ตัวอย่างการ Write off ของสัมปทานมือถือ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

ตัวอย่างการ Write off ของสัมปทานมือถือ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

CASE นี้ขอยก CASE ของ DTAC ที่หมดสัมปทานปี 2561
1.2 สัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ หรือสัญญาสัมปทาน
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 บริษัทฯได้เข้าทำสัญญากับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (“กสท”) (ปัจจุบันการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนทุนเป็นหุ้นภายใต้ พรบ. รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เป็น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)) ในการที่จะดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ กสท บริษัทฯผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการภายใต้สัญญาสัมปทานดังกล่าวให้กับ กสท โดยไม่คิดมูลค่า ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มอันเกิดจากการโอนทรัพย์สินดังกล่าวจะเรียกชำระได้จาก กสท โดยบันทึกไว้เป็น “ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืนจาก กสท” ในงบแสดงฐานะการเงิน
บริษัทฯได้รับสัมปทานเป็นระยะเวลา 15 ปี และได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 โดยขยายระยะเวลาดำเนินการที่ได้รับสัมปทานเป็น 22 ปี และ 27 ปีตามลำดับ อัตราค่าบริการและค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการจะต้องได้รับการอนุมัติจาก กสท (ปัจจุบันต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช.”) (เดิมคือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กทช.”))) บริษัทฯผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาต่าง ๆ (เท่าที่ ไม่ขัดหรือแย้งกับ พรบ. โทรคมนาคมและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง) และจ่ายค่าธรรมเนียมตามสัญญาสัมปทาน
ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ตอบแทนรายปีซึ่งคำนวณจากร้อยละของรายได้จากการให้บริการตามสัญญาสัมปทานและต้องไม่ต่ำกว่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำในแต่ละปี อย่างไร ก็ตาม สัญญาไม่ได้ระบุให้ต้องจ่ายชำระผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรวมตลอดอายุของสัญญา อัตราร้อยละของรายได้จากการให้บริการและอัตราผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำในแต่ละปีเป็นดังนี้
อัตราผลประโยชน์ตอบแทนรายปีจากการให้บริการ
ปีที่ อัตราร้อยละของรายได้ต่อปี จำนวนขั้นต่ำต่อปี
(ล้านบาท)
1 - 4 12 22 ถึง 154
5 25 353
6 - 15 20 382 ถึง 603
16 - 20 25 748 ถึง 770
21 - 27 30 752 ถึง 1,200
บริษัทฯได้เริ่มดำเนินการให้บริการดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 และปัจจุบัน (กล่าวคือ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 ถึงเดือนกันยายน 2557) อยู่ในปีดำเนินการที่ 23 ซึ่งบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ กสท ที่อัตราร้อยละ 30 ของรายได้ต่อปี
5.6 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์/ค่าเสื่อมราคา
ที่ดินแสดงมูลค่าตามราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงมูลค่าตามราคาทุนหลังหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ (ถ้ามี) ราคาทุนดังกล่าวประกอบด้วย ราคาซื้อและต้นทุนที่เกี่ยวข้องอื่นเพื่อให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ ต้นทุนในการต่อเติมหรือปรับปรุงถือเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมถือเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของกำไรหรือขาดทุน
ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์คำนวณจากราคาทุนของสินทรัพย์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการ ให้ประโยชน์โดยประมาณของสินทรัพย์ดังต่อไปนี้
อาคาร 20 - 40 ปี
ส่วนปรับปรุงอาคารสำนักงานและสิทธิการเช่า 5 - 20 ปี
อุปกรณ์ใช้ในการดำเนินงานสนับสนุนการให้
บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ 5 ปี 7 ปี และอายุที่เหลือของสัญญาสัมปทาน
อุปกรณ์ใช้ในการดำเนินงานให้บริการโทรคมนาคม
ทางไกลระหว่างประเทศ 5 ปี
อุปกรณ์ใช้ในการให้บริการอินเตอร์เน็ต 5 ปี
ส่วนปรับปรุงอาคารสถานีรับส่งสัญญาณ 20 ปี
สินทรัพย์ถาวรอื่น 3 ปี และ 5 ปี
ค่าเสื่อมราคารวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน
ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดิน อาคารระหว่างก่อสร้าง งานระหว่างก่อสร้างและอุปกรณ์ระหว่างติดตั้ง
บริษัทฯและบริษัทย่อยตัดรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ออกจากบัญชี เมื่อจำหน่ายสินทรัพย์หรือคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใช้หรือการจำหน่ายสินทรัพย์ รายการผลกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ (ผลต่างระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์กับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น) จะรับรู้ในส่วนของกำไรหรือขาดทุนเมื่อบริษัทฯตัดรายการสินทรัพย์นั้นออกจากบัญชี
15 สิทธิการใช้อุปกรณ์รอตัดบัญชี
สิทธิการใช้อุปกรณ์รอตัดบัญชีโดยส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ของบริษัทฯภายใต้สัญญากับ กสท ตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 1.2 ซึ่งกรรมสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวที่เกี่ยวข้องจะตกเป็น ของ กสท นับแต่วันเริ่มเปิดให้บริการหรือเริ่มใช้เครื่องมือและอุปกรณ์นั้นในการดำเนินงานให้บริการ
ต้นทุนของเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายตั้งพักและตัดจำหน่ายภายในระยะเวลา ที่เหลือของสัญญาสัมปทาน

บริษัทฯได้ทำการประเมินการด้อยค่ามูลค่าตามบัญชีของต้นทุนเครื่องมือและอุปกรณ์รอตัดบัญชีและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้ในการให้บริการตามสัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ของบริษัทฯ (สัญญาสัมปทาน) โดยเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าตามบัญชีและมูลค่าที่คาดว่า จะได้รับคืนจากหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดดังกล่าว โดยใช้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนคำนวณจากมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ บริษัทฯได้ประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวภายใต้สมมติฐานว่าสัญญาสัมปทานสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2561 และคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบัน
จากผลการประเมินบริษัทฯรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่ารวมจำนวน 18,627 ล้านบาทในงบการเงินเฉพาะกิจการในส่วนของกำไรหรือขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 สำหรับค่าเผื่อการด้อยค่าของต้นทุนเครื่องมือและอุปกรณ์รอตัดบัญชีข้างต้นจำนวนเงิน 18,348 ล้านบาทและสำหรับค่าเผื่อการด้อยค่าของอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานสนับสนุนการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์จำนวน 279 ล้านบาท (ในหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมข้อ 14)
เคสนี้ยังเหลือ อีก31,686,637พันบาท แต่ระยะเวลาเหลือถึง ปี 2561
อันนี้ถือว่า Write off กันหนักเหมือนกัน เล่นเอา ขาดทุนไปเลยสำหรับงบเฉพาะกิจการ

ปล
ลองไปดูของ Advanc ว่ามี Write off ตัว 1800 ไปแล้วหรือเปล่า แล้วคำถามต่อ 900 ที่ถือครองแล้วกำลังหมดอายุ มันจะมี Write off หรือเปล่าสำหรับ Advanc

ส่วนของ True ก็เช่นกัน 1800ที่หมดอายุไปแต่ัยังย้ายลูกค้าไปไม่ครบ

งานนี้มันคือระเบิดเวลา ที่รอการ Write off ทางบัญชี
:)
:)
nu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 15

Re: ตัวอย่างการ Write off ของสัมปทานมือถือ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ตอบเท่าที่รู้ ไม่รับรองความถูกต้องนะครับ

1. AIS น่าจะทยอยตัด 1800 ไปหมดแล้ว เพราะสัมปทาน 1800 มันหมดอายุไปแล้ว
2. คลื่น 900 AIS ไม่น่าจะต้องตัดอะไรอีก เพราะทรัพย์สินที่ใช้ทำธุรกิจได้โอนให้ TOT ไปแล้ว
ที่ผ่านมา AIS ก็ทยอยตัดเหมือนตัดค่าเสื่อมตามอายุของสิทธิ์
Jirayu_JC
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตัวอย่างการ Write off ของสัมปทานมือถือ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถามพี่ miracle หน่อยครับ

ว่าทำไมเขาถึงรับรู้ด้อยค่าเฉพาะในงบเดี่ยวแต่ไม่รับรู้ในงบการเงินรวมด้วยหรอครับ :?:
arica
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1125
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตัวอย่างการ Write off ของสัมปทานมือถือ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ตัวอย่างการ Write off ของสัมปทานมือถือ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

nu เขียน:ตอบเท่าที่รู้ ไม่รับรองความถูกต้องนะครับ

1. AIS น่าจะทยอยตัด 1800 ไปหมดแล้ว เพราะสัมปทาน 1800 มันหมดอายุไปแล้ว
2. คลื่น 900 AIS ไม่น่าจะต้องตัดอะไรอีก เพราะทรัพย์สินที่ใช้ทำธุรกิจได้โอนให้ TOT ไปแล้ว
ที่ผ่านมา AIS ก็ทยอยตัดเหมือนตัดค่าเสื่อมตามอายุของสิทธิ์
อ่านหมายเหตุของ Adavnc ดีๆๆ
มี2-3 ข้อที่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ
หมายเหตุข้อ 12 ,13 และ 15
โดยเฉพาะข้อ 12 เงินลงทุนในบริษัทลูกและบริษัทย่อย
Advanc ซื้อบริษัท ดิจิตอล โฟน เงินประมาณ 12 พันล้านบาท
ตัดค่าด้อยค่า 8 พันล้านเหลือ 4 พันล้าน
งวดนี้ตัดด้อยค่า 216 ล้านบาท

ส่วนข้อ 13 มีเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องดูว่า เป็นอย่างไง
ส่วนข้อ 15 คือ เรื่องด้อยค่าความนิยม
มันต้องไล่เป็นข้อๆๆเหล่านี้จึงเห็นภาพว่า ตัดอย่างไง
:)
:)
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ตัวอย่างการ Write off ของสัมปทานมือถือ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

cha_cha เขียน:ถามพี่ miracle หน่อยครับ

ว่าทำไมเขาถึงรับรู้ด้อยค่าเฉพาะในงบเดี่ยวแต่ไม่รับรู้ในงบการเงินรวมด้วยหรอครับ :?:
ไล่ในหมายเหตุข้อ 15 สิทธิการใช้อุปกรณ์รอตัดบัญชี
ดูครับ
:)
:)
โพสต์โพสต์