โพสต์ยอดนิยม

อวสานของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
max888
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1450
ผู้ติดตาม: 354

Re: NSL

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Bird.Songwut เขียน:
เสาร์ ธ.ค. 02, 2023 2:12 pm
ดูยังไงก็ดูไม่ออกว่า NSL จะเป็นบริษัทที่เป็น Platform ที่จะมีคำนิยามว่า Food platform as a service ได้อย่างไร
ยังไม่เห็นเขามีแพลตฟอร์มอะไรเลยครับ ก็เห็นมีโรงงานกับฝ่าย R&D ตามปกติ
ขอบคุณสำหรับคำถามครับ งั้นผมขออธิบายเรื่อง Platform business model สั้นๆแล้วกันครับ
.
ผมคิดว่า หลายคนสับสนว่า Platform business model กับธุรกิจพวก Software เช่น Shopee, Facebook หรือ AirBnB กับคำว่า Network Effect
.
ขอยกตัวอย่างนี้เพราะผมว่า คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า Platform คือ ประมาณนี้
.
ผมขอเกริ่นแบบนี้ก่อนครับ รากฐานขอคำว่า Platform มันไม่จำเป็นต้องเป็น Software ครับ จริงๆ Platform business model มีมานานแล้ว เพียงแต่ พออยู่ในโลกของ Internet มันทำให้ distribution มันทำได้เร็วมากขึ้น ง่ายขึ้น
.
กลับไปที่พื้นฐานของคำว่า Platform business model ก่อน Platform คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมให้เกิด transaction ระหว่าง party ใน platform

Platform แบบที่ simple ที่สุด ที่คนชอบเอามาอธิบายเป็น Metcalfe's law คือ Single side platform ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ Facebook หรือ Line ถ้าย้อนกลับไปอีก จริงๆ Model ธุรกิจ Platform อยู่กับเรามานานมากๆแล้ว ซึ่งก็คือ ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ นั่นแหละครับ

ถัดมาเป็น Platform ประเภท two sided platform ซึ่งอันนี้บางคนอาจจะคุ้นเคยมากกว่า คือ Shopee, AirBnB เป็น Platform ที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือถ้าไม่ใช่ตัวอย่างที่เป็น Software คือ ธุรกิจแบบ CPN, The Mall หรือ Sephora เป็นต้น ซึ่งเป็น Platform ที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ ผู้ผลิต เช่นกัน

เพราะฉะนั้น คำว่า Platform ไม่จำเป็นต้องเป็น Software เพียงแต่พอเป็น Internet software มันทำให้ distribution advantage มันชัดขึ้น ก็เท่านั้นเองครับ

แต่ไม่ใช่ว่าพอเป็น Platform แล้วจะ success โดยอัตโนมัติ เพราะ Platform ที่ไม่มี interaction มันก็ไม่ต่างกับห้างที่ร้าง หรือ ตัว Thread ที่ Meta ถึงจะพยายามทำเลียนแบบ X แต่มันก็ไม่เกิด เพราะปัญหาของ Platform ประเภท two sided คือ ทำยังไงให้ทั้ง buyer และ seller ยังอยู่กับ platform

แต่ถ้า Platform ที่ผ่านจุดที่เรียกว่า Cold start ขึ้นไปได้ มันจะเริ่มเกิด Scale ซึ่งอันนี้เป็นจุดที่ทำให้คำว่า Platform น่าสนใจ ซึ่งสรุปสั้นๆคือ การเติบโตของธุรกิจที่เป็น Platform จะทำได้ดีกว่าธรกิจแบบเดิมที่เป็น Pipeline business แต่จะต้องสามารถทำ Platform ให้ข้ามผ่านจุดที่มันเริ่ม scale ได้ ถึงจะเกิด ไม่งั้น Platform นั้น มันก็จะเจ๊งไปเองครับ

ทีนี้ พอมันเริ่ม scale เราถึงค่อยมาพูดถึงคำว่า Network effect เอาแบบ Simple สุดๆแล้ว คือ Metcalfe's law แต่ถ้าศึกษาไปลึกๆ คุณจะเข้าใจว่า Metcalfe's law มัน apply ได้แค่ช่วงเริ่มต้นของ Platform เกินไปมากกว่านี้ มันจะเจอสิ่งที่เรียกว่า Declining marginal utility หรือเจอ Plateau ของมันเหมือนัน ผมยกตัวอย่างง่ายๆ Line หรือ Facebook เพื่อนคุณ พอถึงจุดนึง มันจะเริ่มกลายเป็นปัญหา เพราะมันเยอะเกินไป มันไม่ได้ scale ไปถึง infinity ได้ตามสูตรตรงๆขนาดนั้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่สังคมอยู่แค่เฉพาะกลุ่ม มากกว่านี้ มันจะเริ่มเป็นปัญหา

ผมของลองยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น คือ Amazon ช่วงแรก ก็เอาหนังสือมาขาย ทำตัวเป็น Pipeline business แบบนี้ยังไม่ใช่ Platform แต่พอ Amazon เริ่มเอาของ 3rd party มาขายบน web ทำให้การเติบโตทำได้เร็วขึ้น เลยเป็นข้อดีของ Platform ที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว

พอมาถึงสมัยนี้ ถ้าเป็น Platform ยิ่งชัดเจนว่าอาจจะตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีกว่า

สาเหตุเพราะ ความต้องการผู้บริโภคสมัยนี้ มี choice มาก ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ strategy คือ ผลิตสินค้าออกมา ลงสื่อโฆษณา แล้วไปวางขายใน distribution channel แล้วจบ สมัยนี้ก็เห็นแล้วว่า ธุรกิจสื่อโฆษณาทางทีวีค่อนข้างเหนื่อย ห้างสมัยนี้ก็หลักๆคือร้านอาหาร ส่วนของคนไปช้อป online กันหมด

การใช้วิธีคิดแบบเดิมเลยเริ่มไม่ได้ผล ส่วนนึงเพราะสมัยนี้มีสิ่งที่เรียกว่า Creator economy แล้วผุ้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าเมื่อก่อนมาก ทฤษฏี Five-Forces ของ Porter ที่มีมาตั้งแต่ปี 1979 (สี่สิบกว่าปีแล้ว) อาจจะเหมาะกับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงน้อย พฤติกรรมผู้บริโภคมี stickyness สูง แต่อาจจะไม่ค่อย effective ในปัจจุบัน หรือ 4P ของ Jerome McCarthy ที่คิดมาตั้งแต่ปี 1960 ในสมัยนั้นที่คนยังดูทีวีเดินห้างอาจจะใช้ได้ดี แต่สมัยนี้โลกก็เปลี่ยนไปมาก ทฤษฏีนี้ผมคิดว่ากำลังถูก Challenge ด้วย Creator economy ผ่าน Tiktok Youtube ฯลฯ

ถ้าธุรกิจแบบที่เป็นการผลิตแล้วทำ R&D แบบ model เดิม ผมคิดว่า อันนั้นน่าจะหมายถึง CPRAM มากกว่า เพราะเป็น model คิดเอง ผลิตเอง ขายเอง แต่ด้วยความที่ความต้องการผู้บริโภค โดยเฉพาะ Gen Z ลงมาเปลี่ยนแปลงเร็ว การใช้ Model ทำ R&D ผลิต เพื่อใล่ตามผู้บริโภคให้ทัน ก็ยังทำได้ เพียงแต่มันยากขึ้น พอ NSL เป็นคนที่ช่วยทำให้ Creator อย่างเชฟบีม มียอดขายใน 7-11 ซึ่งต้องทำงานร่วมกันเพราะ อยู่ๆ 7-11 คงไม่คุยกับเชฟบีม แล้วเชฟบีม จะทำงานกับ 7-11 ไปให้ตลอดรอดฝั่งในฐานะคนทำอาหารคนนึง คงไม่ใช่เรื่องหมู อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว ผมคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มว่า ปัญหาของคนทำร้านอาหาร pain point ที่สำคัญอย่างนึงคือ Cost control กับ Operation management ซึ่งตรงจดนี้แหละครับ ที่ NSL เลยทำตัวเป็นตัวเชื่อมระหว่างสองคนนี้ ที่ผมเรียกว่า Platform ทำให้ Bake a wish ก็มีมาตั้งนาน แต่เพิ่งจะเอามาขายใน 7-11 แล้วยอดขายดูจะไปได้ดี ถ้าไม่ได้คนที่เข้าใจธุรกิจของทั้งสองฝั่งเป็นอย่างดี win win กันทั้งคู่ คนขายได้ยอดขาย ส่วน 7-11 ได้เพิ่ม Same Store sale growth ถ้าไม่ใช่เพราะ Value Added ที่ NSL ที่เข้าใจธุรกิจและความต้องการของทั้งสองฝั้่งเป็นตัวเชื่อม เทียบกับการที่ Bake a wish เข้าไปหา 7-Eleven ตรงๆ

อีก Value added ของ NSL คงเป็นเรื่อง Pricing strategy ซึ่งการจะทำ Pricing strategy ได้ดี ก็ควรจะเห็น Demand curve กับ Cost curve ที่หลากหลายและยาวนานพอ สมมติผมเป็นคนทำขนมเจ้านึง ผมควรจะ set price ยังไง ถ้าไม่รู้ว่า demand curve เป็นยังไง price sensitivity ของเส้น demand มันเป็นแบบไหน ถ้าเอาแบบกำปั้นทุบดิน ผมก็แค่สุ่มไป ใช้ cost plus strategy ไป แต่คุณทราบไหมว่า ธุรกิจจำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่า ตัวเองควรตั้งราคาเท่าไหร่ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดและจะ manage ต้นทุนยังไง ผมเคยฟังผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่มี Market cap หลายหมื่นล้านบาท ที่แกก็น่ารักที่คุยกันตรงๆว่า ผมก็เพิ่งจะมาเข้าใจเรื่อง การจัดการต้นทุนผลิตเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากอยู่ในตลาดมาหลายปี

แล้วการขายของใน 7-11 ถ้าคนไม่มีประสบการณ์ ผมคิดว่าก็ไม่ง่าย เช่น สินค้าชิ้นนึงราคาไม่กี่สิบบาท แล้ว shelf live มันก็ไม่ได้นาน ส่วนใหญ่ไม่เกินสิบวัน ถ้าไมใช่สินค้าแช่แข็ง ราคาขายระดับนี้ มันอาจจะไม่ได้มี margin ที่สูงมากพอที่จะ absorb กับ inventory loss ในช่วงแรก ยิ่งถ้าสายป่านคุณไม่ยาวพอ ทำให้การจัดการต้นทุนยิ่งสำคัญสำหรับสินค้ากลุ่มอาหาร รวมไปถึงการวางแผนผลิตว่า ระดับไหนที่เหมาะสม

หรืออีกตัวอย่าง ที่อาจจะคล้ายๆกัน คือ แบรนด์เครื่องสำอางค์สองแบรนด์ ที่คนนึง เป็นลักษณะพยายาทำแบรนด์ตัวเอง กับอีกคนที่ไป X กับ creator แล้วพอทำงานร่วมกัน ก็สร้างการเติบโตได้ดีกว่าแบรนด์แรก (ขออนุญาตไม่ mention ว่าเป็นแบรนด์ไหนนะครับ ผมว่าน่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว)

ผมก็กำลังดูว่า NSL เหมือนจะเริ่มทำเป็นแบบบอย่างหลัง เพราะก็ต้องบอกว่า วันนี้ NSL ไม่ได้ทำแค่รับจ้างผลิตแซนวิช แต่ส่วนที่เป็น leverage จุดแข็งแล้วไปช่วยสร้างยอดขายการเติบโตให้กับแบรนด์อื่นๆค่อยๆมา วันนี้อาจจะยังเล็ก แต่อนาคต ถ้ามีแบรนด์แบบนี้เข้ามาเรื่อยๆ ก็อาจจะเป็น growth driver อีกตัว

ผมคิดว่า ภาพติดในใจหลายๆคน อาจจะมองไปเหมือนเป็น PB หรือตัวอื่นๆที่คล้ายๆกัน แต่อยากชวนให้ลองมองว่า ธุรกิจ NSL ค่อยๆเป็นมากกว่าการรับจ้างผลิต ไม่ได้มีแค่ Ezy Taste หรือ Ezy Sweet เท่านั้น และกำลังจะหาช่องทางการเติบโตในต่างประเทศผ่าน distributor ที่ร่วมลงทุนกันอยู่ จะเป็นยังไง ทำได้แค่ไหน ก็อยากชวนให้ลองติดตามดูครับ

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง Platform ผมขออนุญาตแนะนำหนังสือที่ได้เคย mention ไว้ครับ แล้วอาจจะชวนสนทนาเรื่องการ scale ของธุรกิจแบบนี้ ว่า Opportunity Threat อยู่ตรงไหนอย่างไรบ้างครับ

ถ้าหากสนใจ Business model ของหุ้นต่างประเทศเพิ่มเติม สามารถคุยกันต่อได้ที่เพจ"ชีพจรลงทุน" ได้นะครับ ผมเพิ่งเขียนสรุปอุตสาหกรรม Semiconductor ว่า Ecosystem เป็นยังไง อุตสาหกรรมนี้ใน US ใครทำอะไรกันบ้าง ตั้งแต่ EDA, Computer Architecture จนไปถึง Foundry เผื่อใครสนใจครับ ผมอาศัยเวลาว่างๆเขียนเป็นงานอดิเรก ไม่มีชวนลงทุนหรือขายคอร์สครับ :D
"Because nobody wants to get rich slow."-Warren Buffett-
เพจ "ชีพจรลงทุน"
CHATHKO
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 15

Re: XO

โพสต์ที่ 2

โพสต์

พอดีเพื่อนที่อเมริกาส่งมาให้ครับ ว่า XO เริ่มเข้า MT แล้ว โดยถ่ายมาจากห้าง Kroger ซึ่งมีสาขาถึง 1,238 สาขาครับ

1701563300828.jpg
1701563309835.jpg
icanwait
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 41

Re: ICHI

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อัพเดตผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก มีชื่อคุณคเชนทร์ติดเข้ามาใหม่ครับ และ NVDR เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ
top-10-shareholders.jpg
max888
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1450
ผู้ติดตาม: 354

Re: NSL

โพสต์ที่ 4

โพสต์

dittaphan เขียน:
อาทิตย์ ธ.ค. 03, 2023 11:09 am
รบกวนสอบถามครับ
1.คิดว่าปีหน้ากำไรจะโตขึ้นจากปีนี้ถึง 10% มั้ยครับ
2.ผมมองว่าเซเว่นคือข่องทางการขาย ของ nsl ยังไงเซเว่นก็เหนือกว่าอยู่ดี
- ถ้า nsl กำไรมาก เดี๋ยวเซเว่นก็หาวิธีคุมให้กำไรพอดีๆ ประมาณว่าขอแบ่งกำไรมาหน่อยนะ
- ถ้ามียอดขายมากๆ จนเซเว่นกังวลว่าจะมาทำให้เซเว่นขาดเธอไม่ได้ เดี๋ยวเซเว่นก็หาเจ้าอื่นมาเสียบ เพื่อลดความกังวลนี้อยู่ที่ ก็เซเว่นเค้าเป็นเจ้าของช่องทาง
ปล.ความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่พาดพิงใคร
ขอตอบเรื่อง 7-11 แล้วกันครับ ส่วนเรื่องการเติบโต ผู้บริหารใด้ให้ target ไว้แล้วใน Opp day
- เรื่องกำไร ถ้า track ดูในอดีต จะเห็นว่า NSL กำไรก็จะประมาณนี้ครับ แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเติบโต เพราะคนละประเด็น ลักษณะแบบนี้เป็นปกติของ B2B แต่เรื่องการเติบโตอยู่ที่ผู้บริโภค ซึ่ง 7-Eleven ไม่ได้เป็นตัวกำหนดเรื่องนี้ ธุรกิจลักษณะนี้ ผมยกตัวอย่างคือ สมมติคุณเป็น supplier ให้ Tesla หรือ BYD แล้ว Tesla เข้ามาคุม margin ว่า ควรจะได้ประมาณนี้ อำนาจการต่อรองอยู่กับ Tesla ใช่ครับ แต่ไม่ได้แปลว่า บริษัทที่เป็น supplier ให้ Tesla ไม่น่าสนใจ และถ้าคุณไม่อยากลงทุนใน supplier ของ Tesla ก็ไปซื้อหุ้น Tesla ตรงเลยก็ได้ แต่ก็จะเจอ competitive pressure อีกแบบ เช่นเรื่องการแข่งขันราคา เป็นต้น ทุกอย่างมีราคาของมันครับ

- เรื่องที่สอง ผมคิดว่า ก็ปกติของธุรกิจครับ ไม่ได้แปลว่า Tesla จะต้องมาบีบ supplier จนหน้าเขียวทำอะไรไม่ได้ อันนั้นมันเป็นลักษณะของ supplier ที่คงไม่ได้มี value added เพิ่มเท่าไหร่ แต่ supplier ที่ดี ที่ยั่งยืนได้ ก็ต้องจัดการความเสี่ยง เช่นการนอกจากไปทำเป็น ODM แล้ว อย่างเช่นหลายๆบริษัทใน US ไม่ใช่แค่รับจ้างผลิตตามสั่งแบบทั่วไป ยังพยายามสร้าง Brand ของตัวเองเพิ่มเป็นต้น

เรื่อง Tesla ผมแค่ยกตัวอย่างเฉยๆนะครับ แค่อยากจะบอกว่า เรื่องธุรกิจก็ว่ากันไปตามธุรกิจครับ มีอะไรที่ win win ได้ก็ทำ และทุกอย่างมีราคาของมัน character ของมันครับ supplier ที่ดีก็มี ไม่ดีก็มาก พอดีธุรกิจแบบนี้ ก็คงไม่ได้เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดแบบ Supplier ของ Tesla แต่ไม่ได้แปลว่า Supplier ของ Tesla ไม่น่าลงทุน หรืออีกตัวอย่างคือหุ้นทำแผ่น PCB ที่ผมคิดว่า bargaining power อยู่กับ Manufacturer ชัดเจน แต่ไม่ได้แปลว่า หุ้นผลิตแผ่น PCB ไม่น่าลงทุนเอาซะเลย เพราะทุกปีก็ต้องถูกต่อราคา ผมคิดว่าธุรกิจก็แบบนี้ครับ มันก็มี way ที่จะอยู่ร่วมกันไปได้ สมมติถ้าผู้บริหารบริษัท PCB แห่งนี้บอกว่า ตั้งเป้าปีหน้าจะโต 15% แล้วธุรกิจน่าจะ bottom out ไปแล้ว จะมีคำถามแบบเดียวกันไหมครับ คุณจะเลือกแบบไหนระหว่าง 1) ตั้งคำถามว่า เดี๋ยวผู้ผลิตก็จะต้องมาขอต่อราคาอยู่ดี ทำไปซักพักพอใหญ่มากๆ เดี๋ยวก็ผู้ผลิตรถก็จะต้องพยายามหาผู้ผลิต PCB เจ้าอื่นมาทำแทน หรือ 2) คุณก็เอาเป้าของผุ้บริหารที่บอกนั่นแหละ เอามาใส่ excel แล้วกดกำไร คูณ PE เป็นราคาออกมาเลย ในขณะที่เราก็เห็นอยู่ว่า ณ ปลายทาง ผู้ผลิตต่างทะยอยกันลดราคาช่วงนี้

หรืออีกตัวอย่าง ไม่แน่ใจว่าพอจะใช้ได้มั้ย คือ ระหว่างให้คุณเลือกลงทุนระหว่าง บริษัทที่มีแบรนด์ที่ใครๆก็รู้จัก เช่น Toyota กับบริษัทที่เป็น supplier ของ Tesla คุณคิดว่าบริษัทไหนมากกว่ากัน แล้วการที่เป็น supplier ให้ Tesla คุณว่าจะสามารถเติบโตได้อย่างสบายๆโดยที่ผู้บริหารอย่าง Elon Musk จะไม่จะพยายามรีด Efficiency เท่าทีทำได้ในทุกจุดของการผลิตหรือเปล่าครับ ผมคิดว่าทุกอย่างมันมีราคาของมันครับ

ก็ยอมรับว่า ผมเคยพลาด wave นึงของหุ้นตัวนี้เมื่อนานมาแล้ว เพราะดันไปตีกรอบความคิดในหัวตัวเองตอนนั้นไปแล้วว่า ธุรกิจ OEM แบบนี้มันไม่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ดู dynamic ของธุรกิจให้ละเอียดมากพอ ตอนนี้กลับไปมองอีกทียังอยากเขกกะโหลกตัวเองอีกหลายๆที

การลงทุนก็คงเป็นเรื่องของรายละเอียดครับ ว่าอะไรคือ Competitive advantage โอกาส ความเสี่ยง แล้วจะ manage กันยังไง
ผมคิดว่าการแข่งขันในธุรกิจมันก็เป็นปกติ ผมเห็นบริษัทในต่างประเทศมันสู้กันหนักกว่าบริษัทไทยมาก บริษัทไทยหลายที่ที่ผมเจอ ก็มักจะพิมพ์นิยมมาด้วย Me too strategy คือ ไปดูว่า ใครขายดี เมืองนอกทำธุรกิจอะไรแล้วดี ฉันก็จะทำมั่ง แต่ไม่เคยผ่านกระบวนการว่า กว่าจะมาเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ มันผ่านอะไรมาบ้าง ซึ่งบริษัทแบบนี้พอเวลาเจอ competitive pressure มากๆ ก็ไปไม่ค่อยรอดแทบจะทุกราย และด้วยความที่ไม่ได้ผ่าน stage product market fit มาตั้งแต่ต้น ทำให้ท่ามาตรฐานบริษัทไทยที่ผมเห็นส่วนใหญ่ ก็คือ ออกสินค้าที่มีความไกล้เคียงของเดิม ถ้าไปท่านี้ไม่ได้ก็มักจบด้วยท่า ลดราคา เข้าสู่ Vicious cycle ขาลงของ S curve แบบสมบูรณ์แบบ ในขณะที่บริษัทที่อาจจะไปลอกเขามา ตอนนี้กำลังวิ่งอยู่บน S Curve อันใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว

ผมคิดว่า การแข่งขัน ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ที่น่ากลัวว่าคือ การไม่สามารถจะสร้างความสามารถในการแข่งขันหรือ competitive advantage ให้ตัวเองครับ บริษัทในต่างประเทศที่ไม่มีคุณภาพก็มี แต่ที่มีคุณภาพ สามารถอยู่ได้อย่างยืนยาวแบบในหนังสือ Good to Great ก็มากที่เอามาเป็น case study ได้ บริษัทพวกนี้ ผลัดกันรุกผลัดกันรับ มีช่วงที่แย่แต่ก็กลับขึ้นมาใหม่ได้ อันนี้ก็ผมก็คงแค่บ่นเฉยๆว่า อยากเห็นบริษัทไทย เป็นแบบนั้นได้มากกว่าตอนนี้ครับ
"Because nobody wants to get rich slow."-Warren Buffett-
เพจ "ชีพจรลงทุน"
santsupa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 39

Re: TPAC

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เนื่องจากมีการแก้ไขคลิปโดยตัด section Q&A ออกไป. อันนี้ที่ผมพอจำได้ครับ

Q1: ขอ u-rate / capacity ของแต่ละ location
A1: overall u-rate = 75-80%. Thailand 50-60% และหวังว่าการที่ บางนา turnaround จะทำให้ urateไทยดีขึ้น

Q2: outlook 2024
A2: ไม่อยากให้forward guidance แต่หากดูจาก capex ที่เตรียมไว้ก็เป็นสิ่งสะท้อนแผนการเติบโตได้

Q3: India IPO น่าสนใจมาก. ต้องเตรียมตัวเข้าตลาดยังไง
A3: เรื่องนี้ยังแค่เริ่มคิดเฉยๆ แต่ทุกวนนี้ก็มี banker มาหาหลายคนเหมือนกัน. อยากให้ธุรกิจที่อินเดียใหญ่กว่านี้สัก1-2เท่า ค่อย IPO

Q4: จะfocusที่การขยายไปตลาดใหม่ หรือตลาดเดิมที่มีfootprintอยู่แล้ว
A4: อยากfocusที่ตลาดเดิมก่อน แต่ก็ยังมองหาตลาดใหม่ๆอยู่

Q5: (อันนี้จำแน่ๆไม่ได้แต่คำถามเกี่ยวกับ EBITDA)
A5: EBITDA TPAC อยู่ประมาน 20% ซึ่งเป็น ปกติสำหรับ packaging industry
petro6420
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 22

Re: KAMART

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ไปเดิน Eve&Boy มาแล้วเห็นคนต่างชาติ(น่าจะจีน)มาซื้อลิปของทาง Kamart โดยน่าจะโดน Recommend มาจากทางสื่อโซเชี่ยลครับ
CD709903-53C2-4986-87BB-988EF844C7FE.jpeg
CHATHKO
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 15

Re: XO

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แผนเพิ่มกำลังการผลิตของ XO ครับ
Screenshot 2023-12-01 073052.png
ภาพประจำตัวสมาชิก
mikemonai
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 2

Re: SUSCO

โพสต์ที่ 8

โพสต์

BYD SB SUSCO BEYOND
ยอดขายรถ Q4/2566
ตุลาคม 437 คัน
พฤศจิกายน 353 คัน
ธันวาคม ... คัน
kengvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 205
ผู้ติดตาม: 20

GFC vs SAFE

โพสต์ที่ 9

โพสต์

GFC vs SAFE

ไม่มีหุ้นทั้งสองตัวนะครับ แต่สนใจเพราะเห็นเป็นธุรกิจเงินสด และมี upside risk จากการขยายสาขา และลูกค้าต่างประเทศ 2-3 วันนี้ลองศึกษาสองบริษัทเทียบกันดู

ขอแลกเปลี่ยนไอเดียคร่าวๆบางส่วนนะครับ ตรงไหนเข้าใจผิดทักมาได้ครับ (long post)

Industry & nature of business:

อุตสาหกรรมค่อนข้าง fragmented และตัวเลือกหลากหลายมาก
เนื่องจากลักษณะธุรกิจรักษามีบุตรยาก (ICSI) รายได้รายบริษัทจะไม่แน่นอน ส่วนมากเป็น one-time คาดการณ์อนาคตยาก ไม่ได้ค่อนไปทางสม่ำเสมอและ diversify เหมือน รพ. ทั่วๆไป เว้นแค่ธุรกิจฝากไข่ ที่เป็น recurring แต่ยังมีสัดส่วนต่อรายได้รวมน้อยมาก (<5%)

GPM ใกล้เคียงกัน (อาจเพราะ product/service ที่คล้ายๆกัน) ที่ต่างกันคือ NPM คือวัดกันที่การบริหารจัดการ การขายและการตลาด

#ธุรกิจ 2024-5

GFC 1H/24 มองกลางๆ มีโอกาสจะสร้าง rev ไม่ทันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากตึกใหม่ที่พระราม 9, การมี capacity (fixed cost) เพิ่มแบบก้าวกระโดด มีแนวโน้มต้องแข่งด้านราคา (promotions) เพื่อ cover initial fixed cost ซึ่งอาจจะกด margin ต่ำลงได้อีก (ผบห ให้ guideline GPM แค่ >40% vs ตลาด avg 50%)

การหวังลูกค้าใหม่จากต่างประเทศ จะเริ่มไม่ง่าย และต้องใช้เวลา เพราะไม่มีฐานลูกค้าเดิม ทำให้ไม่มี words of mouths และต้องใช้เวลาสร้าง lauguage/agengy/service capability อีก ถ้าจะมอง GFC แนะนำให้มองข้ามไปปี 2025 เลย

ส่วน SAFE ปี 2024-25 ความหวังอยู่ที่ลูกค้าต่างชาติ ซึ่งปีนี้ รายได้ต่างชาติยังเป็นครึ่งเดียวจากช่วงก่อนโควิด แต่ข้อดี SAFE มี service capacity ของลูกค้าต่างชาติเดิมอยู่แล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือ รายได้ลูกค้าคนไทย Trend 2021-23 มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ (ขณะที่ GFC เพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นรายได้ปีที่แล้วทำ ATH)

สาขาแรกที่ SAFE จะขยายที่แจ้งมา คือ รามอินทรา จริงๆคือ relocation & expansion มากกว่า new เพราะอยู่ในพื้นที่เดิม

โอกาสของ SAFE คือ หันมาพัฒนาหลังบ้าน เพราะ admin exp สูง และถ้าจะลด น่าจะลดลงได้พอสมควร (20% vs GFC 13%) ซึ่งส่วนที่ลดลงจะไปเพิ่มที่ bottom line ทั้งหมด

และ SAFE มีเงินสดในมือเยอะมาก (800ล) ซึ่งอาจจะมี upside risk (surprise news) ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น acquisition, expansion, buy back or dividend

#หุ้น

2 ตัวนี้โครงสร้าง ผถห และการเข้าตลาด ต่างกันมาก

GFC อ. พิทักษ์ถือหุ้นเพียง 25% ที่เหลือเป็นนักลงทุนแตกย่อยหลายกลุ่ม ต้นทุนเพิ่มทุนก่อน IPO คือ 0.5 บาท ราคาในตลาดก็ 22x แล้ว (ถ้าตัวเลขผิด ก็ขออภัย) ซึ่งหลายล้านหุ้นไม่ติดล็อค

การที่ อ. พิทักษ์ ซึ่งเป็นหัวใจ จุดแข็ง และจุดขายของ บ. (40% ของลูกค้า GFC) เป็น real key man risk และในอนาคตระยะยาว จะมีโอกาสเกิด conflict ระหว่าง ผถห ที่อาจมี business directions แตกต่างกันหรือไม่ คงต้องให้นักลงทุนแต่ละคนไปวิเคราะห์ดูกับ บ ที่มี การกระจายตัวของ ผถห. ลักษณะนี้ครับ

การทำราคา IPO GFC ที่ PE 21x ทำให้หุ้นไปต่อได้.. everyone is happy

ส่วน SAFE เป็นธุรกิจครอบครัวของ อ. วิวัฒน์ ซึ่งการทำ IPO PE 35x ก็ชัดเจนว่า ผถห. เดิมต้องการขายออก ซึ่ง อ. ก็ขายออกผ่านทาง บ ใน HK 19%

ส่วนหุ้นของ Morgan Stanly อีก 13% ที่เพิ่มทุนไปช่วงโควิด คงจะรอขายในอนาคต ไม่ผ่านตลาด ก็ผ่าน big lot (ติดเงื่อนไขอะไรหรือไม่ ต้องไปอ่านลึกๆในรายงาน)

หลัง IPO หุ้นของครอบครัว อ. วิวัฒน์ เหลือ 60% ซึ่งมองได้หลายมุม เช่น อ. อาจจะไม่ขายออกมาแล้ว, หรือ อ. ขายได้ออกมาได้อย่างมากไม่เกิน 10%, หรือ เอาเงินจากที่ขายไปช่วง IPO มารับซื้อหุ้นส่วนของ MS ถ้า MS มีเหตุต้อง exit

หุ้น SAFE -20% post IPO เป็นสิ่งที่ดูไม่ดี และราคา IPO จะกลายเป็นแนวต้านสำคัญ เพราะคนติดอยู่เยอะ

#Valuation

การประเมินหุ้นทั้งสอง ส่วนตัวใส่ assumption แต่ละธุรกิจ (ICSI, NGS, ปรึกษา, ฝากไข่, IUI), GPM, SG&A ทีละบันทัด และประเมิน eps ล่วงหน้าไป 2 ปี (2024-2025) ซึ่งแต่ละคนคงมี assumption ต่างกัน เลยขอไม่เอามาแชร์นะครับ

ส่วนเรื่อง PE ที่บางคนเทียบกับ รพ. ที่ PE 30 (ซึ่งอาจจะมองว่าแพงแล้ว) แต่ส่วนตัวคิดว่าเทียบกันตรงๆไม่ได้ แม้ว่าธุรกิจ ICSI จะยังโตแรงกว่า อย่างน้อยๆในช่วงที่ตลาดยังไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะต่างจังหวัด แต่ nature ของธุรกิจมีความผันผวนสูงกว่า รพ. มาก (ดูจากรายได้ของ บ. ICSI ใหญ่บางแห่ง ยังเพิ่งเป็นแค่ 1/3 ของก่อนโควิด ในขณะที่ รพ. รายได้เท่าเดิมหรือเกินไปแล้ว)

ความเห็นส่วนตัว ปี 2024 ยังมีหลายเรื่องต้องระมัดระวัง ถ้าจะไปไล่ซื้อบน PE สูงบนความคาดหวังที่สมบูรณ์แบบเกินไป (ปี 2024 GFC จะโดนกดดันเรื่องต้นทุนและ margin, ในขณะที่ SAFE ต้องติดตามการเพิ่มขึ้นของลูกค้าต่างประเทศ จะชดเชยการลดลงของลูกค้าคนไทยหรือไม่) อาจต้องมองข้ามไปปี 2025 เลย ถ้า best scenario คือ บนคาดหวังว่า บ. จะมีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่อง, มี new growth story และ ตลาดยังให้ PE สูงอยู่ (อย่างน้อย ต้องไม่ต่ำกว่า 25x ครับ)
A69949
ผู้ติดตาม: 2

Re: ORI

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ทำไมรู้สึกว่าโครงการของ ori มีปัญหาเยอะกว่าเจ้าอื่นๆอย่าง AP Sansiri แต่ผู้บริหารนิ่งเฉย และพนักงานในบริษัทดูไม่ใส่ใจลูกค้าเลยคับ ผมว่าแบบนี้ทำลายมูลค่าบริษัทในระยะยาวมากเลยนะคับ พอจะมีใครเคย feedback กับทางผู้บริหารไหมคับ
slb_007
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 268
ผู้ติดตาม: 129

Re: RBF

โพสต์ที่ 11

โพสต์

มาต่อจิ๊กซอ เพิ่มให้สมบูรณ์นะครับ

เริ่มจากดีล Hello4EVE เกิดจากดีลระหว่าง RBF กับ คุณ ชลากรณ์ ปัญญาโฉม (COO ของ Workpoint และเป็นเจ้าของค่าย XOXO ที่ 4EVE สังกัดอยู่) จึงเกิดดีลน้ำหวานตัวนี้ขึ้น ซึ่งคุณ ชลากรณ์ ก็เขียนไว้ว่าจะต่อยอดสินค้าตัวนี้อย่างไร นั่นคือ ร้านค้า ที่นำสินค้าไปขาย สามารถใช้ภาพลักษณ์ของ 4EVE ในการขายได้
ลิงค์อ้างอิง : https://www.instagram.com/p/CyQ3HXUvFK6/
Screenshot 2023-12-01 182409.png
ซึ่งในส่วนนี้ ก็เป็นรูปเป็นร่างแล้ว การตลาดโดยการ transform กองทัพมด อย่าง รถขายน้ำพ่วงข้าง มาติดแบรนด์ Hello4EVE เข้าไป ส่วนนี้ น่าจะเป็น POC ที่ทางค้าส่งทำร่วมกับ RBF เกิดเป็น ภาพข้างล่างขึ้นมา แจกฟรีชุดแปลงโฉม พร้อมสินค้าสนุนสนุนการขาย
ลิงค์อ้างอิง : https://www.facebook.com/yonghuadseng34 ... 396421538/
RBF.png
zhoyun113
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 44
ผู้ติดตาม: 18

Re: KAMART

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เมื่อวานมี Program Trading เยอะครับ
Screenshot 2023-12-01 at 09-32-45 Program Trading Value - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.png
ภาพประจำตัวสมาชิก
panuwaww
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 316
ผู้ติดตาม: 36

Re: NSL

โพสต์ที่ 13

โพสต์

[ #NSL สรุปOPPDAY Q3 2023🥪🍰]

🧡ภาพรวมการเงินQ3
รายได้
9M22 2,944ลบ. | 9M23 3,453ลบ.
แบ่งเป็น
เบเกอร์รี่และรองท้อง
- 9M23 3,129ลบ.(90.6%) | 9M22 2,682.1ลบ.(91.1%)
Food Service
- 9M23 200.5ลบ.(5.8%) | 9M22 206.7ลบ.(7%)
กลุ่มแบรนด์NSLและซื้อมาขายไป
- 9M23 64.9ลบ.(1.9%) | 9M22 24.1ลบ.(0.8%)
OEMและอื่นๆ
- 9M23 51.5ลบ.(1.5%) | 9M22 25.3ลบ.(0.9%)
รายได้อื่น
- 9M23 7ลบ.(0.2%) | 9M22 5.4ลบ.(0.2%)

🧡รายได้Q3
Q2/23 1,020ลบ. | Q3/23 1,189ลบ. เพิ่มขึ้น17%

🧡กำไรสุทธิQ3
Q3/22 73ลบ. | Q3/23 77ลบ.(งบเฉพาะกิจการ) 73ลบ.(งบรวม)
GPM
Q3/22 18.4% | Q3/23 17.6%
สาเหตุหลักที่ต้นทุนเพิ่ม ปลายปีที่แล้วมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มวันละ18บาท และมีการโยกย้ายฐานการผลิต งานเก่าก็ต้องทำงานใหม่ก็ต้องทำ

🧡SG&A 9M
9M22 272ลบ.(9.2%) | 9M23 329ลบ. (9.5%)

🧡ต้นทุนการจัดจำหน่าย 9M
- รวม 9M22 192ลบ. (6.6%) | 9M23 244.2ลบ.(7.1%)
ส่วนใหญ่มาจาก ค่าขนส่ง : 9M22 142.2ลบ. | 9M23 169.6ลบ.
ต้นทุนที่มีประเด็น ค่าใช้จ่ายโฆษณา 9M22 2.2ลบ. (0.1%) | 9M23 7.2ลบ. (0.2%) เพิ่มขึ้นเพราะมีค่าโฆษณาข้าวแท่งทยอยตัดจ่ายปีนี้

🧡ค่าใช้จ่ายบริหาร
- รวม 9M22 80ลบ. (2.7%) | 9M23 84.8ลบ.(2.5%)
หลักอยู่ที่ เงินเดือน : : 9M22 49.1ลบ. | 9M23 54.5ลบ.

🧡UPDATE Q3
😋ลูกค้าหลัก 7-11
- สินค้ากลุ่มใหม่ : กริลล์แซนวิช, แซนวิชข้าว เมนูแรกคือข้าวเหนียวกะทิถั่วดำ, แมคคาเดเมียชีสเค้ก
- เริ่มส่งไปให้7-11ลาว มี30SKUs

🍫ขนม
- นามะช็อกโกแลต
- มาการอง
- เบอร์เกอร์ข้าวญี่ปุ่น

🍙Category ใหม่
- แซนวิชข้าวเหนียว
- ข้าวเหนียวลาบไก่
- ข้าวจี่หมูปิ้ง

🌭Promotion ทำอย่างต่อเนื่อง
- สแตมป์จัดหนัก
- ราคาพิเศษ
- LINE coupon
- สื่อหน้าประตู

🍝FOOD SERVICE
- ทำสินค้า Natural Bites สินค้าhealthy ทำBun ส่งChain Restaurant
- ทำสินค้าแช่งแข็งready to cook

🧡BRAND
- Project Halal
- ทำเป็นCrispy Rollsทำขายเซเว่น

🌯ช่องทางการขายข้าวแท่ง
- ขายLionair ข้าวแท่งมัง
- Catering : การจัดเบรค จัดsetงานแต่ง
- กาแฟพันธุ์ไทย 630สาขา: ข้าวเหนียวลาบหมู, ข้าวเหนียวครีมข้าวโพด, ข้าวเหนียวอัญชันลำไย

🧃เครื่องดื่มเป็นต่อ
- ทำกิจกรรมที่กลุ่มmassมากขึ้น
- ส่งสินค้าขายให้ลาว
- จะใช้งบอัดโฆษณาลดลงเน้นdistribution

🎂NSL x BAKE A WISH
- ได้ดำเนินการมาแล้ว2เดือน
- ช่องทางการขยาย : ขยายผ่านNSL พวก 7-11 เช่น ชูครีม jellychesscake, รับพรีออเดอร์Cake , เอาสินค้า14รายการวางในตู้แช่เย็น
- มีหลายรายที่อยากทำด้วย เช่น Makro จะทำFrozen Cake จะทำไว้เป็นช่องทางการกระจายสินค้าไปยังร้านค้ารายย่อยทั่วประเทศ
- ออกคุกกี้กระป๋อง : Butter Cookie ,Chocolate Cookie เริ่มวางขายในBake a wish และจะขายในModern Tradeเพื่อรองรับปีใหม่

✈️ตลาดส่งออก
ก่อตั้งNSL INTERTRADE
- ตั้งใจจะบุกเบิกตลาดส่งออกจริงจัง
- เริ่มมีOrderแล้ว รับรู้รายได้เดือน11 เป็นขนมหวานที่ผลักดันมาหลายปี เช่น สาคูทรงเครื่อง ข้าวเหนียว
- Shipmentเริ่มธันวา

⁉️Q&A
เป็นต่อ
- รวมอยู่ในกลุ่มซื้อมาขายไป
- ขายได้ไปแล้ว11ลบ.
- ยอดขายจริงที่ส่งให้เซเว่น
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ คือค่าอะไร?
- เป็นค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจ่าย
- ค่าบูธที่สยาม
- เฉลี่ยเดือนละล้านบาท
Model Bake a wish
- ทำงานบูรณาการร่วมกัน รับรู้ทั้งคู่ว่าทำอะไร
- เป็นไปด้วยดี
แผนการส่งออก
- มีรายได้แล้วในเดือน11 รับรู้รายได้Q4แน่นอน
- มีขนมหวาน1ตู้ และสินค้าอื่นๆ
- อยากขายอาหารที่เป็นที่ต้องการทั่วโลก
GP
- Effectมาจากค่าแรง
- มีการปรับการผลิต เพราะมีโคีงการทำสินค้าฮาลาลเลยselectส่วนนึงมาทำสินค้าฮาลาลต้องมีการโอนย้ายทุกอย่าง ระหว่างนี้ก็จะมีทั้งผลิตของเดิมด้วย ของใหม่ด้วย ทำให้มีการเบิ้ลค่าแรง ทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้น เดือนสิงหาคมมีวันหยุดเยอะ ก็ยิ่งทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นมาจากการจ่ายOTซึ่งเป็นเรื่องชั่วคราว
ปีหน้า
- สินค้าฮาลาล จะแปลงสภาพสินค้าที่มีเนื้อสัตว์ โยกจากโรงงานนึงไปอีกโรงงานนึง แล้วก็จะทำให้โรงงานนั้นผลิตแค่ฮาลาล ระบบจะเสร็จภายในปีนี้
- ภาพรวมของปีนี้ ก็น่าจะปิดยอดใกล้เคียง4,700ลบ.
- ปีหน้าวางแผนการเติบโต19-20%ในทุกกลุ่มสินค้า

—————————
สรุปในสรุป : รายได้โตแต่กำไรไม่โตตาม ต้นทุนเพิ่มเพราะเรื่องค่าแรง(เพิ่มตั้งแต่เดือนต.ค.), และเรื่องย้ายโรงงานที่จะทำเป็นโรงงานอาหารฮาลาล(วุ่นวายมากในตอนนี้) Story Update ก็จะมีเรื่องส่งออกให้ลาว ในไทยมีสินค้าใหม่ๆในเซเว่น เช่น เบอร์เกอร์ข้าวญี่ปุ่น(เมื่อก่อนมีแต่ข้าวเหนียว) ในSupermarket ก็จะมีขนมปังHealthy บันส่งChainร้านอาหาร Ready to Cook ในส่วนสินค้าฮาลาลก็เริ่มขายQ1/24 ข้าวแท่งก็กำลังได้วางขายในที่ใหม่ๆเช่น กาแฟพันธ์ุไทย ไลอ้อนแอร์ ในส่วนเค้กจะทำFrozen Cakeให้แมคโคร ส่งออกก็จะทำจริงจังเริ่มแล้วในเดือนพ.ย. รับรู้รายได้เลยQ4 เรียกได้ว่าตัวนี้มีเรื่องUpdateใหม่ๆให้ได้ติดตามตลอด แต่น่ากังวลเรื่องต้นทุนต่างๆทั้งการย้ายโรงงานที่ยังไม่เสร็จค่าแรงอีก ต้องรอลุ้นรอติดตามกันต่อ ในส่วนของแอดมินขอรอชิมทั้งขนมทั้งแซนวิชค่ะ😋
ภาพประจำตัวสมาชิก
Thai VI Officer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1437
ผู้ติดตาม: 1208

Re: MEB

โพสต์ที่ 14

โพสต์

★ Opportunity day Transcript 30 - by ThaiVI ★
บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) – MEB
Date: 28-NOV-23


Transcript 30 : https://bit.ly/3MEvZDV
PDF –MEB : https://bit.ly/3t1S34X

--------------------------------------
การตอบคำถาม Oppday Q3/2023 บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) – MEB

คุณพันธ์เทพ เหลืองวิริยะ กล่าวเปิด พร้อมกล่าวแนะนำ คุณรวิวร มะหะสิทธิ์ และ คุณศุภธิดา ณัฎฐาหฤษฎ์ จากนั้นได้เริ่มกล่าวรายงานผลประกอบการบริษัทในไตรมาสที่ 3 ประจำปี 2566 เป็นลำดับถัดมา

ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 3 คน
ระยะเวลาทั้งหมด 28:20 นาที

------------------------------------------

เริ่มการตอบคำถาม

1. เหตุใดหนังสือบางเล่ม อย่างเช่นในหมวดที่เป็นนอนฟิกชัน จึงไม่มีอีบุ๊ก ทั้งๆ ที่ในส่วนของอีบุ๊กไม่ได้มีต้นทุนในการพิมพ์ และไม่ต้องเสียส่วนแบ่งให้กับทางร้านหนังสือด้วย?
คุณพันธ์เทพ : คำถามแรกอันนี้เดี๋ยวยังไงขอเรียนเชิญทางคุณรวิวรเป็นผู้ชี้แจง เรียนเชิญครับ
คุณรวิวร : คำถามนี้เป็นคำถามที่ได้รับการสอบถามมาเรื่อยๆ ว่าทำไมหนังสือบางเล่มถึงไม่มีเป็นอีบุ๊ก ทั้งๆ ที่อีบุ๊กก็มีข้อดีหลายอย่าง ซึ่งตรงนี้ต้องเรียนด้วยข้อเท็จจริงก่อนว่า โดยพื้นฐานแล้วกัน การที่หนังสือเล่มจะหนึ่งนำมาขายบนแพลตฟอร์มใดๆ ก็ต้องขึ้นอยู่กับสองอย่าง อย่างแรกคือสำนักพิมพ์ที่จะเป็นผู้พิจารณาว่าเอาจะมาขายหรือไม่ กับส่วนที่สองคือถ้าเป็นหนังสือที่ต้องมีการขอลิขสิทธิ์มาจากต้นสังกัดหรือต่างประเทศ ก็ต้องมีการทำเรื่องขอลิขสิทธิ์มา ซึ่งต้นสังกัดบางที่เขาก็อาจจะไม่ได้อนุญาตเรื่องลิขสิทธิ์ในส่วนของอีบุ๊ก ตรงนี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้หนังสือบางเล่มอาจจะยังไม่มาปรากฏในรูปแบบอีบุ๊ก ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องเรียนว่าทาง MEB เราก็เข้าใจประเด็นนี้นะ เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ สำหรับหลายๆ อย่าง หนังสือบางหมวด จริงๆ ทุกหมวดเลยที่ได้รับความสนใจ มีการสอบถามกันมา เราก็จะมีการสอบถาม ประสานงานไปยังเจ้าของผลงาน สำนักพิมพ์สม่ำเสมอ รวมถึงการที่เข้าไปพูดคุยอย่างใกล้ชิดว่าเล่มนี้ติดขัดอะไรยังไง ว่าทำไมถึงยังไม่เอามาขาย มีอะไรส่วนไหนที่ MEB จะเข้าไปช่วยได้ไหม ซึ่งตรงส่วนนี้มันทำให้เราเข้าใจมากขึ้น บางที่ก็อาจจะบอกว่า โอเค ยังไม่มีนโยบายขายอีบุ๊ก บางที่ก็บอกว่าต้นสังกัดยังไม่ปล่อยลิขสิทธิ์เวอร์ชันอีบุ๊ก บางที่บอกว่าการทำเป็นอีบุ๊กจะต้องมีค่าใช้จ่าย มีเงิน advance อะไรเพิ่มเติม ซึ่งในหลายๆ จุดที่ถ้า MEB สามารถเข้าไปซัพพอร์ตได้ เราก็จะผลักดันหนังสือเหล่านั้นให้ออกมาเป็นอีบุ๊กได้มากขึ้นนะครับ


2. แล้วบริษัทมีกลยุทธ์อย่างไรที่จะดึงพวกนอนฟิกชันให้เข้าแพลตฟอร์มมากขึ้น?
คุณพันธ์เทพ : จริงๆ ทางคุณรวิวรก็ได้ชี้แจงไปแล้วเมื่อครู่ ก็ควบไปสองข้อเลยนะครับ


3. แพลตฟอร์มต่างประเทศเราจะเปิดใช้เมื่อไหร่ ผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง?
คุณพันธ์เทพ : ก็ของทางบริษัท เราแพลนเอาไว้ว่าจะเปิดใช้หรือว่า launch ตัวแพลตฟอร์มใหม่ตัวนี้ภายในปีนี้ ก็จะเป็นรูปแบบภาษาอังกฤษก่อน ในนั้นเรื่องของผลตอบรับหรือกับ MAU เป็นยังไง อันนี้เดี๋ยวยังคงต้องรอดูกันนิดหนึ่งนะครับ


4. แล้วแพลตฟอร์มต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท? จะเป็นอะไรบ้าง?
คุณพันธ์เทพ : สำหรับในด้านค่าใช้จ่าย เราไม่ได้คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแบบมีนัยสำคัญ ในช่วงที่มีการเปิดตัวก็อาจจะต้องมีการทำ PR บ้าง แต่ก็คิดว่าไม่ได้เป็นการใช้เม็ดเงินที่จำนวนมากจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญนะครับ


5. เราตั้งโบนัส เราทยอยตั้งมาทุกๆ ไตรมาส หรือว่าตั้งก้อนใหญ่ใน Q4?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้เรียนนะครับว่าเราก็จะมีการทยอยตั้งมา ไม่ได้ตั้งเป็นก้อน เรา accrue โบนัส


6. แพลตฟอร์มของคู่แข่งในประเทศไทย บางเจ้าเห็นว่าขายหนังสือที่ราคาถูกกว่า MEB บริษัทมีความกังวลใจหรือจะต้องลดราคาลงไปแข่งขันด้วยหรือไม่?
คุณพันธ์เทพ : ตรงนี้เดี๋ยวขอเรียนเชิญทางคุณรวิวรช่วยชี้แจงนะครับ
คุณรวิวร : คือต้องเรียนก่อนนะครับว่าการตั้งราคาอีบุ๊กในแต่ละร้าน ถ้าเรามาดูตามช่วงเวลาก็อาจจะมีความแตกต่างกันได้บ้าง เนื่องจากแต่ละร้านก็อาจจะมีเทศกาล มีแคมเปญการตลาดอะไรที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในมุมมองสำนักพิมพ์ ผมมองว่าจะไม่มีการที่มาตั้งราคาร้านใดร้านหนึ่งถูกเป็นพิเศษเป็นการถาวรอะไรอย่างนี้นะ เพราะว่ามันจะเป็นการ educate ผู้อ่านให้รอหนังสือที่ราคาถูก และจริงๆ การที่หนังสือเล่มหนึ่งขายในทุกร้านหรือทุกแพลตฟอร์มด้วยราคาเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน มันเป็นการเปิดตัวเลือกให้นักอ่านมากกว่าว่านักอ่านเขาพอใจที่จะใช้บริการของแพลตฟอร์มไหนก็ไปที่ตรงนั้น แต่ในช่วงสั้นๆ หรือในแคมเปญสั้นๆ ก็มีโอกาสที่แต่ละที่จะมีการตั้งราคาแตกต่างกันไป บางเทศกาล บางแพลตฟอร์มอาจจะมีการ subsidize ราคาจำหน่ายบางส่วน บางทีอาจจะมีการแจกส่วนลด แจกโค้ดอะไรก็ว่ากันไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมมั่นใจว่าสำนักพิมพ์ทุกรายก็ระลึกอยู่เสมอว่าจะไม่ทำให้เกิดการเล่นสงครามราคาหรือ price war กัน เพราะว่าในระยะยาวจะทำให้สำนักพิมพ์เองตกอยู่ในที่นั่งลำบาก เนื่องจากการปรับเปลี่ยนของพฤติกรรมของนักอ่าน เรียกได้ว่าเราก็มองตลาดอีบุ๊กเป็นตลาดที่ยังต้องดูแลกันไปยาวๆ ดังนั้นเราจะไม่ทำอะไรที่คิดมองสั้นๆ หรือว่าสร้างประโยชน์ในระยะสั้น แต่สร้างปัญหาในระยะยาวนะครับ ส่วนเรื่องการที่ความกังวลใจอะไรพวกนี้ ถามว่า MEB มีความกังวลใจไหม ตอบเลยว่าไม่มี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ไม่ได้ประมาทหรือว่าไม่สนใจกับการเคลื่อนไหวของคู่แข่งหรือแพลตฟอร์มต่างๆ เราจับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ทั้งนั้น กลยุทธ์ต่างๆ ที่เราออกแบบมาก็เป็นกลยุทธ์ที่คิดมาอย่างถี่ถ้วน และมองว่าสิ่งนี้เป็นกลยุทธ์ที่ไม่ได้เพื่อแค่แย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด แต่เป็นกลยุทธ์ที่จะขยายตลาดของการอ่านแบบอีบุ๊กหรือการอ่านออนไลน์ให้ได้มากขึ้นในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝั่ง ทั้งแพลตฟอร์ม ทั้งนักอ่าน ผู้สร้างสรรค์ผลงานคือนักเขียน สำนักพิมพ์ครับ


7. แพลตฟอร์มต่างประเทศที่จะเป็นภาษาที่ 3 น่าจะเปิดเมื่อไหร่ และจะเป็นประเทศไหน?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้ก็เรียนว่าจริงๆ ก็ตามแผนของเรา เราก็ตั้งใจที่จะ launch ตัวแพลตฟอร์มที่เป็นภาษาอังกฤษก่อน เพราะว่าก็ถือว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากตัวภาษาอังกฤษก็ถือว่าเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายในหลายพื้นที่ ส่วนแพลตฟอร์มถัดไปก็คงจะตามมาในปีหน้า อันนี้ก็เดี๋ยวยังไงก็คงต้องติดตามทาง MEB กันต่อไป แต่ถามว่าจะเป็นประเทศไหน ตามที่เราเคยเรียนแจ้งทุกท่านไว้ว่าเราก็จะพิจารณาเป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มประเทศเอเชียตรงนี้แหละนะครับ


8. ปัจจุบันเรามีรายได้จากการแปลงคอนเทนต์ของเราไปสร้างเป็นหนังบ้างแล้วหรือยัง รูปแบบรายได้จะรับรู้อย่างไร?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้ยังไม่ได้มีเข้ามานะครับ ก็ต้องเรียนอย่างนี้ว่าปัจจุบันเรื่องของภาพยนตร์หรือว่าพวกซีรีส์ต่างๆ ก็ได้รับความนิยม และมีการที่เอาพวกคอนเทนต์ดีๆ ไปทำในหลายรูปแบบ ในหลายประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็นของทางไทยเอง หรือว่าบางทีก็จะเป็นการ์ตูนจากทางต่างประเทศ ทางเราก็ถือว่าตรงนี้ก็เป็นโอกาสอันหนึ่งของเราด้วยเหมือนกันที่จะช่วยสร้างรายได้ในอนาคต


9. ความคืบหน้าของแพลตฟอร์มวรรณกรรมออนไลน์ต่างประเทศ?
คุณพันธ์เทพ : ก็คือตัวแพลตฟอร์มใหม่ อันนี้ทางบริษัทก็ขออนุญาตรวบตอบไปเลยละกันว่าถ้าตามแผน เราจะ launch ตัวแพลตฟอร์มภาษาอังกฤษตามแผนก็ภายในปีนี้นะครับ


10. บริษัทย่อยที่เราเพิ่งตั้งไปเมื่อตอนกลางปีที่ชื่อ บริษัท ขริงขริง จำกัด จะเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่ อย่างไร?
คุณพันธ์เทพ : คือเรียนอย่างนี้นะครับว่า บริษัท ขริงขริง จำกัด เราจัดตั้งบริษัทนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หรือว่าระบบ ดังนั้น ตอนที่เราจะทำแพลตฟอร์มใหม่ตัวนี้ เราก็ให้ทางบริษัท ขริงขริง เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบให้ แต่ว่าเมื่อพัฒนาแล้วเสร็จ ทาง MEB จะเป็นคนวางแพลตฟอร์มใหม่ตัวนี้เอง ดังนั้นรายได้ กำไรต่างๆ ตัวนี้จะเข้ามาที่งบของ MEB ดังนั้น ถ้าถามว่าเริ่มเมื่อไหร่ ยังไง ที่เกี่ยวกับแพลตฟอร์มใหม่ ก็จะเริ่มหลังจากที่เรา launch แพลตฟอร์มนี้ไปนะครับ


11. เห็นแนวโน้ม gross profit margin เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เข้าใจว่าส่วนหนึ่งมาจากรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ fix cost ที่มีอยู่เยอะ ลักษณะของคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน มีผลต่อ gross profit margin หรือไม่ และมีแนวโน้มหลังจากการเพิ่มคอนเทนต์ใหม่ลงในแพลตฟอร์มจะช่วยผลักดัน gross profit margin หรือไม่ อย่างไร?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้ผมตอบตรงนี้ก่อนนะครับว่าเรื่องของลักษณะของคอนเทนต์ คงหมายถึงว่าหมวดหมู่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นนิยาย หนังสือเรียน หรือจะเป็นพวกหนังสือพัฒนาตนเอง หรืออะไร จริงๆ gross profit margin ก็อาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะ เราเองก็ได้ gross profit margin อยู่ที่ประมาณ 20 – 30% อันนี้ก็ไม่ได้มีผลต่างกันตรงนั้น


12. อยากแนะนำให้บริษัทจ่ายปันผล payout ratio 100% เนื่องจากมีเงินสดเหลืออยู่ และไม่น่ามีโครงการลงทุนที่ใช้เงินเยอะ?
คุณพันธ์เทพ : เรียนอย่างนี้นะครับ รับทราบในคำแนะนำและข้อเสนอแนะของทางนักลงทุนนะครับ แต่ว่าทางบริษัทเอง เราระดมทุน IPO เข้ามาเมื่อตอนต้นปี จริงๆ ก็มีโครงการที่เราจะใช้เงินอยู่เยอะเหมือนกัน อันนี้ท่านสามารถศึกษาได้จากหนังสือที่ชวนที่เราเปิดไปนะครับ แต่ว่าถ้าพูดถึง ให้รีแคปตรงนี้ ก็ต้องเรียนว่าหลักๆ เราก็จะใช้เงินทุนในการไปจัดหาวรรณกรรมออนไลน์มาเพิ่มเติม เพราะว่าอย่างที่ได้นำเสนอไป เรื่องของคอนเทนต์ต่างๆ ตรงนี้เป็นตัวสำคัญเหมือนกันที่จะทำให้แพลตฟอร์มมันดูน่าสนใจและจะดึงดูดทราฟฟิก ดึงดูดยูสเซอร์ให้เข้าที่แพลตฟอร์มของเราได้มากขึ้น และจากหน้าตัวเลขทางการเงินที่ได้นำเสนอไป ทุกท่านก็จะเห็นแล้วล่ะว่าตอนนี้ 70% กว่า ก็ยังเป็นคอนเทนต์ที่เป็นนิยายอยู่ ขณะที่หมวดอื่นๆ ก็ยังอยู่ในระดับที่เป็น 10% กว่า ดังนั้น ตรงนี้ก็ยังมีรูมอีกเยอะที่เราจะขยายคอนเทนต์ของเราให้มากขึ้น ซึ่งมันก็จะหันมาทำให้การเติบโตของรายได้มันก็เพิ่มไปด้วยเหมือนกันนะครับ อย่างช่วงหกเดือนที่ผ่านมา จริงๆ เราก็มีใช้เงินลงทุนไปแล้วก็ร้อยกว่าล้านในการที่จะจัดหาพวกคอนเทนต์ต่างๆ ตรงนี้นะครับ ขณะที่แพลตฟอร์มใหม่อันนี้ก็กำลังจะเริ่ม ก็จะเริ่มเปิดใช้งานภายในปีนี้ เดี๋ยวก็คงจะมีพวกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะตามมาด้วยเหมือนกันนะครับ


13. เป็นไปได้ไหมที่บริษัทจะหา growth strategy ให้การเติบโตมากกว่า low to mid-teens เนื่องจากเป็นเป้าหมายที่อาจจะยังดูไม่ค่อยสูง และอยากทราบกลยุทธ์ด้วย?
คุณพันธ์เทพ : ก็เรียนอย่างนี้นะครับว่าอย่างของปีนี้ เราเองก็ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาแผนงานใหม่ๆ และเราก็โตมาจากช่วงปีที่ทางยอดขายยังได้รับผลประโยชน์จากเรื่องของสถานการณ์โควิด-19 อยู่ เราเองในปีนี้ก็ตั้งเป้าที่จะโตอยู่ในระดับ low to mid-teens ตรงนี้ ซึ่งก็อย่างที่ได้เห็นผลประกอบการในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา ก็ยังอยู่ในเรนจ์ที่เราตั้งเป้าเอาไว้นะครับ แต่ถามว่าเราเองจะยังคงตั้งเป้าเฉพาะแค่ตรงนี้หรือเปล่า ก็ต้องบอกว่าเราเอง นอกเหนือจากการที่จะเติบโตไปด้วย organic growth เราเองก็มองหาส่วนที่จะเข้ามา on top หรือเข้ามาต่อยอดให้เราที่จะเป็น inorganic growth ด้วย ซึ่งกลยุทธ์อันนึงของเราก็คือการหาธุรกิจที่น่าสนใจหรือบริษัทเป้าหมายที่น่าสนใจในการเข้าลงทุน อันนี้ก็เป็นแผนงานส่วนหนึ่ง เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เราก็มีการพัฒนาเรื่องนี้อยู่ตลอด ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับโอกาสและปัจจัยหลายๆ อย่างในการที่จะพิจารณาในการเข้าลงทุนตรงนั้นด้วยนะครับ ตรงนี้ก็จะช่วยให้อัตราการเติบโตสูงกว่าระดับ low to mid-teens ครับ


14. อยากให้ช่วยแชร์เรื่องการแข่งขันในต่างประเทศว่ามีรูปแบบแลนด์สเคปยังไงบ้าง?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้เดี๋ยวขออนุญาตเรียนเชิญคุณรวิวรช่วยให้ข้อมูลนะครับ
คุณรวิวร : ก็ตามที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ครับว่าแพลตฟอร์มใหม่ที่เราจะเปิดตัวภายในปีนี้เราทาร์เก็ตไปถึงนักอ่านต่างประเทศ โดยต่างประเทศของเรา เราไม่ได้มาโฟกัสเป็นประเทศว่าเป็นประเทศอะไร แต่เราโฟกัสว่าเป็นกลุ่มนักอ่านที่ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้น กลุ่มนักอ่านที่ใช้ภาษาอังกฤษก็กระจายอยู่ทั่วโลก ประเทศตะวันตกก็อาจจะเป็นส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงเราก็ใช้ภาษาอังกฤษกันเยอะ ดังนั้น ตรงส่วนนี้ผมมองว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ สามารถเริ่มได้เร็ว และมีศักยภาพสูง ดังนั้น ส่วนนี้ก็เรียกว่าเป็นกลยุทธ์เบื้องต้นของเราที่จะบุกไปตรงส่วนนั้น โดยจุดตั้งต้นของเรา เราก็จะมีการที่นำคอนเทนต์ภาษาไทยที่เป็นคอนเทนต์ได้รับความนิยมเอาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในแพลตฟอร์มของเรา หลังจากนั้นก็จะมีแผนที่จะมีการเชิญชวน ชักชวนนักเขียนที่เขียนงานเป็นภาษาอังกฤษมาเผยแพร่แพลตฟอร์มเรา ซึ่งแพลตฟอร์มเราก็จะเป็นแพลตฟอร์มรูปแบบ UGC ที่เปิดกว้างให้นักเขียนที่มีผลงานเอาผลงานมาลงได้ ดังนั้น กลยุทธ์เราก็จะแบ่งออกเป็นเฟสๆ โดยช่วงแรกลีดด้วยคอนเทนต์ของเราเองก่อน และหลังจากนั้นก็ค่อยๆ กลายสภาพไปเป็นแพลตฟอร์ม UGC เต็มรูปแบบในหลายหลังนะครับ


15. แพลตฟอร์ม Hibrary หรือว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ของเรา มีรายได้รวมอยู่เท่าไหร่ และจะสร้าง synergy สร้างรายได้ให้กับ MEB ได้อย่างไรบ้าง?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้เรียนอย่างนี้นะครับว่า Hibrary ก็เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาและให้บริการโดยบริษัทย่อยของเราชื่อว่า Hytexts Interactive ตัวนี้ก็จะเป็นแพลตฟอร์มห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะมีลักษณะความคล้ายกับห้องสมุดจริงๆ มีรูปแบบในการยืม-การคืนต่างๆ Hibrary เองเราเข้ามาเอาไว้ใช้บุกในตลาดที่เป็นภาคองค์กร อย่างที่ได้เรียนนำเสนอไปช่วงต้นว่าปัจจุบันก็มีมากกว่า 100 องค์กรแล้วที่เป็นลูกค้าที่ใช้งาน Hibrary ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ โรงเรียน สถาบันศึกษาต่างๆ และมีภาคเอกชนด้วยเช่นกัน ลูกค้าเราก็มีค่อนข้างหลากหลายนะครับ และต้องบอกว่า Hibrary ก็เข้ามาช่วยแก้ pain point ในช่วงที่เกิดโควิด-19 ด้วยเหมือนกัน เพราะว่าช่วงนั้นเอง ห้องสมุดหลายๆ ที่มันก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้ รวมไปถึงเรื่องของการทรานส์ฟอร์มด้วย หลายๆ บริษัทก็แน่นอน พยายามจะทรานส์ฟอร์มตัวเองที่มาใช้งานอะไรที่เป็นพวกดิจิทัลมากขึ้น ซึ่ง Hibrary ตัวนี้ก็ค่อนข้างที่จะไปตอบโจทย์ตรงนั้น เราก็เล็งเห็นโอกาสที่จะเติบโตในส่วนของตรงนี้ได้อีกเยอะเหมือนกันนะครับ ขณะที่รายได้ปัจจุบันคิดเป็นเท่าไหร่ ตอนนี้เงื่อนไขก็ยังถือว่าไม่เยอะ ก็ไม่มีเปอร์เซ็นต์นะครับ แต่ก็อย่างที่เรียนว่าเทรนด์ในเรื่องตรงนี้มันก็มีมา เราก็คาดว่าธุรกิจ Hibrary ตัวนี้ก็น่าจะช่วยสร้าง growth ให้เราได้ดีด้วยเหมือนกันในอนาคตนะครับ


16. ทิศทางผลงานในไตรมาสที่ 4 จะดีกว่าไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมาหรือว่าในช่วงเดียวกันกับปีก่อนหรือไม่?
คุณพันธ์เทพ : เอาคำถามแรกก่อนนะครับ สำหรับไตรมาส 4 ของปีนี้ ก็เรียกว่าแนวโน้มมาได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ ซึ่งปกติไตรมาสที่ 4 เป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของทาง MEB อยู่แล้ว เพราะว่าก็จะเป็นช่วงที่ high season ของเรา และมีงานแคมเปญใหญ่ๆ ด้วย อย่างเช่น เดือนที่แล้วเราก็มีการจัดแคมเปญสัปดาห์หนังสือที่บ้าน ก็ได้รับผลตอบรับตรงนี้ดีมากๆ เลย ถามว่าจะดีกว่าไตรมาส 3 ด้วยไหม ดีกว่านะครับ โดยปกติตามยอดขายก็จะเป็นแบบนั้น


17. ขณะที่ประมาณการรายได้ในปีหน้าวางไว้อย่างไร?
คุณพันธ์เทพ : สำหรับแพลตฟอร์มหลักของเรา อันนี้เราก็มองว่าน่าจะสร้างรายได้ให้เราโตอยู่ในระดับที่เป็น low teens อันนี้ในระยะสั้นถึงกลาง เราก็มองอยู่ตรงนี้ ก็ต้องบอกว่าอันนี้ยังไม่ได้รวมพวกแผนงานใหม่ๆ หรือว่าโอกาสในการที่เราจะไปเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจที่น่าสนใจต่างๆ ด้วยนะครับ


18. ปัจจุบันเราเห็นว่ามีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น เรารับมือกับคู่แข่งในการปรับราคา อัดโปร อย่างไรบ้าง?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้เดี๋ยวขออนุญาตเรียนเชิญทางคุณรวิวรช่วยชี้แจงนะครับ
คุณรวิวร : คือต้องบอกว่าอย่างที่บอกนะครับ แพลตฟอร์มก็เห็นว่า MEB ทำตลาดอีบุ๊กได้ดีนะ และมีส่วนแบ่งการตลาดค่อนข้างมาก เห็นว่าตลาดนี้น่าจะมีโอกาสที่จะมาชิงส่วนแบ่งการตลาดกันได้ ก็เลยมีการเปิดเผย เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ๆ รวมถึงมีกลยุทธ์หลายๆ อย่าง ซึ่งกลยุทธ์ทางราคาก็เป็นกลยุทธ์ที่พื้นฐานที่สุดที่มักจะใช้กัน ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็มองว่ากลยุทธ์ราคาอาจจะทำให้นักอ่านหันไปทดลองใช้บริการที่ไม่เคยใช้มาก่อนในช่วงแรก อันนั้นเกิดขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อีบุ๊กเรามองว่ามันเหมือนสมบัติของนักอ่าน เป็นห้องสมุดส่วนตัวที่นักอ่านก็เหมือนเขากล้าซื้อในแพลตฟอร์มนั้น เพราะเขาต้องมั่นใจว่าสิ่งนั้นจะอยู่กับเขาไปนานๆ ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ MEB เน้นย้ำโดยตลอดคือการที่บอกว่าเราเป็นเสาหลักแห่งวงการการอ่านออนไลน์ในประเทศไทย การที่ซื้ออีบุ๊กกับเรา เราก็จะดูแลกันอย่างดี ไม่สูญหาย ไม่ตกหล่น ไม่ปิดแพลตฟอร์มหนี เพราะหลายที่ก็มีนักอ่านหรือว่าคนที่เคยมาคุยกับผมว่าแพลตฟอร์มใหม่ๆ ก็น่าซื้ออยู่หรอก แต่ถ้าซื้อไป วันดีคืนดีเขาปิดแพลตฟอร์มไปเพราะไม่มีกำไร และการที่เราไม่มีกำไรเพราะอะไร เพราะว่าเราตัดราคา ไปตัดราคา ไปตัดกำไร ตัดกำไรก็ไปเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยว่าแทนที่จะซื้อในราคาที่เป็นราคาปกติ ต้องรอส่วนลดนะถึงจะยอมซื้อ อะไรพวกนั้น ดังนั้น มันก็เรียกได้ว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่มองว่าในระยะสั้นทำได้ แต่ในระยะยาว ผมว่าท่าจะเยียวยากันยาวๆ ต้องมีจุดเด่นอื่นๆ เสถียรภาพ ความไว้วางใจ ความมั่นคงบริษัทที่จะสามารถยืนระยะในระยะยาวได้ คือเราไม่สามารถห้ามได้หรอกครับว่ามีแพลตฟอร์มใหม่ๆ มา ลูกค้าต้องอยากไปลองของใหม่เลย อันนั้นเป็นเรื่องปกตินะ ซึ่งผมมองว่ากลยุทธ์ของคู่แข่งหรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ลงตลาด มันจะทาร์เก็ตที่การยิ่งมองว่ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด จากที่ MEB ถืออยู่ หรือว่าส่วนแบ่งการตลาดอื่นๆ ที่รายอื่นถืออยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ณ ปัจจุบัน MEB กลับมองภาพต่างไป การชิงส่วนแบ่งการตลาดเป็นเรื่องสำคัญ แต่อะไรที่มันสำคัญกว่าคือการขยายตลาด ดังนั้น กลยุทธ์หลักๆ ของ MEB จะเป็นการวางในระยะกลางและระยะยาวไว้หลายจุด เพื่อให้ตลาดของการอ่านอีบุ๊กและการอ่านออนไลน์สามารถโตขึ้นได้ และทำให้เป็นพื้นที่ของคนที่อยากเขียน นักเขียนมืออาชีพ หรือสำนักพิมพ์ที่มีอาชีพอยู่กับการเขียนหรือพิมพ์โดยเฉพาะ และนักอ่านจะได้มีตัวเลือกให้อ่านได้อีกจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ MEB มอง และเราก็จะใช้จุดยืนนี้ในการแข่งขันกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ในอนาคตครับ


19. อยากให้ช่วยฉายภาพการเติบโต วิธีที่จะทำให้บริษัทเติบโต?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้ก็ตามที่คุณรวิวรได้เรียนเมื่อสักครู่นะครับ


20. Spending per user ของ MEB ในช่วงหลังดูลดลง เป็นเพราะอะไร?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้ก็ต้องเรียนอย่างนี้ครับว่าเราเห็นการเติบโตในเรื่องของยูสเซอร์ได้ค่อนข้างเร็ว เป็นเพราะว่าจำนวนยูสเซอร์และ MBU ที่แพลตฟอร์ม MEB มีการเติบโตที่เร็วกว่าเท่านั้นเอง แต่ว่าเราดูรายได้จากแพลตฟอร์ม MEB สามารถสร้างได้ ก็ยังถือว่าเติบโตอยู่ในระดับที่ดีและอยู่ในเรนจ์ที่เราตั้งเป้าเอาไว้ด้วยเหมือนกันนะครับ


21. มุมมองการตลาด การแข่งขันในต่างประเทศ?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้ทางผู้บริหารได้มีชี้แจงไปบ้างแล้วนะครับ


22. กลยุทธ์ในการขยายหมวดหมู่หนังสือ?
คุณพันธ์เทพ : อันนี้อาจจะขยายความตรงนี้ให้อีกนิดหนึ่งแล้วกันว่าก็อย่างที่เราได้เห็นตัวเลขทางการเงินไปว่ายอดขายของ MEB เองที่ผ่านมาก็เป็นหมวดหมู่ที่เป็นนิยายเสียส่วนใหญ่ 70% กว่า ก็ประมาณ 80% เราเองก็พยายามขยายในหมวดหมู่อื่นๆ ขึ้นมาด้วยเหมือนกัน เพราะว่าด้วยความที่เราเป็นออนไลน์แพลตฟอร์ม จริงๆ เราก็ถือว่ามีจุดแข็งในด้านของการไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ ดังนั้น คอนเทนต์ต่างๆ เราสามารถที่จะวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มเราได้เป็นจำนวนมหาศาล และยังมีอีกหลายๆ หมวดหมู่ที่เราดูที่จะขยายออกไป ถ้าอย่างในปัจจุบัน อย่างที่ได้แสดงให้ดูเรื่องของ marketing activity อย่างตอนนี้เองเราก็จัดโปรโมชัน แคมเปญในเรื่องของพวกหนังสือที่เป็นตำราเรียนและหนังสือเตรียมสอบ อันนี้ก็เรียนเชิญนะครับ นักลงทุนท่านไหนที่มีลูกหลานที่กำลังอยู่ในช่วงสอบ อันนี้ก็ลองมาใช้บริการ MEB ดูได้นะครับ แพลตฟอร์มของเรามีฟีเจอร์ที่สามารถเข้าไปจดไปโน้ตอะไรอย่างนี้ได้ด้วยเหมือนกัน นนี้ก็เรียนเชิญนะครับ


23. การบุกตลาดต่างประเทศ จุดเด่นของ MEB คืออะไร ในด้านคอนเทนต์หรือ architecture ของแอปพลิเคชัน?
คุณพันธ์เทพ : ก็ต้องเรียนว่าจุดที่เป็นตัวเด่นๆ ของเรา แน่นอนครับ แอปเราก็มีความเชี่ยวชาญในด้านตรงนี้อยู่แล้ว เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม MEB หรือว่าแพลตฟอร์ม readAwrite เอง ทางบริษัทก็เป็นผู้พัฒนาตรงนั้นขึ้นมานะครับ เรียกได้ว่าเราเองอาจจะไม่ใช่คนที่เป็น first mover แต่ก็ทำการตลาดมาจนถึงปัจจุบัน แอปพลิเคชันของเราก็ถือว่าขึ้นเป็นเบอร์ต้นๆ สำหรับพวกแอปพลิเคชันสำหรับการอ่านนะครับ ขณะที่ในด้านของคอนเทนต์เอง อย่างที่คุณรวิวรได้เรียนไปว่าจุดที่จะไม่เหมือนใครก็คือเราเองสามารถที่จะเอาคอนเทนต์ของคนไทยไปแปลเป็นภาษาอังกฤษและไปวางจำหน่าย ตรงนี้ก็จะสร้างความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์มเราและแพลตฟอร์มของผู้เล่นที่มีอยู่ในตลาดอยู่แล้วนะครับ และที่สำคัญ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันในเรื่องของซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยออกไปในตลาดโลกด้วยนะครับ อันนี้เข้าใจว่าเวลาก็อาจจะเกินมาหน่อยๆ หนึ่งแล้วนะครับ เดี๋ยวจะกินเวลาของบริษัทอื่น ถ้าเกิดท่านใดยังมีคำถาม หรือว่าทางบริษัทอาจจะยังตอบไม่ครบ ท่านก็สามารถติดต่อเข้ามาทางฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ทีเบอร์โทร 0 2962 1699 หรือส่งอีเมลมาให้ทางเราก็ได้นะครับที่ [email protected] สำหรับวันนี้ก็ขอบคุณนักลงทุนทุกท่านที่รับฟังเรานะครับ และเดี๋ยวพบกันโอกาสหน้านะครับ วันนี้สวัสดีครับ

--------------------------------------------
***Oppday Q3/2023 – MEB เป็นข้อมูลถาม-ตอบ Q&A โดยหวังว่าจะเป็นความรู้และให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆ ท่าน และกรุณาตรวจสอบข้อมูลก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทาง ThaiVI ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้***
ขอแสดงความนับถือ
สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1862
ผู้ติดตาม: 289

ฟ้าหลังฝน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

คำพังเพย “ฟ้าหลังฝน” นั้น ผมคิดว่าน่าจะตรงกับสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยปีหน้าที่ผมคิดว่าน่าจะดีงามขึ้นหลังจากที่ประสบกับปัญหาใหญ่ที่หุ้นตกแรง “ที่สุดในโลก” ในปีนี้ที่ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2566 หุ้นตกลงมาจากปลายปีที่แล้วจาก 1669 จุดเหลือเพียง 1380 จุด หรือลดลงถึงกว่า 17% หลังจากที่ปี 2565 ตลาดหุ้นไทยก็แทบไม่ขยับเลยจากปี 2564 หรือผลตอบแทนประมาณ 0%

ประสบการณ์ของผมกับตลาดหุ้นไทยในช่วงประมาณ 27 ปี ก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นไทยมักจะขึ้นประมาณ 60% ของปี และลงประมาณ 40% ซึ่งทำให้การลงทุนในแต่ละปีมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ในขณะที่ตลาดหุ้นอย่างสหรัฐนั้น ผมคิดว่าปีที่หุ้นขึ้นน่าจะอย่างน้อย 70% ขึ้นไป ในขณะที่ปีที่หุ้นลงน่าจะไม่เกิน 30%

พฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งของตลาดหุ้นไทยก็คือ ถ้าปีไหนตลาดหุ้นไทยขึ้นแรงมาก ปีต่อไปตลาดก็มักจะตกลงมาแรง ตัวอย่างก็เช่น ปี 2542 ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นไป 36% แต่พอถึงปี 2543 ตลาดก็ตกลงไป 44% จริงอยู่คนอาจจะบอกว่าปี 2543 หรือปี 2000 เป็นปีที่เกิดวิกฤติหุ้นไฮเทคของสหรัฐ แต่หุ้นในดัชนีหลัก ๆ ที่ไม่ใช่ไฮเทคก็ไม่ได้ตกมากนัก ดังนั้น คงเป็นเรื่องทาง “เทคนิค” ที่ดัชนีต้องปรับตัวลงมาหลังจากที่ขึ้นไปแรงมากกว่า



เช่นเดียวกัน ปี 2546 ดัชนีตลาดหุ้นปรับขึ้นไปปีเดียวถึง 117% ซึ่งสูงที่สุดในยุคหลังวิกฤติปี 2540 จนถึงวันนี้ แต่แล้ว ปี 2547 ที่ตามมา ดัชนีก็ปรับตัวลง 14% ต่อมาในปี 2550 ดัชนีหุ้นก็ขึ้นไปแรงที่บวก 26% ซึ่งก็ตามมาด้วยการปรับตัวลงในปี 2551 ที่ 48% อานิสงค์จากวิกฤติซับไพร์มปี 2008

ในทางตรงกันข้าม หลังจากปีที่ตกไปแรง หรืออาจจะรวม 2 ปีที่ตกไปแรง ปีต่อไป ดัชนีก็มักจะปรับตัวขึ้นแรงที่เป็นเสมือนการ “ชดเชย” ดัชนีที่ตกลงมา ตัวอย่างเช่น ในปี 2540 และ2541 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ดัชนีตกลงมา 53% และ 5% ตามลำดับ ปี 2542 ก็ได้เห็นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นถึง 36%

ปี 2543 ที่ดัชนีลดลง 44% ก็ตามมาด้วยปี 2544 ที่ดัชนีปรับเพิ่มขึ้น 13% และตามด้วย 17% และ 117% ในปี 2545 และ 2546 ตามลำดับ มาถึงปี 2551 ที่ดัชนีปรับลดลงถึง 48% เนื่องจากเกิดวิกฤติซับไพร์มก็ตามมาด้วยการปรับตัวขึ้นถึง 63% ในปี 2552

ตั้งแต่ปี 2556 หรือประมาณ 10 ปีมาแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็เริ่ม “เปลี่ยนพฤติกรรม” จากตลาดหุ้นที่มีความผันผวนแรง เป็นตลาดที่มีความผันผวนต่ำ คือปีที่ขึ้นก็ไม่แรงและปีที่ลงก็ไม่มากเหมือนในอดีต คือขึ้นก็ประมาณไม่เกิน 15% ลงก็มักจะไม่เกิน 10% อะไรทำนองนั้น เมื่อเปรียบกับอดีตที่มักขึ้นลง 20-30% ถ้าจะเปรียบเทียบก็คงคล้าย ๆ คนหนุ่มสาวที่เริ่มแก่ตัวลงมาอย่างกระทันหัน เวลาเต้นรำก็ไม่สวิงเหมือนเดิม

ปี 2558 ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมา “แรง” ที่ 14% ก็ตามมาด้วยการปรับตัวขึ้น 20% ในปี 2559 ปี 2563 หุ้นตกลงมา “แรง” ที่ 8% ก็ตามมาด้วยการปรับตัวขึ้นในปี 2564 ที่ 14%

และถ้าปี 2566 ดัชนีหุ้นตกลงมาแรง เช่น 17% ถ้าหุ้นไม่ตกต่อไปนับจากวันนี้ หุ้นในปีหน้าคือปี 2567 ก็มีโอกาสที่จะดีขึ้นหลังจากที่หุ้น “แย่มานาน” เพราะในปี 2565 เองนั้น หุ้นก็แทบไม่ได้ให้ผลตอบแทนเลย หรือพูดง่าย ๆ หุ้นแย่มา 2 ปีแล้ว ถึงเวลาที่หุ้นจะดีขึ้นหรือเปรียบเป็น“ฟ้าหลังฝน”



ทั้งหมดนั้นก็เป็นการทำนายหุ้น “แนวเทคนิค” ที่แทบไม่มีวิชาการรองรับอะไรเลย ดังนั้น ผมจึงต้องหันมาดูว่าปัจจัยทางด้านพื้นฐานอะไรที่จะทำให้ดัชนีปีหน้าดีขึ้น ซึ่งก็จะเป็นตัวขับดันราคาหุ้นให้ขึ้นไปได้แรงพอ

ตัวแรกก็คือ ภาวะเศรษฐกิจ ที่มีการคาดการณ์ว่าจะดีขึ้น อานิสงค์จากการท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น การส่งออกที่จะดีขึ้น ซึ่งทั้งสองเรื่องก็ดูเหมือนมีแนวโน้มดีขึ้นเร็ว ๆ นี้แล้ว ในส่วนของการบริโภคเองนั้น เงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนกว่า 500,000 ล้านบาท ก็มีโอกาสผ่านสภาในช่วงกลางปีหน้า และถ้าไม่สำเร็จ รัฐบาลก็คงต้องหาทางใหม่ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ดี เพราะได้หาเสียงไว้แล้ว ถ้าไม่ทำก็จะเสียความนิยม ดังนั้น ปัจจัยตัวนี้มีโอกาสเกิดขึ้นมากพอสมควร

ตัวที่สองก็คือเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งที่ค่อนข้างแน่ก็คือ คงไม่เพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าโอกาสที่จะปรับลดลงยังไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีโอกาสบ้างเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงอย่างชัดเจนจนไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับประเทศไทย ประเด็นนี้ผมคิดว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของอเมริกาลดลง ของไทยก็จะต้องลดลงตามแน่

กำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 2566 มีการปรับตัวลดลงจากปี 2565 แต่การคาดการณ์ส่วนใหญ่ก็ดูว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 2567 น่าจะดีขึ้นพอสมควร อย่างน้อยก็น่าจะกลับไปเท่ากับปี 2565 ซึ่งนี่ก็จะช่วยทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นได้

ค่า PE ของตลาดหลักทรัพย์ในวันนี้ที่ประมาณ 17-18 เท่าเองนั้น ถึงจะไม่ต่ำหรือแสดงว่าหุ้นถูก แต่ก็ไม่ได้สูงกว่าปกติ ดังนั้น นี่คือปัจจัยที่เป็นกลาง ไม่ได้ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคที่จะช่วยขับดันตลาดหุ้น

และสุดท้ายก็คือ เรื่องของการขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติซึ่งก็เป็นประเด็นที่กดดันดัชนีหุ้นไทยมาตลอด และปี 2566 ก็เป็นปีที่มีการหุ้นจากต่างชาติสูงมาก อาจจะเป็นระดับสองแสนล้านบาท ซึ่งก็คงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงมารุนแรง อย่างไรก็ตาม ปี 2567 ก็อาจจะเป็นช่วงที่เพลาการขายลงได้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น หุ้นไทยก็อาจจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้แม้ว่ายังมีการขายสุทธิอยู่



โดยรวมแล้ว ถ้าหุ้นจะปรับตัวขึ้นในปีหน้าก็มีความเป็นไปได้มองจากปัจจัยทางด้านพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม หลายปัจจัยที่กล่าวถึงก็ยังมีความไม่แน่นอนพอสมควร เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ในยามที่ประเทศ “แก่ตัวลง” อย่างรวดเร็ว การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจบ่อยครั้งก็มักจะพลาดเป้าในทางที่ลดลง ซึ่งสิ่งนี้เราก็พบเห็นบ่อย ๆ ในระยะหลัง ผมเองยังจำได้ว่าในช่วงที่ประเทศไทยมีพลเมืองที่เติบโตเป็นกำลังแรงงานเพิ่มขึ้นและอายุของประชากรยังไม่สูงอย่างทุกวันนี้ เรามักจะพบว่าการเติบโตของ GDP และตัวเลขอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจ “สูงกว่าเป้าหมาย” และนี่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเวียตนามในช่วงนี้เช่นกัน ที่ตัวเลขจริงมักจะสูงกว่าเป้าหมาย

ไม่มีใครบอกได้แน่นอนว่าหุ้นในปี 2567 จะต้องดีขึ้น แต่ผมเองก็ยังคงไม่ถอนหุ้นออกไปในยามนี้แน่นอน ในยามที่ฝนยังกระหน่ำอย่างรุนแรงและฟ้ามืดมิดจนแทบไม่เห็นแสงตะวัน แต่สิ่งที่เรารู้ก็คือ ยังไงฝนก็จะต้องหยุด และฟ้าก็จะกลับมาสดใสแน่นอน

ผมมีความหวัง และก็เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังมีความหวัง ว่าประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปสู่บทใหม่หลังจากที่เรา “ติดหล่ม” มาไม่น้อยกว่า 10 ปีแล้ว แต่นอกจากความหวังแล้ว เราคงต้องอาศัย “โชค” โดยเฉพาะในยามที่ประเทศกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งใหม่ที่เราเองก็อาจจะไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร คำว่า “โชคดี” สำหรับผมแล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญมากไม่แพ้ความพยายามทั้งหมดที่ลงไป พูดตามจริง ผมได้ดีมาทุกวันนี้ก็อาศัยคำว่า “โชคดี” มาตลอด ความพยายามทั้งหมดของผมนั้น ดูเหมือนว่าจะทำเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อ “โชค” หรือ “โอกาส” ผ่านเข้ามาเท่านั้น ช่วยกันภาวนาให้ประเทศไทยและตลาดหุ้นครับ
A59764
ผู้ติดตาม: 0

Re: ORI

โพสต์ที่ 16

โพสต์

https://m.facebook.com/story.php?story_ ... tid=Nif5oz

Feedback หลังการขายจากลูกบ้านของ ORI
ปัญหาการสร้าง auto parking ไม่เสร็จ ทำให้รถยนต์ลูกบ้านได้รับความเสียหาย

ลูกบ้านติดต่อ callcenter 5 ครั้งไม่มีความคืบหน้า จนต้องขู่ว่าจะลง ​Social
หลังโพสต์ จึงมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Takerisks
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 27

Re: RBF

โพสต์ที่ 17

โพสต์

[quote=dittaphan post_id=1991616 time=1701416559 user_id=28389]
พึ่งเข้ามาดูยังไม่ได้ศึกษาอะไรมากนะครับ รบกวนสอบถามหน่อยครับ ทำไมหุ้นตัวนี้ pe สูงจังครับ
[/quote]

*รายได้ Flavor & Color 35%(ส่วนใหญ่ flavor) มี Barrier to entry สูง, Switching cost สูง, Divisify ไปสู่สินค้าหลาย Skus หลายๆรายของลูกค้ามากๆ ทำให้มี GPM สูง 70-80% นึกภาพน้ำผลไม้ อาหารที่ผลิตเชิงอุตสาหกรรม จะทำให้กลิ่นหอม อร่อยและนิ่งเท่ากันตลอดปีมันต้องเติมสิ่งนี้กันทั้งนั้นเพราะอย่างผลไม้เก็บคนละฤดูก็ให้รสชาติคนละรสแล้ว ในขณะที่ฝั่งต้นทุนคิดเป็น 1-2% ของ Total cost ของลูกค้าการการต่อรองของราคาก็คงมีไม่มาก (แต่ช่วง Covid-19 ก็ pass through ไม่ได้นะ*0*) แต่ ..... ในทางกลับกันก็โตยาก(ไปแย่งลูกค้าจากคนอื่นยากเหมือนกัน) แต่ถ้าโตแล้วก็มันจะไม่ผันผวนเท่าไหร่อยู่กันยาวๆถ้า product มัน establish แล้ว เข้าใจว่าเป็นผู้ผลิตกลิ่นสัญชาติไทยรายเดียวที่แข่งกับ MNCs เช่น IFF Givadaun Kerry V,mane fils Aromatech ได้ ลูกค้าก็เป็น big name ที่มีชื่อเสียงทั้งนั้น (CP, MINT, CBG, BJC, OSP ฯลฯ) สรุปว่าถือเป็นธุรกิจที่มี visibility, มีการซื้อซ้ำ, ปรับราคาได้, กระแสเงินสด แข็งแกร่งมาก มีข้อได้เปรียบคือ ราคาถูกว่าคู่แข่ง และ customize ยืดหยุ่นได้มากกว่าตาสไตล์ไทย

*ช่วงเข้าตลาดใหม่ๆ 2016-20 ยังมีธุรกิจโรงแรมที่เป็นตัวถ่วงกำไร ทำให้ P/E สูงด้วย ก่อนจะขายออกไป ก็มี Theme กัญชงที่เล่นใหญ่ไปกระพริบกันมากเลยทำให้ ความคาดหวังเยอะมาก P/E สูงไปไกลลิบ

*หลังจากนั้นก็โตจาก Flour and Sauce 35% จากการขยายกำลังการผลิตทั้งในอินโดและเวียดนาม อันนี้ GPM น้อยกว่าแต่ก็จับตลาดในต่างประเทศได้ดี จาก 813 ลบ. ในปี 2016 มาเป็น 1,787 ลบ. ในปี 2022 และ น่าจะ ทะลุ 2,000 ในปี 2023 ทำให้สัดส่วนตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 10% (242 ลบ./ปี)เป็นเกือบ 30% (316ลบ./ไตรมาสซึ่งถึงนักลงทุนก็คงชอบด้วยกับการขยายตลาดตปทได้ดีต่อเนื่องและดูเหมือนจะไม่หยุดแค่นี้ เพราะมี TU มาซื้อหุ้นจากเจ้าของที่ 15 บาท เพื่อจะลุยตลาด อินเดียกันต่อ

*ทีนี้หลังจากที่เจอโควิดต้นทุนพุ่ง GPM จาก 40+- ลงไป 30 ต้นทำให้ผิดหวัง ที่ผ่านมาก็โตแต่ Flour and Sauce ซึ่งจะดึง GPM ลงเรื่อยๆในอนาคต แต่ 2-3 ไตรมาสหลังมานี้ GPM เริ่มฟื้นจากทั้งต้นทุนแป้งลงและธุรกิจ Flavor & Color ที่มี GPM สูงก็กลับมาโต (ที่สำคัญโตจากต่างประเทศด้วย ซึ่งคือจีน) เลยทำให้ดูการฟื้นตัวรอบนี้จะมีคุณภาพและยั่งยืนกว่าเดิมนะครับ

*สรุปคือ 35% ของรายได้ (Flavor & Color)เป็นธุรกิจที่ดีมากๆ และเป็นสาเหตุที่แพง(แน่นอนว่าคหสต.) ถ้าโตได้แล้ว sustain ได้จริงๆก็สบายจะทำให้กำไรโตไว แต่ถ้าไม่รีบก็ค่อยๆไปกับ Flour and Sauce 35% ที่เหลือที่ดูโตได้เรื่อยๆแต่ GPM น้อยหน่อยและต้นทุนมีความเป็น commodity

ผิดถูกประการใดขออภัยด้วยไว้ ณ ที่นี้
ohm150
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2137
ผู้ติดตาม: 238

Re: PLAT

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เป็นบ.ที่ทำโครงการขนาดใหญ่แต่ไม่มี demand ในมือ
CPN มี CRC และเครือ
คุณเจริญ, CP มี demand office, food, retail ในมือมหาศาลมา fill OCC ได้

สถานการณ์แบบนี้มีแค่สองทาง ลดค่าเช่าลงมาเรื่อยๆจนมีผู้เช่า แต่ราคาเสียในระยะยาว
กับรอไปเรื่อยๆและหวังว่าสถาณการณ์ demand จะดีขึ้น
(ส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างยากครับ)
แปลกใจที่บ.ยังปล่อยให้ตึกที่เสร็จแล้วว่างอยู่เป็นเวลานานไม่ยอมลดราคาดึงรายใหญ่ๆ อื่นๆเข้ามา
image.png
Dragonkop
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

Re: XO

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เพื่อนไปเที่ยวเมกา ถ่ายมาให้คับ จาก Safeway ที่ CA นอกจากตัว original ยังมี extra garlic ขายด้วย surprise ทีเดียว
1701591178842.jpg
dittaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 321
ผู้ติดตาม: 18

Re: M

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ความคิดเห็นแบบมโน นะครับ

- ผมมองว่า ตี๋น้อย มองเห็นช่องว่างระหว่างร้านที่อยู่ในห้าง(แพง) กับร้านหมูกะทะ(ไม่แพงแต่ลูกค้าเยอะมาก) มันก็คือตรงกลาง ระหว่างราคาหัวละ 500 กับไม่ถึง 200 /แต่เหมือนได้ลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม
- กลุ่มในห้าง ก็เลือกมากินตี้น้อยเพราะมีแอร์ ที่จอดรถสะดวก อร่อย และที่สำคัญคุ้มกว่า คิดว่าก็น่่าจะเป็นคนรุ้นใหม่อายุไม่เยอะ พลังในการกินเยอะ
mk มันเลยมองดูเหมือนคนที่อายุเยอะขึ้นมาหน่อยกิน
- กลุ่มที่กินนอกห้างเช่นหมูกระทะ เพิ่มเงินอีกหน่อยได้กินแบบคุ้มกว่า และอนาคตตี๋น้อยอาจเปิดสาขาเล็กๆ กระจายไปได้ทั้่วถึงกว่าเปิดในห้าง
- mk จับลูกค้าในห้างก็ต้องมีต้นทุนค่าเช่าแพง + กับร้านใหม่ที่เปิดในห้างเป็นคู่แข่งมากขึ้น
kengvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 205
ผู้ติดตาม: 20

Re: SAFE

โพสต์ที่ 21

โพสต์

GFC vs SAFE

<แปะในห้อง GFC แล้วตั้งแต่วันศุกร์>

ไม่มีหุ้นทั้งสองตัวนะครับ แต่สนใจเพราะเห็นเป็นธุรกิจเงินสด และมี upside risk จากการขยายสาขา และลูกค้าต่างประเทศ 2-3 วันนี้ลองศึกษาสองบริษัทเทียบกันดู

ขอแลกเปลี่ยนไอเดียคร่าวๆบางส่วนนะครับ ตรงไหนเข้าใจผิดทักมาได้ครับ (long post)

Industry & nature of business:

อุตสาหกรรมค่อนข้าง fragmented และตัวเลือกหลากหลายมาก
เนื่องจากลักษณะธุรกิจรักษามีบุตรยาก (ICSI) รายได้รายบริษัทจะไม่แน่นอน ส่วนมากเป็น one-time คาดการณ์อนาคตยาก ไม่ได้ค่อนไปทางสม่ำเสมอและ diversify เหมือน รพ. ทั่วๆไป เว้นแค่ธุรกิจฝากไข่ ที่เป็น recurring แต่ยังมีสัดส่วนต่อรายได้รวมน้อยมาก (<5%)

GPM ใกล้เคียงกัน (อาจเพราะ product/service ที่คล้ายๆกัน) ที่ต่างกันคือ NPM คือวัดกันที่การบริหารจัดการ การขายและการตลาด

#ธุรกิจ 2024-5

GFC 1H/24 มองกลางๆ มีโอกาสจะสร้าง rev ไม่ทันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากตึกใหม่ที่พระราม 9, การมี capacity (fixed cost) เพิ่มแบบก้าวกระโดด มีแนวโน้มต้องแข่งด้านราคา (promotions) เพื่อ cover initial fixed cost ซึ่งอาจจะกด margin ต่ำลงได้อีก (ผบห ให้ guideline GPM แค่ >40% vs ตลาด avg 50%)

การหวังลูกค้าใหม่จากต่างประเทศ จะเริ่มไม่ง่าย และต้องใช้เวลา เพราะไม่มีฐานลูกค้าเดิม ทำให้ไม่มี words of mouths และต้องใช้เวลาสร้าง lauguage/agengy/service capability อีก ถ้าจะมอง GFC แนะนำให้มองข้ามไปปี 2025 เลย

ส่วน SAFE ปี 2024-25 ความหวังอยู่ที่ลูกค้าต่างชาติ ซึ่งปีนี้ รายได้ต่างชาติยังเป็นครึ่งเดียวจากช่วงก่อนโควิด แต่ข้อดี SAFE มี service capacity ของลูกค้าต่างชาติเดิมอยู่แล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือ รายได้ลูกค้าคนไทย Trend 2021-23 มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ (ขณะที่ GFC เพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นรายได้ปีที่แล้วทำ ATH)

สาขาแรกที่ SAFE จะขยายที่แจ้งมา คือ รามอินทรา จริงๆคือ relocation & expansion มากกว่า new เพราะอยู่ในพื้นที่เดิม

โอกาสของ SAFE คือ หันมาพัฒนาหลังบ้าน เพราะ admin exp สูง และถ้าจะลด น่าจะลดลงได้พอสมควร (20% vs GFC 13%) ซึ่งส่วนที่ลดลงจะไปเพิ่มที่ bottom line ทั้งหมด

และ SAFE มีเงินสดในมือเยอะมาก (756ล, Q3/23) ซึ่งอาจจะมี upside risk (surprise news) ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น acquisition, expansion, buy back or dividend

#หุ้น

2 ตัวนี้โครงสร้าง ผถห และการเข้าตลาด ต่างกันมาก

GFC อ. พิทักษ์ถือหุ้นเพียง 25% ที่เหลือเป็นนักลงทุนแตกย่อยหลายกลุ่ม ต้นทุนเพิ่มทุนก่อน IPO คือ 0.5 บาท ราคาในตลาดก็ 22x แล้ว (ถ้าตัวเลขผิด ก็ขออภัย) ซึ่งหลายล้านหุ้นไม่ติดล็อค

การที่ อ. พิทักษ์ ซึ่งเป็นหัวใจ จุดแข็ง และจุดขายของ บ. (40% ของลูกค้า GFC) เป็น real key man risk และในอนาคตระยะยาว จะมีโอกาสเกิด conflict ระหว่าง ผถห ที่อาจมี business directions แตกต่างกันหรือไม่ คงต้องให้นักลงทุนแต่ละคนไปวิเคราะห์ดูกับ บ ที่มี การกระจายตัวของ ผถห. ลักษณะนี้ครับ

การทำราคา IPO GFC ที่ PE 21x ทำให้หุ้นไปต่อได้.. everyone is happy

ส่วน SAFE เป็นธุรกิจครอบครัวของ อ. วิวัฒน์ ซึ่งการทำ IPO PE 35x ก็ชัดเจนว่า ผถห. เดิมต้องการขายออก ซึ่ง อ. ก็ขายออกผ่านทาง บ ใน HK 19%

ส่วนหุ้นของ Morgan Stanly อีก 13% ที่เพิ่มทุนไปช่วงโควิด คงจะรอขายในอนาคต ไม่ผ่านตลาด ก็ผ่าน big lot (ติดเงื่อนไขอะไรหรือไม่ ต้องไปอ่านลึกๆในรายงาน)

หลัง IPO หุ้นของครอบครัว อ. วิวัฒน์ เหลือ 60% ซึ่งมองได้หลายมุม เช่น อ. อาจจะไม่ขายออกมาแล้ว, หรือ อ. ขายได้ออกมาได้อย่างมากไม่เกิน 10%, หรือ เอาเงินจากที่ขายไปช่วง IPO มารับซื้อหุ้นส่วนของ MS ถ้า MS มีเหตุต้อง exit

<เพิ่งเห็นรายงาน 30/11 อ. ซื้อคืน 3.36 แสนหุ้นครับ>


หุ้น SAFE -20% post IPO เป็นสิ่งที่ดูไม่ดี และราคา IPO จะกลายเป็นแนวต้านสำคัญ เพราะคนติดอยู่เยอะ




#Valuation

การประเมินหุ้นทั้งสอง ส่วนตัวใส่ assumption แต่ละธุรกิจ (ICSI, NGS, ปรึกษา, ฝากไข่, IUI), GPM, SG&A ทีละบันทัด และประเมิน eps ล่วงหน้าไป 2 ปี (2024-2025) ซึ่งแต่ละคนคงมี assumption ต่างกัน เลยขอไม่เอามาแชร์นะครับ

ส่วนเรื่อง PE ที่บางคนเทียบกับ รพ. ที่ PE 30 (ซึ่งอาจจะมองว่าแพงแล้ว) แต่ส่วนตัวคิดว่าเทียบกันตรงๆไม่ได้ แม้ว่าธุรกิจ ICSI จะยังโตแรงกว่า อย่างน้อยๆในช่วงที่ตลาดยังไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะต่างจังหวัด แต่ nature ของธุรกิจมีความผันผวนสูงกว่า รพ. มาก (ดูจากรายได้ของ บ. ICSI ใหญ่บางแห่ง ยังเพิ่งเป็นแค่ 1/3 ของก่อนโควิด ในขณะที่ รพ. รายได้เท่าเดิมหรือเกินไปแล้ว)

ความเห็นส่วนตัว ปี 2024 ยังมีหลายเรื่องต้องระมัดระวัง ถ้าจะไปไล่ซื้อบน PE สูงบนความคาดหวังที่สมบูรณ์แบบเกินไป (ปี 2024 GFC จะโดนกดดันเรื่องต้นทุนและ margin, ในขณะที่ SAFE ต้องติดตามการเพิ่มขึ้นของลูกค้าต่างประเทศ จะชดเชยการลดลงของลูกค้าคนไทยหรือไม่)

อาจต้องมองข้ามไปปี 2025 เลย ถ้า best scenario คือ บนคาดหวังว่า บ. จะมีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่อง, มี new growth story และ ตลาดยังให้ PE สูงอยู่ (อย่างน้อย ต้องไม่ต่ำกว่า 25x ครับ)
traderkanin21
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 5

Re: MOSHI

โพสต์ที่ 22

โพสต์

จาก​ Oppday​ ผู้​บริหาร​ยัง​ upgrade​ guidline​ growth อีกนะครับ​
MOSHI เพิ่มเป้ายอดขายปี 2566 เป็น >30% YoY จาก >20% ก่อนหน้านี้ เพื่อสะท้อนการเติบโตของยอดขายที่แข็งแกร่งในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ 39.3% YoY
SSSG เดือน ต.ค. ยังคงเป็นบวกที่เลขหลักเดียวในระดับต่ำ ขณะที่กำไรไตรมาสไตรมาส 4/2566 คาดว่าจะดีที่สุดของปี โดยเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ
คงสมมติฐานการเติบโตของกำไรปี 2566-68 ที่ 57.5%/50%/27%
ปีหน้ามาเพิ่ม​สาขาอีก​ คิดว่าเป็นอีก​ growth stock​ ที่น่าสนใจครับ
SKYLINE99
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 29
ผู้ติดตาม: 0

Re: TU

โพสต์ที่ 23

โพสต์

สอบถามir ครับ

จะมีความเป็นไปได้ไหมครับที่ราคาขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขายในยุโรป จะมีการขยับราคาขึ้นอีกสัก 3-5% เพราะจากที่เดินในห้างยุโรป แบรนด์เราไปเน้นขายราคาต่ำกว่าคู่แข่งอยู่ มีบางยี่ห้อแพงกว่า ที่สำคัญ พออกต่างเมืองยี่ห้อเราไม่มีให้เลือก แต่คู่แข่งมีขายในshelf…..จากที่คุยกันเพื่อนๆเค้ามองว่า สินค้าเรามีคุณภาพดี อร่อย แถมถ้าราคาขึ้นมาเท่าคู่แข่งหรือแพงกว่านิดหน่อย เขาก็เลือกซื้ออยู่ดี เอางบจาก environment ไปลงmarketing ให้มากขึ้นจะดีกว่าไหมครับ ไปสร้าง awareness

เราจะได้มี magin of safety ในการขยับขึ้นลงของราคาปลาทูน่าวัตถุดิบไม่ไปกระทบกับมาจิ้นรวมมากนัก
AleAle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2143
ผู้ติดตาม: 3

Re: BCP

โพสต์ที่ 24

โพสต์

phpBB [video]
ภาพประจำตัวสมาชิก
Daphne_Daddy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 30
ผู้ติดตาม: 21

Re: PLAT

โพสต์ที่ 25

โพสต์

S__11419835_0.jpg
S__11419840_0.jpg
S__11419832_0.jpg
S__11419824_0.jpg
S__11419826_0.jpg
S__11419829_0.jpg
S__11419831_0.jpg
ภาพงานภายในของจริง ล่าสุด จาก FB ครับ ทำออกมาใกล้เคียง 3D
yamajung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 22

Re: ILM

โพสต์ที่ 26

โพสต์

หุ้นนี้ดีทุกอย่างยกเว้น ที่ดินของทุกห้าง ทุกคอมมู เป็นชื่อเจ้าของซื้อที่ ละให้บริษัทเช่าต่อ
มีหุ้นล้าววเชียได้ ขายละค่อยด่า
batmank
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 191
ผู้ติดตาม: 7

Re: ORI

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ori.jpg
kanin02
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 44

Re: TRP

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ตอบให้ครับ ปัญหาเกิดจากตัวธีรพรเองครับ คือลักษณะของศัลยกรรมมันทำครั้งเดียวจบไม่มีrecurring ธีรพรที่productไม่หลากหลายก็จะยิ่งกลับมาทำใหม่ยากกว่าmaster เพราะmasterหลากหลายกว่า ยิ่งทีมsaleของธีรพรมีน้อยและไม่ค่อยมีประสิทธิภาพยิ่งมีปัญหาเลยครับ คือปี65demandมันอั้นมากๆเอาrobotมาตอบยังขายได้ แต่พอ66มันเริ่มต้องแข่งมากขึ้นแล้วทีมsaleยังไม่ค่อยตั้งใจทำงานอีกเลยทำให้ยอดตกครับ ตัวอย่างทีมsale นะครับเช่นเวลาถามข้อมูลก็ถามคำตอบคำไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มหรือพยายามปิดการขายอะครับซึ่งคลินิกอื่นๆเขาโหดกันหมด
Ditditdit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 17

Re: TRP

โพสต์ที่ 29

โพสต์

โทษทีครับ ตอนแรกจะโพส แต่กดผิดไป comment บนโพสบน

ผมเพิ่งมาติดตามตัวนี้ มีข้อสงสัยอยู่ 2 ประเด็น ถ้าใครพอมีข้อมาแชร์ จะขอบคุณมากครับ

1. รายได้ปีนี้ทำไมลดลงจากปีที่แล้ว โดยบริษัทแจ้งว่าเพราะปีที่แล้วดีเป็นพิเศษจาก pend up demand และการทำ social marketing ส่วนปีนี้คนเริ่มออกไปเที่ยว เลยมาทำสวยน้อยลง แต่ถ้าเหตุผลเป็นแบบนี้จริง Master ปีนี้ก็ไม่ควรจะโตเหมือนกันไหมครับ

ผมแอบสงสัยว่าหรือที่จริงแล้วจะเป็นเพราะว่าคุณหมอชลธิศรับเคสน้อยลงรึป่าว คนไข้ที่ต้องให้คุณหมอเป็นเจ้าของเคสเลยหายไป พอคิดแบบนี้เลยสงสัยต่อว่าสัดส่วนรายได้ที่มาจากเคสของคุณหมอชลธิศโดยตรงคือกี่% หรอครับ

2. ในคลิปนึง คุณหมอชลธิศพูดว่าผมเคยจะเกษียณแล้ว แต่มีกลุ่มนักธุรกิจมาลงทุนให้ผมมาคุมคลินิกใหม่ที่สีลม (ถ้าผมจำสถานที่ไม่ผิด) ผมเลยสงสัยว่าสรุปตอนนี้ ultimate shareholder ของ TRP คือกลุ่มคุณหมอชลธิศไหมครับ หรือนักธุรกิจที่ว่า หรือว่าร่วมๆ กัน

ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mr.CHANOPPS
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 95
ผู้ติดตาม: 4

Re: KAMART

โพสต์ที่ 30

โพสต์

Market Cap = 13,090 ล้านบาท กำไร TTM 550.91 ล้านบาท
หารกันแล้ว ก็ได้ PE 23.76 ครับ
young_5432 เขียน:
ศุกร์ ธ.ค. 01, 2023 11:11 am
สงสัยครับว่าทำไมใน set.or.th กับ streaming ค่า PE ของ KAMART ยัง 23 เท่าอยู่เลยครับ
Q4 2022 =0.14
Q1 2023= 0.18
Q2 2023= 0.15
Q3 2023=0.16
รวม 0.63
PE = 11.6/0.63 = 18.4

ผมเข้าใจถูกไหมครับ พอดีเห็นตัวอื่นก็ update กันแล้ว ขอบคุณครับ

Capture.JPG
นักลงทุนที่ดี คือ นักลงทุนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
โพสต์โพสต์