นักลงทุน VI ต่างแดน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 91

โพสต์

ผมไปดูที่ wiki

Health care in Australia is provided by both private and government institutions. The Minister for Health and Ageing, currently Tanya Plibersek, administers national health policy, elements of which (such as the operation of hospitals) are overseen by individual states.

In Australia the current system, known as Medicare, was instituted in 1984. It coexists with a private health system. Medicare is funded partly by a 1.5% income tax levy (with exceptions for low-income earners), but mostly out of general revenue. An additional levy of 1% is imposed on high-income earners without private health insurance. As well as Medicare, there is a separate Pharmaceutical Benefits Scheme that considerably subsidises a range of prescription medications. In 2007-08, Australia spent 9.1% of GDP on health care, or A$4874 per capita.[1]


อันดับแปดก็น่าจะเป็น australia ไม่ใช่ Austria

ผมคิดถึงเคสคล้ายๆ กันเหมือนที่ Kansas City ฝั่ง Missouri
Kansas City มีสองฝั่งนะครับ ฝั่ง Kansas กับ Missouri กั้นด้วยแม่น้ำ Missouri
เหมือน กรุงเทพ กับ ฝั่งธน ที่กั้นด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา
Kansas City เป็นเมื่องเดียวในอเมริกาที่มีพื้นที่อยู๋ในสองรัฐ
ฝั่ง Missouri นั้นเป้นแหล่งของคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา
พูดอีกอย่างคือเป็นแหล่งของคนทีรายได้น้อยที่อยู๋กันอย่างหนาแน่นครับ
supply ของหมอกับ demand ของคนไข้จึงไม่สมดุลกัน
คณะแพทย์ของ U Of Kansas จึงต้องมีสองฝั่งครับ

ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง Australia จึงมีปัญหา
supply พยาบาลและหมอและ demand ของคนไข้ไม่สมดุลกันครับ
findingnumo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 22
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 92

โพสต์

เป็นกระทู้ที่น่าสนใจดีนะครับ

อยากสอบถามเพิ่มว่าแล้วโอนเงินจากต่างประเทศมาเพื่อลงทุนในไทยกันยังไงบ้างครับ หรือว่ารอกลับไทยมาแล้วค่อยเอามาแลกเป็นเงินไทยครับ เพราะค่าโอนก็เหมือนจะเยอะๆอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 93

โพสต์

humdrum เขียน:ผมดูอันดับประเทศที่คนมีความสุขกันมากที่สุดของโลก มีประเทศ ออสเตรเลีย ติดมาอันดับ 9 ด้วย

อันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก 10 อันดับแรก
1. เดนมาร์ก
2. ฟินแลนด์
3. นอร์เวย์
4. เนเธอร์แลนด์
5. แคนาดา
6. สวิตเซอร์แลนด์
7. สวีเดน
8. นิวซีแลนด์
9. ออสเตรเลีย
10. ไอร์แลนด์


ที่ลงตัวหนาเพราะไปซ้ำกับประเทศที่มีค่าใช้จ่าย medical care แพงที่สุดในโลก
ส่วน 10 ประเทศที่มีต้นทุนสุขภาพสูงสุดในโลก กลับไม่มีที่ออสซี่เลย

ประเทศที่จ่ายต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพมากสุดในโลก คือ “สหรัฐ” ใช้เงินต่อหัวต่อปีประมาณ 7,960 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 17.4% ของจีดีพี อัตราการขยายตัวของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของมะกันต่อปีอยู่ที่ 2.2% ส่วนอายุคาดเฉลี่ยของอเมริกันชนอยู่ที่ 78.2 ปี

อันอับ 2 ตกเป็นของ “นอร์เวย์” ใช้จ่ายเงินดูแลสุขภาพ 5,352 ดอลลาร์ต่อหัวต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 9.6% ของจีดีพี มีอัตราการเพิ่มของรายจ่าย 8.4% ต่อปี คาดการณ์อายุเฉลี่ยที่ 81 ปี

อันดับ 3 “สวิตเซอร์แลนด์” ใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวต่อปีที่ 5,344 ดอลลาร์ คิดเป็น 11.6% ของจีดีพี มีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายส่วนนี้ 2.8% ต่อปี ขณะที่ประชากรมีอายุคาดเฉลี่ย 82.3 ปี

อันดับ 4 “เนเธอร์แลนด์” รายจ่ายด้านการดูแลสุขภาพของประเทศนี้อยู่ที่ 4,914 ดอลลาร์ต่อหัวต่อปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 12% ของจีดีพี มีอัตราค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่ม 16.4% ต่อปี และมีอายุเฉลี่ย 80.6 ปี

อันดับ 5 คือ “ลักเซมเบิร์ก” มีรายจ่ายด้านสุขภาพต่อหัวต่อปี 4,808 ดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนราว 7.8% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายด้านนี้ 8% ต่อปี อายุเฉลี่ยของผู้คนอยู่ที่ 80.7 ปี

ตามมาด้วยอันดับ 6 “แคนาดา” มีต้นทุนด้านสุขภาพต่อหัวต่อปีที่ 4,478 ดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 11.3% ต่อจีดีพี มีอัตราการเพิ่มของรายจ่ายส่วนนี้ 7.4% ต่อปี และผู้คนมีอายุเฉลี่ยที่ 80.7 ปี

อันดับ 7 ได้แก่ “เดนมาร์ก” มีค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ 4,348 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายราว 11.5% ของจีดีพี อัตราขยายตัวของรายจ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้น 6% ต่อปี อายุคาดเฉลี่ยของผู้คนอยู่ที่ 79 ปี

อันดับ 8 “ออสเตรีย” ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอยู่ที่ 4,298 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 11% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายด้านนี้ 2.2% ต่อปี อายุคาดเฉลี่ยของผู้คนอยู่ที่ 80.4 ปี

อันดับ 9 “เยอรมนี” มีต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพประมาณ 4,218 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็น 11.6% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายด้านนี้ 4% ต่อปี ผู้คนมีอายุเฉลี่ยประมาณ 80.3 ปี

อันดับ 10 “ฝรั่งเศส” มีต้นทุนเรื่องเฮลท์แคร์ประมาณ 3,978 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 11.8% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายส่วนนี้ 2.7% ต่อปี และมีอายุคาดเฉลี่ยของประชากร 81.5 ปี


แล้วด้าน health care ที่ออสซี่เป็นอย่างไรครับ
ได้อ่านข่าวนี้ คิดถึงพี่ humdrum
16.45 น.ชาวออสซี่ มีความสุขที่สุดในโลก

Posted on Wednesday, May 23, 2012
องค์การ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี ได้จัดอันดับให้ “ออสเตรเลีย” เป็นประเทศที่ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด แซงหน้านอร์เวย์และสหรัฐ จากการสำรวจความคิดเห็นคนใน 36 ประเทศ ซึ่งแบ่งเป็นประเทศสมาชิก OECD 34 ประเทศ และพันธมิตรอีก 2 ประเทศคือ บราซิล และรัสเซีย

การจัดอันดับครั้งนี้ประเมินจากปัจจัย 11 อย่างที่มีผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในประเทศ เช่น รายได้//การศึกษา//สิ่งแวดล้อม//งาน//ที่อยู่อาศัย//ความสมดุลระหว่างชีวิต ส่วนตัวและชีวิตการทำงาน

ผลสำรวจของ OECD ระบุว่า ชาวออสซี่มีอายุคาดเฉลี่ยเกือบ 82 ปี ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD // ออสเตรเลียยังเป็นประเทศร่ำรวยแห่งเดียวที่รอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ได้ และรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะมีงบประมาณเกินดุลในปีบัญชีเริ่มต้นวันที่ 1 กรกฎาคมนี้นอกจากนี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังกระตุ้นการจ้างงาน ส่งผลให้มีอัตราการว่างงานต่ำกว่า 5% และชาวออสซี่อายุระหว่าง 15-64 ปี จำนวนมากกว่า 72% ก็มีรายได้จากการทำงาน

Posted on Wednesday, May 23, 2012 (Archive on Thursday, June 07, 2012)
Posted by rekha Contributed by rekha
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 94

โพสต์

มาอยู่ออสเตรเลียหรือยังครับ :D
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
multipleceilings
Verified User
โพสต์: 2141
ผู้ติดตาม: 2

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 95

โพสต์

^^ พี่ dome แบบตอนนี้เงิน aussie ร่วงเอาๆ เสียจังหวะโอนเงินมาซื้อหุ้นไทยบ้างป่าวครับ พี่ต้องบริหาร forex ด้วยป่าวครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 96

โพสต์

multipleceilings เขียน:^^ พี่ dome แบบตอนนี้เงิน aussie ร่วงเอาๆ เสียจังหวะโอนเงินมาซื้อหุ้นไทยบ้างป่าวครับ พี่ต้องบริหาร forex ด้วยป่าวครับ
แน่นอนครับ ผมผิดจังหวะประจำ โดยเฉพาะปี 2009 หุ้นลงหนักหุ้นลง 40-50% แทบไม่ได้ช่วยผมเลย
ค่าเงินก็ลงหนัก $ AUD = 26-27 THB จากปิกติ 30-31 ลง 30% :shock:

แต่ตอนนี้ผมไม่ได้โอนเงินกลับเมืองไทยเป็นเรื่องเป็นราว มาสองปีแล้วครับ เลยไม่ได้สนใจค่าเงิน..ฮ่า
ผมก็ยังเห็นเงินออสซี่ 30-31บาท ต่อเหรียญอยู่นะ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 97

โพสต์

Still here and waiting for the right pitch krab.

เรื่อง OECD ผมขอชั่งนำหนักเป็นตัวเมืองน่าจะเหมาะสมกว่าที่ชั่งทั้งประเทศโดยรวม
ผมไม่เชื่อสักทีเดียว ถึงแม้ว่า ซิดนีย์ เพริธ บริสเบน เมลเบริน ล้วนแล้วแต่สร้างความประทับใจมากน้อยที่แตกต่างกันไป ประเทศอะไรก็ไม่รู็น่าอยู่เป้นบ้าเลย อากาศดีมาก ผมชอบอากาศที่สุด อาการก็อร่อย ผู้คนใจดีไม่พลุกพล่าน แถมยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งแบบธรรมชาตินิยม ศิวิไลนิยม หรือแม้แต่ โลกีนิยม อีกต่างหาก ดูเหมือนผมกำลังพูดถึงเมืองไทยเลยนะครับ

คนออสเตรเลียหลายคนที่ผมเจอทำให้ผมคิดถึง USA Midwesterners อย่าง Kansas และ Nebraska. One of the similarities between Aussie and USA Midwesterners ( like Warren Buffett and Charlie Mungers :B ) is their sense of humor krab. แต่เพราะความบ้านนอกที่ยากลำบากอย่างนั้น ทำให้ They have learned to deal with discomfort, stress, surprise, and even grief by making jokes.

พวกเขายอมรับความผันผวนได้ดีและยอมรับเรื่องนี้ได้ ผมว่าความสุขที่แท้จริงอยู๋ที่ตรงนี้ว่ายอมรับกับมันยากลำบากได้แค่ไหน
แต่ผมไม่เชื่อในข้อมูล OECD นี้ I don't buy the poll at a very high price krab. They price happiness. พวกเขาเอาข้อมูล macroeconomic levels เป็นตัวตั้งในการวัดความสุขของคน Understanding this limitation is godly important.
My explanation pay much more to the meaning of happiness which in and of itself is not indifference out of world people perception.
Underlinely hapiness value on macroeconomic levels means their most day- to- day happiness price fluctuations result from economical supply -and- demand variations rather than from happiness - inside fundamental developments. They greedily price happiness formular from outside perception upon money in the pocket.

ผม 50/50 ในข้อมูลนี้ว่ามี margin of safety ไม่มากพอที่จะ bet อย่างน้อยตัว OECD เอง มี biases อยู่มากทีเดียวครับ ในขณะที่อเมริกากับยูโรปกำลังประสบความยากลำบาก ในเวลาที่เหมาะสมกับการทำโพลนี้ขึ้นมา ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศเพียงสามประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก รองจาก USA และ England

การทำโพลขึ้นมาแล้วเผยแพร่ข่าวนี้ในอีกสองประเทศข้างบนนั้น คงสร้าง human inefficiencies ให้หลายคนมาเที่ยวหรืออาจมากกว่านั้นย้ายมาทำงานที่ออสซี่

ถึงแม้ผมชอบประเทศนี้ และกำลังจะย้ายไปทำงานที่นั่น
แต่ผมไม่ลืมที่จับผิด biase ตัวเองว่า รายได้หลักของออสซี่มาจากการท่องเที่ยว
ข่าววัดความสุขออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะสมและเดิมพันที่ได้ผลสูงทีเดียวครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 4

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 98

โพสต์

เคยไปออสเตรเลียที่ Cainz (ไม่รู้สะกดถูกมั้ย)
สงบดี คนน้อยชอบมากๆครับ

ถ้ามีโอกาสอยากลองไป Perth ดูเหมือนกัน ^^
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 99

โพสต์

humdrum เขียน:Still here and waiting for the right pitch krab.


My explanation pay much more to the meaning of happiness which in and of itself is not indifference out of world people perception.
Underlinely hapiness value on macroeconomic levels means their most day- to- day happiness price fluctuations result from economical supply -and- demand variations rather than from happiness - inside fundamental developments. They greedily price happiness formular from outside perception upon money in the pocket.
พี่ humdrum ท่อนนี้ลึกซึ้งครับ ผมว่าหลายๆคนอยากที่จะยั่งถัง เพราะมี language barrier ครับ
เรื่องแปล Eng-Thai ผมห่วยมากๆ อยากได้ภาษาพูดเป็นไทย ท่อนนี้จากพี่ ให้เพื่อนๆอ่านจังครับ
kabu เขียน:เคยไปออสเตรเลียที่ Cainz (ไม่รู้สะกดถูกมั้ย)
สงบดี คนน้อยชอบมากๆครับ

ถ้ามีโอกาสอยากลองไป Perth ดูเหมือนกัน ^^
อย่าลืมบอกผมด้วยนา..
อยากเจอเพื่อขอความรู้ครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 4

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 100

โพสต์

โห พี่โดมครับ ต้องเป็นผมต่างหากที่ไปขอความรู้จากพี่โดม
กะว่าให้ลูกโตซักหน่อยจะพาครอบครัวไปพักผ่อนครับ

พี่โดมอยู่ที่ Perth ตลอดเลยมั้ยครับ แบบว่าไม่กลับมาเมืองไทยแล้ว
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 101

โพสต์

โทษทีครับ ไม่เห็นครับ ผมแปลไทยไม่เก่งเลย ความหมายผิดเพี้ยนไปมาก
A picture is worth a thousand words.

รูปภาพ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 102

โพสต์

คอลัมน์: จันทร์สนุกศุกร์สนาน: เพิร์ธ ออสเตรเลีย
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, June 07, 2012
ดร.วิษณุ เครืองาม
[email protected]



ช่วงที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปออสเตรเลีย ผมนำคณะนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าไปดูงานที่ออสเตรเลียแต่ไปแค่เมืองเพิร์ธ รัฐออสเตรเลียตะวันตก จึงไม่ได้พบกัน ก็การเรียนการอบรมหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ ที่เปิดกันเกร่อในเวลานี้กับการไปทัศนศึกษาดูงานเป็นของคู่กันนี่ครับ

ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศเกิดใหม่ นักเดินเรือชาวอังกฤษเพิ่งค้นพบเมื่อราว 200 ปีเศษมานี้ เมื่อก่อนถิ่นนี้เป็นที่อยู่ของชาวพื้นเมืองพวกอบอริจินส์ ต่อมาอังกฤษใช้เป็นที่ระบายนักโทษไปอยู่ และให้ช่วยสร้างบ้านสร้างเมืองจนใหญ่โต ภายหลังจึงมีผู้นิยมไปตั้งถิ่นฐานบ้านช่อง กลายเป็นประเทศที่เจริญมากประเทศหนึ่งเพราะมีผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาลจนเรียกว่าทวีปก็ได้ ในขณะที่มีประชากรอยู่น้อยกว่าไทยถึง 3 เท่า แต่ก็อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ ถ่านหิน ความเป็นอยู่จึงไม่แออัดยัดเยียดเร่งรัดเกินไป และใครทำมาหากินเป็นสามารถอยู่ได้สบาย ๆ

ออสเตรเลียเป็นรัฐรวมคือประกอบด้วย 7 รัฐ แต่ละรัฐปกครองตนเอง เว้นแต่บางเรื่องจึงจะมาจากรัฐบาลกลางซึ่งตั้งเมืองหลวงอยู่ที่กรุงแคนเบอร์รา 7 รัฐที่ว่านั้นได้แก่ ออสเตรเลียตะวันตก ดินแดนตอนเหนือ ออสเตรเลียตอนใต้ ควีนส์แลนด์ นิวเซาท์เวลส์ วิกตอเรีย และเกาะแทสเมเนีย โดยมีกษัตริย์อังกฤษเป็นประมุขและตั้งชาวออสเตรเลียคนหนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

เพิร์ธเป็นเมืองหลวงของรัฐออสเตรเลียตะวันตก รัฐนี้ชายฝั่งติดมหาสมุทรอินเดีย และเป็นรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ ผมเคยไปเพิร์ธมาแล้วเมื่อราว 10 ปีก่อน ตอนนั้นค่าครองชีพยังถูก อะไรต่ออะไรก็ถูกจนมีคนไทยไปซื้ออพาร์ตเมนต์หรือบ้านกันมาก ถ้าตนไม่ไปก็ทิ้งไว้ให้คนเช่า แต่เวลานี้ราคาแพงขึ้นเกือบ 10 เท่า

แม้กระนั้นเพิร์ธก็ยังเป็นเมืองที่สงบเงียบ น่าอยู่อากาศเย็นสบายทั้งปี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าไม่มีเมฆหมอกอย่างที่เรียกว่าบลู สกาย สิ่งแวดล้อมดี รถราไม่ติด มีแม่น้ำสะอาดสะอ้าน ทิวทัศน์สวยงามมองไปทางไหนปลอดโปร่งโล่งตา ใจกลางเมืองหรือดาวน์ทาวน์ที่สำหรับชอปปิงมีอาณาบริเวณขนาดประมาณจากสี่แยกรัชโยธินถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินไม่เท่าไรก็ทั่ว พ้นจากนั้นเป็นย่านที่อยู่อาศัย ชีวิตไม่มีอะไรโลดโผนโจนทะยานมากนัก

อาหารการกินที่เพิร์ธอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะอาหารทะเลพวกปู ปลา กุ้ง หอย ร้านอาหารไทยมีหลายสิบร้าน คนไทยนิยมส่งลูกไปเรียนที่เพิร์ธเพราะไม่ไกลจากไทยนัก ใช้เวลาบินประมาณ 6 ชั่วโมง ถ้าจะไปซิดนีย์ต้องบินต่อไปทางตะวันออกอีก 2 ชั่วโมง สภาพความเป็นอยู่ก็ดี โรงเรียนและมหาวิทยาลัยดี ๆ มีหลายแห่ง ที่เที่ยวก็ไม่มาก ไม่ต้องกลัวเด็กจะเสียคน

แต่จะว่าเพิร์ธไม่มีที่เที่ยวก็ไม่ได้ สนามกอล์ฟสำหรับนักกอล์ฟที่นั่นสวยงามมาก และมีโรงแรมใหญ่อยู่ชานเมืองชื่อเบอร์สวูด มีกาสิโนใหญ่แห่งเดียวในเมืองนี้ เคยมีนักการเมืองไทยไปได้เสียกันทีละหลายร้อยล้านบาทจนคนลือกัน ออกนอกเมืองไปราวครึ่งชั่วโมงเป็นเมืองปากแม่น้ำสวอนที่ไหลลงมหาสมุทรอินเดียชื่อเมืองฟรีแมนเทิล เป็นย่านสวยงามเรือยอชท์จอดเต็มสองข้างทาง ผู้ลากมากดีมาปลูกบ้านตากอากาศมากมาย ลงใต้ไปราวชั่วโมงครึ่งมีสิ่งมหัศจรรย์ตามธรรมชาติคือพินนาเคิลส์ ซึ่งความร้อนใต้ดินดันเอาหินผุดขึ้นมากลางทะเลทรายเป็นเสาหินนับร้อยนับพันต้นเหมือนยอดเจดีย์โผล่จากดิน และมีทุ่งทะเลทรายกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา เหมาะแก่การนั่งรถผกโผนตามสันทรายและเล่นกระดานสไลด์ลงมาจากเนินทราย แต่เหลือเชื่อว่าอยู่ริมมหาสมุทรอินเดีย

สวัสดิการของเมืองเพิร์ธดีมาก เพราะรัฐเก็บภาษีแพง รถเมล์ที่นี่นั่งฟรี การวางผังเมืองเป็นระเบียบงามตา การจัดการสิ่งแวดล้อมก็ได้ผล ข้อสำคัญคือเพิร์ธกำลังจะรวยใหญ่เพราะมีการขุดพบแร่ธาตุพวกทองคำ เพชร และแร่ยูเรเนียม ไทยเราก็มีสำนักงานบริษัท ปตท.สผ. ไปตั้งอยู่ที่นั่นเพื่อขุดหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ที่ไปดูงานที่เพิร์ธก็เพื่อให้นักศึกษาได้ดูได้ฟังเรื่องเหล่านี้แหละครับ

การดูงานนั้นถ้าจะว่าไปเที่ยวก็คงพอได้ความเพลิดเพลินเจริญใจบ้างเป็นธรรมดา แต่จะให้ได้ประโยชน์เต็มที่ก็ต้องอาศัยความช่างสังเกต ช่างซัก ช่างถาม แล้วนำมาคิดใคร่ครวญว่าพอจะดัดแปลงอะไรมาใช้ประโยชน์กับเราได้บ้าง รัชกาลที่ 5 นั้นเมื่อขึ้นครองราชย์ ท่านยังทรงพระเยาว์นัก พระชนมพรรษาเพียง 15 เท่านั้น ระหว่างนั้นมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท่านจึงขอไป "ดูงาน" ที่สิงคโปร์ ชวา และอินเดีย ความปรีชาสามารถของพระองค์ท่านคือการที่ทรงเก็บอะไรต่ออะไรไว้ได้มาก จนเมื่อบรมราชาภิเษกซ้ำอีกหนและได้พระราชอำนาจคืนมาเต็มที่ก็ทรงสามารถนำสิ่งที่ทรง "ดูงาน" มาดัดแปลงใช้กับสยามประเทศได้อย่างเหมาะเจาะจนสยามทันสมัยและพัฒนายิ่งกว่าในยุคใด ๆ

นักศึกษาที่ไปดูงานแต่ละคณะล้วนกำลังมีอนาคตสดใส ไม่ช้าก็เป็นอธิบดี เป็นปลัดกระทรวง บางคนได้เป็นรัฐมนตรีด้วยซ้ำ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำได้สัก 1 ใน 10 ของพระพุทธเจ้าหลวง.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 103

โพสต์

dome@perth เขียน:
humdrum เขียน:ผมดูอันดับประเทศที่คนมีความสุขกันมากที่สุดของโลก มีประเทศ ออสเตรเลีย ติดมาอันดับ 9 ด้วย

อันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก 10 อันดับแรก
1. เดนมาร์ก
2. ฟินแลนด์
3. นอร์เวย์
4. เนเธอร์แลนด์
5. แคนาดา
6. สวิตเซอร์แลนด์
7. สวีเดน
8. นิวซีแลนด์
9. ออสเตรเลีย
10. ไอร์แลนด์


ที่ลงตัวหนาเพราะไปซ้ำกับประเทศที่มีค่าใช้จ่าย medical care แพงที่สุดในโลก
ส่วน 10 ประเทศที่มีต้นทุนสุขภาพสูงสุดในโลก กลับไม่มีที่ออสซี่เลย

ประเทศที่จ่ายต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพมากสุดในโลก คือ “สหรัฐ” ใช้เงินต่อหัวต่อปีประมาณ 7,960 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 17.4% ของจีดีพี อัตราการขยายตัวของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของมะกันต่อปีอยู่ที่ 2.2% ส่วนอายุคาดเฉลี่ยของอเมริกันชนอยู่ที่ 78.2 ปี

อันอับ 2 ตกเป็นของ “นอร์เวย์” ใช้จ่ายเงินดูแลสุขภาพ 5,352 ดอลลาร์ต่อหัวต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 9.6% ของจีดีพี มีอัตราการเพิ่มของรายจ่าย 8.4% ต่อปี คาดการณ์อายุเฉลี่ยที่ 81 ปี

อันดับ 3 “สวิตเซอร์แลนด์” ใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อหัวต่อปีที่ 5,344 ดอลลาร์ คิดเป็น 11.6% ของจีดีพี มีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายส่วนนี้ 2.8% ต่อปี ขณะที่ประชากรมีอายุคาดเฉลี่ย 82.3 ปี

อันดับ 4 “เนเธอร์แลนด์” รายจ่ายด้านการดูแลสุขภาพของประเทศนี้อยู่ที่ 4,914 ดอลลาร์ต่อหัวต่อปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 12% ของจีดีพี มีอัตราค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่ม 16.4% ต่อปี และมีอายุเฉลี่ย 80.6 ปี

อันดับ 5 คือ “ลักเซมเบิร์ก” มีรายจ่ายด้านสุขภาพต่อหัวต่อปี 4,808 ดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนราว 7.8% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายด้านนี้ 8% ต่อปี อายุเฉลี่ยของผู้คนอยู่ที่ 80.7 ปี

ตามมาด้วยอันดับ 6 “แคนาดา” มีต้นทุนด้านสุขภาพต่อหัวต่อปีที่ 4,478 ดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 11.3% ต่อจีดีพี มีอัตราการเพิ่มของรายจ่ายส่วนนี้ 7.4% ต่อปี และผู้คนมีอายุเฉลี่ยที่ 80.7 ปี

อันดับ 7 ได้แก่ “เดนมาร์ก” มีค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ 4,348 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายราว 11.5% ของจีดีพี อัตราขยายตัวของรายจ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้น 6% ต่อปี อายุคาดเฉลี่ยของผู้คนอยู่ที่ 79 ปี

อันดับ 8 “ออสเตรีย” ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอยู่ที่ 4,298 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 11% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายด้านนี้ 2.2% ต่อปี อายุคาดเฉลี่ยของผู้คนอยู่ที่ 80.4 ปี

อันดับ 9 “เยอรมนี” มีต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพประมาณ 4,218 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็น 11.6% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายด้านนี้ 4% ต่อปี ผู้คนมีอายุเฉลี่ยประมาณ 80.3 ปี

อันดับ 10 “ฝรั่งเศส” มีต้นทุนเรื่องเฮลท์แคร์ประมาณ 3,978 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 11.8% ของจีดีพี มีอัตราเพิ่มของรายจ่ายส่วนนี้ 2.7% ต่อปี และมีอายุคาดเฉลี่ยของประชากร 81.5 ปี


แล้วด้าน health care ที่ออสซี่เป็นอย่างไรครับ
ได้อ่านข่าวนี้ คิดถึงพี่ humdrum
16.45 น.ชาวออสซี่ มีความสุขที่สุดในโลก

Posted on Wednesday, May 23, 2012
องค์การ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี ได้จัดอันดับให้ “ออสเตรเลีย” เป็นประเทศที่ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด แซงหน้านอร์เวย์และสหรัฐ จากการสำรวจความคิดเห็นคนใน 36 ประเทศ ซึ่งแบ่งเป็นประเทศสมาชิก OECD 34 ประเทศ และพันธมิตรอีก 2 ประเทศคือ บราซิล และรัสเซีย

การจัดอันดับครั้งนี้ประเมินจากปัจจัย 11 อย่างที่มีผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในประเทศ เช่น รายได้//การศึกษา//สิ่งแวดล้อม//งาน//ที่อยู่อาศัย//ความสมดุลระหว่างชีวิต ส่วนตัวและชีวิตการทำงาน

ผลสำรวจของ OECD ระบุว่า ชาวออสซี่มีอายุคาดเฉลี่ยเกือบ 82 ปี ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD // ออสเตรเลียยังเป็นประเทศร่ำรวยแห่งเดียวที่รอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ได้ และรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะมีงบประมาณเกินดุลในปีบัญชีเริ่มต้นวันที่ 1 กรกฎาคมนี้นอกจากนี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังกระตุ้นการจ้างงาน ส่งผลให้มีอัตราการว่างงานต่ำกว่า 5% และชาวออสซี่อายุระหว่าง 15-64 ปี จำนวนมากกว่า 72% ก็มีรายได้จากการทำงาน

Posted on Wednesday, May 23, 2012 (Archive on Thursday, June 07, 2012)
Posted by rekha Contributed by rekha

ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่ง
อันดับความสุขมาก ต้นๆ รายชื่อไปตรงกับประเทศที่ติดอันดับคอรัปชั่นน้อย (อันดับความโปร่งใสมาก) ...



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94% ... 1%E0%B8%99

ตารางด้านล่าง ใช้ค่าดัชนีการปลอดคอร์รัปชัน เปรียบเทียบ โดยค่าดัชนียิ่งมาก การคอร์รัปชันยิ่งน้อย, ยิ่งค่าดัชนีน้อย การคอร์รัปชันยิ่งมาก นอกจากนี้ยังได้แถมข้อมูลดัชนีย้อนหลังของประเทศต่างๆ ไว้ด้วย

ลำดับที่ ประเทศ ค่าดัชนีในค.ศ. 2010 ค่าดัชนีในค.ศ. 2009 ค่าดัชนี ค.ศ. 2008 ค่าดัชนี ค.ศ. 2007 ค่าดัชนี ค.ศ. 2006 ค่าดัชนี ค.ศ. 2005 ค่าดัชนี ค.ศ. 2004 ค่าดัชนี ค.ศ. 2003 ค่าดัชนี ค.ศ. 2002
159 สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา 7.1 7.5 7.3 7.2 7.3 7.6 7.5 7.7 7.6
160 ชิลี ชิลี 7.2 6.7 6.9 7.0 7.3 7.3 7.4 7.5 7.5
161 สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 7.6 7.7 7.7 8.4 8.6 8.6 8.6 8.7 8.3
162 กาตาร์ กาตาร์ 7.7 7.0 6.5 6.0 6.0 5.9 5.6 - -
163 บาร์เบโดส บาร์เบโดส 7.8 7.4 7.0 6.9 6.7 6.9 - - -
164 ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 7.8 7.7 7.3 7.5 7.6 7.3 7.0 7.1 7.1
165 ออสเตรีย ออสเตรีย 7.9 7.9 8.1 8.1 8.6 8.7 8.0 7.8 7.8
166 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี 7.9 8.0 7.9 7.8 8.0 8.2 7.7 7.3 7.4
167 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 8.0 8.0 7.7 7.5 7.4 7.4 7.5 6.9 7.5
168 เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกง 8.4 8.2 8.1 8.3 8.3 8.3 8.0 8.2 7.9
169 ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 8.5 8.2 8.3 8.4 8.6 8.5 8.7 9.0 8.7
170 ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 8.5 8.7 8.9 9.2 9.6 9.7 9.6 9.4 9.2
171 นอร์เวย์ นอร์เวย์ 8.6 8.6 7.9 8.7 8.8 8.9 8.8 8.5 8.6
172 ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 8.7 8.7 8.7 8.6 8.7 8.8 8.8 8.6 8.5
173 สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 8.7 9.0 9.0 9.0 9.1 9.1 8.8 8.5 8.4
174 เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 8.8 8.9 8.9 9.0 8.7 8.6 8.9 9.0 8.8
175 แคนาดา แคนาดา 8.9 8.7 8.7 8.7 8.5 8.4 8.7 9.0 8.9
176 สวีเดน สวีเดน 9.2 9.2 9.3 9.3 9.2 9.2 9.3 9.3 9.0
177 ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 9.2 8.9 9.0 9.4 9.6 9.6 9.7 9.7 9.9
178 สิงคโปร์ สิงคโปร์ 9.3 9.2 9.2 9.3 9.2 9.3 9.4 9.4 9.4
179 เดนมาร์ก เดนมาร์ก 9.3 9.3 9.3 9.4 9.5 9.5 9.5 9.5 9.5
180 นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 9.3 9.4 9.3 9.4 9.6 9.6 9.5 9.5 9.4

รูปภาพ
อันดับการคอร์รัปชันในแต่ละประเทศ(ข้อมูลปี2553) สีน้ำเงินแสดงถึงเขตปลอดการคอร์รัปชัน สีส้มแสดงถึงปานกลาง ขณะที่สีแดงและสีดำหมายถึงมีการคอร์รัปชันสูง โดยสีเทาหมายถึงประเทศที่ไม่มีข้อมูล
(แต่อเมริกาสีน้ำเงินปลอดคอรัปชั่น ผมไม่เชื่อเป็นอันขาด มีน้อยไม่ได้หมายความว่าไม่มี ... แต่เขาคงเอามาเฉลี่ยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อธุรกรรมทั้งหมด)
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 104

โพสต์

pak เขียน:คอลัมน์: จันทร์สนุกศุกร์สนาน: เพิร์ธ ออสเตรเลีย
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, June 07, 2012
ดร.วิษณุ เครืองาม
[email protected]



ช่วงที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปออสเตรเลีย ผมนำคณะนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าไปดูงานที่ออสเตรเลียแต่ไปแค่เมืองเพิร์ธ รัฐออสเตรเลียตะวันตก จึงไม่ได้พบกัน ก็การเรียนการอบรมหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ ที่เปิดกันเกร่อในเวลานี้กับการไปทัศนศึกษาดูงานเป็นของคู่กันนี่ครับ

ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศเกิดใหม่ นักเดินเรือชาวอังกฤษเพิ่งค้นพบเมื่อราว 200 ปีเศษมานี้ เมื่อก่อนถิ่นนี้เป็นที่อยู่ของชาวพื้นเมืองพวกอบอริจินส์ ต่อมาอังกฤษใช้เป็นที่ระบายนักโทษไปอยู่ และให้ช่วยสร้างบ้านสร้างเมืองจนใหญ่โต ภายหลังจึงมีผู้นิยมไปตั้งถิ่นฐานบ้านช่อง กลายเป็นประเทศที่เจริญมากประเทศหนึ่งเพราะมีผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาลจนเรียกว่าทวีปก็ได้ ในขณะที่มีประชากรอยู่น้อยกว่าไทยถึง 3 เท่า แต่ก็อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ ถ่านหิน ความเป็นอยู่จึงไม่แออัดยัดเยียดเร่งรัดเกินไป และใครทำมาหากินเป็นสามารถอยู่ได้สบาย ๆ

ออสเตรเลียเป็นรัฐรวมคือประกอบด้วย 7 รัฐ แต่ละรัฐปกครองตนเอง เว้นแต่บางเรื่องจึงจะมาจากรัฐบาลกลางซึ่งตั้งเมืองหลวงอยู่ที่กรุงแคนเบอร์รา 7 รัฐที่ว่านั้นได้แก่ ออสเตรเลียตะวันตก ดินแดนตอนเหนือ ออสเตรเลียตอนใต้ ควีนส์แลนด์ นิวเซาท์เวลส์ วิกตอเรีย และเกาะแทสเมเนีย โดยมีกษัตริย์อังกฤษเป็นประมุขและตั้งชาวออสเตรเลียคนหนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

เพิร์ธเป็นเมืองหลวงของรัฐออสเตรเลียตะวันตก รัฐนี้ชายฝั่งติดมหาสมุทรอินเดีย และเป็นรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ ผมเคยไปเพิร์ธมาแล้วเมื่อราว 10 ปีก่อน ตอนนั้นค่าครองชีพยังถูก อะไรต่ออะไรก็ถูกจนมีคนไทยไปซื้ออพาร์ตเมนต์หรือบ้านกันมาก ถ้าตนไม่ไปก็ทิ้งไว้ให้คนเช่า แต่เวลานี้ราคาแพงขึ้นเกือบ 10 เท่า

แม้กระนั้นเพิร์ธก็ยังเป็นเมืองที่สงบเงียบ น่าอยู่อากาศเย็นสบายทั้งปี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าไม่มีเมฆหมอกอย่างที่เรียกว่าบลู สกาย สิ่งแวดล้อมดี รถราไม่ติด มีแม่น้ำสะอาดสะอ้าน ทิวทัศน์สวยงามมองไปทางไหนปลอดโปร่งโล่งตา ใจกลางเมืองหรือดาวน์ทาวน์ที่สำหรับชอปปิงมีอาณาบริเวณขนาดประมาณจากสี่แยกรัชโยธินถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินไม่เท่าไรก็ทั่ว พ้นจากนั้นเป็นย่านที่อยู่อาศัย ชีวิตไม่มีอะไรโลดโผนโจนทะยานมากนัก

อาหารการกินที่เพิร์ธอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะอาหารทะเลพวกปู ปลา กุ้ง หอย ร้านอาหารไทยมีหลายสิบร้าน คนไทยนิยมส่งลูกไปเรียนที่เพิร์ธเพราะไม่ไกลจากไทยนัก ใช้เวลาบินประมาณ 6 ชั่วโมง ถ้าจะไปซิดนีย์ต้องบินต่อไปทางตะวันออกอีก 2 ชั่วโมง สภาพความเป็นอยู่ก็ดี โรงเรียนและมหาวิทยาลัยดี ๆ มีหลายแห่ง ที่เที่ยวก็ไม่มาก ไม่ต้องกลัวเด็กจะเสียคน

แต่จะว่าเพิร์ธไม่มีที่เที่ยวก็ไม่ได้ สนามกอล์ฟสำหรับนักกอล์ฟที่นั่นสวยงามมาก และมีโรงแรมใหญ่อยู่ชานเมืองชื่อเบอร์สวูด มีกาสิโนใหญ่แห่งเดียวในเมืองนี้ เคยมีนักการเมืองไทยไปได้เสียกันทีละหลายร้อยล้านบาทจนคนลือกัน ออกนอกเมืองไปราวครึ่งชั่วโมงเป็นเมืองปากแม่น้ำสวอนที่ไหลลงมหาสมุทรอินเดียชื่อเมืองฟรีแมนเทิล เป็นย่านสวยงามเรือยอชท์จอดเต็มสองข้างทาง ผู้ลากมากดีมาปลูกบ้านตากอากาศมากมาย ลงใต้ไปราวชั่วโมงครึ่งมีสิ่งมหัศจรรย์ตามธรรมชาติคือพินนาเคิลส์ ซึ่งความร้อนใต้ดินดันเอาหินผุดขึ้นมากลางทะเลทรายเป็นเสาหินนับร้อยนับพันต้นเหมือนยอดเจดีย์โผล่จากดิน และมีทุ่งทะเลทรายกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา เหมาะแก่การนั่งรถผกโผนตามสันทรายและเล่นกระดานสไลด์ลงมาจากเนินทราย แต่เหลือเชื่อว่าอยู่ริมมหาสมุทรอินเดีย

สวัสดิการของเมืองเพิร์ธดีมาก เพราะรัฐเก็บภาษีแพง รถเมล์ที่นี่นั่งฟรี การวางผังเมืองเป็นระเบียบงามตา การจัดการสิ่งแวดล้อมก็ได้ผล ข้อสำคัญคือเพิร์ธกำลังจะรวยใหญ่เพราะมีการขุดพบแร่ธาตุพวกทองคำ เพชร และแร่ยูเรเนียม ไทยเราก็มีสำนักงานบริษัท ปตท.สผ. ไปตั้งอยู่ที่นั่นเพื่อขุดหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ที่ไปดูงานที่เพิร์ธก็เพื่อให้นักศึกษาได้ดูได้ฟังเรื่องเหล่านี้แหละครับ

การดูงานนั้นถ้าจะว่าไปเที่ยวก็คงพอได้ความเพลิดเพลินเจริญใจบ้างเป็นธรรมดา แต่จะให้ได้ประโยชน์เต็มที่ก็ต้องอาศัยความช่างสังเกต ช่างซัก ช่างถาม แล้วนำมาคิดใคร่ครวญว่าพอจะดัดแปลงอะไรมาใช้ประโยชน์กับเราได้บ้าง รัชกาลที่ 5 นั้นเมื่อขึ้นครองราชย์ ท่านยังทรงพระเยาว์นัก พระชนมพรรษาเพียง 15 เท่านั้น ระหว่างนั้นมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท่านจึงขอไป "ดูงาน" ที่สิงคโปร์ ชวา และอินเดีย ความปรีชาสามารถของพระองค์ท่านคือการที่ทรงเก็บอะไรต่ออะไรไว้ได้มาก จนเมื่อบรมราชาภิเษกซ้ำอีกหนและได้พระราชอำนาจคืนมาเต็มที่ก็ทรงสามารถนำสิ่งที่ทรง "ดูงาน" มาดัดแปลงใช้กับสยามประเทศได้อย่างเหมาะเจาะจนสยามทันสมัยและพัฒนายิ่งกว่าในยุคใด ๆ

นักศึกษาที่ไปดูงานแต่ละคณะล้วนกำลังมีอนาคตสดใส ไม่ช้าก็เป็นอธิบดี เป็นปลัดกระทรวง บางคนได้เป็นรัฐมนตรีด้วยซ้ำ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำได้สัก 1 ใน 10 ของพระพุทธเจ้าหลวง.

--จบ--
จับผิดท่าน ดร หน่อยนะครับ อย่างแรกพินนาเคิลไม่ได้อยู่ทางใต้ของเพิร์ธและคงไม่ใช่แค่ครึ่งชั่วโมง
เพราะอยู่ไปทางเหนือของเพิร์ญประมาณ200กิโลเมตร
และการเกิดขึ้นของหินพินนาที่ทาง ดร กล่าวไป มันยังไงยังไงอยู่นะครับ ได้รับข้อมูลจากไกด์ มาผิดหรือเปล่าครับ
ลงเสิร์จวีกิพิเดีย ดูนะครับ ไม่อยากให้คนอ่านได้อะไรที่ผิดๆไป
อากาศไม่ได้เย็นตลอดปีหรอกนะครับช่วงซัมเมอร์ ธค_มก มากๆ38-40c ครับ

สว่นข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับเพิร์ธโอเคครับ

ขอเม้มเรื่องดูงานหน่อยนะครับเพราะผมได้โอกาสต้อนรับหลายๆคณะ เท่าที่ผ่านมา ผมยังไม่เห็น1ใน100เลยนะครับอย่าว่าแต่1 ใน10 เปลืองงบประมาณแผ่นดินเปล่าๆ :evil:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
mameepoko
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 105

โพสต์

อยู่เดนมาร์คครับ ความลำบากในการลงทุนแทบไม่มี
ไม่ได้รู้สึกแตกต่างกับอยู่ไทย ข่าวสารผ่าน internet หมด
แต่ตื่นมาตลาดก็จะปิดภาคเช้าซะแล้ว

ทำงาน IT ในออฟฟิศที่แทบจะอยู่กับป่าอากาศบริสุทธิ์ ไม่ต้องดมฝุ่นแอร์แถมฟังเสียงนกร้องกล่อมตลอด summer
รพ.รัฐบาลที่นี่มีเครื่องมือและบุคลากรไม่ต่างจากเอกชนแพงๆบ้านเราทั้งๆที่เป็นรัฐสวัสดิการ
free หมดแต่ยาต้องซื้อเองตามใบสั่งแพทย์

ปล. คนที่นี่ทำงานหวังผลลัพธ์ ไม่ได้หวังหน้าหวังเงินมาก เขาจึงมีความสุขครับ
ค่านิยมการดำเนินชีวิตเรียบง่ายแตกต่างจากประเทศวัตถุนิยมอย่างสิ้นเชิง
"ปีนผาฝ่าน้ำตกที่สูงชันยากฉันใด ลงทุนสวนเทรนด์แล้วกำไร..ก็ยากฉันนั้น"
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 106

โพสต์

mameepoko เขียน:อยู่เดนมาร์คครับ ความลำบากในการลงทุนแทบไม่มี
ไม่ได้รู้สึกแตกต่างกับอยู่ไทย ข่าวสารผ่าน internet หมด
แต่ตื่นมาตลาดก็จะปิดภาคเช้าซะแล้ว

ทำงาน IT ในออฟฟิศที่แทบจะอยู่กับป่าอากาศบริสุทธิ์ ไม่ต้องดมฝุ่นแอร์แถมฟังเสียงนกร้องกล่อมตลอด summer
รพ.รัฐบาลที่นี่มีเครื่องมือและบุคลากรไม่ต่างจากเอกชนแพงๆบ้านเราทั้งๆที่เป็นรัฐสวัสดิการ
free หมดแต่ยาต้องซื้อเองตามใบสั่งแพทย์

ปล. คนที่นี่ทำงานหวังผลลัพธ์ ไม่ได้หวังหน้าหวังเงินมาก เขาจึงมีความสุขครับ
ค่านิยมการดำเนินชีวิตเรียบง่ายแตกต่างจากประเทศวัตถุนิยมอย่างสิ้นเชิง
Denmark เป็นอีกประเทศหนึงที่หน้าอยู่มากๆ พี่สาวและน้องสาวผมก็ปักหลักปักฐานอยู่ที่นั่น
เรื่องการติดตามข่าวสารน่าจะง่ายและรวดเร็ว ผมเห็นพี่สาวน้องสาวผมใช้เน็ตเร็วปี็ดกว่าผมอีก

คุณ mameepoko อยู่เมืองไหนครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 107

โพสต์

ได้อ่านข่าวนี้แล้วคิดถึงกระทู้ วีไอต่างแดน
ในออสเตรเลีย ผมมีความรู้สึกว่า จะคล้ายๆในอเมริกา ชนชาติเอเชีย มักมีรายได้ การศึกษา ที่สูง
ผมเห็นหมอ เภสัช วิศวะกร หนุ่มๆสาวๆ มีแต่คนเอเชียทั้งนั้นเลย นานๆจะเจอฝรั่ง
อีกข้อสังเกตุหนึง นศ ระดับมหาวิทยาลัยแล้วคนเอเชียผมว่ามากกว่าครึ่งครับ
เป็นไปได้ไหม...คนเอเชียจะครองโลกใน 20-30 ปีข้างหน้า....ฮ่า
.............................................................................................................

รายงานวิจัยของพิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้ ชาวเอเชียได้กลายเป็นผู้อพยพใหม่กลุ่มใหญ่ที่สุดที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา แซงหน้ากลุ่มผู้อพยพชาวละตินอเมริกา นอกจากนี้ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียยังกลายเป็นกลุ่มชนชาติที่มีรายได้สูงที่สุด ได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด และมีจำนวนเพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุดในสหรัฐด้วย
รายงานวิจัยระบุว่า ประมาณ 36% ของกลุ่มผู้อพยพใหม่ที่เดินทางมายังสหรัฐเมื่อปี 2553 เป็นชาวเอเชีย ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 19% จากปี 2543 ขณะที่ 31% ของกลุ่มผู้อพยพใหม่ในปี 2553 เป็นชาวละตินอเมริกา ซึ่งร่วงลงอย่างมากจาก 59% เมื่อปี 2543
จำนวนผู้อพยพชาวเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ส่งผลให้จำนวนประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียทั้งหมด พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 18.2 ล้านคนในปี 2554 คิดเป็นราว 5.8% ของจำนวนประชากรสหรัฐทั้งหมด ตรงกันข้ามกับสัดส่วนไม่ถึง 1% ในปี 2508
ผู้อพยพเข้า 6 กลุ่มย่อยคิดเป็น 83% ของประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียทั้งหมด ซึ่งรวมถึงชาวจีนประมาณ 4 ล้านคน ชาวฟิลิปปินส์ 3.4 ล้านคน ชาวอินเดีย 3.2 ล้านคน ชาวเวียดนามและเกาหลีเชื้อชาติละประมาณ 1.7 ล้านคน และชาวญี่ปุ่น 1.3 ล้านคน
รายงานวิจัยยังพบว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียได้กลายเป็นกลุ่มชนชาติที่มีรายได้สูงที่สุดและได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดในสหรัฐ เมื่อเทียบกับประชากรวัยผู้ใหญ่ของสหรัฐทั้งหมด ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับเมื่อ 1 ศตวรรษที่แล้วที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียส่วนใหญ่ในขณะนั้นเป็นเพียงแรงงานกรรมกรที่มีรายได้ต่ำ ทักษะน้อย อยู่รวมกันเป็นชนกลุ่มน้อย และเป็นเป้าของการเลือกปฏิบัติของทางการ
ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมีคุณลักษณะเด่นร่วมกันบางประการก็คือ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมีรายได้เฉลี่ยต่อปีครัวเรือนละ 66,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าระดับของประชาชนทั่วไปในสหรัฐที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 49,800 ดอลลาร์ ระดับการศึกษาของผู้อพยพใหม่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียก็โดดเด่นไม่แพ้กัน โดย 61% ของชาวเอเชียที่อพยพมาสหรัฐในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย
รายงานการวิจัยยังระบุด้วยว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียราว 82% พึงพอใจกับชีวิตการเป็นอยู่โดยรวม ขณะที่ 75% ของประชาชนทั่วไปในสหรัฐมีความคิดเช่นนั้น นอกจากนี้ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 51% ยังพึงพอใจต่อฐานะทางการเงินส่วนบุคคล เมื่อเทียบกับประชาชนทั่วไปในสหรัฐที่ 31% ที่พอใจในฐานะการเงินส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคมเปิดเผยว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายของทั้งพรรคเดโมแคตรต และพรรครีพลับลิกัน แม้คาดว่ากลุ่มชนชาติที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วนี้จะสามารถลงคะแนนเสียงให้ได้เป็นจำนวนมากในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ก็ตาม สำนักข่าวซินหัวรายงาน
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 108

โพสต์

ผมว่า ประเทศนึงที่น่าจะมีความสุขจริงๆ มากที่สุดในโลก แต่ไม่มีใครสนใจ คือ

เนปาล

บางทีความสุขมันก็วัดกันด้วยตัวเลขไม่ได้
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 109

โพสต์

ไม่ใช่ เนปาล แฮะๆ งงตัวเองจริงๆ

ภูฏาน ต่างหาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 7

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 110

โพสต์

dome@perth เขียน:ได้อ่านข่าวนี้แล้วคิดถึงกระทู้ วีไอต่างแดน
ในออสเตรเลีย ผมมีความรู้สึกว่า จะคล้ายๆในอเมริกา ชนชาติเอเชีย มักมีรายได้ การศึกษา ที่สูง
ผมเห็นหมอ เภสัช วิศวะกร หนุ่มๆสาวๆ มีแต่คนเอเชียทั้งนั้นเลย นานๆจะเจอฝรั่ง
อีกข้อสังเกตุหนึง นศ ระดับมหาวิทยาลัยแล้วคนเอเชียผมว่ามากกว่าครึ่งครับ
เป็นไปได้ไหม...คนเอเชียจะครองโลกใน 20-30 ปีข้างหน้า....ฮ่า
.............................................................................................................

รายงานวิจัยของพิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้ ชาวเอเชียได้กลายเป็นผู้อพยพใหม่กลุ่มใหญ่ที่สุดที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา แซงหน้ากลุ่มผู้อพยพชาวละตินอเมริกา นอกจากนี้ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียยังกลายเป็นกลุ่มชนชาติที่มีรายได้สูงที่สุด ได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด และมีจำนวนเพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุดในสหรัฐด้วย
รายงานวิจัยระบุว่า ประมาณ 36% ของกลุ่มผู้อพยพใหม่ที่เดินทางมายังสหรัฐเมื่อปี 2553 เป็นชาวเอเชีย ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 19% จากปี 2543 ขณะที่ 31% ของกลุ่มผู้อพยพใหม่ในปี 2553 เป็นชาวละตินอเมริกา ซึ่งร่วงลงอย่างมากจาก 59% เมื่อปี 2543
จำนวนผู้อพยพชาวเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ส่งผลให้จำนวนประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียทั้งหมด พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 18.2 ล้านคนในปี 2554 คิดเป็นราว 5.8% ของจำนวนประชากรสหรัฐทั้งหมด ตรงกันข้ามกับสัดส่วนไม่ถึง 1% ในปี 2508
ผู้อพยพเข้า 6 กลุ่มย่อยคิดเป็น 83% ของประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียทั้งหมด ซึ่งรวมถึงชาวจีนประมาณ 4 ล้านคน ชาวฟิลิปปินส์ 3.4 ล้านคน ชาวอินเดีย 3.2 ล้านคน ชาวเวียดนามและเกาหลีเชื้อชาติละประมาณ 1.7 ล้านคน และชาวญี่ปุ่น 1.3 ล้านคน
รายงานวิจัยยังพบว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียได้กลายเป็นกลุ่มชนชาติที่มีรายได้สูงที่สุดและได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดในสหรัฐ เมื่อเทียบกับประชากรวัยผู้ใหญ่ของสหรัฐทั้งหมด ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับเมื่อ 1 ศตวรรษที่แล้วที่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียส่วนใหญ่ในขณะนั้นเป็นเพียงแรงงานกรรมกรที่มีรายได้ต่ำ ทักษะน้อย อยู่รวมกันเป็นชนกลุ่มน้อย และเป็นเป้าของการเลือกปฏิบัติของทางการ
ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมีคุณลักษณะเด่นร่วมกันบางประการก็คือ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมีรายได้เฉลี่ยต่อปีครัวเรือนละ 66,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าระดับของประชาชนทั่วไปในสหรัฐที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 49,800 ดอลลาร์ ระดับการศึกษาของผู้อพยพใหม่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียก็โดดเด่นไม่แพ้กัน โดย 61% ของชาวเอเชียที่อพยพมาสหรัฐในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย
รายงานการวิจัยยังระบุด้วยว่า ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียราว 82% พึงพอใจกับชีวิตการเป็นอยู่โดยรวม ขณะที่ 75% ของประชาชนทั่วไปในสหรัฐมีความคิดเช่นนั้น นอกจากนี้ ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 51% ยังพึงพอใจต่อฐานะทางการเงินส่วนบุคคล เมื่อเทียบกับประชาชนทั่วไปในสหรัฐที่ 31% ที่พอใจในฐานะการเงินส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคมเปิดเผยว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายของทั้งพรรคเดโมแคตรต และพรรครีพลับลิกัน แม้คาดว่ากลุ่มชนชาติที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วนี้จะสามารถลงคะแนนเสียงให้ได้เป็นจำนวนมากในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ก็ตาม สำนักข่าวซินหัวรายงาน

บังเอิญอ่านข่าวนี้พอดีด้วยครับ อันนี้เขียนโดย reuters เนื้อข่าวเหมือนกัน แต่มีกราฟบรรยายเห็นชัดขึ้น
แนบไฟล์
Migrant.jpg

sorageol46
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 111

โพสต์

สวัสดีครับพี่ โดม พี่ Engineer offshore และพี่ๆท่าน อื่นที่อยู่ต่างแดนครับ

ผมเพิ่งมาเห็นกระทู้นี้ทั้งๆ ที่พี่ โดมแก ยินดีต้อนรับผม สู่เพิร์ทไปตั้งแต่ ปีที่แล้ว (ผมขอโทษครับพี่ เพิ่งมาเห็นวันนี้เองครับ) ขอบคุณอาหารเย็นวันนั้นมากครับพี่
ตอนนี้มาทำงานประจำอยู่ที่เพิร์ทละครับ ยังไม่ครบปีครับ

การติดตามข่าวสารผมก็อาศัยจากอินเตอร์เน็ต และสอบถามจากพี่ๆ เพื่อนๆที่อยู่ในไทยครับ
แต่มีข้อเสียอย่างคือ ไม่ค่อยได้ไป company visit สัมมนา หรือกิจกรรม อะไรที่ทางเวบ เลยครับ
ก็เสียดายเหมือนกัน ก็อาศัย อ่านจากหนังสือที่ซื้อมาจากเมืองไทย และ จากในเวป ไทยวีไอ นี่แหล่ะครับ

ขอบคุณครับ
" ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา....
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
chanakit
Verified User
โพสต์: 14
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 112

โพสต์

รบกวนถามหน่อยครับ อยู่ต่างประเทศเวลาจะซื้อขายหุ้นสามารถคีย์ผ่านเนทเหมือนเราอยู่เมืองไทยเลยรึป่าวครับ พอดีต้องไปอยู่เมืองนอก3-4ปี ขอบคุณมากครับ
freedom man
sorageol46
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 113

โพสต์

ใช่ครับคุณ Chanakit ซื้อขายผ่านอินเตอร์เนตนี่แหล่ะครับ
ถ้าเรามีบัญชีซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตที่ไทย เราก็ซื้อขายที่ไหนก็ได้ครับ
ถ้าคุณ Chanakit มี ไอโฟน หรือ ไอแพด แน่ะนำให้โหลด แอฟ Streaming
ใน ITUNE ได้เลยครับ โหลดฟรีด้วยครับ

ไม่ทราบคุณ Chanakit จะย้ายไปทำงานที่ประเทศไหนครับ

ขอบคุณครับ
" ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา....
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
chanakit
Verified User
โพสต์: 14
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 114

โพสต์

ขอบคุณคุณsorageol46 มากเลยครับ ว่าจะไปอยู่อังกฤษครับ
ปัญหาน่าจะอยู่ที่เวลาที่ต่างกันของแต่ละประเทศรึป่าวครับ พอดีผมเล่นเก็งกำไรเป็นรอบๆด้วย
ทุกวันนี้หาหุ้นเน้นลงทุนยากจริงๆ
freedom man
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 115

โพสต์

ขุดกระทู้เก่ามาถามข่าว ชาววีไอด่างแดน แถวยุโรปเป็นยังไงบ้างครับ
มีหุ้นประเทศไหนถูกๆน่าซื้อไหมครับ

ท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ พูดถึง SARA ของสเปน ในงานสังสรรค์ วีไอ
เลยนึกขึ้นได้ เลยอยากถามข่าวคนที่อยู่ยุโรปครับ

เข้ามาแชร์หน่อยนะคร๊าบบบ :D
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
เกล้า
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1190
ผู้ติดตาม: 1

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 116

โพสต์

dome@perth เขียน:ขุดกระทู้เก่ามาถามข่าว ชาววีไอด่างแดน แถวยุโรปเป็นยังไงบ้างครับ
มีหุ้นประเทศไหนถูกๆน่าซื้อไหมครับ

ท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ พูดถึง SARA ของสเปน ในงานสังสรรค์ วีไอ
เลยนึกขึ้นได้ เลยอยากถามข่าวคนที่อยู่ยุโรปครับ

เข้ามาแชร์หน่อยนะคร๊าบบบ :D
พี่โดมครับคือผมก็งงจริงๆนะกับแบรนด์ ซาร่า..ผมไปเดินตลาดผ้าไม่ว่าจะเป็นแพลททินั่ม
หรือสวนจตุจักร..พ่อค้าแม่ค้าขายส่งที่ก๊อปแบรนด์นี้เขาก็ขายดีเป็นว่าเล่นเท่าที่สังเกตุดู
และในทางเป็นจริงส่วนเจ้าของต้นตำหรับแบรนด์นั้นก็ต้องสูญเสียยอดขายมั่ง..แต่นี่ดันโต
เอาทั้งเจ้าของและฝ่ายที่ก็อป..ผมว่าแบรนด์นี้ไม่ธรรมดาครับ..
ควรทุ่มเทเจริญให้มาก..ในงานที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง..
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 25

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 117

โพสต์

dome@perth เขียน:ขุดกระทู้เก่ามาถามข่าว ชาววีไอด่างแดน แถวยุโรปเป็นยังไงบ้างครับ
มีหุ้นประเทศไหนถูกๆน่าซื้อไหมครับ

ท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ พูดถึง SARA ของสเปน ในงานสังสรรค์ วีไอ
เลยนึกขึ้นได้ เลยอยากถามข่าวคนที่อยู่ยุโรปครับ

เข้ามาแชร์หน่อยนะคร๊าบบบ :D
ถ้าตีจาก PE ก็หาถูกๆได้ทั่วยุโรปเลยครับถ้ากล้าพอ ค้าปลีก PE12 CA:FP, ไปรษณีย์ PE12 DPW:GR, ยานยนต์ PE7 DAI:GR, กลุ่มพลังงานในเยอรมันหุ้นถูกลงเพราะยกเลิกนิวเคลียร์พื้นฐานเปลี่ยน

ZARA วันนี้ PE23-25 http://www.bloomberg.com/quote/ITX:SM ถูกหรือแพงก็ไม่รู้แต่เสื้อผ้าคุ้มราคาดี :mrgreen:
Vi IMrovised
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 118

โพสต์

dome@perth เขียน:ขุดกระทู้เก่ามาถามข่าว ชาววีไอด่างแดน แถวยุโรปเป็นยังไงบ้างครับ
มีหุ้นประเทศไหนถูกๆน่าซื้อไหมครับ

ท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ พูดถึง SARA ของสเปน ในงานสังสรรค์ วีไอ
เลยนึกขึ้นได้ เลยอยากถามข่าวคนที่อยู่ยุโรปครับ

เข้ามาแชร์หน่อยนะคร๊าบบบ :D
กรีซไงครับพี่โดม แนวโน้มเหมือนไทยเมื่อก่อนเลย :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
อย่างกิจการแบงค์หรืออสังหา เห็นเพื่อนชาวยุโรปเล่าให้ฟัง(สมัยได้มีโอกาสไปทำงานแถบนั้น) ว่านักธุรกิจเค้าไปลงทุนในประเทศรอบบ้านเค้า (เช่น บัลแกเรีย, เซอร์เบีย, ยูโก, โรมาเนีย) และกิจการก็ไปได้ยังดำเนินไปได้ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางของกิจการในประเทศเค้า ...

จริงๆที่เข้า ติดใจเรื่อง SARA เลยอยากถามครับ ว่าทำไมอาจารย์นิเวศน์ถึงพูดถึงเกี่ยวกับ SARA ครับ
มีบริษัทไหนในไทยที่ผลิต หรือ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้เขารึปล่าวครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 119

โพสต์

firewalker เขียน:
dome@perth เขียน:ขุดกระทู้เก่ามาถามข่าว ชาววีไอด่างแดน แถวยุโรปเป็นยังไงบ้างครับ
มีหุ้นประเทศไหนถูกๆน่าซื้อไหมครับ

ท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ พูดถึง SARA ของสเปน ในงานสังสรรค์ วีไอ
เลยนึกขึ้นได้ เลยอยากถามข่าวคนที่อยู่ยุโรปครับ

เข้ามาแชร์หน่อยนะคร๊าบบบ :D
กรีซไงครับพี่โดม แนวโน้มเหมือนไทยเมื่อก่อนเลย :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
อย่างกิจการแบงค์หรืออสังหา เห็นเพื่อนชาวยุโรปเล่าให้ฟัง(สมัยได้มีโอกาสไปทำงานแถบนั้น) ว่านักธุรกิจเค้าไปลงทุนในประเทศรอบบ้านเค้า (เช่น บัลแกเรีย, เซอร์เบีย, ยูโก, โรมาเนีย) และกิจการก็ไปได้ยังดำเนินไปได้ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางของกิจการในประเทศเค้า ...

จริงๆที่เข้า ติดใจเรื่อง SARA เลยอยากถามครับ ว่าทำไมอาจารย์นิเวศน์ถึงพูดถึงเกี่ยวกับ SARA ครับ
มีบริษัทไหนในไทยที่ผลิต หรือ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้เขารึปล่าวครับ
อาจจะเป็นเพราะเจ้าของเขารวยขึ้นแซงหน้าคุณบัฟฟ์ ของพวกเราไปแล้วปีนี้
ทั้งๆที่เสปนเจอปัญหาเศรฐกิจอย่างหนัก ประชาชนตกงานมากมาย
แต่ราคาหุ้นของ sara ไม่ได้ลดลงอะไร
เลยเป็นที่สนใจของชาวโลกนักลงทุนมั้งครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน VI ต่างแดน

โพสต์ที่ 120

โพสต์

dome@perth เขียน:
firewalker เขียน:
dome@perth เขียน:ขุดกระทู้เก่ามาถามข่าว ชาววีไอด่างแดน แถวยุโรปเป็นยังไงบ้างครับ
มีหุ้นประเทศไหนถูกๆน่าซื้อไหมครับ

ท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ พูดถึง SARA ของสเปน ในงานสังสรรค์ วีไอ
เลยนึกขึ้นได้ เลยอยากถามข่าวคนที่อยู่ยุโรปครับ

เข้ามาแชร์หน่อยนะคร๊าบบบ :D
กรีซไงครับพี่โดม แนวโน้มเหมือนไทยเมื่อก่อนเลย :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
อย่างกิจการแบงค์หรืออสังหา เห็นเพื่อนชาวยุโรปเล่าให้ฟัง(สมัยได้มีโอกาสไปทำงานแถบนั้น) ว่านักธุรกิจเค้าไปลงทุนในประเทศรอบบ้านเค้า (เช่น บัลแกเรีย, เซอร์เบีย, ยูโก, โรมาเนีย) และกิจการก็ไปได้ยังดำเนินไปได้ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางของกิจการในประเทศเค้า ...

จริงๆที่เข้า ติดใจเรื่อง SARA เลยอยากถามครับ ว่าทำไมอาจารย์นิเวศน์ถึงพูดถึงเกี่ยวกับ SARA ครับ
มีบริษัทไหนในไทยที่ผลิต หรือ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้เขารึปล่าวครับ
อาจจะเป็นเพราะเจ้าของเขารวยขึ้นแซงหน้าคุณบัฟฟ์ ของพวกเราไปแล้วปีนี้
ทั้งๆที่เสปนเจอปัญหาเศรฐกิจอย่างหนัก ประชาชนตกงานมากมาย
แต่ราคาหุ้นของ sara ไม่ได้ลดลงอะไร
เลยเป็นที่สนใจของชาวโลกนักลงทุนมั้งครับ
อ๋อ โอเค เข้าใจละ ขอบคุณครับ :D