บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น วีไอ กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
KIMBAAN
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จากภาวะผันผวนในตลาดหุ้นไทย วันนี้ดิฉันตัดสินใจโทร.คุยกับน้องมาร์ จากบล.แห่งหนึ่งในเมืองไทย ได้รับคำแนะนำให้ลงทุนกองทุนหุ้นยุโรป ในขณะที่ทางยุโรปแนะนำให้ดิฉันไปลงทุนต่างทวีป จึงขอข้อมูลทางฝั่งยุโรปมาช่วยประกอบในการตัดสินใจกับนักลงทุนท่านอื่นบ้าง ด้านล่างเป็นบทวิเคราะห์จากดอยซ์แบงค์ในเบลเยียมค่ะ


1. GDP โดยรวมปี 2014
เศรษฐกิจทั่วโลกมีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัดจากแรงกระตุ้นของเศรษฐกิจสหรัฐ ปีนี้ยูโรโซนจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้อตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก เห็นได้การเติบโตเชิงบวกอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ปี 2011 เยอรมนีเป็นหัวรถจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยมีตัวเลขการส่งออกประเทศของประเทศข้างเคียงเป็นตัวผลักดัน รวมถึงมาตรการเงินออมที่ผ่อนปรน (แค่หลุดจากติดลบได้ก็ดีใจจนน้ำตาไหล) **คหสต แนะนำให้จับตาดูปัญหาหนี้ของฝรั่งเศสเป็นพิเศษค่ะ

จีนจะกลับมาผงาดอีกครั้งหลังจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวเมื่อปี 2013 แรงบวกหลักคือตัวเลขการฟื้นตัวของภาคการส่งออก การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม และจากการปฏิรูปจากภาครัฐที่ผู้นำทางการเมืองให้ความสำคัญมากขึ้นเช่น กฎระเบียบการลงทุน การเปิดเสรีภาคการเงิน ฯลฯ หากมีสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางที่ตั้งไว้การตัวเลข GDP ของจีนจะเพิ่มขึ้นอีก 0.5% ต่อปี
ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาจะค่อยๆ โตตาม

ทางยุโรปยังให้ความสำคัญกับประเทศญี่ปุ่นโดยคาดว่าญี่ปุ่นจะสามารถเอาชนะภาวะเงินฝืดได้ในที่สุด

2. แม้ภาพการเมืองทั่วโลกจะวุ่นวายแต่แทบไม่มีนัยยะกับการปฏิรูปโครงสร้าง
สหรัฐฯ ผล QE ที่ผ่านมาเป็นสัญญาณดีต่อตลาดและสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก
ยุโรป ไม่มีอะไรน่ากังวล ถึงแม้จะมีปัญหาการเลือกตั้งในเบลเยียมและอิตาลี
กลุ่มประเทศ BIITS (Brazilië, India, Indonesië, Turkije, Zuid-Afrika) ที่ยุโรปให้ความสนใจในการลงทุน นักวิเคราะห์มองว่า การเลือกตั้งในปี 2014 แทบไม่มีผลต่อการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้เลย และชื่อว่าการเมืองจะไม่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

*** ยังเหลืออีก 8 ข้อ จะพยายามแปลให้อ่านไม่ยาก หากอ่านแล้วงงก็ขออภัยนะคะ ***
แนบไฟล์
ประเทศที่จะมีการเลือกตั้งในปี 2014 (ไทยเพิ่งยุบสภาฯ จึงไม่รวมอยู่ภาพ)
ภาพ GDP

KIMBAAN
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์ (ต่อ)

โพสต์ที่ 2

โพสต์

3. นโยบายดอกเบี้ย
นักวิเคราะห์สรุปว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะยังคงต่ำเรี่ยดินต่อไป โดยนโยบายการเงินของประเทศสหรัฐฯ จะแตกต่างจากประเทศในยูโรโซนและญี่ปุ่น

นักวิเคราะห์มองว่า "การเจริญเติบโตที่แข็งแกร่งต้องอาศัยนโยบายการเงินที่เข้มงวด" แม้ยังเป็นทฤษฎีบทที่จำกัดในการปรับใช้ แต่อาจมีการนำมาใช้ในมาตรทางการเงินของสหรัฐฯ อีกครั้ง และ Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ตำเรี่ยดินอย่างเข้มงวดไปอีกนาน

ในยูโรโซนมาตรการคงดอกเบี้ยต่ำของ ECB เป็นบริบทสำคัญที่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างต่ำ และมีอัตราเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อย

เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อที่ค่อยๆ ปรับตัวขึ้นมา ธนาคารชาติของญี่ปุ่นยังคงพยายามรักษานโยบายอัตราดอกเบี้่ย 0% และนโยบายอนปรนเชิงปริมาณต่อไปจนปลายปี 2014

4. ภาวะเงินค่าดอลล่าห์สหรัฐฯ ที่แข็งขึ้น
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาได้สักระยะนึงแล้วเมื่อเทียบกับเงินเยนญี่ปุ่น และค่าเงินในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก แต่เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรนั้นนักวิเคราะห์ให้เรารอดูหนังภาคต่อไป สืบเนื่องจาก Fed ใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวด ในขณะที่ ECB ยังคงใช้นโยบายผ่อนปรน ปล่อยให้ค่าเงินไหล....ไป (นึกถึงหน้าคุณอี๊ด วงฟลายไปด้วยนะคะ ^^)

ปัจจัยหลักคือ ปัจจุบันสหรัฐฯ ผันตัวจากผู้นำเข้าสุทธิ เป็นผู้ส่งออกสุทธิด้านพลังงานแปรรูปที่โดดเด่นในอีก 20 ปีข้างหน้า **คหสต ด้วยเหตุนี้ทาง EU จึงลงทุนกับพลังงานทางเลือกสูงขึ้นหลายเท่าตัว

อีกปัจจัยที่นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักคือ ตัวเลขการขาดดุลการค้าที่ปรับตัวลดลงจะเป็นปัจจัยบวกต่อเนื่องสำหรัรบสกุลเงินดอลล่าสหรัฐ และความได้เปรียบทางจีดีพีและอัตราดอกเบี้ยขอบสหรัฐ ทำให้การลงทุนในสกุลเงินดอดล่าห์สหรัฐฯ น่าสนใจมากขึ้นและสามารถดึงดูดเงินทุนได้เป็นอย่างมาก
แนบไฟล์
อัตราดอกเบี้ยย้อนหลังเทียบระหว่าง Fed และ ECB
กราฟคาดการณ์เงิน USD 2014

ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ อย่างนี้ก็น่าลงทุนในเมกามากกว่าสิครับ
ส่วนตัวยังคงให้ความสนใจจีนและอาเซียนเป็นพิเศษ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
KIMBAAN
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ อย่างนี้ก็น่าลงทุนในเมกามากกว่าสิครับ
ส่วนตัวยังคงให้ความสนใจจีนและอาเซียนเป็นพิเศษ
สวัสดีค่ะคุณ anubist

นักลงทุนฝั่งยุโรปยังคงะมัดระวังกับการลงทุนในสหรัฐฯ เพราะ 5 ปีมานี้เจ็บตัวกันเยอะ ธนาคารในเบลเยียมบางแห่งถึงขั้นล้มละลาย ดีหน่อยก็ถูกต่างชาติเทคโอเวอร์ไปจากวิกฤต U.S. subprime mortgage crisis และการล้มละลายของเมืองดีทรอยต์

ปัจจุบันทางยุโรปให้ความสนใจกับการลงทุนในจีน บราซิลและตุรกีเป็นพิเศษค่ะ
ปี 2012 ประเทศเบลเยียมมีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นมากที่สุดในยุโรปจากวิกฤติการเงินยุโรป
ปี 2013 คนเบลเยียมส่วนใหญ่ยอมให้เงินกว่า "แสนล้านยูโร" จมอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่ดอกเบี้ยต่ำเรี่ยดิน ทั้งๆ 3 ไตรมาสนี้ตลาดหุ้นที่ยุโรปให้ผลตอบดีทีเดียว

***วันอาทิตย์จะโพสต์บทวิเคราะห์ที่เหลืออีก 6 ข้อค่ะ***
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 23

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ลงทุนในยุโรปอาจต้องระวังเรื่องภาษีนะครับ โดยเฉพาะหลังรวมกันเป็น EU แล้วกฎหมายภาษีในแต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน บริษัทในฝรั่งเศสก็ไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และอีกหลายๆประเทศได้ แต่ในแต่ละประเทศนั้นมีระบบภาษีที่ยังแตกต่างกันอยู่แม้จะพยายามรวมเป็น EU แล้ว

ยกตัวอย่างว่า หากบริษัทที่จดทะเบียนในเยอรมันมีผลกำไร 100 ยูโร บริษัทเสียภาษี 30 ยูโรทำให้เหลือจ่ายผู้ถือหุ้น 70 ยูโร ในเยอรมนีนั้นรายได้จากการถือหุ้นจะถือว่าต้องเสียภาษีบุคคลด้วย (แม้จะเสียภาษีนิติบุคคลไปแล้ว) ทำให้ต้องเสียภาษีอีก 25% และเสียภาษีช่วยเหลือการรวมประเทศเยอรมันตะวันตก-ตะวันออกอีก ทำให้รวมๆแล้วผุ้ถือหุ้นจะได้รับเงินแค่ประมาณ 52 ยูโรเท่านั้น

นอกจากนี้หากหุ้นขึ้น แล้วได้กำไรจากส่วนต่างการของราคาหุ้น กำไรจากส่วนต่างนี้เองก็ต้องเสียภาษี Capital Gain Tax อีก ซึ่งในกรณีของเยอรมนีนั้นในหนึ่งปีภาษีสามารถขอเครดิต 801 ยูโรแรกคืนได้ เป็นกฏใหม่ที่ใช้ตั้งแต่ปี 2012

ขณะที่หุ้นเดียวกันเป๊ะ ขายอยู่ที่อีกประเทศนึง รายได้ที่ได้กลับไม่ต้องเสียภาษีส่วนต่างราคาหุ้น

ดังนั้นถ้าจะซื้อก็ต้องพิจารณาว่าซื้อที่ตลาดหลักทรัพย์ประเทศไหนเราได้ผลประโยชน์ทางภาษีสูงสุด ซึ่งกฎหมายภาษีพวกนี้ยังไม่ลงตัว ปรับเปลี่ยนกันเป็นรายปีครับ หากรายย่อยคิดจะลงทุนตรงนี้ต้องเปรียบเทียบเรื่องภาษีด้วยครับ
Vi IMrovised
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ถ้าเราเป็นคนเบลเยียม เราจะซื้อหุ้นที่เสียภาษีหรือเราจะฝากเงินกับธนาคารที่มีดอกเบี้ยถูก
ถ้าเราเป็นคนเยอรมัน เราจะซื้อหุ้นที่เสียภาษีหรือเราจะฝากเงินกับธนาคารที่มีดอกเบี้ยถูก
ภาษีกับโอกาสการลงทุนหุ้นที่ดีและราคาถูก ผมว่าภาษีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่รับรู้ได้และยอมรับได้
ได้ยินว่าดร.ก้องเกียรติได้กำไรมากๆๆๆจากหุ้นBMW555
ขอเฝ้ารออ่านบทวิเคราะห์ตอนต่อไปครับ
ขอบคุณครับ
Chaoyang
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เรื่องภาษี ผมว่าเราสามารถตั้ง SPV ที่ Amsterdam ในการหลีกเลี่ยงได้ไม่มากก็น้อย ข้อเสียคือไม่เหมาะกับพอร์ตบุคคลธรรมดา เพราะมีค่าใช้จ่ายเรื่องทนายเยอะ
zentrade
Verified User
โพสต์: 19
ผู้ติดตาม: 0

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ดอยช์แบงค์ มองดีจัง
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เรื่องของค่าเงิน $ แข็งค่านั้น
ผมมองย้อนไป ว่า $ แข็งค่าเพราะลด QE ลง
Yen ที่อ่อนค่าคือ Double QE
ส่วน EU ที่อ่อนค่าคือ ทำ QE เหมือนกัน

ทำ QE คือ การแปลงกระดาษเป็นเงิน โดยมีความเชื่อมั่นของประเทศที่ออก เป็นค้ำประกัน

Key อีกตัวคือ US กำลังเปลี่ยนจากประเทศที่นำเข้าพลังงานเป็นประเทศที่ส่งออกพลังงาน
ตัวนี้ไปกดดัน จีน ที่นำเข้าพลังงาน แต่ตัวเองมีแหล่งถ่านหิน
:)
:)
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: บทวิเคราะห์ในการลงทุน 2014 จากดอยช์แบงค์

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ลิทัวเนียร่วมยูโรโซน

วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 22:45:22 น.matichon online

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ประเทศลิทัวเนีย กลายเป็นประเทศภูมิภาคยุโรปประเทศที่ 19 ที่เข้าร่วมกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร หรือยูโรโซน อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา นับความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดเสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ แม้ว่าจะมีความกังวลว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อและปัญหาหนี้สิ้นของกลุ่มประเทศในยูโรโซนก็ตาม

โดยลิทัวเนีย กลายเป็นประเทศในภูมิภาคทะเลบอลติกประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมกลุ่มประเทศยูโรโซนต่อจากเอสโตเนีย และลัตเวียที่เข้าร่วมเมื่อปี 2554 และปี 2557 ทั้งนี้ล่าสุดมีประชาชนชาวยุโรปจำนวน 337 ล้านคนที่ใช้เงินสกุลยูโร
โพสต์โพสต์