การสงบศึกสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน/ดร.ศุภวุฒิ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1890
ผู้ติดตาม: 311

การสงบศึกสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน/ดร.ศุภวุฒิ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

นักลงทุนสามารถคลายความกังวลใจไปได้ในระดับหนึ่ง เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์แสดงท่าทีชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่าพร้อมจะขยายเวลาของเส้นตายที่เคยกำหนดเอาไว้วันที่ 1 มี.ค. 2019  ที่เคยขู่เอาไว้ว่าจะปรับขึ้นภาษีศุลกากร สินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญจาก 10% เป็น 25% ทั้งนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ อ้างว่ามีความคืบหน้าในการเจรจาไปอย่างมาก และฝ่ายจีนก็มีความต้องการที่จะให้ทั้ง 2 ฝ่าย สามารถบรรลุถึงข้อตกลงให้จงได้ ซึ่งในความเห็นของผมนั้น ฝ่ายจีนมิได้ปรับเปลี่ยนท่าทีหลักๆ ของตนเลย จากที่ได้เคยยืนยันท่าทีดังกล่าวไปแล้วในต้นเดือน ม.ค. แต่คนที่อยากบรรลุถึงข้อตกลงนั้น น่าจะเป็นประธานาธิบดีทรัมป์มากกว่า เพราะคงอยากมีผลงานในเชิงการเมืองที่สามารถนำไปโฆษณาหาเสียงได้ ทั้งในเรื่องของการแก้ปัญหาการค้ากับจีนและการพบปะกับนายคิมจองอัน ประธานาธิบดีของเกาหลีเหนือ ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันในเดือนมี.ค.นี้

ทั้งนี้ นอกจากคำกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์แล้ว ก็ยังมีรายงานข่าวว่า ฝ่ายสหรัฐและจีนได้ตกลงกันแล้วว่ารูปแบบของการเจรจาเพื่อนำไปสู่การประนีประนอมกัน คือการเจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งบันทึกช่วยจำ (memorandum of understanding) ซึ่งในความเห็นของผมนั้นน่าจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่จีนจะสามารถผ่อนปรนให้กับสหรัฐ ได้ประมาณ 4 เรื่อง และส่วนที่จีนมีจุดยืนชัดเจนที่แย้งกับสหรัฐอีก 3 เรื่อง แต่ก็จะยอมที่เจรจาพูดคุยกับฝ่ายสหรัฐ ต่อไป (แต่ไม่น่าจะสามารถกำหนดได้เมื่อใด) โดยจะเป็น “การปรึกษาหารือกันอย่างสร้างสรรค์” (constructive dialogue) ซึ่งอาจกล่าวถึงความพยายามที่จะหาข้อยุติกันให้ได้ในที่สุด บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและหลักสากล เป็นต้น กล่าวคือใช้ภาษาการทูตเพื่อบอกว่า we agree to disagree but will keep talking ทั้งนี้สหรัฐจะตอบสนองจีน โดยการไม่ปรับขึ้นภาษีศุลกากรกับสินค้าที่นำเข้าจากจีน และในบางส่วนอาจต้องปรับลดลงบ้างอีกด้วยเ พื่อให้จีนสามารถกล่าวได้ว่ามิได้เป็นฝ่ายที่ต้อง “ให้” สหรัฐแต่ฝ่ายเดียว

ส่วนที่จีนน่าจะมีความยืดหยุ่นและพร้อมจะ “ให้” ฝ่ายสหรัฐนั้น น่าจะมีอยู่ 4 เรื่องหลักๆ คือ

    - จีนจะยอมซื้อสินค้าจากสหรัฐเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและพลังงาน (ก๊าซแอลเอ็นจี) ตลอด semi-conductor และสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐ หากสหรัฐจะยินดีขายให้
    - จีนพร้อมจะเร่งกระบวนการพิจารณาเห็นชอบให้บริษัทสหรัฐสามารถเข้าไปทำการผลิตและบริการในประเทศจีนได้ง่ายขึ้นเช่น การอนุมัติให้บริษัท Visa และ American Express สามารถทำธุรกิจในจีนได้ และให้สถาบันการเงินของสหรัฐสามารถเข้าไปเปิดสาขาในประเทศจีน โดยสหรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่ถูกจำกัดว่าถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% เป็นต้น
    - จีนน่าจะยอมให้คำมั่นสัญญาว่า จะคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัดมากขึ้นไม่เฉพาะทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ แต่ทรัพย์สินทางปัญหาทั้งหมด
    - จีนน่าจะแสดงความพร้อมในหลักการว่า จะไม่บิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้ากล่าวคือจีนจะไม่มีนโยบายลดค่าเงินหยวน เพื่อเอาเปรียบประเทศคู่ค้า

ทั้ง 4 ข้อข้างต้นนี้ จีนน่าจะ “ยอม” สหรัฐได้ เพราะผู้นำจีนสามารถพูดได้ว่าเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์กับคนจีนและเศรษฐกิจจีนเอง เช่น ข้อ 1 ก็จะเป็นประโยชน์ในการลดค่าครองชีพของคนจีนและให้มีทางเลือกมากขึ้น (แต่สหรัฐเองที่มีการผลิตเต็มกำลังอยู่แล้วและอัตราการว่างงานก็ต่ำ จะสามารถตอบสนองความต้องการของจีนได้มากน้อยเพียงใด อาจเป็นประเด็นมากกว่า) ในส่วนของข้อ 2 ก็ทำนองเดียวกันคือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคของจีน สำหรับข้อ 3 นั้น จีนก็กำลังจะก้าวเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านต่างๆ (ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือของหัวเว่ยมียอดขายที่สูงที่สุด) ดังนั้นจึงเป็นผลประโยชน์ของจีนเองที่จะต้องปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วนของข้อ 4 นั้น ผู้นำจีนไม่ต้องการส่งเสริมการส่งออก เพราะต้องการลดการพึ่งพาตลาดโลกและต้องการขยายตลาดภายในประเทศมากกว่า ดังนั้น จึงไม่น่าจะมีความประสงค์ที่จะทำให้เงินหยวยอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด

แต่ส่วนที่จีนน่าจะ “ยอมไม่ได้” และบันทึกช่วยจำน่าจะพยายาม “กล้อมแกล้ม” ให้ดูเสมือนว่าประธานาธิบดีทรัมป์ สามารถอ้างว่าได้ประสบความสำเร็จในการกดดันจีนคือ

    - การให้จีนยุติการบีบบังคับให้บริษัทสหรัฐต้องถ่ายโอนเทคโนโลยีให้กับจีน เพื่อแลกกับการขายสินค้าและบริการในจีนซึ่งจีนไม่เคยยอมรับว่าบีบบังคับบริษัทสหรัฐ (แต่บริษัทสหรัฐยินยอมถ่ายโอนเทคโนโลยีเองเพื่อแลกกับประโยชน์ในการทำธุรกิจในจีน) ผมเข้าใจว่าการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้ทัน (และแซงหน้า) ประเทศตะวันตกเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญยิ่งของจีน
    - การให้จีนยกเลิกยุทธศาสตร์ Made in China 2025กล่าวคือยกเลิกนโยบายสนับสนุนรัฐวิสาหกิจของจีนในการพัฒนาให้จีนเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านต่างๆ ผมเชื่อว่าจีนจะยืดมั่นแนวทางของ state-led capitalism อย่างไม่ลดละ เพราะเป็นแนวทางที่ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และเป็นกลไกหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการควบคุมและปกครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ
    - สหรัฐอ้างว่าจีนเคยให้คำมั่นสัญญามากมายในอดีตแต่มักจะไม่ทำตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นฝ่ายสหรัฐจึงต้องการให้มีกลไกบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา เช่น สหรัฐต้องมีสิทธิที่จะประเมินเองและตัดสินใจเองว่าจีนทำตามคำมั่นสัญญาหรือไม่ และหากสหรัฐสรุปว่าไม่ได้ทำตามสัญญา สหรัฐย่อมจะสามารถเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าจากจีนได้ทันที่ (snap back) เป็นต้น

ทั้ง 3 ข้อเรียกร้องดังกล่าวของสหรัฐนั้น ผมเชื่อว่าจีนยอมรับไม่ได้เลย แต่สหรัฐและจีนจะต้องนำไปเขียนลงในบันทึกช่วยจำว่า มีความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวเพียงพอที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะประกาศชัยชนะ แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายจีนก็จะต้องมั่นใจว่าได้สามารถปกป้องผลประโยชน์ของตนอย่างครบถ้วน จึงจะยอมลงนามร่วมในบันทึกช่วยจำดังกล่าวในที่สุดครับ
[/size]
โพสต์โพสต์