รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 841

โพสต์

กระทู้เรื่อง "case study13.1 ประมูลโรงไฟฟ้เอกชน (IPP)"
ที่ http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=40033
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 842

โพสต์

ไทยเร่งถกเขมรเคลียร์พื้นที่ทับซ้อนร่วมใช้ก๊าซทางทะเล-เสริมมั่นคงพลังงาน
Source - ข่าวสด (Th), Friday, January 11, 2013

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา 26,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อจะนำ ก๊าซธรรมชาติในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ในทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะนำมาเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย จากที่กำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติในไทยปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดแล้วที่ประมาณ 3,600-3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ความต้องการก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประเมินว่าการรักษาระดับการผลิตสูงสุดจะทำได้เพียง 5 ปี โดยกรมตั้งเป้าหมายจะรักษาระดับผลิตสูงสุดให้ได้ 10 ปี โดยจะต้องลงทุนขุดเจาะสำรวจในแหล่งก๊าซขนาดเล็ก หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะลดลงเหลือเพียงประมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า

"การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร เป็นกฎหมายคนละฉบับ โดยกฎหมายทางทะเลที่แต่ละฝ่ายอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ดังกล่าว ขั้นตอนการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอยู่ระหว่างรอกระทรวงการต่างประเทศเจรจา เพื่อนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ซึ่งหลังจาก 2 ประเทศเปิดให้สัมปทานคาดว่าจะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี จึงจะสามารถนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ได้ ซึ่งการเจรจาเป็นส่วนที่รัฐบาลจะต้องนำความรู้สึกของประชาชนมาใช้ประกอบการตัดสินใจด้วย" นายทรงภพกล่าว

ทั้งนี้ ไทยมีความต้องการก๊าซธรรมชาติเพิ่มไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี โดยความต้องการใช้สูงสุดเป็นการนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า คิดเป็นสัดส่วน 62.6% มีการใช้ในภาคอุตสาหกรรม 17.7% ใช้ในรถยนต์ 5.2% ใช้ในโรงแยกก๊าซ 13.9% และหากไม่สามารถจัดหาแหล่งผลิตเพิ่มเติมเข้ามาได้หลังปี 2565 ไทยจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี ประมาณ 20 ล้านตันต่อปี ส่วนในปี 2555 ไทยมีสัมปทานปิโตรเลียมรวม 76 แปลง มีรายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียม 160,000 ล้านบาท โดยขณะนี้กรมได้เจรจากับโรงกลั่นต่างๆ เช่น บางจาก และ ไออาร์พีซี เพื่อนำน้ำมันดิบที่ส่งออก 30,000 บาร์เรลต่อวันกลับมากลั่นใช้ในประเทศ ซึ่งจะทำให้ปริมาณส่งออกเหลือเพียง 13,000 บาร์เรลต่อวันในปลายปีนี้

นายทรงภพกล่าวว่า จากผลการดำเนินงานด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ไทยได้รับรายได้โดยตรงจากการประกอบกิจการในประเทศ รวมทั้งสิ้นประมาณ 146,000 ล้านบาท สูงกว่าปี 2554 ประมาณ 7% ที่จัดเก็บได้ 135,600 ล้านบาท

โดยแบ่งเป็นค่าภาคหลวงราว 60,000 ล้านบาท ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมราว 82,000 ล้านบาท และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 4,000 ล้านบาท โดยค่าภาคหลวงที่จัดเก็บได้ส่วนหนึ่งจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในพื้นที่ที่มีการผลิตปิโตรเลียมและพื้นที่อื่นทั่วประเทศ รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 4,500 ล้านบาท ในส่วนของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย รัฐบาลได้รับรายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียม ราว 15,800 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนนี้นำส่งกระทรวงการคลังทั้งหมด

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 843

โพสต์

เร่งศึกษาก.ม.ใหม่ต่อสัญญาก๊าซกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหวั่นก๊าซในอ่าวไทยหายกว่าครึ่ง
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, January 12, 2013

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เร่งศึกษากฎหมายใหม่ หวังต่อสัญญาก๊าซในอ่าวไทยให้เชฟรอน-ปตท.สผ. หลังหมดอายุสัญญาภายในปี 2565 เผยหากไม่ดำเนินการปริมาณก๊าซของประเทศหายไปกว่าครึ่ง เพราะกฎหมายระบุห้ามต่อสัมปทานให้อีก ยันต้องทำแผนจัดหาเชื้อเพลิงระยะยาว การผลิตก๊าซลดลงทุกปี โดยต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนในการเปิดสัมปทานรอบ 21

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกรณีที่แปลงสัมปทาน แหล่งปลาทองของบริษัท เชฟรอน ประ เทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และแหล่งบงกช ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานภายในปี 2565 หลังจากขอต่ออายุสัมป ทานมาครั้งหนึ่งแล้วเป็นระยะเวลา 10 ปี หากจะต่ออายุอีกครั้ง กฎหมายปิโตร เลียมระบุว่าไม่สามารถดำเนินการได้

"กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเห็นว่า แม้ภายในปี 2565 แหล่งปลาทองของเชฟรอนจะหมดอายุสัมปทานแล้ว แต่คาดว่าจะยังมีปริมาณสำรองประมาณ 4-6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตก๊าซอยู่ที่ 1.2 พันล้านลูก บาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ในส่วนของแหล่งบงกชของ ปตท.สผ. ก็จะมีปริมาณสำรองก๊าซใกล้เคียงกัน แต่ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขได้ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ ปตท.สผ. ดำเนินการขุดเจาะสำรวจเพิ่มเติมภายใน 2 ปีนี้ เพื่อให้ทราบปริมาณสำรองที่ชัดเจน"

ดังนั้น ในแง่ของการจัดหาก๊าซจึงมีความจำเป็นที่จะนำปริมาณสำรองก๊าซที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการขาดแคลนก๊าซในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษากฎหมายใหม่ เพื่อพิจารณาว่าผู้รับสัมปทานเดิมสามารถ ดำเนินการต่อได้หรือไม่ เพราะทั้ง 2 แหล่ง มีกำลังการผลิตก๊าซคิดเป็นประมาณ 50% ของปริมาณการผลิตก๊าซทั้งประ เทศที่ 3.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

นายทรงภพ กล่าวอีกว่า การที่ต้องเร่งศึกษาข้อกฎหมายใหม่นี้ ทั้งที่อายุของสัมปทานทั้ง 2 แหล่งยังเหลืออีก 9 ปี เนื่องจากการศึกษากฎหมายใหม่ต้องใช้ระยะเวลานาน ขณะเดียวกันหากไม่เจรจากับผู้รับสัมปทานเดิมแต่เนิ่นๆ จะทำให้ผู้รับสัมปทานเดิมจะไม่ลงทุนในช่วง 5 ปีสุดท้ายของอายุสัมปทาน จะส่งผลให้ปริมาณก๊าซขาดแคลน และกระทบต่อภาคการผลิตไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ในต่างประเทศก็มีกรณีดังกล่าวให้เห็น เมื่อเปลี่ยนผู้รับสัมปทานเป็นรายใหม่ ทำให้ก๊าซในระบบขาดแคลนได้

สำหรับสถานการณ์การผลิตเชื้อเพลิง ยืนยันว่าปริมาณก๊าซในอ่าวไทยจะยังมีอยู่ที่ช่วง 10-20 ปีข้างหน้า แต่ปริมาณจะลดลง จากปัจจุบันผลิตได้ 3.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าจะสามารถอยู่ระดับปัจจุบันได้อีก 5 ปีข้างหน้า แต่หลังจากนั้นกำลังการผลิตจะเหลือประมาณ 1-2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเท่านั้น ดังนั้นตามแผนจัดหาเชื้อเพลิงระยะยาว กรมได้เตรียมหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ เพิ่ม ขณะเดียวกันก็พัฒนาแหล่งเล็กๆ ให้มีการผลิตมากขึ้น โดยเน้นเทคโนโลยีขุดเจาะที่ทันสมัย เพื่อรักษาระดับการผลิตให้ใกล้เคียงกับปัจจุบัน

"กรณีอายุสัมปทานของเชฟรอนและ ปตท.สผ. จะหมดภายในปี 2565 กรมได้ตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการอย่างไรไม่ให้ปริมาณสำรองสะดุด ขณะเดียวกันการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ก็ต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงการต่างประ เทศ เพราะหากมีความชัดเจนจะเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซของไทยอีก 20-30 ปี เนื่องจากเชื่อว่าแหล่งดังกล่าวจะมีปริมาณสำรองก๊าซจำนวนมาก นอกจากนี้การเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็เป็นเรื่องจำเป็น ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างการทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่สัมปทาน แบ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลง และในอ่าวไทยอีก 5 แปลง"

ทั้งนี้ในรอบปี 2555 ประเทศไทยจัดหาปิโตรเลียมได้คิดเป็น 43% ของความต้องการใช้พลังงานในประเทศ โดยในส่วนของก๊าซมีความต้องการใช้ 4.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สามารถจัดหาภายในประเทศได้ 2.9 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย 750 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่วนที่เหลือนำเข้าจากพม่า1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และนำเข้าเป็นรูปแบบแอลเอ็นจี 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้ไทยยังจัดหาก๊าซแอลเอ็นจีในอัตราเฉลี่ย 9 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และน้ำมันดิบอีก 1.5 แสนบาร์เรลต่อวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 844

โพสต์

ปตท.ปั้นบริษัทโกลบอลฯรุกธุรกิจไฟฟ้าเต็มรูปแบบ
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, January 12, 2013

ปตท.ปั้นบริษัทโกลบอลฯ เดินหน้าธุรกิจไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิต 6 เท่าตัว เป็น 6,000 เมกะวัตต์ภายใน ปี 2565 ลุยขยายกำลังผลิตจากเชื้อเพลิงทุกรูปแบบ ตั้งแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ลงทุนโรงไฟฟ้านอกประเทศ ส่วนการขยายกำลังผลิตในประเทศขอศึกษาข้อกฎหมายก่อน

วานนี้ ( 11 ม.ค. )บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงการควบรวมกิจการบริษัท ระหว่างบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด (PTTUT) และบริษัทผลิตไฟฟ้าอิสระ(ประเทศไทย) จำกัด (IPT) เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จในเดือนม.ค.นี้

ตามเอกสารที่ยื่นมานั้น ปตท. ระบุว่า การควบกิจการบริษัท PTTUT และ IPT ดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยบริษัทควบรวมแห่งใหม่อยู่ภายใต้ชื่อบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด หรือ จีพีเอสซี มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 8,630 ล้านบาท และปตท.จะมีสัดส่วนการถือหุ้น ในสัดส่วนในบริษัทแห่งใหม่นี้ที่ 30.10 %

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เผยว่า การควบรวมกิจการข้างต้น มีเป้าหมายอยู่ที่การรวบรวมโรงไฟฟ้า ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายภายในกลุ่มปตท. มารวมให้เป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อทำให้มีเป้าหมายในการดำเนินงานอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และสร้างโอกาสเติบโตในธุรกิจไฟฟ้า

"ปตท.จะให้บริษัทโกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจไฟฟ้าอิสระ ทั้งในรูปของโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพี และรายเล็ก หรือเอสพีพี พร้อมสร้างโอกาสในการลงทุนต่างประเทศ โดยจะไม่จำกัดชนิดของเชื้อเพลิง แต่จะเป็นบริษัทที่มีความพร้อมในการขยายกำลังผลิตทุกเชื้อเพลิง ทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานหมุนเวียน" นายสุรงค์ กล่าว

ทั้งนี้ ปตท.ตั้งเป้าที่จะขยายกำลังผลิตให้ได้ 6,000 เมกะวัตต์ภายใน 9 ปีหรือภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่มีกำลังผลิต 1,357 เมกะวัตต์ จากการควบรวมไอพีที ขนาด 700 เมกะวัตต์ และพีทีทียูที กำลังผลิต 338 เมกะวัตต์ และมีกำลังผลิตไอน้ำ 1,340 ตันต่อชั่วโมง หรือรวมเป็น 657 เมกะวัตต์

ตั้งเป้าจัดกลุ่มโรงไฟฟ้า

ในเรื่องของแผนการลงทุนนั้น บริษัทอยู่ระหว่างการร่างแผน และจัดทำยุทธศาสตร์ ซึ่งในช่วงปีแรกของแผน จะมุ่งเน้นไปในเรื่องการจัดกลุ่มโรงไฟฟ้าให้เป็นหน่วยงานเดียวกัน และรวมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ในธุรกิจไฟฟ้าที่อยู่กระจัดกระจายให้มาอยู่รวมกัน วางมาตรฐานของการดำเนินธุรกิจใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดที่กระชับขึ้น และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระยะยาวเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันบริษัทดังกล่าวอยู่ภายใต้ธุรกิจก๊าซฯของปตท. แต่จะมีการจัดโครงสร้างใหม่ต่อไป เพื่อให้กิจการไฟฟ้าของปตท. และบริษัทในเครือที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทภายนอก รวมถึงที่มีแผนจะขยายการลงทุนเองในอนาคต ได้อยู่ภายใต้ชื่อและการบริหารจัดการของบริษัทโกลบอล เพาเวอร์ทั้งหมด

จากนั้นจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป โดยบริษัทนี้จะเป็นธงนำของปตท.ในกิจการไฟฟ้าทั้งในและนอกประเทศ ส่วนการผลิตและเข้าประมูลโรงไฟฟ้าในประเทศนั้น จะต้องขอดูเงื่อนไขทางกฎหมายก่อนว่าทำได้หรือไม่

"สำหรับสถานะของบริษัทนั้นจะไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ โดยปตท.จะถือหุ้นต่ำกว่า 50 %" นายสุรงค์ กล่าว และว่า เริ่มแรกมีวัตถุประสงค์ต้องการจัดโครงสร้างภายในก่อน แต่อนาคตหากมีโอกาสก็จะขยายการลงทุน เนื่องจากปตท.มี value chain ที่ครบถ้วน ทั้งก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน

ขณะเดียวกัน ก็มีโอกาสดึงพันธมิตรกับธุรกิจไฟฟ้าทั้งในและนอกประเทศมาร่วมลงทุนแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่และโอกาส เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น

เล็งดึงกฟผ.ร่วมผลิตไฟฟ้า

ด้านนายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ของปตท. กล่าวว่าการควบรวม 2 บริษัทครั้งนี้ เพื่อทำให้การบริหารธุรกิจไฟฟ้าของปตท.มีทิศทาง และสร้างพลังร่วมได้มากขึ้น

ส่วนแผนในระยะยาวของบริษัทโกลบอลฯ จะเน้นการลงทุนโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยหาโอกาสที่จะดึงพันธมิตรในประเทศไปลงทุนร่วมกัน อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยจะไม่จำกัดประเภทเชื้อเพลิง สามารถเพิ่มกำลังผลิตได้ทั้งเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือพลังน้ำ รวมถึงพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ

ส่วนตลาดในประเทศจะต้องพิจารณาข้อกฎหมายต่างให้ชัดเจนก่อน เพื่อป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ เนื่องจากปตท.เป็นผู้จำหน่ายก๊าซฯ ส่วนโมเดลการลงทุน ยังต้องใช้เวลาศึกษาระยะหนึ่งก่อน

"การควบรวมกันเป็นบริษัทจีพีเอสซี จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้าง Power Flagship ที่เป็นแกนหลักในธุรกิจไฟฟ้า ของกลุ่มปตท. โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นำในการลงทุน ดำเนินการ และพัฒนาโครงการไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ" นายชาครีย์ กล่าว

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 845

โพสต์

ผุดคลัง-ท่าเรือรับก๊าซLNG ปตท.เตรียมลงทุน4หมื่นล.
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, January 12, 2013

ปตท.เตรียมลงทุน 3-4 หมื่นล้านบาท ผุดคลัง-ท่าเรือรองรับก๊าซแอลเอ็นจีเฟส 2 เพิ่มอีก 5 ล้านตัน เผยความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มต่อเนื่อง เสนอกพช.อนุมัติในเร็วๆ นี้ ฟาก "เฮียเพ้ง" ระบุความต้องการใช้พลังงานในปีนี้เติบโต 5.4% ขณะที่ยอดใช้ไฟฟ้าโต 5-6% มั่นใจรักษาสถานการณ์ไฟฟ้าของประเทศได้

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรม การผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐ กิจ" ว่า จากความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เพิ่มขึ้น ดังนั้นกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ ปตท. ศึกษาพื้นที่เพื่อก่อสร้างคลังและท่าเรือรองรับแอลเอ็นจีระยะที่ 2 สามารถรองรับการ นำเข้าแอลเอ็นจีได้อีก 5 ล้านตัน จากปัจจุบันรองรับอยู่ 10 ล้านตัน คาดว่าน่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท มากกว่าคลังแอลเอ็นจีเฟสแรกที่มาบตาพุด เพราะจะต้องหาสถานที่ก่อ สร้างแห่งใหม่ และขึ้นอยู่กับความยากง่ายของพื้นที่ด้วย

ทั้งนี้แผนลงทุนดังกล่าวจะเข้าเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในเร็วๆ นี้ โดยมองว่าการลงทุนคลังดังกล่าวเป็นแผนรองรับความมั่นคงด้านพลังงานของประ เทศไทย และรองรับความต้องการก๊าซที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาก๊าซในประ เทศไม่เพียงพอ และมีแนวโน้มสำรองในอ่าวไทยจะลดลง

"ขณะนี้ ปตท.ศึกษาแผนลงทุนคลังรองรับนำเข้าแอลเอ็นจีเฟส 2 ซึ่งต้องศึกษาพื้นที่ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3-4 ปี อย่างไรก็ตามเห็นว่าการใช้ก๊าซในการผลิตไฟฟ้ามีความปลอดภัยและปล่อย มลพิษน้อย เมื่อเทียบกับถ่านหิน"

สำหรับความคืบหน้าแผนขยายลงทุนธุรกิจก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อขยายสถานีบริการเอ็นจีวีเพิ่ม โดยเฉพาะสถานีตามแนวท่อ ซึ่งปัจจุบันความต้องการใช้ก๊าซเอ็นจีวีเติบโต 40% จากปีก่อน แสดงให้เห็นว่าปัญหาเกี่ยวกับก๊าซเอ็นจีวีในปัจจุบัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณสถานีบริการไม่เพียงพอ เพราะปั๊มเอ็นจีวีตามแนวท่อยังรอง รับการบริหารไม่เต็ม 100% ส่วนจะลง ทุนอย่างไรนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาแผนลงทุนดังกล่าว

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในปี 2556 คาดว่าจะยังเติบโตต่อเนื่องในระดับที่ 5.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือมีการใช้พลังงานรวม 2.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ ทั้งนี้เนื่องจากจะมีการใช้พลังงานสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5-5.5%

"ในส่วนของความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้ คาดว่ามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มเบนซิน คาดว่าจะมียอดใช้อยู่ที่ประมาณ 21.9 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 2 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ยอดการใช้ดีเซล คาดว่าจะอยู่ที่ 57.5 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.6% โดยประมาณการราคาน้ำมันเฉลี่ยในปีนี้ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 108-113 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับปี 2555 เฉลี่ยอยู่ที่ 109.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล"

สำหรับความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) คาดว่าในปีนี้จะเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการใช้เพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน ซึ่งคาดว่าการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้น 7.4% ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2.5% ภาคขนส่งเพิ่มขึ้น 6.9% และยอดการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) จะมีการใช้เพิ่มขึ้น 7.6%

ส่วนความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีนี้ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยยอดใช้ไฟฟ้าจะโตประมาณ 5-6% หรือเพิ่มขึ้นประ มาณ 1.4-1.5 พันเมกะวัตต์ เทียบกับความต้องการใช้ในปี 2555 ที่อยู่ระดับ 2.677 หมื่นเมกะวัตต์ มั่นใจว่ากระทรวงจะสามารถดูแลสถาน การณ์ไฟฟ้าของประเทศได้ ปัจจุบันไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าได้กว่า 3 หมื่นเมกะวัตต์

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 846

โพสต์

กตเวทิตาในพระบารมี 30 ปีแหล่งน้ำมันสิริกิติ์
Source - บ้านเมือง (Th), Saturday, January 12, 2013

แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ครบรอบ 30 ปีการผลิต ในวันที่ 12 มกราคม 2556 ปตท.สผ. จะจัดงาน "กตเวทิตาในพระบารมี 30 ปีแหล่งน้ำมันสิริกิติ์" ขึ้นในวันที่ 11 มกราคม 2556เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม "สิริกิติ์" ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาประดิษฐานเป็นชื่อแหล่งน้ำมันดิบบกบกขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

นับตั้งแต่ ปี 2524 ที่บริษัท ไทยเชลล์ เอ็กซพลอเรชั่น แอนด์ พลอดักชั่น จำกัด ได้ค้นพบน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ และเริ่มผลิตน้ำมันดิบเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปี 2525 และได้ดำเนินการผลิตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยวันละ 18,000 บาร์เรล

ปตท.สผ. สามารถพิสูจน์ศักยภาพ ในการเป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของไทย ที่สามารถพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ ในการผลิตจากเดิมเฉลี่ยวันละ 18,000 บาร์เรล จนถึงระดับสูงสุด ที่ 35,176 บาร์เรล เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 847

โพสต์

พลังงานหนุนปตท.สผ.ลงทุนในสหรัฐฯ
Source - ไทยโพสต์ (Th), Monday, January 14, 2013


กรมเชื้อเพลิงธรรม ชาติ หนุน ปตท.สผ.ลงทุนแหล่งเชลล์แก๊สที่สหรัฐอเมริ กา หวังนำเข้าแอลเอ็นจีเพื่อเสริมความมั่นคงทางด้านพลัง งานในประเทศ

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า กรมเชื้อเพลิงธรรม ชาติได้ประสานงานในส่วนของ รัฐบาล เพื่อที่จะช่วยให้บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (ปตท.สผ.) เข้าไปลง ทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แหล่งน้ำมันในชั้นหินดินดาน (เชลล์ออยล์) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่ามีปริมาณสำรองก๊าซ ธรรมชาติชั้นหินดินดานไม่น้อยกว่า 500 ล้านล้านลูกบาศก์ ฟุต รวมทั้งเริ่มเจรจานำเข้า ก๊าซแอลเอ็นจีจากสหรัฐอเม ริกา ในปริมาณ 2-3 ล้านตันต่อปี จากปัจจุบันที่ ปตท. มีสัญญาซื้อขายก๊าซแอลเอ็นจี กับทางประเทศกาตาร์แต่เพียงรายเดียว

"การแสวงหาโอกาสในการลงทุนด้านปิโตรเลียมในสหรัฐอเมริกา จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศไทย จากที่ก่อนหน้านี้ทางกรมฯ ได้มีบทบาทในการประสานงานกับรัฐบาลประเทศโมซัมบิก ในการช่วยให้ ปตท.สผ. เข้าไปถือหุ้นในแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมผ่านทางบริษัท โคฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด มาแล้ว" นายทรงภพ กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 2555 ไทยมีความต้องการใช้ก๊าซธรรม ชาติประมาณ 4,800 ล้านลูก บาศก์ฟุตต่อวัน เป็นการจัดหาในประเทศเฉลี่ย 2,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอีก 750 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้า ในรูปแบบแอลเอ็นจี อีกประ มาณ 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในขณะที่ศักยภาพการ ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ภายในประเทศ และพื้นที่พัฒ นาร่วมไทย-มาเลเซีย จะรักษาระดับการผลิตไว้ที่ระดับ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ได้เพียงประมาณ 5 ปีข้างหน้านี้ หรืออย่างมากที่สุดก็จะยืดระยะเว ลาไปได้ถึง 10 ปี.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 848

โพสต์

คอลัมน์: แวดวงลงทุน&อุตสาหกรรม
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, January 12, 2013
[email protected]


ข่าวดีสำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับวงการพลาสติก ล่าสุดสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) และกลุ่ม ปตท. จัดงาน "งานประชุมสัมมนาและงานแสดงนิทรรศการนานาชาติด้านพลาสติกชีวภาพ : InnoBioPlast 2013" ขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระดับนานาชาติที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพตั้งแต่ระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมไปถึงมุมมองทางด้านการตลาด และการลงทุนของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในประเทศไทยจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก พร้อมนำไปสู่การลงทุน ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพต่อไป

ป่าวประกาศให้ทราบทั่วกันบีโอไอจัดกิจกรรมดีๆ อีกครั้ง ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2556 นี้ จะนำผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่สนใจ ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน และเยี่ยมชมกิจการผลิตพลังงานทดแทนและอุตสาหกรรมเกษตรที่ได้รับส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-บุรีรัมย์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ เกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการลงทุนในอนาคต โดยวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 ยังมีกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ "ส่งเสริมการลงทุนเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค" มีตัวแทนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา และหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงนักธุรกิจ และนักลงทุนในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นับเป็นกิจกรรมแรกของปีมะเส็งสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่โทรศัพท์ 0-2553-8111 ต่อ 6175 6176 และ 6210

ด้านวันชัย เหลืองวิริยะ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) หรือ AKP ผู้ประกอบธุรกิจบริหารศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม บางปู จ.สมุทรปราการเตากำจัดกากอุตสาหกรรมอันตรายที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมแห่งเดียวในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ประกาศพร้อมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 84 ล้านหุ้น โดยจะขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG จำนวนไม่เกิน 21 ล้านหุ้น และที่เหลือ 63 ล้านหุ้น เสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปโดยกำหนดราคาเสนอขายที่ 2.00 บาท/หุ้น จะเปิดขายให้กับประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2556 และคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ประมาณวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายว่า "AKP"
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 849

โพสต์

KSL ชูโรงไฟฟ้า-เอทานอลเด่น การันตีปีนี้ธุรกิจในลาว-กัมพูชาไม่ขาดทุนแน่นอน [ข่าวหุ้น, 14 ม.ค. 56 ]

"น้ำตาลขอนแก่น" คงรายได้ปีนี้ยืน 2.2 หมื่นล้านบาท ปริมาณการผลิตทรงตัว ลุ้นปีนี้ได้ 8 ล้านตัน
อ้อย พร้อมชูโรงไฟฟ้าและเอทานอลปีนี้โตเด่น เชื่อธุรกิจในลาว-กัมพูชาไม่ขาดทุนและดีกว่าปีก่อน 2 เท่า
โบรกฯเชียร์ซื้อเป้า 16.8 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 850

โพสต์

SPGC ยื่นไฟลิ่งตั้งกองทุนเดือนนี้ เชื่อเปิดขายไม่เกิน Q2 - ลุยสร้างโรงไฟฟ้าในพม่า [ ข่าวหุ้น, 14 ม.ค. 56 ]

SPGC เตรียมยื่นไฟลิ่งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 5,000 ล้านบาทต่อ ก.ล.ต. ภายในเดือนนี้
คาดรู้ผลภายใน 1-2 เดือน ส่งซิกขายไม่เกินครึ่งปีแรก ประเดิมทุ่มงบ 150 ล้านบาท สร้างโรงไฟฟ้าแห่ง
แรกในพม่า เดือนพ.ค. 56
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 851

โพสต์

PTTบุกพม่าขุดก๊าซแหล่งใหม่ 'PTTGC-TOP' เทคนิคแกร่ง [ ทันหุ้น, 14 ม.ค. 56 ]

PTT เตรียมลงทุนพม่าปีนี้ หวังขุดก๊าซธรรมชาติจากแหล่งซอติกา (Zotica) แหล่งพลังงานในทะเล
แห่งใหม่ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตวันละ 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต แถมควบรวมกิจการไฟฟ้าสำเร็จ หนุนผลงานมั่น
คง ด้านโบรกชี้การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน และการเพิ่มขึ้นของน้ำมันดิบหนุนราคาหุ้นในปี 2556 แนะ
"ซื้อ" เป้า 380 บาท ส่วน PTTGC-TOP เทคนิคแกร่ง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 852

โพสต์

PTTEPยอดขายตามนัด
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, January 15, 2013

กำไรกระฉูด5หมื่นล้าน

PTTEP กำไรปี 2555 ทะยาน 53,000 ล้านบาท ยอดขาย-ยอดผลิตเข้าเป้า ขณะที่ปีนี้ยันเติบโตไม่หยุด โครงการบงกชผลิตเต็มปี 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มอนทาราจ่อเดินเครื่องไตรมาสนี้ กลุ่ม PTT ประกาศลงทุน 1.1 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี

นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานงวดปี 2555 ที่ผ่านมา ในเบื้องต้นทางบริษัทยังคงสามารถทำได้ตามที่เคยกำหนดไว้ทั้งในส่วนของยอดขายและยอดการผลิตโดยรวม

ขณะที่ทิศทางธุรกิจในงวดปี 2556 ได้ประเมินยอดการผลิตเติบโตขึ้นอีกประมาณ 10% (แบบบวกลบ) จากงวดปี 2555 ซึ่งมีปัจจัยผลักดันสำคัญมาจากการเริ่มเดินเครื่องโครงการผลิตมอนทาราคา และการรับรู้ยอดการผลิตเต็มทั้งปีของโครงการบงกชใต้ที่บริษัทได้เดินเครื่องไปแล้ว

ทั้งนี้ PTTEP ได้เคยประเมินยอดการผลิตงวดปี 2555 ไว้ที่ระดับ 3แสนบาร์เรลต่อวัน และมียอดขายเฉลี่ย 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกทำรายได้รวมไปแล้วทั้งสิ้น 158,745 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจำนวน 43,547 ล้านบาท

นางสาวเพ็ญจันทร์ กล่าวเสริมอีกว่า สำหรับโครงการบงกชในขณะนี้สามารถเดินเครื่องผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลิตก๊าซธรรมชาติได้เฉลี่ยรวมทั้งโครงการ 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แบ่งเป็นโครงการบงกชเหนือ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และบงกชใต้ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ส่วนความคืบหน้าโครงการมอนทารา ประเมินว่า จะสามารถเดินเครื่องได้ภายในช่วงปลายไตรมาสแรกของปี 2556 เพียงแต่การที่บริษัทจะสามารถเริ่มผลิตได้ช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก เนื่องจากในปัจจุบันยังต้องอยู่ภาวะของมรสุม ขณะที่โครงการซอติก้า เอ็ม 9 ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ แต่มั่นใจว่าสามารถเริ่มทำการทดสอบระบบการผลิตได้ภายในช่วงปลายปีนี้อย่างแน่นอน พร้อมกับเดินเครื่องผลิตได้ช่วงต้นปีหน้า

สำหรับทิศทางราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ของ PTTEP จะอิงตามราคาน้ำมันดิบ โดยหากราคาน้ำมันดิบของดูไบท์ยังคงเคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะส่งผลให้ราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 64เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ด้านต้นทุนการผลิตอย่างเช่น ค่าภาคหลวงจะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นตามยอดขาย แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อทางบริษัท เพราะตามปกติค่าภาคหลวงจะปรับเพิ่มขึ้นตามยอดขายอยู่แล้ว

ด้านข้อมูลรายงานยอดการผลิตในเว็บไซต์ PTTEP เปิดเผยว่า สำหรับโครงการบงกชเริ่มมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดตั้งแต่ช่วงกลางปี 2555 เป็นต้นมา โดยในไตรมาส 2 บงกชเหนือผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 570 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มีคอนเดนเสท 19,320 บาร์เรลต่อวัน และบงกชใต้ผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 138 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คอนเดนเสท 5,130 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่ในไตรมาส 3 โครงการบงกชเหนือผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 627 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มีคอนเดนเสท 23,038 บาร์เรลต่อวัน และบงกชใต้ผลิตก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 328 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน มีคอนเดนเสทเพิ่มเป็น 10,900 บาร์เรลต่อวัน

ด้านบทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด ระบุว่า มีโอกาสปรับประมาณการของ PTTEP ปี 2555 เพิ่มหลังจากมีความเป็นไปได้ที่กำไรไตรมาส 4 จะดีกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า เนื่องจาก PTTEP จะปรับราคาก๊าซในรอบเดือน ต.ค. 55 สูงกว่าที่ประเมินไว้อย่างมีนัยสำคัญ จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่สามารถยืนระดับสูงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ระดับราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ปรับเพิ่มกว่า 7–10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน

ขณะที่ปริมาณขายปิโตรเลียมคาดว่าจะใกล้เคียงกับ 3 ที่จำนวน 2.9 แสนบาร์เรลต่อวัน ทำให้กำไรสุทธิ 4 คาดอยู่ในกรอบ 14,000–15,000 ล้านบาท และส่งผลให้กำไรสุทธิรวมทั้งปี 2555 จะดีกว่าที่ประเมิน 8-10% จากเดิมที่คาดไว้จำนวน 53,495 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนที่ได้ 44,748 ล้านบาท

อีกทั้งปัจจัยบวกจากการปรับราคาก๊าซในรอบเดือนต.ค. 55 หากมีนัยสำคัญเพียงพอ อาจทบทวนประมาณการงวดปี 2556 ด้วยเช่นกัน แต่บนประมาณการเดิมยังมีโอกาสเติบโตมากถึง 15% จากปีก่อน โดยประเมินราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ในปีนี้ไว้ที่ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คาดกำไรสุทธิ 70,381 ล้านบาท แนะนำ “ซื้อ” ปัจจุบันการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำมี PER อยู่ที่ 10 เท่า เมื่อเทียบกับธุรกิจ E&P (Exploration and Production) ในภูมิภาคที่มี PER อยู่ที่ 17 เท่า กำหนดราคาเป้าหมาย 177 บาท

กลุ่มPTTทุ่ม1.1 ล้านล้านลงทุน5 ปี

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ภายในช่วงปี 2556-2560 ในระดับ 1.1 ล้านล้านบาท โดยจำนวนกว่า 50% จะเป็นการลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้น ทาง PTT เองจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ทางกลุ่ม PTT ยังมองเป้าหมายถึงการเข้าลงทุนในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยประเทศหลักที่จะมีการลงทุน คือ พม่า อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย อีกทั้งยังศึกษาแผนลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ในอเมริกาเหนือ และแคนาดา

สำหรับทางกลุ่ม PTT ยังได้วางเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทในระดับโกลบอล ซึ่งหากบริษัทไทยไม่ออกไปนอกประเทศ เมื่อถึงเวลาเปิด AEC จะมีบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแทน ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยไม่กล้าออกไปลงทุน จะส่งผลให้การแข่งขันกับต่างประเทศลำบาก

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 853

โพสต์

คชก.เบรกงบแทรกแซงปาล์มเพิ่มแสนตัน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, January 15, 2013

คชก.เคาะซื้อปาล์มเพิ่ม 5 หมื่นตัน วงเงิน 1.3 พันล้านบาท หวังดูดซับกำลังผลิตออกจากตลาด ดันราคาสูงต่อเนื่อง ด้านปตท.ช่วยรับซื้อซีพีโอ 10,000 ตัน ขณะที่กระทรวงพลังงานกดดันค่ายรถยนต์หาทางผลิตดีเซลบี 7 ขอเวลา JAMA ให้คำตอบภายใน 1.5 เดือน

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) (วานนี้ 14 ม.ค.) ว่า ได้อนุมัติงบประมาณในการแทรกแซงน้ำมันปาล์มดิบ (ซีพีโอ) เพิ่มเติมอีก 5 หมื่นตัน ในราคากิโลกรัม (กก.) ละ 25 บาท ใช้วงเงินประมาณ 1,380 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการรับซื้อและค่าบริหารจัดการ ซึ่งต่ำกว่าที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ได้อนุมัติให้ซื้อเพิ่ม 1 แสนตัน เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้สถานการณ์ราคาปาล์มเริ่มดีขึ้น และราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ คชก.ยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดูแลการระบายน้ำมันปาล์มดิบที่รับซื้อเข้ามา โดยมีแนวทางในการระบาย ด้วยการนำไปผลิตเป็นน้ำมันปาล์มบรรจุขวด โดยให้โรงกลั่นน้ำมันปาล์มรับผิดชอบในการผลิต และให้จำหน่ายในราคาไม่เกินขวดละ 42 บาท รวมถึงการนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล บี100 หรือ นำน้ำมันปาล์มดิบไปใช้แทนน้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้า รวมทั้งให้พิจารณาเพื่อผลักดันส่งออก เนื่องจากราคาตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสถานการณ์ราคาปาล์มขณะนี้ตลาดมาเลเซียอยู่ที่ กก.ละ 20 บาท ขณะที่ไทยราคาเฉลี่ยที่กก.ละ 23 บาท โดยหากรัฐบาลระบายสต๊อกในขณะนี้จะเผชิญกับภาวะขาดทุนทันที คาดว่าราคาจะดีขึ้นในช่วง กลางมี.ค.เป็นต้นไป ส่วนราคาจะถึงระดับกก.ละ 25 บาทหรือไม่ขึ้นอยู่กับตลาดในขณะนั้น สำหรับน้ำมันปาล์มในตลาดคาดว่า มีอยู่มากกว่า 2 แสนตัน ขณะที่การความต้องการใช้เฉลี่ยที่ 1 แสนตันในแต่ละเดือน

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน และรัฐวิสาหกิจได้หารือภายในเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อหาแนวทางดูดซับปริมาณซีพีโอ ที่ล้นระบบ โดยบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ตกลงจะรับซื้อซีพีโอ 10,000 ตัน เพื่อนำมาผลิต บี 100 จำนวน 10 ล้านลิตร ส่วนผู้ค้ารายอื่นยังไม่ได้แจ้งความจำนง ขณะเดียวกันได้หารือกับค่ายรถยนต์ เพื่อเพิ่มส่วนผสมการใช้บี 100 เพื่อนำไปผสมเป็นดีเซล บี 7 จากปัจจุบัน บี 5 เพื่อนำซีพีโอไปใช้มากขึ้น อย่างไรก็ตามตัวแทนของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหรือ JAMA (Japan Automobile Manufacturers Association) ระบุในเบื้องต้นว่า ค่ายรถยนต์รับรองการใช้ในระดับ บี 5 เท่านั้น

ดังนั้นจึงขอให้หาแนวทางใช้บี 7 โดย JAMA ระบุว่า ขอเวลา 1 เดือนครึ่ง เพื่อให้คำตอบกลับว่าหากจะให้ใช้บี 7 จะต้องมีการปรับปรุงเครื่องยนต์และอุปกรณ์ประกอบอย่างไร

ทั้งนี้เมื่อปลายเดือนธ.ค. 2555 ที่ผ่านมา นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ โดยได้กำหนดแนวทางการลดสต็อกซีพีโอ 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. นำไปผสมน้ำมันดีเซลมากขึ้นจากเดิมกำหนดผสมในระดับ 5 % หรือบี 5 เป็น 6-7 % โดยให้กระทรวงพลังงานมาหารือกับค่ายรถยนต์อีกครั้ง 2. ประสานไปยังโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้ใช้น้ำมันบี 100 หรือไบโอดีเซลแทนน้ำมันเตา

ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด และ 3. ช่วยเหลือกลุ่มผู้ส่งออกโดยการอำนวยความสะดวกในการส่งออกได้มากขึ้น

พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังได้ติดตาม ปัญหาการขาดแคลนของสต็อกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไปพร้อมกันด้วย โดยมอบหมายให้กรมการค้าภายในสำรวจประสิทธิภาพการจัดเก็บผลปาล์มไม่ให้เกิดภาวะสต็อกน้ำมันปาล์มให้อยู่ในภาวะสมดุล โดยไม่ให้เกิดปัญหาล้น หรือขาดแคลนมากเกินไปในอนาคต โดยให้ยึดหลักการให้มีน้ำมันเพียงพอสำหรับการบริโภค

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 854

โพสต์

MDX แรงในรอบ 2 เดือน ลุ้นบันทึกรายได้ขายที่ดิน-โรงไฟฟ้าโตพรวด
ข่าวหุ้น, วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 เวลา 11:08:16 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MDX ณ เวลา 11.02 น.อยู่ที่ระดับ 8.45 บาท บวก 0.45 บาท หรือ 5.62% ราคาหุ้นปรับตัวแรงในรอบ 2 เดือน นับตั้งแต่หุ้นปรับตัวอยู่ที่ระดับ 8.40 บาท เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 55

บล.เอเชีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ฯแนะนำหุ้น MDXในฐานะที่เป็นหุ้นเล็ก ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดีมากอีกบริษัทหนึ่ง ทั้งนี้แม้จะเป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อขาย “นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้" ตั้งอยู่ที่ จ.ฉะเชิงเทรา แต่ได้ขยายฐานธุรกิจไปยังโรงไฟฟ้า ทำให้รายได้ และ กำไรมีความมั่นคงมากขึ้น โดยกำหนดมูลค่าที่เหมาะสมของ MDX ที่ PER 8 เท่า ซึ่งต่ำที่สุดในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จะให้มูลค่าเหมาะสมที่ 11.88 บาท

ทั้งนี้ หากพิจารณาโครงสร้างรายได้ของ MDX ในปี 2555 พบว่ามาจากยอดขายที่ดิน 900 ล้านบาท และสถานะสิ้นปี 2555 MDX มีที่ดินที่พัฒนาแล้วรอขาย 300–400 ไร่ และที่ดินรอพัฒนาอีก 900 ไร่ นอกจากนี้ยังมี Backlog ที่รอโอนฯอีก 70–80 ล้านบาท (ราคาขาย 2.7 ล้านบาท/ไร่) ซึ่งคาดว่าจะทำให้ MDX สามารถบันทึกรายได้จากการขายที่ดินประมาณ 590–600 ล้านบาทในงวดปี 2556

ส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้า ซึ่ง MDX ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (น้ำเทิน-หินบูน) 20% และ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางบ่อ 32% โดยในปี 2556 คาดว่า MDX จะบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 295 ล้านบาทในปี 2555 มาเป็น 625 ล้านบาท

เนื่องจากกำลังการผลิตส่วนเพิ่มของโรงไฟฟ้า น้ำเทิน-หินบูน 290 MW (จากเดิม 210 MW เป็น500MW) เริ่มสร้างรายได้ตั้งแต่ต้นปี 2556 องค์ประกอบดังกล่าวน่าจะทำให้กำไรของ MDX เพิ่มขึ้น 35.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 706 ล้านบาท หรือ 1.49 บาท/หุ้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 855

โพสต์

ดันรง.เอทานอลช่วยรับซื้อหัวมันปตท.ขานรับ-บางจากดูต้นทุนก่อนขึ้นราคาน้ำมัน
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, January 16, 2013


พาณิชย์ดึงกระทรวงพลังงานพยุงราคาหัวมันสดให้โรงงานเอทานอลรับซื้อ 2.50 บาท/กก. จากเดือน ม.ค.-มี.ค. 1.6 ล้านตัน ผู้ค้าน้ำมันทั้ง ปตท.-บางจากรับลูกพร้อมซื้อเอทานอลแพงขึ้น 2-3 บาท/ลิตร

ผู้สื่อข่าวประชาชาติรายงานว่า ใน การประชุมคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง 2555-2556 เมื่อเร็ว ๆ นี้ตัวแทนกระทรวงพาณิชย์กับตัวแทนกระทรวงพลังงาน ได้ประสานให้โรงผลิตเอทานอลเข้ารับซื้อหัวมันสำปะหลังสดเท่าราคารัฐบาลแทรกแซง กก.ละ 2.50 บาท จำนวน 1.6 ล้านตัน ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 เพื่อลดผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ พร้อมกับหารือถึงความร่วมมือ ต่อเนื่องในปีการผลิต 2556/2557 ขอให้โรงผลิตเอทานอลรับซื้อเพิ่มอย่างน้อย 7.5 ล้านตัน หรือสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดรวม ที่คาดว่าจะออกสู่ตลาด 25-26 ล้านตัน ในราคาตามนโยบายแทรกแซงราคาของรัฐ

นอกจากนี้ กรมการค้าภายในได้ออกมาตรการการขนย้ายหัวมันสดและมันเส้นตั้งแต่ 5,000 กก. (5 ตัน) ตามจังหวัด ติดชายแดน ต้องได้รับอนุญาตก่อน สำหรับความคืบหน้าโครงการแทรกแซง รับซื้อหัวมันสด ยังมีปริมาณเข้าโครงการน้อยเพียง 1.5 แสนตัน คาดการณ์ สิ้นโครงการเดือน มี.ค.นี้จะมีหัวมันสดเข้าโครงการ 10 ล้านตัน

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากนโยบายดังกล่าวโรงงานเอทานอลจะทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้รับจำนำมันสดแทนรัฐบาล เพื่อช่วยรักษาราคามันสดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานได้หารือกับบริษัทผู้ค้าน้ำมันและโรงงาน ผู้ผลิตเอทานอลแล้ว และพร้อมจะปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐ ตามเป้าหมาย ปีนี้จะรับซื้อมันสดเพื่อมาผลิตเอทานอล 1.6 ล้านตัน จากเดิมวางเป้าหมายว่าไตรมาส 1 จะรับซื้อได้ 400,000 ตัน และไตรมาส 2 อีก 400,000 ตัน

โรงงานผลิตเอทานอลสามารถรับ ปริมาณมันสดที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากปัจจุบันกำลังการผลิตทั้งระบบอยู่ที่ 1.3 ล้านลิตร/วัน แต่สามารถเดินเครื่องผลิตจริงเพียง 600,000 ลิตร/วัน ปริมาณเอทานอล ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะมีความต้องการใช้น้ำมัน ในกลุ่มแก๊สโซฮอล์มารองรับ ภายหลัง จากที่กระทรวงพลังงานได้ประกาศยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2556 ที่ผ่านมา

"เหมือนเป็นการ shortcut ให้กับการรับจำนำมันสำปะหลังของภาครัฐ ลด ค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะเมื่อเวลารัฐรับจำนำแล้วจะต้องแปรรูปจากมันสดมาเป็นมันเส้น แต่การส่งเข้าโรงงานเอทานอลไม่มีต้นทุนตรงนี้ ซึ่งหน้าโรงงานเอทานอลจะมี เจ้าหน้าที่จากองค์การคลังสินค้า (อคส.) มาดำเนินการอยู่ด้วย เมื่อซัพพลายส่วนหนึ่งหายไปจากตลาดก็จะส่งผลให้ราคามันสดขยับขึ้น การประสานงานระหว่างกระทรวงทำให้ได้ประโยชน์ 2 เด้ง นอกจากลด ค่าใช้จ่ายจากการรับจำนำแล้ว ยังช่วยราคาผลผลิตของเกษตรกรด้วย"

นายประพนธ์กล่าวว่า กระทรวงพลังงานยืนยันกับกระทรวงพาณิชย์ ว่า จะต้องบริหารจัดการราคามันสดให้ไม่เกิน 2.50 บาท/กก. เพราะหากสูงกว่านี้จะส่ง ผลกระทบต้นทุนราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่ต้องนำเอทานอลมาผสม ซึ่งหลังจากมีมติร่วมกันกระทรวงพาณิชย์จะวางแผนบริหารจัดการเพื่อให้ราคามันสดไม่เกินจากราคาดังกล่าว เพราะหากราคาสูงกว่านี้โรงงานเอทานอลอาจจะรับซื้อมันสดไม่ได้ตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.6 ล้านตันในปีนี้ และ 6 ล้านตันในปี 2557

ด้านนายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กรณีกระทรวงพลังงานให้โรงงานเอทานอลรับซื้อมันสำปะหลังในราคา 2.50 บาท/กก. เพื่อนำมาผลิตเป็นเอทานอล ว่า จะส่งผลให้ราคารับซื้อเอทานอลหน้าโรงงานเพิ่มขึ้น 2-3 บาท/ลิตรจากปัจจุบัน แต่ไม่ส่งผล ต่อราคาขายปลีกเพราะเอทานอลมีส่วนผสม ในน้ำมันเพียงแค่ร้อยละ 10

ขณะที่นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจการตลาด บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หากราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังสูงขึ้นย่อมส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ถ้าราคาเอทานอลสูงขึ้น จากปัจจุบันที่เฉลี่ย 22-24 บาท/ลิตร เป็น 25 บาท/ลิตร ฉะนั้น อาจต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันเพื่อรักษาค่าการตลาดไว้ ทั้งนี้ เชื่อว่าประชาชนสามารถรับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้เพราะคุ้นเคยกับการปรับราคาขึ้นลงตลอดเวลาอยู่แล้ว

พลังงานพยุงราคามันสด - กระทรวงพลังงานขานรับกระทรวงพาณิชย์ ช่วยรักษาสมดุลราคามันสำปะหลัง ผันมันสดที่ควร เข้าโครงการรับจำนำมาเข้าโรงงานผลิตเอทานอลแทน แม้ต้นทุนราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์จะเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่กระทบราคาน้ำมัน

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 856

โพสต์

PTT OPENS JAKARTA OFFICE
Source - The Nation (Eng), Wednesday, January 16, 2013
1(770).jpg
PALIN CHUNCHOTTAWORN, president and chief executive officer of PTT, presides over the grand opening of the representative office for PTT International Trading Pte Ltd and PTT Polymer Marketing Co Ltd in Jakarta. PTT is one of the largest integrated petroleum producers in Asia, and the opening of the Jakarta office marks another step in its continuous expansion in this region.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 857

โพสต์

'พงษ์ศักดิ์'ส่งซิกเลิกหนุนพลังงานแสงอาทิตย์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 15 มกราคม 2556 17:48

"พงษ์ศักดิ์"ส่งสัญญาณเลิกส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ชี้เป็นภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน เตือนสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้รับความเสี่ยงโครงการเอง

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในปี 2556 นี้กระทรวงพลังงานมีแนวทางที่ชัดเจนในการสนับสนุนการผลิลไฟฟ้าจากไบโอแก๊ส เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการหมักหญ้าเนเปียร์ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนระยะยาวในการส่งเสริมให้เกิดขึ้นจำนวน 10,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 10 ปี ที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่จะมีการนัดหมายการประชุมในเร็วๆนี้

ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ ตามเป้าหมายจำนวน 2,000 เมกะวัตต์ นั้น หากโครงการใดไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามแผนก็จะต้องถูกยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไป โดยจะไม่มีการรับซื้อเข้ามาเพิ่ม และได้ส่งสัญญาณไปถึงสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับโครงการให้พิจารณารับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเอง เนื่องจาก กระทรวงพลังงานไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนเนื่องจาก โครงการโรงไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ ที่ได้รับการอุดหนุนส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (Adder) จำนวน 8 บาทต่อหน่วยนั้น เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานอีกประมาณ3บาทต่อหน่วย ผู้ประกอบการจะได้รับอัตราค่าไฟฟ้าถึง11บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นภาระต่อค่าไฟฟ้าที่จัดเก็บกับประชาชน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมามีโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่เสนอขายไฟฟ้าให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จำนวนประมาณ 2,800 เมกะวัตต์ โดย กฟภ.มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า แล้วประมาณ 2,000เมกะวัตต์ และอีกประมาณ 800เมกะวัตต์ ยังไม่ได้รับการพิจารณาในการซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะมีโครงการที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้จริง จำนวนประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ ที่เหลืออีกประมาณ800 เมกะวัตต์ อยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ให้ความเห็นต่อ กฟภ.ไปว่า หากโครงการที่มีความก้าวหน้าไม่ถึง 80% ก็ไม่ควรที่จะขยายระยะเวลาการดำเนินการออกไป

ทั้งนี้ โครงการที่มีปัญหาส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยี ที่เรียกว่า Thermal Solar Plant ซึ่งมีต้นทุนที่สูงและสถาบันการเงินไม่สนใจที่จะปล่อยกู้ ซึ่งมีจำนวนประมาณ500เมกะวัตต์ และผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวพยายามที่จะยื่นเรื่องของเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แต่กระทรวงพลังงาน ไม่อนุมัติ ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการยื่นขอโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบันผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าวยังไม่มีรายใดสามารถที่จะดำเนินโครงการเพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เลย โดยส่วนใหญ่จะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบภายในปี 2557

สำหรับความคืบหน้าการจัดทำระบบฟีทอินทารีฟ หรือ ระบบการสนับสนุนเงินในการผลิตไฟฟ้าตามต้นทุนที่แท้จริง (Feed in tariffs หรือ เอฟไอที)เพื่อมาใช้แทนระบบแอดเดอร์นั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นหลังจากผ่านการทำประชาพิจารณ์ไปเมื่อปลายปี 2555 โดยจะใช้ระบบฟีทอินทารีฟสำหรับไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่ 5.12 บาทต่อหน่วย ขณะที่แอดเดอร์ปัจจุบันอยู่ที่ 6.50 บาทต่อหน่วย ซึ่งภาคเอกชนบางส่วนไม่เห็นด้วยเพราะกำไรลดลง

อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ไม่สนับสนุนเรื่องของโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ อาจจะทำให้ การพิจารณานโยบายเรื่องของ Feed in Tariff ในส่วนของโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ที่อาจจะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าอีก700-800 เมกะวัตต์ เพื่อให้ครบ 2,000 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย ทั้งตั้งไว้ อาจจะต้องชะลอการดำเนินการไปก่อน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 858

โพสต์

ข่าวเก่าๆครับ

PTT signs 20yr LNG deal with Qatar
Published: 13 Dec 2012 at 12.53 Online news:

PTT Plc has signed an agreement with Qatar Liquefied Gas Ltd (Qatargas) to buy liquefied natural gas (LNG) over 20 years at an annual volume of 2 million tonnes, with the first delivery set for January 2015.

PTT president and CEO Pailin Chuchottaworn said in an issued statement this is Thailand's first long-term LNG contract. It will help ensure long-term national energy security. Production from the Gulf of Thailand and imports from neighbouring countries are inadequate, yet domestic gas demand keeps climbing due to economic growth.


Qatargas and PTT have maintained cordial relations since mid-2011, when it supplied the first commissioning LNG cargo for Asean's inaugural receiving terminal, in Map Ta Phut Industrial Estate in Rayong, Mr Pailin said in the statement.

"Qatargas has particularly helped Thailand by delivering LNG to make up for missing gas supplies from our transmission system, which was facing problems at the time. Successful cooperation between the two organisations, made possible with the support of both countries, is a milestone for a continued cordial partnership," he said.

Thailand's gas demand under the third revision of the Power Development Plan between 2010-2013 looks set to grow across the board in the power, industrial, petrochemical and transport sectors.

This would require Thailand to import more LNG in the future and to expand the LNG receiving terminal's capacity from 5 to 10 million tonnes a year, which is now planned for completion in 2017.

Qatar's national energy company, Qatargas is 70% owned by the Doha government and is the world's largest LNG producer and distributor, with a capacity equivalent to about 30% of worldwide LNG trade. It holds over 900 trillion cubic feet in gas reserves, enough to fulfill global projected demand for more than a century.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 859

โพสต์

‘ปตท.’รุกขยายธุรกิจน้ำมันอินโดฯ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, January 17, 2013


ปตท.รุกลงทุนอินโดนีเซีย ตั้งบริษัทลูกขยายการค้าน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และเม็ดพลาสติก เล็งจับมือ“เปอร์ตามินา” ลงทุนโรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี คาดได้ข้อสรุปเม.ย.-พ.ค.นี้ พร้อมส่งน้ำมันเครื่องขยายตลาดในอาเซียน ตั้งเป้าพม่าอันดับหนึ่ง เพิ่มยอดขายทะลุ 8 ล้านลิตรในปีนี้

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงนโยบายการเข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย ว่า ปตท. ได้เข้าไปตั้งบริษัทลูกเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ โดยเปิดสำนักงานตัวแทน บริษัท ปตท. ค้าสากล จำกัด และบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโด นีเซีย เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป รวมทั้งเม็ดพลาสติกในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งปตท.เป็นคู่ค้ารายใหญ่ในการส่งน้ำมันเข้าไปขายหลายแสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของปริมาณการใช้น้ำมันทั้งประเทศ

“อินโดนีเซียถือว่าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจสำคัญในอาเซียนที่ผ่านมา บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือปตท. สผ. ได้เข้าไปลงทุนในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม ในอินโดนีเซีย 5-6 แปลง ยังมีการลงทุนเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่และธุรกิจน้ำมันปาล์ม ในอนาคตจะมีการขยายการลงทุนเข้าไปอีก”

ล่าสุดบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือพีทีทีจีซี ได้บันทึกความเข้าใจเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ขยายการลงทุนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ครบวงจรร่วมกับบริษัทเปอร์ตามินา ซึ่งบริษัทพลังงานแห่งชาติของอินโด นีเซีย โดยพีทีทีจีซี เป็น 1ใน 3 ราย ที่เปอร์ตามินา ให้เป็นผู้ร่วมทุนในโครงการลงทุนโรงกลั่นใหม่และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดจะมีความชัดเจนเดือนเม.ย.-พ.ค.นี้ ซึ่งคู่แข่งของปตท.จะเป็นบริษัทพลังงานจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ทั้งนี้โอกาสในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและ ปิโตรเคมีในอินโดนีเซียยังเปิดกว้างมาก เนื่อง จากปัจจุบันโรงกลั่นของอินโดนีเซียมีกำลังการผลิตรวม 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เท่ากับไทย แต่อินโดนีเซียจะเป็นโรงกลั่นขนาดเล็กมีกำลังการ กลั่นระดับ 1 แสนบาร์เรลต่อวัน แต่ในอนาคตจะมีกำลังซื้อสูงมาก โดยให้บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกเข้าไปศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงกลั่นเหล่านี้ ส่วนการลงทุนตั้งโรงกลั่นและปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในเวียดนาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ ต้องรอคำตอบจากรัฐบาลเวียดนามเสียก่อน

นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าไปขยายธุรกิจในอินโด นีเซีย จะเน้นการเข้าไปทำตลาดน้ำมันหล่อลื่นให้เป็นที่รู้จักก่อน จากนั้นจึงทำตลาดค้าปลีกน้ำมัน ซึ่งตลาดค้าปลีกน้ำมันในอินโดนีเซียมีการแข่งขันสูง และมีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบต่างๆ

“นอกจากอินโดนิเซียแล้ว ปตท.ยังให้ความสำคัญในการเข้าไปบุกเบิกตลาดน้ำมันของพม่ามากที่สุด โดยจะใช้เงินลงทุน 2-3 พันล้านบาทภายใน 3 ปี ส่วนธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นในพม่า คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ยอดขาย 8 ล้านลิตรต่อปี นอกจากนี้ยังขยายตลาดน้ำมันอากาศยานในพม่าด้วย”

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 860

โพสต์

PTT จ่อลงทุน3พันล้านในพม่า
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, January 17, 2013

เปิดตัวระบบเติมน้ำมันอัจฉริยะ

PTT กางงบ 3 พันล้านบาท ภายใน 3 ปี รองรับบุกตลาดประเทศพม่า จับมือธนาคารกสิกรไทย เปิดตัวระบบเติมน้ำมันอัจฉริยะบันทึกฐานข้อมูลลูกค้าเป็นเจ้าแรกในอาเซียน

นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้ประเมินงบลงทุนประมาณ 2-3 พันล้านบาท ต่อแผนธุรกิจช่วง 2-3 ปีในประเทศพม่า เพื่อทำธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น การบริการเติมน้ำมันอากาศยาน การให้บริการค้าปลีกน้ำมัน และการสร้างคลังเก็บน้ำมันสำรอง

โดยปัจจุบันธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นในประเทศพม่า ทางบริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) อยู่ในอันดับ 3 และภายในช่วงสิ้นปี 2556 จะสามารถขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 2 พร้อมกับมียอดขายเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 7-8 ล้านลิตรต่อปี จากงวดปีก่อนที่ได้ 5 ล้านต่อปี

สำหรับปัจจัยผลักดันให้ตลาดน้ำมันเครื่องได้รับความนิยมสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงอดีตประเทศพม่ายังมีรถยนต์รุ่นเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้จึงไม่ได้เป็นเกรดสูงมากนัก แต่ปัจจุบันมีรถรุ่นใหม่มากขึ้นผู้บริโภคจึงเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเครื่องของ PTT ที่มีประสิทธิภาพสูงแทน นอกจากนี้ ยังวางแผนให้บริการเติมน้ำมันอากาศยาน และการรุกทำค้าปลีก เพราะถือเป็นหนึ่งในช่องการทำตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตระดับสูง

ส่วนประเทศอินโดนีเซีย หากทาง PTT จะเข้าทำตลาดคงต้องใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเข้าสร้างฐานลูกค้าและให้ผู้บริโภคได้รู้จักกับแบรนด์เสียก่อน ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่บริษัทได้เคยใช้กับประเทศอื่นในย่านอาเซียน หลังจากนั้นจึงค่อยศึกษาทำตลาดค้าปลีกน้ำมันเพิ่มเติมภายหลัง

นายสรัญ กล่าวอีกว่า ภายในสัปดาห์นี้คงถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จะขายน้ำมันเบนซิน 91 หลังจากมีการประกาศยกเลิกขายน้ำมันดังกล่าวตั้งแต่งวดต้นเดือน ม.ค. และจะช่วยผลักดันให้ยอดขายน้ำมันแก๊สโซฮอล์มียอดขายสูงขึ้น หลังจากประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์แทนเบนซิน 91

อย่างไรก็ตาม คงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่ง ถึงจะประเมินได้ชัดเจนว่า หลังยกเลิกขายเบนซิน 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ประเภทใดที่จะทำยอดขายเพิ่มขึ้นมากสุด แต่ในเบื้องต้นแก๊สโซฮอล์ E20 จะมีทำยอดขายเติบโตขึ้นมาก เพราะในปัจจุบันมีรถยนต์จำนวนมากที่สามารถเติม E20 ได้ เพียงแต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เลือกเติมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้วางแผนที่ขยายจุดจ่ายน้ำมัน E20 ขึ้นอีก 250 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ 600 แห่ง และภายในสิ้นปี 2556 น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 900 แห่ง

ขณะที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้ร่วมมือในการพัฒนาระบบเติมน้ำมันอัจฉริยะ PTT Smart Fuel-up Technology เป็นเจ้าแรกในอาเซียน โดยร่วมกับ ธนาคารกสิกรไทย และถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบบัญชีให้ลูกค้า ซึ่งมีแผนจะขยายสถานีบริการน้ำมันที่ติดตั้งระบบ พร้อมให้บริการภายในปี 2556 นี้ ประมาณ 60 แห่ง จนถึง 200 แห่งภายในปีหน้า

สำหรับ PTT Smart Fuel-up Technology เป็นการบริการเติมน้ำมันโดยอาศัยระบบระบุยานยนต์ด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Vehicle Identification System – Radio Frequency Identification Technology) ซึ่งจะจ่ายน้ำมันให้กับรถที่ติดอุปกรณ์วงแหวนพิเศษเท่านั้น

ทั้งนี้ ตัววงแหวนจะถูกบันทึกข้อมูลที่เป็นของรถเฉพาะแต่ละคัน ไม่สามารถถอดไปติดรถคันอื่นได้ และระบบนี้ยังมีการบันทึกข้อมูลเลขทะเบียนรถ ประเภทของน้ำมันที่กำหนดให้เติม จำนวนน้ำมันที่กำหนดให้เติมในแต่ละครั้ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เจ้าของธุรกิจสามารถนำไปวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ต้นทุนค่าน้ำมัน และคำนวณอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง รวมทั้ง เป็นแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจได้อีกด้วย

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 861

โพสต์

'ปตท.'วางแผนยกชั้นสู่อาเซียนตั้งเป้าปี'60ผู้นำพลาสติกชีวภาพ
Source - มติชน (Th), Thursday, January 17, 2013


นายชวลิต ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ แผนบริหารในเครือหน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วง 5 ปีจากนี้ (2556-2560) ปตท.มีแผนจะผลักดันขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศไทยในการเป็นผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพหรือไบโอพลาสติก ด้วยกำลังการผลิต 700,000 ตันต่อปี เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านไบโอพลาสติกในอาเซียน ดังนั้น ในปีนี้จึงมีแผนก่อตั้งโรงงานพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ชนิดพีบีเอส มีกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปีที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มาบตาพุด จ.ระยอง ใช้เงินลงทุนประมาณ 6,900 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง ปตท.กับบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือเอ็มซีซีจากประเทศญี่ปุน

นายชวลิตกล่าวว่า ข้อดีของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ เช่น ถ้วยกระดาษ หรือแก้วน้ำที่เคลือบพีบีเอส คือสามารถย่อยสลายได้ทั้ง 100% โดยไม่ทิ้งซากผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้วในพื้นดิน

"การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศไทย ต้องอาศัยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยเหมือนกับประเทศมาเลเซียที่ส่งเสริมการลงทุนด้วยการอุดหนุนราคาน้ำตาลให้กับนักลงทุนเป็นกรณีพิเศษ เพราะน้ำตาลเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกชีวภาพ รวมทั้งจัดหาพื้นที่ตั้งโรงงานให้อีกทางหนึ่ง" นายชวลิตกล่าว

นายพิพัฒน์ วีระถาวร นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย กล่าวว่า เพื่อผลักดันพลาสติกชีวภาพให้แพร่หลาย สมาคมจะเน้นประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่งเสริมด้านการตลาด สร้างความเชื่อถือในมาตรฐานให้กับสินค้า รวมถึงการจัดสัมมนาให้เกิดการพบปะกันระหว่างนักวิจัยและบริษัท เพื่อให้เกิดการพัฒนาการวิจัยได้ตรงกับความต้องการของผู้ผลิตรวมถึงผู้บริโภค

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 862

โพสต์

พลังงานดัน3แนวทางแก้ปาล์มล้น
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, January 17, 2013

กระทรวงพลังงานดัน 3 แนวทาง ช่วยพยุงผลผลิตปาล์มน้ำมันหลังซีพีโอล้นตลาด ต้องส่งเข้าโรงไฟฟ้ากระบี่เป็นเชื้อเพลิง และให้ปตท.ช่วยรับซื้อเก็บไว้ในสต๊อกอีก 1 หมื่นตัน

พร้อมออกนโยบายให้รถยนต์ใช้ดีเซลเป็นบี 7 เพิ่มปริมาณการใช้ซีพีโอได้อีก 2 หมื่นตันต่อเดือน แต่ต้องรอค่ายรถยนต์สรุปผลกระทบปลาย ก.พ.นี้ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์อนุมัติงบ 1.25 พันล้านบาทซื้อเก็บเข้าสต๊อกอีก 5 หมื่นตัน

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีที่ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบหรือซีพีโอล้นตลาด ส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำ ทางกระทรวงพาณิชย์จึงประสานมายังกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้ช่วยระบายสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ นำไปใช้ในภาคพลังงาน เพื่อฉุดราคาผลปาล์มน้ำมันให้ขึ้นไป ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวทางกระทรวงพลังงาน มองการดำเนินงานไว้ 3 แนวทาง

โดยแนวทางแรกได้ประสานกับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)แล้ว ซึ่งเบื้องต้น กฟผ. แจ้งว่าสามารถใช้ซีพีโอ เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันเตาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้ากระบี่ ได้ประมาณ 10% หรือประมาณ 1 พันตันต่อปี ของปริมาณการใช้น้ำมันเตาที่ 1 หมื่นตันต่อปี แต่ทั้งนี้ เนื่องจากโรงไฟฟ้ากระบี่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก การจะนำน้ำมันเตาที่ผสมซีพีโอมาใช้ต่อเมื่อเกิดการขาดแคลนปริมาณก๊าซและเป็นการช่วยระบายสต๊อกซีพีโอได้บางส่วนเท่านั้น

อีกทางหนึ่ง ทางบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) จะเป็นผู้รับซื้อซีพีโอส่วนหนึ่ง ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปตท. ได้สั่งซื้อซีพีโอจำนวน 1 หมื่นตัน เพื่อนำไปกลั่นเป็นไบโอดีเซลบี100 ได้ในปริมาณ 10 ล้านลิตร สต๊อกไว้ใช้ในช่วงซีพีโอเกิดการขาดแคลน

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานได้มีแนวคิด ที่จะเพิ่มส่วนผสมของน้ำมันไบโอดีเซลบี100 จากปัจจุบันอยู่ที่ 5% หรือ ดีเซลบี 5 เป็น 7% หรือดีเซลบี 7 ซึ่งจะช่วยให้ความต้องการใช้ซีพีโอเพิ่มขึ้นอีก 2 หมื่นตันต่อเดือน เป็น 7 หมื่นตันต่อเดือน จากปัจจุบันอยู่ที่ 5 หมื่นตันต่อเดือน แต่ความพร้อมในการกำหนดนโยบายผสมเป็นดีเซลบี7 ได้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของค่ายรถยนต์เป็นหลัก เพราะหากค่ายรถยนต์ยืนยันว่าไม่สามารถใช้ดีเซลบี 7 ได้ กระทรวงก็ไม่สามารถกำหนดนโยบายดังกล่าวได้ เพราะจะเกิดความเสียหายกับรถยนต์

อย่างไรก็ตาม กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) ได้ประสานกับทางค่ายรถยนต์ เพื่อต้องการความชัดเจนในการนำดีเซลบี 7 ไปใช้กับเครื่องยนต์ ดังกล่าว โดยได้ขอเวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ ที่น่าจะมีความชัดเจนภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ หากผลสรุปออกมาว่าค่ายรถยนต์ให้การยอมรับน้ำมันไบโอดีเซลบี7 กระทรวงก็พร้อมดำเนินงานทันที ทั้งนี้คาดว่าภายหลังจากได้รับความชัดเจนจากทางค่ายรถยนต์แล้ว ธพ.จะต้องหารือร่วมกับค่ายรถยนต์และผู้ค้าน้ำมันอีกครั้ง

"ปัจจุบันในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐฯ และเยอรมนี มีการใช้น้ำมันดีเซลบี 10 แต่เป็นการใช้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น และเป็นการใช้แบบสมัครใจ แต่หากประเทศไทยจะใช้น้ำมันบี7 ก็ต้องเป็นนโยบายแบบบังคับ ดังนั้นหากเกิดปัญหากับรถยนต์ ก็จะสร้างความเสียหายจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะได้รับคำตอบจากทางค่ายรถยนต์ว่าจะสามารถรองรับน้ำมันบี7ได้หรือไม่ ซึ่งทาง ธพ.จะต้องคุยรายละเอียดและหารือกับค่ายรถยนต์และผู้ค้าน้ำมันต่อไป"นายประพนธ์ กล่าว

แต่ทั้งนี้ ยอมรับว่าการช่วยระบายสต๊อกซีพีโอ ทางกระทรวงพลังงานคงช่วยได้ไม่มากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ จะผลักดันให้ส่งออก หรือช่วยชดเชยราคาซีพีโอได้หรือไม่

นายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านธุรกิจการตลาด บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้เริ่มทดลองใช้น้ำมันดีเซลบี7 เป็นการเฉพาะกลุ่มแล้ว แต่การส่งเสริมเป็นนโยบายของภาครัฐ คงต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากยังไม่เป็นที่ยอมรับของค่ายรถยนต์ อย่างไรก็ตามหากสามารถเพิ่มสัดส่วนผสมเป็นน้ำมันดีเซลบี7 ได้ จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันบี100 เพิ่มอีก 1 ล้านลิตรต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 ล้านลิตรต่อวัน โดยปัจจุบันบางจากมีความต้องการใช้น้ำมันบี100 อยู่ที่เกือบ 3 แสนลิตรต่อวัน

นางวิวรรณ บุณยประทีปรัตน์ เลขาธิการสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทย เปิดเผย ว่า เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2555 ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้อนุมัติรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเข้าเก็บสต๊อกเพิ่มอีก 5 หมื่นตัน รวมกับของเดิมเป็น 1 แสนตัน ใช้งบประมาณจัดซื้อประมาณ 1.25 พันล้านบาท

โดยในที่ประชุม องค์การคลังสินค้า (อคส.) แจ้งว่าได้รับซื้อน้ำมันดิบจากโรงสกัดน้ำมันปาล์มไปแล้ว จำนวน 4.8 หมื่นตัน ยังเหลืออีก 2 พันตัน จึงได้อนุมัติเพิ่ม เพราะมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มปิดโรงงานหลายแห่งหยุดรับซื้อปาล์ม เพราะสต๊อกเต็ม อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณที่ดีจากกฟผ. ที่จะรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบไปผสมกับน้ำมันเตาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว แต่ต้องให้เวลาปรับเทคนิคบางอย่างเพื่อไม่ให้การผลิตไฟฟ้าเกิดการขัดข้อง หรือต้องใช้แนวนโยบายให้รัฐอุดหนุนค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้บริโภคในการปรับค่าไฟฟ้า

นางวิวรรณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ นายบุญทรง ยังได้แต่งตั้งอนุกรรมการระบายขึ้นเพื่อขึ้นหาแนวทางการระบายสต๊อกขึ้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้น ทางคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.)ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะอนุกรรมการด้านการตลาด เพื่อติดตามราคาผลปาล์มเพื่อส่งออก มีกระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพ และคณะอนุกรรมการด้านการผลิต เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ให้มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้น ซึ่งมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพ

สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบเวลานี้ ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ในตลาดโลกไม่จูงใจ เพราะราคาน้ำมันปาล์มดิบโลก(อิงตลาดมาเลเซีย ) ณ วันที่ 15 มกราคม 2555 ราคากิโลกรัมละ 22-23 บาท ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบไทยอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท (ราคาผลปาล์ม อยู่ที่กิโลกรัมละ 3.50-3.70 บาท ) จึงไม่สามารถส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไปต่างประเทศได้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งทางผู้ประกอบการกำลังรอดูในช่วงตรุษจีนว่า จีนจะเข้ามาซื้อน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากเข้ามาก็จะช่วยให้สถานการณ์การส่งออกน้ำมันปาล์มดีขึ้น ปัจจุบันสต๊อก ณ เดือนพฤศจิกายน 2555 มีประมาณ 3.56 แสนตัน จากปกติไทยจะผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้เฉลี่ย 1.7 แสนตันต่อเดือน


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,810 วันที่ 17 - 19 มกราคม พ.ศ. 2556
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 863

โพสต์

บัวแก้วเร่งสอบหลังมีข่าวแรงงานไทยถูกจับในแอลจีเรีย
Source -ฐานเศรษฐกิจ (Th), Friday, January 18, 2013


นายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า กระทรวงได้ตรวจสอบกับสถานเอกอัครราชทูต ณ ประเทศฝรั่งเศส

ซึ่งดูแลประเทศอัลจีเรียในเบื้องต้นได้รับแจ้งว่า สถานทูตกำลังอยู่ระหว่างรอการตรวจสอบข้อมูลจากทางการอัลจีเรียอยู่ เนื่องจากไทยไม่มีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ในอัลจีเรีย และกำลังรอการยืนยันข้อมูลจากทางการอัลจีเรีย

ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตได้ตรวจสอบข้อมูลกับปตท.สผ.ซึ่งได้ไปลงทุนขุดเจาะน้ำมันในอัลจีเรีย ได้รับแจ้งว่าในฐานขุดเจาะของปตท.สผ.มีคนไทยทำงานอยู่ประมาณ 70 คนซึ่งเป็นคนละแห่งกับที่กลุ่มกบฏได้จับตัวประกันอยู่ ขณะที่คนไทยในอัลจีเรียมีอยู่ราว 370 คน นอกจากที่ทำงานในฐานขุดเจาะแล้ว ยังทำงานกับบริษัทโตโยต้า งานก่อสร้าง และแต่งงานกับชาวอัลจีเรีย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 864

โพสต์

ดันสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนหญ้าเลี้ยงช้างหมื่นแห่ง
แหล่งข่าว : เดลินิวส์ , วันที่ : 18/01/2013

นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พพ.อยู่ระหว่างจัดทำแผนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าระดับชุมชน โดยการใช้หญ้าเลี้ยงช้าง (เนเปียร์)หรือหญ้าโตเร็ว เป็นพืชพลังงานทดแทนตามนโยบาย ของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน เบื้องต้นคาดว่าภายใน 10 ปีจะมีชุมชนเข้าร่วม 10,000 แห่ง หรือจะได้โรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 1 เมกะวัตต์ จำนวน 10,000 โรง แต่ละโรงลงทุน 100 ล้านบาทและใช้พื้นที่ปลูกหญ้า 800-1,000 ไร่ โดยภาคเอกชนลงทุน 60% ชุมชน และเกษตรกรร่วมทุน 40%

ทั้งนี้ คาดใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี โดยในส่วนของชุมชนที่ร่วมทุนมีข้อเสนอให้ภาครัฐช่วยลงทุนก่อน ด้วยการให้ทุนเปล่า 20% และเป็นเงินกู้ทุนหมุนเวียนอีก 20% ขณะที่เกษตรกรจะเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า เป็นผู้เพาะปลูกหญ้า และร่วมทุนติดตั้งระบบผลิตไบโอก๊าซ ซึ่งจะเป็นผลดีที่สามารถเข้าร่วมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

นายอำนวย กล่าวว่า พพ.จะเข้าไปผลักดันโครงการดังกล่าว ด้วยการเริ่มตั้งแต่การปลูก เทคโนโลยีการปลูก การตัดหญ้า การส่งเสริมการลงทุน การจัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งพื้นที่ปลูกพืชอาหาร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย

"หลังจากการสำรวจข้อมูล และการศึกษาเพื่อหาพืชพลังงานทดแทนมาใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลพบว่า หญ้าเลี้ยงช้างหรือหญ้าเนเปียร์พันธุ์ที่ดี จะเริ่มตัดผลผลิตได้ทุก 45 วัน การเพาะปลูก 1 ครั้ง จะมีอายุอยู่ได้ 7 ปี ราคาเพียง 300 บาทต่อตัน ก็คุ้มทุน เร็วกว่าปลูกมันสำปะหลัง และการปลูกข้าวอีก แต่การจะส่งเสริมเช่นนี้ได้ ก็ต้องดำเนินการทั้งระบบ เพื่อให้แน่ใจว่ามีตลาดชัดเจน และไทยก็ยังลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ด้วย"

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 865

โพสต์

ภาพข่าว: ปตท.สผ. คว้ารางวัล
Source - สยามรัฐ (Th), Friday, January 18, 2013
4(412).jpg
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. รับมอบรางวัล"บริษัทที่มีการบริหารจัดการดีที่สุดของประเทศไทย" และ"บริษัทที่มีการบริหารจัดการดีที่สุดของเอเชียประเภทธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ" จากนายมาคัส แลงสตัน (ที่ 2 จากซ้าย) หัวหน้าภูมิภาคเอเชียนิตยสารยูโรมันนี่ โดยรางวัลดังกล่าว มอบให้กับบริษัทที่มีความโดดเด่น ด้านทฤษฎีการบริหารจัดการซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินการที่ดี ประสิทธิภาพในการบริการผลกำไร ศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจ รวมถึงความโปร่งใสด้านการเปิดเผยข้อมูล และ บรรษัทภิบาล โดยสำรวจจากนักวิเคราะห์สถาบันการเงินขนาดใหญ่ รวมถึงศูนย์วิจัยต่างๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิก

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 866

โพสต์

PTTME ผ่าน ISO 10006 บริษัทแรกใน ASEAN
11 ม.ค. 56
แนบไฟล์
pttme.jpg

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 867

โพสต์

เปิดโลกทัศน์อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในระดับนานาชาติ ดันไทยเป็นศูนย์กลางพลาสติกชีวภาพของเอเชีย
แนบไฟล์
2426Jan2013.jpg

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 868

โพสต์

KICT Develops Technology for Building Floating LNG Terminal
ที่ http://energy.korea.com/archives/39474
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 869

โพสต์

'ปตท.'ติด100บริษัทศักยภาพสูง-โตเร็ว
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, January 19, 2013

บีซีจีเผยผลศึกษา 100 บริษัทชั้นนำตลาดเกิดใหม่รวมถึงปตท. มีศักยภาพขยายธุรกิจ เพิ่มจ้างงานบวกผลิตภาพเหนือกว่าบริษัทคู่แข่งในตลาดพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ ด้วยรายได้ปี 2554 แตะ 2.65 หมื่นล้านดอลลาร์ มากกว่ากลุ่มบริษัทอยู่ในดัชนีเอสแอนด์พี 500 นอกกลุ่มการเงินทำได้ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนอัตราโตปี 2551-2554 สูงกว่า 4 เท่า

บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (บีซีจี) ได้เผยแพร่ผลการศึกษาบริษัทชั้นนำระดับโลก 100 แห่ง ที่มาจากตลาดเศรษฐกิจกำลังพัฒนา เทียบกับบริษัทคู่แข่งจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ พบว่าบริษัทชั้นนำจากตลาดกำลังพัฒนาทั่วโลกรวมถึงบริษัท ปตท. (มหาชน) จำกัด (PTT) สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว และมีส่วนช่วยกำหนดอนาคตเศรษฐกิจโลกช่วงทศวรรษหน้าได้

รายงานของบีซีจีอธิบายว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทจากตลาดกำลังพัฒนาทั้งหมด 100 แห่ง มีความสามารถเหนือกว่าคู่แข่งมาจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในแง่ของการขยายธุรกิจ การสร้างงานและผลิตภาพของบริษัท และหากคำนวณหาอัตราการเติบโตของบริษัททั้ง 100 แห่ง พบว่ามีอัตราเติบโตเฉลี่ย 16% ต่อปี ในช่วงปี 2551-2554 คิดเป็นอัตราเติบโตมากกว่าบริษัทคู่แข่งในตลาดพัฒนาแล้วถึง 4 เท่า

ขณะเดียวกันพบว่า รายได้เฉลี่ยของ 100 บริษัทชั้นนำตลาดเกิดใหม่ในปี 2554 แตะระดับ 2.65 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับรายได้ของ กลุ่มบริษัทจดทะเบียนอยู่ในดัชนีเอสแอนด์พี 500 ที่ทำได้ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกัน

สำหรับ 100 บริษัทกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจีนและอินเดีย แต่ข้อเท็จจริงนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนไปในช่วง 7 ปีข้างหน้า และในรายชื่อมีบริษัทจากประเทศในตลาดเกิดใหม่รวม 17 ประเทศ เพิ่มขึ้นมา 7 ประเทศเทียบปี 2549 และในรายชื่อดังกล่าวมีบริษัทปตท.ของไทยรวมอยู่ด้วย นอกเหนือจากปิโตรนาสของมาเลเซีย, แกสพรอมของรัสเซีย, เตอร์กิช แอร์ไลน์, หัวเหว่ยบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์ไร้สายของจีน, โกลเดนท์ อะกรี-รีซอร์สของอินโดนีเซีย และเอมบราเออร์ผู้ผลิตเครื่องบินของบราซิล

"บริษัททั้ง 100 แห่งจะช่วยกำหนดอนาคตเศรษฐกิจโลกช่วง 10 ปีข้างหน้า และบริษัทที่ศึกษานี้รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน อุปกรณ์การแพทย์ โทรศัพท์ไร้สายและอี-คอมเมิร์ซ บริษัทเหล่านี้ได้รับประโยชน์อยู่ในสถานะทำธุรกิจให้ขยายตัวต่อเนื่องได้ ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ด้วยจำนวนผู้บริโภคสามารถใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก" บีซีจีระบุในรายงานอัตราเติบโต มากกว่าคู่แข่ง ถึง 4 เท่า

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 870

โพสต์

เลิกส่งเสริม78กิจการกระทบเม็ดเงิน3แสนล.ปตท.-รถเต้นพบBOI
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, January 19, 2013

ยกเลิกส่งเสริม 78 กิจการ กระทบลงทุน 300,000 ล้านบาท หลังประเมินตัวเลขขอรับส่งเสริมปี 2555 เร่งโรงงานสิ่งทอถอนการลงทุนย้ายฐานออกนอกประเทศจ้าละหวั่น เตรียมจับเข่าคุยบีโอไอ

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการปรับเปลี่ยนทิศทางการส่งเสริมการลงทุนตามข้อเสนอยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556-2560) ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ว่า จากการตรวจสอบประเภทกิจการที่จะถูกยกเลิกการให้การส่งเสริมทั้ง 7 หมวดที่ปรากฏอยู่ในร่างบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนตามยุทธศาสตร์ใหม่ (Draft New List of BOI Promoted Activities) ทั้ง 78 กิจการ มีมูลค่าเงินลงทุนสูงมากกว่า 200,000 ล้านบาท และหากรวมประเภทกิจการที่จะถูกยกเลิกในหมวด 7 กิจการบริการและสาธารณูปโภคเข้าไปด้วยแล้ว ตัวเลขการลงทุนที่จะ สูญเสียไปอาจจะสูงถึง 300,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์ใหม่ BOI จะปรับเปลี่ยนทิศทางการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยด้วยการ 1) ให้การส่งเสริมแบบมีเป้าหมายที่ชัดเจน (focus & prioritized) แทนการส่งเสริมแบบครอบคลุมเกือบทุกกิจการ 2) ส่งเสริมการลงทุนที่ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ (merit-based incentives) แทนการส่งเสริมตามประเภทกิจการ (sector-based incentives) 3) ส่งเสริมการลงทุนที่ก่อให้เกิดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ในภูมิภาค (new regional clusters) แทนการส่งเสริมการลงทุนแบบแบ่งเขต (nones 1-2-3) 4) ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกให้เกิดการลงทุน แทนที่จะส่งเสริมแบบเน้นให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (tax incentives) และ 5) ส่งเสริมการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ จากที่ ส่งเสริมการลงทุนในประเทศเพียง อย่างเดียวผลจากการปรับเปลี่ยนนโยบายข้างต้น จะทำให้ประเภทกิจการ ที่จะได้รับการส่งเสริมตามยุทธศาสตร์ใหม่เหลือเพียง 7 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร หมวดที่ 2 เหมืองแร่/เซรามิกและโลหะขั้นมูลฐาน หมวดที่ 3 อุตสาหกรรมเบาหมวดที่ 4 ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง หมวดที่ 5 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดที่ 6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์/กระดาษและพลาสติก และ หมวดที่ 7 กิจการบริการและสาธาณูปโภค โดยมีประเภทกิจการที่จะต้องถูกยกเลิกให้การส่งเสริมกระจายอยู่ในทั้ง 7 หมวดรวมกันถึง 78 ประเภทกิจการอย่างไรก็ตาม จากการติดตามสถิติประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิปี 2555 ทั้ง 78 กิจการที่จะถูกยกเลิกพบว่า ประเภทกิจการเหล่านี้มีเงินลงทุนสูงมากกว่า 200,000 ล้านบาท และอาจจะสูงเกินกว่า 300,000 ล้านบาท หากรวมประเภทกิจการในหมวดที่ 7 ที่จะถูกยกเลิก อาทิ กิจการสัมปทาน, กิจการโทรคมนาคมดาวเทียม, กิจการบริการโทรศัพท์, สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ, การขนส่งทางท่อ, นิคมอุตสาหกรรมครบวงจร และ กิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน/รถไฟขนส่งสินค้า เข้าไปด้วย

โดยประเภทกิจการที่มีเงินลงทุนขอรับการส่งเสริมสูงมากกว่า 2,000 ล้านบาทในปี 2555 ประกอบไปด้วย หมวด 1 กิจการปลูกป่า ขอรับการส่งเสริม 55 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 9,323 ล้านบาท, โรงงานผลิตอาหารสัตว์/ส่วนผสมอาหารสัตว์ 13 โครงการ มูลค่า 4,783 ล้านบาท และห้องเย็น/ขนส่งห้องเย็น 12 โครงการ มูลค่า 2,791 ล้านบาท หมวดที่ 2 กิจการทำเหมืองแร่/แต่งแร่ 14 โครงการ มูลค่า4,879 ล้านบาท

หมวดที่ 3 กิจการสิ่งทอและชิ้นส่วน ขอรับการส่งเสริม 31 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 14,598 ล้านบาท, กิจการผลิตเครื่องเรือน/ชิ้นส่วน 7 โครงการ มูลค่า4,090 ล้านบาท หมวดที่ 4 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ/ชิ้นส่วนโลหะ 144 โครงการ มูลค่า 34,161 ล้านบาท หมวดที่ 6 กิจการผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ 8 โครงการ มูลค่า7,349 ล้านบาท, กิจการผลิตสิ่งของจากเยื่อหรือกระดาษ 11 โครงการ มูลค่า 3,878 ล้านบาท และหมวดที่ 7 กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง 38 โครงการ มูลค่า 3,288 ล้านบาท, กิจการพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรม 64 โครงการ มูลค่า 38,705 ล้านบาท

ด้านแหล่งข่าวในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทาง ปตท.กังวลกับประเภทกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ กับกิจการขนส่งทางท่อ ในหมวดที่ 7 ที่อยู่ใน list ที่จะถูกยกเลิกการให้การส่งเสริม เนื่องจากในแต่ละปี ปตท.ต้องลงทุนวางท่อและตั้งสถานีบริการก๊าซธรรมชาติคิดเป็นมูลค่าสูง "เราจะเข้าพบกับ BOI เร็ว ๆ นี้เพื่อขอหารือในเรื่องนี้" ขณะที่อุตสาหกรรมผลิตรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะและรถที่ขับเคลื่อนด้วยด้วยระบบไฟฟ้าก็เริ่มหารือกันในหมู่ผู้ประกอบการถึงการถูกยกเลิกส่งเสริมการลงทุนในข้อที่ว่า ขณะนี้แม้โรงงานจะได้รับการส่งเสริมก็ยังมีต้นทุนการผลิตที่สูง แทบจะแข่งขันกับคู่แข่งไม่ได้อยู่แล้ว

สอดคล้องกับความเห็นของผู้ประกอบการสิ่งทอที่กำลังประสบภาวะค่าแรง 300 บาท ส่วนใหญ่เห็นว่า การยกเลิกการส่งเสริมการลงทุนจะเป็นตัวเร่งให้โรงงาน การ์เมนต์ต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่นโยบายส่งเสริมการลงทุนไปนอกประเทศยังไม่มีความชัดเจน ส่วนกิจการโรงพยาบาลและการผลิตรองเท้าเห็นว่า แทบจะไม่ส่งผลกระทบ เพราะปัจจุบันแทบไม่มีใครขอรับการส่งเสริมในประเภทกิจการเหล่านี้อีกแล้ว

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."