รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 361

โพสต์

'ปตท.สผ.'เปิดศึกสู้'เชลล์'ยืดเวลาซื้อโคฟถึง25ก.ค.
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, July 17, 2012


ปตท.สผ.ขยายระยะเวลาตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นโคฟไปจนถึง 25 ก.ค.นี้ เท่ากับเชลล์ ขณะที่ผู้ถือหุ้นโคฟระบุเชลล์มีแนวโน้มขยับราคาเพิ่มจากเดิม 1.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่า ปตท.สผ.เสนอ 1.9 พันล้านดอลลาร์

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า ตามที่บริษัทได้นำส่งเอกสารระบุรายละเอียด เกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อหุ้น (Offer Document) บริษัท โคฟ เอ็นเนอยี่ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2555 โดยบริษัท PTTEP Africa Investment Limited หรือ PTTEP AI (บริษัทย่อยของ ปตท.สผ.) ซึ่งคำเสนอซื้อได้ระบุข้อกำหนด เงื่อนไขของการทำคำเสนอซื้อหุ้นและขั้นตอนการตอบรับ คำเสนอซื้อหุ้นไว้แล้วนั้น ขณะนี้บริษัทได้ขยายระยะเวลาการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นไปจนถึงวันที่ 25 ก.ค.2555 เวลา 13.00 น. (ตามเวลาของประเทศอังกฤษ)

ทั้งนี้เนื่องจาก PTTEP AI และบริษัท รอยัล ดัตช์ เชลล์ ยังคงสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มราคาเสนอซื้อหุ้นโคฟได้ ในวันที่ 13 ก.ค. 2555 คณะกรรมการการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการในสหราชอาณาจักร (Panel) จึงได้ออกประกาศกฎเกณฑ์สำหรับใช้บังคับกับการเสนอซื้อหุ้น โคฟ ดังต่อไปนี้

เวลาสุดท้ายที่ PTTEP AI หรือ เชลล์ สามารถประกาศปรับราคาเสนอซื้อได้ตามขั้นตอนปกติของการครอบงำกิจการในสหราชอาณาจักร คือเวลา 17.00 น.(ตามเวลาประเทศอังกฤษ) ของวันที่ 16 ก.ค. 2555 หลังจากนั้นแล้วทั้งสองบริษัทจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การประมูลที่ Panel ได้กำหนดขึ้นมา

โดยบริษัท ปตท.สผ.เอไอ หรือ บริษัทเชลล์ หรือทั้งสองฝ่ายสามารถประกาศราคาเสนอซื้อใหม่ได้ ณ 17.00 น. (ตามเวลาประเทศอังกฤษ) ในวันที่ 17 ก.ค. 2555 ซึ่งเป็นวันแรกของการประมูลถ้าไม่มีฝ่ายใดประกาศราคาเสนอซื้อใหม่ในวันและเวลา ดังกล่าว จะถือว่าการประมูลยุติลง โดยมีผลทำให้คำเสนอซื้อล่าสุดของทั้งสอง บริษัทรวมทั้งเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ยังคงมีผลต่อไป

อย่างไรก็ดี ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประกาศปรับราคาเสนอซื้อ ณ เวลา 17.00 น. (ตามเวลาประเทศอังกฤษ) ของวันที่ 17 ก.ค. 2555 อีกฝ่ายสามารถประกาศราคาเสนอซื้อ ใหม่ได้ ณ เวลา 17.00 น.(ตามเวลาประเทศอังกฤษ) ของวันที่ 18 ก.ค. 2555

ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวจะดำเนินการต่อไปทุกวันจนกว่าไม่มีฝ่ายใดประกาศปรับราคาเสนอซื้อ และจะถือว่าการประมูลได้ยุติลง ณ เวลา 17.00 น. (ตามเวลาประเทศอังกฤษ) ของวันนั้น โดย Panel สงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาหรือวันสุดท้ายที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะสามารถประกาศปรับราคาเสนอซื้อได้ซึ่งผลของการยุติการประมูลคือ ราคาเสนอซื้อสุดท้ายของแต่ละฝ่ายที่ได้ประกาศไว้จะมีผลต่อไปตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ของแต่ละฝ่าย บริษัทจะแจ้งการประกาศการทำคำเสนอหุ้นโคฟของ ปตท.สผ.เอไอ (หากมี) ตามขั้นตอนการประมูลข้างต้น ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายในเวลา 9.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ของวันรุ่งขึ้นหลังจากที่มีการประกาศที่ประเทศอังกฤษ

ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า บริษัทเชลล์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มวงเงินในข้อเสนอของทางบริษัท เนื่องจากข้อเสนอ ปัจจุบันของเชลล์อยู่ที่เพียง 1.8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 220 เพนซ์ต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าข้อเสนอของ บริษัท ปตท.สผ. ที่มีวงเงิน 1.9 พันล้านดอลลาร์ หรือ 240 เพนซ์ต่อหุ้น โดย ปตท.สผ. ยื่นข้อเสนอซื้อดังกล่าวในเดือน พ.ค. นักลงทุนคาดการณ์ว่าเชลล์จะเพิ่มวงเงินในข้อเสนอก่อนเส้นตายในเวลา 23.00 น.ตามเวลาไทยในวันนี้ (17 ก.ค.) และเชื่อว่าเชลล์มีทุนทรัพย์มากพอที่จะชนะการแข่งขันเพื่อเทคโอเวอร์กิจการโคฟที่ดำเนินมานาน 5 เดือน

นางแอนน์-โซฟี แดนด์เลา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นราย หนึ่งในบริษัทโคฟกล่าวว่า"ทั้งเชลล์และปตท.สผ. สผ.ต่างก็ต้องการโคฟเป็นอย่างมาก แต่เชลล์มีทุน ทรัพย์มากกว่าปตท.สผ.ขณะที่ปตท.สผ.ต้องกู้ เงินจำนวนมากและมีทางเลือกน้อยกว่าเชลล์ เราคิดว่ามีโอกาสสูงที่เชลล์จะยื่นข้อเสนอซื้อที่มีวงเงินสูงกว่า"

ราคาหุ้นโคฟปรับตัวอยู่สูงกว่าระดับ 240 เพนซ์ที่ ปตท.สผ. เสนอซื้อราว 10-15% ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าเชลล์จะยื่นข้อเสนอ ที่มูลค่าสูงกว่า ปตท.สผ. โดยราคาหุ้นโคฟอยู่ที่ระดับ 275.5 เพนซ์ในช่วงการซื้อขายวันศุกร์ ซึ่งเท่ากับว่า โคฟมีมูลค่า 1.3 พันล้านปอนด์ (2 พันล้านดอลลาร์) และหลังจากนั้นราคาหุ้นดังกล่าวปิดตลาดวันศุกร์ปรับตัวขึ้น 0.55% สู่ 276.25 เพนซ์



ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 362

โพสต์

DEMCO กำไร Q2 โตกระหึ่ม นับถอยหลังฟันงาน 'กฟผ.' [ ทันหุ้น, 17 ก.ค. 55 ]

ผู้บริหาร DEMCO "พงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์" มั่นใจชนะงานประมูล กฟผ. 25% จากมูลค่ากว่า 3 พันล้าน
บาท พร้อมการันตีรายได้รวมทั้งปีเข้าเป้าโต 5.3 พันล้านบาท ฟากโบรกชี้กำไร Q2/2555 ทำจุดสูงสุด
ใหม่ทะลุ 100 ล้านบาท พุ่งกว่า 2,087% จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังรับรู้โครงการพลังงานลมห้วยบง-
เสาโทรคมนาคมหนุน เชียร์ "ซื้อ" เป้า ใหม่ 6.80 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 363

โพสต์

ปตท.คุยแผนลงทุนรับเออีซีลุยต่อพม่า-เวียดนาม-ฟิลิปปินส์-อินโดฯอัดงบกว่า1.8แสนล.
Source - สยามรัฐ (Th), Wednesday, July 18, 2012


กลุ่ม ปตท.หาแผนลงทุนรับเออีซีเพิ่ม เล็งพม่า เวียดนามทำธุรกิจปิโตรเคมีโรงกลั่นฯ ครบวงจร ฟิลิปปินส์รอลุงทุนแอลพีจี เร่งเพิ่มปั๊มน้ำมัน ใช้งบลงทุนแผน 5 ปีกว่า 1.8 แสนล้าน

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ. ปตท. เปิดเผยว่า กลุ่มปตท.ศึกษาการลงทุนในอาเซียนเพิ่มเติมจากที่ขณะนี้เข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่า และอินโดนีเซีย เช่น ปั๊มน้ำมันที่มีเป้าหมายเพิ่มปั๊มในอาเซียนยกเว้นไทย 220 แห่งภายใน 5 ปีจากปัจจุบันมี 95 แห่งการลงทุนด้านปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในเวียดนาม มาเลเซีย และพม่า ในขณะที่อินโดนีเซียทางไทยออยล์จะเข้าไปช่วยปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน 2-3 แห่ง ปตท.ดูเรื่องขยายการทำเหมืองถ่านหินตั้งเป้ากำลังผลิตเพิ่มจากปี 2555 ที่ 10 ล้านตันเป็น 30 ล้านตันในปี 2563 รวมทั้งธุรกิจปาล์มน้ำมัน

ทั้งนี้กลุ่ม ปตท.มองว่าหลังเออีซีมีผลในปี 2558 แล้ว จะเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค เพราะจะมีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีช่องทางการขยายลงทุนมากขึ้นนอกจากนี้ได้ทำไปแล้วอย่างพม่ากลุ่มปตท.เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดเพราะเข้าไปลงทุนผลิตสำรวจปิโตรเลียม โดยปตท.สผ. และในขณะนี้เตรียมเสนอต่อรัฐบาลพม่าลงทุนครบวงจร คาดลงทุน 2-3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯลงทุนตั้งแต่

โรงกลั่นน้ำมัน 150,000 บาร์เรลต่อวันต่อยอดไปยังธุรกิจปิโตรเคมีที่เหมาะสมลงทุนเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้า ปั๊มน้ำมันรวมทั้งก๊าซแอลพีจี ซึ่งเตรียมจัดตั้งบริษัท พีทีทีเมียนร์มาร์ ในส่วนของปั๊มน้ำมันหากได้รับอนุมัติให้ตั้งวางแผนจะสร้าง 60 แห่งภายใน 5 ปี และล่าสุดปตท.ก็พร้อมให้ทุนแก่พม่าในการเข้ามาศึกษาต่อด้านธุรกิจปิโตรเลียม-ปิโตรเคมีในไทยในส่วนของเวียดนาม ทางกลุ่มปตท.ได้เสนอตั้งปิโตรเคมีคอล คอมเพล็กซ์ภาคกลาง จะมีทั้งโรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรฯสายอะโรเมติกส์ ซึ่งมองว่าเวียดนามมีความพร้อม และยังมีความต้องการโรงกลั่นอีกหลายโรง จากปัจจุบันที่มีเพียงโรงเดียว กำลังกลั่น 130,000 บาร์เรลต่อวัน

ขณะนี้ได้รับผลตอบรับเชิงบวกจากรับบาลเวียดนาม หากมีความชัดเจนและมีการทำข้อตกลงเบื้องต้นหรือเอ็มโอยูเหมือนกับประเทศมาเลเซียที่เชิญกลุ่มปตท.ไปลงทุนปิโตรเคมีขั้นกลางแล้ว ทางปตท.ก็จะมีการศึกษารายละเอียดการลงทุนทั้งหมดต่อเวียดนาม สำหรับฟิลิปปินส์ที่ปัจจุบันมีคลังน้ำมัน และปั๊มน้ำมัน 50 แห่งตั้งเป้าจะขยายเพิ่มเป็น 100 แห่งรวมทั้งศึกษาเรื่องลงทุนธุรกิจแอลพีจีด้วย เพราะปัจจุบัน ปตท. นำเข้าแอลพีจีมาใช้ในไทยเดือนละกว่า 100,000 ตันนับเป็นปริมาณและเป็นศักยภาพที่จะลงทุนแอลพีจีในอาเซียนด้วย อนึ่งแผนการลงทุนในอาเซียนอยู่ในแผนลงทุน 5 ปี (2555-2559) ที่มีวงเงินรวมการลงทุนทุกด้าน 3.58 แสนล้านบาท

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 364

โพสต์

ปตท.สผ.ลุ้นผลฮุบ'โคฟ'25ก.ค.
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, July 18, 2012


นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงิน การบัญชี บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ค.บริษัทรอยัล ดัทช์ เชลล์ประกาศยกเลิกการเสนอซื้อหุ้นของบริษัท Cove Energy Plc. ทำให้เหลือแต่ ปตท.สผ.รายเดียวที่เสนอ เข้าซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ในราคาที่ 240 เพนซ์ต่อหุ้น ซึ่งยังต้องรอดูว่าในช่วงขยายระยะเวลาตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นไปจนถึงวันที่ 25 ก.ค.นี้ จะมี ผู้สนใจรายอื่นเสนอราคาซื้อเข้ามาแข่งขันกับบริษัทหรือไม่

หากไม่มีผู้เสนอราคาเข้ามาแข่งขัน เพิ่มเติม หลังสิ้นสุดตามเงื่อนไขช่วงเวลา ดังกล่าว และ ปตท.สผ.เป็นผู้ชนะการประมูลดังกล่าว ก็จะเป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่จะดำเนินการด้านเอกสารรายละเอียด ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น (tender document) และดำเนินกระบวนการต่าง ๆ อีกหลายขั้นตอนตามเงื่อนไขและทางกฎหมาย ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนหลังทราบผลจึงจะสามารถไปสู่ขั้นตอนการชำระเงินค่าหุ้น

"มีความเป็นไปได้สูงที่เรามีโอกาสจะได้ Cove แต่จะต้องดูช่วงก่อนถึงวันที่ 25 ก.ค.นี้จะมีใครให้ราคาที่สูงกว่าที่เราให้หรือไม่ และยังอยู่ที่นักลงทุนที่จะขายหุ้นออกมาด้วย ที่ตามเงื่อนไขที่เราต้องการได้ 90% ว่าจะครบหรือไม่ตามขั้นตอน กว่าจะได้ ข้อสรุปและจ่ายเงินค่าหุ้นคงใช้เวลาประมาณ 1 เดือน" นางสาวเพ็ญจันทร์กล่าว

สำหรับมูลค่าการลงทุนในกรณีที่ ปตท.สผ.ต้องซื้อหุ้น Cove เต็มจำนวน 100% จะคิดเป็นมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขณะนี้ ปตท.สผ.มีแหล่งเงินทุนระยะสั้นเพียงพอในการชำระค่าหุ้น ทั้งจากเงินสดจากการดำเนินงานที่มีประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และที่เหลือจะเป็นวงเงินจากสถาบันการเงินในยุโรปและญี่ปุ่น ส่วนเงินลงทุนในระยะยาวเพื่อใช้พัฒนาโครงการนั้น ในเบื้องต้นได้ประเมินมูลค่าไว้แล้วและจะพิจารณาหาแหล่งเงินลงทุนที่มาหลากหลาย โดยมีนโยบายรักษาสถานะการเงินให้ แข็งแกร่ง ซึ่งรักษาอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ให้ไม่เกิน 0.5 เท่าตามนโยบายที่วางไว้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 365

โพสต์

คอลัมน์: บันทึก 2555:จดหมายสำคัญจาก พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, July 18, 2012
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์



จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้รายงานประวัติการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยนับตั้งแต่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2514 มาจนถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นั้น ตลอดระยะเวลาเกือบ 36 ปีได้มีการออกสัมปทานไปแล้วทั้งสิ้น 110 สัญญา รวมจำนวนแปลงสัมปทานทั้งสิ้น 157 แปลง ซึ่งในจำนวนนี้ยังคงเหลือดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 63 สัญญา 79 แปลงสัมปทาน

ที่น่าสนใจก็คือการสัมปทานปิโตรเลียมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ค่าตอบแทนจากเอกชนที่ได้รับค่าภาคหลวงเพียงประมาณร้อยละ 12.5 ของปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียม ซึ่งถือว่าผลตอบแทนที่ให้กับรัฐนั้นต่ำมาก

เปรียบเทียบกับประเทศโบลิเวีย ซึ่งผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันน้อยกว่าประเทศไทย แต่ก็ได้รับผลตอบแทนให้กับรัฐสูงถึงร้อยละ 82

เปรียบเทียบกับประเทศคาซัคสถาน ได้รับผลตอบแทนจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมจากเอกชนได้สูงถึงร้อยละ 80

รัสเซียได้รับผลตอบแทนจากเอกชนในการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมสูงถึงร้อยละ 90 ของรายได้ในส่วนที่ราคานั้นสูงกว่า 25 เหรียญต่อบาร์เรล

ประเทศไทยจึงได้รับค่าภาคหลวงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่ประชาชนคนไทยกับต้องใช้ราคาพลังงานที่สูงยิ่งในราคาที่อ้างว่าเป็นไปตามกลไกลตลาดโลก เพื่อสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มธุรกิจพลังงานที่จำกัดความร่ำรวยเอาไว้เพียงไม่กี่คน

ประเทศไทยจึงเสียประโยชน์ถึง 2 ด้าน ด้านหนึ่งประชาชนคนไทยยังคงต้องใช้พลังงานแพงเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเหมือนเดิม

ในขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐไทยกลับได้ผลตอบแทนต่ำติดดิน ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับใครทั้งสิ้นเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเช่นกัน

ปัจจุบันส่วนแบ่งปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วในการสัมปทานของประเทศไทยที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเชฟรอนได้มากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 สูงถึงร้อยละ 50.5 ของปริมาณสัดส่วนปิโตรเลียม รองลงมาเป็นอันดับที่ 2 ก็คือกลุ่มบริษัท ปตท. มีสัดส่วนร้อยละ 29.2 แต่ผลประโยชน์ใน ปตท. ร้อยละ 49 ก็ตกอยู่กับผู้ถือหุ้นคนไทยเพียงไม่กี่คนอยู่ดี

นิตยสารและเว็บไซต์ฟอร์จูน 500 ได้จัดอันดับเชฟรอนให้เป็นบริษัทที่มีรายได้สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก โดยมีรายได้ต่อปีสูงถึง 245,621 ล้านเหรียญสหรัฐ (7.37 ล้านล้านบาท) และมี "กำไร" สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกสูงถึง 26,895 ล้านเหรียญสหรัฐ (806,850 ล้านบาท)

ในขณะที่ ปตท. ก็ได้ถูกเลื่อนจากอันดับที่ 128 ของโลก มาเป็นอันดับ 95 ของโลกด้วยรายได้ 7,969 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.39 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐ (103,680 ล้านบาท)

มีแต่คนไทยและประเทศไทยที่กลับไม่ได้ผลประโยชน์จากการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

แต่ล่าสุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ก็กำลังจะดำเนินการต่อไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 นี้ โดยเป็นการเปิดสัมปทานทั้งหมด 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลงและอ่าวไทย 5 แปลง ด้วยผลตอบแทนให้กับรัฐต่ำติดดินเหมือนเดิม

จะว่าไปแล้วนี่คือการสัมปทานครั้งใหญ่เท่าที่มีเหลืออยู่ในประเทศไทย ส่วนที่เหลือหลังจากการสัมปทานครั้งที่ 21 แล้ว ก็จะเหลือเพียงแค่พื้นที่อ้างสิทธิ์การทับซ้อนเขตไหล่ทวีประหว่างไทย-กัมพูชา ที่ทางสหรัฐอเมริกากำลังหาทางลดความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อเข้าไปแบ่งเค้กทางพลังงานในอ่าวไทยด้วยค่าภาคหลวงต่ำๆ ให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

ที่น่าสนใจก็คือนักการเมืองในพรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลต่างพร้อมใจกันเงียบกริบ ไม่สนใจและทำเป็นไม่รู้เรื่องดังกล่าว

ทั้งๆ ที่เรื่องการให้สัมปทานพลังงานของชาติเป็นผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยทุกคน ไม่แบ่งพรรค ไม่แยกสี แต่สังเกตดูเอาเถิดว่ามีนักการเมืองคนใด หรือแกนนำมวลชนกลุ่มใดบ้างที่สนใจเรื่องผลประโยชน์ของชาติครั้งนี้

จะมีก็แต่ภาคประชาชน สมาชิกวุฒิสภาบางส่วน และนักวิชาการ ตลอดจนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะได้เคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมี พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ในฐานะเป็นประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย) จึงได้ทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อขอให้ระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้

"ด้วยคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสาธารณประโยชน์ ดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหาด้านยุทธศาสตร์ให้แก่สังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการธุรกิจพลังงานที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน จึงได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และจากแหล่งต่างๆ ในประเทศและต่างปะเทศโดยมีผลการศึกษาที่ใคร่ขอนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณา ดังนี้

1. ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ประเทศไทยรวมถึงอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งน้ำมันและก๊าซที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับสูงของโลกอาณาเขตหนึ่ง และแหล่งข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ประมาณ

ประเทศไทยมีปริมาณปิโตรเลียมจำนวนมากเป็นอันดับค่อนข้างสูงของโลก และสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่มากกว่าประเทศในกลุ่ม OPEC บางประเทศ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยเป็นมูลค่าปีละกว่า 3.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากการให้สัมปทานการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในผืนแผ่นดินไทยใน 20 รอบที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาติ ที่เป็นสมบัติของไทยทุกคนในระดับที่ควรจะเป็น

2. การเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมครั้งใหม่รอบที่ 21 (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ประกอบไปด้วยสัมปทานบนบก 17 แปลง (ภาคกลางและภาคเหนือ 6 แปลง ตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง) และอ่าวไทย 5 แปลง รวมพื้นที่กว่า 45,000 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นการหยิบยื่นให้โอกาสแก่ผู้ยื่นขอสัมปทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับน่าจะทำให้รัฐขาดรายได้อย่างน้อยปีละ 1 แสนล้านบาท จากการให้สัมปทานในครั้งนี้ ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยจะขาดรายได้ตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2.55 ล้านล้านบาท เป็นอย่างต่ำ ทั้งนี้ยังไม่รวมส่วนต่ออายุอีก 10 ปีอีกด้วย

3. การกำหนดกฎระเบียบ วิธีการ ในรูปแบบของการสัมปทานและการกำหนดค่าภาคหลวงตลอดจนผลประโยชน์อื่นๆ ที่ประเทศควรจะได้รับในอดีตถูกกำหนดภายใต้บทสรุปที่ว่า "ประเทศไร้พลังงานธรรมชาติ" หรือ "มีแต่ไม่คุ้มค่าในการสำรวจ" เป็นผลให้รัฐบาลที่ผ่านมากำหนดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมเข้ารัฐ ในอัตราค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ อื่นๆ ระหว่างร้อยละ 5-15 ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถเก็บค่าภาคหลวงเข้ารัฐ ได้เพียงประมาณร้อยละ 12 เท่านั้น

4. หากประเทศไทยเปลี่ยนการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศผู้ให้สัมปทานที่เก็บค่าภาคหลวงระดับสูง เช่น ประเทศเวเนซุเอลา หรือประเทศโบลิเวีย น่าจะมีรายได้จากการเก็บค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเพิ่มขึ้นและเพียงพอในการดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการได้อย่างราบรื่นโดยไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ

5. การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของไทยที่ผ่านมา ได้มีส่วนค้ำจุนระบบเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งมาโดยตลอดมา และหน่วยงานเอกชนไทยสามารถสร้างหน่วยธุรกิจด้านการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมขึ้นมาได้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพและสมรรถนะในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในประเทศได้เอง สมควรได้นำความสามารถดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม จึงใคร่ขอกราบเรียนเสนอแนะให้รัฐบาลกรุณาพิจารณา โดยเร่งด่วนดังนี้

1. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและรับรู้ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการปิโตรเลียมของชาติ เพื่อความโปร่งใสและเพื่อประโยชน์ของลูกหลานไทยในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

2. ควรระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 นี้ไว้ก่อน เพื่อทบทวนมาตรการต่างๆ ให้ประเทศไทยและประชนชาวไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แก่ 2.1 ทบทวนกฎระเบียบและประกาศที่กำหนดการเก็บค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15 และปรับปรุงวิธีการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ทั้งระบบ โดยพิจารณาเปรียบเทียบ (Benchmark) กับประเทศที่เก็บค่าภาคหลวง (เช่น ประเทศเวเนซุเอลา และประเทศโบลิเวีย เป็นต้น) เป็นพื้นฐานในการอ้างอิง

2.2 ทบทวนระบบการแบ่งกำไรจากผู้รับสัมปทานเพื่อให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม

2.3 พิจารณาให้หน่วยงานของคนไทยมีสิทธิและหน้าที่หลักในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในอาณาเขตประเทศไทยเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของชาติในระยะยาว

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดกรุณาพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

พลเอกจรัล กุลละวณิชย์

ประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม

"พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ในฐานะเป็นประธานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย) จึงได้ทำหนังสือ ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อขอให้ระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 "



ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 366

โพสต์

สัมภาษณ์พิเศษ: บริษัทเอเชียผงาดปตท.เล็งเป้าใหม่ FORTUNE 50
บทสัมภาษณ์ ปธบ. โดย นสพ.ฐานเศรษฐกิจ -
ปตท.เล็งเป้าใหม่ Fortune 50 ภายหลังเข้ามาอยู่อันดับที่ 95 ใน Fortune Global 500 พร้อมสร้างปตท. เป็นองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศ
แนบไฟล์
11(76).jpg

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 367

โพสต์

ก.ล.ต. คาดกองทุนโครงสร้างพื้นฐานกองแรกคลอดใน Q3 ระดมทุนโรงไฟฟ้า-โซลาร์ [ ทันหุ้น, 18 กรกฏาคม 2555 ]


นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คาดกองทุนโครงสร้างพื้นฐานกองแรกของไทยน่าจะสามารถเสนอขายหน่วยลงทุนได้ภายในไตรมาส 3/55 โดยมีธุรกิจโรงไฟฟ้า และโซลาร์ฟาร์มเตรียมยื่นขอจัดตั้งกองทุนในเร็วๆนี้

ดังนั้น ในวันนี้ ก.ล.ต.จึงเตรียมเรียกหน่วยงานที่อาจเกี่ยวข้องเข้ามารับฟังข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อหวังเป็นช่องทางระดมทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศแทนการใช้งบประมาณภาครัฐเพียงอย่างเดียว เพื่อให้การพัฒนาทันรองรับกับการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)

"มีพวกโรงไฟฟ้า พลังงานทางเลือกแสงอาทิตย์ที่สนใจที่จะยื่นไฟลิ่งเข้ามา วันนี้เราจะนั่งคุยกันเพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบทาง"นายวรพล กล่าว

วันนี้ ก.ล.ต.ได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินต่างๆ เป็นต้น เพื่อสร้างความเข้าใจการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

นายวรพล กล่าวว่า กองทุนโครงสร้างพื้นฐานสามารถลงทุนได้ในสินทรัพย์ 8 ประแภท ได้แก่ ระบบถนน, ระบบราง, โรงไฟฟ้า, ระบบน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม, สนามบิน, ท่าเรือน้ำลึก, โทรคมนาคม และพลังงานทางเลือก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลาง(Hub)ในภูมิภาคที่จะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะพม่า ที่กำลังจะมีโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหรกรรมทวาย รวมถึงเชื่อมต่อกับจีนและอินเดีย

นอกจากนี้ ก.ล.ต.ยังส่งเสริมการระดมทุนผ่านบริษัทโฮลดิ้งคัมปานีที่ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ไปแล้ว เพื่อรองรับกับการที่เอกชนไทยต้องการระดมทุนเพื่อออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยสามารถจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคัมปานีเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนชของภาคเอกชนเพื่อรองรับการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)

รวมทั้งยังสนับสนุนการระดมเงินผ่าน Real Estate Investment Trust (REIT) หรือ ทรัสต์ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีการออกหลักเกณฑ์ในเร็วๆ นี้ และเชื่อว่าจะมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น นอกจากที่อยู่อาศัยแล้วก็จะมีโรงแรมและอพาร์ทเม้นท์ด้วย

และส่งเสริมให้บริษัทขนาดกลางและเล็ก โดยเฉพาะบริษัทในต่างจังหวัดให้เตรียมพร้อมเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทได้ขยายงานรองรับ AEC ด้วย

นายวรพล ยังกล่าวว่า ในส.ค.นี้ ระบบซื้อขายเชื่อมโยงอาเซียน หรือ ASEAN Linkage จะเริ่มเทรดในระบบเดียวกัน เบื้องต้นเริ่มใน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี ไทยยังต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเกี่ยวกับตลาดทุน ได้แก่ การเก็บภาษีเงินปันผล กำไรจาก Capital gain สำหรับนิติบุคคล ซึ่งได้เสนอต่อกระทรวงการคลังไปเมื่อปลายปีที่แล้ว หากไทยยังมีการเก็บภาษีอยู่อาจจะทำให้ไทยเสียเปรียบการแข่งขันได้เพราะประเทศอื่นไม่มีการเก็บภาษี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 368

โพสต์

คอลัมน์: เล่นกับไฟ: ปตท.กับความมั่นคงทางพลังงาน
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, July 19, 2012
แมงเม่า



ผู้สนใจข่าวสารเศรษฐกิจ,พลังงานคงฮือฮายกใหญ่เมื่อบริษัทของไทยปตท.สผ.ใกล้ความสำเร็จในการเทคโอเวอร์บริษัทโคฟเอนเนอร์ยี หลังคู่แข่งพี่ยักษ์เชลล์ถอดใจไม่สู้ราคา พูดได้ว่าขณะนี้ 95% แล้วภายในสิ้นเดือนนี้ก็จะเป็นทางการ

ทรัพย์สินหลักที่ได้จากโคฟฯคือเค้กก้อนใหญ่ 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 แหล่งก๊าซธรรมชาติระดับอภิมหาของประเทศโมซัมบิกในแอฟริกากลาง มูลค่าการลงทุนของปตท.สผ.ครั้งนี้ 1,900 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 59,000 ล้านบาท

ราวปีเศษๆก่อนนี้บริษัทได้ลงทุนที่เป็นเงินก้อนใหญ่กว่านั่นคือ 2,280 ล้านดอลลาร์ก็ซัก 70,000 ล้านบาท เข้าไปถือหุ้น 40% ในบริษัทสแตทออยล์แคนาดา บริษัทลูกของสแตท ออยล์,นอร์เวย์เจ้าของโครงการ Oil Sands KKD โดยแหล่งปิโตรเลียมใหม่ออยล์ แซนด์สเพิ่งมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ไม่กี่สิบปีนี้เอง

คณะผู้บริหารปตท. บอร์ดของปตท. รวมทั้งผู้บริหารปตท.สผ.ไปดูแหล่งผลิตที่เมืองเอ็ดมอนตัน,รัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดาเป็นครั้งแรก ผมก็มีโอกาสได้ไปสัมผัสด้วย

"ออยล์ แซนด์ส" เป็นความหวังใหม่ปิโตรเลียม พบว่าใต้ผืนดินแคนาดามีเยอะมากจนทำให้ประเทศใกล้ขั้วโลกแห่งนี้มีแหล่งสำรองน้ำมันดิบมากเป็นที่ 3 ของโลกรองจากซาอุฯ, เวเนซุเอลา

ถามว่าคืออะไรกัน? ออยล์ แซนด์สเป็นแหล่งปิโตรเลียมรูปแบบใหม่มีส่วนประกอบของทราย โคลน น้ำและ bitumen ซึ่งเป็นน้ำมันดิบความหนืดสูงมีสภาพเป็นของแข็งหรือกึ่งแข็ง ต้องใช้ความร้อนหรือเจือจางด้วยไฮโดรคาร์บอนเพื่อให้บิทูเมนเคลื่อนตัว

กรรมวิธีหลักๆก็ให้ความร้อนเปลี่ยนน้ำมันดิบความหนืดสูงจนกลายเป็น synthetic crude oil หรือน้ำมันดิบสังเคราะห์

แหล่ง KKD อยู่ห่างตัวเมืองไปกว่า 400 กิโลต้องนั่งเครื่องบินเช่าเหมาลำไปโดยใช้เวลาบินชั่วโมงเศษๆ แถบนั้นมีแหล่งผลิตหลายสัมปทานของหลายบริษัทซึ่งทำกันทั้งระบบขุดเจาะอย่างของสแตทออยล์ หรือทำเป็นเหมืองซึ่งใช้พื้นที่มหาศาลมากและลงทุนสูงมาก

KKD ผลิตน้ำมันวันละ 20,000 บาร์เรลตั้งแต่มกราปี 54 อีกไม่นานจะเพิ่มเป็น 40,000 บาร์เรล

มองในแง่ธุรกิจ เพราะลงทุนขั้นต้นสูงในช่วงแรกๆรายจ่ายสูงกว่ารายรับ แต่โครงการนี้ระยะยาวนานกว่า 40 ปี เมื่อเทคโนโลยีขุดเจาะ,รูปแบบการผลิตพัฒนาก้าวไกลขึ้นก็จะสามารถลดต้นทุนลง ขณะเดียวกันน้ำมันดิบแบบเดิมเหลือน้อยราคาก็จะสูงขึ้น ออยล์แซนด์สจึงถูกวางให้เป็นแหล่งป้อนพลังงานโลกในอนาคต น้ำมันที่เป็นของบริษัทไทยก็เหมือนของคนไทยจึงมั่นใจได้ว่าลูกหลานมีพลังงานในสต๊อก

ตอนไปเยี่ยมไซต์งานก็เห็นธงชาติแคนาดา ธงชาตินอร์เวย์และธงไตรรงค์ของไทยโบกสะพัด เราเป็นหนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกปิโตรเลียมใหม่ๆแม้จะในพื้นที่ห่างบ้านหลายหมื่นกิโลเมตร

เห็นปตท.ไปลงทุนในแอฟริกา,อเมริกาเหนือไกลโพ้นก็นึกถึงที่ใกล้ตัวสุดๆอย่างอ่าวไทยซึ่งมีก๊าซธรรมชาติมากมายติดขัดที่เจรจากัมพูชาไม่ลงตัวซักที-ซักวันขอจัดเต็มหัวข้อนี้.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 369

โพสต์

PTTEP sole bidder for Cove, but shares down
Source - The Nation (Eng), Thursday, July 19, 2012


PTT Exploration and Production’s stock price slid yesterday despite Shell pulling out of the race for UK-based Cove Energy, leaving the company as the sole bidder for the East Africa-focused oil-exploration firm. PTTEP stock yesterday fell 1.16 per cent to close at Bt171 per share.

Brokers are concerned that if PTTEP were to acquire the company, the deal would entail a capital increase, which would put a downside risk on its share price.

Last Friday, Britain’s Takeover Panel decided to end the protracted Cove acquisition by issuing a ruling that in effect forced the two bidders, PTTEP and Shell, to revise their bids by the following Monday. If neither party did so, the bidding process would close and Cove’s shareholders would have to decide within two weeks whether to accept either of the bids.

Bloomberg reported that Shell had, however, decided to pull out of the race for the British company.

PTTEP’s offer of 240 pence (about Bt118) a share remains the highest bid on the table, and the exploration and production giant yesterday extended its tender offer until July 25.

CIMB Securities (Thailand) reiterated that it believed PTTEP was likely to emerge as the winner, acquiring Cove at a higher price than its current offer, which in itself was higher than Shell’s offer of 220 pence.

"We maintain our ’underperform’ rating and target price basis of a 25-per-cent discount to its discounted cash flow value [11 per cent], given the risk of capital-raising," CIMB said.

The brokerage said it believed the most likely final offer by PTTEP was in the range of 250-290 pence per share, as the value accretion of Bt46 billion to Bt58 billion from Cove should be sufficient to justify the future risk of lower prices of liquefied natural gas (LNG) and compensate for the additional capital expenditures that PTTEP would need to spend on Cove’s Rovuma Offshore Area 1 project. It estimated these to be US$2 billion to $3 billion (Bt63.17 billion to Bt94.76 billion) over the next six years.

Meanwhile, Bualuang Securities gave a "hold" rating for PTTEP, given that Shell had now dropped out of the race for Cove Energy.

The brokerage said technically, the race remained open, as the submission deadline for third parties to place a bid is July 21. Nonetheless, it doubts that any potential suitors for Cove Energy will want to equal PTTEP’s bid, let alone make a higher offer. The transaction will, therefore, probably be completed by mid-August. Bualuang expects PTTEP’s net debt-to-equity ratio would as a result of an acquisition rise to 0.6 time from 0.3 time currently, breaching its policy threshold of 0.5 time.

It cited PTTEP management as saying that the company would use cash on hand of $1 billion, with debt financing making up the balance to finance the purchase of Cove Energy.

"We believe that the size of the takeover will ultimately force a recapitalisation," Bualuang research said, adding that based on Cove’s 8.5-per-cent stake in the Rovuma field, PTTEP would also have to spend at least another $1.8 billion to $2 billion on project development.

Bualuang said this suggested a $1.3-billion recapitalisation, implying a modest 7-per-cent share-dilution effect. However, given that Cove Energy’s holding in the Rovuma field is small, it is conceivable that PTTEP would try to acquire further stakes in the field, in which case its recapitalisation needs would be significantly greater, the brokerage added.

PTTEP could raise its capital earlier if it thought it was at risk of a credit-rating downgrade, Bualuang added. Tisco Securities said it believed the market would respond to the news positively in the short term, but PTTEP stock prices were unlikely to increase considerably due to concerns over the risk of recapitalisation.

PTTEP snapshot

Market cap: US$18.08 billion

Average daily turnover: $16.46 million

Free float: 33.7 per cent

Price target: Bt165-Bt185

Closing price: Bt171, down 1.16 per cent
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
nongnoykung
Verified User
โพสต์: 400
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 370

โพสต์

หนังสือพิมพ์ ทันหุ้น 20/07/2012

พลังงานจ่อลงทุนท่อน้ำมัน1.5หมื่นล้าน
“พลังงาน” รับศึกษาแผนขยายระบบท่อส่งน้ำมันเหนือ-อีสาน มูลค่า 15,237 ล้านบาท ประหยัดรถขนน้ำมันได้นับ 10,000 คัน ลดต้นทุนน้ำมันลงลิตรละ 20-30 สต. ขณะที่ “ณอคุณ” โต้ปลด “อนุสรณ์” พ้นเอ็มดีบางจากแค่ข่าวลือเท่านั้น
VI ค่อยๆไป โปรดท่องให้ขึ้นใจ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 371

โพสต์

PTTEPสรุปดีลซื้อโคฟสัปดาห์หน้า
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, July 20, 2012
กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--ข่าวหุ้น



ปตท.ปักธงลุยลงทุนพม่า หลังเห็นโอกาสเติบโต

PTTEP ลั่นภายในสัปดาห์หน้า ดีลซื้อหุ้น COVE เห็นภาพชัดเจนแน่ ฟาก PTT ย้ำสนใจเข้าลงทุนในประเทศพม่า เล็งเห็นโอกาสเติบโต มีความต้องการใช้พลังงานในระดับสูง

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการเข้าซื้อหุ้น Cove Energy ในราคาเสนอซื้อหุ้น 240 เพนซ์ต่อหุ้น ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP โดยนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์หน้าทางบริษัทจะมีความชัดเจนในดีลการซื้อหุ้น COVE มากขึ้น

"เรื่องโคฟอาทิตย์หน้าจะมีความชัดเจนมากขึ้นกว่านี้ และจะสามารถตอบคำถามหรือชี้แจงข้อสงสัยที่มีขึ้นได้" นายเทวินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ PTTEP ได้ประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้บริษัท Shell Exploration and Production (XL) B.V. (Shell) ไม่ปรับเพิ่มราคาเสนอซื้อหุ้นที่ 220 เพนซ์ต่อหุ้น และจะไม่เข้าสู่กระบวนการประมูล จึงถือว่าคำเสนอซื้อหุ้นของ PTTEP ที่ 240 เพนซ์ต่อหุ้นเป็นราคาสูงสุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

อีกทั้งคณะกรรมการบริษัท Cove ยังได้แนะนำให้ผู้ถือหุ้น Cove ตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นของ ปตท.สผ. โดยเร็วที่สุด ซึ่งระยะเวลาการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นต่อ ปตท.สผ. ยังคงมีผลต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 25 ก.ค. 2555 เวลา13.00 น. ตามเวลาของประเทศอังกฤษ

นายเทวินทร์ยังกล่าวในฐานะประธานสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ TMA ว่า การเดินหน้าบริหารธุรกิจของบริษัท สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง คือ ทรัพยากรบุคคล ดังนั้น ทางผู้บริหารจึงควรเป็นผู้ที่เข้ามาช่วยดูแลในแง่การพัฒนาบุคลากรให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผู้บริหารถือเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ต่อการทำงานเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ในฐานะที่กลุ่มปตท.เป็นกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินงานเกี่ยวกับด้านพลังงาน จึงได้เดินหน้าพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในอดีตมีการเปิดตลาดขายน้ำมันไร้สารตะกั่ว ส่วนในปัจจุบันได้หันมาเดินหน้าพัฒนาไบโอฟิล แก๊ซโซฮอล์ เป็นต้น

ด้านนายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ในขณะนี้ทางบริษัทยังคงให้ความสนใจในการรุกเข้าทำตลาดในประเทศพม่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากพม่าถือเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและมีความต้องการใช้พลังงานในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในประเทศพม่าจะเน้นบริหารแบบเติบโตในลักษณะเดินหน้าไปพร้อมกัน ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพด้านพลังงานในประเทศ เนื่องจากพม่าถือเป็นประเทศที่ยังขาดแคลนพลังงานเป็นอย่างมากโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตามกระบวนการทั้งหมดยังอยู่ในระหว่างการศึกษา จึงยังคงไม่สามารถระบุถึงตัวเลขของงบการลงทุนได้ในขณะนี้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 372

โพสต์

พลังงานจ่อลงทุนท่อน้ำมัน1.5หมื่นล้าน
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, July 20, 2012
กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--ข่าวหุ้น



“พลังงาน” รับศึกษาแผนขยายระบบท่อส่งน้ำมันเหนือ-อีสาน มูลค่า 15,237 ล้านบาท ประหยัดรถขนน้ำมันได้นับ 10,000 คัน ลดต้นทุนน้ำมันลงลิตรละ 20-30 สต. ขณะที่ “ณอคุณ” โต้ปลด “อนุสรณ์” พ้นเอ็มดีบางจากแค่ข่าวลือเท่านั้น

นายวีระพล จิรประดิษฐ์กุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯ อยู่ระหว่างศึกษาการต่อขยายระบบท่อสงน้ำมันไปภาคเหนือ –ตะวันออกเฉียงเหนือ เงินลงทุนประมาณ 15,237 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยลดค่าขนส่งจากปัจจุบันใช้รถขนส่งน้ำมันประมาณหมื่นคัน คาดจะลดต้นทุนน้ำมันได้ 20-30 สตางค์ต่อลิตร เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทางรถยนต์โดยภาพรวมใน 25 ปีข้างหน้า จะประหยัดพลังงานจากการขนส่งทางรถยนต์ได้ 42,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมแซมอะไหล่รถยนต์ 19,500 ล้านบาท และลดก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นมูลค่า 530 ล้านตัน โดยรูปแบบการลงทุนอาจจะเป็นทั้งรัฐร่วมทุนเอกชน หรือเอกชน หรือ บมจ.ปตท.ลงทุน ซึ่งผู้บริหารน่าจะเป็นบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย หรือ แทปไลน์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการท่อน้ำมันภาคกลางเป็นผู้บริหาร

สำหรับแนวท่อขนส่งน้ำมันไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะสร้างท่อต่อจากท่อน้ำมันที่คลังน้ำมันจังหวัดสระบุรีไปนครราชสีมาและขอนแก่นโดยขนาดท่อไปนครราชสีมา 14 นิ้ว ระยะทาง 160 กม.ส่วนท่อจากนครราชสีมาไปขอนแก่น ขนาด 11 นิ้ว ระยะทาง 185 กิโลเมตร ส่วนภาคเหนือสร้างท่อจากคลังจังหวัดสระบุรีไปพิษณุโลก และลำปาง โดยท่อพิษณุโลกขนาด 14 นิ้ว ระยะทาง 338 กิโลเมตร โดยทั้ง 4 จังหวัดจะมีการสร้างคลังน้ำมัน ขณะที่จังหวัดอื่นจะใช้การขนส่งทางรถยนต์มารับน้ำมันจากคลังทั้ง 4 แห่ง ทั้งนี้ จะมีการสร้างคลังขนาดเท่าใดนั้น อาจจะนำไปพิจารณาพร้อมกับแผนการจัดทำยุทธศาสตร์สำรองน้ำมันของประเทศที่จะเพิ่มสำรองทางกฎหมายจาก 36 วัน เป็น 90 วัน

“ประโยชน์การสร้างท่อน้ำมันจะทำให้ภาคเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้น้ำมันราคาเดียวกับภาคกลาง เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจ และเป็นการสนับสนุนเขตเศรษฐกิจอาเซียน ตามโครงการทางอีสต์ เวสต์ โคริดอร์ ที่จะเชื่อมไปเวียดนามและพม่าได้ รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากคลังแนวท่อในการทำสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ได้ด้วย” นายวีระพลกล่าว

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวว่า บอร์ด ปตท. ในฐานะที่ ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เสนอให้มีการปลดนายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบางจาก ในเดือนกรกฎาคมนี้ เนื่องจากปัญหาโรงกลั่นไฟไหม้ 2 ปีติดต่อกัน ระบุกระแสข่าวดังกล่าวเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น นโยบาย ปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้น ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบางจาก และจะรอผลสอบสวนของโรงกลั่นว่าเหตุการณ์ไฟไหม้เกิดจากสาเหตุใด ส่วนจะต่ออายุการดำรงตำแหน่งของนายอนุสรณ์ หลังครบวาระกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในเดือนธันวาคมอีกหรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบางจากจะตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม วาระปกติของผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบางจาก จะไม่เกิน 2 วาระ และนายอนุสรณ์ก็ดำรงตำแหน่งครบ 2 วาระแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการของบางจากชุดก่อน ที่มีนายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธาน มีการแต่งตั้งกรรมการสรรหา โดยมีนายชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นประธาน เห็นชอบให้นายอนุสรณ์ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องอีก 2 ปี หรือจนกว่าจะครบกำหนดเกษียณ หรือทำงานจนอายุ 60 ปี โดยใน 2 ปีนี้ขอให้มีการเตรียมบุคคลที่จะเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบางจากไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และขอให้คณะกรรมการชุดใหม่ตัดสินใจ โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลง มีนายพิชัย ชุณหวชิร อดีตซีเอฟโอของปตท. มาเป็นประธาน และยังไม่มีการพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่แทนนายอนุสรณ์ จนล่าสุดมีกระแสข่าวลือว่าจะปลดออกจากตำแหน่งออกมา

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
CHiNU_Vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 631
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 373

โพสต์

Shell Said To Be In Anadarko Talks For Mozambique Gas

Royal Dutch Shell Plc (RDSA) has started discussions with Anadarko Petroleum Corp. (APC) over a bid for the U.S. producer’s gas assets in Mozambique, where energy companies are looking to tap the largest discoveries in a decade, according to people familiar with the situation.
Europe’s biggest oil company has begun informal talks with Anadarko about a deal for some or all of its 36.5 percent stake in the Rovuma-1 offshore gas fields, though Anadarko is reluctant to sell before further results of exploration in the area are known, the people said, asking not to be identified because the talks are private. Continue...http://www.bloomberg.com/news/2012-07-1 ... ve-1-.html
Always Smiling :)
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 374

โพสต์

ปตท.สผ.เพิ่มทุน9.8หมื่นล.ซื้อโคฟฯ-ปูพรมธุรกิจทั่วโลก
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, July 21, 2012


บอร์ด ปตท.สผ.อนุมัติเพิ่มทุนไม่เกิน 650 ล้านหุ้น คาดได้เงิน 9.8 หมื่นล้านบาท หวังปูพรมขยายการลงทุนทั่วโลก และนำเงินประมูลซื้อโคฟฯ ดันธุรกิจโตก้าวกระโดดสู่เป้ากำลังผลิต 9 แสนล้านบาร์เรล/วันในปี 2563 ขณะที่ ปตท.เล็งใช้สิทธิซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 65%

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า วานนี้ (20 ก.ค.) คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3.97 พันล้านบาท จากเดิม 3.32 พันล้านบาท โดยการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 650 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (Public Offering) ด้วยการกำหนดราคาเสนอขายวิธี Book Building หรือเป็นการสำรวจความต้องการซื้อหุ้นจากผู้ลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ระดับราคาต่างๆ ตามคำเสนอซื้อ หุ้นเพิ่มทุนใหม่ดังกล่าวจะจัดสรรให้กับ บริษัท ปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 65.29% ไม่เกิน 403.4 ล้านหุ้น และจัดสรรให้กับประชาชนทั่วไป ไม่เกิน 214.44 ล้านหุ้น ซึ่งจะเสนอขายในราคาเดียวกัน ซึ่งเป็นราคาที่จะมาจากการสำรวจความต้องการซื้อซื้อหุ้นจากนักลงทุนสถาบัน (Book Building) ส่วนที่เหลือไม่เกิน 32.16 ล้านหุ้น จะจัดสรรให้ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน

"บริษัทได้ศึกษาแผนการเงินเพื่อรองรับการขยายธุรกิจแบบก้าวกระโดดในการเพิ่มกำลังการผลิตตามเป้าหมาย 900,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2563 และได้ข้อสรุปว่า เพื่อให้โครงสร้างเงินทุนมีความเข้มแข็ง บริษัทควรเพิ่มทุนประมาณ 98,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสำรวจ พัฒนา รวมทั้งการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และขยายการลงทุนไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกในการหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทย" นายเทวินทร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากราคาเสนอขายหุ้นสามัญของบริษัทในครั้งนี้ จะเป็นราคาที่อ้างอิงกับราคาหุ้นของบริษัท ซึ่งทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การกำหนดราคาจะทำโดยวิธี Book Building ซึ่งเป็นการสำรวจปริมาณความต้องการซื้อหุ้นจากผู้ลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ระดับราคาต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความโปร่งใส และใช้กันอย่างแพร่หลายในการเสนอขายหุ้นทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ในการกำหนดจำนวนหุ้นสุดท้ายในการเสนอขาย บริษัทพิจารณาจากจำนวนเงินทุนที่ต้องการและราคาเสนอขายสุดท้าย ดังนั้น จำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทต้องออกเพิ่ม อาจไม่ถึงจำนวน 650 ล้านหุ้น แต่จะเป็นจำนวนที่ทำให้บริษัทได้รับเงินจำนวนประมาณ 98,000 ล้านบาท ซึ่งขึ้นกับราคาเสนอขายหุ้นที่จะได้มีการกำหนดต่อไป

"เงินทุนที่จะได้รับจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและความคล่องตัวทางการเงิน ทำให้บริษัทมีความสามารถในการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย ที่มุ่งมั่นสร้างมูลค่าเพิ่มและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์ และคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง"

เขากล่าวว่า จากแผนการผลิตของบริษัทซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะ 2-3 ปีนี้ ทำให้การเพิ่มทุนครั้งนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมเพราะจะสามารถรักษาผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นในระยะสั้นและเสริมสร้างการเติบโตได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวข้างต้น ยังจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24 ส.ค. 2555

ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท ปตท. สผ. เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใน ปตท.สผ. ซึ่งเป็น Flagship ในกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของ ปตท. เพื่อสนับสนุน ปตท.สผ. ในการดำเนินการขยายการลงทุนไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ในการหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ที่มุ่งเน้นการขยายตัวและการเพิ่มการลงทุนในธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น

"ปตท. มีภารกิจหลัก คือ การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ และต้องมีการจัดหาพลังงานให้มีใช้อย่างเพียงพอ การที่ ปตท. ให้การสนับสนุนการลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ ปตท.สผ. ในครั้งนี้ เพื่อให้ ปตท.สผ. สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ สามารถจัดหาและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่มีคุณภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ โดย ปตท. มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีสภาพคล่องคงเหลือเพียงพอในการสนับสนุนการเพิ่มทุนของ ปตท.สผ. ในครั้งนี้"

นอกจากนี้ คณะกรรมการ ปตท. ได้มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือบุคคลที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมอบหมาย ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ ปตท.สผ. เช่น การจองซื้อหุ้น การชำระราคาหุ้น เป็นต้น รวมทั้งเข้าเจรจา ตกลง ลงนามในเอกสารและสัญญาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินการต่างๆ ที่จำเป็นและสมควร

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า การเพิ่มทุนของ ปตท.สผ.ในครั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการประมูลซื้อบริษัทโคฟ เอ็นเนอยี่ บริษัทพลังงานชั้นนำที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นประเทศอังกฤษ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมูลซื้อไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้เป็นตัวเลขใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะระดมทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยจะส่งผลกระทบราคาในตลาดตามสัดส่วนของหุ้นเพิ่มทุนใหม่ ประมาณ 12-14%

ด้านราคาหุ้น ปตท.สผ. วานนี้ (20 ก.ค.) ปิดตลาด 165.50 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 0.60%

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 375

โพสต์

พม่า-ไทยเซ็น MOU พลังงาน 'เต็ง เส่ง' มาเอง 23 ก.ค./ปตท.กำแสนล้านลงทุน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, July 21, 2012


รัฐบาลไทยจับพม่าลงนามเอ็มโอยูด้านพลังงาน 23 ก.ค.นี้ เป็นจุดเริ่มการเจรจาเข้าไปลงทุนพลังงานทุกรูปแบบ ปตท.เสือปืนไว รุกก่อนเออีซีเปิด เตรียมจัดตั้งบริษัทรองรับลุยลงทุนในพม่า กำเงิน 5 ปี ไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท เสนอทำโรงกลั่นขนาด 1.5 แสนบาร์เรลปิโตรเคมี โรงแยกก๊าซ ก่อสร้างท่อก๊าซและปั๊มน้ำมัน และกอดคอกฟผ.ทำโรงไฟฟ้าถ่านหินและพลังน้ำ

นายณอคุณสิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวง พลังงาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ นายเต็ง เส่งประธานาธิบดี สหภาพเมียนมาร์ จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นสักขีพยาน ร่วมกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ด้านพลังงานแบบกว้างๆ โดยจะไม่จำกัดอยู่แค่เฉพาะการพัฒนาปิโตรเลียมและไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งฝ่ายไทยจะมีนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับนายตัน เต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสหภาพเมียนมาร์เป็นผู้ลงนาม

ทั้งนี้ การลงนามดังกล่าว จะนำไปสู่การจัดตั้งเวทีหารือด้านพลังงานของทั้ง2 ประเทศ ที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน การจัดเตรียมข้อเสนอแนะรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน การสนับสนุนและส่งเสริมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้บรรลุความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานและประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความร่วมมือ การส่งเสริมการดำเนินการที่นำไปสู่การปฏิบัติของข้อตกลงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคตการพิจารณาความเป็นไปได้ในเรื่องความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ตามที่ทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงร่วมกัน เป็นต้น

สำหรับความร่วมมือด้านพลังงานของทั้ง 2 ประเทศนั้น เนื่องจากสหภาพเมียนมาร์มีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างมากและมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน ในขณะที่ไทยมีความต้องการด้านพลังงานและมีศักยภาพการเข้าไปลงทุนในการพัฒนาด้านพลังงาน หากร่วมกันพัฒนาได้จะเกิดประโยชน์ร่วมกัน

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยว่า สำหรับความพร้อมของปตท.ในการเข้าไปลงทุนในสหภาพเมียนมาร์นั้นขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้งบริษัทจดทะเบียนในสหภาพเมียนมาร์ ภายใต้ชื่อบริษัท พีทีที เมียนมาร์จำกัด ขยายการลงทุนในธุรกิจ รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ที่จะมีผลในปี 2558 ซึ่ง ปตท.ตั้งเป้าเม็ดเงินลงทุนในพม่าช่วง 5 ปี (2555-2559)ไว้เบื้องต้นน่าจะไม่ต่ำกว่า3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ93,000 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและการเกิดของโครงการที่จะตามมาด้วย

ทั้งนี้ มองว่าสหภาพเมียนมาร์มีแหล่งทรัพยากรขนาดใหญ่ และที่ผ่านมากลุ่ม ปตท.มีความคุ้นเคยกับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ ดังนั้นจะใช้จังหวะนี้เข้าไปลงทุนก่อนที่เออีซีจะมีผลบังคับใช้ซึ่งการจัดตั้งเวทีหารือดังกล่าว จะนำไปสู่การยื่นข้อเสนอรัฐบาลเมียนมาร์ในการเข้าไปลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเป็นแพ็กเกจใหญ่ อาทิ การสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียม ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมันโรงแยกก๊าซธรรมชาติและสถานีบริการน้ำมัน

สำหรับการที่ปตท. สนใจลงทุนโรงกลั่นน้ำมันในพม่า เนื่องจากปัจจุบันโรงกลั่นในพม่ายังเป็นแบบเก่า ซึ่งออกแบบไว้ใช้ภายในประเทศเท่านั้น มีกำลังการกลั่นประมาณ 50,000 บาร์เรลต่อวัน ไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน ยิ่งพม่าเปิดประเทศด้วยแล้ว จะก่อให้เกิดการพัฒนาในหลายๆด้าน ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับความต้องการดังกล่าว ปตท.มีความสนใจจะลงทุนโรงกลั่นน้ำมันขนาดกำลังผลิต150,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งหากเกิดได้ก็จะต้องใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 1 แสนล้านบาท

นายณัฐชาติ กล่าวอีกว่า อีกทั้ง การที่รัฐบาลพม่าเปิดให้แหล่งสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเข้าไปลงทุนของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (บมจ.ปตท.สผ.)ที่อยู่ระหว่างการขุดเจาะสำรวจหาปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในหลายแหล่งหากเจอก๊าซในปริมาณมากและคุณภาพก๊าซเหมาะสม ทางรัฐบาลพม่าต้องการสงวนไว้ใช้ในประเทศเอง ทางกลุ่ม ปตท.มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนก่อสร้างท่อก๊าซและต่อยอดการเข้าไปไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมีด้วยซึ่งเวลานี้ได้มีการเสนอทุนให้นักศึกษาพม่าเข้ามาศึกษาในประเทศไทยสาขาปิโตรเคมีปีละ4-5 ทุนเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ สามารถนำกลับมาพัฒนาประเทศพม่าได้

ส่วนการพัฒนาธุรกิจไฟฟ้านั้น มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะจับมือกับทางบริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ที่จะไปลงทุนทำโรงไฟฟ้าถ่านหินบริเวณปากเหมืองรวมทั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ยังมีศักยภาพอีกมาก ซึ่งการลงทุนผลิตไฟฟ้านั้นขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ ทั้งนี้เงินลงทุนโครงการดังกล่าวยังไม่ได้รวมอยู่ในเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวข้างต้น


ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 22 - 25 ก.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 376

โพสต์

ชูลุยท่อส่งน้ำมันเหนือ-อีสานเซฟพลังงาน25ปี4.2หมื่นล้าน
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, July 21, 2012


ปตท.ลุยศึกษาโปรเจ็กต์สร้าง "ท่อส่งน้ำมัน" เหนือและอีสาน 958 กม. เซฟต้นทุนพลังงานอนาคตมหาศาลกว่า 4.2 หมื่นล้าน ลดงบฯซ่อมแซมถนน และก๊าซเรือนกระจก

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ได้ว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยศึกษาแนวทางลงทุนโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนต่อขยายจังหวัดสระบุรี เบื้องต้นจะพัฒนาความยาว 958 กม. แบ่งเป็นการสร้างท่อส่งน้ำมันไปยังลำปาง 613 กม. และ จะสร้างคลังน้ำมันเส้นทางนี้อีก 2 แห่ง ที่พิษณุโลก กับลำปาง

ในเส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือจะวางท่อส่งน้ำมันจากคลังน้ำมันสระบุรีไปขอนแก่น ความยาว 345 กม. ใช้งบฯ 15,237 ล้านบาท แบ่งเป็นระบบท่อส่งน้ำมัน 8,854 ล้านบาท คลังจ่ายน้ำมัน 4,374 ล้านบาท อื่น ๆ 2,009 ล้านบาท ตามแผนหากก่อสร้างและใช้ประโยชน์จากโครงการนี้สำเร็จจะเป็นช่องทางหลักสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ทั้ง 2 ภาค โดยจะประหยัดพลังงานในอีก 25 ปี คิดเป็นมูลค่า 42,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมแซมรถบรรทุกน้ำมันได้ 19,500 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 530 ล้านบาท และลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาถนนได้อีกเป็นอย่างมาก

ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในพื้นที่ปลายท่อลดลง 20-30 สตางค์/ลิตร เมื่อเทียบกับการขนส่งด้วยรถบรรทุกขนาดกลาง ซึ่งขนส่งน้ำมันจากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่ จะมีต้นทุน 66 สตางค์/ลิตร หากเป็นรถสิบล้อ 1.20 บาท/ลิตร และยังเฉลี่ยราคาน้ำมันให้เท่ากันได้ทั้งประเทศด้วย

"โครงการนี้จะได้ข้อสรุปจากผลการศึกษาของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยอีก 1-2 เดือน จากนั้นจึงนำเสนอปลัดกระทรวงพลังงานนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป เมื่อได้รับอนุมัติจะต้องใช้เวลาก่อสร้างอีก 4-5 ปี โดยต้องศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและต้องทำประชาพิจารณ์จากชุมชนที่ท่อส่งน้ำมันผ่าน

ส่วนแนวทางการลงทุนมีหลายรูปแบบ อาจเป็นการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน หรือเอกชน หรือรัฐลงทุนฝ่ายเดียวก็ได้ การบริหารจัดการควรจะ มีเพียงบริษัทเดียวจัดการโครงสร้างท่อส่ง น้ำมันและคลังทั้งหมด ควรเป็นหน้าที่ของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) ผู้บริหารท่อส่งน้ำมัน คลังน้ำมัน จากกรุงเทพฯไปสระบุรี หรือหากแทปไลน์ไม่อยากลงทุนเพิ่มก็ให้เอกชนรายอื่นก่อสร้าง แล้วว่าจ้างแทปไลน์บริหาร"

นายวีรพลกล่าวว่า ขณะนี้ยังได้จัดทำแผนสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ 90 วัน โดยสั่งการให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพิ่มการสำรองน้ำมันจาก 5% เป็น 6% หรือ 36 วัน เป็น 43 วัน ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ขณะนี้มีโรงกลั่น 1 ราย คือ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (เอสพีอาร์ซี) ยื่นขอผ่อนผันเพิ่มการสำรองตามกฎหมาย ระบุไม่มีคลังน้ำมันรองรับ แต่ ธพ.จะพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ไป

ขณะที่การสำรองน้ำมันของภาครัฐ อยู่ระหว่างศึกษาวิธีการและจัดตั้งองค์กรเฉพาะด้านมาบริหารจัดการ โดยศึกษาตัวอย่างในต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งภาครัฐต้องลงทุนไปซื้อน้ำมันมาสำรองส่วนที่เหลือราว 1 แสนล้านบาท เมื่อคำนวณจากน้ำมันดิบ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนการสร้างคลังอีก 30,000-40,000 ล้านบาท จะเป็นรัฐหรือเอกชนลงทุนก็ได้

ด้านนายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ได้ทำสัญญาระยะสั้นเพื่อจัดซื้อก๊าซธรรมชาติ (LNG) ระหว่างปี 2556-2557 จากกาตาร์ ปี 2558 จะทำสัญญาซื้อระยะยาวเพื่อความมั่นคงของประเทศ ครั้งละ 2 ล้านตัน

แต่ขณะนี้ ปตท.ยังไม่มีแผนจะสร้างคลังเก็บก๊าซแอลเอ็นจีใหม่ เพราะคลังที่ระยองระยะ 1 และ 2 กำลังจะเสร็จเร็ว ๆ นี้ มีความจุ 10 ล้านตัน เพียงพอในการจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าแห่งใหม่แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2010) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3



ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 - 25 ก.ค. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 377

โพสต์

คอลัมน์: รายงานพิเศษ: ปตท.สผ.กับพลังงาน OilSand วาดฝันทดแทนได้อีก100ปี
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Monday, July 23, 2012


บริษัท ปตท. ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้นำสื่อมวลชนไปดูงานในโครงการใหม่ๆ ของบริษัท ปตท.ที่รัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา ซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำมันสำรองที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก โดยมีนายณอคุณสิทธิพงษ์ ประธานกรรมการบริษัท ปตท.และบริษัท ปตท.สผ. และนายเทวินทร์วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. รวมทั้งดร.โยธิ ทองใหญ่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท PTTEP Canada Limited ร่วมคณะเดินทางและอธิบายถึงภารกิจการลงทุนในโครงการOil Sands

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. ได้อธิบายถึงภารกิจของ ปตท. ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ โดยมอบหมายภารกิจหลัก ให้ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (ปตท.สผ.) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในด้านการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจุดประสงค์หลักนั้นคือจะเป็นบริษัทที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมของกลุ่มปตท.และของประเทศไทย นอกจากนี้เป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในการจัดหาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติให้แก่ประเทศรวมถึงจัดหาและเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียม และผลิตปิโตรเลียมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการจัดหาปิโตรเลียม ที่สำคัญเป็นการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุน

ทั้งนี้ ปตท.สผ.มีแผนในการดำเนินกลยุทธ์ ซึ่งได้คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งวิเคราะห์การลงทุน เพื่อเรียนรู้และปรับปรุงสถานะการลงทุนให้สมดุล โดยบริษัทได้มีแผนการทบทวนการดำเนินงานให้ตอบรับกับการลงทุนในระยะยาว และแนวโน้มธุรกิจสำรวจและปิโตรเลียมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งสถานการณ์ลงทุนของบริษัท

นับตั้งแต่การรักษาระดับปริมาณการผลิตภายในประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยเน้นการนำเทคโนฯที่ล้ำสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งสำรวจเพื่อประเมินศักยภาพทางปิโตรเลียมให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้สัมปทาน เพื่อให้มีปริมาณสำรองที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ การขยายการลงทุนในต่างประเทศ ปตท.สผ.มีกลยุทธ์การขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายหลักเน้นขยายฐานลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ปัจจุบัน ปตท.สผ. ได้ลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศรวม41 โครงการ ใน 12 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ ออสตราเลเซียและอเมริกาเหนือ

สำหรับการเยี่ยมชมโครงการ Oil Lands KKD ครั้งนี้ นับเป็นแหล่งพลังอีกแห่งที่น่าสนใจในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่ง ปตท.สผ. ได้เข้าร่วมลงทุนในแหล่งออยล์ แซนด์ มาตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่จะเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสร้างการเติบโตให้กับบริษัทในระยะยาว โดยได้ร่วมลงทุนในแหล่งออยล์แซนด์ เคเคดี (Oil Sand KKD) กับบริษัท สแตทออยล์ แคนาดา

หลายคนยังมีข้อสังสัยว่า Oil sands คืออะไร พอสรุปได้ว่าเป็นแหล่งปิโตรเลียมรูปแบบใหม่ (Uncon ventional) ประเภทหนึ่ง โดยปิโตรเลียมชนิดนี้มีส่วนประกอบของทราย โคลน น้ำและ bitumen ที่มีความหนาแน่นและสูงและหนืด สำหรับ Oil sands นี้จะพบเป็นจำนวนมากในแคนาดาและเวเนซุเอลา ส่วนBitumen นั้นคือน้ำมันดิบที่มีความหนืดสูง(Extra Heavy crude oil) อยู่ในรูปกึ่งของแข็งหรือของแข็งที่จะต้องใช้ความร้อนหรือการเจือจางโดยไฮโดรคาร์บอนที่มีความเบากว่าจึงจะทำให้ bitumen เคลื่อนตัวได้ ดังนั้นก่อนการที่จะขนส่งผ่านท่อเพื่อส่งไปยังโรงกลั่นจะต้องใช้วิธีการ upgrade โดยการใช้ความร้อนเพื่อทำให้ bitumen กลายเป็น synthetic crude oil หรือผสม bitumen กับไฮโดรคาร์บอนที่มีความเบาบางเพื่อให้สามารถเคลื่อนตัวได้ ทั้งนี้เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการนี้ได้มีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและสามารถผลิตOil Sands ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าต่อการลงทุน และประหยัดในการขนส่งอีกด้วย

สำหรับ Oil Sands ในแคนาดานั้นมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากซาอุดีอาระเบีย และเวเนซุเอลาโดยมีปริมาณสำรองทั้งหมด 174 พันล้านบาร์เรล ส่วน Oil Sands คิดเป็นประมาณ 169 พันล้านบาร์เรล (97%) ส่วนระดับการผลิตOil Sands ในปี ค.ศ. 2011 แคนาดาผลิต Crude oil ได้ทั้งหมด3.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผลิตมาจาก Oil sands ประมาณ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ( 53%) ซึ่งนับว่าการผลิต Oil Sands นี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆและมีความสำคัญในอนาคต โดยคาดว่าใน ค.ศ. 2030 จะมีการผลิตได้ถึง 5.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการผลิต Crude oil ทั้งประเทศ602 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ส่วนตลาดส่งออกปัจจุบันแคนาดาเป็นผู้ส่งออก น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป รายใหญ่ ให้กับ สหรัฐอเมริกา โดยปีนี้สหรัฐฯนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากแคนาดาทั้งสิ้น 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยแคนาดามีระบบท่อที่สามารถส่งออกน้ำมันดิบจากมณฑลALberta ไปยังสหรัฐอเมริกาด้านตะวันออกของแคนาดา และส่งออกทางเรือได้อีกด้วยอย่างไรก็ตาม อนาคตแคนาดามีแผนที่จะขยายกำลังการส่งออกเพื่อรองรับการผลิตOil Sands ที่เพิ่มขึ้นโดยการสร้างระบบท่อใหม่หลายเส้นทางเพื่อส่งไปยังสหรัฐฯและส่งออกไปยังทะเลไปตลาดเอเชียด้วย จากแผนงานต่างๆแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารบริษัท ปตท. ได้มีวิสัยทัศน์ในการหาแหล่งพลังงานเพื่อรองรับในอนาคตอีก100 ปีข้างหน้าจึงเป็นสิ่งที่ดี เพื่อลดการสั่งซื้อน้ำมันจากต่างประเทศและหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ มาทดแทน และมอบภารกิจให้ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ตั้งบริษัทขึ้นใหม่ชื่อ PTTEP Canada จำกัด (PTTEP CA) ซึ่งเป็นย่อยตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2011 ภายใต้กฎหมายของรัฐ Alberta ตั้งอยู่ที่เมือง Calgary ปัจจุบันถือหุ้น 40% ในโครงการ KKD ซึ่งมีแผนการขยายลงทุนในทวีปอเมริกาเหนืออีกด้วยถึงแม้ปัจจุบันการผลิตของแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ได้เริ่มดำเนินการมาและมีกำลังการผลิตได้ 20,000 บาร์เรลต่อวัน และมีแผนในการพัฒนาและขยายกำลังกำลังการผลิตให้ได้ 40,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาด้านวิศวกรรมและหากมีความเป็นไปได้อนาคตก็จะมีความสดใสในการหาแหล่งพลังงานใหม่ๆมาทดแทน ที่สามารถสำรองได้ถึง 100 ปีข้างหน้า จึงเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ภายใต้นโยบายพลังงานของปตท.และปตท.สผ.นั่นเอง


ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 378

โพสต์

แผนเพิ่มทุน ปตท.สผ.สะดวกโยธิน
แหล่งข่าว : ไทยรัฐ , วันที่ : 23/07/2012
แนบไฟล์
2(525).jpg

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 379

โพสต์

คอลัมน์: อีโคโฟกัส: หว่านพืชหวังผลที่แคนาดา วิสัยทัศน์สุดท้าทายของปตท.
Source - ไทยโพสต์ (Th), Monday, July 23, 2012


ระยะทางจากประเทศไทยไปยังประเทศแคนาดา หากพิจารณาจากแผนที่โลกแล้ว นับว่าอยู่คนละสุดขั้วโลก ถ้าใช้การเดินทางโดยรถยนต์ต้องวิ่งเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 7,000 กิโลเมตร แต่ถ้าบินก็ต้องนั่งๆ นอนๆ บนเครื่องบินรวมทั้งแวะเปลี่ยนเครื่องบินเบ็ดเสร็จใช้เวลาไม่ต่ำกว่า15 ชั่วโมง เพราะแคนาดาอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ติดอยู่กับอลาสกา และเลยขึ้นไปก็เป็นทวีปแอนตาร์กติกแล้ว

แต่คณะกรรมการบริหาร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เจ้าของหุ้นใหญ่ของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ก็ตัดสินใจเห็นชอบให้ ปตท.สผ.ตั้งบริษัท PTTEP Cananda จำกัด เพื่อร่วมทุนกับบริษัทStatoil Canada จำกัด ในโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี (KKD) เมื่อปีที่ผ่านมา

"ผมเองก็มีคำถามในใจเหมือนทุกคนว่า ออยล์ แซนด์ (oil sand) คืออะไร? มันอยู่ที่ไหน? ทำไม? จึงเป็นแคนาดา และผู้ร่วมทุนหรือหุ้นส่วนของเราเป็นใคร? เพราะมันเป็นหนทางที่แสนไกลและเป็นสิ่งใหม่ที่ท้าทายมากเลยทีเดียว"

เป็นความรู้สึกที่เปิดเผยจากปากคำของ นายณอคุณ สิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในโอกาสที่เดินทางไปดูโครงการเคเคดีที่เมืองเอดมันตัน ในรัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ในฐานะประธานบอร์ด ปตท.และ ปตท.สผ.เมื่อวันที่12 ก.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับผู้บริหารในเครือ ปตท. นำโดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ปตท.สผ.ร่วมด้วยคณะสื่อมวลชน

และ..ไม่ใช่เพียงระยะทางที่ทรหด ทุลักทุเล ในการเข้าไปถึงแหล่งผลิตน้ำมันจากทรายที่เรียกว่าออยล์แซนด์ตามความเห็นของประธานบอร์ด ปตท.เท่านั้น แต่จากการสอบถาม ดร.โยธิน ทองเป็นใหญ่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท PTT Canada จำกัด แล้วอุณหภูมิอากาศที่เป็นฐานผลิตน้ำมันในรูปแบบใหม่นี้ยังโหดสุดๆ อีกต่างหาก นั่นคือในฤดูร้อนสูงถึง 40-45 องศาเซลเซียส ขณะที่ฤดูหนาวก็ลดลงไปต่ำกว่าลบ 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

เมื่อทั้งไกลทั้งลำบาก ทั้งโหดเยี่ยงนี้ ทำไม??? เป็นแคนาดาและเหตุใดจึงเป็นออยล์แซนด์

คำอธิบายในการลงทุนที่นี่ของ ปตท.กรุ๊ป คงหนีไม่พ้นข้อเท็จจริงอันเป็นพันธกิจและวิสัยทัศน์ของ ปตท.กรุ๊ป นั่นคือ

ภารกิจสำคัญในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ คือ การจัดหาทรัพยากรอย่างเพียงพอเพื่อการสร้างความ

มั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว โดยการจัดหาปริมาณที่เพียงพอ มีคุณภาพได้มาตรฐาน และราคาเป็นธรรม

ออยล์แซนด์...แหล่งพลังงานใหม่

oil sand คือแหล่งปิโตรเลียมรูปแบบใหม่ (unconventional) ประเภทหนึ่ง โดยปิโตรเลียมชนิดนี้มีส่วนประกอบของทราย โคลน น้ำ และ bitumen ที่มีความหนาแน่นสูงและหนืด อยู่ในรูปกึ่งของแข็งหรือของแข็ง ซึ่งจะต้องใช้ความร้อนหรือการเจือจางโดยไฮโดรคาร์บอนที่มีความเบากว่าจึงจะทำให้บีทูเมนเคลื่อนตัวได้เพื่อการส่งผ่านเข้าท่อและนำไปยังโรงกลั่นผ่านกระบวนการผลิตเป็นน้ำมันดิบต่อไป

ดร.โยธิน เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า บีทูเมนนั้นคล้ายๆ ยางมะตอย แต่แข็งและเหนียวกว่า คล้ายๆ กับเป็นพีนัตบัตเตอร์ และถ้าจะเอามาใช้ก็ต้องใช้ความร้อน 200 องศาเซลเซียสทำให้มันเหลวได้แบบคาราเมลนั่นแหละ (แต่ขอบอกว่าบีทูเมนของจริงนั้นดำปิ๊ดปี๋ แถมเหม็นสุดๆ ยิ่งกว่ายางมะตอยหลายร้อยเท่าเลยทีเดียว)

ประเทศแคนาดาได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบเป็นอันดับสามของโลก รองจากประเทศซาอุดีอาระเบีย และเวเนซุเอลา โดยมีปริมาณสำรองทั้งหมด 174 พันล้านบาร์เรล ในจำนวนนี้เป็นออยล์แซนด์ถึง 97% หรือ 169 พันล้านบาร์เรล

ในปี 2011 แคนาดาผลิตน้ำมันดิบทั้งหมด 3 ล้านบาร์เรลต่อวันในจำนวนนี้มาจากออยล์แซนด์ 53% และมีการคาดการณ์ว่าการผลิตออยล์แซนด์จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีความสำคัญอย่างมากในอนาคต

น้ำมันดิบจากออยล์แซนด์ส่วนใหญ่แคนาดาส่งออกขายให้กับสหรัฐอเมริกา โดยแคนาดามีระบบท่ออย่างดีที่สามารถส่งออกจาก รัฐแอลเบอร์ตาไปยังสหรัฐอเมริกาด้านตะวันออกของแคนาดา และสามารถส่งออกทางเรือผ่านทางรัฐบริติชโคลัมเบีย เข้ารัฐวอชิงตันของอเมริกา นอกจากนี้ในอนาคตแคนาดามีแผนที่จะขยายกำลังการส่งออกเพื่อรองรับการผลิตออยล์แซนด์ที่เพิ่มขึ้นโดยการสร้างระบบท่อใหม่หลายเส้นทาง ที่สำคัญคือสามารถจะส่งไปยังตลาดเอเชียด้วย

คำเฉลยจึงมีด้วยประการข้างต้นว่า ปตท.กรุ๊ปข้ามโลกไปลงทุนที่แคนาดานั้น เป็นการซื้ออนาคตด้วยวิสัยทัศน์ที่ท้าทาย

เพราะออยล์แซนด์เป็นของใหม่ อีกทั้งต้องใช้กระบวนการมากมายในการแยกน้องออยล์ออกจากน้องแซนด์ ในขณะที่องค์ประกอบภายในของออยล์แซนด์นั้นมีน้องน้ำผสมอยู่ถึง 70% กว่าจะทำคลอดให้เป็นบีทูเมนออกมาได้นั้น ต้นทุนการผลิตถือว่าสูงและสุ่มเสี่ยงไม่ใช่น้อย

"ต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบจากออยล์แซนด์สูงกว่าน้ำมันปกติทั่วไปแน่นอน แต่ข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่ราคาน้ำมันสูงกว่า 50 เหรียญต่อบาร์เรล ทำให้โอกาสของออยล์แซนด์เพิ่มมากขึ้น และที่มองข้ามไม่ได้ คือ แหล่งน้ำมันปกติทั่วไปในโลกใบนี้มีคนเป็นเจ้าของหมดแล้ว ออยล์ แซนด์จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจและมั่นใจได้ว่าระยะยาวจะคุ้มค่า เพราะเรื่องของพลังงานนั้นต้องมองกันที่อนาคต"นายเทวินทร์ ซีอีโอ ปตท.สผ.กล่าว

คุ้มเสี่ยง...เพื่อพลังงานไทยยั่งยืน

ในปัจจุบันทรัพยากรน้ำมันในรูปแบบปกติ ถูกใช้ไปเหลือสำรองอยู่ไม่กี่แห่งในโลก แต่อุตสาหกรรมออยล์แซนด์ยังมีอายุน้อย ยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในขั้นตอนต่างๆ ได้อีกมาก จึงมีการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมดังกล่าวนี้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ดร.โยธินเปิดเผยว่า จุดมุ่งหมายของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อออยล์แซนด์นั้นอันดับแรกคือ เพื่อให้การผลิตบีทูเมนมีผลกระทบต่อ

สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อันดับต่อมา เพื่อให้สามารถผลิตบีทูเมนที่มีประสิทธิภาพและปริมาณสูงสุด ด้วยการลงทุนน้อยที่สุด และอันดับสุดท้าย เพื่อให้สามารถผลิตและปรับสภาพบีทูเมนให้อยู่ในรูปน้ำมันสังเคราะห์ โดยใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพและประหยัด ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการขนส่ง และเหมาะกับการกลั่นในโรงกลั่น

"การค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ตามจุดมุ่งหมายทั้ง3 ข้อ เป็นทิศทางเดียวกับที่ ปตท.กรุ๊ปยึดเป็นแนวปฏิบัติ คือพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน" เอ็มดีของโครงการเคเคดีในส่วนของประเทศไทยยืนยัน ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายข้อกังขาของทุกคนที่ไปดูงานในเอดมันตัน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหรือฐานของโครงการเคเคดีได้อย่างดี โดยเฉพาะข้อสงสัยในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งตัวแทนของบริษัท Statoil เองก็ยอมรับว่า กฎหมายในแคนาดาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้นเข้มงวดมาก ในขณะที่ชุมชนของเอดมันตันเองก็แข็งขันกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของตัวเองไม่แพ้กัน

หลังจากลงทุนในโครงการเคเคดี เริ่มมีกำลังผลิตบีทูเมนแล้วในเดือนมกราคม 2011 โดยมีกำลังผลิต 2 หมื่นบาร์เรลต่อวันในแหล่งLiesmer โดยขณะนี้มีแผนที่จะขยายกำลังผลิตเป็น 4 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ส่วนแหล่งอื่นๆอีก 4 แหล่งในโครงการเดียวกัน กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและออกแบบด้านวิศวกรรมเบื้องต้น

ทุกเม็ดเงินของการลงทุนที่แคนาดา หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,280 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อหวังผลอนาคตสร้างพลังงานไทยที่ยั่งยืนตามพันธกิจของ ปตท.กรุ๊ปในวันนี้ แม้จะยังไม่เห็นดอกรวงหรือผลผลิตที่งดงาม แต่การก้าวข้ามไปอีกซีกโลกจับมือกับประเทศแคนาดาที่ได้ชื่อว่ามีปริมาณน้ำมันสำรองเป็นอันดับสามของโลก เพื่อการพัฒนาพลังงานรูปแบบใหม่ นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่น่าทึ่ง และสมควรที่เราคนไทยจะต้องสนใจติดตาม รวมทั้งต้องไม่ลืมที่จะช่วยลุ้นและให้กำลังใจ

เพราะไม่ใช่แต่เฉพาะกลุ่มคนไทยจำนวน 12 คนที่ไปรับผิดชอบดูแลในฐานะผู้ถือหุ้น 40% ที่โน่นเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ในประสบการณ์การทำงานด้านผลิตพลังงานที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูงแบบใหม่ ไม่ใช่แค่ผู้ถือหุ้นในกลุ่ม ปตท.ทั้งหลายที่จะได้เงินปันผลจากการประกอบกิจการของ ปตท.

แต่เหนืออื่นใดคืออนาคตพลังงานของไทยที่จะไม่ต้องแขวนอยู่บนเส้นด้าย หากเกิดปัญหาหรือวิกฤตการณ์ใดๆ เกี่ยวกับพลังงานน้ำมัน

ด้วยการหว่านเมล็ดการลงทุนอย่างมีวิสัยทัศน์ แม้เป็นอะไรที่ไม่ธรรมดา และผลที่จะเก็บเกี่ยวได้อาจจะต้องใจเย็น แต่ก็ถือว่าคุ้มที่จะเสี่ยงเพื่อลูกหลาน..นี่คือข้อสรุปจากการข้ามน้ำข้ามทะเลไปเกือบถึงขั้วโลกเหนือเพื่อให้ได้รู้และได้เห็นน้องออยล์กับน้องแซนด์ พลังงานแห่งอนาคต.



ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 380

โพสต์

บลิส-เทลปิดฉากมือถือเบนเข็มลุยธุรกิจพลังงาน
วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฏาคม 2012 เวลา 11:18 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - ข่าวหน้า1


"บลิส-เทล" เล็งย้ายพอร์ตสู่โหมดพลังงานทาบกลุ่มสิงคโปร์ร่วมทุนพร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "กรีน เอนเนอร์ยี" คว้า "อีเควเตอร์โซล่าร์" ที่ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพันธมิตร เผยชื่อ "ภูษณ ปรีย์มาโนช" โผล่อยู่เบื้องหลังให้คำปรึกษา

ด้าน "ธชธร" บอกโครงสร้างลงตัวดีเดย์ ก.ย.นี้ ชี้เหตุถอยธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เพราะการแข่งขันสูง ตลอด 2 ปีขาดทุนต่อเนื่อง เตรียมปลดป้าย "บลิส-เทล" ออกจากช็อปทั้งหมด

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ บลิส-เทล มีแผนเปลี่ยนโหมดธุรกิจที่จดทะเบียนในกลุ่มสื่อสารมาอยู่กลุ่มพลังงานแทนเนื่องจากธุรกิจประสบปัญหาการขาดทุนและทรัพย์สินของ บลิส-เทล มีเพียงช็อปอยู่ 100 แห่ง ส่วนใหญ่เช่าพื้นที่จาก บิ๊กซี และ เทสโก้ โลตัส เป็นต้น

"ขณะนี้ บลิส-เทล ได้จดทะเบียนรองรับเพื่อเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "บริษัท กรีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)" พร้อมดึงกลุ่มธุรกิจจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาร่วมลงทุนซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา ที่ผ่านมาภาพลักษณ์ของ "บลิส-เทล" เสียหายผู้บริหารต้องการเปลี่ยนชื่อใหม่หมดพร้อมกับเริ่มต้นธุรกิจพลังงานอย่างเต็มรูปแบบและบริหารแบบมืออาชีพ"

ทั้งนี้ บลิส-เทล กำลังเจรจากับกลุ่มพลังงานทดแทนแล้วจำนวน 2-3 กลุ่มหนึ่งในนั้นประกอบด้วย บริษัท อีเควเตอร์โซล่าร์ จำกัด ซึ่งได้ใบอนุญาตในการผลิตพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์จากกระทรวงพลังงาน และคาดว่าโครงสร้างธุรกิจทั้งหมดเป็นรูปธรรมภายในเดือนกันยายนนี้

"ธุรกิจมือถือมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทำให้ผู้ถือหุ้นพยายามหาทางออกและสุดท้ายก็มาสรุปที่กลุ่มพลังงานเพราะธุรกิจมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ทีมผู้บริหารของ บลิส-เทล ได้ขอคำปรึกษาจาก นายภูษณ ปรีย์มาโนช พร้อมแนะนำให้ย้ายพอร์ต บลิส-เทล ไปอยู่ในกลุ่มพลังงาน" แหล่งข่าวกล่าว

อย่างไรก็ตามเมื่อคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานของกระทรวงพลังงาน ปรากฏว่า บริษัท อีเควเตอร์โซล่าร์ จำกัดได้ผลิตพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์ จำนวน 17 แห่ง กำลังการผลิตอยู่ที่แห่งละ 5เมกะวัตต์รวมทั้งหมด 85 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นที่ ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา จำนวน 11 แห่ง, จังหวัดนครสวรรค์ 5 แห่ง แบ่งเป็น อำเภอเก้าเลี้ยว 3 แห่ง และ อำเภอตาคลี 2 แห่ง และ อีก 1 แห่งอยู่ที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

ด้านนายธชธร ทิมทอง ประธานกรรมการบริหาร และ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บลิส- เทล จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่าภายในไม่เกินเดือนกันยายนนี้ บลิส-เทล จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งสำคัญ สำหรับผลประกอบการที่ผ่านมานั้น บลิส-เทล ประสบปัญหาการขาดทุนจำนวน 50-60 ล้านบาท จำนวนช็อปจากเดิมที่มีอยู่ 100 แห่ง ปัจจุบันเหลือเพียง 60 แห่งและมีกำไรเพียง 20 แห่งเท่านั้น

เหตุผลที่บริษัทประสบปัญหาการขาดทุนเนื่องจากค่าเช่าพื้นที่มีอัตราค่อนข้างสูง ผลประกอบการจึงขาดทุนอย่างต่อเนื่องและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการแขวนป้าย "SP" ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาทำให้ไม่สามารถกู้เงินมาเสริมสภาพคล่องภายในบริษัทได้ อีกทั้งต้องซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามาจำหน่ายด้วยเงินสดเท่านั้นเพราะการซื้อด้วยเครดิตไม่มีอีกต่อไปแล้ว

"บลิส-เทล ไม่มีสินทรัพย์มีแต่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโต๊ะเก้าอี้เท่านั้น ส่วนตัวช็อปนั้นเราใช้วิธีการเช่าพื้นที่จาก เทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซี สัญญาแบบปีต่อปี"

นายธชธร กล่าวอีกว่า หลังจากธุรกิจประสบปัญหาการขาดทุนบริษัทพยายามหาทางออกด้วยการสรรหาพันธมิตรที่สนใจเข้ามาบริหารจัดการและในที่สุดได้เจรจากับทาง ซีเอสซี (บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) เนื่องจากต้องการแตกไลน์ธุรกิจคอมพิวเตอร์มายังธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญาร่วมกันโดย ซีเอสซี ทำหน้าที่บริหารพื้นที่จำนวน 40 แห่ง เป็นระยะเวลา 3 เดือนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และ สัญญาจะครบกำหนดภายในเดือนกรกฎาคมนี้

"วันนี้ ซีเอสซี บริหารพื้นที่แทนเราด้วยการจ่ายค่าเช่า บางพื้นที่ยอดขายโทรศัพท์เคลื่อนไปได้ดี บางพื้นที่ก็ประสบปัญหาซึ่งเท่าที่ทราบ ซีเอสซี จะคืนช็อปบางแห่งกลับมาให้เราบางส่วนแต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ซึ่งภายในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้จะมีการประชุมบอร์ดหาทางออกและสรุปโครงสร้างธุรกิจทั้งหมด"

ขณะที่นายพิชัย นีรนาทโกมล ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเท็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ ซีเอสซี กล่าวว่าขณะนี้บริษัทได้เข้าไปเป็นพันธมิตรกับบลิส-เทล ทำหน้าที่บริหารหน้าร้าน บลิส -เทล ช็อป ที่มีอยู่ทั้งหมด 65 สาขาทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นช่องทางการขยายตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ โทรศัพท์เคลื่อนที่รองรับระบบสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ คือ ซัมซุง, โนเกีย,เอชทีซี และ แบล็คเบอร์รี่ ขณะเดียวกันบริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจากับ โมโตโลร่า และ มีแผนพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ เฮาส์แบรนด์ ทั้งฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟนภายใต้แบรนด์ตัวเองขึ้นมาคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในประมาณไตรมาสที่ 4 ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเจรจากับโรงงานไว้บ้างแล้ว

ทั้งนี้ภายหลังจากเข้าไปบริหารจะดำเนินเปลี่ยนชื่อร้าน พร้อมตกแต่งใหม่ ให้อยู่ภายใต้ชื่อแบรนด์ "ซีเอสซี" ทั้งหมด และทำหน้าที่บริหาร ต้นทุน และ สต๊อกสินค้าเองทั้งหมด โดยจะทำให้บริษัทมีช็อปขายมือถือ และสมาร์ทโฟนทั้งหมด 70 แห่ง จากสาขาทั้งหมดที่คาดว่าจะมีในปีนี้ 130 แห่ง

"สาเหตุที่เลือกเข้าไปบริหาร บลิส -เทล แทนการเปิดช็อปเองเพราะ บลิส-เทล ช็อปส่วนใหญ่ประมาณ 70% ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี อาทิ ห้างมาบุญครอง, ห้างบิ๊กซี และ ห้างโลตัส ซึ่งทำเลบางที่ก็ไม่สามารถหาเช่าพื้นที่ได้แล้ว นอกจากนี้จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ส่วนใหญ่ไม่นิยมซื้อมือถือ หรือสมาร์ทโฟน จากร้านขายสินค้าไอที"

ทั้งนี้บริษัทเริ่มเข้ามาทำตลาดมือถือ และ สมาร์ทโฟน ประมาณเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตขึ้นทุก ๆ เดือน ซึ่งในส่วนของแบรนด์ซัมซุงนั้นเริ่มต้นจากไตรมาสละ 10 ล้านบาท แต่ขณะนี้ได้รับเป้าจากซัมซุงให้ทำยอดขายไตรมาสละ 250 ล้านบาท ส่วนแบรนด์โนเกียได้รับเป้าให้ทำยอดขายเดือนละ 35 ล้านบาท

ส่วนเป้ายอดขายรวมปีนี้ตั้งไว้ ไว้ 3 พันล้านบาท โดยมาจากฝั่งสินค้าไอที 2.3-2.4 พันล้านบาท และเป็นรายได้จากโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน 700-800 ล้านบาท เติบโตประมาณ 70-80% อย่างไรก็ตามธุรกิจโมบายเติบโตค่อนข้างเร็ว ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน และ แทบเล็ต จะมียอดขายแซงหน้าสินค้าไอที


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,757 15-18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 381

โพสต์

KBANK นำร่อง Infra Fund พลังงานแสงอาทิตย์ เตรียมพร้อมขายมูลค่า 5,000 ลบ. [ ทันหุ้น, 23 กรกฏาคม 2555 ]


ธนาคารกสิกรไทย-เอสพีซีจี เตรียมออกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) พลังงานแสงอาทิตย์ ระดมทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการโซล่าฟาร์ม หรือ ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนไม่เกิน 7 โครงการ มั่นใจอนาคตเป็นทางเลือกระดมทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และเป็นตัวเลือกลงทุนที่มั่นคงสำหรับนักลงทุน

นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการระดมทุนสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยกลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเอสพีซีจี ได้แต่งตั้งธนาคารกสิกรไทยเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) มูลค่ากองทุนรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท สำหรับลงทุนในโครงการโซล่าฟาร์ม เชิงพาณิชย์ของ เอสพีซีจี จำนวนไม่เกิน 7 โครงการ

โครงการโซล่าฟาร์มของเอสพีซีจี ทั้ง 7 แห่ง เป็นโครงการที่มีศักยภาพทางธุรกิจเนื่องจากตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณแสงแดดที่ดี เหมาะแก่การก่อสร้างโครงการโซล่าฟาร์ม และไม่ได้รับผลกระทบจากสถาณการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2554 โดยโครงการโซล่าฟาร์มทั้ง 7 แห่ง แต่ละแห่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 7.46 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้งรวมอยู่ที่ประมาณ 52.22 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ได้รวม 41 เมกกะวัตต์ ซึ่งไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดจะจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 5 ปี และจะมีการต่ออายุสัญญาโดยอัตโนมัติทุก ๆ 5 ปี

การระดมทุนผ่านการเสนอขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของโซล่า เพาเวอร์ครั้งนี้ น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีศักยภาพที่มั่นใจได้ ทั้งด้านที่ตั้งแหล่งผลิตไฟฟ้า รายได้ของธุรกิจที่มีความมั่นคง เนื่องจากเป็นโครงการที่มีสัญญาการซื้อ-ขายไฟฟ้ากับกฟภ.ในระยะยาว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต่ำ และเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนให้เอกชนลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กองทุนรวมนี้จะมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุน และมีการจ่ายปันผลซึ่งผู้ลงทุนรายย่อยจะได้รับการยกเว้นภาษีจากเงินปันผล

นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า การออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนำร่องด้วยโครงการโซล่าฟาร์มครั้งนี้ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของธนาคารฯ ในตลาดพลังงานทดแทนของธนาคารฯ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถปรับตัวและริเริ่มเครื่องเครื่องมือทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อส่งมอบบริการด้านการเงินอย่างครบวงจร ขณะเดียวกัน ธนาคาร ฯ เชื่อว่าการออกกองทุนรวมจะเป็นแนวทางการระดมทุนที่มีแนวโน้มจะขยายตัวไปสู่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ได้อีกในอนาคต เมื่อภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในสัดส่วนที่สูงขึ้น ซึ่งธนาคารกสิกรไทยมีความเชี่ยวชาญและความพร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุนอย่างเต็มที่

นางสาววันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โดยภาพรวม กลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ มีแผนการพัฒนาโครงการโซล่าฟาร์มจำนวน 34 โครงการ ให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2556 มูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้นกว่า 24,000 ล้านบาท มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 240 เมกะวัตต์ ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่มบริษัทฯ ได้พัฒนาโครงการแล้วเสร็จจำนวน 9 โครงการ ส่วนโครงการที่ 10-16 จะเป็น 7 โครงการที่จะพิจารณาในเบื้องต้นนำเสนอขายเข้าเป็นสินทรัพย์ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยการเสนอขายกองทุนจะเกิดขึ้นหลังการก่อสร้างโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ ประมาณการณ์ผลการดำเนินงานของโครงการทั้ง 7 แห่ง ที่จะเข้ากองทุน บริษัทฯ เชื่อว่าจะมีแนวโน้มรายได้ที่มั่นคง สอดคล้องกับโครงการอื่น ๆ ของบริษัทในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีผลการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์แล้วภายใต้สัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทุกโครงการ สำหรับการระดมทุนผ่านกองทุนรวมดังกล่าวจะช่วยให้โครงการมีเงินลงทุนที่ช่วยสนุบสนุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ดำเนินไปอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท โซล่า เพาเวอร์ มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการพัฒนาโครงการโซล่าฟาร์มทั้ง 34 โครงการ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และสามารถครองความเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของไทยและอาเซียนได้ต่อไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 382

โพสต์

วันที่/เวลา 23 ก.ค. 2555 21:56:32
หัวข้อข่าว ผลการเจาะหลุม Maple-2 ในโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย
หลักทรัพย์ PTTEP
แหล่งข่าว PTTEP
รายละเอียดแบบเต็ม

23 กรกฎาคม 2555

เรื่อง ผลการเจาะหลุม Maple-2 ในโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


ตามที่ บริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย (แอชมอร์ คาร์เทียร์) พีทีวาย จำกัด หรือ พีทีทีอีพี เอเอเอ
(บริษัทย่อยของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.)
เป็นผู้ดำเนินการในแหล่ง Cash-Maple (Permit AC/RL 7) ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลติมอร์ ประเทศออสเตรเลียนั้น

ปตท.สผ. ขอรายงานผลการเจาะหลุมประเมินผล Maple-2 ในแหล่ง Cash-Maple โดยบริษัทฯ
ได้ดำเนินการเจาะถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 4,150 เมตร เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555
โดยได้ทำการทดสอบอัตราการไหล และพบอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
และคอนเดนเสท 696 บาร์เรลต่อวัน
ผลการเจาะหลุมนี้ ทำให้บริษัทฯ มีความมั่นใจในการประเมินปริมาณสำรองปิโตรเลียมของแหล่ง Cash-Maple
มากขึ้น และยังเป็นข้อมูลที่สำคัญในการประมวลผลเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพาณิชย์ของโครงการต่อไป


จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 383

โพสต์

ขอบคุณ คุณpak ที่รายงานข่าวได้ละเอียด ติดตามอ่านมาตลอด
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 384

โพสต์

ปตท.ผ่อนผันสำรองน้ำมันเพิ่มชี้สำรองทำต้นทุนเพิ่ม12-14สต./ล.
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, July 24, 2012


ปตท.อาจยื่นขอผ่อนผันเวลาการดำเนินเพิ่มสำรองน้ำมันจาก 5% เป็น 6% หากสำรวจคลังน้ำมันในเครือฯเหลือไม่พอใช้ เล็งขอเช่าคลังเอกชนอื่นและเช่าเรือเก็บน้ำมัน พร้อมเสนอรัฐผ่อนผันเกณฑ์การสำรองฯให้เป็นระยะ ชี้สำรองน้ำมันเพิ่มดันต้นทุนพุ่ง 12-14 สตางค์/ลิตร

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความพร้อมของกลุ่ม ปตท.ในการเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันตามกฎหมายจาก5% เป็น 6% ของปริมาณการจำหน่ายว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการสำรวจว่ามีถังเก็บน้ำมันบริษัทในเครือฯที่ยังใช้ไม่เต็มที่ รวมทั้งหาเช่าถังเก็บน้ำมันของภาคเอกชนรายอื่น และคลังน้ำมันที่อู่ตะเภา หากไม่เพียงพอก็อาจจะต้องใช้วิธีเช่าเรือเก็บน้ำมัน ดังนั้น ปตท.อาจจะขอผ่อนผันขยายเวลาออกไปมากกว่า 90 วันหลังกรมธุรกิจพลังงานออกกฎหมายบังคับใช้ และอาจเสนอแนวคิดการเพิ่มปริมาณสำรองเป็นระยะ คือ ในช่วง 90 วันแรกให้เพิ่มปริมาณสำรอง 50% ของปริมาณที่จะเพิ่ม และช่วงเวลาถัดไปให้เพิ่มปริมาณสำรองให้ครบถ้วนขณะที่ทางเกาหลีได้เสนอให้ไทยใช้คลังน้ำมันขนาด 40 ล้านบาร์เรลด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจาก ปตท.เป็นผู้ค้าน้ำมันที่มีส่วนแบ่งการตลาด36-37% และเป็นผู้ถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ โรงกลั่นบางจากฯ โรงกลั่นของ บมจ.พีทีทีโกลบอลฯโรงกลั่นไออาร์พีซี รวมถึงโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่งด้วย จึงมีความจำเป็นต้องมีคลังเก็บน้ำมันเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในการสร้างคลังเก็บน้ำมันใหม่เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองตามกฎหมายนั้น จำเป็นต้องสร้างคลังน้ำมันใกล้โรงกลั่นเพื่อลดต้นทุนในการขนส่งไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งปัจจุบันการเก็บสำรองน้ำมันตามกฎหมายก็มีต้นทุนด้านดอกเบี้ยเกิน 7 สตางค์/ลิตรอยู่แล้ว

ดังนั้น การเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันตามกฎหมายจาก 5% เป็น6% ของปริมาณการขาย หรือเป็นพิ่มการสำรองน้ำมันเพื่อจำหน่ายจาก36 วันเป็น 45 วัน ต้องสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 5.83 ล้านบาร์เรลทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 12-14 สตางค์/ลิตร หรือคิดเป็น 60-70 เซ็นต์/บาร์เรล ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้สุดท้ายต้องผลักภาระให้ผู้บริโภคเพราะเป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประชาชน เมื่อต้น มิ.ย.นี้กพช.มีมติเห็นชอบให้มีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์ของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 90 วัน ทั้งน้ำมันดิบและสำเร็จรูป โดยให้เอกชนสำรองเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 6% คิดเป็นปริมาณสำรอง 43 วัน ส่วนที่เหลือรัฐจะต้องลงทุนเองเพื่อสำรองให้ครบ 90 วัน ทั้งนี้โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่งและเชลล์เตรียมยื่นขอผ่อนผันระยะเวลาการสำรองน้ำมันตามกฎหมายออกไปมากกว่า 90 วันเนื่องจากต้องใช้เวลาในการจัดหาสถานที่เก็บน้ำมัน รวมทั้งมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นในการนำเงินไปซื้อน้ำมันมาสำรองเก็บไว้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 385

โพสต์

'เกาหลี'เล็งสร้างคลังน้ำมันเปิดไทยสำรองยุทธศาสตร์
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, July 24, 2012


"เกาหลี" ชงไอเดียสร้างคลังในไทย-ให้ไทย เช่าคลังน้ำมันในเกาหลี รองรับสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์ 90 วัน ลดการลงทุนของไทย ด้าน ปตท.ระบุทำเลสร้างคลังในไทย หายาก ขณะที่กรมธุรกิจพลังงาน เตรียมออกประกาศผ่อนหลักเกณฑ์การสำรองน้ำมันเอกชน 6%

นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานสัมมนา เรื่อง "Energy Forum on Oil Risk Management" ร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลี ว่า ขณะนี้ กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการเร่งศึกษารูปแบบ และแนวทางการสำรองน้ำมันทาง ยุทธศาสตร์ โดยพิจารณารูปแบบของ ประเทศอื่นๆ ที่มีประสบการณ์และ ความพร้อม อาทิเช่น เกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวัน ที่เป็นผู้นำเข้าพลังงานเช่นเดียวกับไทย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการสำรองน้ำมันกว่า 100 วัน

การสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ 90 วัน จาก 43 วันหรือ 6% ของไทย จะต้องพิจารณาโมเดลการลงทุนให้ชัดเจน และรอบคอบ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูงมากหรือ อาจตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ เพื่อดูแลบริหาร น้ำมันสำรองโดยเฉพาะ เพราะหากให้ภาคเอกชนลงทุนเอง อาจผลักภาระต้นทุนมายังผู้บริโภค

ทั้งนี้ การสำรองดังกล่าวสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 85% จึงมีความเสี่ยงในกรณีเกิดความไม่สงบ หรือภัยธรรมชาติ

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาของการเพิ่มสำรองน้ำมันของไทย คือ สถานที่สร้างคลังน้ำมัน มีจำกัด เพราะจะต้องสร้างในจุดที่เหมาะสม โดยคลังเก็บน้ำมันดิบควรอยู่ใกล้โรงกลั่นน้ำมัน ขณะที่คลังเก็บน้ำมันสำเร็จรูปควรอยู่ตามแนวท่อน้ำมันเพื่อให้เชื่อมโยงการขนส่ง

"การลงทุนสร้างคลังนั้น มีได้หลาย รูปแบบ ทางเกาหลีให้ข้อมูลว่ามีศักยภาพที่จะเป็นผู้สร้างคลังให้ไทยเช่าได้ หรือไทยสามารถไปเช่าคลังในเกาหลีได้ ซึ่งเหลือพื้นที่รองรับน้ำมันได้ 40 ล้านบาร์เรล" นายณัฐชาติกล่าว

เขากล่าวต่อว่า สำหรับการให้ผู้ค้าน้ำมันเพิ่มสำรองน้ำมันตามกฎหมายเป็น 6% นั้น ทำให้ต้องมีการสำรองน้ำมันเพิ่มอีกประมาณ 4.6 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 12-14 สตางค์ต่อลิตร โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะต้องบวกรวมไปในเนื้อน้ำมัน ซึ่งประชาชนต้องเป็นผู้ร่วมแบกรับภาระ

นายลิม จี ฮอง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประเทศไทย กล่าวว่า เกาหลีได้มีการจัดสำรองน้ำมัน 190 วันหรือ 140 ล้านบาร์เรล จากคลังน้ำมันที่มีอยู่ 9 แห่ง โดยภาครัฐสำรอง 90 วัน และอีกประมาณ 50 วันเป็นภาคเอกชนในประเทศ 4 ราย ส่วนอีก 40 วันเปิดให้ต่างประเทศมาเช่าคลังเก็บน้ำมัน โดยเกาหลีพร้อมให้การสนับสนุนไทยในการสำรอง โดยขอเช่าคลังเก็บน้ำมันของเกาหลีได้

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า กรมเตรียมออกประกาศให้ผู้ค้าน้ำมันและโรงกลั่นเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันตามกฎหมายจาก 5% เป็น 6% ของปริมาณการจำหน่าย พร้อมวางแนวทางการผ่อนผันหลักเกณฑ์ให้ผู้ค้าน้ำมัน ไม่จำเป็นต้องมีสำรองให้ได้ 6% ทุกวัน แต่ภายใน 1 เดือนต้องมีการสำรองน้ำมันเฉลี่ยให้ได้ตามกฎหมาย 6% และกรมยังจะปรับลดหลักเกณฑ์สำรองน้ำมันดิบ 18 วัน และน้ำมันสำเร็จรูป 18 วันให้ยืดหยุ่นมากขึ้น



ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 386

โพสต์

4ยักษ์รุกพม่าปูนใหญ่-สหพัฒน์-ซีพี-ปตท.เพิ่มลงทุนเต็งเส่งเปิดประตูรับไม่จำกัดธุรกิจ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Tuesday, July 24, 2012


โพสต์ทูเดย์ - เต็งเส่ง รับทุนไทย4 บริษัทยักษ์ ปูนซิเมนต์ไทยสหพัฒน์ ซีพี ปตท. พาเหรดนำหน้า

เมื่อวันที่23 ก.ค. พล.อ.เต็งเส่งประธานาธิบดีเมียนมาร์ ได้เปิดโอกาสผู้นำภาคเอกชนไทย รวมทั้งผู้แทน 3 บริษัทใหญ่ คือ บริษัท ปตท.บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย และเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร รวม 25 คนเข้าพบ นอกจากนี้ยังได้พบและหารือเป็นรายบริษัท บริษัทละ25-30 นาที

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า ระบุว่า ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ได้แจ้งว่า อยากให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนด้านเครื่องนุ่งห่ม สินค้าเกษตร น้ำมันปาล์ม โรงสี กิจการประมง ห้องเย็น และการแปรรูปผัก ผลไม้ ฯลฯ รวมทั้งขุดเจาะก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในพม่ามากขึ้นเพราะไม่พอใช้ อีกทั้งมีนักลงทุนเข้าไปลงทุนมาก

"พม่าจะออกกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนฉบับใหม่ใน 2 เดือน โดยจะมีสิทธิประโยชน์พิเศษในกิจการและในพื้นที่ที่ส่งเสริม เช่น รัฐยะไข่ย่างกุ้ง ทวาย เมียวดี ฯลฯ โดยเครือสหพัฒน์ต้องการเข้าทำนิคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ลงทุนกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง" นายธนิต ระบุ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เปิดเผยว่า พม่าเป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของ ปตท. จากที่เข้าไปทำสัญญาขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ปตท.จะได้สิทธิซื้อก๊าซส่วนเกิน แต่เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขาดแคลนในพม่าระยะสั้น ปตท.จะยกสิทธิส่วนนี้ให้พม่านำไปผลิตกระแสไฟฟ้า โดยปตท.จะช่วยเหลือในการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคต รวมทั้งด้านบุคลากร

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า มีข้อตกลงเบื้องต้นว่าจะลดสัดส่วนการซื้อขายที่สัดส่วนเกินสัญญาที่ระบุไว้ลง เพื่อให้พม่ามีก๊าซไว้ใช้ในประเทศอย่างเพียงพอ แต่ยังจะอยู่ในกรอบสัญญาเดิมเพื่อไม่ให้กระทบต่อการจัดส่งก๊าซมายังไทย

"ขณะที่ ปตท.เสนอจะเข้าไปร่วมศึกษามาสเตอร์แพลนของพม่าที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคในประเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบท่อน้ำมัน ท่อก๊าซ ตลอดจนอุตสาหกรรมปลายน้ำ หรือดาวน์สตรีม"นายเทวินทร์ ระบุ

ด้านนายดิเรก ศรีประทักษ์กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารและกรรมการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพี) กล่าวว่า ประธานาธิบดีเมียนมาร์แจ้งว่าอยากให้เข้าไปลงทุนในพม่าไวๆเพราะต้องการให้เกิดการจ้างงานมากที่สุด ซีพีจึงจะเพิ่มการลงทุนในพม่าอีก 550 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 1.7 หมื่นล้านบาทในธุรกิจโรงสีข้าว ธุรกิจอาหารสัตว์

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 387

โพสต์

PTT to set up R&D university
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, July 24, 2012


PTT Plc has announced plans to develop what it bills as the country’s first research and development university over the next three years in Rayong’s Map Ta Phut area.

Chief executive Pailin Chuchottaworn said the Rayong Institute of Science and Technology (RIST) will stand on 200 rai belonging to subsidiary IRPC Plc.

He was speaking after yesterday’s Dr Sippanondha Ketudat Award ceremony for student achievement.

"We’re studying details of the university project, with plans to use an economic development model from South Korea," said Dr Pailin.

He said the R&D institute would not focus solely on the PTT Group.

"We’ll use the university as a pilot project for the country to lead the economy using science and technology," said Dr Pailin, adding that Thailand’s is no longer a labour-intensive economy.

He said the group expects the institute to become the country’s leading R&D facility and serve commercial interests.

The World Economic Forum’s 2012 global competitiveness report showed Thailand ranked 54th out of 142 countries, far behind other Asian countries including Singapore (8th), Taiwan (9th), South Korea (14th), China (29th) and India (38th).

Dr Pailin said RIST will not only benefit Rayong province but also raise awareness of the importance of science and technology in the country.

The PTT Group will also set up a high school to serve RIST later on.

PTT shares closed yesterday on the Stock Exchange of Thailand at 326 baht, down 14 baht, in heavy trade worth 1.54 billion baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 388

โพสต์

ปตท.สผ.รู้ผลซื้อโคฟ31ก.ค.หนุนหุ้นเดิมใช้สิทธิเพิ่มทุน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, July 24, 2012


ปตท.สผ.เผยรู้ผลซื้อโคฟ 31 ก.ค.นี้ มั่นใจเพิ่มทุนได้ตามเป้า 9.8 หมื่นล้านบาท ใช้ซื้อโคฟ-รองรับแผนลงทุน 3 ปีข้างหน้า ด้าน ปตท.เตรียมเงินสด-กู้บางส่วน เพิ่มทุน ปตท.สผ. ขณะนักวิเคราะห์คาดฉุดกำไรต่อหุ้น 22% กระทบราคาหุ้นระยะสั้น 16.4%

นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) กล่าวว่า บริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถเพิ่มทุน และมีเงินเข้าบริษัทได้ตามเป้าหมาย 9.8 หมื่นล้านบาท หลังจากบริษัท ปตท. (PTT) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประกาศจะใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของการเพิ่มทุนทั้งหมด เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในระดับ 65.29% ไว้ ขณะที่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนรายอื่นก็คาดว่าจะเชื่อมั่นในบริษัทและใส่เงินเข้ามาเช่นเดียวกัน

"เราตั้งใจให้ผู้ถือหุ้นเดิมจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น และรักษาผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนของบริษัท ทำให้ไม่เกิดไดลูชั่นของผลตอบแทน" น.ส.เพ็ญจันทร์กล่าว

ทั้งนี้ เม็ดเงินที่ได้จากการเพิ่มทุน ส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับการประมูลซื้อ

สำหรับการประมูลซื้อกิจการบริษัท โคฟ เอ็นเนอยี่ (Cove Energy) ส่วนที่เหลือก็เตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนในอนาคต ทั้งในเรื่องสภาพคล่อง และฐานะทางการเงิน ซึ่งได้คำนวณแล้วว่า การเพิ่มทุนในระดับนี้จะทำให้โครงสร้างเงินทุนแข็งแรง อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (DE) อยู่ในระดับแข็งแกร่งที่สุด หรือไม่เกิน 0.5 เท่า

"เงินที่เข้ามาต้องบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ มากที่สุด เพื่อให้สามารถไปแข่งขันประมูลโครงการอื่นๆ กับคู่แข่งได้ในอนาคต ซึ่งเงิที่ได้มา เพียงพอสำหรับการลงทุนในช่วง 3 ปีข้างหน้า"

แจงจัดสรรหุ้นให้ ปตท.มาก

เธอกล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการบริษัทมีมติ อนุมัติแผนการเพิ่มทุน บริษัทได้ประชุมทางโทรศัพท์กับนักวิเคราะห์ไป 2 รอบ ในวันที่ 20-21 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์การเพิ่มทุน โดย นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีคำถามเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนว่า บริษัทให้สิทธิ ปตท.มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่น

บริษัทได้ชี้แจงไปว่า บริษัทตั้งใจให้สิทธิ ผู้ถือหุ้นเดิมเท่ากัน แต่ติดขัดในเรื่องกฎหมาย ทั้งกฎหมายไทยและสหรัฐอเมริกา โดยกฎหมายสหรัฐ ระบุว่า ถ้ามีผู้ถือหุ้นสหรัฐถือหุ้นรวมกันเกิน 10% จะเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) ไม่ได้ จะต้องยื่นเสนอข้อมูลเบื้องต้นหรือไฟลิ่งเหมือนเป็นบริษัทในสหรัฐซึ่งทำได้ยาก บริษัทจึงได้จัดสรรออกมา 3 แบบ คือ ให้บริษัท ปตท. ประชาชนทั่วไป และ ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (กรีนชู)

รู้ผลซื้อ "โคฟ" 31 ก.ค.นี้

นางสาวเพ็ญจันทร์ กล่าวถึง ความชัดเจนเรื่องการเสนอซื้อหุ้น บริษัท Cove Energy Plc. (โคฟ) นั้น ภายใต้กฎหมายอังกฤษได้กำหนดเวลาให้มีการเสนอซื้อหุ้นจนถึงสิ้นเดือนนี้หรือจนถึงวันที่ 31 ก.ค. 2555 ดังนั้น ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดจนถึงวันสิ้นสุด เพราะในระหว่างนี้ทุกรายสามารถเข้ามาเสนอซื้อหุ้นเพิ่มเติมได้

"ไม่สามารถบอกได้ว่าราคาเสนอซื้อหุ้นโคฟ ของ ปตท.สผ.ที่ 240 เพนซ์ต่อหุ้น หรือ 1,900 ล้านดอลลาร์ นั้น จะเป็นราคาสุดท้ายหรือไม่ เพราะยังมีเวลาสำหรับรายอื่นๆ ที่จะเสนอซื้อหุ้นเข้ามาได้อีก" นางสาวเพ็ญจันทร์กล่าว

เพิ่มทุนตามแผนเพิ่มกำลังผลิต

เธอกล่าวอีกว่าการเพิ่มทุนของ ปตท.สผ.เป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมการรองรับการซื้อหุ้นในโคฟ แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพรวมการลงทุนของ ปตท.สผ. เพื่อรองรับการเติบโต และทำให้ได้ตามเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากทั่วโลก ในปี 2563 เป็น 900,000 บาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันผลิตได้ 280,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป้าหมายการเติบโตดังกล่าว ทำให้ ปตท.สผ.ต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมในการลงทุน โดยเฉพาะฐานะการเงินที่ต้องแข็งแรง

"ยืนยันว่า การซื้อหุ้นครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ ปตท.สผ.มั่นใจในศักยภาพปิโตรเลียมของแหล่งนี้ ซึ่งหากไม่มีศักยภาพก็คงไม่มียักษ์ใหญ่เข้ามาแข่งขันเสนอซื้อหุ้น และทุกรายคาดหวังที่จะได้" นางสาวเพ็ญจันทร์กล่าว

แม้โคฟจะถือหุ้นสัดส่วนเพียง 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิค แต่ก็เป็นแหล่งที่มีศักยภาพ ดังนั้น จะพิจารณาแต่สัดส่วนนี้เท่านั้นคงไม่ได้ แต่ต้องดูทั้งภาพรวมทั้งหมดด้วย

"แม้ว่าจะเป็นสัดส่วนหุ้นที่ไม่มากนัก แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งสัมปทานที่มีศักยภาพก็ถือเป็นโอกาสแล้ว และการเป็นผู้บริหารแหล่งสัมปทานหรือไม่ก็ไม่สำคัญเช่นเดียวกัน ขอให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งที่ถือหุ้นในแหล่งที่มีศักยภาพ ส่วนแหล่งก๊าซที่ได้จะส่งกลับมาที่ไทยหรือไม่ เป็นอีกประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไป"

ยันไม่ปรับแผนลงทุน 5 ปี

สำหรับการลงทุนของ ปตท.สผ.นั้น ในระยะหลังการสำรวจและขุดเจาะเป็นแหล่งที่มีความยากมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เช่น น้ำลึก หรือแหล่งปิโตรเลียมในชั้นหิน จึงจำเป็นต้องหาพันธมิตรมาร่วมกันบุกเบิกก่อน

ส่วนแผนลงทุนระยะ 5 ปี ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะได้บรรจุแผนภาพรวมใน การจัดหาแหล่งพลังงาน ทั้งในและนอกประเทศไว้แล้ว โดยในปี 2555-2559 ลงทุนรวม 20,000 ล้านดอลลาร์ เป็นในประเทศ 55% และต่างประเทศ 45%

ทั้งนี้ บริษัทโคฟ เอ็นเนอยี่ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Investment Market (AIM) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีสินทรัพย์หลัก คือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิค ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ คาดมีปริมาณสำรอง 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึง แหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect และ Cove ยังถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area ในโมซัมบิค รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลง ในเคนยา

ปตท.คาดใช้เงินกู้บางส่วนซื้อหุ้นเพิ่มทุน

ด้านนายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.กล่าวว่า ปตท.ได้เตรียมเงินทุนสำหรับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ปตท.สผ. แล้ว โดยไม่กระทบกับสภาพคล่อง หรือการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งจะใช้เงินสดจากการดำเนินงาน และอาจจะมีการกู้เข้ามาเพิ่มเติม

ในส่วนของการกู้เงินนั้น ไม่ได้กู้มาเพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ปตท.สผ.เป็นการเฉพาะ แต่เพื่อบริหารโครงสร้างเงินทุนของบริษัทด้วย โบรกฯ ชี้กระทบราคาหุ้น 16-22%

บล.เอเซียพลัส วิเคราะห์ว่า การประกาศการเพิ่มทุนดังกล่าวถือเป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยคาดไว้ ซึ่งจากการประมาณการของฝ่ายวิจัยพบว่าจะเกิด Dilution Effect ต่อกำไรต่อหุ้น (EPS) ในปี 2555 และ 2556 เฉลี่ยประมาณ 22% ภายใต้สมมติฐานรายได้และกำไรสุทธิปี 2555 และ 2556 ยังคงเดิม ทำให้ในระยะสั้นฝ่ายวิจัย มีมุมมอง เชิงลบต่อการเพิ่มทุนครั้งนี้ แม้จะเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อขยายการลงทุนในโครงการผลิตและสำรวจปิโตรเลียมขนาดใหญ่ตามแผนที่กำหนดไว้

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า ประเด็นการเพิ่มทุนจะกระทบต่อราคาหุ้นในระยะสั้น จากไดลูชั่น เอฟเอฟเฟคท์ (Dilution effect) ประมาณ 16.4% และแผนการใช้เงินเพิ่มทุนที่ไม่ชัดเจนกดดันราคาหุ้นไปจนกว่าการเพิ่มทุนจะแล้วเสร็จ โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยใน ต่างประเทศ มีโอกาสจะไม่ได้รับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน เพราะมีข้อกำหนดในบางประเทศ เช่น สหรัฐ ที่จะต้องยื่นไฟลิ่ง จึงจะสามารถขายหุ้นเพิ่มทุนได้ ซึ่งผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้รับสิทธิอาจจะพิจารณาขายหุ้นออกมาก่อน จึงเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นในระยะสั้น และประเมินว่า จะกระทบกำไรต่อหุ้นในปี 2556 ลดลงจาก 19.24 บาท เป็น 16.09 บาท

ทั้งนี้ ปตท.สผ.จะมีความคล่องตัวในการบริหารและจัดสรรเงินทุนได้ดียิ่งขึ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะลดลงจาก 0.33 เท่าในไตรมาส 1 ปีนี้ เป็น 0.22 เท่า ส่วนของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.61 พันล้านดอลลาร์ ทำให้มีความสามารถในการก่อหนี้เพิ่มได้อีก 2.7 พันล้านดอลลาร์ รองรับการเข้าซื้อโคฟ 2.17 พันล้านดอลลาร์ และออกหุ้นกู้ 500 ล้านดอลลาร์ของพีทีทีอีพี แคนาดา ในเดือน มิ.ย. โดยไม่ทำให้ DE เกิน 0.5 เท่า

ราคาหุ้น ปตท.สผ. (PTTEP) ปิดตลาดวานนี้ (23 ก.ค.) ลดลง 8.00 บาท หรือ 4.83% อยู่ที่ 157.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,241.73 ล้านบาท

การซื้อหุ้นผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบปตท.มั่นใจในศักภาพของเหล่งนี้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 389

โพสต์

ปรับแผนนำเข้าแอลเอ็นจีใหม่รับเศรษฐกิจฟื้นดันปริมาณใช้พุ่ง/ปตท.เร่งผุดคลังเฟส2
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, July 25, 2012


กระทรวงพลังงาน เตรียมชงแผนการจัดหาก๊าซ เสนอกพช.เดือนส.ค.นี้ หลังปริมาณความต้องการใช้พุ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีในปริมาณที่มากกว่าแผน ขณะที่ปตท.รับลูกเร่งผุดคลังระยะ 2 ในอีก 3 ปีข้างหน้า กำเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท ลงทุนเพิ่ม พร้อมเล็งหาพื้นที่ใหม่ระยะที่ 3 รองรับแอลเอ็นจีนำเข้าอีก 10 ล้านตัน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานไปร่วมกับบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) ใน

การจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับความต้องการในอนาคตนั้นขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างสรุปแผนการจัดหาดังกล่าวและคาดว่าจะนำเสนอกพช.อนุมัติในแผนจัดหาได้ประมาณเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้

ทั้งนี้ เนื่องจากเวลานี้ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภาคไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่ง มีการเติบโตค่อนข้างมากจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทำให้ความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ4,328ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจากปีก่อนอยู่ในระดับ4,143 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันและมีการประเมินว่าในปีต่อๆไปความต้องการใช้ก๊าซจะเพิ่มสูงขึ้นอีกเกินกว่ากำลังการจัดหาในประเทศได้

อย่างไรก็ดี จากความต้องการใช้ก๊าซดังกล่าวทำให้ต้องไปเร่งให้ทางบมจ.ปตท.ดำเนินการก่อสร้างคลังรับ-จ่ายก๊าซแอลเอ็นจีในระยะที่ 2 ขนาด 5 ล้านตันเร็วขึ้น เนื่องจากคลังแอลเอ็นจีระยะแรกขนาด 5 ล้านตัน จะรับแอลเอ็นจีเต็มศักยภาพเร็วกว่าที่เคยวางแผนไว้ในอีก4-5ปีข้างหน้าจากเดิมที่มองไว้จะใช้ระยะเวลาถึง10ปี เพราะเห็นได้จากการนำเข้าแอลเอ็นจีภายในปีนี้เดิมคาดว่าจะนำเข้าเพียง1 ล้านตัน แต่ช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมานำเข้าเกินกว่า1ล้านตันแล้วดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปรับแผนการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีใหม่ ที่จะไปเร่งการก่อสร้างคลังแอลเอ็นจีในระยะที่2ให้แล้วเสร็จในอีก3-4ปีข้างหน้าเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อความต้องการใช้ก๊าซที่เพิ่มขึ้น

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยว่า ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้แผนลงทุนคลัง เอลเอ็นจี ระยะที่ 2 ขนาด 5 ล้านตัน ในพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง เร็วขึ้นจากแผนเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี2558-2559 เพราะคลังแอลเอ็นจีระยะที่1 จะเต็มภายในไม่กี่ปีข้างหน้าขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนงบการลงทุนอยู่ ที่คาดว่าจะใช้ประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาทต่ำกว่าการลงทุนระยะแรกที่ใช้ประมาณ3.3 หมื่นล้านบาท เพราะเป็นการก่อสร้างถังเก็บแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี ที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติ ทดแทนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหินทำให้ต้องมีการวางแผนรองรับการนำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้นอีกซึ่งขณะนี้ได้เริ่มมองหาสถานที่การก่อสร้างคลังแอลเอ็นจีในระยะที่ 3 ขนาดอีก10 ล้านตันแล้ว ส่วนจะต้องเร่งก่อสร้างหรือไม่นั้น ต้องดูว่าปริมาณความต้องการใช้ก๊าซจะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดหลังจากคลังแอลเอ็นจีระยะที่ 2 ก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะขณะนั้นโรงไฟฟ้าถ่านหินอาจจะได้รับการยอมรับจากประชาชนแล้ว

"ตอนนี้คลังแอลเอ็นจีเฟส 2 ที่ขยายจากเฟสแรก น่าจะเสร็จเร็วกว่าแผน แต่ในส่วนของเฟส 3 เป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากหากสร้างคลังอย่างเดียวคงไม่เท่าไร แต่ต้องมีท่าเทียบเรือด้วยส่วนจะเป็นพื้นที่ในจังหวัดระยองอีกหรือไม่นั้นต้องรอผลการศึกษาก่อนอย่างไรก็ตามคลังแอลเอ็นจีเฟส 3 ยังไม่อยู่ในแผน5ปีที่เตรียมเสนอบอร์ดในเดือนสิงหาคมนี้" นายสุรงค์ กล่าว

นายณัฐชาติจารุจินดาประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ความต้องการใช้ก๊าซในประเทศเติบโตขึ้นมากทำให้ต้องขยายคลังรองรับแอลเอ็นจีเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตัน ในพื้นที่มาบตาพุดแม้ว่าผลตอบแทนการลงทุนคลังแอลเอ็นจี ทางคณะกรรมการกับกิจการพลังงานหรือเรกูเลเตอร์ จะคิดผลตอบแทนการลงทุนหรือไออาร์อาร์เท่ากับศูนย์ก็ตาม แต่บมจ.ปตท.ก็จำเป็นต้องขยายคลังเพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนเฟส 3 จะมาเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับแผนพีดีพีด้วย ตอนนี้กำลังหาพื้นที่สร้างคลังแห่งใหม่อยู่ เพราะการก่อสร้างคลังและการหาสถานีที่ต้องใช้เวลา 6-7 ปี

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 390

โพสต์

บางจาก'ซ่อมหอกลั่นเสร็จเตรียมเดินเครื่องหน่วยกลั่นที่3 'อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล'ลุ้นต่ออายุบิ๊กบอสอีก2ปีจนเกษียณ
แหล่งข่าว : พิมพ์ไทย, วันที่ : 25/07/2012


"บางจาก" จ่าย 300 ล้านซ่อมหอกลั่นหน่วยที่ 3 เรียบร้อย เตรียมแผนกลั่นเต็มกำลังผลิต110,000-120,000 บาร์เรลต่อวัน "อนุสรณ์" ยังหวังที่ประชุมคณะกรรมการวันนี้จะต่ออายุ อีก 2 ปี

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่าแผนการก่อสร้างหอกลั่นฯ เคโรซีน ในหน่วยกลั่นที่3 ที่ถูกไฟไหม้เมื่อเร็ว ๆ นี้จะเสร็จสิ้นตามแผนในกลางเดือนตุลาคม หลังจากนั้นจะเดินหน้าผลิตเต็มกำลังกลั่น 110,000-120,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อเพิ่มกำลังกลั่นชดเชยการกลั่นฯ ของหน่วย 3 ที่หยุดนาน 3 เดือน โดยจะส่งผลให้กำลังกลั่นฯ เฉลี่ยของบางจากฯ ปีนี้อยู่ที่ประมาณ 80,000 บาร์เรล/วัน โดยในขณะนี้บางจากฯ ได้เดินเครื่องกลั่นหน่วย2 และ 4 กำลังกลั่นรวม 45,000 บาร์เรลต่อวันและมีการนำเข้ารวมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ-กลุ่ม ปตท.ในการร่วมกันดูแลน้ำมันในประเทศไม่ให้เกิดปัญหาในช่วงซ่อมแซมโรงกลั่นฯจึงไม่มีปัญหาน้ำมันขาดแคลนแต่อย่างใด

สำหรับค่าสร้างหอกลั่นเคโรซีนดังกล่าว ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 200-300 ล้านบาท สูงกว่าที่ประมาณการเดิมที่ 100 ล้านบาท เนื่องจากบางจากฯ ได้ปรับเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าในโรงกลั่นฯ ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันอุบัติภัย โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นยังคาดว่าจะเป็นไปตามคาดการณ์เดิมที่ประมาณ500 ล้านบาท เพราะส่วนใหญ่อยู่ในวงเงินประกันภัย ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาก่อสร้างซ่อมแซมหอกลั่น คือ โตโยไทย ซึ่งทางบางจากฯ จะเชิญทางโรงกลั่นฯ ของญี่ปุ่นมาช่วยให้คำปรึกษาร่วมดูแลเรื่องการเดินเครื่องโรงกลั่นฯ เพื่อเสริมความปลอดภัยให้มากขึ้น

นายอนุสรณ์ ยังกล่าวขอบคุณทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ให้กำลังใจในการทำงาน โดยที่ผ่านมาได้ทำงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บางจากฯ และจะครบ 2 วาระ 8 ปี ในสิ้นเดือนธันวาคม 2555 ซึ่งคณะกรรมการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ในคณะกรรมการบางจากฯ ชุดที่แล้ว ได้มีมติเสนอให้ดำรงตำแหน่งต่ออีก 2 ปีหรือจนกว่าจะเกษียณ โดยบางจากฯ ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น ข้อกำหนดจึงไม่เหมือนกับภาครัฐที่ให้ดำรงตำแหน่งได้ 2 วาระเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการชุดปัจจุบันจะมีมติอย่างไร หากเห็นว่าตนจะทำประโยชน์ต่อบางจากฯ ที่ทำงานมานานถึง 27 ปีได้ต่อไป และให้อยู่ทำงานต่อก็พร้อมทำงานต่อ แต่หากมีมติไม่ต่อวาระก็ไม่เป็นไร ก็คงจะต้องไปทำงานอย่างอื่น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."