กฎลงทุนข้อที่สาม : ไม่โลภ/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1890
ผู้ติดตาม: 311

กฎลงทุนข้อที่สาม : ไม่โลภ/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    สวัสดีค่ะ วันนี้จะขอเสนอกฎการลงทุนข้อที่สาม เพื่อให้การลงทุนประสบความสำเร็จและมีความสุข คือ ไม่โลภ

    ในพุทธศาสนา “ความโลภ” เป็นกิเลส ทำให้จิตใจเศร้าหมอง หลายครั้งที่โศกนาฏกรรมต่างๆเกิดขึ้นเพราะความโลภ ซึ่งบางครั้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็รุนแรงเกินกว่าที่จะคาดถึง

    ในด้านการลงทุน ดิฉันเขียนและพูดไว้เสนอว่า จะลงทุนให้มีความสุข ต้องไม่โลภ เพราะถ้าโลภ จิตของเราจะไขว้เขวและอาจจะหน้ามืดตามัว ลืมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นและนำพาการลงทุนของเราไปสู่ความล้มเหลวได้

    วิธีการลงทุนแบบไม่โลภ ต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายการลงทุน ทั้งเป้าหมายผลตอบแทนและความเสี่ยง ให้เหมาะสม สมเหตุสมผล คนส่วนใหญ่อยากได้พอร์ตการลงทุนที่ไม่เสี่ยงและได้ผลตอบแทนสูงๆ ซึ่งไม่มีอยู่จริงในโลกนี้เพราะฉะนั้น การลงทุนแต่ละพอร์ต ควรเลือกตั้งเป้าหมายแบบใดแบบหนึ่งใน 3 แบบ คือ 1. แบบเสี่ยงต่ำ เน้นรักษาเงินลงทุนเบื้องต้นและอย่างน้อยเอาชนะเงินเฟ้อ  2. แบบเสี่ยงปานกลาง เน้นให้เงินเติบโตงอกเงย ผลตอบแทนระยะปานกลางชนะเงินเฟ้อพอสมควร ในบางปีผลตอบแทนอาจจะติดลบ  3. แบบเสี่ยงสูง เน้นการเติบโตของเงินลงทุนและผลตอบแทนในระยะยาว ในบางปีหรืออาจจะสองสามปีติดต่อกัน ผลตอบแทนอาจจะติดลบ

    แต่ละคนสามารถมีพอร์ตการลงทุนได้หลายพอร์ตค่ะ และควรจะมีมากกว่าหนึ่งพอร์ตด้วย อย่างน้อยสักสองหรือสามพอร์ต เพื่อดูแลเงินลงทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนแตกต่างกัน เช่น เงินที่จะออมไปเป็นเงินดาวน์รถยนต์ในอีก 1-2 ปี ตั้งเป้าหมายที่ 1 เงินที่จะเก็บไว้ให้ลูกเรียนปริญญาโทต่างประเทศ ในอีก 5-7 ปี ให้ตั้งเป้าหมายในแบบที่ 2 และเงินที่จะลงทุนเอาไว้ดูแลตัวเองยามเกษียณในอีก 20 ปี ให้ตั้งเป้าหมายแบบที่ 3 เป็นต้น

    คำแนะนำต่อไปคือ “มองภาพรวม” เท่าที่สังเกต ทั้งจากตนเองและผู้อื่น ความโลภจะเกิดขึ้นเมื่อมองในแต่ละจุดเช่น ลงทุนในหุ้นตัวหนึ่ง พอขึ้นไปเยอะ ได้กำไรดี ก็เสียดายว่า “ลงทุนน้อยไป” พอราคาตก ขาดทุน ก็เสียใจว่า “ไม่น่าลงทุนเลย” หรือพอขายไปแล้ว ราคาขึ้นต่อ ก็จะเสียดายว่า “ขายเร็วเกินไป” หรือขึ้นไปแล้วไม่ได้ขาย พอราคาตกลงมา กำไรหดหาย ก็เสียใจว่า “รู้อย่างนี้ขายไปก่อนก็ดี” ฯลฯ เหล่านี้เป็นอาการของความโลภค่ะ

    เมื่อเราลงทุนแบบเป็นพอร์ต คือมีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายๆกลุ่มแล้ว โดยทั่วไปผลตอบแทนจะไม่หวือหวามาก จึงไม่ค่อยปรากฏว่า มีการขาดทุนมากๆ หรือกำไรมากๆ ในภาพรวม  ดังนั้น การมองภาพรวมจะช่วยให้เรานิ่งขึ้น โลภน้อยลง จิตใจไม่กวัดแกว่งไปกับการขึ้นลงของหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งมากนัก

    หลายท่านบอกว่า ถ้าราบรื่นเกินไปก็ไม่สนุก ดิฉันแนะนำว่า หากจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆเรียบร้อยแล้ว ผู้สนใจความตื่นเต้น ก็อาจจะแบ่งเงินลงทุนก้อนหนึ่งเอาไว้ซื้อขาย หรือเทรดเอง ก็จะเพิ่มความตื่นเต้นอีกหน่อย โดยไม่กระทบเป้าหมายการลงทุน  ดิฉันก็ใช้วิธีนี้ค่ะตื่นเต้นและสนุกดี โดยเฉพาะในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้การเทรดยากขึ้นหน่อยหนึ่งค่ะ

    ในการลงทุน ผู้ลงทุนจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง “ความโลภ” กับ “ความกลัว” เสมอ เมื่อใดที่เรากลัว(ขาดทุน)มาก เราจะกล้าน้อยลง และลดความโลภไปในตัว  แต่เมื่อใดที่ “ความโลภ” เข้ามาครอบงำจิตใจ“ความกลัว” มักจะหายไป และความกล้าบ้าบิ่นอาจจะเกิดขึ้น ผู้ลงทุนจึงต้องสร้างสมดุลย์เรื่องความโลภและความกลัวให้พอดีๆค่ะ และถ้าจะให้มีความสุขในการลงทุน อยู่ตรงกลางๆดีที่สุด ไม่โลภ และไม่กลัวความเสี่ยงจนเกินไปเพราะการกลัวความเสี่ยงจนเกินไปก็ทำให้เสียโอกาส

    CNN Money มีการสร้างดัชนีวัดความกลัวและความโลภของนักลงทุน เรียกว่า Fear & Greed Index โดยวัดจากตัวชี้วัด 7 ตัวคือ

    1. โมเมนตัมของราคาหุ้น (Stock Price Momentum) โดยเทียบดัชนี เอสแอนด์พี 500 กับ ค่าเฉลี่ย 125 วันที่ผ่านมา

    2. ความแข็งแกร่งของราคาหุ้น (Stock Price Strength)โดยวัดจากจำนวนหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค (NYSE) ที่ทำสถิติราคาสูงที่สุด หรือต่ำที่สุด ในรอบ 52 สัปดาห์

    3. ความกว้างของราคาหุ้น (Stock Price Breadth) วัดจากปริมาณหุ้นที่ซื้อขายกันด้วยราคาที่เพิ่มขึ้น เทียบกับที่ซื้อขายกันด้วยราคาที่ลดลง

    4. ออพชั่นขายและซื้อ (Put and Call Options) คืออัตราส่วนการขาย Put เมื่อเทียบกับ Call โดยเปรียบเทียบปริมาณการซื้อขาย Call Options โดยมองว่าตลาดจะขึ้น เมื่อเทียบกับ การซื้อขาย Put Options โดยมองว่าตลาดจะปรับตัวลง

    5. ปริมาณความต้องการหุ้นกู้ที่เสี่ยงสูง (Junk Bond Demand) โดยดูส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร/หุ้นกู้ที่อยู่ในอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นเกรดที่ลงทุนได้ (Investment Grade) เมื่อเทียบกับ หุ้นกู้ที่เสี่ยงสูง (Junk Bonds)

    6. ความผันผวนของตลาด (Market Volatility) ซึ่งวัดโดยดัชนี VIX

    7. ความต้องการหลบภัย (Safe Haven Demand) โดยดูจากความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนของหุ้นกับพันธบัตรรัฐบาล

    ทั้งหมดนี้เป็นการวัดดัชนีของสหรัฐอเมริกาค่ะ โดยเขาจะดูว่าตัวชี้วัดแต่ละตัวเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยที่วิ่งอยู่ตามปกติหรือไม่ และให้ค่าแต่ละตัวชี้วัดตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยค่ายิ่งสูง ก็ยิ่งแปลว่าผู้ลงทุนมีความโลภ คือกล้ามากขึ้นและค่ายิ่งต่ำก็แปลว่าผู้ลงทุนมีความกลัวมากขึ้น โดยเลข50 ถือเป็นค่ากลางค่ะ และเขาก็นำค่าของตัวชี้วัดทั้งเจ็ดมาเฉลี่ยโดยให้น้ำหนักเท่าๆกัน ออกมาเป็นดัชนี

    ค่าของดัชนี 0 ถึง 25 แปลว่ากลัวมาก  26 ถึง 50 แปลว่ากลัวปานกลาง   51 ถึง 75 แปลว่า กล้าปานกลาง  และ 76 ถึง 100 แปลว่า กล้ามาก (โลภมาก)

    ท่านคงสงสัยแล้วสิคะว่าค่าดัชนีตอนนี้เป็นเท่าไร

    ดัชนี ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2561 เท่ากับ  23 และวันที่ 10 ตุลาคม หุ้นสหรัฐราคาตกมากมาย ดัชนีลดลงเหลือเท่ากับ 7 ซึ่งเท่ากับช่วงเดือนมกราคม และลดลงเหลือ 5 ในวันที่ 11 ตุลาคม แสดงว่าผู้ลงทุนในตลาดสหรัฐมีความกลัวเกือบถึงจุดสูงสุดแล้วค่ะ
[/size]
โพสต์โพสต์