บททดสอบ Kaynesian's Economics

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 72

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ยุค BIBF สมัยชาติชายทำให้เงินลงทุนไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างมาก ตปท.มาตั้งโรงงานส่งออกมากจนประเทศไทยส่งออกได้เกิน 50% ของ GDP คนไทยกู้เงินที่แบงก์ได้มาจากต่างประเทศเพื่อมาเก็งกำไรสร้างตึกกันเพียบ

พอฟองสบู่แตก เงินนอกไหลออกหมด สิ่งที่เหลือไว้ก็คือ production capacity มหาศาลจากโรงงานส่งออกเป็นหลักแต่ต่อมาส่งออกได้น้อยลง ลำพังอุปทานในประเทศอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะทำให้โรงงานใช้กำลังการผลิตเต็มได้ อาคารสำนักงานที่รกร้างว่างเปล่าจำนวนมากเพราะ demand ไม่มีอยู่จริงหายไปกำลังรอให้คนมาเช่าอยู่

พอรัฐบาลทักษิณเข้ามา 4 ปีแรก นโยบายซ่อมประเทศที่บอกว่าเป็นทักษิโนมิกส์ แต่ผมดูแล้วคือ Kaynesian ดีๆ นี่เอง เพราะเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายเป็นหลักเพื่อมา fill capacity gap ที่ว่างอยู่นี้ให้แคบลง ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงิน การพักหนี้เกษตรกร การใช้จ่ายอย่างมากของภาครัฐ การปล่อยผี personal loan หรือแม้แต่นโยบาย 30 บาท ก็เป็นนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายเพราะทำให้คนออมเงินน้อยลงกล้าใช้เงินมากขึ้น นอกจากนี้รัฐฯ ยังปลุก animal spirit ตามแนวคิดของ Kaynes ด้วยการห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวในแง่ลบอีกด้วย เพื่อให้คนมองแต่แง่ดีและกล้าใช้จ่าย ผลก็คือ GDP ทีเติบโตขึ้นเกินร้อยละ 5 ต่อปี

มาถึงตอนนี้ 4 ปีที่ผ่านมา เงินที่ใช้ไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจหมดแล้ว ตอนนี้แบงก์รัฐมีแต่หนี้เสีย รัฐบาลถังแตก ประชาชนติดหนี้บัตรเครดิตเต็มวงเงินแล้ว เราไม่เหลือเครื่องมือในการกระตุ้นการใช้จ่ายอีกแล้ว เงินที่เฟ้อจากน้ำมันแพงก็ไม่เอื้อต่อการกระตุ้นการใช้จ่ายอีกต่อไป ดอกเบี้ยก็แพง โครงการเมกกะโปรเจคที่ซึ่งเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่รัฐบาลนำออกมาใช้เป็นไม้ตายในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ออกมายอมรับแล้วว่าต้องหาเงินจากต่างประเทศมาลงทุนให้ได้แทน

ปี 2549 จึงเป็นบทพิสูจน์ Kaynesian's Economics ว่า ถ้าหยุดกระตุ้นการใช้จ่ายแล้วเศรษฐกิจไทยจะสามารถไปต่อได้ด้วยตัวของมันเองหรือไม่ ถ้าปีนี้ GDP วูบลงไปใหม่เหมือนเมื่อตอนที่เรายังไม่กระตุ้นเศรษฐกิจก็เท่ากับว่าเงินที่เราใช้ไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจ 4 ปีที่ผ่านมานับล้านล้านบาทก็สูญเปล่า
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 27

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 2

โพสต์

And my worst fear will come true...
ภาพประจำตัวสมาชิก
worapong
Verified User
โพสต์: 929
ผู้ติดตาม: 2

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงจะกระทบใครบ้างครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงจะกระทบใครบ้างครับ bigc , se-ed , it-city , pdi , aia mama , farm house , wacoal , aprint , aeonts , ktcจะโดนกระทบไหมครับ   :twisted:  :twisted:  :twisted:
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 86

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมว่าท่านสุมาอี้ก็มองไทยในแง่ร้ายเกินไป
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 27

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมกลับว่า เป็นมุมมองที่ค่อนข้างจะกลางๆ ครับ

ตอนนั้น นโยบายเศรษฐกิจประเทศแบบนั้น (หว่านเงินกระตุ้นการใช้จ่าย)
เป็นวิธีการที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอเมริกาในช่วงปี 1985 - 1990
หรือไงเนี่ย นำโดยท่านโรนัลด์ เรแกน ที่เน้นภาพพจน์เป็นหลัก

ถ้าภาคการผลิตจริงและส่งออกเติบโตทัน การใช้จ่าย
เศรษฐกิจไทยจะรุ่งโรจน์โชติช่วงชัตชวาล แฮ๊ปปี้ดีพร้อมกันถ้วนหน้า

แต่ถ้าเกิดเหตุไม่คาดหมาย เช่น สงคราม ราคาน้ำมันพุ่งปรี๊ด
เศรษฐกิจโลกถดถอย

ความเสียหายที่เกิดขึ้น จะรุนแรงกว่าการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
แบบ conservative มากมายนัก

ตอนนี้ผมได้แต่หวังว่า เหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ จะไม่ร้ายแรงไปกว่านี้
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 86

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ตอนนี้แบงก์รัฐมีแต่หนี้เสีย รัฐบาลถังแตก ประชาชนติดหนี้บัตรเครดิตเต็มวงเงินแล้ว

จริงหรือ
qingwen
Verified User
โพสต์: 487
ผู้ติดตาม: 0

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 7

โพสต์

คิดแล้วทักษิณนี่เก่งแฮะ ภายใต้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบนี้ อีกฝ่ายนึงวิจารณ์ว่าจะพังมาตั้งแต่ปีแรกที่เป็นรัฐบาลแล้ว นี่อยู่มาได้ถึง 5 ปี ผ่านมรสุมมามากมายทั้ง ปัญหา 3 จว.ภาคใต้ สึนามิ หวัดนก น้ำมันแพง ยังมีมุขหาเงินมากระตุ้นได้อีก เอากับเขาสิ น่าเสียดายมากถ้าลากมาถึงขนาดนี้ได้แล้วเงินหมด
对不起,请问一下.
存货是什么意思 ?
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 27

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 8

โพสต์

อืมม์ ไม่จริงครับ :D exaggerated ไปหน่อย ประโยคนั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
PaZZaHut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 737
ผู้ติดตาม: 0

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 9

โพสต์

:D
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 1

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนพฤศจิกายน 2548
เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน 2548 โดยรวมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะเครื่องชี้อุปสงค์ ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกขยายตัวสูงกว่าเดือนก่อน และการนำเข้าชะลอตัวลง

ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ส่วนผลผลิตพืชผลหลัก เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย  ทั้งนี้ บางส่วนเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดี  สำหรับในภาคบริการปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย  

เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยด้านฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ และแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มอ่อนตัวลง

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 มีดังนี้

1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน การชะลอตัวดังกล่าวเนื่องจากการผลิตในบางหมวดอุตสาหกรรมลดลงจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และหมวดผลิตภัณฑ์เคมีที่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ขณะที่บางหมวดอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง เช่น หมวดยาสูบได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย หมวดวัสดุ ก่อสร้าง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กชะลอตัวตามภาคการก่อสร้าง  อย่างไรก็ตาม สินค้าหลายหมวดยังขยายตัว ในเกณฑ์ดีตามอุปสงค์จากต่างประเทศ  เช่น  หมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น  หมวดอาหารโดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการจากต่างประเทศ หมวดสิ่งทอขยายตัวดีตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป หมวด ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งโดยเฉพาะรถยนต์พาณิชย์ที่อุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.3 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 72.3 ในเดือนก่อน

2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการลดลง ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม _ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัว เนื่องจากมีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัวในตลาด ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ตามแนวโน้มพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เช่นเดียวกับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัวลงตามมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์

3. ภาคการคลังเดือนพฤศจิกายน 2548  รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 111.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.3 ชะลอลงตามรายได้ภาษีที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1  แม้ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ยังขยายตัวดี แต่ภาษี จากฐานการบริโภคและฐานการค้าระหว่างประเทศจัดเก็บได้ลดลง  ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานในระยะเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศ ประกอบกับการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและภาษีศุลกากร  ขณะที่รายได้ ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 4.9 สำหรับดุลเงินสดรัฐบาลในเดือนนี้ขาดดุล 27.8 พันล้านบาท

         4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 201 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับการขาดดุล 372 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 ในเดือนก่อน  คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 9,678 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าออกสำคัญที่ขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวด อุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี คอมพิวเตอร์ และแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน รวมทั้งยานพาหนะและชิ้นส่วน สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากฐานที่สูง มูลค่าการนำเข้ารวม 9,879 ล้านดอลลาร์ สรอ.  โดยสินค้านำเข้าที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ และสินค้าวัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะและพลาสติก ในขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน (รวมการนำเข้าเครื่องบิน 1 ลำ) ชะลอลงจากเดือนก่อน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 643 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนและการลดลงของเงินส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทข้ามชาติ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 441 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 1,315 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 อยู่ที่ระดับ 50.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

          5. อัตรเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2548 พิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 ชะลอจาก เดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2  โดยเป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งราคาในหมวดพลังงาน ที่ลดลงได้แก่ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ  โดยราคาน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ปรับลดลง 3 ครั้งในเดือนนี้รวม 1.30 บาท และราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 ครั้งเช่นกันรวม 1.10 บาท  ขณะที่ราคาหมวดอาหารสดปรับสูงขึ้นเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม  นอกจากนี้ ราคาสินค้าสำคัญที่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะ ราคาในหมวดยานพาหนะ และหมวดแอลกอฮอล์จากการขึ้น ภาษีสรรพสามิตสุราตั้งแต่เดือนกันยายน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เท่ากับเดือนก่อน


ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 8.8 ตามราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ชะลงลงเนื่องจากต้นทุนที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก




6. ภาวะการเงิน  เดือนพฤศจิกายน 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน และเพิ่มขึ้น 85.0 พันล้านบาทจากเดือนตุลาคม  อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่และ การโอนสินทรัพย์หนี้สินระหว่างบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์บางแห่งตามนโยบาย One Presence ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมาแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.6 เร่งขึ้นจากอัตราการขยายตัวในช่วงต้นปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยจูงใจผู้ฝากเงิน  สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ  6.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา  สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าในช่วงปลายปี 2547 สอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมในประเทศ  

ฐานเงิน ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากต้นปี ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเปิดศูนย์จัดการธนบัตร ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 7.2  4.8 และ 5.2 ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากเดือนตุลาคมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเป็นผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ใหม่และนโยบาย One Presence

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.69 และ 3.68 ต่อปี ตามลำดับ สูงขึ้นจาก เดือนก่อนตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

7.  ค่าเงินบาทในเดือนพฤศจิกายนเฉลี่ยอยู่ที่  41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 40.91 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม เนื่องจากขณะนั้นความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed funds rate อีกร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี

   ระหว่างวันที่ 1-24 ธันวาคม 2548 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของไทย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับความเชื่อมั่น ในเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนเพราะตลาดคาดว่าวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ ใกล้จะสิ้นสุดแล้ว
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 1

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 11

โพสต์

http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBa ... _Nov05.pdf
อันนี้เป็นแผนภูมิประกอบการอธิบายสภาพเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน(2548)
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 1

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ถ้าดูจากแผนภูมิ ผมว่าเมืองไทยยังไม่ได้เลยร้ายขนาดนั้นนะ 1.อัตราการใช้กำลังการผลิต ซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาคการผลิตของเอกชน อยู่ที่ราวๆ 70% ซึ่งขยายตัวจากปีก่อนประมาณ 5% และระดับที่ไม่เกิน 80%และไม่ต่ำกว่า60% ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือ ไม่ เกิน หรือ ขาด เกินไป ระดับอัตราการบริโภคก็ยังคงอยู่ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ตัวเลขที่น่ากังวลกลับเป็นอัตราการลงทุนที่ขยายตัวแบบถดถอย ซึ่งอาจเป็นการสะท้อนการชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนของสภาพการณ์และความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงในปีนี้ สำหรับเงินเฟ้อปีนี้ถือได้ว่าเพิ่มขึ้นสูงเลยทีเดียว คงต้องรอตัวเลขสรุปทั้งปีว่าอยู่ที่เท่าไหร่ แต่ยังดีที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ(ซึ่งสัมพันธ์กันกับอัตราการใช้กำลังการผลิต) อัตราการฝากเงินที่เพิ่มสูงขึ้น(ซึ่งสัมพันธ์กันกับอัตราการบริโภคที่ทรงตัวเช่นกัน) :wink:
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 1

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 13

โพสต์

มาดูpresentationของสภาพัฒน์ฯดีกว่าว่าดีร้ายยังไงเศรษฐกิจไทยปีที่ผ่านมา
http://www.nesdb.go.th/econSocial/macro ... 05/ppt.pdf
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 72

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ผมไม่ได้ออกมาทำนายว่าเศรษฐกิจไทยจะทรุดลงไปใหม่นะอย่าเข้าใจผิด ผมไม่รู้อนาคตหรอก

เพียงแต่จะบอกว่าสถานการณ์ ณ ปัจจุบันนี้เป็นจุดที่น่าติดตาม เพราะมันกำลังจะเผยให้เราได้เห็นว่า Aggregate Supply Curve ของประเทศไทย elastic ขนาดไหน

ถ้ามัน inelastic มากๆ มันจะตกหล่มหลังจาก Aggregate Demand curve เลื่อนไปทางซ้าย GDP จะกลับไปเติบโตในระดับต่ำเหมือนยุคก่อนทักษิณและทรงตัวอยู่อย่างนั้นอีกนานหลายปี

แต่ถ้ามัน elastic มันจะตกหล่มไม่นาน แล้วสามารถกลับมาโตในระดับสูงเช่นเดิมได้ (โตเกิน 5% ได้อีก) ถ้าเป็นเช่นนั้นเงินที่ใช้ไปก็จะไม่สูญเปล่า
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
buglife
Verified User
โพสต์: 942
ผู้ติดตาม: 0

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 15

โพสต์

มันโตแบบกระจุกๆ นะครับ
โตจริง แต่ไม่ทั่วถึง
(เป็นปัญหาที่มีมานานแสนนาน เฮ่อ)

แต่น้ำมันแพง รับผลกระทบทั่วหน้า
รากหญ้าจะรับภาวะของแพงได้อีกนานแค่ไหน  :(  :(  :(
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 72

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 16

โพสต์

การกระตุ้นการใช้จ่ายต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่า เครื่องจักรอีกตัวหนึ่งของระบบเศรษฐกิจจะติดขึ้นมานั้นก็คือ การลงทุนภาคเอกชน เพราะการลงทุนภาคเอกชนเท่านั้นที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้แบบยั่งยืน

แต่ที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนของไทยไม่ยอมฟื้นเสียที เร็วๆ นี้ดูเหมือนจะอ่อนแรงลงด้วยซ้ำ ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลค่อนข้างโชคไม่ดี เพราะช่วงที่น้ำมันแพงไม่เอื้อต่อการใช้ Kaynesian's economics แถมยังเจอโรคซาร์ส หวัดนก ปัญหาภาคใต้ ซึนามิ ฯลฯ อีก

ถึงยังไงตอนนี้ก็ห้ามหยุดกระตุ้นเด็ดขาด มิฉะนั้นเงินที่ใช้ไปทั้งหมดจะสูญเปล่า อย่างน้อยการกระตุ้นต่อไปก็ยังมีหวังที่จะสำเร็จถ้า AS curve ของเราไม่ sticky จนเกินไป

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเคยออกนโบบายให้แบงก์ออมสินรับโอนหนี้เน่าจากเจ้าหนี้นอกระบบเข้ามา ต่อมาก็ออกนโยบายล้างหนี้ Personal loan ที่อื้อฉาว ตอนนี้ก็ให้ออมสินทำเรื่องประนอมหนี้บุคคลที่ไม่ใช่หนี้บัตรเครดิตหรือหนี้เกษตร แต่ไม่ทราบว่านโยบายเหล่านี้ได้ผลในเชิงปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน การบังคับให้เจ้าหนี้ลดหนี้ให้บ่อยๆ เข้าจะเกิดผลเสียในระยะยาวเพราะเจ้าหนี้จะไม่กล้าปล่อยกู้ใหม่
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ขงเบ้ง
Verified User
โพสต์: 399
ผู้ติดตาม: 1

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 17

โพสต์

If the mega project is appeared,it is a critical point.It may be worsed or improved. :lovl: :lovl: :lovl: :lovl: :lovl: :lovl: :lovl: :lovl:
or :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry:
ไม่มีกลยุทธ์ใดตายตัวขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก
PP
Verified User
โพสต์: 435
ผู้ติดตาม: 1

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เคยอ่านหนังสือที่กล่าวถึงนักเศรษฐศาสตร์ดังๆระดับโลกนับแต่อดีตหลายต่อหลายท่าน รวมถึง John Maynard Keynes ผู้ให้กำเนิดแนวคิดของ Keynesian's Economic อย่างที่คุณสุมาอี้ยกมาตั้งกระทู้  ผมเพียงแต่จำได้ว่านักเศรษฐศาสตร์ของอเมริการุ่นหลังๆไม่คล้อยตามแนวคิดดังกล่าวอีกต่อไป แต่เหตุผลจำไม่ได้แล้วขออภัย

ที่น่าสนใจสำหรับ John Maynard Keynes คือ แนะวคิดในเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น เขาจะเน้นวิเคราะห์บริษัท แล้วเลือกลงทุนในบริษัทเด็ดๆไม่กี่บริษัท แทนที่จะลงทุนซื้อบริษัทธรรมดาหลายบริษัท ตามที่ท่าน Buffett กล่าวอ้างมาอย่างตาม quote ข้างล่าง   จะเห็นว่าแม้ Keynes จะเป็น macro economist แต่กลับไม่นำเอาหลักที่ตัวถนัดมาใช้ประกอบการพิจารณาในการลงทุนในตลาดหุ้นแต่อย่างใด  ผมว่าประสบการณ์มันสอน Keynes ให้เข้าใจสัจธรรมของการลงทุนครับ
91 Letter to Shareholder เขียน:John Maynard Keynes, whose brilliance as a practicing investor matched his
brilliance in thought, wrote a letter to a business associate, F. C. Scott,
on August 15, 1934 that says it all: 'As time goes on, I get more and more
convinced that the right method in investment is to put fairly large sums
into enterprises which one thinks one knows something about and in the
management of which one thoroughly believes. It is a mistake to think that
one limits one's risk by spreading too much between enterprises about which
one knows little and has no reason for special confidence One's knowledge
and experience are definitely limited and there are seldom more than two or
three enterprises at any given time in which I personally feel myself
entitled to put full confidence.

1991 Letter to Berkshire Hathaway shareholders
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 72

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 19

โพสต์

Mega project ถือเป็นนโยบาย keynesian ที่ดีกว่านโยบายอื่นๆ ที่ผ่านมาครับ เพราะอย่างน้อยก็เป็นการลงทุนมิใช่การบริโภค แต่ปัญหาคือจะเอาเงินจากไหนมาลง ถ้าเลือกทำไปตั้งแต่ต้นตอนที่รัฐบาลยังมีเงินอยู่ก็คงจะดี

นักเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ส่วนใหญ่ไม่เชื่อแล้วว่า keynesian เป็นนโยบายที่คุ้มที่จะทำ แต่ในทางปฏิบัติถ้าคิดถึงประเด็นทางการเมืองแล้ว keynesian ปฏิบัติได้ง่ายเพราะได้คะแนนนิยม  :lol:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ขงเบ้ง
Verified User
โพสต์: 399
ผู้ติดตาม: 1

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 20

โพสต์

เห็นด้วยครับ เอาเงินหมู่บ้าน 1 ล้าน ,เงินกระตุ้นต่างต่างแบ่งมาทำmegaproject ตั้งแต่แรกบ้างก็น่าจะดีกว่าครับ
เป็นแค่ความคิดเห็นแลกเปลี่ยน ไม่เห็นด้วยก็ได้ครับ
ไม่มีกลยุทธ์ใดตายตัวขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ม้าเฉียว
Verified User
โพสต์: 350
ผู้ติดตาม: 0

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 21

โพสต์

สิ่งที่่น่ากังวลสำหรับผมตอนนีคือ

การขาดวินัยทางการคลังของรัฐบาล ที่พยายามอย่างยิ่งยวดในการโชว์ให้เห็นว่า ตนจะใช้นโยบายการคลังสมดุล ในขณะที่เลี่ยงไปใช้จ่ายในทางอื่นโดยขาดการบริหารจัดการที่ดีพอ เช่น การให้หน่วยงานของรัฐใช้จ่ายโดยการกู้ยืมมากขึ้น จะได้ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณ เมื่อต่างคนต่างกู้มาใช้ จะแน่ใจได้อย่างไรว่า มีการใช้เงินอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการระดมทุนและใช้จ่ายผ่านกองทุนต่างๆของรัฐ ก็เริ่มส่อแววของความเสี่ยง

อีกเรื่องคือ การสร้างสมดุลระหว่าง นโยบายการเงิน กับการคลัง ซึ่งอาจจะก่อปัญหาตามมาได้

และเรื่องสำคัญที่ผมกังวล คือ การทำอะไรที่เสี่ยงๆเหมือนบริหารบริษัท นี่มันประเทศนะ ไม่ใช่บริษัท
เล่าปี่2006
Verified User
โพสต์: 11
ผู้ติดตาม: 0

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ท่านโจโฉว่าไงครับ ยังไม่เห็นเลย สงสัยซุ่มกำลังรอรบอยู่
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 23

โพสต์

อืม ขาดแต่ งอก๊ก ก็ครบองค์แล้ว
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 86

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ผมว่าถ้าฐานะทางการเงินของไทย  ยังห่วงกันขนาดนี้

แล้วของสหรัฐละครับ  คิดเห็นกันอย่างไร
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 86

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 25

โพสต์

"วีรพงษ์ รามางกูร" ระบุเศรษฐกิจไทย ปี 2549 เติบโตร้อยละ 5.5 ชี้ปัจจัยเสี่ยงราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยไม่รุนแรง ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะไม่ขาดดุลมากอย่างที่คาดการณ์ เพราะการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการเติบโตต่อเนื่อง ย้ำภาวะค่าเงินบาทแข็งเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น มั่นใจ ธปท. สามารถดูแลให้มีเสถียรภาพได้
     
      นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนากรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในปี 2549 ว่า น่าจะมีเสถียรภาพ เพราะดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะขาดดุลไม่มากอย่างที่มีการคาดการณ์ เนื่องจากเศรษฐกิจจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ เพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามเงินภูมิภาคเอเชีย และจากการที่มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทน่าจะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว และเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะดูแลให้มีเสถียรภาพเป็นอย่างดี
     
      ส่วนค่าเงินหยวนของจีน ยังไม่เห็นมีท่าทีว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวน และแม้จะมีการปรับค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นก็ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรต่อประเทศไทยมากนัก อาจจะทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลดีด้วยซ้ำไป จึงไม่มีอะไรน่ากังวล
     
      นายวีรพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ เชื่อว่าอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยง เช่น ราคาน้ำมันจะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว โดยราคาน้ำมันจะทรงตัวในระดับสูงในไตรมาส 1 และอ่อนตัวลงในครึ่งปีหลัง และเงินเฟ้อแม้จะอยู่ในระดับสูง แต่จะต่ำกว่าไตรมาส 4 ปี 2548 และช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มลดลง เพราะสหรัฐคงไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกสินค้าจะได้ราคาเพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณอาจจะเพิ่มไม่มากทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะรถยนต์และชิ้นส่วน จะได้รับอานิสงส์ดีอย่างมาก ถ้าการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จ ขณะที่การท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคัก
     
      นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยการลงทุนของรัฐบาลในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถ้าหากดำเนินการได้เร็วก็จะยิ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่จะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างที่ประชาชนมีความกังวล สำหรับตราสารหนี้ระยะยาวในปีนี้จะเริ่มตื่นตัวมากขึ้น ภาวะการเงินจะเข้าสู่ภาวะการตึงตัว เนื่องจากสภาพคล่องลดลงและธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการระดมเงินฝากเพื่อการปล่อยสินเชื่อ การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ปีที่แล้วอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 70 ทำให้ภาคเอกชนน่าจะขยายการลงทุนต่อเนื่อง ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในภาวะที่สมดุลประมาณร้อยละ 90 ดังนั้น ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้วแน่นอน ขณะที่ฐานะการคลังอยู่ในภาวะที่มั่นคง เนื่องจากมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ตั้งประเทศไทยมา ขณะที่หนี้ระยะสั้นมีแค่ 1 ใน 3 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด จึงถือได้ว่าภาคการเงินและภาคการคลังค่อนข้างมีความมั่นคง
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 72

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 26

โพสต์

บางคนชอบออกมาทาย แต่ผมชอบออกมานั่งดู  :D
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4915
ผู้ติดตาม: 247

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ผมว่าหลัก Keyneที่ ทักษิณนํามาใช้เพราะเค้ารู้ดีว่า econมันไม่ดีแต่ถ้าคนยิ่งมองโลกในแง่ร้ายก็จะแย่กว่าเดิม ใหนๆเผื่อจะดีก็ปิดสื่อมันซะ สู้ศึกสักครั้งเผื่อมันจะดีขึ้น  

เหมือนเวลาออกรบอะครับ ทําไมเวลาพระเจ้าตากสินตีเมืองที่ใหญ่กว่า
ทั้งที่รู้ว่าอาจจะแพ้ก็ได้แต่ก็บอกทหารว่าจะชนะแน่ ก็เพราะสร้างconfidenceยังไงครับ ให้หึกเหิมได้รบศัตรูชนะ
 ถ้าหากปราศจากconfidenceหลายสิ่งหลายอย่างคงยังไม่ดําเนินการ
เพราะมัวแต่กลัว และก็คงยังไม่เห็นผล

สิ่งที่คุณสุมาอี้บอกว่าถ้าหยุดใช้จ่าย econจะไปต่อได้หรือ ส่วนตัวผมอาจว่าไม่เพราะ มีทั้งเรื่องหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น เงินเฟ้อมากขึ้น อีกทั้งเงินเดือนก็ไม่ได้เพิ่มตามเท่าเงินเฟ้อ แต่คงไม่ถึงกับแย่เท่าปี 40
แน่นอนeconไปได้เพราะconfidenceครับ คนถึงกล้าใช้จ่าย

________________

กระบี่อยู่ที่ใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4915
ผู้ติดตาม: 247

Re: ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงจะกระทบใครบ้างครับ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

[quote="worapong"]ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงจะกระทบใครบ้างครับ bigc , se-ed , it-city , pdi , aia mama , farm house , wacoal , aprint , aeonts , ktcจะโดนกระทบไหมครับ
ChoNgMinG
Verified User
โพสต์: 66
ผู้ติดตาม: 0

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวเคนส์ ในช่วงที่ผ่านมา
จริงๆ ผมเห็นว่ามันถูกต้องแล้วนะครับ เรื่องการกระตุ้นทางด้านการคลัง ผ่านการใช้จ่ายของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายอะไร เพราะความจริงถ้าจะย้อนกลับไป 4 กว่าปีก่อน สภาพคล่องมันล้นระบบ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินไม่ได้ผล เนื่องจากติดกับดักสภาพคล่อง ดอกเบี้ยถูกมากกกก แต่คนก้ไม่กู้มาลงทุนอยู่ดี ดังนั้น จึงต้องใช้การคลังอย่างเดียวแหละครับ

แต่ประเด็น ผมว่ามันอยู่ที่ว่า "ความมีประสิทธิภาพของการใช้จ่าย" มากกว่าครับ ว่าเอาไปใช้แล้วให้ประโยชน์ได้แค่ไหน เช่นโครงการต่างๆ จริงแล้วก็น่าจะดูมีประโยชน์มากนะครับ แต่ในแง่การวัดประสิทธิภาพ ผลตอบแทนโครงการ การจัดการหรือการใช้ประโยชน์ให้สูงสุด การลำดับความสำคัญของการใช้จ่าย ผมว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ชัดเจนจริงๆ

ย้อนกลับมาเรื่องเคนส์อีกที เอาไปเปรียบเทียบกับแนวคิดตอนเคนส์บูมๆ เนี่ย คงไม่ถุกต้องนักนะครับ เท่าที่จำได้ ไม่รู้จำผิดหรือเปล่า :oops:  ช่วงนั้นแนวคิดทางด้านเศรษฐกิจจะเน้นในเรื่องการผลิตครับ เป็น แมสโปรดักส์ ให้มีต้นทุนต่ำ จากการขยายการผลิต เน้นเรื่องความเชี่ยวชาญต่อเนื่องมาจากยุคคลาสสิค ผลปรากฎว่า ผลิตได้ถูกจริง แต่อุปทานล้นเหลือ แนวคิดเคนส์ถึงเริ่มเกิดขึ้น แล้วหลังจากยุคที่ความคิดเคนส์เรื่องเสื่อม ถึงได้เป็นยุคของพวกการเงิน แล้วยุคหลังถึงเป็นยุคผสมกัน

ปัจจุบัน ผมไม่ค่อยห่วงเรื่องเศรษฐกิจมากนักนะครับ เรื่องการที่ว่ารัฐจะหยุดลงทุนแล้วจะเป็นอย่างไร คงต้องมาดูถึงภาวะในตอนนั้นนะครับ ว่าการบริโภคขยายตัวแค่ไหน บางที การลงทุนทั้งเอกชน ตปท หรือรัฐ จะลงทุนอย่างอื่นเพิ่มหรือไม่ แล้วเศรษฐกิจโลกจะเป็นยังไง จะกระทบต่อการส่งออกเรามากแค่ไหน

ผมกังวลอยู่อย่างเดียวในตอนนี้ คือ เรื่องการปรับสมดุลของเศรษฐกิจโลก ทั้งจากเมกาและจีน วึ่งคงกระทบเรามากมหาศาลทีเดียวครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 72

บททดสอบ Kaynesian's Economics

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ถ้าไทยติดกับสภาพคล่องแบบเดียวกันญี่ปุ่น น่าจะลองเอาวิธีที่ Krugman เสนอให้ญี่ปุ่นทำมาใช้ดูนะครับ คือ ให้รัฐบาลประกาศว่าจะพิมพ์แบงก์ออกมาเรื่อยๆ ล้างไพ่กันใหม่หมด คนที่ไม่ยอมใช้เงินจะรีบเอาเงินออกมาใช้เพราะกลัวว่าเงินกำลังจะหมดค่า  :D

พูดไปงั้นแหละ วิธีนี้ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าใช้เพราะขืนใช้รัฐบาลล้มก่อนแน่
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ