จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

:cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry:

จุดเริ่มต้น...มัสยิดกรือเซะ
ยิงกันเละ...มิใช่น้อย ร้อยกว่าศพ
อำมหิต ใจมนุษย์ สุดค้นพบ
ยังไม่จบ พึ่งเริ่ม...ฆ่า ประชาชน

ลำดับเรื่อง...สอ-ภอ-ออ....ตากใบ
ไทยฆ่าไทย ทำไม? ให้สับสน
วิปริต สลายม็อบ ลอบฆ่าคน
ใครสั่งปล้น ชีวิตใคร เราไม่รู้?

มีข้ออ้าง ข้อแก้ตัว ข่าวมั่วมาก
เมื่อหลายปาก หลายทาง หลายข้างขู่
คนตายแล้ว เถียงไม่ได้ ญาติยืนดู
เลือดแค้นอยู่ ตกใน ตากใบ....เอย

85 ชีวิต อุทิศร่าง
เป็นหนทาง สร้างความใหญ่ ไม่เปิดเผย
คำบางคำ ไม่สมควร อย่าด่วนเปรย
ผิด-ถูก ควรเฉลย เผยเหตุการณ์



:arrow: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

:cry: :wink: :wink: :wink: :wink: :wink: :wink: :wink: :wink:

หนังชีวิต เรื่องยาว กลิ่นคาวเลือด
ภาคใต้เดือด เพราะอะไร มองไม่เห็น
ใช้กำลัง กับหลักการ ผ่านหลักเกณฑ์
ยุทธการ ใต้ร่มเย็น ไม่เห็นแล้ว

การขนคน ทับ3ชั้น การกลั่นแกล้ง
คนหมดแรง อยู่ชั้นล่าง ร่างกระแด่ว
180 กิโลเมตร เหตุ_________ตายแย้ว
ถึงที่แนว เพิ่มหลายศพ เฮ้อ......จบกัน


:cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry: :cry:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

:oops: :roll: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops:


ตูม.....ระเบิดดัง อีกแล้ว ไม่แคล้วศพ

ชีวิตจบ อีกหนึ่ง จึงเสียขวัญ


ปัง.....เสียงปืนดัง มีคนตาย ข่าวรายวัน

แล้วใครกัน รับผิดชอบ ช่วยตอบที
sunrise
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2273
ผู้ติดตาม: 1

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่นึกว่าพี่ปรัญชาจะเป็นนักแต่งกลอนตัวยงด้วย 8)
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

:oops: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops:

นายกฯออก ทีวีมา พูดปราศรัย

เสียใจ กับเหตุการณ์ อ่านเฉลย

ไม่รู้สึก ซังกระตาย น่าหน่ายเอย

ตายด้าน-เอ่ย แก้ตัว มั่วๆไป


ไม่มีคำ ว่า...ขอโทษ

คนโฉด คนชัง สั่งได้

จิตวิทยา มองข้าม ความเข้าใจ

ปัญหาคง แก้ไข ไม่ทันการ


ก็ตามแต่ วาสนา ท่านนายกฯ

ดูปลงตก ความเลวร้าย ให้ผันผ่าน

อำนาจ เหนือคุณธรรม ทรมาน

อวสาน ตากใบ จบไปเลย


แล้วคงมี เหตุการณ์ร้าย ให้ได้พบ

วันละศพ มากกว่า ถ้าเปิดเผย

ก่อการร้าย 3จังหวัด ยัดเยียดเคย

เอาวะ....เอาเหวย.....คนเลยคน


เลิกเถอะ เอารถถัง สั่งวิ่งทั่ว

เลิกตาถั่ว มองให้แจ้ง ทุกแห่งหน

โปรดเข้าใจ คำว่า...ประชาชน

ความอดทน มีจำกัด หัดท่องจำ


ไม่มี คนไหน ไม่เคยผิด

ไม่มีคิด ยอมรับ กลับถลำ

ความดี ที่ท่านได้ ใฝ่กระทำ

โปรดจงนำ ทางพ้นภัย เพื่อไทยเจริญ



บันทึกไว้ 27-29 ตค 2547
ภาพประจำตัวสมาชิก
moo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 2

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

:( :(
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

8)

เริ่มมองเห็น แสงสว่าง ทางข้างหน้า

มองปัญหา ในภาพกว้าง อย่างที่เห็น

อำนาจคือ...สิ่งชอบทำ ถ้า...จำเป็น

ทุกประเด็น ควรรอบคอบ การตอบรับ


ซ่อนปัญญา ละเอียดอ่อน หลายมิติ

มวลชนซิ ริเริ่มใหม่ ให้สดับ

ความเป็นธรรม เสมอภาค หากยอมรับ

เลวร้ายกลับ มาดีได้ แก้ไขเป็น


เทิดทูนชาติ--ศาสนา--มหากษัตริย์

ปกครองรัฐ จัดสังคม นิยมเห็น

พิสูจน์ซิ ฝีมือกล้า นายกฯเป็น

ร้อนกลับเย็น ลงได้ จงได้คิด


สัจจะธรรม ไม่ตาย หายจาก...โลก

มีสุข-โศก ชั่ว-ดี ที่สถิตย์

ดึงแนวร่วม สานสัมพันธ์ พันธมิตร

อภิสิทธิ์ ทุกบทบาท ช่วยชาติไทย


การเริ่มต้น อาจไม่ดี เท่าที่เห็น

นี่ก็เป็น สัญญาณ การแก้ไข

เจตนา ท่านผู้นำ (ขอ)ให้กำลังใจ

เรื่อง...ตากใบ จบลง อย่าหลงลืม!!!!!!!!!!!!

:evil: :evil: :evil:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

:arrow: ขอให้ไฟใต้ จงดับลง ดับลง

http://www.fareastddb.com/tvc16.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

8) http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews ... 0000056261


ย้อนรอยครบรอบขวบปีที่มัสยิดกรือเซะ
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์
27 เมษายน 2548 19:03 น.

โดย...เดช สกุลทอง

ย้อนกลับไปเมื่อ1ปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 28เม.ย. 2547 กับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ กรณีมัสยิดกรือเซะ ที่ปัตตานี ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ(โจรก่อการร้าย) ออกปฏิบัติการครั้งใหญ่ ด้วยการบุกโจมตีฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร
ขนอาวุธสงครามออกมายิงถล่มป้อมจุดตรวจกรือเซะ ที่ถ.สายปัตตานี-นราธิวาส ม.3 ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี ในช่วงเช้าตรู่ กลุ่มคนร้ายกว่า30 คน ใช้ปืนสงครามบุกยิงถล่มป้อมตำรวจกรือเซะ ซึ่งขณะนั้นมีเจ้าหน้าตำรวจคอมมานโด กองปราบปราม จำนวน4 นายเข้าเวรประจำการทั้งหมดถูกยิงได้รับบาดเจ็บ

ขณะที่กลุ่มคนร้ายกำลังยิงถล่มป้อมตำรวจอยู่นั้น
ปรากฏว่าได้มีกำลังตำรวจปัตตานีและหน่วยคอมมานโดขับรถ
ผ่านมาประสพเหตุเข้าปิดล้อมให้ความช่วยเหลือ ทำให้ฝ่ายคนร้ายถูกยิงเสียชีวิต 1 ศพ และเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกยิงเสียชีวิต1 ศพ จากนั้นกลุ่มคนร้ายจึงได้ล่าถอยเข้าไปหลบซ่อนตัวในมัสยิดกรือเซะ ที่ตั้งห่างไปจากป้อมที่เกิดเหตุประมาณ200เมตร โดยกลุ่มคนร้ายได้ยิงตอบโต้ออกมาเป็นระยะ ขณะที่มีการระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหารและอ.ส.กว่า500นายพร้อมอาวุธครบมือ ยิงสวนกลับไปท่ามกลางเสียงดังสนั่นหวั่นไหวดุจไฟสงคราม

การปะทะกันในวันนั้นระหว่างคนไทย2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือเจ้าหน้าที่รัฐส่วนอีกฝ่าหนึ่งคือ
กลุ่มโจรได้เป็นไปอย่างดุเดือดตลอดช่วงเช้ามืดวันที่ 28เม.ย.จนถึงฟ้าสว่าง ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะตัดสินใจใช้อาวุธหนักยิงถล่มตัวอาคารมัสยิด ท่ามกลางเสียงโห่ที่ร้องดังออกมาจากภายในเป็นภาษายาว
ีตะโกนออกมาอย่างบ้าคลั่ง ส่งสัญญาณว่าจะต่อสู้จนตัวตาย

กระทั่งเวลาประมาณ 14.00 น.หลังการปะทะดุเดือดยาวนานร่วม9ชั่วโมงเสียงปืน
จากในมัสยิดสงบลงต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เคลื่อนกำลังเข้าเคลียร์พื้นที่ พบศพกลุ่มคนร้ายทั้งในและนอกอาคารมัสยิด32 ศพ ทั้งหมดมีผ้าสีแดงเป็นสัญลักษณ์โพกที่ศีรษะ
และเอวนอกจากนี้ยังพบอาวุธปืนสงครามอีกจำนวนหลายสิบกระบอกในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง ระบุว่า กลุ่มคนร้ายที่เสียชีวิตซึ่งมีทั้งวัยรุ่นและคนมีอายุ แต่ไม่ใช่คนในพื้นที่ และผ่านการฝึกฝนการใช้อาวุธมาเป็นอย่างดี

นอกจากการปะทะเดือดที่มัสยิดกรือเซะ อ.เมืองปัตตานี แล้วในวันเดียวกันและช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังบุกโจมตีฐานที่มั่น
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหารตามจุดต่างๆ ใน จ.ปัตตานี อีก 3 จุด ได้แก่ที่สโมสรแม่ลาน อ.แม่ลาน คนร้ายตาย 11 ศพ จำเป็น1 ศพจุดที่ 2 ที่ป้อมจุดตรวจบ้านเกาะหม้อแกง ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก กลุ่มโจรเสียชีวิต 2 ศพ ตำรวจเจ็บ 1นายและจุดที่ 3 ที่ป้อมจุดตรวจเมาะมาวี ริมถนนสายปัตตานี-ยะลา ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง คนร้ายเสียชีวิต 2 ศพ ทหารบาดเจ็บ 1 นาย ซึ่งฝ่ายเจ้าหน้าที่มีการวางแผนระวังป้องกันตัวอย่างดี
จึงทำให้ฝ่ายตรงข้ามถูกยิงเสียชีวิตจำนวนมาก และนอกจากที่จังหวัดปัตตานีแล้วกลุ่มโจรยังได้ปฏิบัติการ จู่โจมบุกทำร้ายเจ้าหน้าที่พร้อมกันใน2จังหวัดคือ ยะลา และสงขลาด้วยทำให้มีผู้เสียชีวิรวมยอด107 ศพ

เหตุการณ์ในวันนั้นได้สร้างความสูญเสีย
ให้กับฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลอย่างประเมินค่าไม่ได้
และเจ้าหน้าที่รัฐเองก็ได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน ซึ่งนอกเหนือจากความเสียหายในชีวิต
และทรัพย์สินชีวิตและเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกันแล้ว ยังตอกย้ำความรู้สึกเจ็บปวดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ได้ให้กับคนไทยทุกคนเพราะเลือดของพี่น้องไทย
ได้ทาลงพื้นแผ่นดินไทยกันเสียเอง

จากวันนั้นถึงวันนี้ เหตุการณ์ที่กรือเซะแม้จะผ่านมาแล้ว1ปี ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเริ่มค่อยๆจางหาย ซากปรักหักพังของมัสยิดที่ถูกทำลายในวันนั้นเริ่มได้รับการฟื้นฟู ด้วยการบูรณะให้กลับมาเป็นปกติเพื่อรับใช้งานศาสนาพิธี เหมือนแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายที่หาย
ด้วยการเยียวยาทารักษาแต่ก็ยังปรากฏรอยแผลเป็นให้ได้เห็น เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรไฟและหมอกควันที่ปกคลุมพื้นที่
มิคสัญญีดินแดนด้ามขวานทองจะจางหาย
ให้ได้แลเห็นความสงบสุขสันติเกิดขึ้นในแผ่นดินแห่งนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

จุดไฟใต้ ตั้งรัฐปัตตานี

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

สถานการณ์การก่อความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานการณ์ก่อนปี พ.ศ. 2538

แนวคิดในการแบ่งแยกดินแดน เพื่อตั้งรัฐปัตตานีหรือรัฐปะตอนีนั้น เกิดขึ้นนานแล้ว โดยมีบุคคลผู้เสียอำนาจทางการเมือง ได้จัดตั้งขบวนการขึ้นเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐ เรียกว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดน (ขบด.) ขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้ก่อความไม่สงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนทางราชการต้องใช้กำลังเข้าปราบปรามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2334 และสมัยรัชกาล ที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2444 และต่อมาอีกหลายยุคหลายสมัย จนกระทั่งใน พ.ศ. 2515 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน เป็นขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) เพื่อผลทางจิตวิทยาและทางการเมืองในพื้นที่ต่อประชาชนรุ่นหลัง ซึ่งไม่มีส่วนรู้เห็นกับแนวคิดการแบ่งแยกดินแดนนี้

ตามข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาทางสังคมจิตวิทยาและการปกครอง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากประชาชนได้รับความไม่เป็นธรรมในการปกครองบ้านเมืองของทางราชการท้องถิ่นในสมัยนั้น ทั้งตำรวจ พลเรือน และทหาร ได้มีประชาชนบางส่วนจึงรวมตัวกันขึ้นเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐ ไม่ยอมรับการปกครองจากรัฐบาล ใช้เงื่อนไขสังคมปลุกระดมมวลชน โดยแอบอ้างความ แตกต่างระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาอิสลาม ความแตกต่างทางภาษา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และจารีตประเพณี แอบอ้างประวัติศาสตร์ อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน เพื่อสร้างความแตกแยก และหวังผลประโยชน์ทางการเมือง รวมทั้งผลประโยชน์อันเกิดจากความไม่สงบ เช่น การเรียกเก็บค่าคุ้มครองจากประชาชน และการรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เป็นต้น

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แนวความคิดในการแบ่งแยกดินแดนยังไม่หมดไป มีการจัดตั้งขบวนการหรือองค์กร เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและอุดมการณ์ ขบวนการหรือองค์กรข้างต้นมีอยู่หลายกลุ่มหลายชื่อ เช่น บีเอ็นพีพี, บี.อาร์.เอ็น.BRN Coordinate, พูโล ,พูโลใหม่ มูจาฮีดินปัตตานี, เบอร์ซาตู เป็นต้น ในอนาคตหากมีเงื่อนไขสังคมเอื้ออำนวยก็อาจเกิดขบวนการอื่น ๆ ขึ้นมาอีก

สถานการณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 มกราคม พ.ศ.2547

เมื่อ พ.ศ. 2538 กอ.รมน.ภาค 4 ได้ขออนุมัติ เปลี่ยนชื่อขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นโจรก่อการร้ายและลดระดับการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายของฝ่ายรัฐบาลลง และจากปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2546 และการดำเนินการด้านการข่าว ได้พัฒนากลายเป็น ไม่มีขบวนการโจรก่อการร้ายหรือโจรก่อการร้าย กลายเป็นโจรธรรมดา เป็นการประมาณการข่าวกรองที่มีความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงภาคใต้ของรัฐบาล ผิดพลาดโดยเฉพาะการใช้หน่วยกำลังเข้าไปแก้ปัญหา คือ ใช้กำลังตำรวจแทนกำลังทหารในเวลาต่อมา

ฝ่ายก่อความไม่สงบหรือฝ่ายขบวนการโจรก่อการร้ายได้ฉกฉวยโอกาส ห้วงปี 2538-2546 ดำเนินการพัฒนายุทธวิธีและแนวทางการต่อสู้ที่แหลมคม อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล โดยกำหนดแผนบันได 7 ชั้นของการต่อสู้เพื่อตั้งรัฐปัตตานีอย่างชัดเจน แผนภูมิ 1, 2 ของขบวนการ จากสถานการณ์ที่ผู้ก่อการไม่สงบหรือขบวนการโจรก่อการร้าย ได้เผาโรงเรียน 20 แห่ง และเข้าโจมตี ค่ายทหาร ยึดปืนและฆ่าทหารตาย 4 คน เมื่อ 4 ม.ค. 47 ที่ จ.นราธิวาส นั้น เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นการกระทำของขบวนการโจรก่อการร้าย ที่มีการจัด การฝึก การวางแผน การปฏิบัติที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย ส่วนนำ กองกำลังติดอาวุธ และแนวร่วมขบวนการ เป็นผู้ปฏิบัติงานร่วมกันอย่างได้ผลสูงสุด

ข้อมูลข่าวสารที่รวบรวมได้สรุปผลได้ว่า การปฏิบัติการโจมตีต่อค่ายทหารและยึดอาวุธปืน เผาโรงเรียน เป็นการปฏิบัติการทางทหาร เพื่อหยั่งขีดความสามารถการรักษาความมั่นคงของรัฐบาลเป็นและการทดสอบแนวความคิดในการต่อสู้ หรือแผนบันได 7 ชั้นของการต่อสู้เพื่อตั้งรัฐปัตตานี ตามแผนภูมิ 1, 2 ของขบวนการ และในสถานการณ์ปัจจุบันขั้นตอน น่าจะพัฒนาไปถึงขั้นตอนที่ 5 และ ขั้นตอนที่ 6 โดยมีขบวนการเบอร์ซาตู ร่วมกับขบวนการมูจาฮีดินปัตตานี เป็นศูนย์ประสานงานและการวางแผนการก่อความไม่สงบ หรือการก่อการร้ายโดยมีขบวนการ BRN Coordinate เป็นผู้จัดรวบรวมกองกำลังติดอาวุธจากที่เตรียมไว้สำหรับปฏิบัติการ ขบวนการพูโลเป็นผู้ประสานงานกับองค์กรนำภายนอกประเทศ ในการปฏิบัติการครั้งนี้ใช้กำลังไม่น้อยกว่า 200 นาย กองกำลังประกอบจาก

ครูฝึกต่างชาติ (Hard core )

กองกำลังติดอาวุธ BRN coordinate

นักศึกษาปอเนาะและวัยรุ่น ( เยาวชนรักชาติ )

แนวร่วม

โดยใช้หลักการรวมกำลังปฏิบัติ ณ. ที่หมายที่ต้องการตามเวลาที่ต้องการ เป็นไปตามหลักวิชาทหาร เรื่องการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ และการปฏิบัติการครั้งนี้น่าจะมีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม KMM ของมาเลเซียและกลุ่ม JI ของอินโดนีเซีย ด้วย



สถานการณ์ในห้วงเวลา มกราคม-ตุลาคม พ.ศ. 2547

การวิเคราะห์สถานการณ์

จากการวิเคราะห์การปฏิบัติของขบวนการโจรก่อการร้ายในภาพรวมของเหตุการณ์ทั้งหมด น่าจะเชื่อได้ว่าเหตุการณ์การก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา เป็นเครือข่ายขององค์กรเดียวกันโดยมีขบวนการก่อการร้ายเป็นศูนย์กลาง และมีข่ายงานเชื่อมโยงกับนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล และนักการศาสนา นักวิชาการปัตตานี ซึ่งสอดคล้องกับแผนบันได 7 ชั้นของการต่อสู้เพื่อรัฐปัตตานี และเป็นที่น่าสังเกตว่ารูปแบบและวิธีการบางอย่างมีความเหมือนกันกับรูปแบบ และวิธีการที่กลุ่มต่อชาวมุสลิมหัวรุนแรงปฏิบัติต่อกลุ่มต่างศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย

จากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในรอบ 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การดำเนินงานของขบวนการโจรก่อการร้าย ได้พัฒนาการต่อสู้ เพื่อดำรงความมุ่งหมายในการเรียกร้องดินแดนเพื่อจัดตั้งเป็นปัตตานีดารุลสลาม ในแนวทางหรือมิติใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปรไปทั้งภายในและนอกประเทศ

ในส่วนแกนนำของขบวนการโจรก่อการร้ายในต่างประเทศ ซึ่งสามารถรวมตัวกันเป็นองค์กรเดียว คือ ขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (BERSATU) ประกอบด้วยกลุ่มโจร PULO BRN NIPP GMIP พยายามเชื่อมโยง พัฒนาสัมพันธ์ และเพื่อเข้าร่วมปฏิบัติกับองค์การก่อการร้ายสากลอื่นๆ ที่มีอุดมการณ์ชาตินิยม/ลัทธินิยมเดียวกัน เช่นกลุ่มอัลไควดะห์ กลุ่มเจมาอะห์ อิสลามมิยะห์,กลุ่มอาบูไซยาฟ ฯลฯ เป็นต้น

ในส่วนกองกำลังติดอาวุธในประเทศไทย จากเดิมเน้นหนักในการตั้งฐานปฏิบัติการหลบซ่อน หรือดำรงอยู่ในพื้นที่เขตป่าเขาและพื้นที่ห่างไกลเจ้าหน้าที่ เปลี่ยนเป็นเข้ามาแอบแฝงกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่เขตเมืองหรือเขตชุมชน โดยเน้นการอิงแอบอยู่ในสถานศึกษาทางศาสนาเป็นหลัก รวมทั้งมีการพยายามพัฒนาการการปฏิบัติการก่อเหตุร้ายในรูปแบบต่างๆ โดยต่อเนื่อง

ในส่วนแนวร่วม/กลุ่มผู้สนับสนุน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากทั้งแนวร่วมโดยตรงและแนวร่วมมุมกลับ ซึ่งมีอยู่หลายองค์กร ซึ่งประกอบด้วย

กลุ่มชีอะห์ มีหลักฐานชี้ชัดว่าหลายคนเข้าร่วมกับกลุ่ม มูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี หรือ GMIP

กลุ่มดาวะห์ เป็นกลุ่มบางกลุ่มที่ถูกใช้ให้ดำเนินงานลับอย่างมีระบบ คล้ายเป็นศูนย์ข่าวกรองปัตตานีรวมทั้งการแสวงหาทุน หาเป้าหมายทางทหาร และสามารถอำพรางสถานะได้เป็นอย่างดี

กลุ่มการเมือง/อิทธิพล/ผู้นำท้องถิ่น เป็นกลุ่มแสวงประโยชน์ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มค้ายาเสพติด กลุ่มค้าอาวุธสงคราม กลุ่มค้าของเถื่อน มีศักยภาพในการบิดเบือนข่าวสาร ปล่อยข่าว ทำลายเจ้าหน้าที่ เอื้ออำนวยต่อการก่อการร้าย

กลุ่มนักวิชาการ บางคนถูกใช้ให้มีหน้าที่ในการปลุกระดม ผลิตเอกสาร โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อสร้างความแตกแยก

กลุ่มผู้นำศาสนาและโรงเรียนปอเนาะ บางคนและบางแห่งถูกใช้ให้ปลูกฝังแนวความคิดให้กับเยาวชน และเป็นตัวแปรสำคัญ ในการต่อสู้ของกลุ่มขบวนการโจรก่อการร้ายโดยเฉพาะกลุ่มขบวนการ มูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี เพราะกลุ่มนี้จะเน้นหาสมาชิกในกลุ่มนักเรียนปอเนาะเป็นหลัก โดยพยายามจัดตั้งสมาชิกหลักได้อย่างน้อย 5 คนต่อ 1 ปอเนาะ และสามารถปฏิบัติงานอย่างดีเมื่อได้รับคำสั่ง หรือคำสั่งแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจากการซักถามสมาชิกกลุ่มขบวนการมูจาฮีดีน อิสลามปัตตานีที่มอบตัว และจับกุมในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาก็สามารถยืนยันได้ว่า มีนักเรียนปอเนาะและครูสอนศาสนาจำนวนมากเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายในพื้นที่อีกด้วย

ในห้วงตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ได้ปรากฏการณ์เคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น โต๊ะอิหม่าม, โต๊ะครู, อุสตาซ, เจ๊ะกู (ครูสอนศาสนา) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษา มีความรู้ความสามารถค่อนข้างดี และมีการเคลื่อนไหวที่บ่งชี้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อเรียกร้องดินแดนปัตตานี โดยใช้ปอเนาะ (สถานที่ที่ทางการไม่เพ็งเล็งและไม่กล้าเข้าไปตรวจค้น) เป็นสถานที่ติดต่อพบปะหารือ/วางแผน หลบซ่อน รวมถึงซุกซ่อนอาวุธ นอกจากนั้น หลายปอเนาะได้มีการปลุกระดมแนวความคิดในการต่อสู้ ให้กับเยาวชน และจัดให้มีการฝึกหัดแบบทหาร ทั้งนี้แกนนำของกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับขบวนการโจรก่อการร้ายทั้งในแง่ของเครือญาติและแนวร่วม ทั้งนี้ในห้วงที่ผ่านมาได้ปรากฏข่าวสารที่ชัดเจนว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับขบวนการ BRN Coordinate ได้มีการรวบรวมราษฎร, เยาวชนที่ศึกษาอยู่ในปอเนาะและครูสอนศาสนา (อุสตาซ/เจ๊ะกู) ตามหมู่บ้านหลายแห่งในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดตั้งเป็นกลุ่มๆ (สภาประชาชนระดับหมู่บ้าน /POLDAK) และกลุ่มบุคคลเหล่านี้ยังมีความพยายามจะจัดหาอาวุธไว้เป็นเครื่องมือของกลุ่ม ในการปฏิบัติงานของกลุ่มนี้จะเรียกกลุ่มของตนเองว่า �มูจาฮีดีน� (นักรบของพระเจ้า) มีสิ่งบอกเหตุว่ากลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรง และการปล้นจี้ขโมยอาวุธปืนของทางราชการ ตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นอาวุธ/ขโมยปืนลูกซองยาว ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2545 มาจนถึงเหตุการณ์การปล้น/ขโมยอาวุธปืนของทางราชการ ที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

จากการติดตามและตรวจสอบข่าวสาร รวมทั้งการซักถาม และการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วง 2 ปี ที่ผ่านมา เช่น การลอบสังหารเจ้าหน้าที่ การลอบยิงราษฎรไทยพุทธ, การปล้นอาวุธ, การลอบเผาโรงเรียน, การโจมตีกองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดน, การโฆษณาชวนเชื่อ, การปล้นจี้รถยนต์ และการลอบวางระเบิด สามารถยืนยันได้ว่าเหตุการณ์เกือบทั้งหมดเป็นการกระทำการปฏิบัติการของขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (Bersatu) โดยกลุ่มที่ปฏิบัติการคือ ขบวนการ PULO ,BRN และ GMIP และแนวร่วม (กลุ่มแอบอิงศาสนา) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกส่วนใหญ่ที่ร่วมปฏิบัติการเป็นกลุ่มเยาวชนที่ได้รับการฝึกอบรมให้มีอุดมการณ์ และต่อสู้เพื่อรัฐปัตตานี และสามารถจัดตั้งกลุ่มเยาวชนได้ในหลายอำเภอ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อพิจารณาลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละเหตุการณ์ บ่งชี้ว่าเป็นการดำเนินการของขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (Bersatu) โดยกลุ่มที่ปฏิบัติการคือ ขบวนการ PULO, BRN และ GMIP ร่วมกับกลุ่มแนวร่วม (กลุ่มแอบแฝงศาสนา) ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงงานและวัตถุประสงค์ในการกระทำได้ ดังนี้

งานการเมือง ได้มีการปลุกระดมเยาวชนตามปอเนาะและมีการทิ้งใบปลิวปลุกระดม ใบปลิวข่มขู่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ประชาชนอยู่ห่างๆ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

งานเตรียมกำลังอาวุธ ได้มีการปล้น การจี้ และการขโมยอาวุธปืนของทางราชการ ทั้งจากบุคคลและจากที่ตั้งหน่วยงานราชการ

งานบ่อนทำลาย ได้มีการสร้างความวุ่นวาย โดยการลอบวางระเบิดสถานที่ราชการ การลอบยิงเจ้าหน้าที่ รวมถึงการทำลายขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ ด้วยการปล่อยข่าวต่างๆ เช่น การตั้งค่าหัว เจ้าหน้าที่ การปล่อยข่าวว่า เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง (เพื่อสร้างความสับสนและให้เกิดความหวาดระแวงและแตกแยกกันเอง)

การเคลื่อนไหวของขบวนการโจรก่อการร้าย กลุ่มแนวร่วม (กลุ่มแอบแฝงศาสนา) น่าจะเชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศจริง และการดำเนินการของกลุ่มแนวร่วม (กลุ่มแอบแฝงศาสนา) คาดว่าน่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านกำลังอาวุธ และด้านแนวร่วม ให้กับกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งจะกลับเข้ามาเคลื่อนไหวใหม่ ให้มีความเข็มแข็งมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นกำลังบ่อนทำลายอำนาจรัฐในพื้นที่ให้อ่อนลงให้มากที่สุด เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการต่อสู้ด้วยอาวุธที่จะใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตั้งรัฐปัตตานีดารุสลาม ตามเป้าหมาย

บทสรุป

ขบวนการโจรก่อการร้ายยังคงดำรงสภาพอยู่ ดำเนินการก่อการร้าย บ่อนทำลายและใช้กองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล โดยมีเป้าหมายการปฏิบัติแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นรัฐปัตตานี โดยการใช้อาวุธและความรุนแรงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

องค์กรก่อการร้ายต่างประเทศได้เข้ามา แทรกซึม ชี้นำ ทางด้านอุดมการณ์ และแนวทางการต่อสู้ ให้การสนับสนุนทางด้านการเงิน ในรูปแบบต่างๆ เช่น ทุนการศึกษา การพัฒนาปอเนาะ ฯลฯ โดยเฉพาะ KMM และ JI มีความสัมพันธ์กับขบวนการมูจาฮีดินปัตตานี เนื่องจากเมื่อประมาณ ค.ศ. 1981 ขบวนการมูจาฮีดิน ได้เข้าไปร่วมรบกับชาวอัฟกานิสถานเพื่อขับไล่ทหารรัสเซียให้ออกจากประเทศอัฟกานิสถาน มีชาวมุสลิมหัวรุนแรงทั่วโลกได้ไปร่วมรบด้วย โดยเฉพาะ ชาวอินโดนีเซีย ชาวมาเลเซีย ชาวพิลิปปินส์ รวมทั้งชาวไทยมุสลิมภาคใต้ และเมื่อค.ศ.1989 รัสเซียถอนตัวจากอาฟกานิสถาน บินลาดิน

ได้จัดตั้งขบวนการอัลไคดาขึ้น นักรบมุสลิมจากอินโดนีเซีย กลับมาจัดตั้งขบวนการ JI ขึ้น นักรบมุสลิมจากมาเลเซีย จัดตั้ง KMM และนักรบมุสลิมจากไทย จัดตั้งมูจาฮีดินปัตตานี น่าจะพิจารณาได้ว่า ขบวนการ JI และ ขบวนการ KMM น่าจะมีความเชื่อมโยงกับขบวนการโจรก่อการร้ายมูจาฮีดินปัตตานีในประเทศไทย ทั้งตัว บุคคลและอุดมการณ์ และน่าจะเชื่อมโยงกับขบวนการก่อการร้ายสากลด้วย

แนวความคิดในการจัดตั้งรัฐปัตตานีของขบวนการก่อการร้ายน่าจะพัฒนาไปสู่อุดมการณ์การจัดตั้งรัฐอิสลามบริสุทธิ์ (Pan Islamic States) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อินโดนีเชีย มาเลเซีย ภาคใต้ของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ภาคใต้ของประเทศไทยและบางส่วนของพม่าทางภาคตะวันตก
mey
Verified User
โพสต์: 359
ผู้ติดตาม: 0

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

**ความจริง บางครั้งช่างรันทดเหลือประมาณ
เหตุการณ์เกิดขึ้นปีแล้วปีเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ความวิปโยคเกิดขึ้นกับครอบครัวชาวใต้ที่เหลือแต่ แม่และลูก
เมื่อไหร่หนอจะสิ้นสุดเสียที....**
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

http://www.thaiinsider.com/ShowNews.php ... /10-51.htm

รูปภาพ

รายงานตากใบฉบับเต็ม
18 June 2005 10:51
จำนวนผู้อ่าน 387 คน
รายงานการรวบรวมข้อมูล

กรณีเหตุการณ์รุนแรงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส


1. ความเป็นมา

ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) บ้านโคกกูแว หมู่ 5 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จำนวน 6 คน ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาแจ้งความเท็จว่า ถูกคนร้ายปล้นปืนลูกซองที่ทางราชการให้ไว้เพื่อป้องกันภัยหมู่บ้าน และต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดี ในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์ (อาวุธปืนลูกซอง) แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน และซ่องโจร ได้แก่

-นายรอนิง บินมะ
-นายกามา อาลี
-นายมาหามะรุสือลี เจ๊ะแว
-นายอรุณ บินมะ
-นายอับดุลราไม ฮะกือลิง
-นายรูกีมือลี ฮะกือลิง

ในเหตุการณ์ชุมนุมเพื่อเรียกร้องดังกล่าว เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการสลายการชุมนุมซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ ถูกควบคุม และถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก จากการดำเนินการดังกล่าว ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ความรุนแรงเกินกว่าที่ควรจะกระทำ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงได้มีแถลงการณ์กรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่อำเภอตากใบ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เสนอข้อคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติต่อนายกรัฐมนตรี รวม 6 ข้อ และได้มอบหมายให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นคณะทำงานไปรับฟังข้อมูลในพื้นที่อำเภอตากใบ เพื่อนำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์ว่า มีการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ จากการรับฟังข้อมูลชั้นต้นจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ฝ่ายทหาร ตำรวจ แพทย์ พยาบาล และประชาชน คณะทำงานมีความเห็นในเบื้องต้นว่าการสลายการชุมนุมดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และตามหลักปฏิญญาสากลหรือพันธกรณีระหว่างประเทเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีความรุนแรงในวงกว้างครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างกว้างขวาง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 34/2547 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลกรณีเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้ และได้มีคำสั่งที่ 74/2547 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดังกล่าวให้มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลและหาข้อเท็จจริงทั้งกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่บริเวณสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และเหตุการณ์ความไม่สงบอื่น ๆ ในภาคใต้ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ในการเยียวยาความเสียหาย และการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อเสนอข้อคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว

2. ภาพรวมสถานการณ์การชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

จากสถานการณ์กรณีความรุนแรงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ เกี่ยวข้อวงกับบุคคล 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำเนินการสลายการชุมนุม และผู้สั่งการให้สลายการชุมนุมซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลสรุปภาพรวมของความสูญเสียได้ ดังนี้

2.1) กลุ่มผู้ที่อยู่ในชุมนุมได้ถูกควบคุมตัวไว้ ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี รวม 1,292 คน ประกอบด้วยประชาชนในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 1,280 คน จังหวัดยะลา 1 คน และจังหวัดปัตตานี 11 คน แบ่งเป็นอำเภอต่าง ๆ ดังนี้ (ข้อมูลจากค่ายอิงคยุทธบริหาร)

-จังหวัดยะลา จำนวน 1 คน คือ นายกุมรี มะเซ็ง อายุ 35 ปี อาชีพขายส้มโดที่ท่าเรือ อยู่บ้านเลขที่ 156/1 หมู่ 3 ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

-จังหวัดปัตตานี จำนวน 11 คน ได้แก่
อำเภอสายบุรี จำวน 4 คน อำเภอไม้แก่น จำนวน 3 คน
อำเภอยะรัง จำนวน 2 คน อำเภอยะหริ่ง จำนวน 1 คน
อำเภอมายอ จำนวน 1 คน

-จังหวัดนราธิวาส จำนวน 1,280 คน (ยกเว้นอำเภอศรีสาคร) แบ่งตามอำเภอต่าง ๆ ได้แก่
อำเภอตากใบ จำนวน 378 คน อำเภอแว้ง จำนวน 90 คน
อำเภอสุไหงปาดี จำนวน 224 คน อำเภอสุไหงโกลก จำนวน 52 คน
อำเภอเมือง จำนวน 136 คน อำเภอยี่งอ จำนวน 45 คน
อำเภอเจาะไอร้อง จำนวน 129 คน อำเภอรือเสาะ จำนวน 5 คน
อำเภอระแงะ จำนวน 112 คน อำเภอสุคิริน จำนวน 1 คน
อำเภอบาเจาะ จำนวน 104 คน อำเภอจะแนะ จำนวน 1 คน

2.2) มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนี้
-เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จำนวน 6 คน และเสียชีวิต ณ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 1 คน
-เสียชีวิตในระหว่างการขนส่งผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี จำนวน 78 คน โดยในเบื้องต้นไม่สามารถระบุชื่อผู้เสียชีวิตได้ จำนวน 22 คน

2.3) มีบุคคลสูญหายซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่ชัดได้ แต่ในเบื้องต้นได้ทราบว่ามีบุคคลสูญหาย จำนวน 12 คน

2.4) มีผู้ถูกดำเนินคดี จำนวน 58 คน เป็นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2.5) มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั้งที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ปานกลาง และสาหัสถึงขั้นพิการ

2.6) มีเด็กกำพร้าจากการสูญเสียบิดาที่ยังไม่ทราบจำนวนแน่ชัด

2.7) มีผู้ที่อยู่ในที่ชุมนุมได้เข้ารับการอบรมในโครงการมวลชนเสริมสร้างสันติสุข ณ ค่ายรัตนพล คลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จำนวน 130 คน

การประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้นจากการลงพื้นที่และประมวลข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ อาจจะพิจารณาได้ว่า เป้าหมาย ทัศนคติ หลักการและวิธีการในการดำเนินการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ของรัฐขาดความระมัดระวัง และมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรุนแรง และขาดความอดทนในการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ดังนี้

1) การใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนจริงในการสลายการชุมนุม โดยมีเป้าหมายเพื่อสยบกลุ่มผู้ชุมนุมให้ยอมแพ้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ จำนวน 7 คน
2) การทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมในขณะที่ถูกมัดมือไพล่หลัง และอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถตอบโต้การกระทำของผู้ใด ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บขั้นรุนแรงเป็นจำนวนมาก
3) การขนย้ายกลุ่มผู้ชุมนุมไปควบคุมตัว ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี โดยให้นอนทับซ้อนกันประมาณ 4-5 ชั้น เป็นเวลานาน จนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต จำนวน 78 คน และได้รับบาดเจ็บสาหัสและพิการหลายราย
4) ในการดำเนินการสลายการชุมนุม มีทรัพย์สินของผู้ชุมนุมสูญหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีผู้สูญหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งยังไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่นอนได้ และจากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประสบเหตุ ครอบครัว ญาติ พี่น้อง ทั้งในด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่และสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก

3. ข้อมูลที่ได้รับฟังจากผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ชุมนุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ (สภ.อ.ตากใบ)

3.1 สาเหตุที่อยู่ในที่ชุมนุม

ผู้ได้รับบาดเจ็บที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลตากใบ จำนวน 2 ราย โรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 17 ราย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 3 ราย และชาวบ้านในพื้นที่อำเภอตากใบ ได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอจากใบ (สภ.อ.ตากใบ) ดังนี้

1. สาเหตุที่เดินทางมาอยู่ในที่ชุมนุม
-ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่เดินทางไปทำธุระส่วนตัว หรือไปประกอบอาชีพหรือขายของบริเวณนั้น บ้างเดินทางกลับมาจากทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ไม่ได้ตั้งใจมาชุมนุมเมื่อเห็นว่ามีการชุมนุมกันจึงเข้าไปดูเหตุการณ์ และเมื่อมีการสลายการชุมนุมซึ่งมีลักษณะของการล้อมจับจึงไม่สามารเดินทางกลับออกจากที่ชุมนุมได้ นอกจากนั้น บางคนเพียงแต่เดินทางผ่านไปในบริเวณดังกล่าวหรือถูกเจ้าหน้าที่ปิดเส้นทางจราจรจึงต้องเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ เลยถูกควบคุมตัวไปด้วย เพราะการควบคุมตัวมีลักษณะเหมารวมว่าประชาชนที่อยู่ในที่ชุมนุมทั้งหมดเป็นผู้ก่อเหตุการณ์ไม่สงบ แท้ที่จริงมีส่วนน้อยที่ตั้งใจเข้าร่วมการชุมนุมหรือถูกชักชวนให้เข้าร่วมการชุมนุมตั้งแต่ต้น
-ที่พักอาศัยอยู่ใกล้กับสภ.อ.ตากใบ เมื่อมีการชุมนุมจึงไปมุงดูเหตุการณ์
-เดินทางเข้าไปซื้อสินค้า เนื่องจากจะถึงวันฮารีรายอ (วันตรุษหลังจากพ้นระยะถือศีลอด) และของที่อำเภอตากใบมีราคาถูก แต่ไม่ทราบว่ามีเหตุการณ์ชุมนุม เมื่อมีการปิดกั้นการจราจรจึงไม่สามรถออกจากที่เกิดเหตุได้
-ผู้ให้ถ้อยคำบางส่วนเดินทางไปอยู่ในที่ชุมนุม เนื่องจากได้ทราบข่าวว่ามีการแจกใบปลิวเพื่อให้มาร่วมกันช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ สภ.อ.ตากใบ ผู้มาชุมนุมบางส่วนได้รับแจ้งข่าวให้ไปรับเงินคนละ 200 บาท
-มีการประกาศที่มัสยิดในเวลาที่ไปทำการละหมาด ว่าให้มาชุมนุมที่ สภ.อ. ตากใบ หากใครไม่มาทางราชการจะไม่ช่วยเหลือดูแล
-ผู้ที่อยู่ในที่ชุมนุมจำนวนมากคิดว่ามีการแสดงรื่นเริง เนื่องจากเป็นบริเวณสถานที่จัดงานรื่นเริงเป็นประจำ
2. การเดินทางมาชุมนุม ผู้มาชุมนุมส่วนใหญ่เดินทางมาโดยรถยนต์กระบะบรรทุกมีบางส่วนที่เดินทางมาโดยจักรยานยนต์ ในการเดินทางดังกล่าวมีข้อสังเกตจากชาวบ้านว่า ผู้ขับรถไม่ใช่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในอำเภอตากใบ เพราะรถยนต์บางคันหลงทาง และไม่รู้เส้นทางเข้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ หลงไปยังหาดเสด็จซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำตากใบ จึงต้องนั่งเรือข้ามฝั่งมายัง สภ.อ.ตากใบ

3.2 สถานการณ์ก่อนเหตุการณ์ชุมนุม

ข้อมูลและความเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นายราชัณย์ สารวรางกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า ในตอนเช้าของวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เวลาประมาณ 07.00 น. จังหวัดได้รับรายงานจากตำรวจที่ตั้งจุดตรวจในบริเวณใกล้ สภ.อ.ตากใบ ว่า มีกลุ่มวัยรุ่นนั่งรถยนต์กระบะบรรทุกมาเต็มคันรถ ประมาณ 4-5 คัน ซึ่งตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณนั้นได้สอบถามว่าจะไปที่ใดและเชิญไปสอบถามที่สถานีตำรวจ ได้ความว่ากลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวจะไปงานเลี้ยงแต่งงานที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้นได้มีคนทยอยเข้ามาเรื่อย ๆ เป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ในตลาด ต่อมาได้รับแจ้งจากจังหวัดยะลาว่า กลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวไม่น่าจะไปประเทศมาเลเซีย น่าจะมาประท้วงมากกว่า

นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ปลัดจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่าในตอนเช้าของวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เวลาประมาณ 10.30 น. ได้เข้าไปที่อำเภอตากใบ เห็นกลุ่มวัยรุ่นมากผิดปกติ จึงสอบถามและได้คำตอบไม่ตรงกัน ในช่วงเวลานั้นมีกลุ่มคนออกมาล้อมหน้า สภ.อ.ตากใบ เป็นจำนวนมากแล้ว

ข้อมูลจากประชาชน
สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่อำเภอตากใบผู้หนึ่ง ชี้แจงว่า ก่อนที่จะมีการชุมนุมที่หน้า สภ.อ.ตากใบ ได้มีการแจกใบปลิวให้ชาวบ้านร่วมกันช่วยเหลือ ชรบ. 6 คน ที่ถูกจับกุม และมีการประกาศที่มัสยิดในเวลาที่ทำการละหมาดว่าให้มาชุมนุมที่สภ.อ.ตากใบ

สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่อำเภอตากใบอีกผู้หนึ่ง ชี้แจงว่า เช้าวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ได้ยินประกาศจากมัสยิดให้ไปร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชรบ. 6 คน ที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบมีการประกาศ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เวลา 07.00 น. และครั้งที่ 2 เวลา 09.00 น.

ชาวบ้านที่บ้านพักอยู่ใกล้สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ชี้แจงว่า เวลาประมาณ 09.00 น. มีรถยนต์ กระบะบรรทุกวิ่งเข้ามาในบริเวณหน้าสถานีตำรวจ 10-20 คัน ในรถมีวัยรุ่นโดยสารมาเต็มทุกคัน มีวัยรุ่นเดินในตลาดหน้าสภ.อ.ตากใบจำนวนมาก ยิ่งสายยิ่งมีผู้ชุมนุมมากขึ้น มีทหาร ตำรวจดำเนินการ กันรถยนต์ไม่ให้เข้ามาในบริเวณที่ชุมนุม ประชาชนจึงเดินเข้ามาหรือขี่รถจักรยานยนต์เข้ามาทางด้านหลัง สภ.อ.ตากใบ ในช่วงเช้าเป็นผู้ชาย แต่ตอนบ่ายมีผู้หญิงด้วย ประชาชนที่เดินทางมาชุมนุมส่วนหนึ่งไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่อำเภอตากใบ ตนไม่รู้จักและไม่คุ้นหน้า ผู้ที่มาชุมนุมไม่มีอาการเมา

3.3 เหตุการณ์ขณะมีการชุมนุม

ข้อมูลและความเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นายราชัณย์ สารวรางกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า ได้รับรายงานจากอำเภอตากใบเวลาประมาณ 11.00 น. ว่ามีชาวบ้านประมาณ 300 คน มาชุมนุมประท้วงที่หน้าสภ.อ.ตากใบ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชรบ. จำนวน 6 คน ที่ถูกจับกุมและขอทราบว่าใช้เวลานานเท่าใดจึงจะปล่อยตัว ขณะนั้นนายราชัณย์ฯ ไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ได้รับรายงานตลอด และได้รับคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้เตรียมพร้อมอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด จึงได้ประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเพื่อเตรียมไฟสำรองฉุกเฉิน และประสานกับโรงพยาบาลเพื่อเตรียมแพทย์ พยาบาล และเลือด ซึ่งในเรื่องนี้เป็นแผนสำรองปกติในกรณีที่มีเหตุการณ์รุนแรง และในเหตุการณ์ดังกล่าว ปลัดจังหวัด(นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล) ได้รับมอบหมายให้เข้าไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุม

ทหารค่ายอิงคยุทธบริหาร ชี้แจงว่า ทหารได้ส่งกำลังเสริมในตอนเที่ยงถึงบ่าย ด้วยการโรยตัวจากเฮลิคอปเตอร์ เพื่อเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ เนื่องจากพบว่าประชาชนได้ล้อมสถานีตำรวจไว้ โดยบริเวณรอบนอกที่ประชาชนชุมนุมอยู่ก็มีตำรวจ ทหารล้อมประชาชนไว้อีกรอบหนึ่ง การเข้าไปช่วยเหลือจึงทำได้ยาก

ฝ่ายปกครองของจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า เวลาประมาณ 11.00 น. ประชาชนเริ่มเดินทางออกมาจากตลาดอำเภอตากใบ ประมาณ 300 คน แล้วไปชุมนุมหน้า สภ.อ.ตากใบ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชรบ.จำนวน 6 คนที่ถูกจับกุม และจะขอทราบว่าจะใช้เวลาในการปล่อยตัวนานเท่าใด โดยกลุ่มผู้ชุมนุมใช้ภาษายาวีในการสื่อสาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคาดว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปมีผู้ชุมนุมมาเพิ่มเติมอีกมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถรับสถานการณ์ได้ ฝ่ายทหารจึงได้ส่งกำลังเข้าไปช่วยเหลือ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส แม่ทัพภาคที่ 4 และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปดูแลเหตุการณ์ มีการระดมกำลังทหารเพื่อรองรับสถานการณ์ และส่งตำรวจนอกเครื่องแบบเข้าไปปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับผู้ชุมนุมและมีการดำเนินการ ดังนี้

1) ให้กลุ่มผู้ชุมนุมตั้งตัวแทนเพื่อเจรจากับหน้าหน้าที่ของรัฐ แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่สามารตั้งตัวแทนได้ และไม่รับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการโห่ร้องตะโกนใส่เจ้าหน้าที่โดยใช้ภาษายาวี การพูดปลุกใจเป็นภาษาอาหรับ และให้กลุ่มเด็กผู้หญิงถือป้ายข้อความว่า ให้ปล่อย ชรบ. ทั้งนี้ ได้เรียก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาช่วยเจรจากับกลุ่มผู้ชุมชุม แต่ไม่สามารถเจรจากับผู้ชุมนุมได้ เพราะผู้ชุมนุมไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่ ไม่ทราบว่าผู้ชุมนุมเดินทางมาจากที่ไหน และไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน

2) ได้ชี้แจงให้กลุ่มผู้ชุมนุมทราบว่าขณะนี้ ชรบ. ทั้ง 6 คน ได้ถูกส่งตัวไปที่ศาลแล้วและเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาให้ประกันตัว มิได้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่รับฟังคำชี้แจง จึงได้ประสานให้ผู้นำศาสนา 4 คน และญาติของชรบ. มาอธิบายให้กลุ่มผู้ชุมนุมฟัง แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอมฟังคำพูดของผู้นำศาสนา และตะโกนโห่ไล่ สำหรับญาติของชรบ. ที่มาพูดคุย กลุ่มผู้ชุมนุมก็รับฟังบ้าง

3) ได้ประสานไปยังอำเภอเพื่อพากำนันและผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 6 คน ไปดำเนินการยื่นเรื่องขอประกันตัว ชรบ. ต่อศาล แต่เนื่องจากวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เป็นวันหยุดราชการ จึงมีข้อติดขัดในการดำเนินการ แต่ก็ได้ยื่นเรื่องขอประกันตัวต่อศาลไว้ ส่วนจะได้รับประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับศาลที่จะพิจารณา

4) ในระหว่างการเจรจา พบว่าผู้ชุมนุมบางคนมีอาวุธ ซึ่งฝ่ายทหารได้กำหนดเข้าควบคุมตัวแกนนำในการชุมนุมประมาณ 20 คน เพื่อสลายการชุมนุมหากจำเป็น

5) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายศิวะ แสงมณี) ได้เดินทางมาที่เกิดเหตุ และเรียกประชุมหารือว่า จะดำเนินการอย่างไรกับกลุ่มผู้ชุมนุม และได้มีการเตรียมการเรื่องไฟฟ้า แพทย์ พยาบาล และเลือด ซึ่งเป็นการเตรียมการตามแผนปกติในกรณีที่มีเหตุการณ์ชุมนุม และในเวลาประมาณ 12.00 น. แม่ทัพภาค 4 (พลโท พิศาล วัฒนวงศ์คีรี) ได้เดินทางเข้าไปพูดคุยกับผู้ชุมนุม เพื่อสอบถามความต้องการ แต่กลุ่มผู้ชุมนุมแย่งกันพูดและตะโกน ไม่สามารถฟังได้ว่าต้องการอะไร หลังจากนั้นก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุมได้มีการขอร้องให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน

ต่อมาในเวลาประมาณ 15.00 น. เหตุการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น มีเสียงตะโกนโห่ร้องและขว้างปาก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ได้ประชุมพิจารณาเห็นว่า หากระยะเวลาการชุมนุมล่วงเลยไปจนกระทั่งมืด เกรงว่าสถานการณ์จะบานปลายและควบคุมได้ยาก แม่ทัพภาคที่ 4 จึงได้สั่งการให้สลายการชุมนุม

พันตำรวจเอกสมหมาย พุทธกุล ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีผู้ชุมนุมหน้าสภ.อ.ตากใบ คิดว่าไม่เกิน 300 คน เมื่อตรวจสอบดูแล้วพบว่าเป็นแนวร่วมมาจากหลายพื้นที่ และคิดว่าน่าจะมีเหตุการณ์ไม่ปกติ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปปะปนในกลุ่มผู้ชุมนุม ต่อมาเริ่มมีผู้ชุมนุมเพิ่มมากขึ้น และบุกเข้ามาถึงหน้าบันไดสถานีตำรวจ แล้วขว้างปาก้อนหิน จากการสังเกตกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนจะมีลักษณะคล้ายหน่วยกองกำลังติดอาวุธ (หน่วยคอมมานโด) แต่งกายชุดสีดำมีผ้าพันคอท่าทางคล่องแคล่วแข็งแรง บางกลุ่มจะส่งเสียงภาษายาวีบอก ฆ่ามัน ลุย ทั้งนี้ก่อนมีเหตุการณ์ชุมนุมได้รับทราบว่าจะมีการปฏิบัติการใหญ่ของฝ่ายตรงข้าม แต่ไม่ทราบว่าที่ใดและวันใด

พันตำรวจโทวุฒิชัย หันหาบุญ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่ชุรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ก่อนหน้าเหตุการณ์ชุมนุมได้ถูกจับด้วยข้อหายักยอกทรัพย์และแจ้งความเท็จจำนวน 6 คน ต่อมาถูกนำไปฝากขังที่เรือนจำจังหวัดนราธิวาส ครั้นวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2547 มีประชาชนทยอยมาชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัว ชรบ. ทั้ง 6 คน และขอทราบว่าจะใช้เวลาในการปล่อยตัวนานเท่าใด (ใช้ภาษายาวีในการสื่อสาร) เจ้าหน้าที่หลายระดับพยายามที่จะเจรจากับผู้ชุมนุมเป็นระยะ ๆ แต่ตกลงกันไม่ได้ ในการดังกล่าวได้มีการใช้เครื่องขยายเสียงแบบมือถือ(โทรโข่ง) ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญบิดา มารดา ของ ชรบ. ที่ถูกจับ มาพูดกับผู้ชุมนุมถึงความจริงว่า ชรบ. ทั้ง 6 คน ไม่ได้อยู่ที่สถานีตำรวจ และพร้อมจะพาไปเยี่ยมที่เรือนจำ แต่ผู้ชุมนุมก็ไม่เชื่อ และพ่อแม่ของ ชรบ. ทั้ง 6 คน บอกว่าไม่รู้จักพวกที่มาชุมนุม นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้นำทางศาสนา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) มาแนะนำให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน ในขณะที่บุคคลดังกล่าวได้พูดชี้แจงเสียงโห่ฮาก็จะเงียบไปพักหนึ่ง แล้วเสียงก็ดังอีก แต่ไม่สามารถจับใจความได้ ทั้งนี้ขณะที่มีการชุมนุม ได้มีการปิดกั้นรถยนต์และจักรยานยนต์ตามทางแยกต่าง ๆ ในบริเวณโดยรอบอำเภอตากใบ เพื่อไม่ให้เข้ามาบริเวณที่ชุมนุม แต่ก็มีประชาชนเดินเท้าเข้ามาที่บริเวณหน้า สภ.อ.ตากใบ

พันตำรวจเอกไพบูลย์ จ้อยกุล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า เช้าวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ขณะที่มีการชุมนุม ได้รับรายงานว่า มีกลุ่มคนใช้รถยนต์บรรทุกเล็กหลายคันเป็นพาหนะเดินทางมายัง สภ.อ.ตากใบ จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งไปยังสภ.อ.ตากใบ และได้พบกลุ่มคนประมาณ 200-300 คน ชุมนุมอยู่ที่บริเวณสภ.อ.ตากใบ แต่ไม่เห็นใครพกอาวุธ กลุ่มคนดังกล่าวเมื่อเห็นเจ้าหน้าที่ก็โห่ร้อง ตนเองจึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับ ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมมากขึ้น และกำลังบุกรุกสภ.อ.ตากใบ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ทรัพย์สินทางราชการได้รับความเสียหายและเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ ตนจึงสั่งห้ามมิให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้ามาที่สภ.อ.ตากใบ โดยสั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงปืนขู่ (ยิงขึ้นฟ้า) เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. และได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมาได้มีผู้บังคับบัญชามายังที่เกิดเหตุ ในจำนวนนั้นมีแม่ทัพภาคที่ 4 รวมอยู่ด้วย ได้มีความพยายามเจรจาและขอทราบวัตถุประสงค์ ตลอดจนเงื่อนไขที่แท้จริงของผู้ชุมนุม แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และยืดเยื้อมาถึงเวลาประมาณ 15.30 น. จึงได้มีการสั่งสลายการชุมนุม และมีการจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมในที่สุด

ข้อมูลจากประชาชน
ชาวบ้านตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบชี้แจงว่า ตามที่มีการเสนอข่าวกลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธปืนและระเบิดนั้น พวกตนไม่เชื่อ เนื่องจากหากเป็นจริงในการปะทะกัน ถ้ากลุ่มผู้ชุมนุมมีอาวุธ เมื่อถูกยิงแล้วคงจะยิงตอบ คงไม่มีใครโยนปืนทิ้ง และถ้ามีระเบิดก็คงจะโยนเข้าไป ซึ่งเจ้าหน้าที่หลายคนจะต้องเสียชีวิต จากที่ได้ทราบข่าว กลุ่มผู้ชุมนุมเพียงใช้ก้อนหินขว้างปาเจ้าที่เท่านั้น


3.4 การสลายการชุมนุม

ข้อมูลและความเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ฝ่ายปกครองของจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า เหตุการณ์เริ่มรุนแรงมากขึ้น มีเสียงตะโกนโห่ร้องและขว้างปาก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ได้ประชุมพิจารณาเห็นว่า หากระยะเวลาการชุมนุมได้ล่วงเลยไปจนกระทั่งเวลาค่ำ เกรงว่าสถานการณ์จะบานปลายและควบคุมได้ยาก แม่ทัพภาคที่ 4 จึงได้สั่งการให้สลายการชุมนุม ก่อนการสลายการชุมนุมไม่ได้รับแจ้งสัญญาณแต่อย่างใด

นายพิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ปลัดจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า ไม่ทราบว่ามีการตัดสินใจให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมในเวลาใด เพราะขณะที่ยืนพูดต่อที่ชุมนุม ได้มีการฉีดน้ำและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาไปยังกลุ่มผู้ชุมนุม ประชาชนจึงขว้างปาก้อนหินและสิ่งของเข้าใส่สถานีตำรวจ ก่อนการฉีดน้ำยังไม่มีการขว้างปาก้อนหิน มีเพียงเสียงโห่ ด่าเป็นภาษายาวี ขณะที่มีการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่ได้ยิงปืนขู่ขึ้นฟ้า ทั้งนี้การสลายการชุมนุมอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตนได้รับรางงานว่ามีการปิดกั้นถนนทางแยกต่าง ๆ บริเวณรอบ สภ.อ. ตากใบ เพื่อกั้นมิให้ผู้ที่ชุมนุมตามแยกเหล่านั้นเข้ามาที่หน้า สภ.อ.ตากใบ ในการสกัดกั้นเป็นการปิดเส้นทางสัญจรโดยสิ้นเชิง เพราะสถานการณ์ไม่สามารถไว้วางใจผู้ใด

พันตำรวจเอกสมหมาย พุทธกุล ชี้แจงว่า ผู้ชุมนุมได้ขว้างปาก้อนหินและสิ่งของก่อน จากนั้นจึงมีการฉีดน้ำ

พันตำรวจโทวุฒิชัย หันหาบุญ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ชี้แจงว่า ในช่วงบ่ายเหตุการณ์เริ่มตึงเครียด เพราะมีการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขู่กลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ดีอาวุธปืนที่เจ้าหน้าที่ใช้เป็นแบบอัตโนมัติ ดังนั้นขณะที่ยิง ปลายกระบอกปืนจึงอาจมีการสะบัดลงมาในระดับที่เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ในการปฏิบัติการเจ้าหน้าที่จะยิงขู่เพื่อให้ผู้ชุมนุมหมอบราบลงกับพื้น และจะยิงรัวเพื่อมิให้ผู้ชุมนุมลุกขึ้นหรือวิ่งหนี ดังนั้นหากผู้ชุมนุมลุกขึ้นยืนหรือวิ่งหนีก็อาจถูกยิงได้ สำหรับผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำนวน 7 คน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากกรณีดังกล่าวข้างต้น หลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว ในทางปฏิบัติจะมีคณะกรรมการดำเนินการไต่สวนเกี่ยวกับการเสียชีวิตต่อไป และคงไม่สามารถแจ้งข้อหาดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดได้ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ชุลมุนไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นคนยิง สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงขาทะลุ 1 ราย และมีเจ้าหน้าที่อีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากการที่ผู้ชุมนุมขว้างปาก้อนหินและท่อนไม้ใส่เจ้าหน้าที่ ซึ่งเมื่อได้รับการปฐมพยาบาลและทำบาดแผลแล้วก็สามารถกลับบ้านได้

เจ้าหน้าที่พยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ชี้แจงว่า เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. นำรถพยาบาลมารับคนเจ็บจากโรงพยาบาลตากใบ พบว่ามีรถจอดอยู่รายทาง ตั้งแต่ทางเข้าตัวจังหวัดถึงอำเภอตากใบ (ระยะทางราว 30 กิโลเมตร) และมีประชาชนวัยรุ่นอยู่หนาแน่นบริเวณข้างถนน พยายามกั้นไม่ใช้รถพยาบาลของโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เข้าไปรับผู้ป่วยที่อำเภอตากใบ

ข้อมูลจากประชาชน

ผู้ได้รับบาดเจ็บ ชี้แจงว่า ขณะมีการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่ได้ใช้รถดับเพลิงฉีดน้ำ และมีการปาระเบิดแก๊สน้ำตาไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมหน้า สภ.อ.ตากใบ ทำให้ผู้ชุมนุมแตกตื่น แต่ไม่สามารออกนอกบริเวณได้ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวถูกปิดล้อมไว้ ขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงปืนด้วย

ผู้อยู่ในเหตุการณ์ชุมนุม ส่วนใหญ่ชี้แจงว่า ช่วงก่อนมีการสลายการชุมนุมมีเสียงดังอึกทึกมาก มีการประกาศของฝ่ายเจ้าหน้าที่ในบริเวณที่ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ได้ยินไม่ชัดเจน เพราะมีเสียงโห่ฮาและเสียงอื่น ๆ ดังสับสน เนื่องจากอยู่ในสถานที่เปิดโล่ง เวลาประมาณ 16.00 น. เริ่มมีการฉีดน้ำเข้าใส่ผู้ชุมนุม ตามด้วยการโยนแก๊สน้ำตา และมีการยิงปืนขึ้นฟ้าในช่วงแรก แต่ต่อมามีบางคนให้การว่า เห็นทหารลดระดับของปลายกระบอกปืนลงมาในระดับเดียวกับกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อม ๆ กับการบุกเข้าจับกุมผู้ชุมนุม โดยเตรียมกำลังปิดล้อมไว้แล้ว ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งได้หนีลงไปบริเวณแม่น้ำตากใบ เพื่อล้างใบหน้าและดวงตาด้วยน้ำ เนื่องจากถูกแก๊สน้ำตา และได้ถูกจับกุมที่บริเวณริมแม่น้ำในเวลาต่อมา

การตรวจดูสถานที่เกิดเหตุ บริเวณอาคาร สภ.อ.ตากใบ มีกระจกหน้าต่างแตก 2-3 แห่ง ส่วนบริเวณอื่น ๆ อยู่ในสภาพปกติ ไม่พบร่องรอยถูกทำลายแต่อย่างใด

ข้อมูลจากสื่อมวลชน ได้มีการรายงานการตรวจค้นอาวุธผู้ชุมนุมในวันเกิดเหตุว่า ไม่พบอาวุธใด ๆ แต่ในวันรุ่งขึ้น (วันที่ 26 ตุลาคม 25477) เจ้าหน้าที่ได้ค้นพบอาวุธหลายอย่างจากใต้น้ำในแม่น้ำตากใบ บริเวณหน้าสภ.อ.ตากใบ

ข้อมูลจากภาพวิดีทัศน์
ในภาพวิดีทัศน์ที่มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้ ปรากฏภาพพอสรุปได้ดังนี้
1) ในการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่ได้ใช้รถดับเพลิงฉีดน้ำ และมีการขว้างระเบิดแก๊สน้ำตา เข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ก่อนที่ผู้ชุมนุมจะขว้างปาก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่ ขณะนั้นเจ้าหน้าที่ได้ยิงปืนขึ้นฟ้าแต่มีเจ้าหน้าที่บางคนยิงปืนใส่ผู้ชุมนุมในระดับที่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ชุมนุม
2) ในการระดมยิงปืนใส่ผู้ชุมนุม มีทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและตำรวจ มีการใช้อาวุธสงครามและปืนพกสั้น
3) มีการใช้กำลังประทุษร้ายผู้ชุมนุมหลายคน ทั้งที่นอนอยู่ที่พื้นและที่ถูกควบคุมตัวเข้ามายังกลุ่มเจ้าหน้าที่ โดยการใช้กระบองตี การเตะ เหยียบ ชก ตบตีฯลฯ

ข้อมูลจากโรงพยาบาล
โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547) ได้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีผู้เสียชิวิตจและผู้ได้รับบาดเจ่บจากการสลบายการชุมนุม สรุปได้ดังนี้

1) ผู้เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล (เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ) จำนวน 6 คนได้แก่
1.1) นายตูแวอารง มะหะมะเซ็ง อยู่บ้านเลขที่ 22 หมู่ 6 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
1.2) นายมูหาหมัดไซร์นู กอเซ็ง อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ 2 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
1.3) นายมาหามะอาซีมี อาแว อยู่บ้านเลยที่ 10/2 หมู่ 4 ตำบลมูโน๊ะ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
1.4) นายอาแวเล๊าะ ปะจูกูเล็ง อยู่บ้านเลขที่ 59/8 หมู่ 3 ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
1.5) นายมะกอเซ็ง มามะ อยู่บ้านเลขที่ 102/1 หมู่ 5 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
1.6) นายอับดุลตอเล๊ะ แซตอ อยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ 1 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

สำหรับผู้เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลทั้ง 6 รายดังกล่าว ได้รับข้อมูลจากคำชี้แจงของแพทย์หญิงนิตยา เพ็งคล้าย แพทย์ผู้ชันสูตรศพในวันเกิดเหตุว่า ผู้เสียชีวิตทั้งหมดถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลตากใบ ในจำนวนนั้น 4 ราย สภาพศพมีบาดแผลถูกยิ่งที่ศีรษะ โดยกระสุนปืนเข้าสมองด้านหลังและเป็นการยิงจากระยะไกลด้วยปืนที่มีอำนาจทะลุสูง รายที่ 5 ถูกยิ่งที่ช่องอก และรายสุดท้ายถูกยิ่งที่มือและขา

2) ผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547 และเสียชิวิตในวันเดียวกัน จำนวน 1 ราย คือ นายเปาซี เจ๊ะมามะ อยู่บ้านเลขที่ 76 หมู่ 3 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยมีบาดแผลถูกยิงที่หน้าอกซ้าย

3) ประชาชนได้รับบาดเจ็บ จำนวน 10 ราย ซึ่งมีบาดแผลจากการถูกยิงจำนวน 6 ราย

4) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 1 ราย มีบาดแผลจากการถูกยิงเป็นรูบริเวณไหล่ขวา

โรงพยาบาลตากใบ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2547) ได้มีหนังสือแจ้งรายชี่อผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม สรุปได้ดังนี้
1. ได้รับบาดเจ็บ 21 คน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ 8 คน และประชาชน 13 คน
2. เสียชีวิต 1 คน เป็นประชาชน

ข้อมูลจากแถลงการณ์ของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา

คณะกรรมาธิการฯ พบหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น การใช้ความรุนแรงเกินกว่าที่ได้ชี้แจงไว้ โดยเจ้าหน้าที่ได้ยิงปืนที่บรรจุกระสุนจริงเข้าใส่ผู้ชุมนุมประท้วง ทั้งนี้ นอกจากจะมีผู้ชุมนุมประท้วง 6 คน ถูกยิงเสียชิวิตแล้ว ยังปรากฏว่ามีผู้ชุมนุมประท้วงที่ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนทั้งที่อาการสาหัสและไม่สาหัสอีก 11 คน นอกจากนี้ ยังยืนยันได้ว่า มีการทุบตีและทำร้ายร่างกายผู้ชุมนุมประท้วง ทั้งในระหว่างที่มีการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วง และภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวเพื่อส่งไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ในประเด็นนี้ คณะกรรมาธิการฯ พบว่า การใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมประท้วง โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ยิงปืนที่บรรจุกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงนั้น น่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุ และขัดกับหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลัง และการใช้อาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกำหนดว่า ก่อนที่จะใช้กำลังนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรงให้ถึงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เสียก่อน และเมื่อการใช้กำลังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง และด้วยความยับยั้งชั่งใจ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสมกับเหตุความร้ายแรงของสถานการณ์ ซึ่งความชอบธรรมของวัตถุประสงค์ในการใช้กำลังนั้น อยู่ที่การพยายามรักษาชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยให้เกิดความเสียหายและการบาดเจ็บน้อยที่สุด

คณะกรรมาธิการฯได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้เตรียมการจะจับกุมแกนนำผู้ชุมนุมประท้วง โดยได้ถ่ายภาพเอาไว้ด้วยวีดีโอและภาพนิ่ง เพื่อกำหนดตัวบุคคลที่ต้องการจับกุมเอาไว้ก่อนประมาณ 100 คน พร้อมกันนั้นก็ได้เตรียมรถจีเอ็มซี 4 คัน จากค่ายอิงคยุทธบริหาร ไปรอไว้เพื่อเตรียมขนย้ายบุคคลเหล่านั้น แต่ต่อมามีการสลายการชุมนุม บุคคลที่เจ้าหน้าที่ต้องการจับกุมได้กระจายไปปะปนกับฝูงชนที่เข้าร่วมการชุมนุมประท้วง การที่เจ้าหน้าที่ได้เข้าสลายการชุมนุม แล้วให้ผู้ชุมนุมถอดเสื้อ มัดมือไพล่หลัง ทำให้ไม่สามารถเลือกจะกุมเฉพาะบุคคลที่ต้องการตัว 100 ที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่า เป็นแกนนำการชุมนุมประท้วงได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงกวาดจับผู้ชุมนุมประท้วงไป 1,298 คน เพื่อตรวจสอบ

3.5 การควบคุมผู้ชุมนุม ณ ที่เกิดเหตุ

ข้อมูลและความเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นายราชัณย์ สารวรางกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า ในเวลาประมาณ 17.00 น.ได้เดินทางเข้าไปในที่เกิดเหตุ เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งอยู่ในเหตุการณ์มาตลอด ต้องออกไปรับนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมาจังหวัดนราธิวาส ตนจึงได้เข้าไปดูแลสถานการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องแทน และได้เห็นว่า ผู้ชุมนุมประมาณกว่าหนึ่งพันคนถูกถอดเสื้อ จับมัดมือนอนคว่ำ ผู้ที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำขึ้นมาหมดแล้ว บริเวณถนนโล่งไม่มีการจับกลุ่ม เมื่อดูเหตุการณ์แล้ว ในส่วนของผู้ชุมนุมที่เป็นผู้หญิงและเด็ก ได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจดบันทึกชื่อและที่อยู่ไว้และปล่อยตัวไปในทันที

นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ปลัดจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า หลังจากสลายการชุมนุมแล้ว เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้ควบคุมตัวผู้ชุมนุมและผู้ที่มาดูเหตุการณ์ได้ประมาณพันกว่าคน สำหรับผู้หญิงและเด็กที่อยู่ในบริเวณที่ชุมนุมถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจดชื่อและที่อยู่ไว้ และปล่อยตัวในทันที กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณพันกว่าคนที่ถูกควบคุมตัวแล้ว ถูกถอดเสื้อ ใช้เชือกมัดมือไขว้หลัง และนอนคว่ำหน้ากับพื้น

ทหารค่าอิงคยุทธบริหาร ชี้แจงว่า สาเหตุที่ต้องควบคุมตัวผู้ชุมนุมด้วยการให้ถอดเสื้อและมัดมือไขว้หลังนอนคว่ำหน้า เป็นยุทธวิธีทางทหารที่ใช้ในการควบคุมตัวเชลย เพื่อป้องกันการต่อสู้หรือหลบหนี

ข้อมูลจากประชาชน
ส่วนใหญ่ให้การตรงกับว่าเมื่อถูกจับกุม จะถูกถอดเสื้อและถูกเอามือไขว้หลัง เอาเชือกมัดบ้าง เอาเสื้อของตนมัดบ้าง และให้นอนคว่ำหน้า โดยไม่คำนึงว่าจะถูกจับกุมบริเวณใด บางคนจึงถูกบังคับให้นอนคว่ำหน้าโดยร่างกายอยู่ในน้ำส่วนหนึ่ง ระหว่างการจับกุมจะถูกเตะ ต่อย เหยียบ หรือถูกกระชาก และถูกกระทำด้วยความรุนแรงต่างๆ จากนั้นจะให้นอนคว่ำหน้านิ่งๆ ไม่ให้เคลื่อนไหวหรือส่งเสียงแต่อย่างใด โดยเฉพาะห้ามเงยหน้าหรือยกหัวขึ้นเพื่อรับรู้สภาพการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และไม่มีการตรวจสอบผู้บาดเจ็บเพื่อทำการรักษาแต่อย่างใด ผู้ถูกจับกุมนอนอยู่ในลักษณะเช่นนั้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง จึงได้รับคำสั่งให้เคลื่อนตัวไปขึ้นรถในลักษณะของการคืบคลานไปโดยใช้ลำตัว

ข้อมูลจากภาพวีดีทัศน์
หลังจากมีการสลายการชุมนุมแล้ว ในภาพเหตุการณ์พลว่าเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ผู้หญิงและเด็กเล็กที่อยู่ในที่ชุมนุมถูกแยกออกจากกลุ่มผู้ชุมนุมผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ เฉพาะเด็กผู้ชายให้ถอดเสื้อ และนั่งลงโดยไม่ต้องนอนคว่ำหน้า
2. กลุ่มผู้ชุมนุมผู้ชายถูกถอดเสื้อ ให้นอนคว่ำหน้า ถูกมัดมือไขว้หลังด้วยเชือก เสื้อ หรือเข็มขัด สำหรับการมัดมือไขว้หลังด้วยเชือกมีลักษณะที่มัดทั้งเป็นรายคน และมัดโยงตัดกันหลายๆ คน เป็นแนวยาว
3. ระหว่างการควบคุมมีการคัดแยกกลุ่มผู้ชุมนุมผู้ชายออกไป ในลักษณะดึงขึ้นเหมือนหิ้วของเพื่อให้ยืนขึ้น บางคนถูกฉุดกระชาก ลาก ถูไปกับพื้น และมีการตบ เตะ และกระทืบทั้งที่ยังถูกมัดมืออยู่
4. มีภาพการคลานจากพื้นที่ด้านล่างบริเวณริมแม่นำ ขึ้นมายังบริเวณสนามเด็กเล่นหน้า สภ.อ.ตากใบ ในลักษณะให้ใช้ร่างกายไถไปข้างหน้า
5. มีเสียงจากภาพวีดีทัศน์ ว่าทหารหรือตำรวจส่งเสียงห้ามว่า อย่าไปทำเขา ทำให้เข้าใจได้ว่ามีการกระทำและห้ามไม่ให้กระทำในลักษณะรุนแรงกับผู้ชุมนุม

3.6 การขนส่งผู้ถูกควบคุมตัวไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร

ข้อมูลและความเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ปลัดจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า มีการขนย้ายผู้ถูกควบคุมตัว รวม 2 ชุด ชุดที่หนึ่ง ขนย้ายเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. เป็นผู้ชุมนุมที่บริเวณหน้า สภ.อ.ตากใบประมาณ 300 คน ถูกส่งไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร ใช้รถยนต์ของหน่วยงานทหารพรานประมาณ 7 - 8 คัน แต่ละคันบรรทุกคนแน่นพอสมควร และเห็นว่าผู้ถูกควบคุมที่อยู่บนรถยนต์บางคันได้ยืนไป แต่ตนมิได้สังเกตทุกคัน สำหรับชุดที่สองอีกกว่าพันคน นอนคว่ำหน้าอยู่ที่บริเวณริมแม่น้ำ เพื่อรอรถยนต์มารับชุดนี้ซึ่งใช้เวลานาน เนื่องจากจำนวนคนมาก ทั้งนี้ ตนได้ออกจากพื้นที่ไปช่วงเวลาหนึ่งแล้วกลับเข้าไปอีกครั้งเวลาประมาณ 18.00 น. ขณะนั้นยังมีการขนย้ายผู้ที่ถูกควบคุมอยู่ จนกระทั่งเวลาประมาณ 19.00 น. ขบวนรถขนผู้ถูกคบคุมส่วนที่เหลือทั้งหมดจึงเคลื่อนขบวนออก สำหรับการขนย้ายชุดที่สองได้มีเจ้หน้าที่ตำรวจและทหารเป็นผู้ควบคุมประจำท้ายรถยนต์ทุกคัน คันละ 2 3 คัน แต่ตนไม่ได้สังเกตว่าผู้ถูกควบคุมนั่งหรือนอนบนรถยนต์ดังกล่าว

นายราชัณย์ สารวรางกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่าระหว่างเวลาประมาณ 18.3019.00 น. มีการนำผู้ชุมนุมเดินขึ้นรถยนต์ และตนได้ออกจากสถานที่เกิดเหตุเวลาประมาณ 20.00 น.

พลตรีสินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ชี้แจงว่า ในวันเกิดเหตุได้ประจำอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหารและได้รับมอบหมายให้จัดเตรียมสถานที่และอาหารสำหรับผู้ที่จะถูกควบคุมตัว จำนวน 300 คน สำหรับการสลายการชุมนุม ทหารจะมีหน่วยปราบจลาจลที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะ การสลายการชุมนุมไว้มากเกินกว่าที่คาดการณ์ ทำให้รถยนต์ที่เตรียมไว้ไม่พอแก่การใช้ขนย้ายผู้ที่ถูกควบคุมตัว จึงมีการประสานงานเพื่อขอยืมรถยนต์ใช้ในภารกิจดังกล่าว จากทั้งหน่วยทหารอื่นๆ และหน่วยงานราชการและเอกชน ส่วนในช่วงที่มีการขนย้ายผู้ชุมนุมระหว่างทาง พบว่า มีการโรยตะปู (เรือใบ) ทำให้การขนย้ายผู้ถูกควบคุมเป็นไปด้วยความล่าช้าเนื่องจากต้องมีการเคลียร์พื้นที่ ซึ่งต้องใช้เวลามากพอสมควร เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความปลอดภัย

พันเอกเอกศักดิ์ สังข์ศิริ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 ได้แจ้งว่า ขบวนรถยนต์ที่ขนย้ายผู้ถูกควบคุมได้ไปถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร เวลาประมาณ 22.00 น.

แพทย์โรงพยาบาลตากใบและแพทย์โรงพยาบาลปัตตานี ชี้แจงว่า มีคนไข้ที่บาดเจ็บจากการถูกกดทับ ทำให้แขน ขาบวมมาก บางรายกล้ามเนื้อตายและต้องตัดของทิ้ง บางรายขาดน้ำเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

ข้อมูลจากประชาชน

ผู้ถูกควบคุมตัว จากถ้อยคำของผู้ถูกคบคุมตัวหลายราย ให้ข้อมูลสอดคล้องกันว่า พวกตนถูกบังคับให้เดินขึ้นรถยนต์ที่ถูกส่งมาทำการขนย้าย หากผู้ใดไม่สามารถขึ้นรถยนต์ได้ก็ถูกจับโยนขึ้น เมื่อขึ้นไปบนรถยนต์แล้ว ก็ถูกบังคับให้นอนคว่ำทั้งๆ ที่ถูกมัดมือไขว้หลัง มีการนอนทับกันเป็นชั้นๆประมาณ 4 5 ชั้น ทำให้ผู้ที่นอนอยู่ชั้นล่างๆ ถูกกดทับและถึงแก่ความตาย บางคนได้รับบาดเจ็บ มากบ้างน้อยบ้างบางรายต้องถูกตัดขา

ผู้อยู่ในเหตุการณ์คนหนึ่ง ชี้แจงว่า ได้ติดตามเหตุการณ์โดยตลอด แม้ไม่ได้เข้าไปที่บริเวณที่มีการชุมนุมในเวลาประมาณ 16.30 น. เห็นรถยนต์ของทหารบรรทุกผู้ที่ถูกควบคุมตัวจากเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปทางจังหวัดปัตตานี บางคันเห็นว่าผู้ถูกควบคุมได้นั่งอยู่ท้ายกระบะรถยนต์ แต่บางคันมีผ้าปิด มองไม่เห็นว่าบรรทุกอะไร ส่วนอีกคนหนึ่งชี้แจงว่า ได้ไปร่วมการฝังศพผู้เสียชีวิตไม่มีญาติ ซึ่งเป็นศพจากค่ายอิงคยุทธบริหาร พบว่าบางศพมีรอยถูกยิง

3.7 การควบคุมผู้ถูกควบคุมตัว ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร

ข้อมูลและความเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
พลตรีสินชัย นุตสถิตย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้แจ้งว่า ขบวนรถยนต์ที่ขนย้ายผู้ถูกควบคุมไปถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น. และได้มีการนำตัวผู้ที่ถูกควบคุมส่วนหนึ่งเข้าสถานที่ควบคุมที่จัดไว้ส่วนที่เหลือได้จัดให้อยู่ในเต๊นท์ สำหรับผู้ที่เสียชีวิตจากกการขนย้ายพบว่ามีจำนวน 78 คน จึงได้ถ่ายรูปและปิดประกาศไว้เพื่อให้ญาติมารับศพ ในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตปรากฏว่า ไม่มีญาติมารับศพ จำนวน 21 ศพ จึงได้มีการตกลงการตกลงให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดรับไปประกอบพิธีทางศาสนา ทั้งนี้ในค่ายอิงคยุทธบริหาร ในวันดังกล่าวมีแพทย์ประจำหนึ่งคน

ค่ายอิงคยุทธบริหารให้ผู้ถูกควบคุมโทรศัพท์แจ้งข่าวให้ญาติได้รับทราบ ประมาณคนละ 1 นาที ต่อมามีการทำประวัติรายละเอียดและตรวจ DNA ของผู้ถูกควบคุม ครั้นวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2547 ได้ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมที่อายุต่ำกว่า 18 ปี วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2547 ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมจำนวนกว่า 900 คน ส่วนผู้ที่เหลือถูกควบคุมไว้ก่อน เพราะบางส่วนมีข้อสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ จำเป็นต้องซักถามปากคำ และบางส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจประสานรับตัวไปดำเนินคดีที่มีการแจ้งความให้ดำเนินคดีอยู่ หรือเป็นผู้ต้องหาในคดียาเสพติด อย่างไรก็ตาม ได้มีการซักถามประวัติและเรื่องเกี่ยวกับการชุมนุมจากผู้ที่ถูกควบคุมตัวทุกคน ต่อมาวันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 ได้ส่งผู้ที่ยังถูกควบคุมตัว ประมาณ 130 คน ไปรับการอบรมที่ค่ายรัตนพล กองพลพัฒนาที่ 4 จังหวัดสงขลา เป็นเวลา 42 วัน ส่วนที่เหลืออีก 58 คน จะถูกดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดปัตตานี สำหรับทรัพย์สินส่วนตัวขอผู้ถูกควบคุมยังมีผู้ที่ไม่ได้มาขอรับคืนอีกมากมาย เนื่องจากมีปัญหาเรื่องหลักฐานที่ระบุว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริง

ข้อมูลจากประชาชน
ผู้ถูกควบคุมตัว ได้ชี้แจงดังนี้
บางคนชี้แจงว่า เมื่อถึงค่ายอิงคยุทธบริหารได้ถูกสั่งให้ลงจากรถยนต์ ผู้ใดลงไม่ได้ เจ้าหน้าที่ก็จับโยนลงไป และมีหลายคนที่ถึงแก่ความตายในรถคันที่ขนส่งมา ส่วนมากเป็นคนที่นอนอยู่ชั้นล่าง

บางคนชี้แจงว่า ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง แต่กว่าจะได้รับการรักษา (ส่งไปโรงพยาบาล) ก็เป็นเวลาเย็นของวันรุ่งขึ้น ระหว่างนั้นได้พักอยู่ในเต๊นท์กลางสนามหญ้า

บางคนชี้แจงว่า ได้ดื่มน้ำครั้งแรกประมาณ 23.00 น. ของวันที่เกิดเหตุ และได้รับประทานอาหารมื้อแรก (หลังจากเกิดเหตุ) ประมาณเวลา 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ระหว่างถูกควบคุมตัวได้รับอนุญาตให้ทำละหมดตามศาสนพิธีได้

บางคนชี้แจงว่า ได้รับประทาอาหารมื้อแรก (หลังจากเกิดเหตุ) ประมาณตอนเย็นของวันรุ่งขึ้น และกว่าจะได้อาบน้ำก็ผ่านการถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 2 วันแล้ว

บางคนชี้แจงว่า ได้รับทรัพย์สินส่วนตัวที่ถูเจ้าหน้าที่ยึดไปคืนไม่ครบ อาทิ โทรศัพท์ นาฬิกา แหวน เงินสด เป็นต้น ครั้นได้รับการปล่อยตัวก็ยังไม่ได้รับคืน

บางคนชี้แจงว่า ระหว่างถูกควบคุมไม่สามารถติดต่อญาติพี่น้องหรือเพื่อน และผู้ถูกควบคุมที่ได้รับบาดเจ็บไม่มากไม่ได้รับการรักษาพยาบาล

บางคนชี้แจงว่า ระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายด้วยการเตะ

บางคนชี้แจงว่า ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม แต่ได้ได้รับการรักษาพยาบาล ต่อมาได้รับการปล่อยตัวไปในสภาพที่เหมือนคนพิการ การเดินไม่ปกติเหมือนเดิม แขนลีบยกไม่ขึ้น หัวไหล่ถลอกติเชื้อมีหนอง

4. สภาพศพผู้เสียชีวิตที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี

ข้อมูลและความเห็นจากสมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ นายโสภณ สุภาพงษ์ แจ้งว่า ได้เดินทางไปถึงค่ายอิงคยทธบริหาร ในวันที่มีการปิดประกาศให้ญาติผู้เสียชีวิตไปดูรูปและติดต่อขอรับศพได้ และญาติของผู้เสียชีวิตประมาณ 5-6 คน ได้สนทนากัน และตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมเจ้าหน้าที่จึงยังไม่อนุญาตให้เข้าไปรับศพ ต่อมาได้ขออนุญาตแม่ทัพและรองแม่ทัพภาค 4 เพื่อขอเข้าไปดูศพ และได้กล่าวกับรองแม่ทัพภาค 4 ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องให้ญาติกับกรรมการอิสลามนำศพไปประกอบพิธีทางศาสนา เพราะเสียชีวิตเกินกว่า 1 วันแล้ว

นอกจากนี้ ได้เห็นศพที่ถูกวางไว้กับพื้นสนาม สภาพศพโดยทั่วไปดำคล้ำแยกแยะไม่ออกว่าโดนอะไร บางศพเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกำลังทำความสะอาด สภาพศพที่เห็นค่อนข้างบวม มีสภาพไม่ดีอย่างมาก มีกลิ่นแรงรับรู้ได้ไกล ในการดูศพดังกล่าวได้สอบถามกับทีมงานของแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันทน์ ได้เก็บข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับศพทั้งหมดแล้ว จึงไม่ได้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับศพและไม่ได้พิสูจน์อย่างใกล้ชิด แต่ได้ถ่ายภาพศพไว้เป็นหลักฐาน นอกจากนี้ได้พบกับบิดา มารดา ของผู้เสียชีวิตรายหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูศพ เมื่อเห็นศพแล้วไม่สามารถจำได้ เพราะมีสภาพเขียวบวมไม่เป็นรูปร่างที่สามารถจำได้แล้ว แต่บิดาได้กล่าวว่า จำได้หรือไม่ก็คงจะต้องเอาไปทำพิธีทางศาสนา

ข้อมูลจากเว็บไซต์
ข้อมูลจาก www.manager.co.th (เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ) ในวันที่ 27 ตุลาคม 2547 และวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 ระบุว่า แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่า สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 78 คน จากกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่ สภ.อ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เกิดจากขาดอากาศหายใจเนื่องจากการถูกกดทับ และไม่พบว่าเกิดจากการขาดอากาศหายใจเนื่องจากถูกคลุมด้วยถุงดำ สภาพศพเกือบทั้งหมดไม่มีบาดแผลฉกรรจ์ กระดูกหักหรือรอยกระสุน ส่วนที่เหลืออีก 5-6 ศพ พบว่ามีบาดแผลฉกรรจ์

ข้อมูลจากคำร้องไต่สวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต 78 ราย
คำร้องไต่สวนชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ ช 2/2548 ศาลจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 13 มากราคม 2548 สรุปคำร้องได้ว่า พลโทพิศาล วัฒนวงษ์คีรี แม่ทัภาค 4 ได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มีคำสั่งให้สลายการชุมนุม และเจ้าหน้าที่สามารถคบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบได้ และใช้อำนาจตามมาตรา 15 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ควบคุมตัวนายมาหามะ เล๊าะบากอ กับพวก 78 คน และกลุ่มผู้ชุมนุมอื่น จำนวนทั้งสิ้น 1,289 คน และนำตัวกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวแยกย้ายกันขึ้นรถยนต์บรรทุกของทางราชการไปกักตัวไว้เพื่อสอบถาม หรือตามความจำเป็นของทางราชการ ซึ่งสามารถกระทำได้ตามกฎหมาย ที่เรือนจำค่ายอิงคยทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เนื่องจากเป็นเหตุเร่งด่วนต้องรีบนำกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวออกจากสถานที่ชุมนุมโดยเร็ว แต่เนื่องจากระยะทางจากสถานที่ชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปยังค่ายอิงคยุทธบริหารมีระยะทางไกล ใช้เวลาในการขนย้ายพอสมควร ประกอบกับกลุ่มผู้ชุมนุมนับถือศาสนาอิสลาม อยู่ในระหว่างถือศีลอด งดรับประทานอาหารและน้ำในเวลากลางวัน จึงมีสภาพร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อควบคุมตัวถึงค่ายอิงคยุทธบริหาร ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุม 78 คน ถึงแก่ความตาย

ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพศพของผู้เสียชีวิตที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ข้อมูลที่ได้รับทราบจากทางราชการกับข้อมูลของญาติผู้เสียชีวิต และอาสาสมัครจังหวัดนราธิวาสที่ช่วยทำความสะอาดศพผู้เสียชีวิต ไม่ตรงกัน ซึ่งในประเด็นนี้คณะอนุกรรมการฯ ก็ยังไม่มีโอกาสได้รวบรวมข้อเท็จจริงให้ได้ความชัดเจน เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลา และติดขัดกับหลักของศาสนาในการชันสูตรศพ

5. ข้อมูลจากการเยี่ยมครอบครัว/ผู้ชุมนุมที่สภอ.ตากใบ


เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะได้เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีตากใบ ได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

1. นายมาหะมะมาโซ ตีมะซา อายุ 27 ปี อยู่บ้านเลขที่ 96 หมู่ที่ 6 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อาชีพตัวแทนเก็บค่าไฟฟ้าหมู่บ้าน รายได้เดือนละ 2000 บาท ซึ่งเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่อำเภอตากใบ และพี่ชายเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว (นายอับดุลรอซ๊ะ ตีมะซา) ได้รับแจ้งว่ายังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใดๆ จากทางราชการตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้ เนื่องจากพี่ชายเป็นผู้เสียชีวิตที่ตรวจสอบแล้วไม่มีหลักฐานยืนยันจากญาติ และมีการทำพิธีฝังศพไม่มีญาติในระยะแรก ต่อมาภายหลังครอบครัวรวบรวมหลักฐานยืนยันได้ว่าพี่ชายเป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์

มารดาของนายมาหามะมาโซฯ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บุตรชายเสียชีวิต 1 คน และบุตรชายอีกคนต้องรักษาอาการป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีก อันเนื่องมากจากการถูกกดทับในระหว่างขนย้ายผู้ชุมนุม บุตรชายทั้ง 2 คนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฎยะลา ขณะนี้นายมาหะมะมาโซถูกส่งตัวกลับจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ทั้งที่อาการบาดเจ็บยังต้องได้รับการรักษาเยียวยาและฟื้นฟูด้วยวิธีทางการแพทย์ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาการบาดเจ็บจึงยังไม่ดีขึ้นเลย

ความต้องการความช่วยเหลือ
-ต้องการให้ทางราชการรักษาอาการบาดเจ็บให้สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพและครอบครัวต่อไป
-ต้องการให้ทางราชการจัดหาอาชีพให้
-ต้องการให้ทางราชการจ่ายเงินทดแทนกรณีพี่ที่ชายเสียชีวิต (นายอับดุลรอซ๊ะ ตีมะซา)
-ต้องการให้ทางราชการจ่ายเงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง

2.นายมะลีกี ดอเลาะ อายุ 27 ปี อยู่บ้านเลขที่ 105 ตำบลบางปอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส อาชีพ รับจ้างกรีดยาง และรับจ้างทั่วไป รายได้วันละ 200 บาท ให้ข้อมูลว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการสลายการชุมนุม นายมะลีกีฯ ถูกควบคมตัวขึ้นรุนำไปค่ายอิงคยุทธบริหารจังหวัดปัตตานี โดยให้นอนบนรถบรรทุกในลักษณะถูกทับอยู่ชั้นล่างสุด และได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกกดทับในขณะอยู่บนรถบรรทุกในลักษณะถูกทับอยู่ชั้นล่างสุก และได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกกดทับในขณะอยู่บนรถบรรทุก ปัจจุบันมีอาการแขนทั้งสองข้างไม่มีแรง ถูกตัดขาขวา และไม่สามารถช่วยเหลือตนได้

ความต้องการความช่วยเหลือ
-ต้องการค่าชดเชยที่สูญเสียขาและได้รับบาดเจ็บถึงขั้นพิการ ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้
-ต้องการให้ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง

3. นายเจะบูฮาลี ดอรอนิง อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 273 ม.4 ตำบลประลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส อาชีพค้าขายกับข้าว และรับจ้างกรีดยาง ให้ข้อมูลว่า ได้เดินทางไปขายกับข้าวใกล้กับโรงพยาบาลตากใบ ในขณะที่มีเหตุการณ์ชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ นายเจ๊ะบูฮารีฯ อยู่ใกล้กับบริเวณห้องสมุด และถูกควบคุมตัวหลังจากที่มีการสลายการชุมนุม โดยถูกนำตัวขึ้นรถบรรทุกในลักษณะท่านั่ง และมีคนนอนทับขาซ้อนกัน 4 คน ทำให้ขาทั้งสองข้างชามากไม่สามารถเดินได้และขาทั้งสองข้างมีบาดแผลลึก ขาทั้งสองข้างอ่อนแรงไม่สามารถยืนและเดินได้ตามปกติ

ความต้องการความช่วยเหลือ
-ต้องการได้รับค่าชดเชยเนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมทำให้ไมสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ

4. นายมียามี อาโอ๊ะ อายะ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 4 ม. 8 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส อาชีพค้ารับจ้างกรีดยาง (อาชีพเสริมเป็นหมดนวด) รายได้วันละ 200 บาท ให้ข้อมูลว่ามีคนจ้างให้ไปนวด หลังจากเสร็จงานกำลังจะกลับได้เห็นเหตุการณ์ชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จึงยืนดูเหตุการณ์และถูกกันไว้ไม่สามารถกับออกมาได้

ความต้อการความช่วยเหลือ
-ต้องการได้รับค่าชดเชย เนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ

5. นายนุบฮัน มะกอเซ็ง อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2/2 ม.8 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส อาชีพ รับจ้างก่อสร้างในประเทศมาเลเซีย รายได้วันละ 450 บาท ให้ข้อมูลว่า เดินทางไปซื้อของที่ประเทศมาเลเซีย พร้อมกับบิดา (นายมะกอเซ็ง ดอเลาะ) และถูกควบคุมตัวในการเห็นเหตุการณ์ชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ในการสลายการชุมนุม นายนุบฮันฯถูกควบคุมตัวบริเวณริมแม่น้ำ สำหรับบิดาสูญหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาภายหลังจึงทราบว่าบิดาเสียชีวิตในการควบคุมตัว นายนุบฮันฯได้ถูกนำตัวขึ้นรถบรรทุกในลักษณะนอนทับซ้อนกัน 4-5 คน ทำให้ได้รับบาดเจ็บ คือข้อข้อเท้าหลุด ขาข้างขวาบวมมาก ต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดอาการบวม ทำให้ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ

ความต้องการความช่วยเหลือ
-ต้องการได้รับค่าชดเชย เนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ

6. เด็กชายแวดี มะซุ๊ อายุ 14 ปี อยู่บ้านเลขที่ 48 ม. 3 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ให้ข้อมูลว่า ได้อยู่เห็นเหตุการณ์ชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ พร้อมกับพี่ชาย (นายซัมซูดิน มะซุ๊) เนื่องจากบ้านพักอยู่ใกล้สถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ในการสลายการชุมนุมเด็กชายแวดีฯ ได้นั่งดูเหตุการณ์อยู่บริเวณขอบรั้ว และถูกยิงที่โคนขาทั้งสองข้างและบริเวณหน้าผากต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน ทำให้ตากซ้ายบอด ส่วนพี่ชายเสียชีวิตจากเหตุการณ์

ความต้องการความช่วยเหลือ
-ต้องการได้รับค่าชดเชย เนื่องจากได้รับบาดเจ็บและตาซ้ายบอด
-ต้องการได้รับค่าชดเชย เนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม

7. นายกอเซ็ง มางเส็ง อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 106/1 ม. 9 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสให้ข้อมูลว่า ได้เดินทางไปทำงานตามปกติที่โรงน้ำแข็งใกล้กับสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ในขณะที่การชุมนุมไม่สามารถออกมาจากที่เกิดเหตุได้ เพราะถูกกันไว้ไม่ให้ออกในการสลายการชุมนุม นายกอเซ็งฯ ถูกยิงที่ใต้แขนขวา ทำให้แขนขวาไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ

ความต้องการความช่วยเหลือ
-ต้องการค่าชดเชยระหว่างที่ไม่ได้ทำงาน
-ต้องการค่าชดเชยที่ถูกยิงแขนขวาพิการ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ
-ต้องการเงินช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตร และค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง

8. นายสานูสี เจาะแบบ อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 73 ม. 3 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อาชีพรับจ้าง อยู่ประเทศมาเลเซีย ให้ข้อมูลว่า ได้เดินทางไปที่อำเภอตากใบเพื่อถ่ายรูปทำพาสปอร์ตใช้ในการเดินทางไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งร้านถ่ายรูปอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ในขณะที่มีการชุมนุมไม่สามารถออกมาจากที่เกิดเหตุได้ ในการสลายการชุมนุม นายสานูสีฯ ถูกควบคุมตัวนำขึ้นรถบรรทุกไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ในลักษณะนอนทับซ้อนกันหลายชั้น ซึ่งนายสานูสีฯ ถูกทับอยู่ชั้นล่างสุด ได้รับบาดเจ็บที่แขนและมือขวาไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ไม่สามารถกำมือและพลิกแขนขวาได้

ความต้องการความช่วยเหลือ
-ต้องการเงินชดเชยกรณีมือและแขนพิการ
-ต้องการให้จัดหาอาชีพให้ เนื่องจากมีภาระต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว คือมารดา และน้องสาวซึ่งกำลังศึกษาอยู่
-ต้องการให้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการศึกษาของน้องสาว
-ต้องการให้ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่อง

9. ได้เดินทางไปบ้านเลขที่ 67 หมู่ 6 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ได้รับแจ้งว่า บุตรชายของเจ้าของบ้านชื่อ นายมะหาหมัดอาบี เจ๊ะโซ๊ะ เสียชีวิตจากเหตุการณ์ข้างต้น ยังไม่ได้รับการติดต่อประสานงานจากเจ้าหน้าที่ของรัฐจากหน่วยงานใดๆ และขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากรัฐบาลในกรณีผู้เสียชีวิต

10. นายกอเซ็ง ดอรี ซึ่งมีบุตรชายอยู่คนเดียวให้ข้อมูลว่า บุตรชายเข้าไปดูเหตุการณ์จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่อำเภอตากใบ และถูกยิงเสียชีวิตโดยมีบาดแผลถูกปืนยิงจากด้านหลัง และเสียเลือดมาก และบิดาซึ่งมีอายุมากแล้วยังมีอาการเศร้าโศกเสียใจต่อการตายของลูกชายและยังทำใจไม่ได้

6. การดำเนินการเพื่อเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่สภ.อ.ตากใบ

การเยียวยาความเสียหายให้ผู้ได้รับผลกระทบ ปรากฏข้อมูล ดังนี้
นายราชัญย์ สารวรางกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ชี้แจงว่า ในเบื้องต้นได้สั่งการให้ทุกอำเภอจัดเจ้าหน้าที่ อำเภอละ 2 คน เข้าไปแสดงความเสียใจและชี้แจงทำความเข้าใจกับครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตหรือถูกจับ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ชี้แจงว่า ทางราชการได้ช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ญาติผู้เสียชีวิตในกรณีนี้โดยช่วยเหลือเป็นเงินศพละ 10,000 บาท

เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ชี้แจงว่า กรมสุขภาพจิตได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำความเข้าใจและฟื้นฟูจิตใจของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้แล้ว

ทางราชการ ประกาศว่า จะช่วยเหลือเป็นเงินให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตรายละ 100,000 บาท
ประชาชน ผู้ได้รับความเสียหายบางรายชี้แจงว่า ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือตามที่ทางราชการประกาศ ทั้งค่าทำศพในเบื้องต้นศพละ 10,000 บาท และเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตรายละ 10,000 บาท โดยเฉพาะครอบครัวผู้เสียชีวิตที่ทำพิธีฝังศพไปก่อนที่จะตรวจสอบได้ว่า ผู้เสียชีวิตดังกล่าวเป็นบุคคลในครอบครัว จำนวน 22 ราย ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ

ข้อมูลจากคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส
คณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส ได้แจ้งว่า นอกเหนือจากการช่วยเหลือจากทางราชการแล้ว คณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาสได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงที่ สภ.อ.ตากใบ ได้แก่ เด็กกำพร้า จำนวน 85 คน มีองค์กรต่างๆ ที่ให้การช่วยเหลือดังนี้

1. สำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาส จำนวน 230,860 บาท
2. สมาคมยุวไทยมุสลิมแห่งประเทศไทย และ พรรคพาซ มาเลเซีย จำนวน 130,000 บาท
3. สมาคมยุวมุสลิมมาเลเซีย จำนวน 527,000 บาท
4. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม จำนวน 740,528 บาท
5. ชมรมสื่อสารมุสลิม (นายปริญวิทย์ อิสมาแอล) จำนวน 270,000 บาท

ข้อมูลเบื้องต้นจากการรวบรวมของคณะกรรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จากการสุ่มตัวอย่างผู้ที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากเหตุการณ์รุนแรงที่หน้า สภ.อ.ตากใบ จำนวน 10 ราย พบว่า บุคคลดังกล่าวมีอายุประมาณระหว่าง 19-30 ปี แต่ละคนมีบุตรหรือพี่น้องประมาณ 5 คน และส่วนมากบุคคลดังกล่าวมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรหรือพี่น้องรวมถึงบิดา มารดาด้วย และในบางกรณีเป็นการได้รับบาดเจ็บถึงขึ้นร่างกายพิการหรือได้รับบาดเจ็บไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (มีภาวะไตวาย) ทำให้ภรรยานอกจากจะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรที่มีหลานคนแล้ว ยังจะต้องดูและสามีที่พิการหรือบาดเจ็บดังกล่าวอีกด้วย

จากการติดตามผลการเยียวยาให้ความช่วยเหลือตามที่ภาครัฐได้ประกาศว่า ได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่เสียชีวิตทุกรายแล้วนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนหลายรายว่า ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใดๆ เลย ในประเด็นนี้ได้ชี้แจงให้ประชาชนได้ทราบ และขอให้อดทนรอและเข้าใจว่าอยู่ในระหว่างขั้นตอนดำเนินการของรัฐ อย่างไรก็ดี หลังจากที่รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีตากใบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการเยียวยาฯแล้ว รวม 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2548 (เลขที่หนังสือ ที่ สม 0003/608 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548) และวันที่ 5 เมษายน 2548 (เลขที่หนังสือ ที่ สม 0003/861 ลงวันที่ 5 เมษายน 2548) ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะได้ติดตามผลการดำเนินการต่อไป

7.การดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุม

พลตรีสินชัย นุตสถิตย์ ได้แจ้งว่า ได้ปล่อยผู้ชุมนุมที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ในวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2547 และในวันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2547 ได้ปล่อยผู้ชุมนุมอีก 900 คนเศษ ส่วนที่เหลือจุถูกกักตัวไว้เพื่อสอบสวนเพิ่มเติม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบแล้วได้แจ้งข้อหา หรือเป็นผู้ที่ต้องคดียาเสพติด หรือมีคดีเดิมอยู่ก่อน หรือจากกการสอบสวนด้านความมั่นคงได้พบข้อสงสัยที่จะต้องสอบถามผู้ชุมนุม ซึ่งหลังจากที่ได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่า ได้ส่งผู้ชุมนุม จำนวน 130 คน ไปรับการอบรมที่ค่ายรัตนพล กองพลพัฒนาที่ 4 จังหวัดสงขลาเป็นเวลา 42 วัน และผู้ชุมนุมจำนวน 58 คนจะถูกดำเนินคดี

คำกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการสอบสวนและตั้งข้อกล่าวหาในความผิดอาญาแก่ผู้ชุมนุม จำนวน 58 คน ทุกคน รวม 5 ข้อหา ได้แก่ เป็นแกนนำในการชุมนุม ร่วมชุมนุมเกิน 10 คน ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ มีอาวุธปืนและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง และทำร้ายเจ้าหน้าที่และได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้สำนักงานให้สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เพื่อพิจารณาดำเนินคดี เมื่อวันที่ 24 มากราคม 2548 ตามคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 96/2548

สรุปคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 96/2548 ของศาลจังหวัดนราธิวาส

ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ระบุคำฟ้องสรุปว่า คดีดังกล่าวเป็นความอาญา ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส โจทก์ และนายอาสะมี อาลีลูวี หรืออาสามิ อารีกูวี กับพวกรวม 58 คน จำเลย โดยระบุฐานความผิดว่า กลุ่มผู้ชุมนุมร่วมกันมั่วสุม ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกเสีย แต่ผู้ที่มั่วสุมไม่เลิกร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สามคน
ขึ้นไป ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์

ข้อสังเกตจากสภาทนายความ
จากการแถลงของฝ่ายทหาร และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่กล่าวว่า ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งมีคดีเดิมอยู่ก่อนนั้น มีข้อน่าสังเกตจากกลุ่มทนายความว่า จากสำนวนคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 96/2548 ของศาลจังหวัดนราธิวาส มิได้มีการระบุถึงประเด็นที่มีคดีเดิมอยู่เลย ประกอบกับทนายความได้ตรวจสออบประวัติทางคดีของผู้ต้องหาทุกคนในท้องที่อำเภอตากใบ และที่ศาลจังหวัดนราธิวาส ปรากฏว่าผู้ต้องหาดังกล่าวไม่เคยต้องโทษคดีใดเลย ในประเด็นนี้อาจจะทำให้พิจารณาได้ว่า ในการควบคุมตัวเพื่อดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมทั้ง 58 คน ไม่เป็นไปตามหลักการของการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา

ข้อมูลจากผู้ถูกดำเนินคดี

1. กรณีที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเกลี้ยกล่อมให้ผู้ถูกดำเนินคดีรับสารภาพ

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ได้พบกับนายสะการิยา ยะโก๊ะ อายุ 23 ปี และนายสุเด็ง บินมะแอ อายุ 42 ปี ผู้ถูกดำเนินคดีกรณีเหตุการณ์ชุมนุมที่บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบได้รับทราบข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 14.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสได้ขอให้กำนันและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเชิญผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวไปหารือเพื่อช่วยเหลือทางคดีที่ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ในการหารือดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดได้แจ้งว่า หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ โทษจะลดลงเหลือเพียงรอลงอาญา และจะให้ช่วยงานราชการโดยให้เป็นอาสาสมัครพัฒนาบ้านเกิด และจะสามารถทำงานอื่นๆ ได้ หลังจากที่ได้หารือแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ให้ผู้ต้องหาทั้ง 58 ราย ลงชื่อในกระดาษที่มีรายชื่อและที่อยู่ของผู้ต้องหาทั้งหมด โดยไม่มีข้อความอื่นใดอีก ซึ่งผู้ต้องหาทุกคนมีความรู้สึกไม่เต็มใจที่จะลงชื่อในเอกสารดังกล่าว

อย่างไรก็ดี จากการรับฟังถ้อยคำของผู้ต้องหาในคดีดังกล่าว เป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้พิสูจน์ทราบให้เป็นที่ยุติตามกระบวนการยุติธรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงในการลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวจะเป็นอย่างไรนั้น จะต้องมีการตรวจสอบต่อไป

2. ผลกระทบจากการถูกดำเนินคดี

ผู้ถูกดำเนินคดี 3 ราย ได้ให้ถ้อยคำเกี่ยวกับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดี ดังนี้

-นายสุเด็ง บินมะแอ อายุ 42 ปี อาชีพประมง อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 3 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส มีบุตรที่ต้องเลี้ยงดู จำนวน 8 คน ภรรยาประกอบอาชีพขายของชำและเย็บผ้า สาเหตุที่อยู่ในที่ชุมนุม เนื่องจากไปเยี่ยมแม่ที่โรงพยาบาลตากใบ เดินทางโดยจักรยานยนต์ไปพร้อมกับภรรยาและลูก 2 คน อายุ 1 ปี 6 เดือน และ 3 ปี และไม่สามารถออกไปจากที่ชุมนุมได้จนกระทั่งถูกจับบริเวณเนินริมแม่น้ำ ในขณะที่ถูกดำเนินคดีไม่สามารถประกอบอาชีพประมงได้ เนื่องจากจะต้องไปรายงานตัวต่อศาลทุก 12 วัน ทำให้ไม่สามารถออกทะเลทำประมงได้ เพราะการออกทะเลทำประมงแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 25 วัน

-นายมามะรีกะห์ บินอุมา อายุ 41 ปี อาชีพรับจ้างก่อสร้าง อยู่บ้านเลขที่ 105 หมู่ 9 ตำบลไพรวัลย์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สาเหตุที่อยู่ในที่ชุมนุมเพราะเดินทางไปซื้อของที่อำเภอตากใบ เมื่อเห็นคนมากจึงเดินเข้าไปดูเหตุการณ์ที่หน้าสภอ.ตากใบ และไม่สามารถเดินทางออกจากสถานที่เกิดเหตุได้ เนื่องจากทหารกันไว้ ถูกจับบริเวณสภอ.ตากใบ ประมาณบ่ายสามโมง และถูกขนย้ายไปที่ค่ายทหาร จังหวัดปัตตานีในขณะที่ถูกดำเนินคดี ไม่สามารถทำงานได้ เพราะอยู่ระหว่างการประกันตัวซึ่งต้องไปรายงานตัวที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาสทุก 12 วัน ทำให้ขาดรายได้ซึ่งปกติมีรายได้วันละ 200 บาท
-นายอับดุลมะยิ สะแตบาโก อายุ 33 อาชีพรับจ้าง อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ 1 ตำบลไพรวัลย์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สถานภาพสมรส ปัจจุบันยังไม่มีบุตร สาเหตุที่เข้าไปอยู่ในที่ชุมนุม เนื่องจากไปซื้อกับข้าวกับภรรยาเพื่อเตรียมไว้เป็นอาหารเย็น เวลาประมาณบ่ายสองโมงครึ่งออกจากสถานที่เกิดเหตุไม่ได้ ได้ยินเสียงโห่ตลอด แต่ไม่รู้ว่าพูดอะไรกัน ประมาณครึ่งชั่วโมงมีการสลายการชุมนุมและได้ยินเสียงปืน แล้วเงียบไป ถูกจับบริเวณสนามเด็กเล่นและรอประมาณ 1 ชั่วโมง จึงถูกให้ขึ้นรถ บนรถมีคนประมาณ 200 คน นอนทับกันไป ตนอยู่ชั้นล่างสุด มีคนทับอีก 3 ชั้น ออกเดินทางประมาณ 17.00 น. ถึงค่ายประมาณ 23.00 น. ขบวนนำรถแล่นไปช้าๆ หยุดเป็นระยะ เมื่อไปถึงมีแพทย์มาแยกคนเจ็บหนักส่งโรงพยาบาล ได้รับประทานน้ำและอาหารเวลาประมาณ 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น อยู่ค่ายอิงคยุทธ 3 วัน แพทย์ให้ยารับประทานและยาทา แล้วส่งต่อไปจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีก 3 วัน หลังจากนั้นเมื่อมาอยู่ค่ายอิงคยุทธได้ 1 วัน ก็ถูกส่งไปเรือนจำจังหวัดนราธิวาส 2 วัน แล้วได้รับการประกันตัว จากนั้นไม่ได้ไปติดต่อราชการอีกและไม่มีเจ้าหน้าที่มาติดต่อ ทนายความได้เข้ามาช่วยเหลือด้านคดีแล้ว ได้มีการสอบปากคำที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้โฉนดที่ดินประกันตัว จำนวน 250,000 บาท ขณะนี้มีผลกระทบทางด้านจิตใจค่อนข้างรุนแรง และไม่อยากติดต่อกับทางราชการ ปัจจุบันทรัพย์สินที่มีอยู่ได้นำไปใช้ในการประกันตัวหมดแล้ว

อนึ่ง ผู้ถูกดำเนินคดีทั้ง 58 คน ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และได้รับการอนุญาตทุกคนแล้ว ขณะนี้ผลคดีอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลนัดพร้อมโจทก์และจำเลยในวันที่ 11 เมษายน 2548 เพื่อตรวจพยานหลักฐาน

8.ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูญหาย

ข้อมูลผู้สูญหาย ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 ได้รับทราบว่ามีผู้สูญหาย จำนวน 12 คน ได้แก่

1. นายอาร์ฮัม มะวิง อยู่บ้านเลขที่ 97/2 หมู่ 3 ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
2. นายนุห์ บินหะยีมะนิง อยู่บ้านเลขที่ 15 หมู่ 1 ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
3. นายดุลกีพิซลี มะซา อยู่บ้านเลขที่ 14/1 หมู่ 1 ตำบลเยาะมาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
4. นายอับดุลลาเต๊ะ วานิ อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ 4 ตำบลเยาะมาดี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
5. นายตอเม็ง ตะกา อยู่บ้านเลขที่ 107/2 หมู่ 6 ตำบลกะโตโนง อำเภอสายบุรี จังหวัดนราธิวาส
6. นายสะรี มูซอ อยู่บ้านเลขที่ 15/1 ถนนดูกู ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
7. นายเจริญชัย เจ๊ะอูเซ็ง อยู่บ้านเลขที่ 100/1 หมู่ 1 ตำบลปะรุลู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
8. นายมะไซดี บือราเฮง อยู่บ้านเลขที่ 40 หมู่ 3 ตำบลบางปอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
9. นายมารูดิน ซีนา อยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 3 ตำบลสาดอบน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
10. นายมะกือตา ยูโซ๊ะ อยุ่บ้านเลขที่ 162 หมู่ 6 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
11. นายยะรี เจ๊แม อยู่บ้านเลขที่ 223 หมู่ 2 ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
12. นายแวอาแซ (ไม่ทราบนามสกุล) ได้รับทราบข้อมูลจากชาวบ้านที่ตำบลศาลาใหม่ว่า บุคคลดังกล่าวได้สูญหายไป

เนื่องจากประชาชนยังไม่มั่นใจว่าจะปลอดภัย หากมีการเปิดเผยหรือแจ้งเรื่องการสูญหายของบุคคล จึงทำให้ได้รับข้อมูลบุคคลผู้สูญหายเพียงส่วนน้อย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้รับดังกล่าวข้างต้น เป็นข้อมูลที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ ณ วัน ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาล ตลอดจนหน่วยงานใดๆ ของรัฐบาล ยังมิได้ให้ความกระจ่างชัดแต่อย่างใด ก่อให้เกิดความเคลือบแคลง สับสน และมีข่าวลือต่างๆ เป็นผลร้ายต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการตรวจสอบหาความจริงในเรื่องผู้สูญหายโดยด่วน แล้วรายงานให้ประชาชนได้รับทราบเพื่อขจัดความคลางแคลงสงสัย และจะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลมากขึ้น

9. ความคิดเห็นของคณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลกรณีเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้

คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่ามีประเด็นสำคัญต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนี้
9.1 การปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม
9.2 การควบคุมและการสลายการชุมนุม
9.3 การปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุมตามกฎหมาย
9.4 การเยียวยาความเสียหาย

9.1 การปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม

จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ชี้แจงไว้เกี่ยวกับการเดินทางมาชุมนุมของประชาชนแสดงให้เห็นทัศนคติเกี่ยวกับการชุมนุมของประชาชนในสายตาของเจ้าหน้าที่ว่า เป็นการมุ่งหวังเพื่อประท้วง หรือกดดันเจ้าหน้าที่ หรือตั้งใจก่อความไม่สงบ ดังนั้น จึงมีการปฏิบัติหรือเตรียมการในลักษณะของความระแวงสงสัย หรือเตรียมการใช้ความรุนแรงตอบโต้

มูลเหตุของการชุมนุมดังกล่าว พอสรุปได้ว่า ประชาชนจำนวนหนึ่งไปที่สภ.อ.ตากใบ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน(ชรบ.) บ้านโคกกูแว หมู่ 5 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาแจ้งความเท็จว่าถูกคนร้ายปล้นปืนลูกซองที่ทางราชการให้ไว้เพื่อป้องกันภัยหมู่บ้านโดยประชาชนอ้างว่า ชรบ. ทั้ง 6 คน ไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากก่อนนั้นเคยมีคดีที่กล่าวหาว่ามีการปล้นปืนจากค่ายทหาร จำนวน 400 กระบอก แต่ไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินคดีกับทหารในค่ายที่รับผิดชอบแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ

คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ถึงแม้การชุมนุมเพื่อเรียกร้องในกรณีข้างต้นจะอยู่ในพื้นที่ที่มีการประกาศกฎอัยการศึก แต่การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ก็เป็นเสรีภาพที่บุคลจะพึงกระทำได้ ตามนัยมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และตามข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งระบุว่า สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง

9.2 การควบคุมการสลายการชุมนุม

9.2.1 มีประชาชนจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส (จะเห็นได้จากจำนวนผู้ถูกจับกุมทั้งหมด 1,292 คน เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส 1,280 คน และในจำนวนนี้เป็นชาวอำเภอตากใบ จำนวน 378 คน) เดินทางไปที่ สภ.อ.ตากใบ โดยมิได้ประสงค์ที่จะร่วมชุมนุมเรียกร้องให้ทางราชการปล่อยตัว ชรบ.ทั้ง 6 คน แต่บางส่วนถูกปิดกั้นทางสัญจร และต้องเข้าไปในบริเวณดังกล่าว และบางส่วนไปด้วยเหตุอื่นๆ แล้วกลับออกมาไม่ได้ เนื่องจากถูกปิดกั้นทางที่จะใช้เดินทางกลับ

9.2.2 ในการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้อาวุธปืนพร้อมกระสุนจริงยิงเข้าไปในที่ชุมนุม และได้ทำร้ายร่างกายผู้ชุมนุม ทั้งๆ ที่ผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธไม่ได้ทำร้ายเจ้าหน้าที่ก่อน และไม่ได้ต่อต้านขัดขืนการควบคุมตัวแต่อย่าใด จนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 7 คน และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก

สำหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บจากการดำเนินการสลายการชุมนุมนั้น จากภาพวีดิทัศน์พบว่า ผู้ชุมนุมบางส่วนได้ขว้างปาสิ่งของ อาทิ ก้อนอิฐ ท่อนไม้ เข้าใส่เจ้าหน้าที่ ภายหลังจากมีการฉีดน้ำเพื่อสลายการชุมนุม

9.2.3 เมื่อมีการควบคุมตัวผู้ชุมนุมแล้ว ได้มีการให้ถอดเสื้อ นอนคว่ำแล้วมัดมือไขว้หลังผูกติกัน ระหว่างที่รอการขนย้ายผู้ชุมนุมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ผู้ชุมนุมถูกบังคับให้ไถตัวไปกับพื้นดินเพื่อไปรวมกลุ่มกัน แล้วให้นอนคว่ำหน้าอยู่เป็นเวลานาน บางส่วนนอนแช่น้ำอยู่ริมแม่น้ำตากใบ บางส่วนถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ขณะนั้นก็ไม่มีการจำแนกผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีสภาพร่างการอ่อนแอจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เพื่อส่งตัวไปรับการรักษาพยาบาล เมื่อมีการขนย้ายผู้ชุมนุมที่ไม่สามารถเดินได้ ก็ถูกลากขึ้นไปบนรถยนต์แล้วโยนให้นอนทับซ้อนกัน ทั้งๆ ทีกำลังอ่อนเพลียอิดโรย และบางรายได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม นอกจากนั้น ผู้ชุมนุมบางส่วนยังถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายระหว่างการขนย้าย เป็นเหตุทำให้ผู้ถูควบคุมขาดอากาศหายใจตาย ถึง 78 คน

นอกจากนั้น คณะอนุกรรมการฯยังเห็นด้วยว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการควบคุมและการสลายการชุมนุม เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของผู้ชุมนุม และผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลังจากสลายการชุมนุม ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพในการเดินทาง และในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร สิทธิในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ตามมาตร 4 มาตรา 36 มาตรา 48 และมาตรา 52 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และกรณียังเป็นการกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอีกด้วย กล่าวคือ เป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อ 3 ข้อ 5 ข้อ 13(1) ข้อ 17 ข้อ 21(2)และข้อ 25(1) ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 12 และข้อ 21 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) และข้อ 12 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights)

คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า หากได้มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ และมีการใช้เจ้าหน้าที่ที่มีทักษะในการปฏิบัติเฉพาะสำหรับการสลายการชุมนุม น่าจะไม่มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต และเนื่องจากขาดการประสานงานที่ดี อาทิ ได้ปิดเส้นทางสัญจรบางเส้น เป็นเหตุให้ประชาชนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องถูกบีบให้เดินทางผ่านเข้ามาในบริเวณที่มีการชุมนุม รวมทั้งได้ปิดกั้นเส้นทางออกจากบริเวณสถานที่ชุมนุม จึงเป็นเหตุให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถออกจากบริเวณที่ชุมนุมได้

9.3 การปฏบัติต่อผู้ควบคุมตัวตามกฎหมาย

9.3.1 เมื่อขนส่งผู้ชุมนุมถึงค่ายอิงคยุทธบริหารแล้ว ปรากฏว่า มีแพทย์ประจำค่ายอิงคยุทธบริหารเพียง 1 คน และมิได้มีการสั่งการแก้ไขให้ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือผู้เจ็บป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง ทั้งๆ ที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ แต่กลับปล่อยให้ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน ทั้งยังมีจำนวนอีกไม่น้อยที่ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล บางรายเมื่อพ้นจากการถูกควบคุมตัวแล้วยังต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยด่วน เพราะแผลอักเสบจากการติดเชื้อ นอกจากนั้น ระหว่างที่ผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ผู้บาดเจ็บบางรายให้ข้อมูลว่าถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายอีกด้วย

9.3.2 ในระหว่างการคบคุมตัว เจ้าหน้าที่ได้ยึดทรัพย์สินที่ติดตัวของผู้ชุมนุมไว้เมื่อได้รับการปล่อยตัว ปรากฏบางรายไม่ได้รับทรัพย์สินคืน บางรายได้รับคืนแต่ไม่ครบถ้วน

คณะอนุกรรมการฯเห็นว่า หากเจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีการสั่งการที่ถูกต้อง โดยคำนึงถึงจำนวนผู้ที่จะถูกควบคุมตัว และจัดหารถยนต์อย่างเพียงพอที่จะขนย้ายผู้ถูกควบคุมทั้งหมด จะไม่ทำให้ต้องใช้เวลารอคอยในการขนย้าย และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายของผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีร่างการอิดโรยให้มีสภาพยิ่งทรุดลงไปอีก เมื่อพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการขนย้ายในเที่ยวแรกก็ควรที่จะประสานให้เกิดการแก้ไข แต่ก็หาได้กระทำไม่ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจนถึง 78 คน

9.4 การเยียวยาความเสียหาย

คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า นอกจากผู้ที่เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ครั้งนี้แล้ว ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอีกจำนวนมาก ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในภาระรับผิดชอบเลี้ยงดูของผู้ที่เสียชีวิตหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจนพิการ หรือไม่อาจประกอบอาชีพได้ ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะกรณีผู้ที่เสียชีวิตว่าแต่ละคนมีภาระรับผิดชอบเลี้ยงดูบุคคลอื่นประมาณ 5 คน ก็จะเห็นได้ว่ามีผู้รับผลกระทบโดยตรงหลายร้อยครอบครัว นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมอีกจำนวนมาก กล่าวคือ ญาติ เพื่อนบ้าน และมิตรสหายของผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ อีกทั้งยังได้รับผลลกระทบในด้านการประกอบอาชีพหรือการดำรงชีวิตอันเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์นี้

แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายและได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติอาจมีผู้ได้รับผลกระทบน้อยรายที่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย ซึ่งอยู่ในรูปของค่าทดแทน ทั้งนี้จากข้อมูลเบื้องต้นที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับ ปรากฏว่า ผู้ที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากเหตุการณ์รุนแรงที่หน้าสภ.อ.ตากใบ ได้รับความช่วยเหลือตามที่ทางราชการได้ประกาศไว้ไม่ทั่วถึงและล่าช้า รัฐบาลน่าจะใส่ใจให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้เสียชีวิตหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ และควรมีมาตรการติดตามการให้ความช่วยเหลือว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

อย่างไรก็ตามการกำหนดค่าทดแทนเพื่อเยียวยาดังกล่าว โดยเนื้อแท้แล้วเป็นการบรรเทาความเสียหายเฉพาะหน้าเท่านั้น รัฐบาลควรต้องดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บให้ได้รับการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานของรัฐตามสิทธิที่เขามีพึงมีได้ และต้องให้ความช่วยเหลือในด้านอื่นๆแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถดำรงชีพพออยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ด้วยการสร้างโอกาสในการศึกษาการดำรงชีวิตสอดคล้องกับวัฒนธรรมอย่างสันติสุข

ยิ่งกว่านั้น คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของผู้เสียหาย และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้นการที่หน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงานได้พยายามเยียวยาแก้ไขปัญหา ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ไปชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบลดความตึงเครียดลงนั้น จะไม่บังเกิดผลตามความมุ่งหมาย รัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน บนพื้นฐานของการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ด้วยการมีนโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่โปร่งใสตรงไปตรงมา ยุติธรรมและเป็นธรรม สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต้องได้รับการคุ้มครอง

10. สรุป

ในการสลายการชุมนุมของประชาชนที่หน้า สภ.อ.ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 พบว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมาย และละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐบาลจึงควรเร่งพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสมควรดำเนินการแก้ไขความเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง เร่งคืนทรัพย์สินหรือชดเชยความเสียหายในกรณีที่ผู้ถูกควบคุมตัวมีทรัพย์สินสูญหาย หรือเสียหายจากเหตุการณ์ครั้งนี้ อีกทั้งควรเร่งตรวจสอบหาความจริงในเรื่องผู้สูญหายในเหตุการณ์นี้ แล้วแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ต่อนายกรัฐมนตรี และได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนแล้ว

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า รัฐบาลควรมีมาตรการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดจริงจัง โดยกำหนดแนวทางให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม และผู้ถูกควบคุมตัวให้เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมและผู้ถูกควบคุมตัวตามกฎหมาย โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯยังเห็นด้วยว่า รัฐบาลควรจะต้องทบทวนนโยบายและมาตรการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยด่วน ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เคยมีข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีไปแล้ว และปรับให้มีความสอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม ให้เกิดความยอมรับในความหลากหลายทางความคิดของบุคคล และในการนับถือศาสนาภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว อันจะนำมาซึ่งความสงบและสันติสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว

รายนามคณะอนุกรรมการรวบรวมข้อมูลกรณีเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย
1. คุณหญิงอัมพร มีศุข ประธานอนุกรรมการ
2. นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อนุกรรมการ
3. นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง อนุกรรมการ
4. นายสุรสีห์ โกศลนาวิน อนุกรรมการ
5. พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร อนุกรรมการ
6. นายโสภณ สุภาพงษ์ อนุกรรมการ
7. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ อนุกรรมการ
8. นายสมชาย หอมลออ อนุกรรมการ
9. นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อนุกรรมการ
10. นายอรัญ ปานเจริญ อนุกรรมกา
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 0000129534



หน้าแรกผู้จัดการ Online | หน้าแรกผู้จัดการรายวัน | Section1:ข่าวปก
 

ไขปริศนาทำไมต้องเป็นสื่อมาเลย์
โดย ผู้จัดการรายวัน 22 กันยายน 2548 08:41 น.

กลุ่มชาวบ้านตันหยงลิมอร์
      เสียงด่าทอและตะโกนขับไล่ทหารรวมทั้ง นักข่าวไทยจากกลุ่มสตรีและเด็กที่นั่งขวางเป็นกำแพงมนุษย์ กีดกันไม่ให้ใครเข้าไปยังหมู่บ้านตันหยงลิมอร์ ต.ตันหยงลิมอร์ อ.ระแงะ จ.นราธิวาสนราธิวาส ดังอื้ออึงเซ็งแซ่
     
      กลุ่มนักข่าวและทหารมีเป้าหมายในการเข้าหมู่บ้านเพื่อติดตาม สถานการณ์ที่กลุ่มชาวบ้านกักตัว  2 ทหารนาวิกโยธิน สังกัดค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส เอาไว้ภายในหมู่บ้านเนื่องจากสงสัยว่าทหารทั้งสองนาย อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยิงถล่มร้านน้ำชาภายในหมู่บ้าน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 4 ราย เมื่อคืนวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา
     
      ขณะที่กลุ่มชาวบ้าน ยื่นข้อเรียกร้องว่าจะเปิดเผยให้ข้อเท็จจริงแก่สื่อมวลชนจากประเทศมาเลเซีย เท่านั้น  ยิ่งทำให้สถานการณ์ที่บ้านตันหยงลิมอร์ตึงเครียดมากขึ้น เพราะการจะนำผู้สื่อข่าวมาเลเซียเข้ามาไม่ใช่เรื่องง่าย และเมื่อมาแล้วก็ยังไม่รู้ว่าชาวบ้านจะเชื่อว่าเป็นผู้สื่อข่าวจากมาเลเซีย จริงหรือไม่


      ด้านนายนัจมุดดีน อูมา อดีตส.ส.นราธิวาส พรรคไทยรักไทย ที่เข้ามาช่วยประสานเจรจากับกลุ่มชาวบ้าน บอกว่า ชาวบ้านอยากให้โทรทัศน์ของประเทศมาเลเซียมารายงานข่าว เขาบอกว่ารู้สึกเชื่อมั่นในสื่อของมาเลเซียมากกว่าเพราะพูดภาษาเดียวกัน ผมก็บอกกับชาวบ้านว่า นักข่าวของไทย โดยเฉพาะนักข่าวในพื้นที่หลายคนก็พูดภาษามลายูได้ แต่เขาก็ยังไม่ยอม ยังยืนยันเหมือนเดิมว่าต้องเป็นนักข่าวจากมาเลเซียเท่านั้น นักข่าวไทยสู้นักข่าวมาเลเซียไม่ได้ แต่ก็ไม่ยอมบอกเหตุผลว่าทำไม คิดว่าชาวบ้านคงกลัวเกิดเหตุเหมือนเหตุการณ์ที่ตากใบ
     
      นี่คือปริศนาที่ชวนให้สงสัยยิ่งว่า เหตุใด สื่อมวลชนไทย จึงไม่ได้รับความไว้วางใจจาก ชาวบ้านในพื้นที่นี้ !!!
     
      คำพูดของกลุ่มสตรีและเด็กๆ ภายในหมู่บ้านร่วม 100 คน ดังระงมเซ็งแซ่อยู่ภายในเต็นท์ ซึ่งชาวบ้านช่วยตั้งขวางถนนทางเข้าหมู่บ้านเอาไว้ โดยมีเด็กและกลุ่มสตรีเหล่านี้นั่งขวางเป็นกำแพงมนุษย์เอาไว้ คำพูดคุยกันเหล่านี้ฟังความได้ว่า เราจะรอนักข่าวจากมาเลเซียเท่านั้น ทำให้นักข่าวไทยนับสิบคน ที่ยืนอยู่หลังเชือกสีเหลืองกั้นเขตระหว่างนักข่าวกับชาวบ้านรู้สึกสงสัยกัน ไปตามๆ กัน ว่า ทำไม ชาวบ้านที่นี่ ถึงไม่เชื่อนักข่าวไทยด้วยกัน
     
      เสียงผู้หญิงคนหนึ่ง ตอบพอจับใจความได้ว่า พวกเราไม่ใช่ผู้ร้าย หมู่บ้านนี้ไม่มีผู้ก่อการร้าย
     
      กลุ่มสื่อมวลชนสัญชาติไทยจึงถามคำถามเดิมย้ำอีกครั้งว่า ทำไมจึงปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแก่นักข่าวไทย ไม่ชอบนักข่าวไทยหรือ ?
     
      สตรีมุสลิมอีกคนหนึ่งในแนวโล่ห์มนุษย์ ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ชอบ เราไม่ได้รังเกียจนักข่าวไทย แต่ขอให้นักข่าวมาเลย์มาด่วน จากนั้น นักข่าวไทยก็จะได้ข่าวเหมือนกัน เธอกล่าวท่ามกลางเสียงสนับสนุนของเพื่อนๆ รอบข้าง
     
      นักข่าวอีกคนถามว่า ไม่เชื่อใจนักข่าวไทยหรือ
     
      เธอคนเดิมที่ตอบคำถามเมื่อครู่ ตอบโดยเรียกเสียงฮือฮาได้ทั้งเต็นท์ว่า นักข่าวไทยเป็นพวกเดียวกับทหาร นักข่าวกับทหารเป็นเพื่อนกัน เพราะฉะนั้นเราไม่เชื่อ
     
      ขณะที่นายอับดุลเราะห์มาน อับดุลซามัด ประธานคณะกรรมการกลางอิสลามจังหวัดนราธิวาส ให้ความเห็นว่า สื่อมวลชนส่วนใหญ่นั้นทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี คงมีแต่บางรายเท่านั้นที่เสนอข่าวไปอย่างเกินกว่าเหตุ ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องระวังให้มากขึ้น การเสนอข่าวต่างๆ นั้น จะต้องคำนึงถึงตัวผู้ให้ข่าวด้วย ชาวบ้านไม่อยากจะให้ข่าวเพราะกลัว จึงปฏิเสธที่จะให้ข่าว ซึ่งนักข่าวเองจะต้องปรับตัวเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความไว้วางใจมากกว่านี้
     
      ส่วนนายกูเฮง ยาวอหะซัน ส.ส.ประจำพื้นที่ พรรคชาติไทย ให้ความเห็นว่า โดยพื้นฐานชาวบ้านในพื้นที่ค่อนข้างจะไม่พอใจการรายงานของสื่อมวลชนไทยอยู่ แล้ว นับตั้งแต่การรายงานข่าวในระดับสากลที่มักจะปกป้องและเอาใจประเทศมหาอำนาจ ที่รุกรานประเทศมุสลิม แต่ยังไม่ถึงกับระดับที่จะปฏิเสธการรายงานของสื่อมวลชนไทย
     
      เมื่อคืนผมก็พยายามติดต่อกับคนในหมู่บ้าน ยังไม่คิดว่าเหตุการณ์จะบานปลายถึงขั้นนี้ เพราะเขาเองก็ต้องการความชัดเจนว่าใครเป็นคนยิงเข้าไปร้านน้ำชา
     
      เขาเชื่อว่า การเรียกร้องให้สื่อมวลชนมาเลเซียเข้ามาทำรายงานข่าวนั้นอาจเกิดจากชี้นำของ ผู้ที่เข้าไปประสานงานกับชาวบ้านในระหว่างนี้
     
      ส.ส.ประจำพื้นที่ ยังตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการพยายามใช้สื่อมวลชนของมาเลเซียให้เป็นประโยชน์มี ความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์การอพยพ 131 คนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา และเชื่อว่ามีความต้องการที่พยายามจะยกระดับประเด็นสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นประเด็นสากล
     
      ........................................
     
      หากมองย้อนหลังตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ความไม่ไว้วางใจของชาวบ้านต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐสั่งสมมาเป็นลำดับและสัมผัส ได้อย่างชัดเจนนับแต่เหตุปล้นปืนเป็นต้นมา แต่สำหรับสื่อมวลชนไทยแล้ว ดูเหมือนว่า ความไม่ไว้วางใจของชาวบ้านจะก่อตัวขึ้นหลังการสลายการชุมนุมหน้าสภ.อ.ตากใบ เนื่องเพราะสื่อมวลชนของไทย โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ซึ่งเข้าถึงชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนไม่ได้ทำหน้าที่ สื่อมวลชน อย่างอิสระและครบถ้วนสมบูรณ์ อาจจะด้วยถูกกันออกจากพื้นที่ ถูกขอร้องจากเจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ
     
      สื่อไทย จึงรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ตรงตามความเป็นจริง ขณะที่ชาวบ้านได้เห็น ของจริง จากทีวีฝั่งมาเลย์
     
      แต่นั่นไม่ได้ทำให้สื่อมวลชนไทย รู้สึกตัว กระทั่งเหตุการณ์ 131 คนไทยอพยพเข้าฝั่งมาเลย์ เมื่อปลายเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวจึงได้สัมผัสแรงต่อต้าน ไม่ไว้วางใจจากชาวบ้านเป็นครั้งแรกชนิดไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
     
      ชาวบ้านละหาน ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส บอกกับนักข่าวหลายสำนักที่พยายามเข้าพื้นที่เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า คนในหมู่บ้านนี้หนีเข้าไปฝั่งมาเลย์จริงหรือไม่ว่า คนในหมู่บ้านพวกเราไม่ได้หนีเข้าไปขอลี้ภัยฝั่งมาเลย์ เราไม่ได้ทำผิดอะไร จะหนีไปทำไม ขออย่าทำให้มีการเข้าใจผิด .....ข่าวลงผิด เราเลยไม่อยากให้นักข่าวเข้ามา
     
      หมู่บ้านละหาน ไม่ต้อนรับนักข่าวจนบัดนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้น นักข่าวหลายสำนักพยายามเข้าพื้นที่แต่ถูกไล่ออกมา ไม่เว้นแม้แต่นักข่าวมุสลิมจากค่ายเนชั่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่ายที่ทำข่าวเข้าข้างชาวบ้านมากที่สุด
     
      เช่นเดียวกับหมู่บ้านตันหยงลิมอร์ ในเวลานี้ที่นักข่าวถูกมองจากชาวบ้านว่าเป็น พวกเดียวกับทหาร
     
      คำถามคือ กระแสไม่ไว้วางใจสื่อไทย เพราะไม่มีความเป็นอิสระ ไม่ตรงไปตรงมา มีอคติ และเป็นกระบอกเสียงให้กับราชการ ไม่ใช่ชาวบ้าน กำลังลุกลามเหมือนกับกระแส ข่าวลือ หรืออย่างไร ?
     
      เหตุการณ์ที่ชาวบ้านไม่ไว้ใจสื่อที่ปรากฏชัดถึงสองครั้งสองคราวใน เวลาไม่ห่างกัน เกิดจากการสร้างกระแสของผู้ก่อความไม่สงบ หรือแท้จริงแล้วมันคือ สนิมเกิดแต่เนื้อในตน ที่สื่อเองก็ เข้าไม่ถึง เช่นเดียวกัน เพราะนักข่าวในพื้นที่หรือส่งไปจากส่วนกลางส่วนใหญ่เป็น ไทยพุทธ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นมุสลิมและพูดภาษามลายู ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการ เข้าถึง ชาวบ้านซึ่งรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน
     
      พื้นที่จังหวัดนราธิวาส จึงดูเหมือนจะอยู่ในสภาพยากจะคลี่คลายปัญหา ไม่ว่าเรื่องใดๆ ทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไปจนถึง ข่าว ที่ถูกสื่อออกมาจากพื้นที่โดยอาศัยแหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลัก กระทั่งกระแสไม่ไว้วางใจสื่อไทยเริ่มลุกลาม
     
      โสรยา สาเรป นักข่าววิทยุ INN ให้ความเห็นว่า ก่อนเกิดเหตุความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ในระยะหลังท่าทีของชาวบ้านเริ่มแปลกไป สะท้อนผ่านสีหน้าที่ไม่ต้อนรับ ทำให้ไม่ได้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

:arrow: นาทีระทึกสังหารโหด2นาวิกโยธิน
โดย ผู้จัดการรายวัน 21 กันยายน 2548 22:47 น.
       
      ทีมงานของศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  เป็นส่วนหนึ่งในการได้ร่วมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดในเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้น ในบ้านตันหยงลิมอร์ ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 21 กันยายน จวบจนถึงบทสุดท้าย เมื่อมีการนำศพของนาวิกโยธินทั้งสองนายออกมา
     
      ช่วงเช้าวันที่ 21 กันยายน หลังรับทราบเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ทีมงานศูนย์ข่าวอิศรา เดินทางเข้าสู่พื้นที่บ้านตันหยงลิมอร์ในทันที แต่เนื่องจากชาวบ้านต้องการให้มีสื่อมวลชนมาเลเซีย เข้ามาเป็นผู้รายงานสถานการณ์ และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพราะไม่วางใจในความเป็นกลางของสื่อไทย ทีมข่าวคนหนึ่งของศูนย์ ฯ ที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมวิชาชีพจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้มีโอกาสร่วมสังเกตการณ์ในคณะตัวแทนเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐฯ ที่เข้าร่วมเจรจากับชาวบ้าน
     
      ตอนแรกที่มาถึง ผมขอคุยกับแกนนำชาวบ้านที่เป็นผู้หญิงทันที เพื่อขอเข้าไปในหมู่บ้าน ทีมงานศูนย์ข่าวอิศรา เล่าให้ฟังด้วยความระทึก หลังจากก้าวแรกที่ลงจากรถในเวลาราว 10.30 น.
     
      แกนนำที่เขาคุยด้วย เป็นหญิงเชื้อสายมลายู อายุราว 35 ปี ที่ยืนยันกับเขาว่าไม่ต้องการให้สื่อมวลชนไทยเข้าไปในเขตของหมู่บ้าน โดยอ้างว่าเขียนเรื่องไม่จริง  ยกเว้นนักข่าวจากมาเลเซียเท่านั้น
     
      ทีมข่าวคนหนึ่งซึ่งเป็นมุสลิมและพูดภาษามลายูได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านวางใจและยอมให้ฝ่าด่านหญิงชาวบ้าน ร่วม 100 คนได้ ในขณะที่ผู้สื่อข่าวชาวไทยคนอื่นๆ ได้รับเสียงโห่ร้องต้อนรับตั้งแต่ย่างกรายเข้ามา
     
      เมื่อผู้สื่อข่าวเดินเข้าหมู่บ้านโดยมีหญิงชาวบ้านเดินคุมตัวไป 3 คน โดยนำหน้าและขนาบซ้ายขวา เพื่อไปสมทบกับ ผู้ใหญ่ ที่อยู่ในหมู่บ้านก่อนแล้ว
     
      ผู้ใหญ่ ที่อยู่ในหมู่บ้านขณะนั้น มี พล.ต.พิเชษฐ์ พิสัยจร รองแม่ทัพภาคที่ 4 นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ปลัดจังหวัดนราธิวาส นายอำเภอระแงะ และนายนัจมุดดิน อูมา อดีต สส.ไทยรักไทย ซึ่งกำลังคุยกับชาวบ้านอยู่บางส่วน
     
      หญิงทั้งสามเดินนำเขาไปหมู่บ้านอย่างนิ่งเงียบ ไม่เอ่ยอะไร  ชาวบ้านกลุ่มแรกที่เจอในหมู่บ้านคือกลุ่มวัยรุ่นราว 10 กว่าคน ที่ยืนคุมศาลาอเนกประสงค์กลางหมู่บ้าน ซึ่งปกติใช้เป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน แต่เวลานี้ถูกใช้เป็นสถานที่ควบคุมตัว 2 นายทหารนาวิกโยธิน
     
      ตอนแรกที่เดินผ่านศาลา ผมยังเห็นอยู่ว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ หนึ่งในทีมข่าวของศูนย์ฯ ที่มีโอกาสเข้าไปภายในหมู่บ้านตันหยงลิมอร์ หมายถึงทหารนาวิกโยธินทั้งสองนาย
     
      ศาลาอเนกประสงค์ ขนาด 2 ชั้น ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ห่างจากร้านน้ำชาที่เกิดเหตุเมื่อคืนนี้ราว 100 เมตร และห่างจากมัสยิดราว 20 เมตร อาคารที่ใช้คุมขังทหารทั้งสอง มีช่องลมให้พอมองเห็นสภาพภายในได้
     
      ภาพที่เราเห็นคือ ชายสองคนที่อยู่ในสภาพเปลือยกายท่อนบน ถูกมัดปากด้วยเสื้อ และถูกมัดมือไพล่หลังไว้อย่างแน่นหนา  แต่สังเกตเห็นว่าทั้งสองยังคงมีสติดีอยู่
     
      ข้างๆ กับศาลาอเนกประสงค์มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลยี่ห้อโตโยต้า รุ่นโคโรลลา สีน้ำเงิน สภาพพังยับเยิน ไฟท้ายและไฟหน้าถูกทุบแตกกระจาย จอดขวางถนนอยู่ หลังจากนั้น พวกเราถูกนำตัวไปดูสภาพร้านน้ำชาอันเป็นจุดเกิดเหตุกราดยิงเมื่อสองทุ่ม ครึ่งเมื่อคืนวาน สังเกตเห็นว่ารอยเลือดยังคงอยู่ โดยไม่ได้ทำความสะอาดใดๆ อีกทั้งยังมีรอยมือเปื้อนเลือดที่เกาะติดอยู่ตามเสาของร้านน้ำชา ในขณะที่ชาวบ้านบางส่วนก็ยังคงจับกลุ่มอยู่ในร้านน้ำชาแห่งนั้น
     
      ทีมงานของเราสังเกตเห็นว่า ผู้ชายในหมู่บ้านจะจับกลุ่มอยู่ในบ้าน  ส่วนผู้หญิงและเด็กจะอยู่กันตามถนนหนทางในหมู่บ้าน ซึ่งนอกจะมีบรรดาหญิงชาวบ้านเดินกันให้ขวักไขว่แล้ว ยังมีทั้งท่อนไม้และยางรถยนต์ขวางทางไว้อย่างสะเปะสะปะ นอกจากนี้ หญิงชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งยังรวมตัวชุมนุมในเต็นท์หน้าหมู่บ้าน เขายังรู้สึกว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันอย่างเป็นระบบ
     
      สิ่งที่เขาสังเกตได้คือ การเจรจาเป็นไปโดยไม่มีศูนย์กลาง หรือ บ้านศูนย์กลาง แต่เป็นการพูดคุยกับชาวบ้านกันไปเรื่อย โดยไม่มีบุคคลเป้าหมายในการเจรจา
     
      ในระหว่างเดินสำรวจหมู่บ้านและพูดคุยกับชาวบ้านอยู่นั้น ทางผู้ใหญ่ได้พยายามติดต่อขอเฮลิคอปเตอร์ให้ไปรับนักข่าวมาเลเซียที่ด่าน ศุลกากรสุไหงโก-ลก ในขณะที่ตัวเขาเองรับที่จะติดต่อนักข่าวมาเลเซียซึ่งเป็นได้รู้จักกันใน ระหว่างตระเวนทำข่าว
     
      หลังจากติดต่อนักข่าวมาเลเซียได้ตามที่ชาวบ้านตันหยงลิมอต้องการแล้ว ต่อจากนี้คือการเฝ้ารอ...โดยหวังว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง
     
      แต่ทว่า..!!!
     
      เวลา 14.00 น. มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งวิ่งเข้ามาพร้อมกับบอกว่ามีเห็นทหารชุดหนึ่งแอบบุกเข้า มาในอีกด้านหนึ่งของหมู่บ้าน ส่งผลให้ชายบ้านทั้งหญิงและชายต่างกรูกันไปทางที่ชายเหล่านั้นระบุ
     
      ด้วยเหตุนี้ ทำให้ศาลาอเนกประสงค์ ที่ก่อนหน้านี้มีชาวบ้านหลายสิบคนเฝ้าอยู่  ถูกปล่อยทิ้งไว้ เหลือเพียงเด็กหนุ่มไม่ถึง 10 คน
      และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อมีเสียงเอะอะบริเวณศาลาฯ ที่คุมตัวทหารทั้ง 2 นาย เขาไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นข้างใน แต่ในระหว่างนี้มีชาวบ้านหลายคนพยายามเข้าไปควบคุมสถานการณ์รวมทั้งชายที่ ยืนคุยกับเขาด้วย
     
      ตอนแรกก็ไม่เอะใจ เพราะหลังจากนั้นเสียงก็เงียบ คิดว่าไม่มีอะไร ก็นั่งคุยกับชาวบ้านต่อ หนึ่งในทีมงานของเราเล่าย้อนให้ฟัง พร้อมทั้งระบุด้วยว่าเขาย้ายไปคุยกับชาวบ้านที่บ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งอยู่ ห่างจากศาลาฯ ดังกล่าวเพียง 20 เมตร ในระหว่างนี้ มีชาวบ้านจากหมู่บ้านรอบข้างเริ่มทยอยกันเข้ามาเยี่ยมเยียนญาติผู้เสียชีวิต จากเหตุกราดยิงเมื่อคืนวาน
     
      แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลิ่นคาวเลือดที่พัดมาตามลมทำให้การพูดคุยต้องหยุดชะงักลง หลายคนจึงเอ่ยปากว่าต้องไปดูที่ศาลาฯ ให้แน่ชัดว่า ทหารทั้งสองนายอยู่ในสภาพใด
     
      จากภายนอก ประตูของศาลายังคงล๊อคไว้อย่างปกติ ในขณะที่ที่กลิ่นคาวเลือดเริ่มแรงขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงหารือกันว่าต้องตัดสินใจพังประตู และพบศพของทั้งสองนอนอยู่ในสภาพที่สาหัสสากรรจ์
     
      ผมไม่กล้าเข้าไปดู เขาบอกว่าไส้ทะลัก เห็นแต่ขาที่เหยียดอยู่เท่านั้น
     
      เมื่อเหตุการณ์เริ่มเข้าสู่จุดที่บานปลายขั้นนี้ การคลี่คลายสถานการณ์จึงจำเป็นต้องอาศัยสมาธิเป็นอย่างดี การประสานงานให้นำรถผู้ใหญ่บ้านแทนที่จะเป็นรถทหารมารับศพทั้งสองจึงเป็นไป อย่างระมัดระวัง เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การลอบเข้าไปสังหารทหารทั้งสองนายดำเนินไปในขณะที่สภาพประตูยังอยู่ในสภาพ เดิม ไม่มีการพังประตู จึงเป็นไปได้ว่าคนร้ายมีกุญแจอยู่ในมือ
     
      น่าเสียดายที่เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นก่อนที่นักข่าวจากมาเลเซียซึ่งกลุ่มชาวบ้านร้องขอจะเดินทางมาถึงเพียง 30 นาที



รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 33

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

zeneat
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

จาก...กรือเซะ--ถึง--ตากใบ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

น่าสงสารอยู่ใต้มา35ปีไม่รู้จักเข้าใจอะไรให้ลึกซึ้งถึงแก่น ไม่รู้ว่าสอนอะไรไปให้เด็กๆบ้าง เป็นครูอะไรกันนะ เรามาทำความเข้าใจกับข้อเขียนของคนที่ได้ชื่อครูคนนี้ดู 35ปีนะแต่ดูแล้วเหมือนกับพึ่งไปอยู่
ข้อ1 ชาวบ้านแท้(มีชาวบ้านปลอมด้วยวุ้ย) จะซื่อจะเชื่อจะอดทนอย่างเหลือเชื่ออะไรก็ตาม แต่ชาวบ้านอย่างนี้พบได้ทุกภาคครับ อย่าไปSpecifyว่าจะต้องคนใต้ แต่ที่วงเล็บถามคนคลุมหัวทำไมต้องคลุมแล้วคนคลุมหัวบอกว่าสามีได้บุญ ทำไมไม่ถามให้ลึกไปกว่านั้นว่าแล้วเธอน่ะได้บุญไม้ อย่างนี้มันถามแล้วทึกทักหาเรื่องผัวไว้ก่อนนี่อาจารย์(หรืออาจมหว่า) พูดไปคงจะไม่เข้าใจอะไรง่ายๆ มีลูกยิ่งมากยิ่งดี นีแน่นอนอยู่แล้ว อาจมไปดูไอ่หน้าเหลี่ยมตอนนี้ดิ พี่น้องมันเป็น10 ครอบคลุมจนแทบจะยึดนครสาระขัณฑ์ไว้ทั้งหมดแล้ว สงสัยท่านอาจม มีลูกน้อยเลยเสียดายเมื่อแก่*-* ตายก็ได้ถ้าผู้นำชี้แนะ นี่คือคำว่าจงรักภักดีผู้นำครับ แล้วอาจมจะทำได้มั้ย ถ้าอั้ยหน้าเหลี่ยมบอกให้อาจมไปตาย*-*
ข้อ2 เอาอะไรมาชี้ว่าผู้นำนั้นเลวล่ะอาเจียน ถามนิดอั้ยหน้าเหลี่ยมมันเป็นผู้นำที่ดีหรือที่เลวของอาจมครับ ที่ไหนที่มันมีผู้นำดีบอกมาที
ข้อ3 เห็นชัดๆว่าอคติ --โดยนิสัยคนพื้นเมืองที่มีความรู้และได้เป็นใหญ่ จะเห็นแก่ตัว --ถุยๆ นี่มันเป็นสันดานมนุษย์ อย่าเหมารวม มนุษย์มันเห็นแก่ตัวอยู่แล้ว ดูไอ้เหลี่ยมเอาละกัน เรื่องปิดโลกปิดอะไร เอาไอ้เหลี่ยมมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบไว้ให้มากๆนะ
การที่อาเจียนเป็นครูมานาน แต่ดูเหมือนอาเจียนมีดวงตาที่มืดบอด มีหูที่ตึงหนวกจนไม่เข้าใจในภาพรวมสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้อีกทั้งยังมีความขัดแย้งในถ้อยคำพูดอย่างเห็นได้ชัด เศร้านะอาจารย์ อาจม
ว่างๆจะเขียนเพิ่มไม่มีอารมณ์และ
ล็อคหัวข้อ