The Future Visions of Japan (Part 2)/ดร.ชาคริต สุวรรณโชติ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1894
ผู้ติดตาม: 313

The Future Visions of Japan (Part 2)/ดร.ชาคริต สุวรรณโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

กลางปี 2014 ผมได้เขียนหนึ่งบทความเกี่ยวกับ ความเป็นไปและมุมมองในอนาคตของประเทศญี่ปุ่น (http://wp.me/p20itO-ei) ช่วงนั้นดัชนีหุ้นนิคเคอิอยู่ที่ 15000 จุด ในขณะที่ค่าเงินเยนต่อดอลล่าห์สหรัฐอยู่ที่ราว 102 เยนต่อหนึ่งดอลล่าห์ อาทิตย์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นนิเคอิเพิ่งจะทะลุ 20000 จุด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 15 ปีของประเทศ และมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 120 เยนต่อหนึ่งดอลล่าห์ เทียบได้ว่า ค่าเงินเยนนั้นอ่อนลงราว 20% ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นราว 30% ซึ่งถ้าย้อนดูประวัติเมื่อ 15 ปีก่อนที่ดัชนีตลาดหุ้นเท่าๆกับตอนนี้จะเห็นค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินเยนต่อดอลล่าห์แทบจะเท่าๆ กับตอนนี้เช่นกัน

นายกอาเบะ พยายามอัดฉีดเงินเข้าระบบ รวมไปถึงการใช้นโยบายต่างๆ เพื่อผลักดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง การที่เงินเยนอ่อน ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่เน้นการส่งออกหรือมีตลาดอยู่ในต่างประเทศได้รับประโยชน์อย่างมาก เช่น ค่ายรถยนต์โตโยต้า หรือเทรดดิ้งเฟิร์มยักษ์ใหญ่ เช่น กลุ่มซูมิโตโม้ มิตซูบิชิ อิโตชู และอื่นๆ อีกมากมาย ส่งผลให้กำไรของบริษัทโตขึ้นไปตามลำดับ แต่สำหรับบริษัทขนาดกลางและเล็กกลับไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร ในทางกลับกัน บริษัทขนาดกลางและเล็กที่ปกติรับงานจากบริษัทขนาดใหญ่อีกต่อหนึ่ง กลับมีรายได้ที่น้อยลง เพราะบริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นเน้นการผลิตและการค้าในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้เองส่งผลให้บริษัทขนาดกลางและเล็ก หรือที่เราเรียกว่า SMEs ต้องมองหาทางออกโดย ออกไปทำธุรกิจในต่างแดนมากยิ่งขึ้น

รัฐบาลญี่ปุ่นมองเห็นแนวโน้มตรงนี้อย่างชัดเจน จึงออกนโยบายที่สนับสนุนบริษัท SMEs ของญี่ปุ่นให้ออกมาทำธุรกิจในต่างแดนได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินสนับสนุนผ่านหน่วยงานของรัฐที่ดูแลบริษัทในกลุ่ม SMEs โดยเฉพาะ เช่น SMRJ หรือผ่านส่วนราชการในแต่ละจังหวัดโดยตรง แน่นอนว่า เราจะเห็นว่ามีองค์กรของญี่ปุ่นหลายๆ องค์กรเข้ามาเปิดสำนักงานในประเทศไทยหรือประเทศในแถบอาเซียนมากขึ้น เพื่อช่วยดูแลบริษัทญี่ปุ่นขนาดกลางและเล็กที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนั้น เรายังเห็นข่าวมากมายเกี่ยวกับการที่องค์กรเหล่านี้เซ็นต์สัญญาเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานรัฐบาลของประเทศนั้นๆ หรือแม้แต่กับสถาบันการเงินก็ตาม

นอกจากนี้ ล่าสุด นายกอาเบะยังมีแนวคิดที่จะปรับกฏระเบียบต่างๆ รวมไปถึงสถานที่ เพื่อให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเขตอุตสาหกรรมพิเศษที่ช่วยลดภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทต่างชาติ หรือแม้แต่ออฟฟิสสำเร็จรูปสำหรับบริษัทต่างชาติ ซึ่งช่วยเอื้อต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุน ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ รัฐต้องสนับสนุน SMEs ญี่ปุ่นต้องออกไปหาโอกาสในต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเองไม่สามารถขยายตัวได้ดีนัก

ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาหลักๆ คือ คนแก่เยอะ และ ประชากรลดลง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญมากของประเทศญี่ปุ่นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ผมคิดว่าผู้นำญี่ปุ่นคงต้องคิดเยอะมาก และต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเอกชนภายในประเทศเช่นกัน 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทเอกชนต่างๆในประเทศญี่ปุ่น เปิดรับคนต่างชาติเข้าทำงานง่ายขึ้นและมากขึ้น แถมยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติเหล่านั้นสามารถก้าวขึ้นไปยังตำแหน่งสูงๆได้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อดึงดูดให้คนต่างชาติมาอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนานขึ้น หรืออาจจะปักหลักที่ประเทศญี่ปุ่นเลย ผมมองว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศ ล่าสุดแผนที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 8% เป็น 10% ก็ถูกเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากตัวเลขการบริโภคภายในประเทศนั้นออกมาไม่ดี แม้ว่าญี่ปุ่นยังมีมรสุมต่างๆอีกมากมายที่ต้องผ่านพ้น แต่อย่างน้อยตอนนี้นายกอาเบะถือว่าสอบผ่านในมุมมองของคนทั่วไป ถ้าเทียบกับผู้นำหลายๆคนที่ผ่านมา และญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่มีบริษัทที่มี เทคโยโลยีและ Knowhow ที่ล้ำยุคไม่แพ้ประเทศอื่นๆในโลก คนญี่ปุ่นเป็นคนที่รักชาติสูงมาก ผมเชื่อว่าเมื่อถึงเวลาวิกฤติ ทุกผ่านจะหันหน้าเข้าหากันเพื่อช่วยเหลือให้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆไปได้
[/size]
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: The Future Visions of Japan (Part 2)/ดร.ชาคริต สุวรรณโชต

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 193

Re: The Future Visions of Japan (Part 2)/ดร.ชาคริต สุวรรณโชต

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขออนุญาตนำ part 1 มาลงไว้นะครับ

The Future Visions of Japan (Part1)/ดร.ชาคริต สุวรรณโชติ

นายกอาเบะของญี่ปุ่นเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2012 นับจนถึงตอนนี้ผ่านไปเกือบจะสองปีแล้ว ถือว่าเป็นนายกสมัยหลังๆที่อยู่ในตำแหนีงค่อนข้างนานทีเดียว หลังจากนายกอาเบะเข้ารับตำแหน่ง ท่านใช้นโยบายผ่อนปรนการเงินอย่างเต็มที่ โดยตั้งเป้าเงินเฟ้อที่ 2% หลังจากที่ญี่ปุ่นประสบปัญหาภาวะเงินฝืดมาร่วมสิบปี นอกจากนั้นยังใหั BOJ ใช้นโยบายค่าเงินเยนอ่อน เพื่อกระตุ้นการส่งออก ผลที่ได้รับคือเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บริษัทยักษ์ใหญ่ที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก บริษัทค่ายรถยนต์ต่างๆ กลับมาประกาศกำไรอย่างล้นหลาม การใช้จ่ายในประเทศก็ปรับตัวดีขึ้น คนกล้าจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ร้านค้าปลีกต่างๆ โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อประกาศผลกำไรสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา บริษัทก่อสร้าง พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึง บริษัทให้เช่าอุปกรเกี่ยวกับการก่อสร้าง ต่างก็มีผลประกอบการปรับตัวดีขึ้น ดัชนีของตลาดหุ้นญี่ปุ่น ก็ปรับตัวขึ้นตามมาอย่างรวดเร็ว จากราว 9000 จุดช่วงสิ้นปี 2012 เป็น 15000 จุด หรือปรับขึ้นราว 70% ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี ค่าเงินเยนญี่ปุ่นก็ปรับตัวอ่อนลงอย่างรวดเร็วจากราว 80 เยนต่อดอลล่าห์เป็น ราว 102 เยนต่อดอลล่าห์ในปัจจุบัน ถือว่า อ่อนลงถึง 30% เลยทีเดียว

ผลงานของนายกอาเบะยังไม่ได้มีแค่นั้น ล่าสุดญี่ปุ่น ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิคในปี 2020 ซึ่งถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศและการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆทั่วโลกให้มากขึ้น การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิค ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของญี่ปุ่นในระยะยาวอึกด้วย
หลังจากที่นายกอาเบะได้รับความนิยมอย่างมาก นายกอาเบะก็ไม่รอช้าที่จะประกาศนโยบายเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 5% เป็น 8% โดยเริ่มตั้งแต่ เดือนเมษายนปี 2014 นี้เอง และยังมีแผนปรับเป็น 10% ภายในปี 2015 นี้อีกด้วย แม้ว่าประชาชนหลายๆกลุ่มจะคัดค้านนโยบายนี้ แต่ด้วยผลงานของนายกอาเบะ ทำให้ท้ายที่สุดนโยบายนี้ก็ถูกยอมรับ เพื่อเป็นต้นทุนในการพัฒนาประเทศในระยะยาว สิ่งที่ตามมาคือ อสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นนบูมขึ้นไปอีก คอนโดมิเนียมในเมืองใหญ่เริ่มขาดแคลน สร้างไม่ทันขาย รวมไปถึงออฟฟิสให้เช่ามีการปรับขึ้นราคาในรอบหลายๆปี ทำให้อุตสาหกรรมเกี่ยวกับโลจิสติกส์ การขนย้ายส่งของดีตามไปด้วย
โพสต์โพสต์