ขอบคุณสำหรับคำถามครับ งั้นผมขออธิบายเรื่อง Platform business model สั้นๆแล้วกันครับBird.Songwut เขียน: ↑เสาร์ ธ.ค. 02, 2023 2:12 pmดูยังไงก็ดูไม่ออกว่า NSL จะเป็นบริษัทที่เป็น Platform ที่จะมีคำนิยามว่า Food platform as a service ได้อย่างไร
ยังไม่เห็นเขามีแพลตฟอร์มอะไรเลยครับ ก็เห็นมีโรงงานกับฝ่าย R&D ตามปกติ
.
ผมคิดว่า หลายคนสับสนว่า Platform business model กับธุรกิจพวก Software เช่น Shopee, Facebook หรือ AirBnB กับคำว่า Network Effect
.
ขอยกตัวอย่างนี้เพราะผมว่า คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า Platform คือ ประมาณนี้
.
ผมขอเกริ่นแบบนี้ก่อนครับ รากฐานขอคำว่า Platform มันไม่จำเป็นต้องเป็น Software ครับ จริงๆ Platform business model มีมานานแล้ว เพียงแต่ พออยู่ในโลกของ Internet มันทำให้ distribution มันทำได้เร็วมากขึ้น ง่ายขึ้น
.
กลับไปที่พื้นฐานของคำว่า Platform business model ก่อน Platform คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมให้เกิด transaction ระหว่าง party ใน platform
Platform แบบที่ simple ที่สุด ที่คนชอบเอามาอธิบายเป็น Metcalfe's law คือ Single side platform ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ Facebook หรือ Line ถ้าย้อนกลับไปอีก จริงๆ Model ธุรกิจ Platform อยู่กับเรามานานมากๆแล้ว ซึ่งก็คือ ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ นั่นแหละครับ
ถัดมาเป็น Platform ประเภท two sided platform ซึ่งอันนี้บางคนอาจจะคุ้นเคยมากกว่า คือ Shopee, AirBnB เป็น Platform ที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือถ้าไม่ใช่ตัวอย่างที่เป็น Software คือ ธุรกิจแบบ CPN, The Mall หรือ Sephora เป็นต้น ซึ่งเป็น Platform ที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ ผู้ผลิต เช่นกัน
เพราะฉะนั้น คำว่า Platform ไม่จำเป็นต้องเป็น Software เพียงแต่พอเป็น Internet software มันทำให้ distribution advantage มันชัดขึ้น ก็เท่านั้นเองครับ
แต่ไม่ใช่ว่าพอเป็น Platform แล้วจะ success โดยอัตโนมัติ เพราะ Platform ที่ไม่มี interaction มันก็ไม่ต่างกับห้างที่ร้าง หรือ ตัว Thread ที่ Meta ถึงจะพยายามทำเลียนแบบ X แต่มันก็ไม่เกิด เพราะปัญหาของ Platform ประเภท two sided คือ ทำยังไงให้ทั้ง buyer และ seller ยังอยู่กับ platform
แต่ถ้า Platform ที่ผ่านจุดที่เรียกว่า Cold start ขึ้นไปได้ มันจะเริ่มเกิด Scale ซึ่งอันนี้เป็นจุดที่ทำให้คำว่า Platform น่าสนใจ ซึ่งสรุปสั้นๆคือ การเติบโตของธุรกิจที่เป็น Platform จะทำได้ดีกว่าธรกิจแบบเดิมที่เป็น Pipeline business แต่จะต้องสามารถทำ Platform ให้ข้ามผ่านจุดที่มันเริ่ม scale ได้ ถึงจะเกิด ไม่งั้น Platform นั้น มันก็จะเจ๊งไปเองครับ
ทีนี้ พอมันเริ่ม scale เราถึงค่อยมาพูดถึงคำว่า Network effect เอาแบบ Simple สุดๆแล้ว คือ Metcalfe's law แต่ถ้าศึกษาไปลึกๆ คุณจะเข้าใจว่า Metcalfe's law มัน apply ได้แค่ช่วงเริ่มต้นของ Platform เกินไปมากกว่านี้ มันจะเจอสิ่งที่เรียกว่า Declining marginal utility หรือเจอ Plateau ของมันเหมือนัน ผมยกตัวอย่างง่ายๆ Line หรือ Facebook เพื่อนคุณ พอถึงจุดนึง มันจะเริ่มกลายเป็นปัญหา เพราะมันเยอะเกินไป มันไม่ได้ scale ไปถึง infinity ได้ตามสูตรตรงๆขนาดนั้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่สังคมอยู่แค่เฉพาะกลุ่ม มากกว่านี้ มันจะเริ่มเป็นปัญหา
ผมของลองยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น คือ Amazon ช่วงแรก ก็เอาหนังสือมาขาย ทำตัวเป็น Pipeline business แบบนี้ยังไม่ใช่ Platform แต่พอ Amazon เริ่มเอาของ 3rd party มาขายบน web ทำให้การเติบโตทำได้เร็วขึ้น เลยเป็นข้อดีของ Platform ที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว
พอมาถึงสมัยนี้ ถ้าเป็น Platform ยิ่งชัดเจนว่าอาจจะตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีกว่า
สาเหตุเพราะ ความต้องการผู้บริโภคสมัยนี้ มี choice มาก ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ strategy คือ ผลิตสินค้าออกมา ลงสื่อโฆษณา แล้วไปวางขายใน distribution channel แล้วจบ สมัยนี้ก็เห็นแล้วว่า ธุรกิจสื่อโฆษณาทางทีวีค่อนข้างเหนื่อย ห้างสมัยนี้ก็หลักๆคือร้านอาหาร ส่วนของคนไปช้อป online กันหมด
การใช้วิธีคิดแบบเดิมเลยเริ่มไม่ได้ผล ส่วนนึงเพราะสมัยนี้มีสิ่งที่เรียกว่า Creator economy แล้วผุ้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าเมื่อก่อนมาก ทฤษฏี Five-Forces ของ Porter ที่มีมาตั้งแต่ปี 1979 (สี่สิบกว่าปีแล้ว) อาจจะเหมาะกับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงน้อย พฤติกรรมผู้บริโภคมี stickyness สูง แต่อาจจะไม่ค่อย effective ในปัจจุบัน หรือ 4P ของ Jerome McCarthy ที่คิดมาตั้งแต่ปี 1960 ในสมัยนั้นที่คนยังดูทีวีเดินห้างอาจจะใช้ได้ดี แต่สมัยนี้โลกก็เปลี่ยนไปมาก ทฤษฏีนี้ผมคิดว่ากำลังถูก Challenge ด้วย Creator economy ผ่าน Tiktok Youtube ฯลฯ
ถ้าธุรกิจแบบที่เป็นการผลิตแล้วทำ R&D แบบ model เดิม ผมคิดว่า อันนั้นน่าจะหมายถึง CPRAM มากกว่า เพราะเป็น model คิดเอง ผลิตเอง ขายเอง แต่ด้วยความที่ความต้องการผู้บริโภค โดยเฉพาะ Gen Z ลงมาเปลี่ยนแปลงเร็ว การใช้ Model ทำ R&D ผลิต เพื่อใล่ตามผู้บริโภคให้ทัน ก็ยังทำได้ เพียงแต่มันยากขึ้น พอ NSL เป็นคนที่ช่วยทำให้ Creator อย่างเชฟบีม มียอดขายใน 7-11 ซึ่งต้องทำงานร่วมกันเพราะ อยู่ๆ 7-11 คงไม่คุยกับเชฟบีม แล้วเชฟบีม จะทำงานกับ 7-11 ไปให้ตลอดรอดฝั่งในฐานะคนทำอาหารคนนึง คงไม่ใช่เรื่องหมู อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว ผมคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มว่า ปัญหาของคนทำร้านอาหาร pain point ที่สำคัญอย่างนึงคือ Cost control กับ Operation management ซึ่งตรงจดนี้แหละครับ ที่ NSL เลยทำตัวเป็นตัวเชื่อมระหว่างสองคนนี้ ที่ผมเรียกว่า Platform ทำให้ Bake a wish ก็มีมาตั้งนาน แต่เพิ่งจะเอามาขายใน 7-11 แล้วยอดขายดูจะไปได้ดี ถ้าไม่ได้คนที่เข้าใจธุรกิจของทั้งสองฝั่งเป็นอย่างดี win win กันทั้งคู่ คนขายได้ยอดขาย ส่วน 7-11 ได้เพิ่ม Same Store sale growth ถ้าไม่ใช่เพราะ Value Added ที่ NSL ที่เข้าใจธุรกิจและความต้องการของทั้งสองฝั้่งเป็นตัวเชื่อม เทียบกับการที่ Bake a wish เข้าไปหา 7-Eleven ตรงๆ
อีก Value added ของ NSL คงเป็นเรื่อง Pricing strategy ซึ่งการจะทำ Pricing strategy ได้ดี ก็ควรจะเห็น Demand curve กับ Cost curve ที่หลากหลายและยาวนานพอ สมมติผมเป็นคนทำขนมเจ้านึง ผมควรจะ set price ยังไง ถ้าไม่รู้ว่า demand curve เป็นยังไง price sensitivity ของเส้น demand มันเป็นแบบไหน ถ้าเอาแบบกำปั้นทุบดิน ผมก็แค่สุ่มไป ใช้ cost plus strategy ไป แต่คุณทราบไหมว่า ธุรกิจจำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่า ตัวเองควรตั้งราคาเท่าไหร่ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดและจะ manage ต้นทุนยังไง ผมเคยฟังผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่มี Market cap หลายหมื่นล้านบาท ที่แกก็น่ารักที่คุยกันตรงๆว่า ผมก็เพิ่งจะมาเข้าใจเรื่อง การจัดการต้นทุนผลิตเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากอยู่ในตลาดมาหลายปี
แล้วการขายของใน 7-11 ถ้าคนไม่มีประสบการณ์ ผมคิดว่าก็ไม่ง่าย เช่น สินค้าชิ้นนึงราคาไม่กี่สิบบาท แล้ว shelf live มันก็ไม่ได้นาน ส่วนใหญ่ไม่เกินสิบวัน ถ้าไมใช่สินค้าแช่แข็ง ราคาขายระดับนี้ มันอาจจะไม่ได้มี margin ที่สูงมากพอที่จะ absorb กับ inventory loss ในช่วงแรก ยิ่งถ้าสายป่านคุณไม่ยาวพอ ทำให้การจัดการต้นทุนยิ่งสำคัญสำหรับสินค้ากลุ่มอาหาร รวมไปถึงการวางแผนผลิตว่า ระดับไหนที่เหมาะสม
หรืออีกตัวอย่าง ที่อาจจะคล้ายๆกัน คือ แบรนด์เครื่องสำอางค์สองแบรนด์ ที่คนนึง เป็นลักษณะพยายาทำแบรนด์ตัวเอง กับอีกคนที่ไป X กับ creator แล้วพอทำงานร่วมกัน ก็สร้างการเติบโตได้ดีกว่าแบรนด์แรก (ขออนุญาตไม่ mention ว่าเป็นแบรนด์ไหนนะครับ ผมว่าน่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว)
ผมก็กำลังดูว่า NSL เหมือนจะเริ่มทำเป็นแบบบอย่างหลัง เพราะก็ต้องบอกว่า วันนี้ NSL ไม่ได้ทำแค่รับจ้างผลิตแซนวิช แต่ส่วนที่เป็น leverage จุดแข็งแล้วไปช่วยสร้างยอดขายการเติบโตให้กับแบรนด์อื่นๆค่อยๆมา วันนี้อาจจะยังเล็ก แต่อนาคต ถ้ามีแบรนด์แบบนี้เข้ามาเรื่อยๆ ก็อาจจะเป็น growth driver อีกตัว
ผมคิดว่า ภาพติดในใจหลายๆคน อาจจะมองไปเหมือนเป็น PB หรือตัวอื่นๆที่คล้ายๆกัน แต่อยากชวนให้ลองมองว่า ธุรกิจ NSL ค่อยๆเป็นมากกว่าการรับจ้างผลิต ไม่ได้มีแค่ Ezy Taste หรือ Ezy Sweet เท่านั้น และกำลังจะหาช่องทางการเติบโตในต่างประเทศผ่าน distributor ที่ร่วมลงทุนกันอยู่ จะเป็นยังไง ทำได้แค่ไหน ก็อยากชวนให้ลองติดตามดูครับ
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง Platform ผมขออนุญาตแนะนำหนังสือที่ได้เคย mention ไว้ครับ แล้วอาจจะชวนสนทนาเรื่องการ scale ของธุรกิจแบบนี้ ว่า Opportunity Threat อยู่ตรงไหนอย่างไรบ้างครับ
ถ้าหากสนใจ Business model ของหุ้นต่างประเทศเพิ่มเติม สามารถคุยกันต่อได้ที่เพจ"ชีพจรลงทุน" ได้นะครับ ผมเพิ่งเขียนสรุปอุตสาหกรรม Semiconductor ว่า Ecosystem เป็นยังไง อุตสาหกรรมนี้ใน US ใครทำอะไรกันบ้าง ตั้งแต่ EDA, Computer Architecture จนไปถึง Foundry เผื่อใครสนใจครับ ผมอาศัยเวลาว่างๆเขียนเป็นงานอดิเรก ไม่มีชวนลงทุนหรือขายคอร์สครับ
