โพสต์ยอดนิยม

อวสานของการลงทุนหุ้นต่างประเทศ?/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
max888
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1450
ผู้ติดตาม: 354

Re: NSL

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Bird.Songwut เขียน:
เสาร์ ธ.ค. 02, 2023 2:12 pm
ดูยังไงก็ดูไม่ออกว่า NSL จะเป็นบริษัทที่เป็น Platform ที่จะมีคำนิยามว่า Food platform as a service ได้อย่างไร
ยังไม่เห็นเขามีแพลตฟอร์มอะไรเลยครับ ก็เห็นมีโรงงานกับฝ่าย R&D ตามปกติ
ขอบคุณสำหรับคำถามครับ งั้นผมขออธิบายเรื่อง Platform business model สั้นๆแล้วกันครับ
.
ผมคิดว่า หลายคนสับสนว่า Platform business model กับธุรกิจพวก Software เช่น Shopee, Facebook หรือ AirBnB กับคำว่า Network Effect
.
ขอยกตัวอย่างนี้เพราะผมว่า คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า Platform คือ ประมาณนี้
.
ผมขอเกริ่นแบบนี้ก่อนครับ รากฐานขอคำว่า Platform มันไม่จำเป็นต้องเป็น Software ครับ จริงๆ Platform business model มีมานานแล้ว เพียงแต่ พออยู่ในโลกของ Internet มันทำให้ distribution มันทำได้เร็วมากขึ้น ง่ายขึ้น
.
กลับไปที่พื้นฐานของคำว่า Platform business model ก่อน Platform คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมให้เกิด transaction ระหว่าง party ใน platform

Platform แบบที่ simple ที่สุด ที่คนชอบเอามาอธิบายเป็น Metcalfe's law คือ Single side platform ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ Facebook หรือ Line ถ้าย้อนกลับไปอีก จริงๆ Model ธุรกิจ Platform อยู่กับเรามานานมากๆแล้ว ซึ่งก็คือ ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ นั่นแหละครับ

ถัดมาเป็น Platform ประเภท two sided platform ซึ่งอันนี้บางคนอาจจะคุ้นเคยมากกว่า คือ Shopee, AirBnB เป็น Platform ที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือถ้าไม่ใช่ตัวอย่างที่เป็น Software คือ ธุรกิจแบบ CPN, The Mall หรือ Sephora เป็นต้น ซึ่งเป็น Platform ที่เชื่อมระหว่างผู้ซื้อ ผู้ผลิต เช่นกัน

เพราะฉะนั้น คำว่า Platform ไม่จำเป็นต้องเป็น Software เพียงแต่พอเป็น Internet software มันทำให้ distribution advantage มันชัดขึ้น ก็เท่านั้นเองครับ

แต่ไม่ใช่ว่าพอเป็น Platform แล้วจะ success โดยอัตโนมัติ เพราะ Platform ที่ไม่มี interaction มันก็ไม่ต่างกับห้างที่ร้าง หรือ ตัว Thread ที่ Meta ถึงจะพยายามทำเลียนแบบ X แต่มันก็ไม่เกิด เพราะปัญหาของ Platform ประเภท two sided คือ ทำยังไงให้ทั้ง buyer และ seller ยังอยู่กับ platform

แต่ถ้า Platform ที่ผ่านจุดที่เรียกว่า Cold start ขึ้นไปได้ มันจะเริ่มเกิด Scale ซึ่งอันนี้เป็นจุดที่ทำให้คำว่า Platform น่าสนใจ ซึ่งสรุปสั้นๆคือ การเติบโตของธุรกิจที่เป็น Platform จะทำได้ดีกว่าธรกิจแบบเดิมที่เป็น Pipeline business แต่จะต้องสามารถทำ Platform ให้ข้ามผ่านจุดที่มันเริ่ม scale ได้ ถึงจะเกิด ไม่งั้น Platform นั้น มันก็จะเจ๊งไปเองครับ

ทีนี้ พอมันเริ่ม scale เราถึงค่อยมาพูดถึงคำว่า Network effect เอาแบบ Simple สุดๆแล้ว คือ Metcalfe's law แต่ถ้าศึกษาไปลึกๆ คุณจะเข้าใจว่า Metcalfe's law มัน apply ได้แค่ช่วงเริ่มต้นของ Platform เกินไปมากกว่านี้ มันจะเจอสิ่งที่เรียกว่า Declining marginal utility หรือเจอ Plateau ของมันเหมือนัน ผมยกตัวอย่างง่ายๆ Line หรือ Facebook เพื่อนคุณ พอถึงจุดนึง มันจะเริ่มกลายเป็นปัญหา เพราะมันเยอะเกินไป มันไม่ได้ scale ไปถึง infinity ได้ตามสูตรตรงๆขนาดนั้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่สังคมอยู่แค่เฉพาะกลุ่ม มากกว่านี้ มันจะเริ่มเป็นปัญหา

ผมของลองยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น คือ Amazon ช่วงแรก ก็เอาหนังสือมาขาย ทำตัวเป็น Pipeline business แบบนี้ยังไม่ใช่ Platform แต่พอ Amazon เริ่มเอาของ 3rd party มาขายบน web ทำให้การเติบโตทำได้เร็วขึ้น เลยเป็นข้อดีของ Platform ที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว

พอมาถึงสมัยนี้ ถ้าเป็น Platform ยิ่งชัดเจนว่าอาจจะตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดีกว่า

สาเหตุเพราะ ความต้องการผู้บริโภคสมัยนี้ มี choice มาก ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ strategy คือ ผลิตสินค้าออกมา ลงสื่อโฆษณา แล้วไปวางขายใน distribution channel แล้วจบ สมัยนี้ก็เห็นแล้วว่า ธุรกิจสื่อโฆษณาทางทีวีค่อนข้างเหนื่อย ห้างสมัยนี้ก็หลักๆคือร้านอาหาร ส่วนของคนไปช้อป online กันหมด

การใช้วิธีคิดแบบเดิมเลยเริ่มไม่ได้ผล ส่วนนึงเพราะสมัยนี้มีสิ่งที่เรียกว่า Creator economy แล้วผุ้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าเมื่อก่อนมาก ทฤษฏี Five-Forces ของ Porter ที่มีมาตั้งแต่ปี 1979 (สี่สิบกว่าปีแล้ว) อาจจะเหมาะกับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงน้อย พฤติกรรมผู้บริโภคมี stickyness สูง แต่อาจจะไม่ค่อย effective ในปัจจุบัน หรือ 4P ของ Jerome McCarthy ที่คิดมาตั้งแต่ปี 1960 ในสมัยนั้นที่คนยังดูทีวีเดินห้างอาจจะใช้ได้ดี แต่สมัยนี้โลกก็เปลี่ยนไปมาก ทฤษฏีนี้ผมคิดว่ากำลังถูก Challenge ด้วย Creator economy ผ่าน Tiktok Youtube ฯลฯ

ถ้าธุรกิจแบบที่เป็นการผลิตแล้วทำ R&D แบบ model เดิม ผมคิดว่า อันนั้นน่าจะหมายถึง CPRAM มากกว่า เพราะเป็น model คิดเอง ผลิตเอง ขายเอง แต่ด้วยความที่ความต้องการผู้บริโภค โดยเฉพาะ Gen Z ลงมาเปลี่ยนแปลงเร็ว การใช้ Model ทำ R&D ผลิต เพื่อใล่ตามผู้บริโภคให้ทัน ก็ยังทำได้ เพียงแต่มันยากขึ้น พอ NSL เป็นคนที่ช่วยทำให้ Creator อย่างเชฟบีม มียอดขายใน 7-11 ซึ่งต้องทำงานร่วมกันเพราะ อยู่ๆ 7-11 คงไม่คุยกับเชฟบีม แล้วเชฟบีม จะทำงานกับ 7-11 ไปให้ตลอดรอดฝั่งในฐานะคนทำอาหารคนนึง คงไม่ใช่เรื่องหมู อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว ผมคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มว่า ปัญหาของคนทำร้านอาหาร pain point ที่สำคัญอย่างนึงคือ Cost control กับ Operation management ซึ่งตรงจดนี้แหละครับ ที่ NSL เลยทำตัวเป็นตัวเชื่อมระหว่างสองคนนี้ ที่ผมเรียกว่า Platform ทำให้ Bake a wish ก็มีมาตั้งนาน แต่เพิ่งจะเอามาขายใน 7-11 แล้วยอดขายดูจะไปได้ดี ถ้าไม่ได้คนที่เข้าใจธุรกิจของทั้งสองฝั่งเป็นอย่างดี win win กันทั้งคู่ คนขายได้ยอดขาย ส่วน 7-11 ได้เพิ่ม Same Store sale growth ถ้าไม่ใช่เพราะ Value Added ที่ NSL ที่เข้าใจธุรกิจและความต้องการของทั้งสองฝั้่งเป็นตัวเชื่อม เทียบกับการที่ Bake a wish เข้าไปหา 7-Eleven ตรงๆ

อีก Value added ของ NSL คงเป็นเรื่อง Pricing strategy ซึ่งการจะทำ Pricing strategy ได้ดี ก็ควรจะเห็น Demand curve กับ Cost curve ที่หลากหลายและยาวนานพอ สมมติผมเป็นคนทำขนมเจ้านึง ผมควรจะ set price ยังไง ถ้าไม่รู้ว่า demand curve เป็นยังไง price sensitivity ของเส้น demand มันเป็นแบบไหน ถ้าเอาแบบกำปั้นทุบดิน ผมก็แค่สุ่มไป ใช้ cost plus strategy ไป แต่คุณทราบไหมว่า ธุรกิจจำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่า ตัวเองควรตั้งราคาเท่าไหร่ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดและจะ manage ต้นทุนยังไง ผมเคยฟังผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่มี Market cap หลายหมื่นล้านบาท ที่แกก็น่ารักที่คุยกันตรงๆว่า ผมก็เพิ่งจะมาเข้าใจเรื่อง การจัดการต้นทุนผลิตเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากอยู่ในตลาดมาหลายปี

แล้วการขายของใน 7-11 ถ้าคนไม่มีประสบการณ์ ผมคิดว่าก็ไม่ง่าย เช่น สินค้าชิ้นนึงราคาไม่กี่สิบบาท แล้ว shelf live มันก็ไม่ได้นาน ส่วนใหญ่ไม่เกินสิบวัน ถ้าไมใช่สินค้าแช่แข็ง ราคาขายระดับนี้ มันอาจจะไม่ได้มี margin ที่สูงมากพอที่จะ absorb กับ inventory loss ในช่วงแรก ยิ่งถ้าสายป่านคุณไม่ยาวพอ ทำให้การจัดการต้นทุนยิ่งสำคัญสำหรับสินค้ากลุ่มอาหาร รวมไปถึงการวางแผนผลิตว่า ระดับไหนที่เหมาะสม

หรืออีกตัวอย่าง ที่อาจจะคล้ายๆกัน คือ แบรนด์เครื่องสำอางค์สองแบรนด์ ที่คนนึง เป็นลักษณะพยายาทำแบรนด์ตัวเอง กับอีกคนที่ไป X กับ creator แล้วพอทำงานร่วมกัน ก็สร้างการเติบโตได้ดีกว่าแบรนด์แรก (ขออนุญาตไม่ mention ว่าเป็นแบรนด์ไหนนะครับ ผมว่าน่าจะทราบกันดีอยู่แล้ว)

ผมก็กำลังดูว่า NSL เหมือนจะเริ่มทำเป็นแบบบอย่างหลัง เพราะก็ต้องบอกว่า วันนี้ NSL ไม่ได้ทำแค่รับจ้างผลิตแซนวิช แต่ส่วนที่เป็น leverage จุดแข็งแล้วไปช่วยสร้างยอดขายการเติบโตให้กับแบรนด์อื่นๆค่อยๆมา วันนี้อาจจะยังเล็ก แต่อนาคต ถ้ามีแบรนด์แบบนี้เข้ามาเรื่อยๆ ก็อาจจะเป็น growth driver อีกตัว

ผมคิดว่า ภาพติดในใจหลายๆคน อาจจะมองไปเหมือนเป็น PB หรือตัวอื่นๆที่คล้ายๆกัน แต่อยากชวนให้ลองมองว่า ธุรกิจ NSL ค่อยๆเป็นมากกว่าการรับจ้างผลิต ไม่ได้มีแค่ Ezy Taste หรือ Ezy Sweet เท่านั้น และกำลังจะหาช่องทางการเติบโตในต่างประเทศผ่าน distributor ที่ร่วมลงทุนกันอยู่ จะเป็นยังไง ทำได้แค่ไหน ก็อยากชวนให้ลองติดตามดูครับ

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง Platform ผมขออนุญาตแนะนำหนังสือที่ได้เคย mention ไว้ครับ แล้วอาจจะชวนสนทนาเรื่องการ scale ของธุรกิจแบบนี้ ว่า Opportunity Threat อยู่ตรงไหนอย่างไรบ้างครับ

ถ้าหากสนใจ Business model ของหุ้นต่างประเทศเพิ่มเติม สามารถคุยกันต่อได้ที่เพจ"ชีพจรลงทุน" ได้นะครับ ผมเพิ่งเขียนสรุปอุตสาหกรรม Semiconductor ว่า Ecosystem เป็นยังไง อุตสาหกรรมนี้ใน US ใครทำอะไรกันบ้าง ตั้งแต่ EDA, Computer Architecture จนไปถึง Foundry เผื่อใครสนใจครับ ผมอาศัยเวลาว่างๆเขียนเป็นงานอดิเรก ไม่มีชวนลงทุนหรือขายคอร์สครับ :D
"Because nobody wants to get rich slow."-Warren Buffett-
เพจ "ชีพจรลงทุน"
CHATHKO
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 15

Re: XO

โพสต์ที่ 2

โพสต์

พอดีเพื่อนที่อเมริกาส่งมาให้ครับ ว่า XO เริ่มเข้า MT แล้ว โดยถ่ายมาจากห้าง Kroger ซึ่งมีสาขาถึง 1,238 สาขาครับ

1701563300828.jpg
1701563309835.jpg
max888
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1450
ผู้ติดตาม: 354

Re: NSL

โพสต์ที่ 3

โพสต์

dittaphan เขียน:
อาทิตย์ ธ.ค. 03, 2023 11:09 am
รบกวนสอบถามครับ
1.คิดว่าปีหน้ากำไรจะโตขึ้นจากปีนี้ถึง 10% มั้ยครับ
2.ผมมองว่าเซเว่นคือข่องทางการขาย ของ nsl ยังไงเซเว่นก็เหนือกว่าอยู่ดี
- ถ้า nsl กำไรมาก เดี๋ยวเซเว่นก็หาวิธีคุมให้กำไรพอดีๆ ประมาณว่าขอแบ่งกำไรมาหน่อยนะ
- ถ้ามียอดขายมากๆ จนเซเว่นกังวลว่าจะมาทำให้เซเว่นขาดเธอไม่ได้ เดี๋ยวเซเว่นก็หาเจ้าอื่นมาเสียบ เพื่อลดความกังวลนี้อยู่ที่ ก็เซเว่นเค้าเป็นเจ้าของช่องทาง
ปล.ความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่พาดพิงใคร
ขอตอบเรื่อง 7-11 แล้วกันครับ ส่วนเรื่องการเติบโต ผู้บริหารใด้ให้ target ไว้แล้วใน Opp day
- เรื่องกำไร ถ้า track ดูในอดีต จะเห็นว่า NSL กำไรก็จะประมาณนี้ครับ แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเติบโต เพราะคนละประเด็น ลักษณะแบบนี้เป็นปกติของ B2B แต่เรื่องการเติบโตอยู่ที่ผู้บริโภค ซึ่ง 7-Eleven ไม่ได้เป็นตัวกำหนดเรื่องนี้ ธุรกิจลักษณะนี้ ผมยกตัวอย่างคือ สมมติคุณเป็น supplier ให้ Tesla หรือ BYD แล้ว Tesla เข้ามาคุม margin ว่า ควรจะได้ประมาณนี้ อำนาจการต่อรองอยู่กับ Tesla ใช่ครับ แต่ไม่ได้แปลว่า บริษัทที่เป็น supplier ให้ Tesla ไม่น่าสนใจ และถ้าคุณไม่อยากลงทุนใน supplier ของ Tesla ก็ไปซื้อหุ้น Tesla ตรงเลยก็ได้ แต่ก็จะเจอ competitive pressure อีกแบบ เช่นเรื่องการแข่งขันราคา เป็นต้น ทุกอย่างมีราคาของมันครับ

- เรื่องที่สอง ผมคิดว่า ก็ปกติของธุรกิจครับ ไม่ได้แปลว่า Tesla จะต้องมาบีบ supplier จนหน้าเขียวทำอะไรไม่ได้ อันนั้นมันเป็นลักษณะของ supplier ที่คงไม่ได้มี value added เพิ่มเท่าไหร่ แต่ supplier ที่ดี ที่ยั่งยืนได้ ก็ต้องจัดการความเสี่ยง เช่นการนอกจากไปทำเป็น ODM แล้ว อย่างเช่นหลายๆบริษัทใน US ไม่ใช่แค่รับจ้างผลิตตามสั่งแบบทั่วไป ยังพยายามสร้าง Brand ของตัวเองเพิ่มเป็นต้น

เรื่อง Tesla ผมแค่ยกตัวอย่างเฉยๆนะครับ แค่อยากจะบอกว่า เรื่องธุรกิจก็ว่ากันไปตามธุรกิจครับ มีอะไรที่ win win ได้ก็ทำ และทุกอย่างมีราคาของมัน character ของมันครับ supplier ที่ดีก็มี ไม่ดีก็มาก พอดีธุรกิจแบบนี้ ก็คงไม่ได้เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดแบบ Supplier ของ Tesla แต่ไม่ได้แปลว่า Supplier ของ Tesla ไม่น่าลงทุน หรืออีกตัวอย่างคือหุ้นทำแผ่น PCB ที่ผมคิดว่า bargaining power อยู่กับ Manufacturer ชัดเจน แต่ไม่ได้แปลว่า หุ้นผลิตแผ่น PCB ไม่น่าลงทุนเอาซะเลย เพราะทุกปีก็ต้องถูกต่อราคา ผมคิดว่าธุรกิจก็แบบนี้ครับ มันก็มี way ที่จะอยู่ร่วมกันไปได้ สมมติถ้าผู้บริหารบริษัท PCB แห่งนี้บอกว่า ตั้งเป้าปีหน้าจะโต 15% แล้วธุรกิจน่าจะ bottom out ไปแล้ว จะมีคำถามแบบเดียวกันไหมครับ คุณจะเลือกแบบไหนระหว่าง 1) ตั้งคำถามว่า เดี๋ยวผู้ผลิตก็จะต้องมาขอต่อราคาอยู่ดี ทำไปซักพักพอใหญ่มากๆ เดี๋ยวก็ผู้ผลิตรถก็จะต้องพยายามหาผู้ผลิต PCB เจ้าอื่นมาทำแทน หรือ 2) คุณก็เอาเป้าของผุ้บริหารที่บอกนั่นแหละ เอามาใส่ excel แล้วกดกำไร คูณ PE เป็นราคาออกมาเลย ในขณะที่เราก็เห็นอยู่ว่า ณ ปลายทาง ผู้ผลิตต่างทะยอยกันลดราคาช่วงนี้

หรืออีกตัวอย่าง ไม่แน่ใจว่าพอจะใช้ได้มั้ย คือ ระหว่างให้คุณเลือกลงทุนระหว่าง บริษัทที่มีแบรนด์ที่ใครๆก็รู้จัก เช่น Toyota กับบริษัทที่เป็น supplier ของ Tesla คุณคิดว่าบริษัทไหนมากกว่ากัน แล้วการที่เป็น supplier ให้ Tesla คุณว่าจะสามารถเติบโตได้อย่างสบายๆโดยที่ผู้บริหารอย่าง Elon Musk จะไม่จะพยายามรีด Efficiency เท่าทีทำได้ในทุกจุดของการผลิตหรือเปล่าครับ ผมคิดว่าทุกอย่างมันมีราคาของมันครับ

ก็ยอมรับว่า ผมเคยพลาด wave นึงของหุ้นตัวนี้เมื่อนานมาแล้ว เพราะดันไปตีกรอบความคิดในหัวตัวเองตอนนั้นไปแล้วว่า ธุรกิจ OEM แบบนี้มันไม่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ดู dynamic ของธุรกิจให้ละเอียดมากพอ ตอนนี้กลับไปมองอีกทียังอยากเขกกะโหลกตัวเองอีกหลายๆที

การลงทุนก็คงเป็นเรื่องของรายละเอียดครับ ว่าอะไรคือ Competitive advantage โอกาส ความเสี่ยง แล้วจะ manage กันยังไง
ผมคิดว่าการแข่งขันในธุรกิจมันก็เป็นปกติ ผมเห็นบริษัทในต่างประเทศมันสู้กันหนักกว่าบริษัทไทยมาก บริษัทไทยหลายที่ที่ผมเจอ ก็มักจะพิมพ์นิยมมาด้วย Me too strategy คือ ไปดูว่า ใครขายดี เมืองนอกทำธุรกิจอะไรแล้วดี ฉันก็จะทำมั่ง แต่ไม่เคยผ่านกระบวนการว่า กว่าจะมาเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ มันผ่านอะไรมาบ้าง ซึ่งบริษัทแบบนี้พอเวลาเจอ competitive pressure มากๆ ก็ไปไม่ค่อยรอดแทบจะทุกราย และด้วยความที่ไม่ได้ผ่าน stage product market fit มาตั้งแต่ต้น ทำให้ท่ามาตรฐานบริษัทไทยที่ผมเห็นส่วนใหญ่ ก็คือ ออกสินค้าที่มีความไกล้เคียงของเดิม ถ้าไปท่านี้ไม่ได้ก็มักจบด้วยท่า ลดราคา เข้าสู่ Vicious cycle ขาลงของ S curve แบบสมบูรณ์แบบ ในขณะที่บริษัทที่อาจจะไปลอกเขามา ตอนนี้กำลังวิ่งอยู่บน S Curve อันใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว

ผมคิดว่า การแข่งขัน ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ที่น่ากลัวว่าคือ การไม่สามารถจะสร้างความสามารถในการแข่งขันหรือ competitive advantage ให้ตัวเองครับ บริษัทในต่างประเทศที่ไม่มีคุณภาพก็มี แต่ที่มีคุณภาพ สามารถอยู่ได้อย่างยืนยาวแบบในหนังสือ Good to Great ก็มากที่เอามาเป็น case study ได้ บริษัทพวกนี้ ผลัดกันรุกผลัดกันรับ มีช่วงที่แย่แต่ก็กลับขึ้นมาใหม่ได้ อันนี้ก็ผมก็คงแค่บ่นเฉยๆว่า อยากเห็นบริษัทไทย เป็นแบบนั้นได้มากกว่าตอนนี้ครับ
"Because nobody wants to get rich slow."-Warren Buffett-
เพจ "ชีพจรลงทุน"
santsupa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 39

Re: TPAC

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เนื่องจากมีการแก้ไขคลิปโดยตัด section Q&A ออกไป. อันนี้ที่ผมพอจำได้ครับ

Q1: ขอ u-rate / capacity ของแต่ละ location
A1: overall u-rate = 75-80%. Thailand 50-60% และหวังว่าการที่ บางนา turnaround จะทำให้ urateไทยดีขึ้น

Q2: outlook 2024
A2: ไม่อยากให้forward guidance แต่หากดูจาก capex ที่เตรียมไว้ก็เป็นสิ่งสะท้อนแผนการเติบโตได้

Q3: India IPO น่าสนใจมาก. ต้องเตรียมตัวเข้าตลาดยังไง
A3: เรื่องนี้ยังแค่เริ่มคิดเฉยๆ แต่ทุกวนนี้ก็มี banker มาหาหลายคนเหมือนกัน. อยากให้ธุรกิจที่อินเดียใหญ่กว่านี้สัก1-2เท่า ค่อย IPO

Q4: จะfocusที่การขยายไปตลาดใหม่ หรือตลาดเดิมที่มีfootprintอยู่แล้ว
A4: อยากfocusที่ตลาดเดิมก่อน แต่ก็ยังมองหาตลาดใหม่ๆอยู่

Q5: (อันนี้จำแน่ๆไม่ได้แต่คำถามเกี่ยวกับ EBITDA)
A5: EBITDA TPAC อยู่ประมาน 20% ซึ่งเป็น ปกติสำหรับ packaging industry
petro6420
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 22

Re: KAMART

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ไปเดิน Eve&Boy มาแล้วเห็นคนต่างชาติ(น่าจะจีน)มาซื้อลิปของทาง Kamart โดยน่าจะโดน Recommend มาจากทางสื่อโซเชี่ยลครับ
CD709903-53C2-4986-87BB-988EF844C7FE.jpeg
A69949
ผู้ติดตาม: 2

Re: ORI

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ทำไมรู้สึกว่าโครงการของ ori มีปัญหาเยอะกว่าเจ้าอื่นๆอย่าง AP Sansiri แต่ผู้บริหารนิ่งเฉย และพนักงานในบริษัทดูไม่ใส่ใจลูกค้าเลยคับ ผมว่าแบบนี้ทำลายมูลค่าบริษัทในระยะยาวมากเลยนะคับ พอจะมีใครเคย feedback กับทางผู้บริหารไหมคับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
panuwaww
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 316
ผู้ติดตาม: 36

Re: NSL

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[ #NSL สรุปOPPDAY Q3 2023🥪🍰]

🧡ภาพรวมการเงินQ3
รายได้
9M22 2,944ลบ. | 9M23 3,453ลบ.
แบ่งเป็น
เบเกอร์รี่และรองท้อง
- 9M23 3,129ลบ.(90.6%) | 9M22 2,682.1ลบ.(91.1%)
Food Service
- 9M23 200.5ลบ.(5.8%) | 9M22 206.7ลบ.(7%)
กลุ่มแบรนด์NSLและซื้อมาขายไป
- 9M23 64.9ลบ.(1.9%) | 9M22 24.1ลบ.(0.8%)
OEMและอื่นๆ
- 9M23 51.5ลบ.(1.5%) | 9M22 25.3ลบ.(0.9%)
รายได้อื่น
- 9M23 7ลบ.(0.2%) | 9M22 5.4ลบ.(0.2%)

🧡รายได้Q3
Q2/23 1,020ลบ. | Q3/23 1,189ลบ. เพิ่มขึ้น17%

🧡กำไรสุทธิQ3
Q3/22 73ลบ. | Q3/23 77ลบ.(งบเฉพาะกิจการ) 73ลบ.(งบรวม)
GPM
Q3/22 18.4% | Q3/23 17.6%
สาเหตุหลักที่ต้นทุนเพิ่ม ปลายปีที่แล้วมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มวันละ18บาท และมีการโยกย้ายฐานการผลิต งานเก่าก็ต้องทำงานใหม่ก็ต้องทำ

🧡SG&A 9M
9M22 272ลบ.(9.2%) | 9M23 329ลบ. (9.5%)

🧡ต้นทุนการจัดจำหน่าย 9M
- รวม 9M22 192ลบ. (6.6%) | 9M23 244.2ลบ.(7.1%)
ส่วนใหญ่มาจาก ค่าขนส่ง : 9M22 142.2ลบ. | 9M23 169.6ลบ.
ต้นทุนที่มีประเด็น ค่าใช้จ่ายโฆษณา 9M22 2.2ลบ. (0.1%) | 9M23 7.2ลบ. (0.2%) เพิ่มขึ้นเพราะมีค่าโฆษณาข้าวแท่งทยอยตัดจ่ายปีนี้

🧡ค่าใช้จ่ายบริหาร
- รวม 9M22 80ลบ. (2.7%) | 9M23 84.8ลบ.(2.5%)
หลักอยู่ที่ เงินเดือน : : 9M22 49.1ลบ. | 9M23 54.5ลบ.

🧡UPDATE Q3
😋ลูกค้าหลัก 7-11
- สินค้ากลุ่มใหม่ : กริลล์แซนวิช, แซนวิชข้าว เมนูแรกคือข้าวเหนียวกะทิถั่วดำ, แมคคาเดเมียชีสเค้ก
- เริ่มส่งไปให้7-11ลาว มี30SKUs

🍫ขนม
- นามะช็อกโกแลต
- มาการอง
- เบอร์เกอร์ข้าวญี่ปุ่น

🍙Category ใหม่
- แซนวิชข้าวเหนียว
- ข้าวเหนียวลาบไก่
- ข้าวจี่หมูปิ้ง

🌭Promotion ทำอย่างต่อเนื่อง
- สแตมป์จัดหนัก
- ราคาพิเศษ
- LINE coupon
- สื่อหน้าประตู

🍝FOOD SERVICE
- ทำสินค้า Natural Bites สินค้าhealthy ทำBun ส่งChain Restaurant
- ทำสินค้าแช่งแข็งready to cook

🧡BRAND
- Project Halal
- ทำเป็นCrispy Rollsทำขายเซเว่น

🌯ช่องทางการขายข้าวแท่ง
- ขายLionair ข้าวแท่งมัง
- Catering : การจัดเบรค จัดsetงานแต่ง
- กาแฟพันธุ์ไทย 630สาขา: ข้าวเหนียวลาบหมู, ข้าวเหนียวครีมข้าวโพด, ข้าวเหนียวอัญชันลำไย

🧃เครื่องดื่มเป็นต่อ
- ทำกิจกรรมที่กลุ่มmassมากขึ้น
- ส่งสินค้าขายให้ลาว
- จะใช้งบอัดโฆษณาลดลงเน้นdistribution

🎂NSL x BAKE A WISH
- ได้ดำเนินการมาแล้ว2เดือน
- ช่องทางการขยาย : ขยายผ่านNSL พวก 7-11 เช่น ชูครีม jellychesscake, รับพรีออเดอร์Cake , เอาสินค้า14รายการวางในตู้แช่เย็น
- มีหลายรายที่อยากทำด้วย เช่น Makro จะทำFrozen Cake จะทำไว้เป็นช่องทางการกระจายสินค้าไปยังร้านค้ารายย่อยทั่วประเทศ
- ออกคุกกี้กระป๋อง : Butter Cookie ,Chocolate Cookie เริ่มวางขายในBake a wish และจะขายในModern Tradeเพื่อรองรับปีใหม่

✈️ตลาดส่งออก
ก่อตั้งNSL INTERTRADE
- ตั้งใจจะบุกเบิกตลาดส่งออกจริงจัง
- เริ่มมีOrderแล้ว รับรู้รายได้เดือน11 เป็นขนมหวานที่ผลักดันมาหลายปี เช่น สาคูทรงเครื่อง ข้าวเหนียว
- Shipmentเริ่มธันวา

⁉️Q&A
เป็นต่อ
- รวมอยู่ในกลุ่มซื้อมาขายไป
- ขายได้ไปแล้ว11ลบ.
- ยอดขายจริงที่ส่งให้เซเว่น
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ คือค่าอะไร?
- เป็นค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจ่าย
- ค่าบูธที่สยาม
- เฉลี่ยเดือนละล้านบาท
Model Bake a wish
- ทำงานบูรณาการร่วมกัน รับรู้ทั้งคู่ว่าทำอะไร
- เป็นไปด้วยดี
แผนการส่งออก
- มีรายได้แล้วในเดือน11 รับรู้รายได้Q4แน่นอน
- มีขนมหวาน1ตู้ และสินค้าอื่นๆ
- อยากขายอาหารที่เป็นที่ต้องการทั่วโลก
GP
- Effectมาจากค่าแรง
- มีการปรับการผลิต เพราะมีโคีงการทำสินค้าฮาลาลเลยselectส่วนนึงมาทำสินค้าฮาลาลต้องมีการโอนย้ายทุกอย่าง ระหว่างนี้ก็จะมีทั้งผลิตของเดิมด้วย ของใหม่ด้วย ทำให้มีการเบิ้ลค่าแรง ทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้น เดือนสิงหาคมมีวันหยุดเยอะ ก็ยิ่งทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นมาจากการจ่ายOTซึ่งเป็นเรื่องชั่วคราว
ปีหน้า
- สินค้าฮาลาล จะแปลงสภาพสินค้าที่มีเนื้อสัตว์ โยกจากโรงงานนึงไปอีกโรงงานนึง แล้วก็จะทำให้โรงงานนั้นผลิตแค่ฮาลาล ระบบจะเสร็จภายในปีนี้
- ภาพรวมของปีนี้ ก็น่าจะปิดยอดใกล้เคียง4,700ลบ.
- ปีหน้าวางแผนการเติบโต19-20%ในทุกกลุ่มสินค้า

—————————
สรุปในสรุป : รายได้โตแต่กำไรไม่โตตาม ต้นทุนเพิ่มเพราะเรื่องค่าแรง(เพิ่มตั้งแต่เดือนต.ค.), และเรื่องย้ายโรงงานที่จะทำเป็นโรงงานอาหารฮาลาล(วุ่นวายมากในตอนนี้) Story Update ก็จะมีเรื่องส่งออกให้ลาว ในไทยมีสินค้าใหม่ๆในเซเว่น เช่น เบอร์เกอร์ข้าวญี่ปุ่น(เมื่อก่อนมีแต่ข้าวเหนียว) ในSupermarket ก็จะมีขนมปังHealthy บันส่งChainร้านอาหาร Ready to Cook ในส่วนสินค้าฮาลาลก็เริ่มขายQ1/24 ข้าวแท่งก็กำลังได้วางขายในที่ใหม่ๆเช่น กาแฟพันธ์ุไทย ไลอ้อนแอร์ ในส่วนเค้กจะทำFrozen Cakeให้แมคโคร ส่งออกก็จะทำจริงจังเริ่มแล้วในเดือนพ.ย. รับรู้รายได้เลยQ4 เรียกได้ว่าตัวนี้มีเรื่องUpdateใหม่ๆให้ได้ติดตามตลอด แต่น่ากังวลเรื่องต้นทุนต่างๆทั้งการย้ายโรงงานที่ยังไม่เสร็จค่าแรงอีก ต้องรอลุ้นรอติดตามกันต่อ ในส่วนของแอดมินขอรอชิมทั้งขนมทั้งแซนวิชค่ะ😋
Dragonkop
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

Re: XO

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เพื่อนไปเที่ยวเมกา ถ่ายมาให้คับ จาก Safeway ที่ CA นอกจากตัว original ยังมี extra garlic ขายด้วย surprise ทีเดียว
1701591178842.jpg
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1862
ผู้ติดตาม: 289

ฟ้าหลังฝน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

คำพังเพย “ฟ้าหลังฝน” นั้น ผมคิดว่าน่าจะตรงกับสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยปีหน้าที่ผมคิดว่าน่าจะดีงามขึ้นหลังจากที่ประสบกับปัญหาใหญ่ที่หุ้นตกแรง “ที่สุดในโลก” ในปีนี้ที่ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2566 หุ้นตกลงมาจากปลายปีที่แล้วจาก 1669 จุดเหลือเพียง 1380 จุด หรือลดลงถึงกว่า 17% หลังจากที่ปี 2565 ตลาดหุ้นไทยก็แทบไม่ขยับเลยจากปี 2564 หรือผลตอบแทนประมาณ 0%

ประสบการณ์ของผมกับตลาดหุ้นไทยในช่วงประมาณ 27 ปี ก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นไทยมักจะขึ้นประมาณ 60% ของปี และลงประมาณ 40% ซึ่งทำให้การลงทุนในแต่ละปีมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ในขณะที่ตลาดหุ้นอย่างสหรัฐนั้น ผมคิดว่าปีที่หุ้นขึ้นน่าจะอย่างน้อย 70% ขึ้นไป ในขณะที่ปีที่หุ้นลงน่าจะไม่เกิน 30%

พฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งของตลาดหุ้นไทยก็คือ ถ้าปีไหนตลาดหุ้นไทยขึ้นแรงมาก ปีต่อไปตลาดก็มักจะตกลงมาแรง ตัวอย่างก็เช่น ปี 2542 ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นไป 36% แต่พอถึงปี 2543 ตลาดก็ตกลงไป 44% จริงอยู่คนอาจจะบอกว่าปี 2543 หรือปี 2000 เป็นปีที่เกิดวิกฤติหุ้นไฮเทคของสหรัฐ แต่หุ้นในดัชนีหลัก ๆ ที่ไม่ใช่ไฮเทคก็ไม่ได้ตกมากนัก ดังนั้น คงเป็นเรื่องทาง “เทคนิค” ที่ดัชนีต้องปรับตัวลงมาหลังจากที่ขึ้นไปแรงมากกว่า



เช่นเดียวกัน ปี 2546 ดัชนีตลาดหุ้นปรับขึ้นไปปีเดียวถึง 117% ซึ่งสูงที่สุดในยุคหลังวิกฤติปี 2540 จนถึงวันนี้ แต่แล้ว ปี 2547 ที่ตามมา ดัชนีก็ปรับตัวลง 14% ต่อมาในปี 2550 ดัชนีหุ้นก็ขึ้นไปแรงที่บวก 26% ซึ่งก็ตามมาด้วยการปรับตัวลงในปี 2551 ที่ 48% อานิสงค์จากวิกฤติซับไพร์มปี 2008

ในทางตรงกันข้าม หลังจากปีที่ตกไปแรง หรืออาจจะรวม 2 ปีที่ตกไปแรง ปีต่อไป ดัชนีก็มักจะปรับตัวขึ้นแรงที่เป็นเสมือนการ “ชดเชย” ดัชนีที่ตกลงมา ตัวอย่างเช่น ในปี 2540 และ2541 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ดัชนีตกลงมา 53% และ 5% ตามลำดับ ปี 2542 ก็ได้เห็นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นถึง 36%

ปี 2543 ที่ดัชนีลดลง 44% ก็ตามมาด้วยปี 2544 ที่ดัชนีปรับเพิ่มขึ้น 13% และตามด้วย 17% และ 117% ในปี 2545 และ 2546 ตามลำดับ มาถึงปี 2551 ที่ดัชนีปรับลดลงถึง 48% เนื่องจากเกิดวิกฤติซับไพร์มก็ตามมาด้วยการปรับตัวขึ้นถึง 63% ในปี 2552

ตั้งแต่ปี 2556 หรือประมาณ 10 ปีมาแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็เริ่ม “เปลี่ยนพฤติกรรม” จากตลาดหุ้นที่มีความผันผวนแรง เป็นตลาดที่มีความผันผวนต่ำ คือปีที่ขึ้นก็ไม่แรงและปีที่ลงก็ไม่มากเหมือนในอดีต คือขึ้นก็ประมาณไม่เกิน 15% ลงก็มักจะไม่เกิน 10% อะไรทำนองนั้น เมื่อเปรียบกับอดีตที่มักขึ้นลง 20-30% ถ้าจะเปรียบเทียบก็คงคล้าย ๆ คนหนุ่มสาวที่เริ่มแก่ตัวลงมาอย่างกระทันหัน เวลาเต้นรำก็ไม่สวิงเหมือนเดิม

ปี 2558 ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมา “แรง” ที่ 14% ก็ตามมาด้วยการปรับตัวขึ้น 20% ในปี 2559 ปี 2563 หุ้นตกลงมา “แรง” ที่ 8% ก็ตามมาด้วยการปรับตัวขึ้นในปี 2564 ที่ 14%

และถ้าปี 2566 ดัชนีหุ้นตกลงมาแรง เช่น 17% ถ้าหุ้นไม่ตกต่อไปนับจากวันนี้ หุ้นในปีหน้าคือปี 2567 ก็มีโอกาสที่จะดีขึ้นหลังจากที่หุ้น “แย่มานาน” เพราะในปี 2565 เองนั้น หุ้นก็แทบไม่ได้ให้ผลตอบแทนเลย หรือพูดง่าย ๆ หุ้นแย่มา 2 ปีแล้ว ถึงเวลาที่หุ้นจะดีขึ้นหรือเปรียบเป็น“ฟ้าหลังฝน”



ทั้งหมดนั้นก็เป็นการทำนายหุ้น “แนวเทคนิค” ที่แทบไม่มีวิชาการรองรับอะไรเลย ดังนั้น ผมจึงต้องหันมาดูว่าปัจจัยทางด้านพื้นฐานอะไรที่จะทำให้ดัชนีปีหน้าดีขึ้น ซึ่งก็จะเป็นตัวขับดันราคาหุ้นให้ขึ้นไปได้แรงพอ

ตัวแรกก็คือ ภาวะเศรษฐกิจ ที่มีการคาดการณ์ว่าจะดีขึ้น อานิสงค์จากการท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น การส่งออกที่จะดีขึ้น ซึ่งทั้งสองเรื่องก็ดูเหมือนมีแนวโน้มดีขึ้นเร็ว ๆ นี้แล้ว ในส่วนของการบริโภคเองนั้น เงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนกว่า 500,000 ล้านบาท ก็มีโอกาสผ่านสภาในช่วงกลางปีหน้า และถ้าไม่สำเร็จ รัฐบาลก็คงต้องหาทางใหม่ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ดี เพราะได้หาเสียงไว้แล้ว ถ้าไม่ทำก็จะเสียความนิยม ดังนั้น ปัจจัยตัวนี้มีโอกาสเกิดขึ้นมากพอสมควร

ตัวที่สองก็คือเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งที่ค่อนข้างแน่ก็คือ คงไม่เพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าโอกาสที่จะปรับลดลงยังไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีโอกาสบ้างเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงอย่างชัดเจนจนไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับประเทศไทย ประเด็นนี้ผมคิดว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของอเมริกาลดลง ของไทยก็จะต้องลดลงตามแน่

กำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 2566 มีการปรับตัวลดลงจากปี 2565 แต่การคาดการณ์ส่วนใหญ่ก็ดูว่า กำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 2567 น่าจะดีขึ้นพอสมควร อย่างน้อยก็น่าจะกลับไปเท่ากับปี 2565 ซึ่งนี่ก็จะช่วยทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นได้

ค่า PE ของตลาดหลักทรัพย์ในวันนี้ที่ประมาณ 17-18 เท่าเองนั้น ถึงจะไม่ต่ำหรือแสดงว่าหุ้นถูก แต่ก็ไม่ได้สูงกว่าปกติ ดังนั้น นี่คือปัจจัยที่เป็นกลาง ไม่ได้ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคที่จะช่วยขับดันตลาดหุ้น

และสุดท้ายก็คือ เรื่องของการขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติซึ่งก็เป็นประเด็นที่กดดันดัชนีหุ้นไทยมาตลอด และปี 2566 ก็เป็นปีที่มีการหุ้นจากต่างชาติสูงมาก อาจจะเป็นระดับสองแสนล้านบาท ซึ่งก็คงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงมารุนแรง อย่างไรก็ตาม ปี 2567 ก็อาจจะเป็นช่วงที่เพลาการขายลงได้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น หุ้นไทยก็อาจจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้แม้ว่ายังมีการขายสุทธิอยู่



โดยรวมแล้ว ถ้าหุ้นจะปรับตัวขึ้นในปีหน้าก็มีความเป็นไปได้มองจากปัจจัยทางด้านพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม หลายปัจจัยที่กล่าวถึงก็ยังมีความไม่แน่นอนพอสมควร เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ในยามที่ประเทศ “แก่ตัวลง” อย่างรวดเร็ว การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจบ่อยครั้งก็มักจะพลาดเป้าในทางที่ลดลง ซึ่งสิ่งนี้เราก็พบเห็นบ่อย ๆ ในระยะหลัง ผมเองยังจำได้ว่าในช่วงที่ประเทศไทยมีพลเมืองที่เติบโตเป็นกำลังแรงงานเพิ่มขึ้นและอายุของประชากรยังไม่สูงอย่างทุกวันนี้ เรามักจะพบว่าการเติบโตของ GDP และตัวเลขอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจ “สูงกว่าเป้าหมาย” และนี่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเวียตนามในช่วงนี้เช่นกัน ที่ตัวเลขจริงมักจะสูงกว่าเป้าหมาย

ไม่มีใครบอกได้แน่นอนว่าหุ้นในปี 2567 จะต้องดีขึ้น แต่ผมเองก็ยังคงไม่ถอนหุ้นออกไปในยามนี้แน่นอน ในยามที่ฝนยังกระหน่ำอย่างรุนแรงและฟ้ามืดมิดจนแทบไม่เห็นแสงตะวัน แต่สิ่งที่เรารู้ก็คือ ยังไงฝนก็จะต้องหยุด และฟ้าก็จะกลับมาสดใสแน่นอน

ผมมีความหวัง และก็เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังมีความหวัง ว่าประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปสู่บทใหม่หลังจากที่เรา “ติดหล่ม” มาไม่น้อยกว่า 10 ปีแล้ว แต่นอกจากความหวังแล้ว เราคงต้องอาศัย “โชค” โดยเฉพาะในยามที่ประเทศกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งใหม่ที่เราเองก็อาจจะไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร คำว่า “โชคดี” สำหรับผมแล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญมากไม่แพ้ความพยายามทั้งหมดที่ลงไป พูดตามจริง ผมได้ดีมาทุกวันนี้ก็อาศัยคำว่า “โชคดี” มาตลอด ความพยายามทั้งหมดของผมนั้น ดูเหมือนว่าจะทำเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อ “โชค” หรือ “โอกาส” ผ่านเข้ามาเท่านั้น ช่วยกันภาวนาให้ประเทศไทยและตลาดหุ้นครับ
A59764
ผู้ติดตาม: 0

Re: ORI

โพสต์ที่ 10

โพสต์

https://m.facebook.com/story.php?story_ ... tid=Nif5oz

Feedback หลังการขายจากลูกบ้านของ ORI
ปัญหาการสร้าง auto parking ไม่เสร็จ ทำให้รถยนต์ลูกบ้านได้รับความเสียหาย

ลูกบ้านติดต่อ callcenter 5 ครั้งไม่มีความคืบหน้า จนต้องขู่ว่าจะลง ​Social
หลังโพสต์ จึงมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับครับ
dittaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 321
ผู้ติดตาม: 18

Re: M

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ความคิดเห็นแบบมโน นะครับ

- ผมมองว่า ตี๋น้อย มองเห็นช่องว่างระหว่างร้านที่อยู่ในห้าง(แพง) กับร้านหมูกะทะ(ไม่แพงแต่ลูกค้าเยอะมาก) มันก็คือตรงกลาง ระหว่างราคาหัวละ 500 กับไม่ถึง 200 /แต่เหมือนได้ลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม
- กลุ่มในห้าง ก็เลือกมากินตี้น้อยเพราะมีแอร์ ที่จอดรถสะดวก อร่อย และที่สำคัญคุ้มกว่า คิดว่าก็น่่าจะเป็นคนรุ้นใหม่อายุไม่เยอะ พลังในการกินเยอะ
mk มันเลยมองดูเหมือนคนที่อายุเยอะขึ้นมาหน่อยกิน
- กลุ่มที่กินนอกห้างเช่นหมูกระทะ เพิ่มเงินอีกหน่อยได้กินแบบคุ้มกว่า และอนาคตตี๋น้อยอาจเปิดสาขาเล็กๆ กระจายไปได้ทั้่วถึงกว่าเปิดในห้าง
- mk จับลูกค้าในห้างก็ต้องมีต้นทุนค่าเช่าแพง + กับร้านใหม่ที่เปิดในห้างเป็นคู่แข่งมากขึ้น
kengvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 205
ผู้ติดตาม: 20

Re: SAFE

โพสต์ที่ 12

โพสต์

GFC vs SAFE

<แปะในห้อง GFC แล้วตั้งแต่วันศุกร์>

ไม่มีหุ้นทั้งสองตัวนะครับ แต่สนใจเพราะเห็นเป็นธุรกิจเงินสด และมี upside risk จากการขยายสาขา และลูกค้าต่างประเทศ 2-3 วันนี้ลองศึกษาสองบริษัทเทียบกันดู

ขอแลกเปลี่ยนไอเดียคร่าวๆบางส่วนนะครับ ตรงไหนเข้าใจผิดทักมาได้ครับ (long post)

Industry & nature of business:

อุตสาหกรรมค่อนข้าง fragmented และตัวเลือกหลากหลายมาก
เนื่องจากลักษณะธุรกิจรักษามีบุตรยาก (ICSI) รายได้รายบริษัทจะไม่แน่นอน ส่วนมากเป็น one-time คาดการณ์อนาคตยาก ไม่ได้ค่อนไปทางสม่ำเสมอและ diversify เหมือน รพ. ทั่วๆไป เว้นแค่ธุรกิจฝากไข่ ที่เป็น recurring แต่ยังมีสัดส่วนต่อรายได้รวมน้อยมาก (<5%)

GPM ใกล้เคียงกัน (อาจเพราะ product/service ที่คล้ายๆกัน) ที่ต่างกันคือ NPM คือวัดกันที่การบริหารจัดการ การขายและการตลาด

#ธุรกิจ 2024-5

GFC 1H/24 มองกลางๆ มีโอกาสจะสร้าง rev ไม่ทันต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากตึกใหม่ที่พระราม 9, การมี capacity (fixed cost) เพิ่มแบบก้าวกระโดด มีแนวโน้มต้องแข่งด้านราคา (promotions) เพื่อ cover initial fixed cost ซึ่งอาจจะกด margin ต่ำลงได้อีก (ผบห ให้ guideline GPM แค่ >40% vs ตลาด avg 50%)

การหวังลูกค้าใหม่จากต่างประเทศ จะเริ่มไม่ง่าย และต้องใช้เวลา เพราะไม่มีฐานลูกค้าเดิม ทำให้ไม่มี words of mouths และต้องใช้เวลาสร้าง lauguage/agengy/service capability อีก ถ้าจะมอง GFC แนะนำให้มองข้ามไปปี 2025 เลย

ส่วน SAFE ปี 2024-25 ความหวังอยู่ที่ลูกค้าต่างชาติ ซึ่งปีนี้ รายได้ต่างชาติยังเป็นครึ่งเดียวจากช่วงก่อนโควิด แต่ข้อดี SAFE มี service capacity ของลูกค้าต่างชาติเดิมอยู่แล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือ รายได้ลูกค้าคนไทย Trend 2021-23 มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ (ขณะที่ GFC เพิ่มขึ้นทุกปี และเป็นรายได้ปีที่แล้วทำ ATH)

สาขาแรกที่ SAFE จะขยายที่แจ้งมา คือ รามอินทรา จริงๆคือ relocation & expansion มากกว่า new เพราะอยู่ในพื้นที่เดิม

โอกาสของ SAFE คือ หันมาพัฒนาหลังบ้าน เพราะ admin exp สูง และถ้าจะลด น่าจะลดลงได้พอสมควร (20% vs GFC 13%) ซึ่งส่วนที่ลดลงจะไปเพิ่มที่ bottom line ทั้งหมด

และ SAFE มีเงินสดในมือเยอะมาก (756ล, Q3/23) ซึ่งอาจจะมี upside risk (surprise news) ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น acquisition, expansion, buy back or dividend

#หุ้น

2 ตัวนี้โครงสร้าง ผถห และการเข้าตลาด ต่างกันมาก

GFC อ. พิทักษ์ถือหุ้นเพียง 25% ที่เหลือเป็นนักลงทุนแตกย่อยหลายกลุ่ม ต้นทุนเพิ่มทุนก่อน IPO คือ 0.5 บาท ราคาในตลาดก็ 22x แล้ว (ถ้าตัวเลขผิด ก็ขออภัย) ซึ่งหลายล้านหุ้นไม่ติดล็อค

การที่ อ. พิทักษ์ ซึ่งเป็นหัวใจ จุดแข็ง และจุดขายของ บ. (40% ของลูกค้า GFC) เป็น real key man risk และในอนาคตระยะยาว จะมีโอกาสเกิด conflict ระหว่าง ผถห ที่อาจมี business directions แตกต่างกันหรือไม่ คงต้องให้นักลงทุนแต่ละคนไปวิเคราะห์ดูกับ บ ที่มี การกระจายตัวของ ผถห. ลักษณะนี้ครับ

การทำราคา IPO GFC ที่ PE 21x ทำให้หุ้นไปต่อได้.. everyone is happy

ส่วน SAFE เป็นธุรกิจครอบครัวของ อ. วิวัฒน์ ซึ่งการทำ IPO PE 35x ก็ชัดเจนว่า ผถห. เดิมต้องการขายออก ซึ่ง อ. ก็ขายออกผ่านทาง บ ใน HK 19%

ส่วนหุ้นของ Morgan Stanly อีก 13% ที่เพิ่มทุนไปช่วงโควิด คงจะรอขายในอนาคต ไม่ผ่านตลาด ก็ผ่าน big lot (ติดเงื่อนไขอะไรหรือไม่ ต้องไปอ่านลึกๆในรายงาน)

หลัง IPO หุ้นของครอบครัว อ. วิวัฒน์ เหลือ 60% ซึ่งมองได้หลายมุม เช่น อ. อาจจะไม่ขายออกมาแล้ว, หรือ อ. ขายได้ออกมาได้อย่างมากไม่เกิน 10%, หรือ เอาเงินจากที่ขายไปช่วง IPO มารับซื้อหุ้นส่วนของ MS ถ้า MS มีเหตุต้อง exit

<เพิ่งเห็นรายงาน 30/11 อ. ซื้อคืน 3.36 แสนหุ้นครับ>


หุ้น SAFE -20% post IPO เป็นสิ่งที่ดูไม่ดี และราคา IPO จะกลายเป็นแนวต้านสำคัญ เพราะคนติดอยู่เยอะ




#Valuation

การประเมินหุ้นทั้งสอง ส่วนตัวใส่ assumption แต่ละธุรกิจ (ICSI, NGS, ปรึกษา, ฝากไข่, IUI), GPM, SG&A ทีละบันทัด และประเมิน eps ล่วงหน้าไป 2 ปี (2024-2025) ซึ่งแต่ละคนคงมี assumption ต่างกัน เลยขอไม่เอามาแชร์นะครับ

ส่วนเรื่อง PE ที่บางคนเทียบกับ รพ. ที่ PE 30 (ซึ่งอาจจะมองว่าแพงแล้ว) แต่ส่วนตัวคิดว่าเทียบกันตรงๆไม่ได้ แม้ว่าธุรกิจ ICSI จะยังโตแรงกว่า อย่างน้อยๆในช่วงที่ตลาดยังไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะต่างจังหวัด แต่ nature ของธุรกิจมีความผันผวนสูงกว่า รพ. มาก (ดูจากรายได้ของ บ. ICSI ใหญ่บางแห่ง ยังเพิ่งเป็นแค่ 1/3 ของก่อนโควิด ในขณะที่ รพ. รายได้เท่าเดิมหรือเกินไปแล้ว)

ความเห็นส่วนตัว ปี 2024 ยังมีหลายเรื่องต้องระมัดระวัง ถ้าจะไปไล่ซื้อบน PE สูงบนความคาดหวังที่สมบูรณ์แบบเกินไป (ปี 2024 GFC จะโดนกดดันเรื่องต้นทุนและ margin, ในขณะที่ SAFE ต้องติดตามการเพิ่มขึ้นของลูกค้าต่างประเทศ จะชดเชยการลดลงของลูกค้าคนไทยหรือไม่)

อาจต้องมองข้ามไปปี 2025 เลย ถ้า best scenario คือ บนคาดหวังว่า บ. จะมีพัฒนาการที่ดีต่อเนื่อง, มี new growth story และ ตลาดยังให้ PE สูงอยู่ (อย่างน้อย ต้องไม่ต่ำกว่า 25x ครับ)
traderkanin21
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 5

Re: MOSHI

โพสต์ที่ 13

โพสต์

จาก​ Oppday​ ผู้​บริหาร​ยัง​ upgrade​ guidline​ growth อีกนะครับ​
MOSHI เพิ่มเป้ายอดขายปี 2566 เป็น >30% YoY จาก >20% ก่อนหน้านี้ เพื่อสะท้อนการเติบโตของยอดขายที่แข็งแกร่งในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ 39.3% YoY
SSSG เดือน ต.ค. ยังคงเป็นบวกที่เลขหลักเดียวในระดับต่ำ ขณะที่กำไรไตรมาสไตรมาส 4/2566 คาดว่าจะดีที่สุดของปี โดยเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ
คงสมมติฐานการเติบโตของกำไรปี 2566-68 ที่ 57.5%/50%/27%
ปีหน้ามาเพิ่ม​สาขาอีก​ คิดว่าเป็นอีก​ growth stock​ ที่น่าสนใจครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nayshininvest
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 6

Re: ORI

โพสต์ที่ 14

โพสต์

IMG_1721.jpeg
SKYLINE99
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 29
ผู้ติดตาม: 0

Re: TU

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สอบถามir ครับ

จะมีความเป็นไปได้ไหมครับที่ราคาขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขายในยุโรป จะมีการขยับราคาขึ้นอีกสัก 3-5% เพราะจากที่เดินในห้างยุโรป แบรนด์เราไปเน้นขายราคาต่ำกว่าคู่แข่งอยู่ มีบางยี่ห้อแพงกว่า ที่สำคัญ พออกต่างเมืองยี่ห้อเราไม่มีให้เลือก แต่คู่แข่งมีขายในshelf…..จากที่คุยกันเพื่อนๆเค้ามองว่า สินค้าเรามีคุณภาพดี อร่อย แถมถ้าราคาขึ้นมาเท่าคู่แข่งหรือแพงกว่านิดหน่อย เขาก็เลือกซื้ออยู่ดี เอางบจาก environment ไปลงmarketing ให้มากขึ้นจะดีกว่าไหมครับ ไปสร้าง awareness

เราจะได้มี magin of safety ในการขยับขึ้นลงของราคาปลาทูน่าวัตถุดิบไม่ไปกระทบกับมาจิ้นรวมมากนัก
A59764
ผู้ติดตาม: 0

Re: ORI

โพสต์ที่ 16

โพสต์

A69949 เขียน:
อาทิตย์ ธ.ค. 03, 2023 12:29 pm
ทำไมรู้สึกว่าโครงการของ ori มีปัญหาเยอะกว่าเจ้าอื่นๆอย่าง AP Sansiri แต่ผู้บริหารนิ่งเฉย และพนักงานในบริษัทดูไม่ใส่ใจลูกค้าเลยคับ ผมว่าแบบนี้ทำลายมูลค่าบริษัทในระยะยาวมากเลยนะคับ พอจะมีใครเคย feedback กับทางผู้บริหารไหมคับ
เห็นด้วยครับ ในฐานะลูกบ้านของ ori พูดจากใจจริงว่า "ไม่มีทางซื้อแบรนด์นี้อีกแล้ว"

ขอเล่าเหตุการณ์สดๆร้อนๆของโครงการ park origin chula samyan นะครับ

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ลูกบ้านอยากคุยกับนิติ และ ori ว่าเมื่อไรจะสร้างโครงการเสร็จ และส่งมอบได้ (เพราะทุกวันนี้ยังมีช่างมาทำงาน)​ ซึ่งรบกวนลูกบ้านที่เข้าอยู่แล้ว เสียงดัง ฝุ่นเยอะ รวมถึงส่วนกลางที่แก้ไข และไม่ได้ใช้งานมาร่วมเดือน เช่น สระว่ายน้ำ ที่ปิดปรับปรุงมาเป็นเดือน แม้แต่ลิฟต์ในตึก เวลาขึ้นลง ลิฟต์ยังสั่นเหมือนเจ้าเข้า รู้สึกไม่ปลอดภัยเอามากๆ (อยากให้ผู้ถือหุ้นลองแวะไปเยี่ยมโครงการดูครับ)

กระทั่งศุกร์ที่ 1 ธ.ค. ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะประชุมวันเสาร์ที่ 2 ธ.ค. และทางนิติออกจดหมายเชิญประชุม ปรากฏว่า วันที่ 2 ธ.ค. เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าที่ดูแลโครงการของ ori บอกว่ากระชั้นไป ทำให้เข้าร่วมประชุมไม่ได้ (ทั้งที่นิติเป็นคนออกจดหมายเอง) แต่สุดท้ายก็ยังดีที่เข้าร่วมออนไลน์

ในการประชุม ทาง ori แจ้งว่า จะเร่งให้ผู้รับเหมาส่งมอบงานภายใน 15 ม.ค.67 เมื่อลูกบ้านถามว่า ถ้าล่าช้าอีก จะดำเนินการอย่างไร เพราะเดิมต้องกำหนดเสร็จตั้งแต่ เม.ย.66 สรุปก็ยังไม่ได้คำตอบจากทาง ori ได้แต่ตอบว่า "จะเร่งดำเนินการติดตาม"

ลูกบ้านถามเรื่องระยะเวลาประกันตึก เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าที่ดูแลโครงการแจ้งว่า "นับจากวันที่รับมอบจากผู้รับเหมา 2 ปี หรือ 5 ปี แล้วแต่จุด" แต่หัวหน้าที่ใหญ่กว่า (ถ้าจำไม่ผิด คือ area manager) แย้งมาว่า "นับจากวันที่จดทะเบียนห้องชุด" ซึ่งก็คือ 31 มี.ค.66 ลูกบ้านเริ่มไม่พอใจ เพราะถึงวันนี้ โครงการก็ยังไม่เสร็จ ยังไม่รับมอบจากผู้รับเหมา แล้วจะให้เริ่มนับประกันตั้งแต่ 31 มี.ค.66 ได้อย่างไร เท่ากับตอนนี้เวลาประกันล่วงมาเกือบปีแล้ว โดยที่ลูกบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แบบนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจต่อลูกค้ามากๆ และขนาดเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าด้วยกันเอง ยังข้อมูลไม่ตรงกันเลย

ในการประชุม ทีมนิติจาก pri แจ้งว่า "จะส่ง minute การประชุมให้ในวันพรุ่งนี้" ซึ่งก็คือวันนี้ (3 ธ.ค.) กระทั่งช่วงหัวค่ำ ลูกบ้านได้มีการตามเรื่องไป ก็บอกหัวหน้ายังไม่ได้ตรวจสอบ และในการประชุม หัวหน้าโครงการรับปากว่า จะสร้างกรุ๊ป LINE ลูกบ้าน เพื่อชี้แจงข้อมูล จนถึงป่านนี้ ก็ยังไม่มีการสร้างกรุ๊ปใดๆ

ทำให้รู้สึกว่า ที่โครงการให้ใช้นิติของ pri ซึ่งเป็นลูกของ ori มองว่าค่อนข้างจะ conflict เพราะไม่ค่อยมีการเร่งติดตามการก่อสร้าง และดำเนินการขั้นเด็ดขาดเท่าที่ควร ความเป็นจริง ล่าช้าขนาดนี้ ถ้าไม่มี conflict กัน น่าจะ take action ในการปรับเงินได้แล้ว แต่นี่ยังไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม ลูกบ้านได้แต่ส่ายหน้า

(ถ้าใครมีโอกาสไปเยี่ยมโครงการ ลองสังเกตชั้นที่ให้คนนอกเข้าไปดูห้องตัวอย่าง โถงทางเดินมีการตกแต่ง และเก็บรายละเอียดเรียบร้อยมากๆ แต่ถ้าไปดูชั้นอื่นๆที่ลูกบ้านอยู่จริง งานไม่เรียบร้อยเหมือนชั้นห้องตัวอย่างเลยครับ ต้องรอดูตอนส่งมอบว่าจะทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ไหม)
batmank
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 191
ผู้ติดตาม: 7

Re: ORI

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ori.jpg
kanin02
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 44

Re: TRP

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ตอบให้ครับ ปัญหาเกิดจากตัวธีรพรเองครับ คือลักษณะของศัลยกรรมมันทำครั้งเดียวจบไม่มีrecurring ธีรพรที่productไม่หลากหลายก็จะยิ่งกลับมาทำใหม่ยากกว่าmaster เพราะmasterหลากหลายกว่า ยิ่งทีมsaleของธีรพรมีน้อยและไม่ค่อยมีประสิทธิภาพยิ่งมีปัญหาเลยครับ คือปี65demandมันอั้นมากๆเอาrobotมาตอบยังขายได้ แต่พอ66มันเริ่มต้องแข่งมากขึ้นแล้วทีมsaleยังไม่ค่อยตั้งใจทำงานอีกเลยทำให้ยอดตกครับ ตัวอย่างทีมsale นะครับเช่นเวลาถามข้อมูลก็ถามคำตอบคำไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มหรือพยายามปิดการขายอะครับซึ่งคลินิกอื่นๆเขาโหดกันหมด
Ditditdit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 17

Re: TRP

โพสต์ที่ 19

โพสต์

โทษทีครับ ตอนแรกจะโพส แต่กดผิดไป comment บนโพสบน

ผมเพิ่งมาติดตามตัวนี้ มีข้อสงสัยอยู่ 2 ประเด็น ถ้าใครพอมีข้อมาแชร์ จะขอบคุณมากครับ

1. รายได้ปีนี้ทำไมลดลงจากปีที่แล้ว โดยบริษัทแจ้งว่าเพราะปีที่แล้วดีเป็นพิเศษจาก pend up demand และการทำ social marketing ส่วนปีนี้คนเริ่มออกไปเที่ยว เลยมาทำสวยน้อยลง แต่ถ้าเหตุผลเป็นแบบนี้จริง Master ปีนี้ก็ไม่ควรจะโตเหมือนกันไหมครับ

ผมแอบสงสัยว่าหรือที่จริงแล้วจะเป็นเพราะว่าคุณหมอชลธิศรับเคสน้อยลงรึป่าว คนไข้ที่ต้องให้คุณหมอเป็นเจ้าของเคสเลยหายไป พอคิดแบบนี้เลยสงสัยต่อว่าสัดส่วนรายได้ที่มาจากเคสของคุณหมอชลธิศโดยตรงคือกี่% หรอครับ

2. ในคลิปนึง คุณหมอชลธิศพูดว่าผมเคยจะเกษียณแล้ว แต่มีกลุ่มนักธุรกิจมาลงทุนให้ผมมาคุมคลินิกใหม่ที่สีลม (ถ้าผมจำสถานที่ไม่ผิด) ผมเลยสงสัยว่าสรุปตอนนี้ ultimate shareholder ของ TRP คือกลุ่มคุณหมอชลธิศไหมครับ หรือนักธุรกิจที่ว่า หรือว่าร่วมๆ กัน

ขอบคุณมากครับ
โพสต์โพสต์