40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18408
ผู้ติดตาม: 81

40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อันนี้ถามผู้ที่เชี่ยวชาญในการขอคืนภาษีโดนเฉพาะเลยว่า
เจอปันผลประเภท 40(8) โดยที่บริษัทซื้อหุ้นคืนในอัตราสมมติ 1 บาท ต่อหุ้น
โดยที่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายเพราะ TSD ไม่มีอำนาจในการหัก ณ ที่จ่ายสำหรับข้อนี้
ดังนั้นตอนปลายปีเมื่อยื่นภาษีต้องกรณีนี้ทำให้ต้องเอาไปรวมกับรายได้เงินเดือน เงินปันผล ดอกเบี้ยฯลฯ
แต่อย่างไงก็ดีมันก็ต้องมีเครดิตภาษีเกิดขึ้นใน 40(8) หรือเปล่าครับสำหรับ CASE นี้

ใครรู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อย เพราะตอนนนี้โคตรงงเลย
:)
:)
jinyong
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

Re: 40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 2

โพสต์

miracle เขียน:อันนี้ถามผู้ที่เชี่ยวชาญในการขอคืนภาษีโดนเฉพาะเลยว่า
เจอปันผลประเภท 40(8) โดยที่บริษัทซื้อหุ้นคืนในอัตราสมมติ 1 บาท ต่อหุ้น
โดยที่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายเพราะ TSD ไม่มีอำนาจในการหัก ณ ที่จ่ายสำหรับข้อนี้
ดังนั้นตอนปลายปีเมื่อยื่นภาษีต้องกรณีนี้ทำให้ต้องเอาไปรวมกับรายได้เงินเดือน เงินปันผล ดอกเบี้ยฯลฯ
แต่อย่างไงก็ดีมันก็ต้องมีเครดิตภาษีเกิดขึ้นใน 40(8) หรือเปล่าครับสำหรับ CASE นี้

ใครรู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อย เพราะตอนนนี้โคตรงงเลย
:)
ไม่ค่อยเข้าใจคำถาม ... เป็นกรณีเคสไหนครับ หมายถึงบริษัทซื้อหุ้นจากเราคืน หรืออย่างไร

message ไปแล้ว ลองดูหน่อยครับ
เด็กฝึกงาน...
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18408
ผู้ติดตาม: 81

Re: 40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เป็น CASE ของ BTS ที่ปรับ PAR ของหุ้นจาก 0.64 บาทต่อหุ้นเป็น 4 บาทต่อหุ้น
ทำให้หุ้นมีบ้างส่วนที่ไม่สามารถปรับ PARได้ ดังนั้นบริษัทก็ดำเนินการซื้อคืนที่ราคา 0.80 บาทต่อหุ้น
จุดนี้แหละทำให้ เกิดการจ่ายค่าหุ้นคืนกลับให้ผู้ถือหุ้น

ตั้งแต่ผมเป็นนักลงทุนมา และที่ผมจำได้ว่า BTS เป็น CASE ที่สองที่ทำแบบนี้
ก่อนหน้านี้เป็นของ TKS ที่รวมพาร์ แต่ CASE ของ TKS รวม PARแบบ 10 ต่อ 1
เพราะไม่มีการเอาราคาพาร์ของหุ้นไปล้างขาดทุนสะสม แต่ CASE นี้มีตัวนี้เข้ามาเลยต้องถามว่า
เครดิตปันผลคิดอย่างไง ,TSD(ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ก็ไม่มีอำนาจหัก ณ ที่จ่าย 10%) ต้องเอาตัวนี้ไปคิดตอนปลายปีหรือไม่ ถ้าหากยื่นเครดิตภาษีทั้งหมด

อันนี้เป็น CASE ตัวอย่างที่น่าศึกษาไว้ เพราะในอนาคตอาจจะมีเกิดขึ้นอีก
เพราะปัจจุบันมันย้อนรอยอดีตเสมอ
:)
:)
Kao
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1257
ผู้ติดตาม: 24

Re: 40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมก็ไม่เคยเจอเคสนี้มาก่อนครับ แต่กรณีนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับเครดิตภาษีเงินปันผลเลยนะครับ เพราะบริษัทเพียงแต่ซื้อเศษหุ้นส่วนที่ไม่ได้ปรับพาร์คืนจากผู้ถือหุ้นเท่านั้น ส่วนตัวเห็นว่าไม่น่าจะถือเป็นเงินได้ คล้ายๆการTender Offer ที่ผู้ขายก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้ไม่ได้ขายผ่านตลาด

ส่วนการจ่ายเงินปันผล TSDก็ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในกาารออกเอกสารหักณที่จ่าย ส่งเช็ค/โอนเงินให้ผู้ถือหุ้นเท่านั้น ส่วนบริษัทที่จ่ายเงินปันผลเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเงินปันผลเพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากรครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18408
ผู้ติดตาม: 81

Re: 40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 5

โพสต์

CASE นี้อาจจะเป็นกรณีศึกษาในการจ่ายปันผลได้
มันเป็น CASE ที่เป็นบรรทัดฐานในการจ่ายต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

ตอนนี้ผมก็ยังงงอยู่ว่า ยื่น 40(8) แต่ยื่นไปแล้ว เอาเครดิตคืนได้หรือไม่
เพราะอ่านใบแนบก็เห็นแต่สูตรในการคำนวณเท่านั้น ไม่มีตัวอย่างให้ดูว่าคิดอย่างด้วย
อีกที่อ่านแล้วเจอคือ คำชี้แจงของ TSD ในเรื่องการหักภาษี 10% ณ ที่จ่าย ว่าไม่สามารถหักได้
เนื่องจากเงินจ่ายเป็นประเภท 40(8) นั้นเอง

เรื่องนี้ต้องให้ผู้เชียวชาญมาคำอธิบาย เพื่อเก็บไว้เป็น กรณีศึกษาในอนาคตต่อไป
หากมี CASE แบบนี้เกิดขึ้น
:)
whitesky
Verified User
โพสต์: 43
ผู้ติดตาม: 0

Re: 40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอออกตัวหน่อยนะคะ ที่เข้ามาตอบนี่ไม่ได้หมายความว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญนะคะ เพียงแต่พอมีความรู้อยู่บ้างเท่านั้นค่ะ

อ่านคำถามตอนแรกก็งงอ่ะค่ะ เลยต้องไปหาข่าวมาอ่านว่าเรื่องเป็นไง ไม่เห็นหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า เป็นการลดจำนวนหุ้นลงเท่านั้น ส่วนมูลค่าหุ้นยังคงเดิม

กรณีนี้เกิดจากการที่ บริษัทฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของบริษัทฯ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทำให้มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของบริษัทฯ เปลี่ยนจากเดิมหุ้นละ 0.64 บาท เป็น หุ้นละ 4 บาท และจำนวนหุ้นของบริษัทฯ ลดลงจากเดิม74,815,275,150 หุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.64 บาท) เป็นจำนวน 11,970,444,024 หุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ4 บาท) ทั้งนี้ ในการรวมหุ้น (ในอัตรา 6.25 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่) และเปลี่ยนพาร์ดังกล่าว กรณีมีเศษหุ้นเดิมเหลือจากการคำนวณ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะแปลงเป็นหุ้นใหม่ บริษัทฯ ได้ตัดเศษหุ้นเดิมของผู้ถือหุ้นดังกล่าวทิ้ง โดยจะ จ่ายเงินชดเชยค่าเศษหุ้นเดิมที่ถูกตัดทิ้งในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท ตามสัดส่วนเศษหุ้นเดิมที่ถูกตัดทิ้ง

ฉะนั้นเศษหุ้นที่ตัดทิ้งและจ่ายเป็นเงินสดไม่น่าเกิน 6.24 หุ้นต่อราย โดยบริษัทจ่ายเงินสดชดเชยให้ในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท จำนวนเงินจ่ายสูงสุดไม่น่าเกิน 4.99 บาทต่อราย ( เห็นตัวเลขน้อย ๆ แบบนี้แต่ถ้ามากรายก็เป็นเงินเยอะเหมือนกันนะคะ)

ในส่วนที่บริษัทคำนวณจ่ายให้หุ้นละ 0.80 บาท ถ้าให้เดาบริษัทน่าจะรวมภาษีที่ผู้ถือหุ้นต้องไปจ่ายเพิ่มตอนยื่นภงด 90,91ไว้แล้วในอัตราประมาณ 30% (ราคาพาร์ 0.64 + ภาษี (0.64 x 30%) = 0.83 บาท)

เงินที่ได้รับนี้ไม่ใช่เงินปันผลนะคะ จะไปเครดิตเงินปันผลไม่ได้ เมื่อตีประเด็นเป็นมาตรา 40(8) ตามหนังสือรับรอง (ปกติการจ่ายเงินถ้าไม่เข้าประเด็นมาตรา 40(1) – 40(7) ก็จะเป็น 40(8) หมดค่ะ) กรณีนี้ตามมาตรา 50 ไม่ได้ระบุให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายค่ะ

ณ วันสิ้นปี ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องนำเงินได้ที่ได้รับตามมาตรา 40(8) นี้ไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ด้วยค่ะ

(ถ้ายอดเงินในหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ใช่ตามที่เข้าใจ PM แจ้งให้ทราบได้ไหมคะ)
Elessar
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 177
ผู้ติดตาม: 1

Re: 40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เครดิตภาษีมีเฉพาะ 40(4)(ข) นะครับ
ในกรณีBTSผมงงว่าทำไมไม่ตีเป็น 40(4)(ง) แต่ดันเป็น40(8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
todsapon
Verified User
โพสต์: 1137
ผู้ติดตาม: 0

Re: 40(8) จากการจ่ายค่าหุ้นหลังปรับพาร์

โพสต์ที่ 8

โพสต์

miracle เขียน:อันนี้ถามผู้ที่เชี่ยวชาญในการขอคืนภาษีโดนเฉพาะเลยว่า
เจอปันผลประเภท 40(8) โดยที่บริษัทซื้อหุ้นคืนในอัตราสมมติ 1 บาท ต่อหุ้น
โดยที่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายเพราะ TSD ไม่มีอำนาจในการหัก ณ ที่จ่ายสำหรับข้อนี้
ดังนั้นตอนปลายปีเมื่อยื่นภาษีต้องกรณีนี้ทำให้ต้องเอาไปรวมกับรายได้เงินเดือน เงินปันผล ดอกเบี้ยฯลฯ
แต่อย่างไงก็ดีมันก็ต้องมีเครดิตภาษีเกิดขึ้นใน 40(8) หรือเปล่าครับสำหรับ CASE นี้

ใครรู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อย เพราะตอนนนี้โคตรงงเลย
:)
เงินที่คุณได้มาคือรายได้ที่คุณได้รับ เสียภาษีไปเท่าไรนั่นคือเสียภาษี ณ ที่จ่ายครับ ไปขอคืนได้ตอนสิ้นปี
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
โพสต์โพสต์