รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ไทย-พม่าตั้งกก.6ชุดพัฒนาทวาย [ ข่าวสด, 8 พ.ย. 55 ]

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม
ร่วมกับนายญาณ ทุน รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขต
เศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา เมื่อวันที่ 7
พ.ย.2555 ว่าที่ประชุมเห็นชอบการจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมขึ้นมา 6 ชุด เพื่อพิจารณาแนว
ทางการพัฒนาโครงการด้านต่างๆ คือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านพัฒนาอุตสาหกรรม และนิคม
อุตสาหกรรม ด้านพลังงาน ด้านการเงิน ด้านกฎระเบียบ และด้านความเป็นอยู่ของชุมชุน คาดว่า
ภายในเดือนธ.ค.นี้ จะจัดทำรายละเอียดเบื้องต้นเสร็จ ก่อนประชุมร่วมเพื่อสรุปแผนงาน จากนั้น
จึงเสนอให้คณะกรรมการร่วมระดับสูงพิจารณาในเดือนมี.ค.2556
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ลงขันทวายเก้อรัฐบาลลั่นให้เอกชนและรสก.หาเงินลงทุนเอง-ตั้ง6อนุกรรมการเร่งโครงการ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, November 08, 2012


โพสต์ทูเดย์ -คลังทบทวนเงินลงทุนโปรเจกต์ทวายใหม่ "นิวัฒน์ธำรง" ลั่นรัฐบาลไทยไม่ใส่งบลงทุนแน่ ให้เอกชน-รัฐวิสาหกิจระดมทุนเอง

นายญาณทุน รองประธานาธิบดีเมียนมาร์ เข้าเยี่ยมคารวะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่7 พ.ย.ระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง(JHC) ครั้งที่ 1 ที่ประเทศไทย

ทั้งนี้ ต่อมานายกิตติรัตน์ ณระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และนายญาณทุน เป็นประธานร่วมในการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทยเมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายฯ โดยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งกลไกการประสานงานเพื่อผลักดันโครงการทวายเพื่อให้การก่อสร้างเริ่มต้นได้ในเดือน เม.ย.ปีหน้า และตั้งอนุกรรมการร่วม6 ชุด ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง สาขาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจสาขาพลังงาน สาขาการพัฒนาชุมชน สาขากฎระเบียบ และสาขาการเงิน

ด้านนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกฯกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลไม่มีแผนที่จะใส่เงินงบประมาณไปสนับสนุนโครงการทวาย แต่จะให้เป็นเรื่องของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ (รสก.)เช่น บริษัท ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งต้องไประดมทุนเอง หรือร่วมลงทุนกับบริษัทต่างประเทศ มีการคำนวณความคุ้มค่าของการลงทุน หากลงทุนแล้วขาดทุนก็ไม่ต้องไปลงทุนส่วนรัฐบาลมีหน้าที่แค่ประสานให้โครงการสำเร็จเท่านั้น

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า จะมีการทบทวนวงเงินลงทุนโครงการทวาย ที่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ทำประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ เพราะศึกษามานาน ทั้งการลงทุนไฟฟ้าท่าเรือ ถนน ระบบราง และการพัฒนาชุมชน อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศกำหนดว่า โครงการทวายจะต้องเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่เดือน เม.ย. 2556 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้รับสัมปทานโครงการทวายวงเงินลงทุนเบื้องต้น 6,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.8 แสนล้านบาท ได้แก่สร้างถนนจากทวาย-ชายแดนไทยและพม่า 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐลงทุนสาธารณูปโภคในนิคมฯ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงสร้างพื้นฐานในนิคมฯ 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ

ด้านนายกิตติรัตน์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เจรจาต่อรองได้เพื่อให้ไทยได้ประโยชน์พิเศษเหนือเมียนมาร์เพราะโครงการใหญ่มาก พื้นที่ใหญ่กว่าอีสเทิร์น ซีบอร์ด 10 เท่า ต่อให้นักลงทุนฝ่ายไทยไปมากเท่าไหร่ก็ไม่พอ แต่ความสำเร็จ คือ การสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนไปลงทุนในเขตทวาย

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในส่วนไทยจะมีลงทุนสร้างมอเตอร์เวย์ บางใหญ่บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ถนนจากจ.กาญจนบุรี ไปบ้านพุน้ำร้อนชายแดนไทย-พม่า ส่วนระบบถนนจากบ้านพุน้ำร้อน-ท่าเรือทวาย ต้องหารือกับเมียนมาร์อีกครั้งในเดือน พ.ย.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 33

โพสต์

คลื่นลงทุนยึดกาญจน์ดักโอกาส'ทวาย'

วันพุธที่ 07 พฤศจิกายน 2012 เวลา 10:34 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1

ทวายโปรเจ็กต์-มอเตอร์เวย์บางใหญ่-เออีซี ปลุกกระแสการซื้อขายที่ดินเมืองกาญจน์คึกคักโฟกัส อำเภอเมือง ด่านมะขามเตี้ย ตะวันออกไทรโยค เลาขวัญ ทำเลทองราคาที่ดินพุ่ง 10เท่า จากหลักแสนขยับเป็นไร่ละล้าน บิ๊กจัดสรร-ห้างค้าปลีก ค้าวัสดุ แห่ยึดหัวหาด ค่ายแลนด์ฯ- แสนสิริ และจัดสรรเจ้าถิ่นพฤกษากาญจน์ เสือปืนไวดอดเจรจาซื้อที่แปลงงาม ตามติดด้วยโลตัส- บิ๊กซี -โรบินสัน -โฮมโปร -ไทวัสดุ แห่ผุดรับกำลังซื้อกระหึ่ม อธิบดีทล.ยันจุดตัดระหว่าง กม.8 ทางหลวงหมายเลข 324 กับทางลงมอเตอร์เวย์ กลายเป็นแลนด์บริดจ์เชื่อมแหลมฉบัง-ทวาย

จากกรณีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เร่งพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์ท่าเรือน้ำลึกทวายและประเทศไทยมีแผนเชื่อมเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-บ้านโป่ง –กาญจนบุรี เข้าถึงบ้านน้ำพุร้อนชายแดนไทยพม่า เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางจากไทยสู่เมียนมาร์ เตรียมความพร้อมรองรับการเดินทาง การขนส่งสินค้าและการลงทุนนั้น

+++ทุนคึกคักบูมกาญจน์รับทวาย
ต่อเรื่องนี้นายทรงพล เลี่ยนเครือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการสำนักงานที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้มีนักลงทุนทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่นได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีกันอย่างคึกคัก ซึ่งสาเหตุเกิดจาก พม่ามีแผนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย และรัฐบาลไทยเร่งรัดก่อสร้าง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาแม้กาญจนบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวเน้นธรรมชาติไม่ค่อยเจริญมากนัก แถมยังเป็นเมืองที่ค่อนข้างปิด ไม่ใช่หัวเมืองใหญ่อย่างเช่นเชียงใหม่ หัวหิน หรือภูเก็ต ฯลฯ ส่งผลให้ที่ผ่านมาจึงค่อนข้างเงียบ ส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่ราชการ ตำรวจ ทหาร ประกอบกับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิจำนวนมาก แต่ปัจจุบันกาญจนบุรีต้องเปิดจังหวัดให้คนต่างพื้นที่เข้ามาลงทุนจำนวนมาก รวมถึงความตื่นตัวของนักลงทุนในพื้นที่ที่ต้องการหาช่องทางลงทุน ในเชิงพาณิชย์เพื่อรับกระแสดังกล่าว โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มนายทุนหลายรูปแบบเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ทั้งกรุงเทพมหานคร จังหวัดใกล้เคียง ฯลฯ โดยดูจากการโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายที่ดินเพิ่มปริมาณมากขึ้นและมีขนาดแปลงที่ใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา

++ที่ดินพุ่ง10เท่า
นายทรงพลกล่าวต่อว่า จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ราคาที่ดินปัจจุบันขยับขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า 10 เท่าตัว โดยเฉพาะทำเลโซนเชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี เชื่อมไปทวาย ของกรมทางหลวง รวมทั้งแผนพัฒนาท่าเรือทวายของประเทศพม่าที่จะรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 อีกด้วย โดยราคาที่ดินเฉลี่ยจากราคาไร่ละ 1 แสนบาท ปัจจุบันขยับขึ้นเป็น 1 ล้านบาทต่อไร่ บริเวณที่เป็นที่นาสวนไม่มีทางเข้าออกหรือที่ดินตาบอด ราคา 3 หมื่นบาทต่อไร่ ขยับเป็น 1.5-2 แสนบาทต่อไร่ และยังมีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อทำการค้าการลงทุนกันอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอท่าม่วง อำเภอด่านมะขามเตี้ย โซนตะวันออกของอำเภอไทรโยค อำเภอห้วยกระเจา อำเภอเลาขวัญเป็นต้น ซึ่งโซนดังกล่าวใกล้กับมอเตอร์เวย์บริเวณปลายทางและทางเชื่อมเข้าสู่ท่าเรือทวายของประเทศเมียนมาร์ หากเดินทางจากบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มาเชื่อมทวายโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 324 เชื่อมต่อกับทางเลี่ยงมืองกาญจนบุรี สาย 323 เข้าสู่ถนนแสงชูโต ต่อเชื่อมเข้าตัวเมืองเมืองเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3229 สายบ้านเก่า-ทวาย มุ่งหน้าตรงไปยังชายแดนบ้านน้ำพุร้อน อำเภอเมือง รอยต่อระหว่างชายแดนไทยกับพม่า ซึ่งบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ทำทางชั่วคราวในฝั่ง
พม่าอยู่

++โรบินสัน–บิ๊กซี-โลตัสปักธง
อย่างไรก็ดีสำนักงานที่ดินพบว่ามีห้างสรรพสินค้า และกลุ่มค้าวัสดุก่อสร้าง บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมาก เช่น โรบินสัน และ ไทวัสดุ ได้ซื้อที่ดินจำนวน 126 ไร่ บริเวณทางลงโครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี บริเวณกม.8 ถนนสายกาญจนบุรี-อู่ทองหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 324 เขตท้องที่ตำบลหนองขาวซึ่งทำเลที่ตั้งอยู่ห่างจากจุดขึ้นลงประมาณ 8 กิโลเมตร จากแยกวังสารภีซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยราคาที่ดินที่ซื้อปีที่ผ่านมา ติดถนนไร่ละ 3ล้านบาท ด้านหลังไร่ละ 1 ล้านบาท แต่ขณะนี้ปี 2555 ราคาด้านหน้าติดถนนราคา 5 ล้านบาทต่อไร่

นอกจากนี้ศูนย์โฮมโปรของบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ฯอยู่ระหว่างถมที่ดินเตรียมก่อสร้างบริเวณถนนแสงชูโต ห่างจากศาลากลางประมาณไม่ถึง 1 กิโลเมตร ห้างโลตัสอยู่บริเวณเยื้องศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ขณะที่ ห้างบิ๊กซีได้ซื้อจำนวน 35 ไร่ บริเวณร้านรจนาของฝากข้ามทางรถไฟ บริเวณถนนเลี่ยงเมือง 323 หรือ ถนนเลี่ยงเมืองกาญจน์พร้อมทั้งเจรจาขอซื้อที่ดินแปลงติดกันเพิ่มอีก 80 -100 ไร่ อย่างไรก็ดีที่ดินทำเลดังกล่าวปี 2554 ราคาไร่ละ 2 ล้านบาท ขณะนี้ราคาขยับไปที่ 5 ล้านบาทต่อไร่ นอกจากนี้ยังมี โรงแรมเกิดใหม่ในตัวเมืองคือ เทวมันตาซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว

+++แสนสิริ –แลนด์ดอดเจรจา
นายทรงพลกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ยังมีที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ 171 ไร่ ติดกับบริเวณกิโลเมตรที่ 7 ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข324 หรือถนนกาญจนบุรี –อู่ทอง ใกล้กับจุดทางลงของมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่ดินของคนในพื้นที่ที่ บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างเจรจาแต่ยังไม่ยุติ โดยราคาที่บอกขายอยู่ที่ไร่ละ 2 ล้านบาท จากเดิมไร่ละ 1 ล้านบาท และบริเวณจุดทางลงราคา 3-4 ล้านบาทต่อไร่ ขณะที่ บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) ได้สนใจแปลงที่ดินบริเวณถนนเลี่ยงเมือง 323 กาญจนบุรี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนดรุณาซึ่งมีเนื้อที่ 123 ไร่ ซึ่งได้เจรจาซื้อ แต่ก่อนหน้านี้บริษัทพฤกษากาญจน์ฯ ได้วางเงินมัดจำไว้แล้วและไม่ยินยอมขายให้กับบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ฯ

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทแสนสิริ จำกัด(มหาชน) ได้เข้ามาในพื้นที่และติดต่อสำนักงานที่ดินสอบถามความเคลื่อนไหวซึ่งเข้าใจว่าในเร็วๆนี้จะเข้ามาลงทุน ส่วนบริษัทพัฒนาที่ดินค่ายใหญ่ค่ายอื่นจากส่วนกลางยังไม่ปรากฏว่าเข้ามาซื้อขายและโอนที่ดินแต่อย่างใด แต่เชื่อว่าในเวลาอันใกล้น่าจะเข้ามาลงทุนกันมากขึ้น สำหรับมอเตอร์เวย์ทวายจะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางจากบางใหญ่มาที่กาญจนบุรีเพียง 45นาที ส่งผลให้บ้านจัดสรรเกิดขึ้นคึกคัก

นอกจากนี้ยังมีบริษัทพัฒนาที่ดินรายเล็กในพื้นที่ที่พัฒนาโครงการเกิดขึ้นซึ่งรูปแบบจะเป็นบ้านเดี่ยวราคา 1-2 ล้านบาท ฯลฯ โดยเฉพาะบริษัทพัมนาที่ดินท้องถิ่นอย่างบริษัทพฤกษากาญจน์ฯ ของกลุ่มโล้วเฮงหมง บริษัทศิริชัยฯ โครงการศิริชัย เปิดขายที่อำเภอท่าม่วง และเปิดโครงการเพิ่มที่อำเภอเมือง โครงการเมืองใหม่ ศักสยามธุรกิจ เปิดโครงการบ้านเดี่ยวบริเวณ กม.8 ใกล้จุดทางลงมอเตอร์เวย์ นอกจากนี้ยังมีที่ดินอีกกว่า 1,000 ไร่ ก่อนถึงเจียไต๋จากแยกบ้านเก่าไป 8 กม. โดยบอกขายไร่ละ 1.8 แสน บาท จากเดิมราคา 4-5 แสนบาทต่อไร่

ขณะที่ การเคหะแห่งชาติอยู่ระหว่างก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร บริเวณท่าม่วง และ อำเภอเมืองกาญจน์ นอกจากนี้บริเวณน้ำพุร้อนติดแนวชายแดนไทยพม่า มีคนกรุงเทพฯมากว้านซื้อที่ดินนับหมื่นไร่ ซึ่งเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิประเภทภ.บ.ท.5 เพื่อสร้างเป็นเขตเศรษฐกิจ ค้าขายชายแดนไทย-พม่ารับทวายและเออีซี ในราคาไร่ละ 4 ล้านบาท จากเดิมราคาแค่ 10,000 บาทต่อไร่

+++ทางหลวงยันก่อสร้างปี57
ด้านนายชัชวาล บุญเจริญ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ได้ปรับแนวจากเดิมที่จะเชื่อมจากบางใหญ่ลงสู่ภาคใต้คือชะอำ หัวหิน แต่เมื่อมีทวายเกิดขึ้นจึงศึกษาแนวสายทางรองรับเพิ่มเติม จากกาญจนบุรีไปยังบ่อน้ำพุร้อน เชื่อมทวาย ประเทศพม่า เพื่อช่วยเรื่องการขนส่งการเดินทาง โลจิสติกส์ และอนาคตมอเตอร์เวย์สายนี้จะเชื่อมจากทวายออกไปสู่กรุงเทพฯและเชื่อมต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างสะดวกกลายเป็นแลนด์บริดจ์ไปสู่อันดามันมหาสมุทรอินเดียโดยไม่ต้องพึ่งพาสิงคโปร์ ความคืบหน้าขณะนี้อยู่ระหว่างออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินและปี 2557 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี

สำหรับแนวเส้นทางจะมีจุดเริ่มต้นบริเวณต่างระดับบางใหญ่ จะเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก จากนั้นจะตัดผ่านที่ดิน อ.พุทธมณฑล อ.นครชัยศรี อ.เมืองนครปฐม อ.บ้านโป่ง อ.ท่ามะกา และไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 324 (ถนนกาญจนบุรี-อู่ทอง) บริเวณ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,790 วันที่ 8-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
patongpa
Verified User
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 34

โพสต์

เป็นโครงการที่ดีครับ ไม่ได้ช่วยแค่พม่าให้ได้ท่าเรือไปใช้เท่านั้น แต่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยด้านตะวันตกเจริญขึ้นจากเงินทุนและงานที่ไหลเข้าไปทางนั้น แล้วพอท่าเรือเสร็จมีการใช้จริง ชายแดนด้านนี้ก็ยังเป็นทางผ่านใช้ขนส่งสินค้าไปออกมาบตาพุดหรือเวียตนามได้อีก itd น่าจะมีบริษัทลูกที่ทำกิจการรองรับความเติบโตของทวายนะ ถ้าทำได้คงน่าลงทุนยิ่งกว่านี้. ที่สำคัญถนนที่กำลังจะสร้างขอแบบทนๆล่ะ เพราะต่อๆไปรถบรรทุกวิ่งกันเยอะแน่ๆ
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 35

โพสต์

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 09:29

ทวาย ดีเวลล็อปเมนต์ ชี้เจรจาเงินกู้ญี่ปุ่นต้องเดินหน้า

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กนอ.เผยพม่าสนใจการจัดการสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด หาทางป้องกันหลังตั้งนิคมอุตสาหกรรมทวายดีเวลล็อปเม้นต์
l

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยภายหลังพานาย U Aye Myint รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ประเทศพม่าเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ว่า กนอ.ได้พารัฐมนตรีอุตสาหกรรมของพม่าไปเยี่ยมชมศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หอสังเกตการณ์ ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดและโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัท บี.แอล.ซี.พี.จำกัด (มหาชน) โดย กนอ.ชี้แจงให้รัฐมนตรีอุตสาหกรรมทราบเกี่ยวกับการการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและการควบคุมผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม เพราะพม่ากำลังจะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทวายและการพัฒนาอุตสาหกรรมอาจมีปัญหากระทบสิ่งแวดล้อมจึงต้องเตรียมการไว้

นายวีรพงศ์ กล่าวว่า พม่าสนใจผลกระทบที่เกิดจากชุมชนและได้สอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์สารเคมีรั่วในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและได้ชี้แจงว่าเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดจากความบกพร่องของมนุษย์มากกว่าความบกพร่องของเทคโนโลยี และที่ผ่านมา กนอ.ได้เข้ามาดูแลเพื่อให้มีโอกาสเกิดปัญหาอีกน้อยที่สุดและให้ผู้ประกอบการมีความเข้มงวดในการดูแลผลกระทบต่อชุมชนมากขึ้น ซึ่งพม่าสนใจโรงไฟฟ้าถ่ายหินที่ใช้เทคโนโลยี Clean Coal ที่มีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่ำและการเฝ้าระวังผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของพม่า

นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัททวายดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์ เพื่อดำเนินการผลักดันโครงการทวายแล้ว ก็ต้องรอว่ารัฐบาลทั้งสองจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการลงทุนพัฒนาพื้นที่ทวายอย่างไร และบริษัททวายดีเวลล็อปเมนต์จะดำเนินการอย่างไรต่อขึ้นกับรัฐบาล ซึ่งจุดยืนของภาคเอกชนคือการเดินตามรัฐบาลและเมื่อรัฐบาลสรุปมาอย่างไรภาคเอกชนก็จะเดินตาม โดยรัฐบาลไทยกำลังพิจารณาที่จะตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) เข้ามาดูเรื่องการลงทุนก็ต้องรอดูว่าจะออกมาอย่างไร

นายสมเจตน์ กล่าวว่า แผนการดำเนินการของบริษัททวายดีเวลล็อปเมนต์ที่ดำเนินการมาก่อนหน้าก็ยังคงเดินหน้าต่อ โดยบริษัทได้เจรจากับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) เพื่อขอสินเชื่อมาลงทุนพัฒนาทวายก็่ดำเนินการมาก่อนหน้าก็ยังคงเดินหน้าต่อ การสร้างถนนจากชายแดนไทยไปทำตามแผนต่อไปเพราะต้องใช้เงินลงทุนมาก และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก็ต้องช่วยกันหาเงินมาลงทุน ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ผลักดันและเป็นผู้นำในการพัฒนาพื้นที่ทวาย และขณะนี้ต้องรอแหล่งเงินทุนมาพัฒนาและรัฐบาลจะเข้ามาช่วยดูเรื่องนี้ รวมทั้งรัฐบาลมีหน้าที่ในการเชื่อมโยงภายในอาเซียน เช่น การสร้างถนนจากไทยไปเชื่อมกับทวาย ซึ่งรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะประกาศความชัดเจนในการพัฒนาพื้นที่ทวายในการประชุมอีส-เอเชีย ซัมมิตที่ประเทศกัมพูชาในวันที่ 20 พ.ย.2555 เพื่อชี้แจงให้สมาชิกอาเซียนรับทราบ

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B2.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 36

โพสต์

ค่าใช้จ่ายเมืองย่างกุ้งพุ่ง 3 เท่า ทุนญี่ปุ่น-เกาหลีแห่ตั้งบริษัท

updated: 10 พ.ย. 2555 เวลา 13:07:09 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เมียนมาร์ฟีเวอร์ โรงแรมในเมืองย่างกุ้งสบช่องต่างชาติแห่ดูลู่ทางการค้า-ลงทุน โขกค่าที่พักเพิ่มเท่าตัว ดันค่าใช้จ่ายสูงขึ้น 3 เท่า ด้านนักธุรกิจญี่ปุ่นพาเหรดเข้าไปตั้งบริษัทเทรดดิ้งกว่า 60 บริษัท

ดร.สิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง หนึ่งในผู้ที่เดินทางเข้าออกประเทศพม่าบ่อยครั้ง กล่าวว่า ขณะนี้ที่เมืองทวายมีความตื่นตัวของนักธุรกิจและหน่วยงานราชการมาก เนื่องจากมีการย้ายข้าราชการจากเมืองมะริดให้มาอยู่ที่ทวาย เพื่อเป็นศูนย์กลางรองรับการเปิดเมืองหน้าด่านท่าเรือน้ำลึกทวาย และมีการส่งเสริมให้สมาชิกสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมตะนาวศรี UMFCCI (The Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce & Industry) ร่วมกับภาคราชการจัดตั้งบริษัท Dawei Development Public Company (DDPC) โดยรวมนักธุรกิจอุตสาหกรรมของทวายและมะริดเป็นบริษัทเดียวกัน เพื่อติดต่อค้าขายกับนักธุรกิจจากจังหวัดกาญจนบุรี และในประเทศไทย

สำหรับการก่อสร้างในโครงการทวายยังคืบหน้าไปช้า โดยในส่วนของการสร้างบ้านรองรับประชาชนที่ต้องย้ายถิ่นจากบริเวณพื้นที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก จำนวน 4,500 หลังคาเรือน ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จไปได้เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น คาดว่าเมื่อหมดฤดูฝน การก่อสร้างต่าง ๆ คงจะเร่งดำเนินการได้เร็วขึ้นกว่านี้

ขณะที่โรงแรมในเมืองทวายก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา เพราะมีลูกค้าทั้งนักธุรกิจ นักลงทุน นักท่องเที่ยว เดินทางไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโรงแรมที่สามารถรองรับได้เพียง 3 แห่ง รวม 65 ห้อง อัตราเฉลี่ยค่าห้องพักต่อคืน รวมอาหารเช้า อยู่ที่ 100-120 เหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันมีการสร้างโรงแรมใหม่อีก 1 แห่ง อยู่ระหว่างการตกแต่ง และโรงแรมเดิมก็มีแผนที่จะก่อสร้างโรงแรมแห่งใหม่ โดยเริ่มก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2555

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่ http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1900
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ไจก้าเล็งช่วยเมียนมาร์หลายโครงการ

วันศุกร์ที่ 02 พฤศจิกายน 2012 เวลา 22:00 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - คอลัมน์ : เศรษฐกิจโลก

โทโมยุคิ คาวาบาตะโทโมยุคิ คาวาบาตะนายโทโมยุคิ คาวาบาตะ ผู้แทนอาวุโสขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (Japan International Cooperation Agency : JICA) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า

รัฐบาลญี่ปุ่นมีความสนใจเกี่ยวกับโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายซึ่งเป็นโครงการที่ครอบคลุมการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในขอบเขตที่กว้างขวาง เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในเมียนมาร์ ซึ่งทางญี่ปุ่นเองก็มีนโยบายเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเมียนมาร์ในระดับเข้มข้นมากขึ้นโดยในช่วงต้นปีนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศอย่างชัดเจนว่ามีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาร์ในด้านต่างๆ มีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของไจก้าในเมืองย่างกุ้งศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการให้ความช่วยเหลือเมียนมาร์ในหลากหลายด้าน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายซึ่งรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาร์เห็นพ้องที่จะให้มีการเชื่อมโยงเข้ากับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังในประเทศไทยด้วยนั้น แม้จะมีการหารือกับหน่วยงานฝ่ายไทย คือกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาระยะหนึ่งแล้วแต่ไจก้ายังไม่ได้เข้าไปมีบทบาทหรือส่วนร่วมใดๆในโครงการเพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้ ไจก้าในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลญี่ปุ่นจึงยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับโครงการดังกล่าว

"ณ ขณะนี้เรายังไม่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการสนับสนุนโครงการนี้ แต่เป็นไปได้ที่ไจก้าอาจช่วยหาผู้สนับสนุนที่เป็นเอกชนของญี่ปุ่นเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนโครงการ หรือเป็นไปได้ที่อาจมีหน่วยงานอื่นของรัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) แต่ยังไม่มีบทสรุปในเรื่องนี้ ผมไม่แน่ใจว่าจะทราบผลภายในสิ้นปีนี้หรือไม่"

ผู้แทนอาวุโสของไจก้าในประเทศไทยยังกล่าวเกี่ยวกับกรณีที่บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เดินทางไปยังสำนักงานใหญ่ของไจก้าที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อหารือเกี่ยวกับการขอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาสนับสนุนโครงการที่ทวายนั้น "เท่าที่ผมทราบและสามารถกล่าวได้ในขณะนี้ก็คือ ไจก้ายังไม่ได้รับปากหรือตัดสินใจที่จะให้เงินกู้แก่โครงการนี้ และเราก็ไม่ทราบว่าทางเจบิคมีท่าทีต่อโครงการที่ทวายอย่างไรบ้าง"
altนิคมอุตสาหกรรมผุดขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ของเมียนมาร์ รวมทั้งในพื้นที่ชนบทที่เคยเป็นทุ่งนาในภาพนี้(ภาพข่าวเอพี) นายคาวาบาตะกล่าวต่อไปว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เป็นโครงการที่มีความสำคัญในหลายมิติ หนึ่งในนั้นคือโครงการดังกล่าวจะสร้างระบบคมนาคมทางบกเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจระหว่างชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะก่อให้เกิดเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญและเอื้อประโยชน์ให้กับการขนส่งและระบบซัพพลายเชน ทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนสู่อินเดียและประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=425
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ผ่าแผนทักษิณล้วงแสนล้าน สานฝัน"ทวายโปรเจกต์"
Source - ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ (Th), Saturday, November 10, 2012


แน่เสียยิ่งกว่าแน่ว่า ทริปออนทัวร์ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมาไม่ใช่แค่เยี่ยมเยือนเพื่อนเก่า เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า อย่างที่ นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของทักษิณ โกหกหน้าตายต่อสาธารณะ เพราะใครๆ เขาก็มองทะลุปรุโปร่งว่าเวลานี้สองพี่น้องชินวัตร ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีตัวจริงกับนอมินี วางแผนการใหญ่ล้วงเงินภาษีของประชาชนพี่น้องชาวไทยไปช่วย "ทวายโปรเจกต์" ในพม่า โดยรัฐบาลไทยวางเป้าหนุนเฟสแรกแสนล้านเรียกแขก และดึงเอ็กซิมแบงก์เจ้าเก่าเข้าร่วมด้วยเช่นเคย

บวกลบคูณหารแล้ว คราวก่อนที่เอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่าเพื่อซื้อของกลุ่มชินคอร์ปกว่า 4,000 กว่าล้านบาท ก็ทำรายได้ให้ชินคอร์ปมากโขอยู่ ดีลครั้งนั้นทักษิณได้ของแถมตกเป็นผู้ต้องหาและเร่ร่อนหนีคดีทุจริตกรณีดังกล่าวจนบัดนี้

!!มาครั้งนี้ ทักษิณ เล่นบทจับเสือมือเปล่าและชักใยอยู่เบื้องหลัง ล็อบบี้ทางพม่าและผลักดันให้รัฐบาลน้องสาวยิ่งลักษณ์ทุ่มทุนสร้าง สานฝันทวายโปรเจกต์ให้เป็นจริง หากสำเร็จคราวนี้คำนวณดูแล้วคงได้ค่าเหนื่อยไม่น้อย เพราะเม็ดเงินลงทุนอภิมหาโปรเจกต์ประมาณการเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 4 แสนกว่าล้าน ตอนนี้หน่วยงานรัฐทั้งกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ ฯลฯ ต่างหัวฟูปั่นงานสนองนายใหญ่และนายกฯหญิงกันเป็นทิวแถว

ดังนั้น ลิ่วล้อนายใหญ่อย่ามาดูแคลนคนไทยว่าไม่มีสมองและกินแกลบต่างข้าวด้วยการปฏิเสธว่าทักษิณไม่เกี่ยว ไม่มีการหารือเรื่องการลงทุนท่าเรือน้ำลึกทวายหรือด้านอื่นๆ ในพม่า ไม่มีการเจรจาธุรกิจหรือผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจ เรื่องท่าเรือน้ำลึกทวายเป็นเรื่องของ รัฐบาลไทยกับพม่าที่จะเจรจาร่วมกันเอง เพราะเขารู้กันทั้งบางว่า ทีมผู้บริหารเครือ ปตท. และอิตัลไทย หิ้วกระเป๋าเดินตามก้นทักษิณเข้าพบผู้นำพม่านอกรอบมาแล้วหลายครั้ง

ในการผลักดันสานฝันทวายโปรเจกต์ให้เป็นจริง สองพี่น้องชินวัตรต่างทำงานสอดประสานกันเป็นปี่เป็นขลุย อย่างเช่นคราวก่อนที่นายกฯยิ่งลักษณ์ เดินทางไปเยือนพม่า ทักษิณก็บินไปพบปะผู้นำพม่าล่วงหน้า พร้อมลงพื้นที่ทวายกับทีมผู้บริหาร ปตท.และอิตัลไทยด้วย

คราวนี้ ก่อนที่ ทักษิณ จะเข้าพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ในวันที่ 8 พ.ย.ที่กรุงเนย์ปิดอว์นั้น ยิ่งลักษณ์ ก็เตรียมการก่อนเจรจาให้พี่ชายล่วงหน้า โดยนั่งหัวโต๊ะ เป็นประธาน การประชุมรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับทวายโปรเจกต์ เช่น คมนาคม อุตสาหกรรม พลังงาน และต่างประเทศ เพื่อวางกรอบเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งเบื้องต้นแบ่งกรอบการหารือเป็น 3 ประเด็น คือ โครงการสร้างถนนจากโครงการทวายถึงชายแดนไทย-พม่า ระยะทาง 132 กิโลเมตร โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและสายส่งระยะเริ่มแรกในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย 33 เมกะวัตต์

จากนั้น เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ยิ่งลักษณ์ ก็ได้ต้อนรับการมาเยือนไทยของคณะนายญาณทุน รองประธานาธิบดีของพม่า เพื่อร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทวายโปรเจกต์ โดยนายกรัฐมนตรีของไทยและรองประธานาธิบดีพม่า ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีมอบหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยการจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมระดับสูงของสองชาติ

ยิ่งลักษณ์ยังได้ให้คำมั่นต่อรองประธานาธิบดีของพม่าว่า รัฐบาลไทยพร้อมผลักดันและสนับสนุนให้โครงการทวายเดินหน้าโดยเร็วที่สุด เชื่อมั่นว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันดำเนินโครงการสำคัญนี้ และยังให้จัดลำดับความสำคัญของโครงการให้ชัดเจนตามที่เคยหารือกับประธานาธิบดีพม่าเอาไว้

การประชุมร่วมครั้งแรกของคณะกรรมการร่วมระดับสูง ระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นการปูทางไปสู่การหารือทวิภาคีระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ในการประชุมผู้นำอาเซียน ที่ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 15-20 พ.ย.นี้ หลังจากผู้นำทั้งสองชาติได้เจอกันมาแล้วที่นิวยอร์ก เมื่อปลายเดือนก.ย.ที่ผ่านมา และมีความตกลงจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมสองชาติ พร้อมกับจัดตั้งอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม พลังงาน การพัฒนาชุมชน กฎระเบียบ และการเงิน

สำหรับกลไกคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมาขับเคลื่อนโครงการทวายระหว่างสองประเทศที่ผู้นำสองฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยานนั้น มีอยู่ 2 ชุด คือ หนึ่ง คณะกรรมการร่วมระดับสูง ระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายไทยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และส่วนพม่า มีรองประธานาธิบดี เป็นประธาน

และ สอง คณะกรรมการระดับประสานงานระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของเมียนมาร์ เป็นประธาน

เอาแค่คณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นมาก็เห็นชัดว่าพี่น้องชินวัตรสั่งเดินหน้าอย่างเต็มสตรีมแน่ ไม่ว่าจะเป็น กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ สายตรงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่นั่งประธานคณะกรรมการชุดใหญ่ และ นิวัฒน์ธำรงบุญทรงไพศาล สายตรงนายใหญ่แห่งดูไบ ที่เป็นชุดชงเรื่อง

ขณะที่รัฐมนตรีคุมกระทรวงเกี่ยวข้องกับทวายโปรเจกต์ ไม่ว่าจะเป็น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม, สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ, พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ก็ล้วนแต่อยู่ในสายนายหญิง-นายใหญ่ ทั้งนั้น มีเพียง ประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม จากชาติพัฒนา ที่เข้ามาแทรก แต่ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะขวาหัน ซ้ายหัน ตามสั่งอยู่แล้ว 1มองย้อนกลับไป เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่บริษัทอิตาเลียนไทยฯได้ลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวาย ตามระยะเวลาการเช่าที่ดินมากกว่า 75 ปี ประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ครอบคลุมพื้นที่ 4 แสนไร่ พร้อมด้วยถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไทย-พม่า รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยพม่า วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท ถือเป็นโครงการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษนี้ของภูมิภาคนี้

แต่การจะกินคำโตเกินกำลังของอิตัลไทย ทำให้ตกอยู่ในสภาพจะกลืนก็ไม่เข้า จะคายออกก็เสียดายเพราะไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะได้สัมปทานนี้มาครอบครอง ที่ผ่านมาอิตัลไทยจึงวิ่งวุ่นหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนโครงการแต่ก็คว้าได้เพียงลม

ประสบการณ์อิตัลไทยซึ่งถนัดเรื่องงานก่อสร้าง เป็นหลัก จะให้มาเป็นผู้ลงทุนและโอเปอเรตทวายโปรเจกต์ โครงการลงทุนใหญ่ระดับอีสเทิร์นซีบอร์ดของไทยที่ใช้องคาพยพทั้งงบประมาณของแผ่นดิน หน่วยงานวางแผนอย่างสภาพัฒน์ และมีรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ไฟแนนซ์รายใหญ่กว่าจะสำเร็จเป็นรูปร่างอย่างทุกวันนี้ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ลำพังอิตัลไทยและรัฐบาลพม่าซึ่งเพิ่งเปิดประเทศจะทำได้ ขณะที่ที่ผ่านมารัฐบาลไทยที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ เมื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาบริหารประเทศ อิตัลไทยจึงมีความหวัง และทำให้ทวายโปรเจกต์มีความคืบหน้า

เว็บไซต์ของบริษัททวาย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2555 กระทรวงการคลังไทย ได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยในการพัฒนาโครงการทวาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธาน คณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนสภาพัฒน์ ผู้แทนธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น!!!และในวันที่ 23 ก.ค. 2555 ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการสนับสนุนและผลักดันโครงการทวาย ซึ่งมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธิในการพัฒนาโครงการจากรัฐบาลพม่า โดยกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐอย่างเป็นทางการ

"ทวายไม่ใช่เป้าสุดท้ายของเราหรือของญี่ปุ่น ทวายเป็น transi t s p oint ไปสู่อินเดีย อัครมหาเศรษฐีใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งของโลก และไปสู่ Gulf state (กลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอารเบียน) และไปสู่ยุโรป โดยไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ประหยัดค่าต้นทุน ค่าประกัน ที่สำคัญของสินทรัพย์ญี่ปุ่น ซึ่งลงทุนในไทยมาเป็น 50-60 ปี โดยใช้ทวายเป็น transits ผ่านไปขายยังอินเดีย" วิสัยทัศน์ของ พันศักดิ์ วิญรัตน์ กุนซือใหญ่หลายสมัยของรัฐบาลขั้วทักษิณ มองทวายโปรเจกต์

ภายใต้การผลักดันทวายโปรเจกต์ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีนโยบายชัดเจนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ด้วยการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท จะผลักดันก่อสร้างระบบราง มอเตอร์เวย์ เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึกทวาย กับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและการเดินทางระหว่างไทย จีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า ในเส้นทางอีสต์เวสต์คอริดอร์ และนอร์ทเซาท์คอริดอร์ ผ่านท่าเรือน้ำลึกไปยังยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง

การแบ่งเค้กทวายโปรเจกต์ถึงวันนี้มีข้อสรุปกันเบื้องต้นว่า ปตท.จะเป็นผู้เข้าลงทุนในส่วนของธุรกิจน้ำมัน ก๊าซฯ และปิโตรเคมี ส่วนโรงไฟฟ้า จะมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัทลูกเช่นบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ลงนามเอ็มโอยูกับ อิตัลไทยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าขนาด 4,000 เมกะวัตต์ และขณะนี้รัฐบาลพม่าได้อนุญาตให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 400 เมกะวัตต์ จะเริ่มดำเนินการในปี 2557 และโรงไฟฟ้าถ่านหิน 400 เมกะวัตต์ ในปี 2559 นำร่อง

พร้อมกันนั้น มีข้อเสนอให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เข้าถือหุ้นในโครงสร้างการลงทุนด้วย และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริหารแหล่งเงินกู้ที่มาจากกลุ่มสถาบันการเงินอย่างเช่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) และเอดีบี ต้องมีการปรับสัดส่วนหุ้นใหม่ในอิตัลไทยด้วย

ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยยังได้ตั้งงบดำเนินการทาง หลวงพิเศษสายกาญจนบุรี-ชายแดนไทย-พม่า ระยะ ทางกว่า 70 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างให้เสร็จในปี 2558 และการรถไฟฯ ได้เตรียมขออนุมัติงบประจำปี 2556 เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างเส้นทางจากท่าเรือทวายถึงท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเชื่อมต่อสองท่าเรือ เป็นต้น !อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยหนึ่งในนั้น มีแผนที่จะก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 45,000 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการศึกษาก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมจากกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางจากบ้านพุน้ำร้อน-ท่าเรือน้ำลึกทวาย ระยะทาง 132 กิโลเมตร บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้รับสัมปทานจาก!พม่าเพื่อให้มีเส้นทางเชื่อมต่อ ทำหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้างหากโครงการเสร็จจะสามารถขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกทวาย ผ่านกาญจนบุรีมายังกรุงเทพฯ ออกไปยังท่าเรือแหลมฉบังสะดวกมากขึ้น !ถามว่า การผลักดันโครงการลงทุนทวายโปรเจกต์ ซึ่งรัฐบาลเล็งควักเงินภาษีประชาชนคนไทยไปทุ่มทุนสร้าง มหาศาล ดังเช่นที่ สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อธิบายต่อสาธารณะก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลไทยตั้งเป้าสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการทวายไว้ที่แสนล้านบาท โดยจะมีการดึงพม่าและญี่ปุ่น เข้ามาร่วมด้วยนั้น แท้จริงแล้วใครคือผู้ได้ประโยชน์กันแน่

คำตอบ ณ เวลานี้ นอกจากอิตัลไทยแล้ว ยังมีกลุ่มปตท. กฟผ.และบริษัทลูก และอีกกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์เต็มๆ จากการเชื่อมทวายกับอีสเทิร์นซีบอร์ดคือ กลุ่มทุนญี่ปุ่นซึ่งมีฐานผลิตในอีสเทิร์นซีบอร์ดกว่า 80%

!!แต่น่าติดตามยิ่งกว่าก็คือ จะมีค่าวิ่งเต้นล็อบบี้ ค่าเปิดปากถุงเงินลงทุนโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยหล่นใส่มือนักล็อบบี้ดีกรีอดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่ และมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับกรณีเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่าซื้อของจาก ชินคอร์ป

"เอาแค่คณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นมาก็เห็นชัดว่าพี่น้องชินวัตรสั่งเดินหน้าอย่างเต็มสตรีมแน่ไม่ว่าจะเป็น กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ สายตรงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่นั่งประธานคณะกรรมการชุดใหญ่ และนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล สายตรงนายใหญ่แห่งดูไบ ที่เป็นชุดชงเรื่องขณะที่รัฐมนตรีคุมกระทรวงเกี่ยวข้องกับทวายโปรเจกต์ ไม่ว่าจะเป็น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม,สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ, พงษ์ศักดิ์ รักตนพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานก็ล้วนแต่อยู่ในสายนายหญิง-นายใหญ่ ทั้งนั้น มีเพียง ประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม จากชาติพัฒนา ที่เข้ามาแทรก แต่ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะขวาหัน ซ้ายหัน ตามสั่งอยู่แล้ว"



ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 พ.ย. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
Hwamei
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 405
ผู้ติดตาม: 10

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 39

โพสต์

pak เขียน:ผ่าแผนทักษิณล้วงแสนล้าน สานฝัน"ทวายโปรเจกต์"
Source - ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ (Th), Saturday, November 10, 2012


แน่เสียยิ่งกว่าแน่ว่า ทริปออนทัวร์ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมาไม่ใช่แค่เยี่ยมเยือนเพื่อนเก่า เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า อย่างที่ นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของทักษิณ โกหกหน้าตายต่อสาธารณะ เพราะใครๆ เขาก็มองทะลุปรุโปร่งว่าเวลานี้สองพี่น้องชินวัตร ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีตัวจริงกับนอมินี วางแผนการใหญ่ล้วงเงินภาษีของประชาชนพี่น้องชาวไทยไปช่วย "ทวายโปรเจกต์" ในพม่า โดยรัฐบาลไทยวางเป้าหนุนเฟสแรกแสนล้านเรียกแขก และดึงเอ็กซิมแบงก์เจ้าเก่าเข้าร่วมด้วยเช่นเคย

บวกลบคูณหารแล้ว คราวก่อนที่เอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่าเพื่อซื้อของกลุ่มชินคอร์ปกว่า 4,000 กว่าล้านบาท ก็ทำรายได้ให้ชินคอร์ปมากโขอยู่ ดีลครั้งนั้นทักษิณได้ของแถมตกเป็นผู้ต้องหาและเร่ร่อนหนีคดีทุจริตกรณีดังกล่าวจนบัดนี้

!!มาครั้งนี้ ทักษิณ เล่นบทจับเสือมือเปล่าและชักใยอยู่เบื้องหลัง ล็อบบี้ทางพม่าและผลักดันให้รัฐบาลน้องสาวยิ่งลักษณ์ทุ่มทุนสร้าง สานฝันทวายโปรเจกต์ให้เป็นจริง หากสำเร็จคราวนี้คำนวณดูแล้วคงได้ค่าเหนื่อยไม่น้อย เพราะเม็ดเงินลงทุนอภิมหาโปรเจกต์ประมาณการเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 4 แสนกว่าล้าน ตอนนี้หน่วยงานรัฐทั้งกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ ฯลฯ ต่างหัวฟูปั่นงานสนองนายใหญ่และนายกฯหญิงกันเป็นทิวแถว

ดังนั้น ลิ่วล้อนายใหญ่อย่ามาดูแคลนคนไทยว่าไม่มีสมองและกินแกลบต่างข้าวด้วยการปฏิเสธว่าทักษิณไม่เกี่ยว ไม่มีการหารือเรื่องการลงทุนท่าเรือน้ำลึกทวายหรือด้านอื่นๆ ในพม่า ไม่มีการเจรจาธุรกิจหรือผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจ เรื่องท่าเรือน้ำลึกทวายเป็นเรื่องของ รัฐบาลไทยกับพม่าที่จะเจรจาร่วมกันเอง เพราะเขารู้กันทั้งบางว่า ทีมผู้บริหารเครือ ปตท. และอิตัลไทย หิ้วกระเป๋าเดินตามก้นทักษิณเข้าพบผู้นำพม่านอกรอบมาแล้วหลายครั้ง

ในการผลักดันสานฝันทวายโปรเจกต์ให้เป็นจริง สองพี่น้องชินวัตรต่างทำงานสอดประสานกันเป็นปี่เป็นขลุย อย่างเช่นคราวก่อนที่นายกฯยิ่งลักษณ์ เดินทางไปเยือนพม่า ทักษิณก็บินไปพบปะผู้นำพม่าล่วงหน้า พร้อมลงพื้นที่ทวายกับทีมผู้บริหาร ปตท.และอิตัลไทยด้วย

คราวนี้ ก่อนที่ ทักษิณ จะเข้าพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ในวันที่ 8 พ.ย.ที่กรุงเนย์ปิดอว์นั้น ยิ่งลักษณ์ ก็เตรียมการก่อนเจรจาให้พี่ชายล่วงหน้า โดยนั่งหัวโต๊ะ เป็นประธาน การประชุมรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับทวายโปรเจกต์ เช่น คมนาคม อุตสาหกรรม พลังงาน และต่างประเทศ เพื่อวางกรอบเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งเบื้องต้นแบ่งกรอบการหารือเป็น 3 ประเด็น คือ โครงการสร้างถนนจากโครงการทวายถึงชายแดนไทย-พม่า ระยะทาง 132 กิโลเมตร โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและสายส่งระยะเริ่มแรกในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย 33 เมกะวัตต์

จากนั้น เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ยิ่งลักษณ์ ก็ได้ต้อนรับการมาเยือนไทยของคณะนายญาณทุน รองประธานาธิบดีของพม่า เพื่อร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทวายโปรเจกต์ โดยนายกรัฐมนตรีของไทยและรองประธานาธิบดีพม่า ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีมอบหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยการจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมระดับสูงของสองชาติ

ยิ่งลักษณ์ยังได้ให้คำมั่นต่อรองประธานาธิบดีของพม่าว่า รัฐบาลไทยพร้อมผลักดันและสนับสนุนให้โครงการทวายเดินหน้าโดยเร็วที่สุด เชื่อมั่นว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันดำเนินโครงการสำคัญนี้ และยังให้จัดลำดับความสำคัญของโครงการให้ชัดเจนตามที่เคยหารือกับประธานาธิบดีพม่าเอาไว้

การประชุมร่วมครั้งแรกของคณะกรรมการร่วมระดับสูง ระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นการปูทางไปสู่การหารือทวิภาคีระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ในการประชุมผู้นำอาเซียน ที่ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 15-20 พ.ย.นี้ หลังจากผู้นำทั้งสองชาติได้เจอกันมาแล้วที่นิวยอร์ก เมื่อปลายเดือนก.ย.ที่ผ่านมา และมีความตกลงจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมสองชาติ พร้อมกับจัดตั้งอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม พลังงาน การพัฒนาชุมชน กฎระเบียบ และการเงิน

สำหรับกลไกคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมาขับเคลื่อนโครงการทวายระหว่างสองประเทศที่ผู้นำสองฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยานนั้น มีอยู่ 2 ชุด คือ หนึ่ง คณะกรรมการร่วมระดับสูง ระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายไทยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และส่วนพม่า มีรองประธานาธิบดี เป็นประธาน

และ สอง คณะกรรมการระดับประสานงานระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของเมียนมาร์ เป็นประธาน

เอาแค่คณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นมาก็เห็นชัดว่าพี่น้องชินวัตรสั่งเดินหน้าอย่างเต็มสตรีมแน่ ไม่ว่าจะเป็น กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ สายตรงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่นั่งประธานคณะกรรมการชุดใหญ่ และ นิวัฒน์ธำรงบุญทรงไพศาล สายตรงนายใหญ่แห่งดูไบ ที่เป็นชุดชงเรื่อง

ขณะที่รัฐมนตรีคุมกระทรวงเกี่ยวข้องกับทวายโปรเจกต์ ไม่ว่าจะเป็น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม, สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ, พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ก็ล้วนแต่อยู่ในสายนายหญิง-นายใหญ่ ทั้งนั้น มีเพียง ประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม จากชาติพัฒนา ที่เข้ามาแทรก แต่ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะขวาหัน ซ้ายหัน ตามสั่งอยู่แล้ว 1มองย้อนกลับไป เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่บริษัทอิตาเลียนไทยฯได้ลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวาย ตามระยะเวลาการเช่าที่ดินมากกว่า 75 ปี ประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ครอบคลุมพื้นที่ 4 แสนไร่ พร้อมด้วยถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไทย-พม่า รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยพม่า วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท ถือเป็นโครงการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษนี้ของภูมิภาคนี้

แต่การจะกินคำโตเกินกำลังของอิตัลไทย ทำให้ตกอยู่ในสภาพจะกลืนก็ไม่เข้า จะคายออกก็เสียดายเพราะไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะได้สัมปทานนี้มาครอบครอง ที่ผ่านมาอิตัลไทยจึงวิ่งวุ่นหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนโครงการแต่ก็คว้าได้เพียงลม

ประสบการณ์อิตัลไทยซึ่งถนัดเรื่องงานก่อสร้าง เป็นหลัก จะให้มาเป็นผู้ลงทุนและโอเปอเรตทวายโปรเจกต์ โครงการลงทุนใหญ่ระดับอีสเทิร์นซีบอร์ดของไทยที่ใช้องคาพยพทั้งงบประมาณของแผ่นดิน หน่วยงานวางแผนอย่างสภาพัฒน์ และมีรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ไฟแนนซ์รายใหญ่กว่าจะสำเร็จเป็นรูปร่างอย่างทุกวันนี้ คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ลำพังอิตัลไทยและรัฐบาลพม่าซึ่งเพิ่งเปิดประเทศจะทำได้ ขณะที่ที่ผ่านมารัฐบาลไทยที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ เมื่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาบริหารประเทศ อิตัลไทยจึงมีความหวัง และทำให้ทวายโปรเจกต์มีความคืบหน้า

เว็บไซต์ของบริษัททวาย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2555 กระทรวงการคลังไทย ได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยในการพัฒนาโครงการทวาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธาน คณะทำงานประกอบด้วย ผู้แทนสภาพัฒน์ ผู้แทนธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น!!!และในวันที่ 23 ก.ค. 2555 ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการสนับสนุนและผลักดันโครงการทวาย ซึ่งมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธิในการพัฒนาโครงการจากรัฐบาลพม่า โดยกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐอย่างเป็นทางการ

"ทวายไม่ใช่เป้าสุดท้ายของเราหรือของญี่ปุ่น ทวายเป็น transi t s p oint ไปสู่อินเดีย อัครมหาเศรษฐีใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งของโลก และไปสู่ Gulf state (กลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอารเบียน) และไปสู่ยุโรป โดยไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ประหยัดค่าต้นทุน ค่าประกัน ที่สำคัญของสินทรัพย์ญี่ปุ่น ซึ่งลงทุนในไทยมาเป็น 50-60 ปี โดยใช้ทวายเป็น transits ผ่านไปขายยังอินเดีย" วิสัยทัศน์ของ พันศักดิ์ วิญรัตน์ กุนซือใหญ่หลายสมัยของรัฐบาลขั้วทักษิณ มองทวายโปรเจกต์

ภายใต้การผลักดันทวายโปรเจกต์ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีนโยบายชัดเจนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ด้วยการลงทุนโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท จะผลักดันก่อสร้างระบบราง มอเตอร์เวย์ เพื่อเชื่อมต่อท่าเรือน้ำลึกทวาย กับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและการเดินทางระหว่างไทย จีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า ในเส้นทางอีสต์เวสต์คอริดอร์ และนอร์ทเซาท์คอริดอร์ ผ่านท่าเรือน้ำลึกไปยังยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง

การแบ่งเค้กทวายโปรเจกต์ถึงวันนี้มีข้อสรุปกันเบื้องต้นว่า ปตท.จะเป็นผู้เข้าลงทุนในส่วนของธุรกิจน้ำมัน ก๊าซฯ และปิโตรเคมี ส่วนโรงไฟฟ้า จะมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัทลูกเช่นบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ลงนามเอ็มโอยูกับ อิตัลไทยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าขนาด 4,000 เมกะวัตต์ และขณะนี้รัฐบาลพม่าได้อนุญาตให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซฯ 400 เมกะวัตต์ จะเริ่มดำเนินการในปี 2557 และโรงไฟฟ้าถ่านหิน 400 เมกะวัตต์ ในปี 2559 นำร่อง

พร้อมกันนั้น มีข้อเสนอให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เข้าถือหุ้นในโครงสร้างการลงทุนด้วย และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริหารแหล่งเงินกู้ที่มาจากกลุ่มสถาบันการเงินอย่างเช่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) และเอดีบี ต้องมีการปรับสัดส่วนหุ้นใหม่ในอิตัลไทยด้วย

ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยยังได้ตั้งงบดำเนินการทาง หลวงพิเศษสายกาญจนบุรี-ชายแดนไทย-พม่า ระยะ ทางกว่า 70 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างให้เสร็จในปี 2558 และการรถไฟฯ ได้เตรียมขออนุมัติงบประจำปี 2556 เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างเส้นทางจากท่าเรือทวายถึงท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเชื่อมต่อสองท่าเรือ เป็นต้น !อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยหนึ่งในนั้น มีแผนที่จะก่อสร้างมอเตอร์เวย์ เส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 45,000 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการศึกษาก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมจากกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางจากบ้านพุน้ำร้อน-ท่าเรือน้ำลึกทวาย ระยะทาง 132 กิโลเมตร บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้รับสัมปทานจาก!พม่าเพื่อให้มีเส้นทางเชื่อมต่อ ทำหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้างหากโครงการเสร็จจะสามารถขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกทวาย ผ่านกาญจนบุรีมายังกรุงเทพฯ ออกไปยังท่าเรือแหลมฉบังสะดวกมากขึ้น !ถามว่า การผลักดันโครงการลงทุนทวายโปรเจกต์ ซึ่งรัฐบาลเล็งควักเงินภาษีประชาชนคนไทยไปทุ่มทุนสร้าง มหาศาล ดังเช่นที่ สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อธิบายต่อสาธารณะก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลไทยตั้งเป้าสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการทวายไว้ที่แสนล้านบาท โดยจะมีการดึงพม่าและญี่ปุ่น เข้ามาร่วมด้วยนั้น แท้จริงแล้วใครคือผู้ได้ประโยชน์กันแน่

คำตอบ ณ เวลานี้ นอกจากอิตัลไทยแล้ว ยังมีกลุ่มปตท. กฟผ.และบริษัทลูก และอีกกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์เต็มๆ จากการเชื่อมทวายกับอีสเทิร์นซีบอร์ดคือ กลุ่มทุนญี่ปุ่นซึ่งมีฐานผลิตในอีสเทิร์นซีบอร์ดกว่า 80%

!!แต่น่าติดตามยิ่งกว่าก็คือ จะมีค่าวิ่งเต้นล็อบบี้ ค่าเปิดปากถุงเงินลงทุนโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยหล่นใส่มือนักล็อบบี้ดีกรีอดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่ และมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับกรณีเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้พม่าซื้อของจาก ชินคอร์ป

"เอาแค่คณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นมาก็เห็นชัดว่าพี่น้องชินวัตรสั่งเดินหน้าอย่างเต็มสตรีมแน่ไม่ว่าจะเป็น กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ สายตรงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่นั่งประธานคณะกรรมการชุดใหญ่ และนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล สายตรงนายใหญ่แห่งดูไบ ที่เป็นชุดชงเรื่องขณะที่รัฐมนตรีคุมกระทรวงเกี่ยวข้องกับทวายโปรเจกต์ ไม่ว่าจะเป็น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม,สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ, พงษ์ศักดิ์ รักตนพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานก็ล้วนแต่อยู่ในสายนายหญิง-นายใหญ่ ทั้งนั้น มีเพียง ประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม จากชาติพัฒนา ที่เข้ามาแทรก แต่ไม่ได้เป็นปัญหาเพราะขวาหัน ซ้ายหัน ตามสั่งอยู่แล้ว"



ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 - 16 พ.ย. 2555--
อันนี้บางส่วนมันเป็นความคิดเห็นของสื่อที่อิงการเมืองค่อนข้างมาก ผู้อ่านควรต้องใช้พิจารญาณอย่างยิ่งด้วยนะครับ
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ไม่ล้มโรงไฟฟ้าถ่านหินทวาย

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2012 เวลา 11:07 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ลงทุน-อุตสาหกรรม - คอลัมน์ : ลงทุน-อุตสาหกรรม


นพพล มิลินทางกูรราชบุรีโฮลดิ้ง ยันไม่ล้มโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 พันเมกะวัตต์ ที่ทวาย มูลค่ากว่าแสนล้านบาท รอความชัดเจนไอทีดีหารือรัฐบาลเมียนมาร์ และกฎระเบียบด้านการลงทุน คาดปีหน้าได้ข้อสรุป พร้อมเล็งปูพรมลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดเล็กนำร่องก่อนในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ขณะที่ถ่านหินราคาตก ส่งผลดีต่อการซื้อเหมืองในอินโดนีเซียและออสเตรเลียได้ในราคาถูก

นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงทิศทางการลงทุนในประเทศเมียนมาร์ว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4 พันเมกะวัตต์ ที่เป็นการร่วมทุนกับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ไอทีดี เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย แต่ทั้งนี้ ต้องรอความชัดเจนจากทางไอทีดีในฐานะเจ้าของโครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับทางภาครัฐของเมียนมาร์ และความชัดเจนด้านกฎระเบียบการลงทุนต่างๆก่อนคาดว่าในปี 2556 น่าจะมีความชัดมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ทางรัฐบาลไทยอยู่ระหว่างการหาแนวทางช่วยเหลือในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่ทวายเช่นกัน

"การเข้าไปลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ทวาย ถือเป็นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นแรก ที่ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าจะมีไฟฟ้าป้อนความต้องการได้อย่างเพียงพอ ซึ่งโรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้น คงต้องดำเนินการเป็นระยะๆ ตามขนาดการเติบโตของการเข้ามาลงทุน ซึ่งยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนเท่าใด เพราะต้องรอไอทีดีเคลียร์กับรัฐบาลเมียนมาร์ก่อน นอกจากนี้ยังพบว่าเส้นทางคมนาคม สายส่งไฟฟ้า และกฎหมายการลงทุนยังไม่มีความชัดเจน แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการล้มโครงการนี้อย่างแน่นอน เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท"

ขณะเดียวกัน ระหว่างรอการพัฒนาพื้นที่ทวายบริษัทยังสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในเมียนมาร์เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลายพื้นที่ อาทิ เมืองย่างกุ้ง และเมืองมัณฑะเลย์ แต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะเลือกพื้นที่ใด เพราะได้ศึกษาไว้หลายแห่ง เนื่องจากพบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในเมียนมาร์ทุกพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีความต้องการไฟฟ้ารวมประมาณ 4 พันเมกะวัตต์ ซึ่งยังต่ำมากเมื่อเทียบกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

นายนพพล กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการซื้อหุ้นเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ที่คาดว่าจะสรุปได้ภายในปีนี้ ยอมรับว่าต้องเลื่อนออกไปจากแผนเดิมที่คาดไว้ เนื่องจากราคาถ่านหินในตลาดโลกปรับตัวลงอย่างมาก หรือประมาณ 20-30% เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพบก๊าซธรรมชาติในชั้นหิน(เชลล์ก๊าซ) ส่งผลให้ความต้องการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯลดลง ดังนั้นบริษัทเชื่อว่าราคาเหมืองถ่านหินจะถูกลงด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อการต่อรองราคา และบริษัทก็ไม่ได้รีบร้อนจะซื้อเหมืองถ่านหินให้เสร็จภายในปีนี้ แต่ต้องการให้ได้เหมืองที่ราคาคุ้มที่สุด

สำหรับการเข้าซื้อเหมืองดังกล่าว เนื่องจากเป็นเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ คาดว่าจะมีปริมาณสำรองกว่า 100 ล้านตันขึ้นไป เป็นการเตรียมความพร้อมไว้สำหรับการเข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในกัมพูชา และนิคมอุตสาหกรรมทวาย รวมทั้งขายไปประเทศอื่นๆ ซึ่งเป้าหมายจะมีการถือหุ้นในเหมืองถ่านหินไม่ต่ำกว่า 20 %

ขณะที่ความคืบหน้าโครงการลงทุนอื่นๆในต่างประเทศ อย่างโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา ที่สปป.ลาว บริษัทถือหุ้นอยู่ 40% ปัจจุบันก่อสร้างโรงไฟฟ้าและพัฒนาเหมืองไปแล้ว 32% ซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ปี 2558-2559 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย ได้ลงนามสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลาวแล้ว และจะเซ็นสัญญาขายไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ปลายปีนี้ คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ปี 2561 และเตรียมความพร้อมลงทุนเพิ่มโครงการพลังงานทดแทนในออสเตรเลีย กำลังผลิตรวมประมาณ 130 เมกะวัตต์

"การขยายลงทุนโรงไฟฟ้าในออสเตรเลีย นอกจากโครงการพลังงานทดแทนแล้ว ยังดูโอกาสลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาลู่ทางเข้าไปลงทุนในนิวซีแลนด์ด้วย เนื่องจากพบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศดังกล่าวเติบโตขึ้น เพราะมีโรงงานถลุงแร่ และมีโรงงานจำนวนมาก ซึ่งการลงทุนจะเป็นลักษณะการร่วมทุนกับพันธมิตร เนื่องจากมีความปลอดภัยในฐานะผู้ลงทุนรายใหม่"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,794 วันที่ 22-24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 41

โพสต์

“โกร่ง” ฟันธงลงทุนภาครัฐ 2.27 ล้านล้านทำได้จริง ยันเงินออมมีเพียบ-ไม่ต้องกู้นอก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2555 09:10 น.

“วีระพงษ์” ลั่นโครงการลงทุนภาครัฐ 2.27 ล้านล้านบาทต้องเกิดได้แน่นอน ยันไม่ต้องกู้นอกเพราะในประเทศมีเงินออมเพียงพอ เผยนักลงทุนญี่ปุ่นกำลังแห่กลับไทยเพราะกระทบจากเหตุการณ์สึนามิทำให้ประชาชนต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่งผลให้ญี่ปุ่นขาดแคลนพลังงานในการผลิต ขณะที่การย้ายฐานไปจีนทำได้ยาก พร้อมระบุโครงการทวายไทยได้ประโยชน์มหาศาล

นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า มีแนวโน้มว่าญี่ปุ่นจะกลับมาลงทุนในไทยครั้งใหญ่อีกครั้ง เนื่องจากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นครั้งที่ผ่านมาทำให้เกิดกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ครั้งนั้นเกิดเหตุระเบิดขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นจะถูกปิด ส่งผลให้พลังงานในญี่ปุ่นอาจจะขาดแคลน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งในญี่ปุ่นอาจจะย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย

ตอนนี้ในประเทศญี่ปุ่นกำลังมีกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้น คาดว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นอาจถูกปิด ทำให้การผลิตพลังงานในญี่ปุ่นไม่พอใช้ โรงงานอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นอาจย้ายฐานการผลิตมาไทย เพราะคงไม่ไปจีนเนื่องจากข้อพิพาทในการช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเตียวหยูระหว่างญี่ปุ่นกับจีนรุนแรงขึ้น พนักงานชาวจีนในบริษัทเอกชนญี่ปุ่นที่ตั้งในจีนก่อเหตุทำร้ายผู้บริหารชาวญี่ปุ่น และกระแสต่อต้านบริษัทญี่ปุ่นในจีนก็รุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.27 ล้านล้านบาท และโครงการปรับปรุงระบบน้ำมูลค่า 350,000 ล้านบาทของรัฐบาลยังไงก็คงต้องเกิดขึ้น โดยเม็ดเงินการลงทุนจริงอาจออกมาในปีหน้า และปี 2557 ซึ่งประเทศไทยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพราะในประเทศมีการออมมากกว่าการลงทุนมานานมากกว่า 15 ปี ทำให้มีเงินลงทุนเพียงพอ

นอกจากนี้ ยังมองว่านิคมอุตสาหกรรมทวายของพม่าที่กำลังจะเกิดประเทศไทยจะได้ประโยชน์ เพราะจีนต้องหาทางเชื่อมต่อเพื่อออกมาสู่ทะเลอ่าวไทย หลังจากที่สามารถเชื่อมต่อหาทางออกมาทะเลอันดามันได้ผ่านทางเมืองคุนหมิง ทะลุถึงเมืองย่างกุ้งของพม่า ถ้าทวายเกิดจะเกิดการเชื่อมต่อมาจากเมืองคุนหมิงเข้าสู่ทวาย ทะลุหลวงน้ำทาในหนองคาย เข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและแหลมฉบัง ไทยจะได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อครั้งนี้มากที่สุด แต่ต้องขึ้นอยู่กับการผสานผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาลพม่า ไม่ใช่การทะเลาะกัน

ที่มา http://www.manager.co.th/iBizChannel/Vi ... 0000139985
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 42

โพสต์

“หม่อมอุ๋ย” ชี้ 2 อุปสรรคใหญ่ขวางลงทุน ค้านท่าเรือ “ทวาย” ยืมจมูกคนอื่นหายใจ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2555 13:51 น.

“ปรีดิยาธร” ชี้แรงงานขาด-สิ่งแวดล้อม ถือเป็น 2 อุปสรรคใหญ่ขวางลงทุน “เมกะโปรเจกต์” แนะผ่าทางตัน “จีดีพี” หากต้องการให้โตเกิน 5% ต่อปี ต้องส่งเสริมให้เอกชนไทยสร้างฐานลงทุนนอกประเทศ แล้วปรับตัวเป็นผู้ค้าที่แท้จริง ค้านโครงการท่าเรือ “ทวาย” ถามรัฐทำไมต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงปาฐกถาหัวข้อ “เศรษฐกิจกับความมั่นคง” โดยมองว่า สภาพเศรษฐกิจไทยในขณะนี้กำลังเผชิญกับสองปัญหาสำคัญ คือ การขาดแคลนแรงงาน และปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้การลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้เหมือนเช่นอดีต ซึ่งปัญหานี้ถือเป็นตัวบั่นทอนศักยภาพเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว

“ถ้าไทยยังอยู่แบบนี้ อย่างเก่งเศรษฐกิจไทยจะได้แค่ 3-5% ต่อปี ซึ่งจริงๆ แล้วเรามีศักยภาพจะโตได้ถึง 6-7% ต่อปี แต่การจะไปถึงจุดนั้นเราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นประเทศที่ค้าขายให้ได้”

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า การแปลงตัวเองให้เป็นประเทศที่เชี่ยวชาญการค้าโลกนั้น (เทรดดิงเนชัน) ไทยต้องเริ่มปรับตัวเองให้เป็นผู้ค้าที่แท้จริง เมื่อผลิตในประเทศไม่ได้แล้ว ค่าแรงแพง โดนประท้วง ก็ต้องออกไปตั้งฐานการผลิตในประเทศอื่นเพื่อสร้างฐานการค้า ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศจะต้องปรับตัวเองให้อยู่ในรูปซื้อมาขายไป หรือเน้นธุรกิจบริการ ต้องใช้ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ให้เป็นประโยชน์

“เรามีปัจจัยที่เอื้อมากในการเป็นเทรดดิงเนชัน ทั้งภูมิศาสตร์ที่อยู่กึ่งกลาง มีสินค้าระดับชั้นนำของโลกหลายอย่าง ข้าว น้ำตาล อาหารทะเล รถยนต์ และเรากำลังจะมีเส้นทางคมนาคมทางบก และรางที่เชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน ถ้าทำให้ดีเราจะก้าวกระโดดขึ้นมาได้อีกครั้ง”

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า นอกจากการพัฒนาระบบการขนส่งทางบก และรางแล้ว ไทยควรเร่งพัฒนาท่าเรือน้ำลึกโดยเฉพาะในฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเป็นประตูตะวันตก เพื่อแบ่งเบาภาระท่าเรือแหลมฉบังที่ปัจจุบันใกล้เต็มความจุแล้ว ทั้งนี้ เชื่อว่าหากไทยมีท่าเรือทั้งสองฝั่งทะเล จะทำให้ปริมาณการค้าไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก

“มีคนถามว่าทำไมไม่รอท่าเรือทวาย แต่ผมกลับมองว่าทำไมเราไม่ขยายปากบารา ทำไมเราต้องไปยืมจมูกคนอื่นหายใจ ท่าเรือทวายตอนนี้ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง แต่ถ้าพัฒนาปากบาราภายใน 2-3 ปี เราจะได้ใช้ ถ้าปากบาราเกิด ผมเชื่อว่าเราโตได้เหมือนเมื่อครั้งเกิดอีสเทิร์นซีบอร์ด” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวทิ้งท้าย


ที่มา http://www.manager.co.th/iBizChannel/Vi ... 0000140721
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 43

โพสต์

กทท.ยันพร้อมรับมือทวาย-เออีซี

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2012 เวลา 12:43 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate - คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม

การท่าเรือฯยันพร้อมรับมือเออีซีและท่าเรือน้ำลึกทวาย ชี้ผลดีช่วยลดผลกระทบปัญหาการขยายท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เผยทวายมีร่องน้ำลึกและชัยภูมิเหมาะสมกว่า "ทองอยู่" เกาะติดปากบาราไม่เลิกจวกกรมเจ้าท่าตะแบงดันทั้งๆที่ควรจะพัฒนาเพื่อรับการท่องเที่ยวภาคใต้ แนะคมนาคมมองภาพกว้างและควรเร่งเปลี่ยนโหมดการขนส่งรองรับทวายโดยเร็ว ส่วนทล.เร่งมอเตอร์เวย์รับมือเต็มที่

ร.ต.วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยในการสัมมนาเรื่อง "ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย ประตูสู่ตะวันตก" ที่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจและสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(องค์การมหาชน) หรือสพพ.จัดขึ้นว่าขณะนี้การท่าเรือฯมีความพร้อมรับมือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และการเกิดขึ้นของท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า โดยเห็นว่าทวายเป็นทำเลที่เหมาะสมเพราะมีความลึกในทะเลช่วงอ่าวเมาะตะมะมากกว่าท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบังของไทย โดยเฉพาะอ่าวยังมีเกาะโอบล้อมพื้นที่ดังกล่าวซึ่งกันคลื่นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งท่าเรือทวายใช้วิธีขุดมากกว่าการถมที่เช่นในประเทศไทย มีพื้นที่รวมกว่า 1.4 แสนไร่ ซึ่งมากกว่ามาบตาพุดถึง 10 เท่า

แม้ว่าพม่าจะมีประชากรราว 51 ล้านคน แต่หากมองข้ามไปถึงอินเดียหรือประเทศในแถบตะวันออกกลาง และอเมริกาจึงน่าจะเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้นจะใช้ต้นทุนที่ถูกกว่า ขนได้จำนวนมากกว่า แต่ต้องบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ทั้งนี้กทท.มองเป็นโอกาสที่พม่าไว้วางใจให้เป็นฐานสู่อินเดียและยังเชื่อมโยงโลกตะวันออกสู่ตะวันตก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆทั้งเรื่องบุคลากร กฎระเบียบ พิธีการต่างๆให้สอดคล้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยเร็ว โดยเฉพาะช่วงเวลาการตรวจสินค้าด่านชายแดนต้องรวดเร็ว และเร่งเชื่อมโยงด้วยระบบโครงข่ายคมนาคม ซึ่งเห็นว่าช่วง 3-5 ปีแรกน่าจะยังใช้ระบบถนน หลังจากนั้นจะหันมาใช้ระบบรางมากขึ้น

ส่วนการบริหารจัดการปัจจุบันกทท.ใช้ระบบอินเตอร์เนชั่นแนลรองรับไว้แล้ว ดังนั้นโอกาสในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจจึงมีสูง แต่ก็ไม่ได้มองข้ามปัจจัยความเสี่ยงหลายๆด้าน อาทิ เรื่องภาษี และอัตราแลกเปลี่ยนยังน่าเป็นห่วง นอกจากนั้นทวายยังมีเป้าหมายลูกค้าต่างกับแหลมฉบัง แต่คงต้องบูรณาการร่วมกันให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะประตูเพื่อการส่งออกไปเวียดนาม กัมพูชาและอีกหลายๆประเทศในโซนดังกล่าว โดยมุ่งลดต้นทุนโลจิสติกส์ แต่ที่น่าสนใจให้ผู้บริหารประเทศต้องคิดคือการพัฒนาแหลมฉบังในอดีตใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะเติบโต ดังนั้นหากมีทวายแล้วไทยจะรับมือได้มากน้อยแค่ไหน เพราะขณะนี้แหลมฉบังเริ่มมีข้อจำกัดแล้ว ดังนั้นทุกหน่วยจึงควรเร่งเตรียมความพร้อมเอาไว้ตั้งแต่วันนี้

นายทองอยู่ คงขันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.เค.โลจิสติกส์ แอนด์ ซัพพลายเชน (ประเทศไทย)จำกัด จนถึงขณะนี้กรมเจ้าท่าและกระทรวงคมนาคมไม่ได้ปฏิบัติตามทิศทางนโยบายของรัฐบาลที่ไปผลักดันท่าเรือน้ำลึกทวายให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยยังพยายามผลักดันท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือน้ำลึกปากบารา ทั้งๆที่ไม่มีนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้อนสินค้าให้ภาคการขนส่งรองรับไว้ในพื้นที่ แต่อยากเสนอแนะว่าควรแสดงความชัดเจนออกมาโดยเร็วและควรเร่งพัฒนาเพื่อรองรับหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้มากกว่า

"รัฐบาลควรมองการพัฒนาในภาพกว้างโดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งโดยรัฐควรเร่งเปลี่ยนโหมดการขนส่งทางถนนมาสู่ระบบรางและทางน้ำให้มากขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าจากทวายและภูมิภาคต่างๆ มากกว่ามองการเชื่อมโยงทางถนนที่เชื่อว่าต่อไปจะมีความหนาแน่นมากขึ้น และเร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพ.ร.บ.การขนส่งทางถนนข้ามประเทศ แนะรัฐควรสร้างประเทศไทยให้เป็นฮับหลายๆทาง" นายทองอยู่กล่าวและว่า รู้สึกเสียดายเวลาที่กระทรวงคมนาคมโดยกรมเจ้าท่าพยายามผลักดันปากบารามานานถึง 4 ปี ส่วนแหลมฉบังเฟส 3 ยังมีปัญหาผลกระทบทิศทางน้ำทะเล ซึ่งต่อจากนี้ไปสหพันธ์การขนส่งทางบกคงจะนำการพัฒนาภาครัฐเน้นเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับเออีซี แนะรัฐไม่ควรมองว่าจะรับรายได้เฉพาะภาษีหรือค่าธรรมเนียมค่าผ่านทางเท่านั้น ซึ่งควรจัดเก็บตามน้ำหนัก สิ่งสำคัญไทยจะได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่แน่ๆจึงควรมีระเบียบด้านนี้กำหนดเอาไว้ด้วยหากรถแต่ละคันจะผ่านพื้นที่ประเทศไทย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,796 วันที่ 2- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 44

โพสต์

“วิสแพค” รุกพม่ารับทวาย-เช่าที่ดินยาว 75 ปี ผุด รง.เคมีฯ-บ้านน็อกดาวน์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2555 13:50 น.

บริษัททำธุรกิจเคมีภัณฑ์ “วิสแพค” เล็งขยายตลาดสู่ประเทศพม่า รับโครงการทวาย-เออีซี เล็งเช่าที่ดินยาว 75 ปี สร้างโรงงานเคมีภัณฑ์ และโรงงานประกอบบ้านน็อกดาวน์ คาดรูปแบบบ้านเดี่ยวราคา 6 แสนบาท ลุ้นบีโอไอพม่าผ่อนเกณฑ์นำเข้าเงิน และออกได้มากขึ้น พร้อมงัดที่ดินกว่า 100 ไร่ในกาญจนาบุรี ผุดรีสอร์ตรับการท่องเที่ยวบูม

นายจรัล เดชประทุม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วิสแพค จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจในการผลิต และจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง รวมถึงการให้บริการตกแต่งทั้งภายใน และภายนอกอาคารกล่าวว่า ทางบริษัทมองหาลู่ทางขยายการลงทุนไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่ 2 ภายหลังจากเข้าไปบุกเบิกตลาดนอกประเทศที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มากว่า 10 ปีแล้ว โดยปัจจุบัน ธุรกิจที่กัมพูชายังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเข้าสู่ประเทศพม่าเพื่อรองรับกับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่นักลงทุนในหลายประเทศให้ความสำคัญที่จะเข้ามาลงทุน ในส่วนของบริษัทกำลังเจรจาที่จะจัดซื้อที่ดินในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมของโครงการ ในเบื้องต้น จะมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ระยะเวลาการเช่า 75 ปี ลงทุนสร้างโรงงานเคมี หรือวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทในประเทศไทย

รวมถึงโอกาสรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยจะมีการสร้างโรงงานที่เกี่ยวกับการผลิตบ้านสำเร็จรูป หรือบ้านน็อกดาวน์ขึ้น รองรับบุคลากรในหลายประเทศที่เข้ามาทำงาน ทำให้เรื่องการอยู่อาศัยมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรูปแบบจะเป็นบ้านเดี่ยวชั้นเดี่ยว ราคาประมาณ 6 แสนบาท ใช้เวลาก่อสร้างตกแต่งให้เรียบร้อยเสร็จภายใน 1 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้เชี่ยวชาญในไทยในการนำระบบดังกล่าวไปดำเนินการ

“เรากำลังมองโอกาสขยายธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีที่ใช้ในงานก่อสร้าง รวมถึงวัสดุก่อสร้างในประเทศพม่า บริษัทฯ เคยมีประสบการณ์ลงทุนในต่างประเทศมาก่อนจึงมองเห็นโอกาสว่า อสังหาริมทรัพย์ในพม่า โดยเฉพาะกรุงย่างกุ้งจะมีโอกาสขยายตัวเหมือนกรุงพนมเปญ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะโรงแรมตอนนี้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างเยอะมาก จึงถือเป็นโอกาสอันสำคัญของเราที่จะนำเทคโนโลยี และความชำนาญที่มีอยู่ในประเทศไทยไปขยายธุรกิจในต่างแดน ซึ่งในการลงทุนในโครงการทวาย คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 40-50 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงาน แต่สิ่งที่เรากังวล คงเป็นเรื่องเงินไหล และเข้าออกในพม่า ซึ่งต้องดูว่าหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน หรือ MIC ที่มีรูปแบบคล้ายบีโอไอของไทย จะให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนอย่างไรบ้าง” นายจรัลกล่าว

อนึ่ง บริษัท วิสแพคฯ ดำเนินธุรกิจหลักคือ ผู้ผลิต และจำหน่ายเคมีภัณฑ์สำหรับงานก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 รวมถึงการผลิต และจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และให้บริการตกแต่งทั้งภายใน และภายนอกอาคาร

นอกจากนี้ บริษัท วิสแพคฯ ยังมีการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรองรับการเติบโตของที่อยู่อาศัยที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้น ทั้งจากโครงการทวาย มีโครงการก่อสร้างถนนกาญจนบุรี-ทวาย และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งเปิดบริการภายใต้ชื่อ “บานาน่า รีสอร์ท แอนด์ สปา” เนื้อที่กว่า 10 ไร่ นอกจากนี้ ยังเตรียมนำที่ดินกว่า 100 ไร่ ที่อยู่ติดกับรีสอร์ตมาพัฒนาภายใต้ชื่อโครงการ “ทวาย ริเวอร์แคว วัลเลย์” ในรูปแบบรีสอร์ต จำนวน 50-60 หลัง ราคาขายประมาณ 2-3 ล้านบาทต่อหลัง คาดใช้เวลาดำเนินการปีกว่าจะแล้วเสร็จ

“ในอนาคต รายได้จากธุรกิจอสังหาฯ คงมีสัดส่วนรายได้ที่มากกว่าธุรกิจเคมีภัณฑ์ ซึ่งเราวางเป้าไว้ บริษัทวิสแพคภายในสิ้นปี 2560 รายได้รวม 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 400-500 ล้านบาท”

ที่มา http://www.manager.co.th/iBizChannel/Vi ... 0000147080
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ไทย-พม่า เตรียมถกแผนลงทุนโครงการพัฒนาเขต ศก.พิเศษทวาย 16-17 ธ.ค.นี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2555 19:05 น.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมเตรียมความพร้อมโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องว่า ได้มีการพูดคุยความพร้อมของคณะอนุกรรมการทวายทั้ง 6 ชุด เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในการดูความเป็นไปได้ในแผนการลงทุน เตรียมประชุมกับรัฐบาลพม่าในวันที่ 16 - 17 ธันวาคมนี้ โดยสัปดาห์หน้าจะออกเป็นรูปเล่มรายงานแผนชัดเจนออกมา ภายในรายงานดังกล่าวประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน ท่าเรือ รถไฟ น้ำ โทรคมนาคม ที่จะมีการแบ่งการดำเนินการออกเป็นระยะต่างๆ ตั้งแต่ระยะ 0 – 3 งบประมาณการลงทุนในแต่ระยะเวลาการดำเนินงาน ซึ่งต้องพิจารณาผลประโยชน์หลักที่ประเทศจะได้รับเป็นสำคัญ เชื่อว่าเมื่อเกิดความชัดเจนจะดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกมาลงทุน โดยต้องดูควบคู่ในภาพรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและนิคมอุตสาหกรรม ต้องมีการจัดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและชัดเจนเช่น งบประมาณการลงทุน ระยะเวลาดำเนินการ และการสนับสนุนในส่วนของไทย

ทั้งนี้ มองว่าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย-ไทย จะเสนอการเพิ่มสิทธิพิเศษการลงทุนในสหภาพพม่า เพื่อสร้างความมั่นใจ และดึงดูดนักลงทุนเช่น สิทธิพิเศษการนำเข้าสินค้ามาไทยอยู่ระหว่างให้บีโอไอพิจารณาเพิ่มเติม ซึ่งไทยจะไม่ลงทุนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นตัวเงิน แต่จะเป็นการสนับสนุนในด้านเทคนิค และใช้ประสบการณ์ในการช่วยเหลือสหภาพพม่าเช่น การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อเส้นทางต่างๆ ที่ใช้เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ส่วนภาคเอกชนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าในการลงทุน

นายชัชชาติ กล่าวต่อไปว่า จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย และอีกหลายประเทศ สนใจมาลงทุนในโครงการโลจิสต์ติกของไทยมูลค่ารวม 2 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี เช่น มาเลเซียสนใจเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟมายัง จ.สงขลา รถไฟรางคู่สงขลา-หาดใหญ่-มาเลเซีย, กัมพูชาสนใจพัฒนาเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์-คุนหมิง และเปิดด่านแนวชายแดนให้มากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณ จ.สุรินทร์, ลาวสนใจก่อสร้างคอริดอร์เพิ่มสาย 8 และสาย 12 สร้างการเติบโตด้านการท่องเที่ยว

ที่มา http://www.manager.co.th/Home/ViewNews. ... 0000147303
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 46

โพสต์

แนะนำโครงการทวาย


http://daweidevelopment.com/index.php/t ... troduction
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 47

โพสต์

"เต็ง เส่ง"เลื่อนหารือ"ยิ่งลักษณ์" เกี่ยวกับความคืบหน้า"ทวาย" อ้างเกิดเหตุไม่สงบในพม่า

วันที่ 7 ธันวาคม 2555 12:06 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า เมื่อวานนี้ ( 6 ธค.) ในช่วงเย็น ทางรัฐบาลเมียนมาร์ ได้แจ้งมายังสำนักเลขาธิการนายกฯให้ทราบว่า พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ เดินทางกลับจากต่างประเทศและพร้อมที่จะหารือกับนายกยิ่งลักษณ์ เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในวันที่ 17 ธค.นี้

เดิมทางรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ มีการนัดประชุมคณะกรรมการ ทั้ง 3 คณะในระหว่าง 16 -17 ธค. และนายกฯมีกำหนดการจะเดินทางไปพบปธน.เต็งเส่งในวันที่ 15 ธค. แต่ต้องเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจาก ปธน. เต็งเส่งเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับการประสานกับมาจากเมียนมาร์ ทางสำนักเลขาธิการนายกฯ ได้จัด กำหนดการที่จะให้นายกฯพบกับปธน.เต็งเส่ง และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และลงพื้นที่ที่ ทวาย ในวันที่ 17 ธค. ทั้งนี้มีการจัดเตรียมนำสื่อไทยและสื่อต่างประเทศเดินทางไปพร้อมคณะของนายกฯในครั้งนี้ ด้วยแต่ล่าสุดเมื่อ เช้าวันนี้ (7 ธค.) ทางรัฐบาลพม่าได้ประสานกลับมายังสำนักเลขาธิการนายกฯ ให้เลื่อนกำหนดการที่นายกฯไทยจะพบปธน.เต็งเส่ง ออกไปก่อน เนื่องจากเกิดความไม่สงบภายในประเทศพม่า

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%9A.html
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 48

โพสต์

สศค.ทำแผนร่วมทุนโครงการทวายอิตัลไทยผวารัฐแย่งเค้ก-พม่ายื้อเซ็นสัมปทาน [ ข่าวสด, 11 ธ.ค. 55 ]

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เมื่อ
สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เดินทางไปพม่าเพื่อพบและหารือกับเจ้าหน้าที่ของพม่าที่รับผิดชอบเรื่องการ
ลงทุนในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่นายกิตติ
รัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการหารูปแบบการลง
ทุน และประธานอนุกรรมการกฎระเบียบการลงทุนในโครงการทวาย จะเดินทางไปพม่าเพื่อหารือ
กับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบโครงการทวายของประเทศพม่า ในเร็วๆ นี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 49

โพสต์

ข่าว สศค. (เพิ่มเติม)


คลังส่งทีม"สศค."นำร่องเจรจาทวาย ดันเมียนมาร์ใช้BOIไทยเป็นแนวทางส่งเสริมลงทุน

updated: 11 ธ.ค. 2555 เวลา 12:06:36 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลัง ส่ง สศค. นำร่องเตรียมการเจรจา "ทวาย" แจงเปิดกว้างนานาชาติร่วมลงขันใน "เอสพีวี" ยอมรับรัฐอาจต้องเป็นตัวหลักลงทุนท่าเรือ-ถนน ผ่านกลไกรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ เผยให้ กนอ.ตั้งบริษัทลูกรองรับ พร้อมเจรจาเมียนมาร์ปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนใช้บีโอไอไทยเป็นเบนช์มาร์ก

นาย สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สศค.ได้เดินทางไปยังกรุงเนย์ปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ เพื่อประชุมเตรียมการล่วงหน้าก่อนที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง จะเดินทางไปประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในวันที่ 16-17 ธ.ค. ที่เมียนมาร์

ทั้ง นี้ คลังรับผิดชอบในอนุกรรมการ 2 ชุด คือ อนุกรรมการด้านการเงิน การระดมทุน และอนุกรรมการด้านการแก้ไขกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค โดยเรื่องการระดมทุนนั้นจะเป็นการเสนอรูปแบบการลงทุนเบื้องต้น ที่จะมีการตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นจะต้องเจรจาตกลงกัน ซึ่งยอมรับว่าการถือหุ้นในเอสพีวี จะต้องมีรัฐบาลไทย เมียนมาร์ และผู้ลงทุนทั่วไป โดยจะเปิดกว้างให้ผู้สนใจ ไม่ว่าจะญี่ปุ่น เกาหลี อาเซียน รวมถึงตะวันออกกลาง ไม่เฉพาะญี่ปุ่นกับจีนเท่านั้น

สำหรับ การลงทุนในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ และถนน ซึ่งอาจจะไม่ได้สร้างผลกำไร เอกชนไม่อยากลงทุน ส่วนนี้อาจต้องให้ภาครัฐลงทุนสัดส่วนที่มากขึ้น นอกจากนี้บางรัฐวิสาหกิจที่ไม่สามารถไปลงทุนต่างประเทศได้ ก็จะมีการพิจารณาให้ตั้งบริษัทลูก เพื่อไปลงทุนในโครงการทวาย เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

"รัฐบาลลงทุนผ่านรัฐ วิสาหกิจจะดีที่สุด รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ บางที่มีศักยภาพมากแต่ไม่มีเงิน เราก็อาจเพิ่มทุนให้ก่อน หรือกู้เงินโดยคลังค้ำประกันเพื่อนำมาลงทุน ก็แล้วแต่คือรัฐค้ำก็ได้ แต่ไม่ค้ำดีที่สุด โจทย์คือรัฐบาลจะลงทุนผ่านรัฐวิสาหกิจ แต่คงไม่เอางบประมาณไปใส่เอง" นายสมชัยกล่าว

อย่างไรก็ดี การลงทุนจะไม่ใช่การใส่เงินทีเดียว 1 แสนล้านบาท แต่จะขึ้นกับความต้องการใช้เงินลงทุนในแต่ละเฟส ซึ่งทางอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นผู้ระบุถึงปริมาณการลงทุน และความต้องการใช้เงินลงทุนให้ชัดเจนก่อน จึงจะกำหนดว่าเอสพีวีจะต้องระดมทุนเท่าไหร่

"ช่วงแรกคงยังไม่ต้องใช้ โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ๆ หรือนิคมอุตสาหกรรมใหญ่โตมโหฬาร ก็ทำเล็ก ๆ ก่อน ซึ่งช่วงแรกอาจต้องใช้เงินเวนคืน และอีกหลาย ๆ เรื่อง" นายสมชัยกล่าว

สำหรับ สถานะของบริษัทอิตาเลียนไทยนั้น นายสมชัยกล่าวว่า บริษัทคงไม่มีเงิน แต่มีสิทธิในการใช้พื้นที่ โดยจะเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นในเอสพีวี แต่การบริหารโครงการจะเป็นเอสพีวี

นายสมชัยกล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการแก้ไขกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายแรงงาน รวมถึงกฎระเบียบด้านการลงทุนของเมียนมาร์ ซึ่งทางคลังได้ศึกษาเปรียบเทียบกับของไทยเพื่อนำไปเสนอว่า เมียนมาร์ควรปรับปรุงให้จูงใจนักลงทุนมากขึ้นอย่างไรบ้าง เช่น การขออนุญาตตั้งโรงงาน ซึ่งทางเมียนมาร์ยังยุ่งยาก ขณะที่ไทยมีแค่การนิคมอุตสาหกรรมฯที่เดียวก็จบ หรือมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่จูงใจ เป็นต้น

"เรื่องกฎ ระเบียบ เราจะดูว่าจะช่วยทางเมียนมาร์อย่างไร ในลักษณะช่วยศึกษาในฐานะที่เราเป็นนักลงทุนต่างชาติ เห็นกฎหมายมีจุดอ่อนอย่างไร ต้องการให้มีมาตรการจูงใจเพิ่มขึ้น เพราะถ้าเทียบกับไทยแล้วเขาให้ต่ำกว่า นักลงทุนก็มาลงทุนในไทยดีกว่า หรืออย่างน้อยคือต้องให้เท่ากับของไทย เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่เราให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 8 ปี เขาให้ 3 ปี แล้วใครจะไปเพราะเสี่ยงด้วย ก็เอาของเราเป็นเบนช์มาร์ก" นายสมชัยกล่าว

ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0900
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 50

โพสต์

'ดีดีซี'เปิดจองพื้นที่เช่าในนิคมฯทวาย

ธุรกิจ : Marketing วันที่ 12 ธันวาคม 2555 20:39 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นายประวีร์ โกมลกาญจน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัททวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด หรือดีดีซี เปิดเผยว่า บริษัททวาย ดีเวล๊อปเมนต์ได้ทำการตลาดตั้งแต่เดือน ต.ค.2555 เพื่อดึงนักธุรกิจเข้ามาเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า โดยบริษัทเปิดให้เช่าที่ดินในเฟส 1 บนพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร สำหรับอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม คือ อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้างและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการมาลงทุนในอุตสาหกรรมเบาก่อนเพราะใช้โครงสร้างพื้นฐานไม่มากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมหนัก เช่น ปิโตรเคมี โรงถลุงเหล็ก รวมทั้งเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเบาได้เพราะใช้เงินลงทุนไม่มาก

นายประวีร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีนักธุรกิจไทยและต่างชาติมากกว่า 100 ราย ที่เข้ามาติดต่อและมีนักธุรกิจที่ตกลงจองพื้นที่ลงทุนแล้ว 3 ราย เป็นผู้ผลิตท่อไฟเบอร์กลาสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรต ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นและผู้ผลิตยางพาราแปรรูปจากไทย ซึ่งบริษัทจะให้นักลงทุนเช่าระยะเวลา 75 ปี ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลพม่ากำหนด และกำลังพิจารณาค่าเช่าแต่คาดว่าจะต่ำกว่าค่าเช่าที่กรุงย่างกุ้งเพราะทวายเป็นพื้นที่ใหม่ที่กำลังบุกเบิก โดยปัจจุบันค่าเช่าในกรุงย่างกุ้งในช่วง 60 ปี อยู่ที่เอเคอร์ละ 5-6 ล้านบาท และถ้ารัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าลงนามความร่วมมือกันได้ก็จะเริ่มให้นักลงทุนที่จองพื้นที่ไว้มาทำสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัท ซึ่งรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ กำลังหารือกันและกลางเดือน ธ.ค.นี้จะมีการประชุมร่วมกันอีกรอบ

ทั้งนี้ ตามแผนคาดว่าจะขายพื้นที่ในเฟส 1 ได้หมดภายในเวลา 2 ปี นับจากเดือน ต.ค.2555 และหลังจากนั้นจะเริ่มทำการตลาดเฟส 2 ซึ่งในช่วงนี้บริษัทวางแผนทำการตลาดด้วยการติดต่อผ่านหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น สมาคมการค้า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รวมทั้งจัดกิจกรรมโรดโชว์สัมมนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และพาผู้ประกอบการไปดูพื้นที่จริงที่จะใช้ลงทุนตั้งโรงงาน

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 51

โพสต์

'เต็ง เส่ง'ยันนัดนายกฯ ถกทวาย17ธ.ค.

วันที่ 12 ธันวาคม 2555 18:05 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"เต็ง เส่ง"คอนเฟริม์ นัด"ยิ่งลักษณ์" หารือคืบหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย 17 ธ.ค.นี้


มีรายงานว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้รับการประสานงานจาก ทางรัฐบาลเมียนมาร์ แจ้งว่า ทางพล.อ.เต็งเส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ พร้อมให้การต้อนรับ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนนตรี ในวันทื่ 17 ธค. ซึ่งเป็นไปตามกำหนดการเดิมที่ เคยประสานงานก่อนหน้านี้

ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลเมียนมาร์ เคยแจ้งมายังสำนักเลขาธิการนายกฯ ว่า เกิดเหตุไม่สงบในพม่า จึงขอเลื่อนออกไปก่อน และนายกฯจึงมอบหมายให้ นาย กิตติรัตน์ ณ.ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ไปร่วมประชุมแทน ในวันที่ 16 -17 ธค.แต่เนื่องจากนายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องการให้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น หลังจากมี นายกรัฐมนตรีไทย และ พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ได้ใช้เวทีการประชุมอาเซียนประกาศความชัดเจนการเดินหน้าโครงการดังกล่าว เมื่อช่วงปลายเดือนตค.ที่ผ่านมา จึงมีการติดต่อประสานงานการนัดหารือกับทาง ปธน. เต็งเส่ง อีกครั้ง

สำหรับกำหนดการเดินทางไปเมียนมาร์ ของนายก ครั้งนี้เบื้องต้น มีทีมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ.เป็นหลัก ประกอบด้วยนาย กิตติรัตน์ ณ.ระนอง รองนายกฯฝ่ายศก.และรมว.คลัง ,นาย ชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.คมนาคม ,นาย ประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม นาย พงศ์ศักดิ์ รักตไพศาล รมว.พลังงานและนาย นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกฯ รวมถึงเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เป็นต้น

ทั้งนี้ กำหนดการในวันที่ 17 ธค. ของนายกฯคือพบปะหารือ กับประธานาธิบดี.เต็งเส่ง และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และลงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปในครั้งนี้ เบื้องต้นทางสำนักเลขาธิการนายกฯได้ จัดเครื่องบินลำเลียง C 130 นำสื่อไทยและสื่อต่างประเทศเดินทางไปพร้อมคณะของนายกฯในครั้งนี้จำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากทางรัฐบาลต้องการพาสือไปลงในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ด้วย

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... 8%84..html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 52

โพสต์

ข่าวด่วน ข่าวด่วนธุรกิจ

นายกฯ ยกเลิกแผนเยือนเมียนมาร์หารือทวายกลางเดือนนี้แล้ว


โฆษกประจำสำนักนายกฯ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ออกมาให้สัมภาษณ์หลังการประชุมเตรียมความพร้อมโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า สำหรับกำหนดการเดิมที่นายกฯจะเดินทางไปเยือนประเทศเมียนมาร์ วันที่ 15 ธค. เพื่อไปติดตามความคืบหน้าของโครงการดังกล่าวนั้น เนื่องจากยังมีความคลาดเคลื่อนเรื่องการนัดหมาย ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี เต็งเส่ง มีภาระกิจเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย นายกฯจึงเลื่อนการเดินทางดังกล่าวออกไปก่อน และมอบหมายให้ นาย กิตติรัตน์ ณ.ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง และคณะกรรมการชุดต่างๆเดินทางไปร่วมประชุมในวันที่ 16 -17 ธค.ซึ่งเป็นไปตามกำหนดการเดิม และมอบหมายให้คณะที่เดินทาง ไปติดตามความคืบหน้าในการนัดหมายของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ
สำหรับการประชุมเรื่องโครงการทวายที่ทำเนียบช่วงบ่ายนี้ เป็นการประชุมที่สืบเนื่องมาจากการพบปะและหารือกันอย่างเป็นทางการระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ เมื่อต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งบรรลุข้อตกลงในการพัฒนาโครงการร่วมกันด้วยการตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ระดับ
ในที่ประชุม นายกฯ ได้รับการรายงานความคืบหน้าของคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด โดยนายก ได้มอบหมายให้คณะกรรมการและอนุกรรมการแต่ละชุดเร่งรัดดำเนินการให้มีความคืบหน้ามากกว่านี้ รมว.คมนาคม ชัชชาติ สิทธิพันธ์ บอกภายหลังการประชุมด้วยว่า รับบาลไทยจะเสนอแนวแนวทางการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์กลางเดือนนี้ ส่วนการลงทุนตัดถนนในโครงการทวายมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบองบ.อิตาเลียนไทย จะเป็นแบบเก็บเงินค่าผ่านทางหรือเอกชนรายอื่นมาร่วมลงทุน ยังไม่ได้ข้อสรุป

ที่มา http://breakingnews.nationchannel.com/h ... sid=662153
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 53

โพสต์

สศช.แนะเอกชนปรับตัวเส้นทางท่าเรือทวาย

วันที่ 12 ธันวาคม 2555 21:13 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"สศช."ชี้ท่าเรือทวายทำเส้นทางซัพพลายวัตถุดิบต้นน้ำเปลื่ยน เชื่อเป็นแหล่งนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่สำคัญแห่งใหม่ แนะเอกชนทำความเข้าใจปรับธุรกิจ


นางสาวพจณี อรรภโรจน์ภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในการสัมนา “ค้าชายแดน ดาวรุ่งส่งออกไทยสู่ AEC” ว่า ประเมินว่าหลังจากท่าเรือน้ำลึกทวายเสร็จสิ้นและเปิดให้บริการจะทำให้แหล่งนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าของไทยเปลี่ยนจากเดิมที่เคยมาจากฝั่งตะวันออกคือท่าเรือแหลมฉบังมาเป็นฝั่งตะวันตกคือจากท่าเรือทวาย ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะมีผลต่อทั้งการผลิตและจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการในไทย ซึ่งจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับภาครัฐที่ได้กำหนดการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำหนด 8 ข้อ แบ่งให้หน่วยงานต่างๆไปทำรายละเอียด เช่น กระทรวงพาณิชย์ดูเรื่องการค้า โครงสร้างพื้นฐานให้กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ

จากนั้นให้นำแผนทั้งหมดมาให้สศช.ดำเนินการรวบรวมและนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาก่อนนำส่งสำนักงานประมาณเพื่อพิจารณาการจัดสรรงบประมาณสำหรับปี 2557 ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเป็น AEC ในปี 2558
สำหรับแผนยุทธศาสตร์ 8 ข้อประกอบด้วย การส่งเสริมขีดความสามารถการแข่งขันของสินค้าและบริการไทย การคุมครองชีวิตและสังคม การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเตรียมความพร้อมข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้และตระหนักการเป็นAEC การดูแลด้านความมั่นคง และการพัฒนาศักยภาพของเมืองรอบนอกที่จะได้รับผลจากAEC

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 54

โพสต์

รัฐคาดเปิดโรดแม็พลงทุนทวาย เดือนมี.ค.56

วันที่ 13 ธันวาคม 2555 11:20 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ดร.จุฬา"คาดรัฐบาลเปิดโรดแม็พลงทุน"ทวาย" ภายในเดือนมี.ค.56 ย้ำสัญญารัฐต่อรัฐ ไม่เกี่ยว"อิตาเลี่ยนไทย"

ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการจราจร ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการMorning News "กรุงเทพธุรกิจทีวี" ในช่วงเช้าของวันนี้ (13 ธ.ค.) ถึงการเดินทางไปยังพม่า เพื่อเจรจาการลงทุนในโครงการ "ทวาย"...(คำต่อคำ)

ถาม คณะทำงานของไทยที่จะมีการหารือกับพม่าในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ จะมีการพูดคุยและเตรียมการอะไรบ้างเพื่อเตรียมความพร้อมการรับมือการไปเยือนพม่าของนายกฯ ครับ

ตอบ จริงๆ คณะทำงานของฝ่ายไทยมีหลายคณะ มีทั้งเรื่องนิคมอุตสาหกรรม เรื่องการเงิน เรื่องพัฒนาชุมชน แต่ส่วนของผมเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก ผมขออนุญาตคุยในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานในทวาย ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเรามีการมองในเรื่องการขนส่งในเขตทวายหลักๆ มีท่าเรือ มีถนน นอกจากท่าเรือ ถนน มีโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบคมนาคม เรื่องระบบน้ำ อันนี้จะคุยร่วมไปด้วย

ถาม ดร.จุฬา ครับ ตรงนี้เป็นของไทยลงทุนทั้งหมด หรือเป็นระหว่างไทยกับพม่าครับ

ตอบ ตอนนี้ยังคุยในหลักการในกรอบไปก่อน คือที่เราจะคุยเนื่องจากเป็นการคุยเจอกันครั้งแรกในลักษณะระหว่างผู้แทน ในลักษณะชุดย่อยก่อน อย่างของกระทรวงคมนาคมไปก็คุยกับส่วนของกระทรวงคมนาคมของพม่า ที่จะคุยขอแนะนำว่า ในฝ่ายเห็นของฝ่ายไทยเราจะแนะนำแบบได้ เช่น ถ้าจะเอาท่าเรือในเชิงที่รองรับอุตสาหกรรมหนักๆ ก่อน ก็เสนอว่าทำถนน 4 เลนเชื่อมโยงกัน เก็บค่าผ่านทาง เชื่อมโยงทวาย มะริด พรมแดนไทย ก็มีการวางแหล่งน้ำไทยมีอะไรบ้าง คมนาคมจะทำอะไรบ้าง พวกนี้จะมีการคุยคร่าวๆ ก่อน ถ้าตกลงกันตามนั้นเงินจะใช้สักเท่าไหร่ หลังจากนั้นจะใช้สักเท่าไหร่แล้ว ใครจะทำ จะลงทุน เอาประเทศที่สามมาลงทุน ก็จะคุยกันอีกรอบ

ถาม ซึ่งตรงนี้เองงบประมาณมีการวางกรอบกันคร่าวๆ กันไหมครับ ประมาณเท่าไหร่ครับ

ตอบ ประมาณจริงๆ แล้วในส่วนเป็นเศษของการพัฒนาจริงๆ ของทวายประมาณ ในส่วนของพม่าจะทำ ในส่วนของคอนกรีต ประมาณ 190,000 ล้านนะครับ

ถาม ตรงนี้เองได้มีการพูดคุยในฝั่งไทยไหมครับว่าที่จะนำไปเสนอ จะเป็นลงในรูปแบบไหน จะเป็นทางการไป จะรัฐวิสาหกิจ หรือว่าจะเป็นการร่วมมือกัน

ตอบ ยังไม่คุยไปถึง รอก่อน เราต้องดูก่อนอะไรที่จะต้องทำ เห็นต้นกันไหม เห็นต้นกันแล้วจะทำอะไร ใช้เงินเท่าไหร่ แล้วใครจะทำ โดยรัฐวิสาหกิจจะเป็นบริษัทไปไทยไปลงทุน จากประเทศที่สามมาลงทุน จะต้องไปคุยกันอีกที ในเรื่องเงินจริงๆ แล้วกระทรวงการคลังจะช่วยดูให้ในภาคของประเทศ

ถาม แล้วตรงนี้ในการร่วมมือกับทางพม่า มีการกำหนดขอบเขตไหมครับ ว่าใครดูแลในเรื่องไหน ยกเว้นเรื่องเงินทุน

ตอบ คือตรงนี้มันเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายไทย หรือว่าเราจะให้ข้อแนะนำนะครับ ถ้ามองว่าเรามีประสบการณ์ในเรื่องการลงทุนเยอะๆ หรือขนาดใหญ่มากกว่า ให้ไทยช่วยดูโครงการ ดูระบบว่าขั้นตอนลำดับอะไรทำก่อน ทำหลัง จะทำขนาดไหน ยังไง ให้ใครช่วยแนะนำให้ก่อน ครั้งนี้เราจะไปแนะนำ จะเอาการบ้านมา เราเลยทำการบ้านก่อนว่าเราจะทำอะไรกันดี เสร็จค่อยเดินกันต่อไป

ถาม ที่จะไปคุยวันที่ 17 ธ.ค.นี้ใช่ไหมครับ

ตอบ เดี๋ยวพวกเราจะไปคณะเล็กก่อน วันที่ 17 ท่านนายกฯ จะตามไปคุยอีกทีครับ

ถาม แล้วหลังจากนั้นเราจะได้เป็นแผนภาพ รายละเอียดชัดเจนมากขึ้น

ตอบ ครับ น่าจะจริง เพราะหลังจากที่คณะย่อยคุยกันแล้ว ก็มีการตกลง โอเค เราทำกันแบบนี้ก่อน หลังทำแบบนี้นะ เดี๋ยวจะมีฝ่ายดูเรื่องเงิน ในส่วนที่จะลำบากที่เป็นคนรับผิดชอบ อย่างที่ถามนะครับว่าจะเอาเงินที่มาลงกันดี

ถาม ดร.จุฬา เราจะเป็นแผนภาพที่ชัดเจนจริงๆ เป็นโรดแม็พ สามารถทำปฏิบัติการได้ อย่างช้าน่าจะประมาณ

ตอบ น่าจะประมาณเดือนมีนา นะครับ น่าจะทราบแล้วนะครับ เพราะว่าหลังจากนั้นที่นายกฯ พบครั้งแรกคงรู้ฝ่ายพม่าเขาคิดอย่างไรในการพัฒนา เสร็จแล้วเราจะมาเตรียมในส่วนของเรา เตรียมแล้วจะจัดกันอย่างไร ใครจะทำ สักประมาณเดือนมีนา กำหนดที่เราตั้งไว้ เดือนมีนาน่าเห็นรูปเห็นร่าง จะลงทุนอย่างไร ขนาดไหน ยังไง

ถาม ซึ่งตอนนี้เอง อิตาเลียนดีเวลลอปเมนต์ คอยมาบอกว่าจริงๆ ควรจะต้องมีการเซ็นสัญญาเดินหน้าไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ถ้าล่าช้าไปจนถึงเดือนมีนาคม ตรงนี้จะกระทบความคืบหน้าของโครงการ รวมถึงททางฝ่ายพม่าเขามีข้อติติงอะไรออกมาบ้างไหมครับ

ตอบ คือตัวการเซ็นสัญญาผมว่าต้องดูเหมือนกันครับ ว่าจริงแล้วอิตาเลียนไทยเซ็นสัญญากับรัฐบาลพม่า ในเรื่องของการพัฒนาโครงการ แต่ครั้งนี้รัฐบาลเข้าไปมีส่วนร่วมก็คงต้องมาดูแล เป็นอย่างไร รัฐบาลจะลงข้อเท็จจริง คงต้องมีว่ากลไกภาครัฐที่จะเข้าไปลงเป็นอย่างไร อาจจะมีสัญญา มีข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลกับระหว่างรัฐบาล ว่าจะทำกันอย่างไร ซึ้งตรงนี้น่าจะเป็นสัญญาคนละตัวกันที่จะทำ

ถาม ดร.จุฬา ครับ แล้วการลงทุนตรงนี้จะเป็นการพูดคุยระหว่างไทย-พม่าเอง จะมีการพูดถึงประเทศที่สาม ในแง่ของด้านเงินทุนบ้างไหมครับ

ตอบ น่าจะมีด้วย เพราะว่าในหลักๆ คือตัวโครงการที่สำคัญที่สุด ในเรื่องของนิคมอุตสาหกรรมที่ไปลงในเขตพม่า นิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีการมองกันมาก เช่น การลงเหล็กลำ ลงเหล็กต้นน้ำ การลงทุนเหล็กต้นน้ำนี่การลงทุนส่วนใหญ่น่าจะเป็นจากประเทศที่สาม เช่น ญี่ปุ่น น่าจะไม่ใช่ของไทยเท่าไหร่ ไทยเราอาจเข้าไปมีส่วนร่วมเรื่องอื่นๆ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กมากกว่าครับ

ถาม แล้วจะมีการพูดคุยกับประเทศที่สามในครั้งนี้เลยไหมครับ หรือจะเป็นการ

ตอบ ยังครับ ยังครับ เหมือนกับว่าคราวนี้มันเป็นเรื่องของเรากับพม่า เดี๋ยวเราคุยกันต่อไป เสร็จแล้วสองฝ่ายจะมีการคุยกัน แต่ว่าประเทศที่สามจะเข้ามาหาเรา เราจูงมือเขาเข้ามาอย่างไรกันดีครับ

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... 84.56.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 55

โพสต์


'ชัชชาติ' ย้ำรัฐไม่ลงทุนทวาย แข่งภาคเอกชน


วันที่ 13 ธันวาคม 2555 10:32 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ชัชชาติ"ยืนยันผ่านรายการตรงประเด็นข่าวค่ำ "กรุงเทพธุรกิจทีวี" ย้ำรัฐบาลไม่ลงทุนทวายแข่งภาคเอกชน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "กรุงเทพธุรกิจทีวี" วานนี้ (12 ธ.ค.) ย้ำรัฐบาลไม่มีนโยบายใช้งบประมาณลงทุนโครงการ "ทวาย" แข่งกับภาคเอกชน...(คำต่อคำ)

ถาม: การเดินทาง 17 ธ.ค. นี้ มีแผนอย่างไรบ้างครับ

ตอบ: จริงๆ 17 ธ.ค.จะมี 2 เที่ยว เที่ยวแรกวันที่ 14 ก่อน วันศุกร์นี้นะครับ จะมีอนุกรรมการที่เป็นเหมือนคณะทำงาน 6 คณะ จะบินไปเนย์ปิดอว์ก่อน ตัวที่ทำงานจริงๆ ในรายละเอียดต่างๆ ซึ่ง 6 คณะ ผมว่าให้รายละเอียดหน่อยว่า 6 คณะ มีอะไรบ้างด้านโครงสร้างพื้นฐาน กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ ด้านเกี่ยวกับเรื่องสังคม การเคลื่อนย้ายคนออกจากพื้นที่ อันนี้ก็คือกระทรวงต่างประเทศ ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องก็กระทรวงการ คลัง ด้านไฟแนนซ์ก็กระทรวงการคลัง ด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ก็คือกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม เรื่องสุดท้ายการพัฒนาพลังงานในพื้นที่ ก็คือกระทรวงพลังงานรับผิดชอบ 6 อนุกรรมการซึ่ง เราตั้งขึ้นมาภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างไทยกับเมียนมาร์ แล้วจะมีอนุกรรมการทั้งฝ่ายไทย และเมียนมาร์ร่วมกัน อนุกรรมการฝ่ายไทยได้เวิร์ครายละเอียดมาระดับหนึ่งแล้ว ก็จะไปหารือทางเมียนมาร์ถึงข้อสงสัยหรือปัญหาต่างๆ หลังจากที่เราไปศึกษา 6 ด้านนี้มา ฉะนั้นวันศุกร์คณะอนุกรรมการจะบินไปเนย์ปิดอว์ก่อน ทำงานร่วมกัน แล้วสรุปผลออกมา เอาการโหวตมากราบเรียนท่านนายกฯ เอาข้อมูลวันที่ 17 แล้วจะบินไปที่ทวาย ไป พลท่านประธานาธิบดีเต็งเส็งครับ กำหนดการที่ผมทราบนะ ก็จะเอาข้อสรุปทั้งหมด มีต้องไหนที่จะปรับปรุงพัฒนาอย่างไร แล้วก็จะหาแนวทางร่วมกันในการดำเนินการกันต่อไป

ถาม: ท่านรัฐมนตรีคะ ความร่วมมือที่ว่านี้ เราพูดถึงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล อันนี้พูดถึงการลงทุนด้วยไหมคะ

ตอบ: คือการลงทุนก็นเป็นอนุกรรมการชุดหนึ่ง แต่ว่าเราพูดถึงในแง่ของวิธีการลงทุน ปัจจุบันเราร่วมมือในแง่เทคนิเคิล ไม่มีแนวทาง เอาเงินของรัฐบาลไปลง แต่เรามองอย่างนี้ โครงการนี้มีประโยชน์กับภูมิภาค ประเทศไทย แล้วเราก็มองว่าเป็นโครงการที่เป็นไปได้ ถ้ารัฐบาลทั้งสองฝ่ายร่วมมือกัน การลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่น เงินในทั่วโลกมีหลายหน่วยงาน หรือเอกชนหลายกลุ่มหลายประเทศที่อยากจะลง ทางญี่ปุ่น ทางจีน หรือ ทางเมียนมาร์เอง เอกชนไทยบางส่วนทั้งในรูปของวิธีการลงทุน กระทรวงการคลังต้องไปคิดรูปแบบมาว่าทำรูปแบบไหน ในทางอิตาเลียนไทยฯ ที่เป็นผู้รับสัมปทานเดิม เขาจะอยู่ในส่วนไหน มีรูปแบบเป็นอย่างไร ต้องเป็นรูป แบบที่คิดในอนาคตว่าทางกระทรวงการคลังจะแนะนำรูปแบบการลงทุนอย่างไร

ถาม: ท่านรัฐมนตรีคะ ขอสรุปง่ายๆ ว่าก็คือรัฐบาลไทยเนี่ย ร่วมลงทุนด้วยถูกไหมคะ แต่ว่าอยู่ระหว่างหารูปแบบการร่วมลงทุนถูกไหมคะ

ตอบ: ผมคิดว่าเราไม่ร่วมลงทุนครับ เพราะว่าเรามองว่าคนที่จะลงทุนควรเป็นเอกชนมากกว่า ซึ่งอาจเป็นเอกชนไทยหรืออย่างรัฐวิสาหกิจเนี่ย ถ้ารัฐวิสาหกิจไทยเขาเห็นประโยชน์โครงการนี้ ว่าจะมาเกื้อหนุนกิจการ ของเขาได้ เช่น ปตท.เอง ถ้าเขาสนใจว่ามันมีกิจการบางอย่าง การลงทุนก็จะลงทุนร่วมกัน แต่ในแง่ของรัฐบาลเอง ผมว่าเท่าที่ผมทราบข้อมูลปัจจุบันหร่อว่าในความเห็นส่วนตัว ผมว่าไม่มีแนวคิดเอาเงินของรัฐบาลไปลงทุนร่วม เพราะคิดว่าควรเป็นโครงการของเอกชน หรือว่ารัฐวิสาหกิจไปลงทุนมากกว่า เป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่าครับ

ถาม:โดยสรุปท่านรัฐมนตรีพูดอย่างนี้แปลว่าไม่ใช่รูปของรัฐบาลแต่มีโอกาสรัฐวิสาหกิจไปร่วมกับเอกชนถูกไหมคะ

ตอบ:ใช่ครับ รัฐวิสาหกิจอย่างปตท. เขาก็ลงทุนทั่วโลกอยู่แล้ว ถ้าเขามองว่าโครงการนี้มีประโยชน์กับธุรกิจเขาไปเกื้อหนุนกันได้ เช่น ปิโตรเคมีหรือว่าธุรกิจกลั่นน้ำมัน ถ้าเขามองว่ามันเป็นประโยชน์ ก็อาจไปลงทุน ในแง่ของธุรกิจ ก็ตัดสินใจ เพราะฉะนั้่นเป็นเรื่องอิสระ ตอนนี้ถามว่าโครงการนี้จะไปได้อย่างไร มันต้องมีความร่วมมือกันในระดับรัฐบาลก่อน โอเค เราเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ เราทำในส่วนของเราที่อยู่ในเขต ขอบเขต ของชายแดนไทย เช่น พัฒนามอเตอร์เวย์ไปถึงพุน้ำร้อน อันนี้คือที่เราต้องทำ แต่พออยู่เหนือนอกเขตแดนไทยไปเนี่ย คิดว่าต้องดูให้ดี เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดูทางเมียนมาร์ด้วยว่าเป็นการลงทุนแบบไหน แล้วผมคิดว่าจะมี อย่างที่เรียน ถ้าโครงการมันดีจริง มีผลตอบแทนที่ดี มีเงินทุนทั่วโลกที่จะมาลงทุนจุดนี้ ในการเชื่อมต่อสัมพันธ์ภูมิภาค ผมว่าในแง่ของรัฐบาลเองคงไม่ได้จะเอาส่วนตัว เราไม่ได้เอางบประมาณไปลงตรงนี้ เพราะว่าอย่างที่เรียน เป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่า เอกชนที่เขาเก่งด้านนี้ก็มีทั่วโลกเยอะแยะ ทางญี่ปุ่นก็มีหลายกลุ่มที่สนใจ เราควรสนับสนุนในแง่นโยบาย ในแง่การเชื่อมโยงของประเทศไทยออกไป แต่ที่อยู่ด้านนอกเนี่ย ผมว่ารูปแบบการลงทุนก็คงให้กระทรวงการคลังพิจารณา

คำถามสุดท้าย ในส่วนของอิตาเลียนไทย พอจะบอกตรงๆ ได้ไหมกับอิตาเลียนไทย ก็คือ เราจะปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาเอง โดยที่เรื่องของการลงทุน โดยที่รัฐบาลก็ไม่เข้าไปเกี่ยว

ตอบ คือรัฐบาลไม่ได้เกี่ยวตรงนี้ เราดูระดับรัฐบาลกับรัฐบาล เราไม่ได้มีอิตาเลียนไทยในที่เราคุยกัน ไทยอาจมาในฐานะผู้ลงทุนในตั้งบริษัทใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของเอกชน อันนี้ก็แล้วแต่ทางรับบาลเมียนมาร์เขาเป็น ผู้พิจารณา เขาก็ข้อสัญญากับอิตาเลียนไทยอยู่ รัฐบาลไทยไม่ได้เกี่ยวข้องตรงนั้น

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%99.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ที่ผ่านมา มีแต่ข่าวท่าเรือน้ำลึกทวายในมิติด้านเศรษฐกิจเพียงแง่มุมเดียว ลองมาฟังนักวิชาการพูดคุยในมิติอื่นๆ เป็นต้นว่า การเมือง ความมั่นคง สังคม-วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อธรรมชาติ

หวั่นทวาย ซ้ำรอยมาบตาพุด เสี่ยงทำ AEC ล่ม แนะพม่าถอยเพื่อความยั่งยืน

วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2012 เวลา 22:53 น. เขียนโดย เสกสรร โรจนเมธากุล หมวด isranews,

ม.มหิดล จัดเวทีเสวนาวิชาการ “โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย : มองให้ไกลกว่าผลประโยชน์” ปธ.มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตฯ เชื่อเกิดปัญหาระยะยาว หลังให้น้ำหนักเฉพาะเรื่องศก. ขาดมิติสังคม วัฒนธรรม

วันที่ 12 ธันวาคม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย : มองให้ไกลกว่าผลประโยชน์” โดยนายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ

นายวีรวัธน์ กล่าวถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เป็นแค่ส่วนเดียวของทวาย โปรเจ็คต์ แต่เพียงเท่านี้ก็มีขนาดใหญ่กว่ามาบตาพุดราว 10 เท่า โดยคนไทยรับรู้เรื่องมาบตาพุดดีจากการเคลื่อนไหวของสื่อมวลชนและองค์กรอนุรักษ์ต่าง ๆ ว่า โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดล้มเหลวอย่างไร ซึ่งโครงการทวายเอาแบบอย่างจากมาบตาพุดไปทำ รวมทั้งรัฐบาลไทยเองก็ยอบรับว่า ปัญหามาบตาพุดนี้ยากจะแก้ไข ทำได้เพียงประกาศเขตควบคุมมลพิษ มีกฎหมายควบคุมเข้มงวดแต่ก็ยังมีปัญหา

“โครงการทวายน่าจะมีปัญหาในระยะยาว ในขณะที่ความรับรู้ของคนไทยส่วนใหญ่ต่อโครงการทวายยังมีประปราย โดยมากรับรู้จากข่าวหน้าเศรษฐกิจ การลงทุน ซึ่งมักเป็นข่าวว่า ประเทศไทยได้ประโยชน์ โดยขาดการนำเสนอในมิติอื่น ๆ ที่มากกว่าเศรษฐกิจ”

ส่วนความคืบหน้าของโครงการนี้นั้น ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงระยะที่ 1 ของโครงการ มีความคืบหน้าไปแล้วเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของโครงการทั้งหมดที่จะกำหนดแล้วเสร็จในปี 2563

ปี'58 วัดทวายสำเร็จหรือล้มเหลว


ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวถึงโครงการทวายกับความสำเร็จของประชาคมอาเซียนอีกว่า ในปี 2558 จะมีสองเหตุการณ์ที่น่าสนใจมาบรรจบกัน คือพม่าจะเป็นประธานอาเซียน ในขณะเดียวกันบริษัทอิตาเลี่ยนไทยได้ประกาศไว้ว่าท่าเรือน้ำลึกส่วนที่ 1 จะเสร็จ โครงการทวายจึงจะเป็นกรณีศึกษาว่าอาเซียนจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในอนาคต

“ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก สิ่งใดที่จะมั่นคงต้องประกอบด้วยสามเสา แต่กรณีทวายเรากำลังให้น้ำหนักเฉพาะเสาเศรษฐกิจ โดยไม่มีการพูดถึงเสาการเมืองและความมั่นคง และเสาสังคมและวัฒนธรรมเลย ในที่สุดเสาเศรษฐกิจก็จะพาสองเสาที่เหลือล้ม สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าโครงการแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ อาเซียนจะล้ม เพราะสามเสาไม่สมดุลกัน”

นายวีรวัธน์ กล่าวด้วยว่า งานศึกษาวิจัยของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ระบุว่า ประชาชนในประเทศที่พัฒนามากกว่าและมีเศรษฐกิจดีกว่า เห็นว่าการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนมีประโยชน์โดยเฉพาะการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประชาชนของประเทศที่เรียกตัวเองว่า CLMV คือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีความกังวลต่อการรวมตัวของประชาคมอาเซียนว่า จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของตนถูกกอบโกยโดยประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาเติบโตกว่า สะท้อนว่า อาเซียนก็ไม่ไว้วางใจกันเองเหมือนกัน

เปิดแผล ผลกระทบสร้างท่าเรือทวาย

ทั้งนี้ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ได้นำเสนอรายงานที่น่าสนใจในหัวข้อผลกระทบจากโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยแบ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบดังนี้

1.พื้นที่ก่อสร้างท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งน่ากลัวที่สุดเพราะจะเกิดมลภาวะทางอากาศสูงมาก ทั้งสารก่อมะเร็งจากปิโตรเคมี คาร์บอนไดออกไซด์กว่า 30 ล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าพม่าทั้งประเทศ จากโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกกะวัตต์ ซึ่ง หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 4 แสนตันต่อปีที่จะก่อฝนกรด

- ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ จากโลหะหนักของปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมหนัก ที่จะสะสมและปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ แม่น้ำทวายและแม่น้ำเล็ก ๆ

- ทำลายทรัพยากรทางทะเลและการประมง เนื่องจากโลหะหนักจะเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร และอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากน้ำที่ใช้หล่อเย็นในโรงไฟฟ้า ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง

- สวนผลไม้ พืชพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่จำนวนมากจะหมดโอกาสในการนำมาปรับปรุงพันธุ์ต่อไป มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต

- วิถีชีวิตของชาวบ้านถูกทำลาย เปลี่ยนจากวิถีเกษตรสู่วิถีแรงงาน เมื่อใกล้ชิดกับโรงงานมากจะเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปอด โรคมะเร็ง ผิวหนัง รวมถึงการทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่จะก่อความเครียดแก่ชีวิตมากกว่าภาคเกษตร

2.พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์ของแม่น้ำทวายจะถูกทำลายจากการสร้างเขื่อน

3.พื้นที่ตัวเมืองทวาย ซึ่งคนทวายเองส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่า ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ คล้าย ๆ กรณีมาบตาพุดของไทย ที่เมืองระยองซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างมากนักจากนิคมอุตสาหกรรมก็ประสบมลภาวะสารปนเปื้อนเช่นเดียวกัน

4.พื้นที่ถนนจากทวายมาพุน้ำร้อน จะกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้ในเขตเทือกเขาตะนาวศรีที่มีความอุดมสมบูรณ์ ป่าที่เคยต่อกันเป็นผืนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ถือเป็นการทำลายระบบนิเวศ

5.พื้นที่ จ.กาญจนบุรี สืบเนื่องจากมลภาวะทางอากาศที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย เมื่อใดที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้รุนแรงก็จะพัดเอามลภาวะดังกล่าวมายังเมืองกาญจนบุรีทันที ซึ่งทิศทางลมจะพัดผ่านจากทวายเข้ามา อ.ทองผาภูมิ ผ่านไปสังขละบุรี เข้าทุ่งใหญ่นเรศวรและไปยัง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ต่อไป

“มลภาวะดังกล่าวอาจก่อให้เกิดฝนกรดที่ทองผาภูมิ ซึ่งเป็นแหล่งผลไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองกาญจน์ก็จะได้รับผลกระทบ และที่สำคัญกว่านั้นถ้าเกิดปัญหานี้กับทุ่งใหญ่นเรศวร ยูเนสโกอาจขึ้นบัญชีอยู่ในภาวะอันตราย ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็อาจถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลก”

และ 6.พื้นที่มอเตอร์เวย์สาย 81 ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายเอาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสองเส้นคือช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง และจากบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร กว้าง 200 เมตร เดิมถูกกำหนดให้ใช้เพื่อเดินทางระหว่างเมือง แต่ตอนนี้มีแนวโน้มจะเชื่อมต่อกับโครงการทวาย ปัญหาที่จะเกิดคือชาวบ้านอาจถูกเวนคืนที่ดินและโยกย้ายออกไปอยู่ที่อื่น คาดว่าประชาชน 50,000 คนจะได้รับผลกระทบ

ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย

1.ยอมรับความล้มเหลวในการพัฒนาโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยเฉพาะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของประชาชน เพราะการนำรูปแบบอีสเทิร์นซีบอร์ดของมาบตาพุดไปใช้กับโครงการทวายย่อมจะเกิดปัญหาเดียวกันซึ่งรัฐบาลไทยต้องร่วมรับผิดชอบ

2.เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชนทวายที่ติดตามข่าวสารเรื่องมาบตาพุดมาตลอด รัฐบาลไทยต้องเร่งรีบแก้ปัญหามาบตาพุดให้ได้ก่อนเข้าไปดำเนินการในทวาย

3.เพื่อแสดงถึงความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี รัฐบาลไทยควรนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศ ถ่ายทอดให้แก่พม่าเพื่อใช้เป็นบทเรียนและวางแนวทางการพัฒนาพม่าที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต การแสดงตนเช่นนี้ย่อมได้รับความชมเชยและศรัทธามากกว่ามุ่งเข้าไปกอบโกยผลประโยชน์ฝ่ายเดียว

ข้อเสนอต่อรัฐบาลพม่า

1.ควรชะลอโครงการทวายเอาไว้ก่อนเพื่อถอยกลับมาทบทวนรูปแบบการพัฒนาทวายที่ยั่งยืนที่สุด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ตามที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้แถลงไว้

2.เร่งออกกฎหมายสิ่งแวดล้อม ออกกฎระเบียบว่าด้วยการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (HEA) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบต่อสุขภาวะ (HIA)

3.ใช้โครงการพัฒนาทวายอย่างยั่งยืน สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้ประเทศพม่าในฐานะที่จะเป็นประธานอาเซียนในปี 2558 ว่า รัฐบาลพม่ายึดมั่นในกฎบัตรอาเซียน และจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาอาเซียนต่อไป

ข้อเสนอต่อคนเมืองกาญจน์

เนื่องจากเป็นเมืองที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการทวายค่อนข้างมากที่สุดในประเทศไทย

1.คนเมืองกาญจน์ต้องติดตามโครงการทวายอย่างใกล้ชิดในฐานะเมืองผ่าน โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา นักวิชาการ ศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ อย่างรอบด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

2.ศึกษารูปแบบการพัฒนาเมืองคู่แฝดระหว่างกาญจนบุรีและทวาย ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนบนศักยภาพของเมืองทั้งสอง เพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนเมืองกาญจน์และคนทวายอย่างแท้จริง

3.ดำเนินการให้เกิดการประชุมร่วมระหว่างคนเมืองกาญจน์และประชาชนทวายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เป็นเวทีเพื่อการปรึกษาหารือในการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองเมืองอย่างเท่าเทียมกัน เป็นเวทีประชุมระหว่างประชาชนกับประชาชนอย่างแท้จริง

ที่มา http://www.isranews.org/site_content/27 ... 8.facebook
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 57

โพสต์

ข่าวเรื่องนี้คงไม่กลับไปกลับมาอีกแล้วนะ


นายกฯเยือนเมียนมาร์ 17ธ.ค.ติดตามความคืบหน้าพัฒนาเขตศก.พิเศษทวาย

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2012 เวลา 16:11 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ใน วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม2555 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญ คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ใน วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง

ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการพบหารือกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และร่วมรับฟังบรรยายสรุปความคืบหน้าโครงการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเมียนมาร์จะได้ร่วมกันผลักดันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่ยังคั่งค้าง รวมทั้งประเด็นรายละเอียดการลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และการเชิญชวนนักลงทุนในการร่วมพัฒนาโครงการดังกล่าว

โดยนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการสำคัญ ดังนี้

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555

08.30 น. นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ ไปยังทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (เวลาที่ทวายช้ากว่าที่กรุงเทพฯ 30 นาที)

09.30 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (รอยืนยัน)

10.00 น. นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเมียนมาร์ เดินทางไปยังโครงการทวาย (Visitor Center) โดยเฮลิคอปเตอร์

10.20 น. นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเมียนมาร์รับฟังบรรยายสรุป

10.40 น. การหารือเต็มคณะ

11.30 น. นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมบ้านตัวอย่างและแปลงสาธิตการเกษตร

12.00 น. รองประธานาธิบดีเมียนมาร์เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นายกรัฐมนตรี

บ่าย - นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่และมอบอุปกรณ์การเรียนและเครื่องกีฬา

- นายกรัฐมนตรีเยี่ยมสถานีอนามัยในพื้นที่และมอบอุปกรณ์การแพทย์ขั้นพื้นฐาน

- นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยัง Small Port และท่าเรือน้ำลึก (Deep Sea Port)

รอยืนยัน นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางกลับประเทศไทย

ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 58

โพสต์

นายกฯถึงเมียนมาร์แล้ว-พบ'เต็ง เส่ง'พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่เขตศก.พิเศษทวาย

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2012 เวลา 11:00 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพบหารือกับประธานาธิบดี เต็ง เส่ง แห่งเมียนมาร์ ระหว่างการเยือนสหภาพเมียนมาร์ เพื่อเยี่ยมชมพื้นที่ และความก้าวหน้าในโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย พร้อมย้ำถึงความตั้งใจของไทยต่อการสนับสนุนเมียนมาร์ในการพัฒนาร่วมกัน

วันนี้ เวลา 8.00 น. (เวลาที่ทวายช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที) นายกรัฐมนตรีและคณะ ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญ คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางถึงสนามบินทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง

จากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางต่อไปยังเรือนรับรองเพื่อพบหารือกับประธานาธิบดี เต็ง เส่ง แห่งเมียนมาร์โดยในการหารือนายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณประธานาธิบดีเมียนมาร์ที่นำคณะส่วนราชการและภาคเอกชนที่มีศักยภาพของไทยเข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่และความก้าวหน้าในโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายด้วยตนเอง และย้ำว่าไทยมีความตั้งใจและพร้อมสนับสนุนเมียนมาร์อย่างเต็มที่ในการพัฒนา ซึ่งการเยี่ยมชมพื้นที่โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและนักลงทุนไทยเพื่อทำความเข้าใจกับโครงการดังกล่าว

ขณะนี้คณะกรรมการประสานงานร่วมฯ (JCC) มีการทำงานที่มีความคืบหน้าทั้งในส่วนของการทบทวนข้อมูลเชิงเทคนิค และประเด็นต่างๆ ที่ยังต้องหาข้อสรุป เช่น รูปแบบทางการเงินเพื่อการระดมทุน การออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และเงื่อนไขบางประการที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งนี้คาดว่าคณะอนุกรรมการร่วมเมียนมาร์-ไทย จะจัดทำรายละเอียดทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เพื่อเสนอให้คณะกรรมการร่วมระดับสูงฯ (JHC) พิจารณาเพื่อลงนามในข้อตกลง Framework Agreement ฉบับใหม่ และ Sectorial Agreement ทั้งหมดภายในเดือน มีนาคม 2556 โดยคาดว่าจะเริ่มระดมทุนและดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนเมษายน 2556 ตามที่ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ผู้นำทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทั้งสองฝ่ายจะทำให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ โดยคำนึงถึงการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาโครงการดังกล่าวด้วย

ในโอกาสนี้เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ประธานาธิบดีเมียนมาร์ได้แสดงความยินดีที่จะยกระดับด่านสิงขร เป็นด่านถาวรตามที่ไทยได้เสนอมานานแล้ว และนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาการก่อสร้างถนนต่อจาก เมียวดี-กอกะเระ และจะเชื่อมต่อไปยังมะระแหม่ง เพื่อการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามที่เมียนมาร์เสนอ รวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเก่าบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ด้วย สำหรับเรื่องการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวที่สิ้นสุดวันที่ 14 ธ.ค. 55 ไทยได้ผ่อนผันระยะเวลาให้อีก 3 เดือน โดยจะอำนวยความสะดวกในการปรับสถานภาพให้เป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย

ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 59

โพสต์

นายกฯพอใจผลการตรวจทวาย

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นจากการไปเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทวาย ว่า ตนได้เดินทางไปชมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทยกับเมียนมาร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจนี้ เพราะถือว่าเป็นโครงการท่าเรือน้ำลึกที่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเมืองใหม่เกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมต่อจากเมียนมาร์ในส่วนของท่าเรือน้ำลึกทวาย และเชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทินซีบอร์ดของไทย จุดนี้จะเป็นจุดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่สำคัญรวมถึงการเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นด้วยซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญ โดยได้มีการตั้งคณะทำงานเป็นคณะกรรมการร่วม ตั้งแต่เดือนพ.ย.ขณะนี้ได้นำเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนไปชมสถานที่จริง เพื่อให้เห็นในเรื่องบรรยากาศ ศักยภาพและความก้าวหน้า รวมถึงการหารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์

นายกฯ กล่าวอีกว่า โดยสรุปมีความคืบหน้าในเรื่องของแผนงานคร่าวๆ และลำดับถัดไปทางเมียนมาร์คงจะไปสรุปในเรื่องรายละเอียดและความชัดเจนในเรื่องการจัดเขตเศรษฐกิจพิเศษว่าจะมีข้อเสนออย่างไร เพื่อเชิญชวนนักลงทุน และรวมถึงสรุปภาพรวมและแผนการลงทุนทั้งหมด เชื่อว่าคงจะมีความคืบหน้าในเดือนก.พ.และคาดว่าเดือนเม.ย.ปี56 คงจะเห็นความชัดเจนที่จะพร้อมในการเชิญชวนนักลงทุนมาลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย และอาจจะมีการก่อสร้างบ้าง ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทำงานของคณะทำงานทั้งสองฝ่าย ถือว่าเป็นความคืบหน้า นอกจากนี้ไทยได้แจ้งกับทางเมียนมาร์ว่าฝ่ายไทยได้มีแผนที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่ทวาย เพื่ออำนวยความสะดวกในส่วนของการให้ข้อมูลและการติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่ด้วย

โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางเมียนมาร์ได้ให้ความคาดหวัง จากข้อตกลงที่ทางภาคเอกชนได้ตกลงกับเมียนมาร์มาตั้งแต่ปี53 แต่ในส่วนของไทย รัฐบาลนี้ได้หารือกันในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์นี้และการร่วมกันในระดับความร่วมมือระดับประเทศ โดยได้เริ่มตกลงในรูปแบบเอ็มโอยูและมีการตั้งคณะทำงานในการทำงานร่วมกัน และได้เริ่มตั้งพ.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าคืบหน้าและเป็นที่พอใจของรัฐบาลเมียนมาร์

โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่เราเห็นความสำคัญเพราะจุดนี้ไม่เพียงแค่นักลงทุนไทยที่จะลงที่ทวาย แต่เป็นจุดเชื่อมต่อของทางทวายไปยังท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทิรนซีบอร์ด ซึ่งเป็นจุดอุตสาหกรรมของไทยด้วย ทั้งนี้ นอกจากการเชื่อมโยงระหว่างไทยกับเมียนมาร์แล้ว ยังมีโอกาสเชื่อมต่อไปยังอินเดียและภูมิภาคอื่นๆ ตรงนี้จะเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุนการขนส่งในระยะยาว

ที่มา http://breakingnews.nationchannel.com/h ... sid=662826


"ยิ่งลักษณ์"พอใจ"ทวาย"คืบหน้า เชื่อ เม.ย. 56 ชัดเจน พร้อมเชิญชวนนักลงทุน

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 18:35:10 น.

เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 17 ธ.ค. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นจากการไปเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทวาย ว่า ตนได้เดินทางไปชมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทยกับเมียนมาร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจนี้เพราะถือว่าเป็นโครงการท่าเรือน้ำลึกที่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเมืองใหม่เกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมต่อจากเมียนมาร์ในส่วนของท่าเรือน้ำลึกทวาย และเชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทินซีบอร์ดของไทย จุดนี้จะเป็นจุดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่สำคัญรวมถึงการเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นด้วยซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญ โดยได้มีการตั้งคณะทำงานเป็นคณะกรรมการร่วม ตั้งแต่เดือนพ.ย.ขณะนี้ได้นำเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนไปชมสถานที่จริง เพื่อให้เห็นในเรื่องบรรยากาศ ศักยภาพและความก้าวหน้ารวมถึงการหารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์

นายกฯ กล่าวอีกวว่า โดยสรุปมีความคืบหน้าในเรื่องของแผนงานคร่าวๆ และลำดับถัดไปทางเมียนมาร์คงจะไปสรุปในเรื่องรายละเอียดและความชัดเจนในเรื่องการจัดเขตเศรษฐกิจพิเศษว่าจะมีข้อเสนออย่างไรเพื่อเชิญชวนนักลงทุน และรวมถึงสรุปภาพรวมและแผนการลงทุนทั้งหมด เชื่อว่าคงจะมีความคืบหน้าในเดือนก.พ.และคาดว่าเดือนเม.ย.ปี56คงจะเห็นความชัดเจนที่จะพร้อมในการเชิญชวนนักลงทุนมาลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย และอาจจะมีการก่อสร้างบ้าง ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทำงานของคณะทำงานทั้งสองฝ่าย ถือว่าเป็นความคืบหน้า นอกจากนี้ไทยได้แจ้งกับทางเมียนมาร์ว่าฝ่ายไทยได้มีแผนที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่ทวาย เพื่ออำนวยความสะดวกในส่วนของการให้ข้อมูลและการติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่ด้วย

นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางเมียนมาร์ได้ให้ความคาดหวัง จากข้อตกลงที่ทางภาคเอกชนได้ตกลงกับเมียนมาร์มาตั้งแต่ปี53 แต่ในส่วนของไทย รัฐบาลนี้ได้หารือกันในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์นี้และเข้ามาในการที่จะร่วมกันในระดับความร่วมมือระดับประเทศ ได้เริ่มตกลงในรูปแบบเอ็มโอยูและมีการตั้งคณะทำงานในการทำงานร่วมกัน และได้เริ่มตั้งพ.ย.นี้ถือว่าคืบหน้าและเป็นที่พอใจของรัฐบาลเมียนมาร์

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนี้จะต้องเป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่เราเห็นความสำคัญเพราะจุดนี้ไม่เพียงแค่นักลงทุนไทยที่จะลงที่ทวายแต่เป็นจุดเชื่อมต่อของทางทวายไปยังท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทิรนซีบอร์ด ซึ่งเป็นจุดอุตสาหกรรมของไทยด้วย และการเชื่อมโยงระหว่างไทยกับเมียนมาร์และยังมีโอกาสเชื่อมต่อไปยังอินเดียและภูมิภาคอื่นๆตรงนี้จะเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุนการขนส่งในระยะยาว

ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 1355743629
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 60

โพสต์

นายกฯคาดภายในปี58 ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ระยะที่ 1 จะแล้วเสร็จ

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2012 เวลา 16:38 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ

วันนี้ (18 ธ.ค.55) เวลา 13.50 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงว่า นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการเดินทางไปเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการในชุดต่าง ๆ มีความคืบหน้าโดยลำดับ รวมทั้งจะมีการเชิญชวนนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ซึ่งคาดว่าในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2556 จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

โดยในปี 2557 จะมีการดำเนินการให้มีท่าเรือน้ำลึกขนาดเล็กก่อนเพื่อใช้เบื้องต้นในการขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ทั้งนี้คาดว่าภายในปี 2558 การดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ระยะที่1 จะแล้วเสร็จ รวมทั้งถนน 4 ช่องจราจร และในปี 2562 การดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ระยะที่ 2 และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนถนน 8 ช่องจราจร จะแล้วเสร็จสมบูรณ์เช่นกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำเนินการร่วมกันในเรื่องการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนชาวเมียนมาร์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย

ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524