ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน (4)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1892
ผู้ติดตาม: 313

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน (4)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ครั้งที่แล้วผมลำดับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนว่าอาจแบ่งออกเป็น 4 ระดับจากความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด คือการเป็นหุ้นส่วนกันและลดหลั่นลงไป ดังนี้

ระดับที่ 1 การเป็นหุ้นส่วน- Partnership

ระดับที่ 2 การเป็นคู่แข่ง- Competitor

ระดับที่ 3 การเป็นคู่แข่งแบบชิงดีชิงเด่น- Rival

ระดับที่ 4 การเป็นคู่ปรปักษ์- Adversary

ผมเกรงว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนนั้นได้พลิกผันไปอย่างรวดเร็ว หากดูจากประวัติศาสตร์และการประเมินของฝ่ายตะวันตกก็พอจะลำดับแนวคิดเกี่ยวกับจีนได้ ดังนั้น

1.) ปี 1970-1980: ประธานาธิบดีนิกสันปรับความสัมพันธ์กับจีนเพื่อใช้จีนคานรัสเซีย และต่อมาเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำจีนเยือนสหรัฐสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีเรแกน ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐใกล้ชิดมากและสหรัฐสนับสนุนการเปิดประเทศของจีน

2.) ปี 1990-2000: ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างมาก จีนปฏิรูปเศรษฐกิจภายในและเปิดตลาดเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก ซึ่งประธานาธิบดีคลินตันให้การสนับสนุนอย่างหนักแน่น

3.) ปี 2001-2015: ประเทศตะวันตกคาดหวังสูงว่า จีนจะปฏิรูปเศรษฐกิจไปสู่ระบบตลาดเสรี ทุนนิยมอย่างต่อเนื่อง และคาดหวังว่าระบบการเมืองจะพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่เริ่มมีฝ่ายที่ตำหนิจีนเพิ่มมากขึ้นว่า จีนดำเนินนโยบายการค้าที่เอาเปรียบและการเปิดเสรีทางการเมืองก็มิได้เกิดขึ้นตามคาด

4.) ปี 2016-ปัจจุบัน: ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง รวบอำนาจภายในประเทศจีนอย่างเบ็ดเสร็จ พร้อมแสดงท่าทีที่จะขับเคลื่อนให้จีนเป็นมหาอำนาจและผู้นำของโลกอย่างชัดเจน โดยการประกาศนโยบาย เช่น Made in China 2025 การแพร่ขยายกำลังทางการทหารในทะเลจีนตอนใต้ โครงการ Belt and Road และ AIIB นอกจากนั้นความสัมพันธ์ของจีนกับรัสเซียก็ดูจะใกล้ชิดกันมากขึ้นและพร้อมจะร่วมมือกันคานอำนาจสหรัฐในบางภูมิภาค เช่นในตะวันออกกลาง

จีนมีวัฒนธรรมแนวคิดทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างจากสหรัฐอย่างมากและมีความชัดเจนมากขึ้นภายใต้การนำของประธานาธิบดีสีจิ้งผิงว่า จีนต้องการเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีความทัดเทียมกับสหรัฐได้ แต่จะไม่เป็นประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจก็จะเป็นรัฐนิยมมากกว่าทุนนิยม (แม้ว่าในระยะหลังนี้ จีนจะพยายามลดทอนการแสดงออกถึงความทะเยอทะยานดังกล่าวลงไปอย่างมากและพูดว่าต้องการร่วมมือกับสหรัฐและเป็นประเทศที่หวังจะมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจโลกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม) แต่ความจริงคือ จีนอยู่ในวิสัยที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจที่เท่าเทียมกับสหรัฐได้ในอนาคตอันใกล้แล้ว หากประเมินอย่างรวบรัดก็ต้องบอกว่า จีนมีคุณสมบัติที่จะเป็นประเทศมหาอำนาจแล้ว 2 ประการ แต่ขาดอยู่อีก 2 ประการคือ

1.จีดีพีของจีนที่ 12 ล้านล้านเหรียญสหรัฐจะตามจีดีพีสหรัฐได้ทันภายใน 10-15 ปีข้างหน้า เพราะจีดีพีจีนน่าจะโตได้ปีละ 4-6% ในขณะที่จีดีพีสหรัฐโตได้ปีละ 1.5-2.0%

2.ประชากรจีนมีมากกว่าประชากรสหรัฐกว่า 3 เท่าตัว กล่าวคือสหรัฐมีประชากรประมาณ 330 ล้านคน ในขณะที่ประชากรจีนประมาณ 1,400 ล้านคน

3.จีนยังขาดศักยภาพทางการทหารเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐที่มีศักยภาพทางการรบได้ทั่วโลก และในขณะเดียวกันก็ยังจะปกป้องประเทศสหรัฐได้ แต่จีนยังเพิ่งเริ่มพัฒนาศักยภาพทางการทหารไปในภูมิภาคใกล้เคียงคือทะเลจีนตอนใต้และแอฟริกา

4.จีนยังตามหลังสหรัฐในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งการเป็นประเทศมหาอำนาจและเป็นประเทศชั้นนำของโลกในศตวรรษนี้นั้น น่าจะถูกชี้ขาดโดยการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีนั้นจะเป็นตัวกำหนดทั้งศักยภาพทางเศรษฐกิจและศักยภาพทางการทหาร

ดังนั้นบทบรรณาธิการนำของ The Economist เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. จึงเริ่มต้นว่า

“The trade conflict that matters most between America and China is a 21st-century fight over technology. It covers everything from artificial intelligence (ai) to network equipment. The fundamental battleground is in semiconductors (สารกึ่งตัวนำ). The chip (วงจรรวม — integrated circuit) industry is where America’s industrial leadership and China’s superpower ambitions clash most directly. Computer chips are the foundations of the digital economy and national security. Cars have become computers on wheels. Banks are computers that move money. Armies fight with silicon as well as steel. Firms from America and its allies, such as South Korea and Taiwan, dominate the most advanced areas of the industry. China, by contrast, remains reliant on the outside world for supplies of high-end chips. It spends more on semiconductor imports than it does on oil. The list of the top 15 semiconductor firms by sales does not contain a single Chinese name.”

ผมต้องขออภัยที่นำเอาภาษาอังกฤษมาอ้างอิงค่อนข้างยาว แต่จะทำให้เห็นความชัดเจนว่า

1.ข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนนั้นในแก่นแท้น่าจะเป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี

2.เทคโนโลยีที่สำคัญและจีนล้าหลังอยู่มากคือ Semiconductor และ advanced chip แต่จีนกำลังทุ่มเททรัพยากรเพื่อไล่สหรัฐให้ทัน

3.เทคโนโลยีสำคัญในศตวรรษนี้เพราะรถยนต์คือ คอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนที่ได้ ธนาคารคือคอมพิวเตอร์ที่โอนเงินได้ ดังนั้นการรบก็ย่อมจะต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์อย่างมากเช่นกัน
[/size]
โพสต์โพสต์