การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

nattika.s
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การปันผล
ตามปกติ บริษัทจะคืนผลตอบแทนการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นในรูปของการปันผล อย่างไรก็ตาม การปันผลของบริษัทอาจทำได้ 3 วิธีคือ
1. การปันผลเป็นเงินสด บริษัทจะแจกจ่ายกำไรที่เกิดขึ้นการจากบริหารให้แก่ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินสด โดยจำนวนเงินปันผลที่จ่ายและความถี่ในการจ่ายเงินปันผลนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท (ซึ่งมักจะแตกต่างกัน) ตัวอย่างเช่น บางบริษัทอาจจ่ายปันผล 100% จากผลกำไรทั้งหมด แต่บางบริษัทอาจจ่ายเพียงครึ่งเดียว เพื่อเก็บเงินที่จะจ่ายปันผลไปลงทุนต่อ หรือบางบริษัทอาจจะจ่ายปันผลทุกปี ปีละ 1 ครั้ง แต่บางบริษัทอาจจะจ่ายปันผลในทุกๆไตรมาส
2. การปันผลเป็นหุ้น บริษัทจะแจกจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นในรูปของการให้หุ้นเพิ่ม การจ่ายปันผลเป็นหุ้นจะส่งผลดีกับบริษัทในแง่ที่บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินสดออกไป ทำให้บริษัทสามารถออมเงินสดไว้เพื่อใช้ในการบริหารหรือลงทุนในธุรกิจต่อไป แต่สำหรับผู้ถือหุ้น
เมื่อบริษัทประกาศจ่ายหุ้นปันผล (ซึ่งทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น) จะทำให้กำไรต่อหุ้น (EPS) ลดลงหรือเจือจางลง (เรียกว่าเกิด dilutive effect) เนื่องจาก บริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าเดิม แต่จำนวนหุ้นในบริษัทกลับมีมากขึ้น กำไรต่อหุ้นจึงถูกเจือจางด้วยผลของการออกหุ้นปันผล
ตัวอย่างเช่น บริษัท ก. มีจำนวนหุ้นทั้งหมด 10,000,000 หุ้น และประกาศจ่ายปันผลเป็นตัวหุ้นในอัตราส่วน 10:1 จะทำให้บริษัทมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 1,000,000 หุ้น ดังนั้น จำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทจึงเพิ่มเป็น 11,000,000 หุ้น สมมติว่าบริษัททำกำไรได้ 10,000,000 บาท เมื่อบริษัทประกาศจ่ายหุ้นปันผล กำไรที่เคยเป็น 1 บาทต่อหุ้นก็จะลดลงเหลือเพียง 0.91 บาท และถึงแม้ว่าบริษัทจะทำกำไรได้เพิ่มขึ้นอีก 10% แต่ในด้านของผู้ถือหุ้นนั้นเท่ากับเสมอตัว เนื่องจากกำไรต่อหุ้นก็ยังคงเป็น 1 บาทเท่าเดิม
อย่างไรก็ดี การจ่ายหุ้นปันผลเหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดเล็ก จำนวนหุ้นน้อย การจ่ายปันผลเป็นหุ้นจะทำให้หุ้นของบริษัทมีสภาพคล่องมากขึ้น เพิ่มจำนวนหุ้นในการซื้อขายมากขึ้น และเพิ่มโอกาสการลงทุนให้กับผู้ถือหุ้น
3. บริษัทอาจจะเลือกจ่ายปันผลในทั้งสองรูปแบบ โดยจ่ายเงินสดและแจกหุ้นของบริษัท ในทางปฏิบัติ บริษัทที่เลือกจ่ายหุ้นปันผลมักเลือกที่จะจ่ายเงินสดเท่ากับจำนวนภาษีที่ผู้ถือหุ้นต้องจ่ายควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับผู้ถือหุ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่ต้องหาเงินสดมาจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในยามที่ได้รับการปันผลเป็นหุ้น

หุ้นแตกพาร์
การแตกพาร์ของหุ้นคือ การลดราคาพาร์ของหุ้นลง ทำให้หุ้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ตามปกติแล้ว การแตกพาร์จะส่งผลให้หุ้นมีสภาพคล่องในการซื้อขายเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างเช่น บริษัท ข. มีหุ้นจำนวน 1,000,000 หุ้น ราคาพาร์ 10 บาทต่อหุ้น เมื่อบริษัท ข. ลดราคาพาร์ของหุ้นลงจนเหลือหุ้นละ 1 บาท จำนวนหุ้นของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000,000 หุ้น
ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การแตกพาร์ทำให้หุ้นมีสภาพคล่องมากขึ้นจากตัวอย่างเดิมสมมติว่าหุ้นซื้อขายในตลาดด้วยราคา 600 บาทต่อหุ้น หาก นาย ค. สนใจที่จะลงทุนในหุ้นของบริษัท ข. จำนวน 1,000 หุ้น นาย ค. จำเป็นต้องใช้เงินทั้งหมดจำนวน 600,000 บาทในการลงทุน ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูง แต่เมื่อบริษัทแตกพาร์หุ้น ราคาหุ้นจะลดลงเหลือเพียง 60 บาท ทำให้ นาย ค. สามารถใช้เงินเพียง 60,000 บาทในการลงทุน เมื่อนักลงทุนสามารถเข้าถึงการลงทุนในหุ้นของบริษัท ข. ได้ง่ายขึ้น หุ้นของบริษัท ข. จึงมีสภาพคล่องมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การแตกพาร์นี้มิได้ส่งผลกระทบ ใดๆ ในแง่เงินทุนของบริษัท

หุ้นซื้อคืน
หุ้นซื้อคืนคือ หุ้นของบริษัทที่ออกจำหน่ายและซื้อขายกันในตลาดแต่ถูกบริษัทหรือบริษัทย่อยซื้อคืนมาเก็บไว้ การที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัทคืนมา มักเกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีกำไรจำนวนมากและบริษัทได้เล็งเห็นแล้วว่า ราคาซื้อขายในตลาดของหุ้นต่ำเกินกว่าราคาที่ควรเป็น บริษัทจึงมักซื้อหุ้นของตัวเองคืนมา
การซื้อหุ้นคืนจะทำให้ กำไรต่อหุ้น (EPS) เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทต้องบันทึกหุ้นซื้อคืนหักจากจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ตัวอย่างเช่น บริษัท ง. มีหุ้นทั้งหมดจำนวน 1,000,000 หุ้น บริษัททำการซื้อหุ้นคืนจำนวน 100,000 หุ้น ทำให้หุ้นที่ถืออยู่ในมือผู้ถือหุ้นมีจำนวนน้อยลงเหลือ 900,000 หุ้น เมื่อตัวหารลดลงแต่กำไรยังคงเดิม กำไรต่อหุ้นจึงเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น เมื่อเวลาจ่ายปันผล ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับการปันผลโดยไม่ต้องแบ่งให้กับผู้ถือหุ้นซื้อคืน (ซึ่งก็คือตัวบริษัทเองหรือบริษัทย่อยของบริษัทเอง) เพราะเงินหรือหุ้นที่ถูกแจกจ่ายออกมาเป็นปันผลจะมิได้แบ่งไปให้กับส่วนของหุ้นซื้อคืน การซื้อหุ้นคืนจึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ถือหุ้น
เหตุผลหนึ่งในการซื้อหุ้นของบริษัทกลับคืนมาคือ บริษัทสามารถทำกำไรจากหุ้นที่ซื้อคืนได้ โดยการขายหุ้นซื้อคืนออกไปในราคาที่สูงขึ้น แต่กำไรจากการขายหุ้นซื้อคืนจะแสดงอยู่ในงบส่วนของผู้ถือหุ้น
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทมิได้ขายหุ้นซื้อคืนออกไปภายใน 3 ปี บริษัทจำเป็นต้องทำการลดทุนตามจำนวนหุ้นที่ซื้อคืนมา ซึ่งการลดทุนจะทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทลดลง และอาจจะทำให้สภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของบริษัทลดลงตามไปด้วย
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 84

Re: หุ้นปันผล

โพสต์ที่ 2

โพสต์

การจ่ายปันผลเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน มีข้อดี ข้อเสีย ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้างครับ

รวมถึงการแตกพาร์ มีข้อดี ข้อเสีย ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ข้อเขียนนี้มีในหัวข้อทุนจดทะเบียน....เอามาตอบบางส่วนให้ครับ

การซื้อหุ้นคืนเป็นการสร้างผลตอบแทนให้กิจการแบบหนึ่งแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็เอามาซื้อหุ้นออกมาจากตลาดเข้าบริษัท วิธีนี้ไม่ใช่การลดทุน เพราะผู้ถือหุ้นไม่เสียหาย เพียงแต่บริษัทเอาหุ้นบางส่วนคืนจากนักลงทุนที่ไม่อยากลงทันในบริษัทต่อไป แทนที่จะขายทิ้ง (กดราคา) บริษัทรับซื้อกลับ ทำให้จำนวนหุ้นลดลง EPS จะสูงขึ้น (ถ้ากำไรไม่ลดลง) ถ้าระดับ P/E คงเดิม ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนก็เปลี่ยนจากหุ้นบางส่วนเป็นเงินได้ (วิธีนี้ช่วยบริหารภาษีให้ผู้ถือหุ้นด้วย) การซื้อหุ้นคืน ส่วนเจ้าของจะลดลงจากหุ้นซื้อคืน ROE จะเพิ่มขึ้น

การจ่ายหุ้นปันผล คล้ายๆกับ การซื้อหุ้นคืนคือแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ส่วนใหญ่บริษัทมีกำไรมากและอยากเก็บเงินสสดไว้ใช้ดำเนินงาน ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ให้ผู้ถือหุ้นไปเอาเงินสดจากตลาดแทน หรือใครจะถือต่อก็ได้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ เพราะย้ายกำไรสะสมขึ้นไปเป็นเป็นหุ้นทุน แต่ผลกระทบคือ เม็ดหุ้นมากขึ้น อาจเกิด dilution effect ได้ แม้จะทำกำไรเท่าเดิม ROE เท่าเดิม แต่โดยรวมๆ wealth ของนักลงทุนคงที่ที่ระดับ P/E นั้น เพราะ EPS ลดลง Price ลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นชดเชยแทน

จะเห็นว่าแค่ทุน ยังมีวิธีการมากมายในการบริหาร ทุกการกระทำล้วนต้องมีหลักการและเหตุผลที่ดี หลายบริษัท เดี๋ยวซื้อหุ้นคืนกลับ นัยหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การซื้อคืน แสดงว่า เหลือเงิน ไม่มี project ใหม่ขยายออกไปแล้ว หรือโคงการใหม่ๆ มีผลตอบแทนน้อยกว่า existing project เพราะถ้ามีทำไมไม่ลงทุนให้เราเพื่อเพิ่มกำไร ทางทฤษฎ๊การเงิน แสดงว่ากิจการเข้าสู่วงจรชะลอตัวถึงถดถอย คล้ายๆ กับบรฺทที่จ่ายอัตราปันผลมากๆ 60-70% หรือ อาจเกือบ 100% แสดงว่ากาเอาเงินไป reinvest หรือไม่มีโครงการที่สร้างผลกำไรเพิ่มได้ การซื้อหุ้นคืนกลับย่อมไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะด้านหนึ่ง กิจการแต่ง ROE ด้วย

ส่วนการจ่ายหุ้นปันผล มี 2 นัย คือ กิจการไม่มีเงินสดมกพอ ก่อหนี้ก็ไม่ไหว ในมุมหนึ่งคือมีเงินแต่กิจการเห็นโอกาสลงทุนในโครงการใหม่ว่าให้ประโยชน์มากกว่า (ROCI) หากเป็นเช่นนั้นไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ เพราะการจ่ายหุ้นปันผลทำให้ EPS เกิด dilute ถ้ากำไรไม่มากพอกับหุ้นที่เพิ่มจะทำให้ราคาหุ้นลดลง

ส่วนการแตกพาร์แตกหุ้น ในทางทฤษฎี ไม่กระทบต่อมูลค่ากิจการ แต่ได้ปรธโยชน์ในแง่จิตวิทยา ตือราคาหุนถูกย่อยลง เหมือนแตกแบงค์พันเป็นแบงค์ยี่สิบ มีแบงค์มากขึ้น แต่มูลค่ารวมเท่าเดิม ข้อดีในการซื้อขายคือ นักลงทุนเล็กเข้าลงทุนได้ ราคาหุ้นที่แตกพาร์ ไม่ใช่ราคาถุก อาจจะแพงเพียงแต่คนเบี้ยน้อยเข้ามาซื้อได้เท่านั้น ตัวอย่าง เดิม กำไรต่อหุ้น 100 บาท per 100 P/E = 10X หุ้นซื้อขายหุ้นละ 1000 ซื้อ 1000 หุ้นต้องใช้เงิน 1 ล้าน พอแตกเหลือ par 1 บาท EPS = 1 ถ้า P/E = 10x ราคาหุ้นควรเหลือ 10 บาท 1000 หุ้นใช้เงินเพียง 10,000 บาท ถ้าหุ้นดี นักลงทุนแย่งกันซื้อ ราคาเลยขึ้นไป 12 บาท 1000 หุ้นก็ใช้เงินเพียง 12,000 บาท แต่ P/E เป็น 12x แล้ว บริษัทไม่ได้มีกำไรเพิ่มเลยแม้แต่นิดเดียว ที่ขึ้นเพราะ demand ใหม่ เพิ่มขึ้น supply เท่าเดิม หุ้นแพงขึ้น เสี่ยงขึ้น (P/E มากขึ้น) แต่ทีคนลงทุนเพราะไม่มีตัวเลือกมากขึ้น (supply) เท่านั้น ดังนั้นการแตกพาร์ไม่ใช่หุ้นถูก แต่เป็นเพียงการเกิด demand shift ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 74

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ประเด็นของการซื้อหุ้นคืนนั้น
1. การซื้อหุ้นคืน ในส่วนของผู้ถือหุ้นมีรายการปรากฏใช่ไหมครับว่าบริษัทนั้นมีการซื้อหุ้นคืนเป็นจำนวนเงินเท่าไร
2. ในการคำนวณ EPS ในส่วนของหุ้นที่เป็นตัวหารนั้น ปรับตามวิธีบัญชีทั่วไปคือ weight ตามช่วงระยะของหุ้นที่มีอยู่ใช่ไหมครับ ไม่ใช่เอาัตัวสุดท้ายมาคิดโต้งๆ
3. ในกรณีของการแตกพาร์ การคิด EPS ในส่วนของตัวหารนั้นเหมือนข้อ 2 หรือเปล่าครับ
4. การจ่ายหุ้นปันผลนั้น ในด้านของกรมสรรพากรเอง นั้นผู้ที่ได้รับปันผลเป็นหุ้น ไม่สามารถคำนวณเครดิตภาษีคืนได้ และกรมสรรพากรใช้ราคาพาร์ในการคำนวนเรื่องผลประโยชน์ที่ผู้ที่ได้รับหุ้นปันผลดังกล่าวแทนมูลค่าตลาด ณ วันที่ได้รับหุ้นปันผล เข้าใจตามนี้ถูกต้องไหมครับสำหรับข้อนี้
5. การปันผลของบริษัทที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผล เวลายื่นขอเครดิตภาษีคืน ต้องมีบันทึกรายงานประชุมเรื่องการจ่ายเงินปันผล ในการคิดเครดิตภาษีดังกล่าว ใช่ไหมครับ (แต่ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นั้นมีใบจัดการให้เสร็จเรียบร้อยไม่ต้องวุ่นวายอะไรมากเลย)

ขอบคุณครับ
:)
:)
nattika.s
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

miracle เขียน:ประเด็นของการซื้อหุ้นคืนนั้น
1. การซื้อหุ้นคืน ในส่วนของผู้ถือหุ้นมีรายการปรากฏใช่ไหมครับว่าบริษัทนั้นมีการซื้อหุ้นคืนเป็นจำนวนเงินเท่าไร
2. ในการคำนวณ EPS ในส่วนของหุ้นที่เป็นตัวหารนั้น ปรับตามวิธีบัญชีทั่วไปคือ weight ตามช่วงระยะของหุ้นที่มีอยู่ใช่ไหมครับ ไม่ใช่เอาัตัวสุดท้ายมาคิดโต้งๆ
3. ในกรณีของการแตกพาร์ การคิด EPS ในส่วนของตัวหารนั้นเหมือนข้อ 2 หรือเปล่าครับ
4. การจ่ายหุ้นปันผลนั้น ในด้านของกรมสรรพากรเอง นั้นผู้ที่ได้รับปันผลเป็นหุ้น ไม่สามารถคำนวณเครดิตภาษีคืนได้ และกรมสรรพากรใช้ราคาพาร์ในการคำนวนเรื่องผลประโยชน์ที่ผู้ที่ได้รับหุ้นปันผลดังกล่าวแทนมูลค่าตลาด ณ วันที่ได้รับหุ้นปันผล เข้าใจตามนี้ถูกต้องไหมครับสำหรับข้อนี้
5. การปันผลของบริษัทที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผล เวลายื่นขอเครดิตภาษีคืน ต้องมีบันทึกรายงานประชุมเรื่องการจ่ายเงินปันผล ในการคิดเครดิตภาษีดังกล่าว ใช่ไหมครับ (แต่ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นั้นมีใบจัดการให้เสร็จเรียบร้อยไม่ต้องวุ่นวายอะไรมากเลย)

ขอบคุณครับ
:)
ตอบคำถามคุณ miracle น่ะค่ะ
1. ใช่ค่ะในงบการเงินจะแสดงหัวข้อ 'หุ้นซื้อคืน' เพื่อบอกว่าบริษัทมีรายการนี้เป็นจำนวนเท่าไรเลยค่ะ
2. , 3. ใช่ค่ะบริษัทจะต้อง weight ตามสัดส่วนว่าบริษัทมีจำนวนหุ้นทั้งหมดเท่าไรและหากมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างปีบริษัทก็จะเปลี่ยน weight ตามระยะเวลาอีกด้วย
4. การจ่ายหุ้นปัลผลเป็นตัวหุ้น ผู้ถือหุ้นจะไม่สามารถเครดิตภาษีคืนได้ค่ะ ส่วนเรื่องราคาที่ใช้ในการคำนวนเรื่องผลประโยชน์ขอไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มอีกนิดน่ะค่ะเพื่อความแน่นอน :)
5. ใช่เหมือนกันค่ะ โดยปกติแล้วถ้าเป็นการปันผลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น ทางบริษัทมักจะเปิดเผยข้อมูลของบริษัทให้สาธารณะได้ทราบกัน และเอกสารรายงานการประชุมก็ได้เปิดเผยอยู่แล้วด้วย จึงทำให้ทางสรรพกรแน่ใจในข้อมูล และไม่จำเป็นต้องขอเอกสารเพิ่มเติม ส่วนบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น ทางสรรพากรมักจะข้อเอกสารการประชุมเพิ่มเติมเนื่องจากทางบริษัทมิได้เปิดเผยข้อมูลให้บุคคลทั่วไปได้ทราบ สรรพากรจึงมักจะเกิดข้อสงสัยในข้อมูล เลยต้องข้อเอกสารเพิ่มเติมค่ะ :D
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 74

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ จะได้หมดประเด็นเป็นเรื่องไปครับ
:)
:)
konkanglang
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณบทความดีๆจาก http://fundmanagertalk.com/investmenttalk_equity

InvestmentTalk – ทันเกมส์ส่วนของผู้ถือหุ้น: การจ่ายปันผล

ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Shareholders’ Equity เป็นองค์ประกอบทางการเงินที่สำคัญยิ่งของบริษัททุกแห่ง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจทั้งหมด
โดยการเป็นแหล่งทุนเริ่มแรกเพื่อนำไปผลิตสินค้าหรือบริการที่จะกลายเป็นยอด ขายให้กับบริษัท เพื่อสร้างผลกำไรให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้จบ

ตามหลักบัญชีขั้นพื้นฐาน โครงสร้างทางการเงินของบริษัทจะเป็นไปตามสมการที่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า
สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ถ้าไม่ได้มาด้วยเงินของเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) เอง ก็เกิดจากการก่อหนี้สินเพื่อไปซื้อมา

รูปภาพ

โดยทั่วไป ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจมาแล้วมีผลกำไรตามที่ต้องการ จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ

1) ทุนชำระแล้ว (เงินทุนที่ผู้ถือหุ้นนำเข้ามาในบริษัทจริงๆ) และ
2) กำไรสะสม (ผลรวมของกำไรสุทธิที่ได้จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา)

รูปภาพ

สำหรับการลงทุนในหุ้นซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี แท้จริงแล้ว ก็คือการซื้อมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เท่าๆ กัน (หรือที่เรียกว่า หุ้น)
เพื่อให้คนจำนวนมากสามารถร่วมกันเป็นเจ้าของบริษัทได้ตามสัดส่วนเงินที่เรา ร่วมลงทุนไป นั่นเอง

โดยทั่วไป เรามักพูดกันถึงวิธีการจัดการสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือการบริหารหนี้สินให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามสัญญาที่มีต่อเจ้าหนี้ได้ อย่างครบถ้วน
แต่ในโอกาสนี้ จะขอนำเรื่องส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับนักลงทุนอย่างเราๆ ท่านๆ มาเล่าให้ฟังครับ โดยจะกล่าวถึงการจ่ายปันผล ครับ

การจ่ายปันผล

เมื่อบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจจนมีผลกำไร บริษัทมีทางเลือกในการจัดสรรผลกำไร 2 แนวทางคือ 1) เก็บไว้เป็นทุนหมุนเวียนภายในบริษัท ในรูปของกำไรสะสม
หรือ 2) ส่งผลกำไรกลับไปยังผู้ถือหุ้น ในรูปของการจ่ายปันผล

1. ข้อกฎหมายและประเด็นภาษีเงินได้

1.1 คุณสมบัติของบริษัทที่จะจ่ายปันผลได้

พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 115 กำหนดไว้ว่า “การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัท
ยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล” ดังนั้น บริษัทจะจ่ายเงินปันผลได้ ส่วนทุนจะต้องมีกำไรสะสมเป็นบวกอยู่เท่านั้น หากบริษัทไหนมีผลขาดทุนสะสมค้างอยู่
ถึงแม้บางปีจะมีกำไรสุทธิ แล้วอยากจะจ่ายปันผล ก็ไม่สามารถทำได้ (แต่กรณีนี้ก็สามารถใช้กลยุทธ์ลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมก่อนแล้วค่อยจ่ายปัน ผลก็ได้)

1.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการเครดิตภาษี

บริษัทที่เป็นผู้จ่ายปันผล มีหน้าที่หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย (“Witholding Tax) ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าปันผลที่จ่าย (ไม่ว่าจะจ่ายปันผลเป็นเงินสด หรือ เป็นหุ้น
ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป) เช่น บริษัท ABC จำกัด (มหาชน) ประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 10 บาท หากเราถือหุ้น ABC อยู่จนมีสิทธิได้รับเงินปันผล จำนวน 100 หุ้น
เราก็จะได้เงินสดสุทธิ 10 x 100 x 90% หรือ 900 บาท โดยบริษัทจะหักเงินไว้ 100 บาทเพื่อนำส่งกรมสรรพากรต่อไป

นอกจากนั้น ผู้ที่ได้รับเงินปันผล ยังสามารถพิจารณาขอคืนภาษี หรือที่เรียกว่า การเครดิตภาษี ได้ด้วย ซึ่งมีการคำนวณดังนี้
[อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่จ่ายปันผล] หารด้วย [1 – อัตราภาษีฯ] เช่น ABC ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ของกำไร
อัตราการได้รับเครดิตภาษีของผู้ถือหุ้นจะเท่ากับ 30% / (100% – 30%) หรือ 3/7 แล้วนำไปคูณกับจำนวนปันผลที่ได้รับ
(อ่านเพิ่มเติมเรื่องเครดิตภาษีได้ที่นี่ http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata47_2)

2. การจ่ายปันผลเป็นเงินสดอย่างเดียวและการจ่ายปันผลเป็นหุ้นบวกเงินสด

นอก จากการจ่ายปันผลเป็นเงินสด ซึ่งทำกันโดยทั่วไป บริษัทอาจเลือกตอบแทนผู้ถือหุ้นด้วยการจ่ายเป็นหุ้นปันผลแทนก็ได้ (หุ้นก็สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้เช่นกัน)

2.1 กรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสด

สมมติบริษัท ABC จ่ายปันผลเป็นเงินสด หุ้นละ 1.15 บาท คิดเป็นเงินสดที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท

• ก่อนจ่ายปันผล
รูปภาพ

• หลังจ่ายปันผลเป็นเงินสด จำนวนรวมทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท
รูปภาพ

ซึ่งเงินปันผล 11.50 ล้านบาทนั้น ก็จะไปถึงผู้ถือหุ้นจริงๆ 10.35 ล้านบาท ส่วนอีก 1.15 ล้านบาท จะถูกหักไว้เป็น Withholding Tax

(จุดสังเกต #1: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 138.50 ล้านบาท)

2.2 กรณีจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด

สมมติให้บริษัท ABC

* จ่ายหุ้นปันผล อัตรา 10 หุ้นเดิม ได้หุ้นใหม่เป็นหุ้นปันผล 1 หุ้น (10:1) ซึ่งเดิมมีหุ้นอยู่ 10 ล้านหุ้น เมื่อจ่ายหุ้นปันผลแล้วก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านหุ้น
(ราคาพาร์ 10 บาทเท่าเดิม) รวมเป็นหุ้นทั้งหมด (เดิม + ปันผล) 11 ล้านหุ้น โดยบริษัทจะลดกำไรสะสมลงไป 10 ล้านบาท และไปเพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นมาอีก 10 ล้านบาท
* จ่ายเงินสดปันผล 0.15 บาท/หุ้นเดิม มีมูลค่าเท่ากับ 0.15 x 10 ล้านหุ้น หรือ 1.50 ล้านบาท

รวมมูลค่าของการจ่ายปันผลทั้งสิ้น 10 (หุ้นปันผล 1 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท) + 1.50 (เงินสดปันผล) = 11.50 ล้านบาท
(ตั้งใจให้เท่ากับกรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วนๆ เพื่อให้เทียบกับได้ชัดเจน) ทำให้มี Withholding Tax เกิดขึ้น 11.50 x 10% หรือ 1.15 ล้านบาท

• ก่อนจ่ายเงินปันผล
รูปภาพ

• หลังจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นและเงินสดผสมกัน
รูปภาพ

(จุดสังเกต #2: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 148.50 ล้านบาท มากกว่าวิธีแรก 10 ล้านบาท)

ถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า บริษัทจะจ่ายแต่หุ้นปันผลล้วนๆ ไม่จ่ายเป็นเงินสดได้หรือไม่ ต้องตอบว่า ไม่ได้ เพราะหากไม่มีการจ่ายเงินสดออกมาด้วย
บริษัทก็ไม่รู้จะนำเงินของบริษัทเองส่วนไหนไปจ่ายเป็น Withholding Tax ให้ราชการ (จึงต้องหักเอาจากเงินได้ของผู้ถือหุ้นเอง) กล่าวอีกอย่าง การที่บริษัท
จำเป็นต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดควบคู่กันไปด้วย ก็เพื่อรองรับการหัก Withholding Tax นั่นเอง จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่า เมื่อบริษัทจะจ่ายปันผลเป็นหุ้น
ก็จะต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดตามมาด้วยอีกเล็กน้อย เสมอ

ตัวอย่างจริง:
* บริษัทเอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 5:1 และเป็นเิงินสด 0.18 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201103/11011391.pdf
* บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (HMPRO) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 6:1 (หุ้น HMPRO มีราคาพาร์ 1 บาท
การจ่ายหุ้นปันผล 6:1 จึงเท่ากับจ่าย 0.16667 บาทต่อหุ้น) และเป็นเงินสด 0.0193 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201102/11004826.pdf

3. เปรียบเทียบการจ่ายปันผลวิธีต่างๆ

รูปภาพ
ขออนุญาตท่านอาจารย์และนิสิต นำบทความดีๆมาโพสไว้ รบกวนอาจารย์และนิสิตแนะนำ เสริมความรู้เพิ่มเติมด้วยครับ

ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์ (SJ, Keng) http://fundmanagertalk.com/investmenttalk_equity
ภาพประจำตัวสมาชิก
waririn
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

การซื้อหุ้นคืน แล้วมีแผนในอนาคตที่จะขายหุ้นคืนกลับสู่ตลาด แบบนี้บริษัททำไปเพื่อเป้าหมายอะไรคะ
เพราะสุดท้ายแล้ว จำนวนหุ้นในตลาดก็เท่าเดิม ผู้ถือหุ้นไม่ได้ประโยชน์อะไร
และน่าจะเกิดโทษแกผู้ถือหุ้นมากกว่า เช่น ซื้อแพง ขายถูก เสียเงินของบริษัทไปในส่วนต่างของราคาหุ้น
และบางทีราคาก็จะถูกปั่นขึ้นไปจากข่าวบริษัทซื้อหุ้นคืน

ยังมองไม่เห็นง่มุมดีๆ เลยค่ะ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

3w3 เขียน:การซื้อหุ้นคืน แล้วมีแผนในอนาคตที่จะขายหุ้นคืนกลับสู่ตลาด แบบนี้บริษัททำไปเพื่อเป้าหมายอะไรคะ
เพราะสุดท้ายแล้ว จำนวนหุ้นในตลาดก็เท่าเดิม ผู้ถือหุ้นไม่ได้ประโยชน์อะไร
และน่าจะเกิดโทษแกผู้ถือหุ้นมากกว่า เช่น ซื้อแพง ขายถูก เสียเงินของบริษัทไปในส่วนต่างของราคาหุ้น
และบางทีราคาก็จะถูกปั่นขึ้นไปจากข่าวบริษัทซื้อหุ้นคืน

ยังมองไม่เห็นง่มุมดีๆ เลยค่ะ
สำหรับบริษัทเองอาจมีหลายแง่
1. บริษัทอาจซื้อถูกขายแพง เป็นวิธีเพิ่มทุนและหาเงินเข้าบริษัทแบบหนึ่ง
2. เป็นวิธีช่วยพยุงหุ้นของบริษัทในยามที่ราคาหุ้นตกต่ำ โดยผู้ถือหุ้นไม่ต้องระดมเงินส่วนตัวมาซื้อเอง

บางครั้งบริษัทอาจซื้อหุ้นคืนมาไว้แจกโบนัสพนักงานหรือลดทุน นั่นก็จะมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น เพราะบริษัทไม่ต้องออกหุ้นใหม่มาแจกโบนัสหรือทำการลดจำนวนหุ้นในตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิม
ภาพประจำตัวสมาชิก
waririn
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์
สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้า รักษาสุขภาพด้วยนะคะ :)
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณค่ะ ขอให้ประสบความสุขและสุขภาพแข็งแรงเช่นกัน ตอนนี้นั่งตากแห้งอยู่ที่เมืองตากค่ะ เดี๋ยวคงไปเย็นอยู่ที่อุ้งผางและน้ำตกทีลอซู
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณค่ะ ขอให้ประสบความสุขและสุขภาพแข็งแรงเช่นกัน ตอนนี้นั่งตากแห้งอยู่ที่เมืองตากค่ะ เดี๋ยวคงไปเย็นอยู่ที่อุ้งผางและน้ำตกทีลอซู
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

konkanglang เขียน:
ขอบคุณบทความดีๆจาก http://fundmanagertalk.com/investmenttalk_equity

InvestmentTalk – ทันเกมส์ส่วนของผู้ถือหุ้น: การจ่ายปันผล

ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Shareholders’ Equity เป็นองค์ประกอบทางการเงินที่สำคัญยิ่งของบริษัททุกแห่ง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจทั้งหมด
โดยการเป็นแหล่งทุนเริ่มแรกเพื่อนำไปผลิตสินค้าหรือบริการที่จะกลายเป็นยอด ขายให้กับบริษัท เพื่อสร้างผลกำไรให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้จบ

ตามหลักบัญชีขั้นพื้นฐาน โครงสร้างทางการเงินของบริษัทจะเป็นไปตามสมการที่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า
สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ถ้าไม่ได้มาด้วยเงินของเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) เอง ก็เกิดจากการก่อหนี้สินเพื่อไปซื้อมา

รูปภาพ

โดยทั่วไป ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจมาแล้วมีผลกำไรตามที่ต้องการ จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ

1) ทุนชำระแล้ว (เงินทุนที่ผู้ถือหุ้นนำเข้ามาในบริษัทจริงๆ) และ
2) กำไรสะสม (ผลรวมของกำไรสุทธิที่ได้จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา)

รูปภาพ

สำหรับการลงทุนในหุ้นซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี แท้จริงแล้ว ก็คือการซื้อมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เท่าๆ กัน (หรือที่เรียกว่า หุ้น)
เพื่อให้คนจำนวนมากสามารถร่วมกันเป็นเจ้าของบริษัทได้ตามสัดส่วนเงินที่เรา ร่วมลงทุนไป นั่นเอง

โดยทั่วไป เรามักพูดกันถึงวิธีการจัดการสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือการบริหารหนี้สินให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามสัญญาที่มีต่อเจ้าหนี้ได้ อย่างครบถ้วน
แต่ในโอกาสนี้ จะขอนำเรื่องส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับนักลงทุนอย่างเราๆ ท่านๆ มาเล่าให้ฟังครับ โดยจะกล่าวถึงการจ่ายปันผล ครับ

การจ่ายปันผล

เมื่อบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจจนมีผลกำไร บริษัทมีทางเลือกในการจัดสรรผลกำไร 2 แนวทางคือ 1) เก็บไว้เป็นทุนหมุนเวียนภายในบริษัท ในรูปของกำไรสะสม
หรือ 2) ส่งผลกำไรกลับไปยังผู้ถือหุ้น ในรูปของการจ่ายปันผล

1. ข้อกฎหมายและประเด็นภาษีเงินได้

1.1 คุณสมบัติของบริษัทที่จะจ่ายปันผลได้

พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 115 กำหนดไว้ว่า “การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัท
ยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล” ดังนั้น บริษัทจะจ่ายเงินปันผลได้ ส่วนทุนจะต้องมีกำไรสะสมเป็นบวกอยู่เท่านั้น หากบริษัทไหนมีผลขาดทุนสะสมค้างอยู่
ถึงแม้บางปีจะมีกำไรสุทธิ แล้วอยากจะจ่ายปันผล ก็ไม่สามารถทำได้ (แต่กรณีนี้ก็สามารถใช้กลยุทธ์ลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมก่อนแล้วค่อยจ่ายปัน ผลก็ได้)

1.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการเครดิตภาษี

บริษัทที่เป็นผู้จ่ายปันผล มีหน้าที่หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย (“Witholding Tax) ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าปันผลที่จ่าย (ไม่ว่าจะจ่ายปันผลเป็นเงินสด หรือ เป็นหุ้น
ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป) เช่น บริษัท ABC จำกัด (มหาชน) ประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 10 บาท หากเราถือหุ้น ABC อยู่จนมีสิทธิได้รับเงินปันผล จำนวน 100 หุ้น
เราก็จะได้เงินสดสุทธิ 10 x 100 x 90% หรือ 900 บาท โดยบริษัทจะหักเงินไว้ 100 บาทเพื่อนำส่งกรมสรรพากรต่อไป

นอกจากนั้น ผู้ที่ได้รับเงินปันผล ยังสามารถพิจารณาขอคืนภาษี หรือที่เรียกว่า การเครดิตภาษี ได้ด้วย ซึ่งมีการคำนวณดังนี้
[อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่จ่ายปันผล] หารด้วย [1 – อัตราภาษีฯ] เช่น ABC ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ของกำไร
อัตราการได้รับเครดิตภาษีของผู้ถือหุ้นจะเท่ากับ 30% / (100% – 30%) หรือ 3/7 แล้วนำไปคูณกับจำนวนปันผลที่ได้รับ
(อ่านเพิ่มเติมเรื่องเครดิตภาษีได้ที่นี่ http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata47_2)

2. การจ่ายปันผลเป็นเงินสดอย่างเดียวและการจ่ายปันผลเป็นหุ้นบวกเงินสด

นอก จากการจ่ายปันผลเป็นเงินสด ซึ่งทำกันโดยทั่วไป บริษัทอาจเลือกตอบแทนผู้ถือหุ้นด้วยการจ่ายเป็นหุ้นปันผลแทนก็ได้ (หุ้นก็สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้เช่นกัน)

2.1 กรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสด

สมมติบริษัท ABC จ่ายปันผลเป็นเงินสด หุ้นละ 1.15 บาท คิดเป็นเงินสดที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท

• ก่อนจ่ายปันผล
รูปภาพ

• หลังจ่ายปันผลเป็นเงินสด จำนวนรวมทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท
รูปภาพ

ซึ่งเงินปันผล 11.50 ล้านบาทนั้น ก็จะไปถึงผู้ถือหุ้นจริงๆ 10.35 ล้านบาท ส่วนอีก 1.15 ล้านบาท จะถูกหักไว้เป็น Withholding Tax

(จุดสังเกต #1: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 138.50 ล้านบาท)

2.2 กรณีจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด

สมมติให้บริษัท ABC

* จ่ายหุ้นปันผล อัตรา 10 หุ้นเดิม ได้หุ้นใหม่เป็นหุ้นปันผล 1 หุ้น (10:1) ซึ่งเดิมมีหุ้นอยู่ 10 ล้านหุ้น เมื่อจ่ายหุ้นปันผลแล้วก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านหุ้น
(ราคาพาร์ 10 บาทเท่าเดิม) รวมเป็นหุ้นทั้งหมด (เดิม + ปันผล) 11 ล้านหุ้น โดยบริษัทจะลดกำไรสะสมลงไป 10 ล้านบาท และไปเพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นมาอีก 10 ล้านบาท
* จ่ายเงินสดปันผล 0.15 บาท/หุ้นเดิม มีมูลค่าเท่ากับ 0.15 x 10 ล้านหุ้น หรือ 1.50 ล้านบาท

รวมมูลค่าของการจ่ายปันผลทั้งสิ้น 10 (หุ้นปันผล 1 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท) + 1.50 (เงินสดปันผล) = 11.50 ล้านบาท
(ตั้งใจให้เท่ากับกรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วนๆ เพื่อให้เทียบกับได้ชัดเจน) ทำให้มี Withholding Tax เกิดขึ้น 11.50 x 10% หรือ 1.15 ล้านบาท

• ก่อนจ่ายเงินปันผล
รูปภาพ

• หลังจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นและเงินสดผสมกัน
รูปภาพ

(จุดสังเกต #2: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 148.50 ล้านบาท มากกว่าวิธีแรก 10 ล้านบาท)

ถึงจุดนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า บริษัทจะจ่ายแต่หุ้นปันผลล้วนๆ ไม่จ่ายเป็นเงินสดได้หรือไม่ ต้องตอบว่า ไม่ได้ เพราะหากไม่มีการจ่ายเงินสดออกมาด้วย
บริษัทก็ไม่รู้จะนำเงินของบริษัทเองส่วนไหนไปจ่ายเป็น Withholding Tax ให้ราชการ (จึงต้องหักเอาจากเงินได้ของผู้ถือหุ้นเอง) กล่าวอีกอย่าง การที่บริษัท
จำเป็นต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดควบคู่กันไปด้วย ก็เพื่อรองรับการหัก Withholding Tax นั่นเอง จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่า เมื่อบริษัทจะจ่ายปันผลเป็นหุ้น
ก็จะต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดตามมาด้วยอีกเล็กน้อย เสมอ

ตัวอย่างจริง:
* บริษัทเอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 5:1 และเป็นเิงินสด 0.18 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201103/11011391.pdf
* บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (HMPRO) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 6:1 (หุ้น HMPRO มีราคาพาร์ 1 บาท
การจ่ายหุ้นปันผล 6:1 จึงเท่ากับจ่าย 0.16667 บาทต่อหุ้น) และเป็นเงินสด 0.0193 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201102/11004826.pdf

3. เปรียบเทียบการจ่ายปันผลวิธีต่างๆ

รูปภาพ
ขออนุญาตท่านอาจารย์และนิสิต นำบทความดีๆมาโพสไว้ รบกวนอาจารย์และนิสิตแนะนำ เสริมความรู้เพิ่มเติมด้วยครับ

ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์ (SJ, Keng) http://fundmanagertalk.com/investmenttalk_equity
ขอเพิ่มมุมสังเกตนิดเดียว จ่ายปันผลเป็นหุนมุลค่ารวมไม่ลดถูกต้อง แต่ราคาหุ้นควรลดลง เนื่องจากจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น
market cpt.ใหม่ = market capt.เดิม => #shsresใหม่ X price2 = # sharesเดิม x price1
จากสมการ จำนววนหุ้นใหม่ > จำนวนหุ้นเดิม ดังนั้น ราคา2 < ราคา1
ดังนั้นในตารางที่ว่าจ่ายหุ้นปันผล ทางทฤษฎีราคาต้องไม่ขึ้น ถ้าขึ้นแสดงว่าหุ้นราคาแพง (พีอีสูงขึ้นชั่วข้ามวัน) อาจเกิดจาก การเก็งกำไรราคาหรือการคาดหวัง เป็น market sentiment ไม่ใช่ fundamental คล้ายกับฝรั่งเข้าตลาดหุ้นเลยขึ้น แต่นั่นไม่ใช่เรื่องผลประกอบการแต่เป็น market sentiment drive การวิเคราะห์ต้องแยกระหว่างราคาเนื่องมาจากการดำเนินงาน (COV Current operation value) กับราคารเนื่องจากการคาดหวังตลาด (FGV Future growth value) จึงจะไม่หลงทิศทางระยะยาวเนื่องจากข่าวสารต่างๆที่เข้ามากระทบ ว่าอันไหนจริงอันไหนเทียม
prasaen
Verified User
โพสต์: 118
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

parporn เขียน:
3w3 เขียน:การซื้อหุ้นคืน แล้วมีแผนในอนาคตที่จะขายหุ้นคืนกลับสู่ตลาด แบบนี้บริษัททำไปเพื่อเป้าหมายอะไรคะ
เพราะสุดท้ายแล้ว จำนวนหุ้นในตลาดก็เท่าเดิม ผู้ถือหุ้นไม่ได้ประโยชน์อะไร
และน่าจะเกิดโทษแกผู้ถือหุ้นมากกว่า เช่น ซื้อแพง ขายถูก เสียเงินของบริษัทไปในส่วนต่างของราคาหุ้น
และบางทีราคาก็จะถูกปั่นขึ้นไปจากข่าวบริษัทซื้อหุ้นคืน

ยังมองไม่เห็นง่มุมดีๆ เลยค่ะ
สำหรับบริษัทเองอาจมีหลายแง่
1. บริษัทอาจซื้อถูกขายแพง เป็นวิธีเพิ่มทุนและหาเงินเข้าบริษัทแบบหนึ่ง 2. เป็นวิธีช่วยพยุงหุ้นของบริษัทในยามที่ราคาหุ้นตกต่ำ โดยผู้ถือหุ้นไม่ต้องระดมเงินส่วนตัวมาซื้อเอง

บางครั้งบริษัทอาจซื้อหุ้นคืนมาไว้แจกโบนัสพนักงานหรือลดทุน นั่นก็จะมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น เพราะบริษัทไม่ต้องออกหุ้นใหม่มาแจกโบนัสหรือทำการลดจำนวนหุ้นในตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิม
แล้วจะมีวิธีการบันทึกกำไร(ขาดทุน)ที่ไหนครับ ในส่วนของผู้ถือหุ้นหรือเปล่าครับ ไม่เกี่ยวกับกำไรของบริษัทในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ
ขอบคุณครับ
prasaen
Verified User
โพสต์: 118
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

แล้วในกรณีที่แจกปันผลเป็นวอร์แรนต์ มีข้อดี ข้อเสีย ยังไงครับ แล้วแตกต่างจากการปันผลเป็นหุ้นยังไงบ้างครับ
ขอบคุณครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

แล้วจะมีวิธีการบันทึกกำไร(ขาดทุน)ที่ไหนครับ ในส่วนของผู้ถือหุ้นหรือเปล่าครับ ไม่เกี่ยวกับกำไรของบริษัทในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ

วิธีบันทึกบัญชีการซื้อหุ้นคืนมี 2 วิธี แต่ทุกวิธีจะมีผลกระทบโดยตรงกับส่วนของผู้ถือหุ้นและเงินสด ถ้าบริษัทซื้อหุ้นคืนมาด้วยราคาถูกและขายออกไปด้วยราคาแพงกว่าเดิม บริษัทจะมีกำไร กำไรจะบันทึกตรงเข้าไปที่ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหรือกำไรสะสม โดยไม่ผ่านไปที่งบกำไรขาดทุน
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

prasaen เขียน:แล้วในกรณีที่แจกปันผลเป็นวอร์แรนต์ มีข้อดี ข้อเสีย ยังไงครับ แล้วแตกต่างจากการปันผลเป็นหุ้นยังไงบ้างครับ
ขอบคุณครับ
การแจกปันผลเป็น warrant น่าจะดีสำหรับบริษัทในลักษณะที่บริษัทอาจได้รับเงินจากการแจกปันผลแทนที่จะเสียเงิน

ที่เป็นอย่างนั้นเนื่องจาก เมื่อผู้ถือหุ้นได้รับ warrant จากบริษัท ผู้ถือหุ้นอาจนำ warrant ไปขายหรือนำมาแลกซื้อหุ้นกับบริษัท ซึ่งในที่สุด เมื่อบริษัทออกหุ้น ผู้ถือหุ้นหรือผู้ทรง warrant (ผู้ซื้อ warrant ต่อจากผู้ถือหุ้น) ต้องจ่ายเงินค่าหุ้นส่วนหนึ่งให้บริษัท บริษัทก็จะได้เงินสดเข้าบริษัทมาส่วนหนึ่งแลกกับการออกหุ้น

ในขณะที่การจ่ายหุ้นปันผล บริษัทจะไม่ได้รับเงินสดเข้ามา เพราะเมื่อผู้ถือหุ้นนำหุ้นปันผลไปขาย เงินสดจะเข้ามือผู้ถือหุ้นแต่ไม่เข้าบริษัท

แต่การจ่ายปันผลทั้ง 2 กรณีจะทำให้เกิด dilutive effect ต่อผู้ถือหุ้นเดิม
ภาพประจำตัวสมาชิก
ก๊วยเจ๋ง
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เวลาที่บริษัทมีหุ้นซื้อคืนแล้ว balance sheet จะเปลี่ยนไปยังไงเหรอครับ ทั้งในฝั่ง asset และในฝั่ง equity กำลังสงสัยว่าการมีหุ้นซื้อคืนจะไปทำให้การคิด roe ถูกบิดเบือนไปรึเปล่าครับ

ขอบคุณครับ
風林火山
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ก๊วยเจ๋ง เขียน:เวลาที่บริษัทมีหุ้นซื้อคืนแล้ว balance sheet จะเปลี่ยนไปยังไงเหรอครับ ทั้งในฝั่ง asset และในฝั่ง equity กำลังสงสัยว่าการมีหุ้นซื้อคืนจะไปทำให้การคิด roe ถูกบิดเบือนไปรึเปล่าครับ

ขอบคุณครับ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุน

ตอนซื้อหุ้นคืน

(สินทรัพย์ - เงินสด) = หนี้สิน + (ส่วนทุน - หุ้นซื้อคืน)

ส่วนทุนที่ลงจะทำให้ ROE เพิ่มขึ้นแน่นอนค่ะ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ก๊วยเจ๋ง เขียน:เวลาที่บริษัทมีหุ้นซื้อคืนแล้ว balance sheet จะเปลี่ยนไปยังไงเหรอครับ ทั้งในฝั่ง asset และในฝั่ง equity กำลังสงสัยว่าการมีหุ้นซื้อคืนจะไปทำให้การคิด roe ถูกบิดเบือนไปรึเปล่าครับ

ขอบคุณครับ
ไม่เรียกว่าบิดเบือนหรอกครับ เช่นเดิมได้กำไรมา 10 บาท มีผู้ถือหุ้น 5 คน(หุ้น) แบ่งกำไรคนละ 2 บาท บริษัทเอาเงินซื้อหุ้นคืนมา 2 คน เหลือ 3 คน ปีต่อมาได้กำไร 10 บาทเท่าเดิม แต่ปีนี้เอากำไรมาแบ่งค่ 3 คน ได้คนละ 3.33 บาท ROE ดีขึ้น นั่นคือมุมมองผู้ถือหุ้นที่กิจการทำผลตอบแทนใหเฉลี่ยสูงขึ้น แม้กำไรไม่โตเลย เป็นเพียงมุมมองความสามารถในการทำกำไรที่กิจการทำได้แก่ผู้ถือหุ้นดีขึ้น

อย่างไรก็ดีการซื้อหุ้นคืนแม้จะทำให้ r0E ดีขึ้นแต่ก็มีด้านอื่นต้องพิจารณาด้วย เพราะไม่ไหมายความว่าดีเสมอ ไม่เช่นนั้นทุกบริษัทดีๆ คงไล่ซื้อหุ้นคืนกันหมด ในดีก็อาจมีลับลวงพรางได้

การซื้อหุ้นคืนเป็นการสร้างผลตอบแทนให้กิจการแบบหนึ่งแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็เอามาซื้อหุ้นออกมาจากตลาดเข้าบริษัท วิธีนี้ไม่ใช่การลดทุน เพราะผู้ถือหุ้นไม่เสียหาย เพียงแต่บริษัทเอาหุ้นบางส่วนคืนจากนักลงทุนที่ไม่อยากลงทันในบริษัทต่อไป แทนที่จะขายทิ้ง (กดราคา) บริษัทรับซื้อกลับ ทำให้จำนวนหุ้นลดลง EPS จะสูงขึ้น (ถ้ากำไรไม่ลดลง) ถ้าระดับ P/E คงเดิม ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนก็เปลี่ยนจากหุ้นบางส่วนเป็นเงินได้ (วิธีนี้ช่วยบริหารภาษีให้ผู้ถือหุ้นด้วย) การซื้อหุ้นคืน ส่วนเจ้าของจะลดลงจากหุ้นซื้อคืน ROE จะเพิ่มขึ้น

ทุกการกระทำล้วนต้องมีหลักการและเหตุผลที่ดี หลายบริษัท เดี๋ยวซื้อหุ้นคืนกลับ นัยหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การซื้อคืน แสดงว่า เหลือเงิน ไม่มี project ใหม่ขยายออกไปแล้ว หรือโคงการใหม่ๆ มีผลตอบแทนน้อยกว่า existing project เพราะถ้ามีทำไมไม่ลงทุนให้เราเพื่อเพิ่มกำไร ทางทฤษฎีการเงิน แสดงว่ากิจการเข้าสู่วงจรชะลอตัวถึงถดถอย คล้ายๆ กับบริษัทที่จ่ายอัตราปันผลมากๆ 60-70% หรือ อาจเกือบ 100% แสดงว่าการนำเอาเงินไป reinvest หรือไม่มีโครงการที่สร้างผลกำไรเพิ่มได้จึงจ่ายคืนดีกว่า การซื้อหุ้นคืนกลับย่อมไม่ใช่เรื่องดีนักเสมอเข่นกัน
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 74

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

มีคำถาม
บริษัทแม่ ถือบริษัทลูก เกิน 90% ทำให้ งบการเงินของบริษัทลูกรวมอยู่ในงบรวมของบริษัทแม่แล้ว
ถ้าหากบริษัทลูกจ่ายเงินปันผลออกมา กระทบงบรวมอย่างไง และ งบเดี๋ยวของแม่จะปรากฏราคาการเงินปันผลหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
:)
:)
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

miracle เขียน:มีคำถาม
บริษัทแม่ ถือบริษัทลูก เกิน 90% ทำให้ งบการเงินของบริษัทลูกรวมอยู่ในงบรวมของบริษัทแม่แล้ว
ถ้าหากบริษัทลูกจ่ายเงินปันผลออกมา กระทบงบรวมอย่างไง และ งบเดี๋ยวของแม่จะปรากฏราคาการเงินปันผลหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
:)
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า แม่กับลูกนั้นถือเสมือนเป็นบริษัทเดียวกัน ในงบรวม การที่ลูกจ่ายเงินให้แม่ แม้ว่าจะเป็นคนละบริษัทกันก็เหมือนการย้ายจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา

ดังนั้น ในงบรวม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
1. เงินสด แม่ + ลูก เท่าเดิมทั้งก่อนจ่ายปันผลและหลังจ่าย
2. แม่ไม่มีรายได้จากเงินปันผล เพราะรายได้ที่บันทึกคือส่วนหนึ่งของกระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวา
3. ลูกไม่มีเงินปันผลจ่ายที่จะนำไปลบจากกำไรสะสม
4. งบการเงินของแม่ + ลูกเปรียบเสมือนบริษัทเดียวกัน โดยสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่ายจะบวกรวมกันทั้งหมด (หลังจากที่ได้ปรับเรื่องการจ่ายกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวาออกหมดแล้ว อย่างเรื่องเงินปันผลที่ว่า) แต่เมื่อแม่ถือลูก 90% สินทรัพย์ในงบดุลส่วนหนึ่งจึงเป็นของ "ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม" หรือที่เรียกกันในอดีตว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ที่เป็น ผถห อีก 10% ในบริษัทลูก เพราะเขาก็มีเอี่ยวกับสินทรัพย์ของบริษัทย่อยที่รวมอยู่ในงบรวม

ในงบเดี่ยว เราถือว่าแม่และลูกเป็นบริษัทที่แยกจากการ เหมือนว่าไม่ใช่แม่ลูกกัน ดังนั้น
1. ในงบดุล - แม่มีเงินสดเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนปันผลรับ
2. ในงบดุล - ลูกมีเงินสดลดลงเท่ากับปันผลจ่าย (โปรดสังเกตว่าจำนวนเงินที่แม่และลูกบันทึกจะไม่เท่ากันเพราะแม่ถือลูกแค่ 90%)
3. ในงบกำไรขาดทุน - แม่มีรายได้จากเงินปันผลที่ได้จากลูก
4. ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น - ลูกมีปันผลจ่ายแสดงหักจากกำไรสะสม
5. ในงบดุล - ส่วนทุนของลูกลดลงเท่ากับจำนวนปันผล (เพราะกำไรสะสมลดลง)
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 23

โพสต์

nattika.s เขียน:
miracle เขียน:ประเด็นของการซื้อหุ้นคืนนั้น
1. การซื้อหุ้นคืน ในส่วนของผู้ถือหุ้นมีรายการปรากฏใช่ไหมครับว่าบริษัทนั้นมีการซื้อหุ้นคืนเป็นจำนวนเงินเท่าไร
2. ในการคำนวณ EPS ในส่วนของหุ้นที่เป็นตัวหารนั้น ปรับตามวิธีบัญชีทั่วไปคือ weight ตามช่วงระยะของหุ้นที่มีอยู่ใช่ไหมครับ ไม่ใช่เอาัตัวสุดท้ายมาคิดโต้งๆ
3. ในกรณีของการแตกพาร์ การคิด EPS ในส่วนของตัวหารนั้นเหมือนข้อ 2 หรือเปล่าครับ
4. การจ่ายหุ้นปันผลนั้น ในด้านของกรมสรรพากรเอง นั้นผู้ที่ได้รับปันผลเป็นหุ้น ไม่สามารถคำนวณเครดิตภาษีคืนได้ และกรมสรรพากรใช้ราคาพาร์ในการคำนวนเรื่องผลประโยชน์ที่ผู้ที่ได้รับหุ้นปันผลดังกล่าวแทนมูลค่าตลาด ณ วันที่ได้รับหุ้นปันผล เข้าใจตามนี้ถูกต้องไหมครับสำหรับข้อนี้
5. การปันผลของบริษัทที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผล เวลายื่นขอเครดิตภาษีคืน ต้องมีบันทึกรายงานประชุมเรื่องการจ่ายเงินปันผล ในการคิดเครดิตภาษีดังกล่าว ใช่ไหมครับ (แต่ถ้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นั้นมีใบจัดการให้เสร็จเรียบร้อยไม่ต้องวุ่นวายอะไรมากเลย)

ขอบคุณครับ
:)
ตอบคำถามคุณ miracle น่ะค่ะ
1. ใช่ค่ะในงบการเงินจะแสดงหัวข้อ 'หุ้นซื้อคืน' เพื่อบอกว่าบริษัทมีรายการนี้เป็นจำนวนเท่าไรเลยค่ะ
2. , 3. ใช่ค่ะบริษัทจะต้อง weight ตามสัดส่วนว่าบริษัทมีจำนวนหุ้นทั้งหมดเท่าไรและหากมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างปีบริษัทก็จะเปลี่ยน weight ตามระยะเวลาอีกด้วย
4. การจ่ายหุ้นปัลผลเป็นตัวหุ้น ผู้ถือหุ้นจะไม่สามารถเครดิตภาษีคืนได้ค่ะ ส่วนเรื่องราคาที่ใช้ในการคำนวนเรื่องผลประโยชน์ขอไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มอีกนิดน่ะค่ะเพื่อความแน่นอน :)
5. ใช่เหมือนกันค่ะ โดยปกติแล้วถ้าเป็นการปันผลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น ทางบริษัทมักจะเปิดเผยข้อมูลของบริษัทให้สาธารณะได้ทราบกัน และเอกสารรายงานการประชุมก็ได้เปิดเผยอยู่แล้วด้วย จึงทำให้ทางสรรพกรแน่ใจในข้อมูล และไม่จำเป็นต้องขอเอกสารเพิ่มเติม ส่วนบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น ทางสรรพากรมักจะข้อเอกสารการประชุมเพิ่มเติมเนื่องจากทางบริษัทมิได้เปิดเผยข้อมูลให้บุคคลทั่วไปได้ทราบ สรรพากรจึงมักจะเกิดข้อสงสัยในข้อมูล เลยต้องข้อเอกสารเพิ่มเติมค่ะ :D


เครดิตภาษีคืน คืออะไรเหรอครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เครดิตภาษีคืน คืออะไรเหรอครับ
เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร
โดยปกติบริษัทจดทะเบียน (บริษัทที่เราสามารถซื้อหุ้นได้ในตลาดหลักทรัพย์) จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น โดยปันออกมาจากกำไรสุทธิที่บริษัททำได้ ซึ่งกำไรส่วนนี้ได้ผ่านการเสียภาษีให้กับทางรัฐบาลไปแล้ว โดยเสียในอัตราที่แตกต่างกันไป แล้วแต่บริษัท เช่น 50%, 30%, 20%, 15%, 10% เป็นต้น

ทีนี้ปัญหามันเกิดตรงที่ว่า เวลาที่ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลมา ทางรัฐบาลจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% กลายเป็นว่าผู้ถือหุ้นเสียภาษีซ้ำ 2 รอบ รอบแรก กำไรที่บริษัทที่ตนลงทุนได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว รอบที่ 2 โดนหัก ณ ที่จ่าย ตอนที่ได้รับเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรมา

การเครดิตภาษีเงินปันผลจึงเกิดขึ้น เพื่อเป็นการให้สิทธิผู้ถือหุ้น ในการที่จะเรียกคืนภาษีที่ตนเองเสียเกินไป กลับมา โดยการให้ผู้ถือหุ้นสามารถนำกำไรสุทธิที่บริษัททำได้ หลังจากหักภาษีแล้ว ในส่วนที่ผู้ถือหุ้นควรจะได้รับ (นั่นก็คือ ตามสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่) มารวมคิดเป็นรายได้ของผู้ถือหุ้น แล้วก็คิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปตามปกติ ถ้าภาษีที่คิดได้ น้อยกว่าที่เสียไปแล้ว (ทั้ง 2 ต่อรวมกัน) ผู้ถือหุ้นก็สามารถเรียกภาษีส่วนที่ผู้ถือหุ้นเสียเกินไปกลับมาได้

จำเป็นต้องเครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่
ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผล ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการเครดิตภาษีเงินปันผลก็ได้ ซึ่งก็ทำได้ง่ายมากครับ คือ การรับเงินปันผลมาเฉยๆ โดยไม่ต้องดำเนินการใดๆเลย (แต่แน่นอนก่อนที่จะได้เงินปันผลมา เราก็ต้องลงทุนไปซื้อหุ้นบริษัทนั้นๆมาก่อนนะครับ)

ตัวอย่าง การคำนวณเงินที่จะได้คืนจากการเครดิตภาษีเงินปันผล
ทีนี้เรามาลองคิดกันดูนะครับ ว่าเราทำการเครดิตภาษีเงินปันผลแล้ว เราจะได้เงินคืนซักเท่าไร

สมมติว่าเราถือหุ้น ABC อยู่ 100 หุ้น ซึ่งในปี 50 ที่ผ่านมา หุ้น ABC ได้ทำการจ่ายเงินปันผลมาให้กับเรา หุ้นละ 10 บาท โดยปันผลมาจากกำไรสุทธิที่ผ่านการเสียภาษีมาแล้ว (โดยบริษัท ABC เนี่ย เสียภาษีที่อัตรา 30% ของกำไร) ดังนั้นเราก็จะได้เงินปันผลจากหุ้น ABC มาทั้งหมด 100 * 10 = 1,000 บาท แต่เดี๋ยวก่อน ! เนื่องจากทางรัฐจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย 10% ดังนั้นก็จะมีเงินตกมาถึงมือเรา 1,000 - (1,000 * 0.1) = 900 บาท

ภาษีกรณีไม่ทำการเครดิตภาษีเงินปันผล
จะเห็นได้ว่า เรามีการเสียภาษีไป 2 ต่อ
- ต่อแรก เสียไปจากการที่บริษัทโดนเก็บภาษีเงินได้นิติบุุคคลจากกำไร เสียภาษีไป = (30% * 1,000) / 70% = 428.57 บาท (คิดง่ายๆ ก็คือ เอา 3/7 * 1,000)
- ต่อที่ 2 เสีย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตอนที่ได้เรารับเงินปันผล = 10% * 1,000 = 100 บาท

ภาษีรวม = 428.57 + 100 = 528.57 บาท

ภาษีกรณีที่ทำการเครดิตภาษีเงินปันผล
เราจะต้องทำการคำนวณ 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 : ทำการคำนวณกำไรของบริษัทก่อนหักภาษี = (100% * 1,000) / 70% = 1,428.57 บาท
ขั้นที่ 2 : นำเงินที่คำนวณได้จากขั้นที่ 1 รวมเป็นรายได้ของเรา ในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วคิดภาษีออกมา ตามฐานภาษีของช่วงรายได้ ที่รายได้ส่วนนี้ไปตกอยู่ (ในที่นี้สมมติว่าเป็น 10%) = 1,428.57 * 10% = 142.86 บาท

ภาษีรวม = 142.86 บาท

จะเห็นได้ว่า เรามีการเสียภาษีเกินไปจำนวน = 528.57 - 142.86 = 385.71 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้ เราจะสามารถขอคืนได้ ผ่านทางการเครดิตภาษีเงินปันผลนั่นเองครับ (จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อยเลยนะครับ จากเดิมได้รับเงินปันผลตกมาถึงมือแค่ 900 บาท ถ้าทำการเครดิตภาษีเงินปันผล จะได้เงินปันผลเพิ่มมาอีก 385.71 บาทครับ)
subdee2009
Verified User
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

            หุ้นทุนได้รับคืนมา (Treasury Stock) หมายถึง หุ้นทุนของบริษัทที่ออกใบหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นไปแล้ว ต่อมาได้รับคืนยังถืออยู่ในมือโดยมิได้ยกเลิกหุ้นทุนนั้น ทุนจดทะเบียนของบริษัทจึงไม่เปลี่ยนแปลง แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นจะลดลงตามจำนวนหุ้นที่ได้รับคืนมา
                ประมวลกฎหมายและพาณิชย์ห้ามมิให้บริษัทเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเองหรือรับจำนำหุ้นของตนเอง ดังนั้นเมื่อบริษัทได้รับหุ้นทุนกลับคืนมาไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ถ้าไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะยกเลิกหุ้นทุนดังกล่าวเพื่อลดทุนจดทะเบียนลง จะต้องรีบนำหุ้นนั้นจำหน่ายกลับออกไปโดยเร็ว
                            บริษัทอาจได้รับหุ้นทุนคืนมาในกรณีต่างๆ ดังนี้

หุ้นทุนที่ซื้อคืนมา
หุ้นทุนที่รับชำระจากลูกหนี้
หุ้นทุนที่ได้รับบริจาค
            หุ้นทุนที่ซื้อคืนมา บริษัทอาจซื้อหุ้นทุนของบริษัทกลับคืนมาด้วยเหตุผลบางประการ เช่น เพื่อช่วยให้หุ้นของบริษัทมีราคาซื้อขายในตลาดสูงขึ้นหรือมีสภาพคล่องมากขึ้น แล้วจึงนำออกจำหน่ายใหม่ในภายหลัง เป็นต้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 มาตรา 5 กำหนดว่าบริษัทมหาชนอาจซื้อหุ้นทุนของบริษัทคืนมาได้ใน 2 กรณี คือ
            1)บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งแก้ไขข้อบังคับของบริษัทเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน และสิทธิในการรับเงินปันผลซึ่งผู้ถือหุ้นเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม
            2)บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกิน และการซื้อหุ้นคืนนั้นไม่เป็นเหตุให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน
            หุ้นที่ซื้อคืนมาไม่ว่าจะด้วยเหตุใด บริษัทจะจำหน่ายออกไปได้เมื่อพ้น 6 เดือน นับจากวันที่ซื้อหุ้นคืนมาในแต่ละคราว โดยต้องจำหน่ายให้หมดภายใน 3 ปี ถ้าไม่สามารถจำหน่ายได้ภายในเวลาที่กำหนดจะต้องทำการลดทุนจดทะเบียนลง ในระหว่างที่ยังถือหุ้นดังกล่าวอยู่บริษัทจะเพิ่มทุนออกหุ้นใหม่มาเสนอขายไม่ได้ และห้ามมิให้นับจำนวนหุ้นดังกล่าวเป็นองค์ประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและไม่มีสิทธิในการรับเงินปันผลด้วย
            สำนักกำกับบัญชีตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ได้กำหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับการซื้อหุ้นคืน และการจำหน่ายหุ้นซื้อคืนในภายหลัง โดยอาจบันทึกบัญชีได้ 2 วิธี คือ
            วิธีที่1 : บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามราคาทุน (แนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ)
            วิธีที่2 : บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามมูลค่าหุ้น (แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ)

วิธีที่1 : บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามราคาทุน (Costs Method) วิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีที่บริษัทต้องการใช้หุ้นซื้อคืนเป็นเครื่องมือในการบริหารปริมาณ และราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือต้องการลดภาระการจ่ายเงินปันผล โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะลดทุน การซื้อหุ้นทุนคืนมาในกรณีนี้จึงไม่ควรมีผลกระทบต่อรายการในส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่เดิม
            1.เมื่อซื้อหุ้นทุนคืนมา ให้เดบิตบัญชีหุ้นทุนได้รับคืนมา ตามราคาทุนที่ซื้อคืนซึ่งประกอบด้วยต้นทุนทางตรงและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ราคาซื้อ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เป็นต้น
เดบิต หุ้นทุนได้รับคืนมา (ราคาทุน)                   xx
เครดิต เงินสด                                              xx
            2.เมื่อจำหน่ายหุ้นทุนที่ซื้อคืนมา ให้ลดยอดบัญชีหุ้นทุนได้รับคืนตามราคาทุน (หากมีการซื้อหุ้นทุนคืนมาหลายครั้งในราคาที่แตกต่างกัน ถ้าไม่สามารถระบุได้ว่าหุ้นทุนที่จำหน่ายออกไปมีราคาทุนเท่าใด อาจคำนวณราคาทุนโดยใช้ วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก หรือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน ก็ได้)
เดบิต เงินสด                                            xx
เครดิต หุ้นทุนได้รับคืนมา (ราคาทุน)                 xx
กรณีจำหน่ายหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาในราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาทุน ให้บันทึกผลต่างดังนี้
            - ผลต่างด้านเครดิต ให้บันทึกไว้ในบัญชี ส่วนเกินทุนจากหุ้นทุนได้รับคืนมา
            - ผลต่างด้านเดบิต การนำหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาออกจำหน่ายใหม่ในราคาต่ำกว่ามูลค่า ผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น ซึ่งต่างจากการนำหุ้นออกจำหน่ายครั้งแรกผู้ซื้อต้องรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทเต็มตามมูลค่าหุ้น ผลต่างด้านเดบิตในกรณีนี้จึงไม่บันทึกในบัญชีส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น แต่ให้นำไปหักลดยอดบัญชีต่างๆ ตามลำดับดังนี้

            ขั้นที่1 : หัก ส่วนเกินทุนจากหุ้นทุนได้รับคืนมา ของหุ้นทุนชนิดเดียวกัน (ถ้ามี)
            ขั้นที่2 : หัก กำไรสะสม

วิธีที่2 : บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามมูลค่าหุ้น ให้ลดยอดบัญชีหุ้นทุนได้รับคืนมาตามมูลค่าหุ้น โดย
เดบิต เงินสด                                xx
เครดิต หุ้นทุนได้รับคืนมา                          xx
กรณีจำหน่ายหุ้นทุนที่ซื้อมาในราคาสูงหรือต่ำกว่ามูลค่า ให้บันทึกผลต่างดังนี้
            - ผลต่างด้านเครดิต ให้บันทึก ส่วนเกินมูลค่าหุ้น เหมือนการจำหน่ายหุ้นทุนตามปกติ
            - ผลต่างด้านเดบิต ให้นำไปหักลดยอดบัญชีต่างๆ เช่นเดียวกับวิธีราคาทุน ดังนี้

ขั้นที่1 : หัก ส่วนเกินทุนจากหุ้นทุนได้รับคืนมา ของหุ้นทุนชนิดเดียวกัน (ถ้ามี)
ขั้นที่2 : หัก กำไรสะสม

            การแสดงรายการหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาในงบดุล รายการเกี่ยวกับหุ้นทุนซื้อคืนมาจะมีผลต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลเท่านั้น ไม่มีผลต่อรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
            วิธีที่1 :  บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามราคาทุน ให้แสดงจำนวนและราคาทุนของหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล โดยแสดงต่อจากกำไรสะสม
            วิธีที่2 : บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามมูลค่าหุ้น ให้แสดงจำนวนและมูลค่าหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาเป็นรายการหักจากบัญชีหุ้นทุนนั้นในงบดุล แบะสรุปเป็นทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วสุทธิ
            สำหรับส่วนเกินทุนจากหุ้นทุนได้รับคืนมาทั้ง 2 วิธี ให้แสดงเป็นส่วนหนึ่งของส่วนเกินทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นตามปกติ โดยทั้ง 2 วิธีจะปรากฏยอดรวมในส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากันเสมอ
            การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ต้องแสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงจำนวนและมูลค่าหุ้นทุนที่ซื้อคืน ได้แก่ การซื้อหุ้นทุนคืนมา การยกเลิกหุ้นทุนซื้อคืน หรือการนำหุ้นทุนนั้นออกจำหน่ายใหม่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงส่วนเกินทุนจากหุ้นทุนซื้อคืนนั้น
            บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และนโยบายการบัญชี จำนวนและมูลค่าของหุ้นซื้อคืนที่นำไปหักจากส่วนของผู้ถือหุ้น แสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบดุลหรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน

            การจัดสรรกำไรสะสมสำหรับหุ้นทุนที่ซื้อคืนมา เป็นการกันเงินกำไรไว้ในบริษัทเพื่อมิให้นำไปจ่ายเป็นเงินปันผลจนกว่าจะมีการจำหน่ายหุ้นทุนนั้นกลับออกไป ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันให้กับเจ้าหนี้ โดยบริษัทต้องจัดสรรกำไรสะสมไว้ในจำนวน เท่ากับราคาทุนที่ซื้อคืนมา ไม่ว่าจะใช้วิธีบันทึกหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาตามราคาทุนหรือตามราคามูลค่าหุ้น โดยอาจจัดสรรกำไรสะสมได้ 2 วิธี
            วิธีที่1 : ไม่บันทึกบัญชีกำไรสะสมจัดสรร เพียงแต่เปิดเผยข้อมูลไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาและจำนวนกำไรสะสมที่บริษัทต้องจัดสรรไว้สำหรับหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาทั้งสิ้น
            วิธีที่2 : บันทึกบัญชีกำไรสะสมจัดสรร ดังนี้
            - เมื่อซื้อหุ้นทุนคืนมา ให้ลดยอดบัญชีกำไรสะสม โอนไปเข้าบัญชีกำไรสะสมจัดสรรตามราคาทุนที่จ่ายซื้อหุ้นทุนคืนมาทั้งสิ้น เช่น หุ้นสามัญมูลค่าหุ้นละ 100 บาท บริษัทซื้อคืนมาในราคาหุ้นละ 110 บาท จำนวน 1,000 หุ้น จะบันทึกรายการจัดสรรกำไรสะสม โดย

    เดบิต กำไรสะสม (1,000x110)               110,000
เครดิต กำไรสะสมจัดสรร-สำหรับหุ้นสามัญได้รับคืนมา     110,000
            - เมื่อจำหน่ายหุ้นทุนที่ซื้อคืนมา ให้โอนกลับรายการจัดสรรกำไรสะสม ตามส่วนของจำนวนหุ้นที่ขายกลับออกไป เช่น บริษัทนำหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาออกจำหน่ายในราคาหุ้นละ 120 บาท จำนวน 500 หุ้น จะบันทึกรายการโอนกลับกำไรสะสมจัดสรรตามราคาทุนที่ซื้อคืน โดย

                                  เดบิต กำไรสะสมจัดสรร-สำหรับหุ้นสามัยได้รับคืนมา 55,000
เครดิต กำไรสะสม (500x110)                                               55,000

            หุ้นทุนที่ได้รับชำระจากลูกหนี้  ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบางรายมีฐานะเป็นลูกหนี้ของบริษัทด้วย บริษัทอาจได้รับชำระหนี้เป็นหุ้นทุนของบริษัทที่ลูกหนี้รายนั้นถืออยู่ การบันทึกหุ้นทุนที่ได้รับคืนมาจากลูกหนี้จะแตกต่างจากการบันทึกหุ้นทุนที่ซื้อคืนมาเพียงรายการเดียวเท่านั้นคือ ณ วันที่ได้รับหุ้นทุนคืนมา รายการ เครดิต เงินสด ให้เปลี่ยนเป็น เครดิต ลูกหนี้ ตามจำนวนหนี้ที่รับชำระสำหรับรายการอื่นๆให้บันทึกเหมือนกัน รวมทั้งมีการจัดสรรกำไรสะสมสำหรับหุ้นทุนได้รับคืนมาด้วย

            หุ้นทุนที่ได้รับบริจาค การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหุ้นทุนที่รับบริจาคสรุปได้ดังนี้
            วิธีที่1 : บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามราคาทุน ตามวิธีนี้ในวันที่บริษัทได้รับบริจาคหุ้นทุนเพียงแต่บันทึกทรงจำไว้ และจะบันทึกบัญชีเมื่อนำหุ้นทุนที่ได้รับบริจาคออกจำหน่าย โดยจำนวนเงินที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ให้เครดิตไว้ในบัญชีส่วนเกินทุนจากการบริจาค
            วิธีที่2 : บันทึกหุ้นทุนได้รับคืนมาตามมูลค่าหุ้น วิธีนี้จะบันทึกบัญชีเช่นเดียวกับกรณีที่ซื้อหุ้นทุนคืนมา เพียงแต่ในวันที่ได้รับหุ้นทุนคืนมาให้เปลี่ยนรายการ เครดิต เงินสด เป็น เครดิตส่วนเกินทุนจากการบริจาค และต่อมาถ้านำหุ้นทุนที่ได้รับบริจาคออกจำหน่ายได้ในราคาที่สูงหรือต่ำกว่ามูลค่าหุ้น ให้บันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชีส่วนเกินทุนจากการบริจาค
            หลังจากบริษัทนำหุ้นทุนที่ได้รับบริจาคออกจำหน่ายทั้งหมดแล้ว บัญชีส่วนเกินทุนจากการบริจาคจะมียอดคงเหลือเท่ากันทั้ง 2 วิธี โดยวิธีที่ 1 เป็นที่นิยมมากกว่าเพราะง่ายในการปฏิบัติ อีกทั้งบัญชีส่วนเกินทุนจากการบริจาคซึ่งบันทึกต่อเมื่อมีการจำหน่ายหุ้นแล้ว จะแสดงยอดตรงตามความเป็นจริงมากกว่า
            หมายเหตุ : บริษัทไม่ต้องจัดสรรกำไรสะสมไว้สำหรับหุ้นทุนที่ได้รับบริจาค เนื่องจากเป็นการได้รับหุ้นทุนคืนมาโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนหรือค่าตอบแทนใดๆ
subdee2009
Verified User
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ถ้าเปลี่ยนเป็นบริบัทร่วม

ส่วนเกินทุนจากหุ้นซื้อคืนจะไม่รับรุ้ในบ แม่ใช่มั้ยค่ะ


Thanks ka


parporn เขียน:
miracle เขียน:มีคำถาม
บริษัทแม่ ถือบริษัทลูก เกิน 90% ทำให้ งบการเงินของบริษัทลูกรวมอยู่ในงบรวมของบริษัทแม่แล้ว
ถ้าหากบริษัทลูกจ่ายเงินปันผลออกมา กระทบงบรวมอย่างไง และ งบเดี๋ยวของแม่จะปรากฏราคาการเงินปันผลหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
:)
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า แม่กับลูกนั้นถือเสมือนเป็นบริษัทเดียวกัน ในงบรวม การที่ลูกจ่ายเงินให้แม่ แม้ว่าจะเป็นคนละบริษัทกันก็เหมือนการย้ายจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา

ดังนั้น ในงบรวม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
1. เงินสด แม่ + ลูก เท่าเดิมทั้งก่อนจ่ายปันผลและหลังจ่าย
2. แม่ไม่มีรายได้จากเงินปันผล เพราะรายได้ที่บันทึกคือส่วนหนึ่งของกระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวา
3. ลูกไม่มีเงินปันผลจ่ายที่จะนำไปลบจากกำไรสะสม
4. งบการเงินของแม่ + ลูกเปรียบเสมือนบริษัทเดียวกัน โดยสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่ายจะบวกรวมกันทั้งหมด (หลังจากที่ได้ปรับเรื่องการจ่ายกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวาออกหมดแล้ว อย่างเรื่องเงินปันผลที่ว่า) แต่เมื่อแม่ถือลูก 90% สินทรัพย์ในงบดุลส่วนหนึ่งจึงเป็นของ "ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม" หรือที่เรียกกันในอดีตว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ที่เป็น ผถห อีก 10% ในบริษัทลูก เพราะเขาก็มีเอี่ยวกับสินทรัพย์ของบริษัทย่อยที่รวมอยู่ในงบรวม

ในงบเดี่ยว เราถือว่าแม่และลูกเป็นบริษัทที่แยกจากการ เหมือนว่าไม่ใช่แม่ลูกกัน ดังนั้น
1. ในงบดุล - แม่มีเงินสดเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนปันผลรับ
2. ในงบดุล - ลูกมีเงินสดลดลงเท่ากับปันผลจ่าย (โปรดสังเกตว่าจำนวนเงินที่แม่และลูกบันทึกจะไม่เท่ากันเพราะแม่ถือลูกแค่ 90%)
3. ในงบกำไรขาดทุน - แม่มีรายได้จากเงินปันผลที่ได้จากลูก
4. ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น - ลูกมีปันผลจ่ายแสดงหักจากกำไรสะสม
5. ในงบดุล - ส่วนทุนของลูกลดลงเท่ากับจำนวนปันผล (เพราะกำไรสะสมลดลง)
MaiFuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 71

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ขอขอบคุณ อ.winnermax อ.parporn อ.sun cica2 มากๆครับ
อธิบายดีมาก กระจ่างมากๆครับ
คลายข้อสงสัยทั้งหลายของผมได้เยอะเลย เยี่ยมจริงครับ

ขอบคุณน้องจากmba สำหรับบทความนี้ด้วยครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 28

โพสต์

subdee2009 เขียน:ถ้าเปลี่ยนเป็นบริบัทร่วม

ส่วนเกินทุนจากหุ้นซื้อคืนจะไม่รับรุ้ในบ แม่ใช่มั้ยค่ะ


Thanks ka


parporn เขียน:
miracle เขียน:มีคำถาม
บริษัทแม่ ถือบริษัทลูก เกิน 90% ทำให้ งบการเงินของบริษัทลูกรวมอยู่ในงบรวมของบริษัทแม่แล้ว
ถ้าหากบริษัทลูกจ่ายเงินปันผลออกมา กระทบงบรวมอย่างไง และ งบเดี๋ยวของแม่จะปรากฏราคาการเงินปันผลหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
:)
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า แม่กับลูกนั้นถือเสมือนเป็นบริษัทเดียวกัน ในงบรวม การที่ลูกจ่ายเงินให้แม่ แม้ว่าจะเป็นคนละบริ :ohno: ษัทกันก็เหมือนการย้ายจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา

ดังนั้น ในงบรวม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
1. เงินสด แม่ + ลูก เท่าเดิมทั้งก่อนจ่ายปันผลและหลังจ่าย
2. แม่ไม่มีรายได้จากเงินปันผล เพราะรายได้ที่บันทึกคือส่วนหนึ่งของกระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวา
3. ลูกไม่มีเงินปันผลจ่ายที่จะนำไปลบจากกำไรสะสม
4. งบการเงินของแม่ + ลูกเปรียบเสมือนบริษัทเดียวกัน โดยสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่ายจะบวกรวมกันทั้งหมด (หลังจากที่ได้ปรับเรื่องการจ่ายกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวาออกหมดแล้ว อย่างเรื่องเงินปันผลที่ว่า) แต่เมื่อแม่ถือลูก 90% สินทรัพย์ในงบดุลส่วนหนึ่งจึงเป็นของ "ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม" หรือที่เรียกกันในอดีตว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ที่เป็น ผถห อีก 10% ในบริษัทลูก เพราะเขาก็มีเอี่ยวกับสินทรัพย์ของบริษัทย่อยที่รวมอยู่ในงบรวม

ในงบเดี่ยว เราถือว่าแม่และลูกเป็นบริษัทที่แยกจากการ เหมือนว่าไม่ใช่แม่ลูกกัน ดังนั้น
1. ในงบดุล - แม่มีเงินสดเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนปันผลรับ
2. ในงบดุล - ลูกมีเงินสดลดลงเท่ากับปันผลจ่าย (โปรดสังเกตว่าจำนวนเงินที่แม่และลูกบันทึกจะไม่เท่ากันเพราะแม่ถือลูกแค่ 90%)
3. ในงบกำไรขาดทุน - แม่มีรายได้จากเงินปันผลที่ได้จากลูก
4. ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น - ลูกมีปันผลจ่ายแสดงหักจากกำไรสะสม
5. ในงบดุล - ส่วนทุนของลูกลดลงเท่ากับจำนวนปันผล (เพราะกำไรสะสมลดลง)
คำถามของคุณซับซ้อนเกินสามัญ (คิดได้ไง??)

ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่นำประกาศ กลต เรื่องหุ้นซื้อคืนมา post ให้ ประกาศฉบับนี้น่่าจะนานนมกาเลจนลืมไปแล้ว (น่าจะเป็นประกาศสมัยอาจารย์ยังเป็นที่ปรึกษาให้สำนักกำกับบัญชีตลาดทุนอยู่)

กลับมาที่คำถามของคุณ บริษัทใหญ่ (ใหญ่) ซื้อหุ้นของอีกบริษัทหนึ่งจนบริษัทนั้นเข้าข่ายเป็นบริษัทร่วม (ร่วม) ถ้าร่วมซื้อหุ้นตัวเองคืนก่อนใหญ่เข้ามา take แต่ยังไม่ขายออกไปหรือขายทีหลังการ take สถานการณ์จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของใหญ่ในร่วมเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสัดส่วนของหุ้นที่ร่วมซื้อคืนและขายออกไป

การที่ร่วมมี "ส่วนเกินทุนจากหุ้นซื้อคืน" แสดงว่าร่วมได้ขายหุ้นซื้อคืนออกไปได้กำไรกว่าตอนซื้อเข้ามา เมื่อใหญ่แสดงงบการเงินรวมหรืองบที่แสดงเงินลงทุนโดยวิธีส่วนได้เสีย ส่วนเกินทุนนี้จะโผล่ในงบการเงินของบริษัทใหญ่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "ส่วนเกินทุน (หรือส่วนต่ำกว่่าทุน) จากการซื้อหุ้นคืนของบริษัทร่วม" (หรือใช้ชื่ออื่นตามที่จินตนาการจะพาไป) โดยถือเป็นรายการที่เกี่ยวกับ "Change in ownership" รายการหนึ่ง

Change in ownership นี้จะแสดงตามจำนวนที่คำนวณใหม่ จำนวนที่ว่าจะเป็นบวกหรือลบเท่าไรขึ้นอยู่กับตัวแปรต่อไปนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนการถือหุ้นในร่วมของใหญ่ (ปกติการที่ร่วมขายหุ้นซื้อคืนออกไปทำให้สัดส่วนของใหญ่ในร่วมลดลง พูดง่ายๆ ใหญ่ถือหุ้นน้อยลง) และ
2. การขายหุ้นซื้อคืนออกไปทำให้ร่วมได้รับเงินสดมากน้อยเท่าไร (ดีขึ้นหรือแย่ลงจากการซื้อหุ้นคืนมาๆ ไปๆ)

เนื่องจากตัวแปรทั้งสองเกิดขึ้นด้วยสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน การผ่องถ่ายความมั่งคั่ง wealth transfered ระหว่างใหญ่กับผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (ผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม NCI) จะเกิดขึ้น

ถ้าเงินสดที่ได้สูงกว่าสัดส่วนที่ลดลง ใหญ่จะมีส่วนเกินทุนเพิ่มขึ้นหรือ Change in ownership เป็นบวก (wealth transfered จากผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาให้ใหญ่) แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม wealth จะ transfered จากใหญ่ไปให้ NCI คือ ใหญ่จะมีสถานภาพแย่ลงโดยจะแสดงเป็นรายการ ส่วนต่ำกว่าทุนหรือ Change in ownership เป็นลบติดอยู่ในส่วนทุน ขณะที่ NCI จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

คำตอบนี้ใช้ได้กับเงินลงทุนในบริษัทย่อยด้วยคือ ส่วนเกินทุนจากหุ้นซื้อคืนจะเปลี่ยนไปเป็น Change in ownership (หรือชื่ออื่น) ในงบการเงินรวม

วันหลังช่วยหาคำถามที่ยากกว่านี้มาถามด้วย
:):):)
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เพิ่มเติมอีกนิด คำตอบตอนท้ายพูดถึง NCI ที่เกี่ยวกับย่อยแต่ไม่เกี่ยวกับร่วม แต่จริงๆ แล้วเหมือนกันคือ แม้ใหญ่จะแสดงร่วมด้วยวิธี Equity ส่วนเกินทุนหรือต่ำ่กว่าทุนที่เป็น Change in ownership ก็จะโผล่ขึ้นในงบการเงินรวมหรืองบการเงินที่แสดงโดยวิธีส่วนได้เสียเหมือนกัน

สรุปว่า Wealth จะ transfered ระหว่างใหญ่กับ NCI ในกรณีที่เป็นย่อย และใหญ่กับผู้ถือหุ้นอื่นในกรณีที่เป็นร่วม
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน

โพสต์ที่ 30

โพสต์

โทษอีกทีค่ะ transferred มี r สองตัวค่ะ ไม่ได้เขียนภาษาฝรั่งนาน ว่าเขียนออกมาแล้ว r ตัวเดียวไม่คุ้นอย่างไรไม่รู้
โพสต์โพสต์