระยะยาวของคนนั้นขึ้นอยู่กับการที่เรา “บรรลุเป้าหมายที่มีความหมาย” ในชีวิตของเรา เป้าหมายที่มีความหมายของแต่ละคนก็แตกต่างกันแม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันอยู่ คนบางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของเงิน อำนาจ ชื่อเสียง การได้สร้างคุณูปการให้กับสังคมหรือคนอื่น บางคนอาจจะคิดถึงเรื่องของการอุดหนุนเกื้อกูลศาสนาและการ “นิพพาน” ใครก็ตามที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เขาก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความสุขมากขึ้น

ประเด็นสำคัญก็คือ ความสุขในระยะสั้นนั้น บ่อยครั้งก็มักจะขัดกับเป้าหมายหรือความสุขระยะยาวซึ่งทำให้ความสุขโดยรวมของเรานั้นไม่ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น คนบางคนทำงานหนักมากและงานนั้นไม่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นงานที่ต้องทนทำ เป็นความทุกข์แต่เขาต้องทำเพื่อที่จะทำเงินให้มากเพื่อหวังที่จะรวยเพราะหวังที่จะได้รับความสุขในระยะยาว ซึ่งบางทีเมื่อรวยแล้วก็กลับพบว่าความสุขไม่ได้เกิดขึ้นจริง ความรวยอาจช่วยให้สามารถซื้อสิ่งของมาปรนเปรอตัวเองได้แต่มันก็เป็นเพียงความสุขสั้น ๆ ที่จะหายวับไปอย่างรวดเร็ว มันเป็นความสุขระยะสั้น ความสุขที่จะอยู่ “ยาว” ก็คือกระบวนการในการเดินทางสู่เป้าหมายที่มีความหมายในชีวิต ดังนั้น คำพูดที่ว่า ความสุขนั้นไม่ได้อยู่ที่เป้าหมาย แต่ความสุขคือการเดินทางสู่เป้าหมายนั้นผมคิดว่าเป็นคำพูดที่ถูกต้องแต่จะต้องเพิ่มอีกนึดหนึ่งว่าต้องเป็น เป้าหมายที่ “มีความหมาย” ด้วย

การที่จะทำให้ชีวิตเรามีความสุขเต็มที่ตามศักยภาพของตนเองนั้นก็คือ การพยายามทำให้กระบวนการเดินทางสู่เป้าหมายทุกอย่างนั้นก่อให้เกิดความพึงพอใจซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขในระยะสั้นให้มากที่สุด และสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวมากที่สุด แน่นอน เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ทำอะไรที่เราไม่พึงพอใจเลย คนส่วนใหญ่อย่างน้อยก็ยังต้องทำงานบ้านเช่น ล้างถ้วยชามทำความสะอาดซึ่งอาจจะไม่เกิดความพึงพอใจ วิธีแก้ก็คือ “ทำใจ” ให้รู้สึกว่านี่เป็นเรื่อง “ผ่อนคลาย” คิดเสียว่าแม้แต่ บิล เกต เองก็ยังบอกว่าตนเองชอบล้างจาน เพราะมันคลายเครียดดี แต่สิ่งที่เราควรต้องตระหนักจริง ๆ ก็คือ เราจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรืองานที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจสูงและเป็นงานที่ต้องใช้เวลามาก ตัวอย่างเช่น งานประจำโดยเฉพาะงานที่เราต้องทำเพื่อหาเงินมาใช้ในชีวิตประจำวันและเก็บออมไว้ใช้ในอนาคต สิ่งที่เราควรทำก็คือ เราควรหางานที่เราทำแล้วรู้สึกสนุก ท้าทาย เป็นงานที่มีความหมาย ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนเป็นเงินที่ดีหรือยอมรับได้แม้ว่าอาจจะไม่ใช่งานที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด นี่จะทำให้เราทำอย่างมีความสุขและอยากไปทำงานทุกวัน และมันก็ยังสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวที่มีความหมายเช่น ความมั่นคงทางการเงิน เป็นต้น

งานหรือเป้าหมายที่มีความหมายเองนั้น หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นงานที่ต้อง “เสียสละ” ความสุขของตนเองให้เป็นความสุขของผู้อื่น นี่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะถ้าคุณต้องเสียสละ มันก็จะไม่ใช่สิ่งที่คุณพอใจ ถ้าคุณพอใจ คุณย่อมมีความสุข มันก็ไม่ใช่การเสียสละ มันเป็นเรื่องที่ได้กันทุกคนไม่มีคนเสีย

และนี่ก็คือเรื่องราวของความสุขแบบสั้นที่สุด ซึ่ง VI ควรจะต้องเข้าใจและต้องแสวงหากลยุทธ์ที่จะนำเราไปสู่ความสุขที่มากกว่า แทนที่จะเป็นเงินที่มากกว่า
โพสต์โพสต์