Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1892
ผู้ติดตาม: 313

Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ข่าวคราวเกี่ยวกับ “การลงทุนใน Bitcoin” กำลังร้อนแรงมากในช่วงนี้ทั้ง ๆ ที่ไม่นานมานี้ Bitcoin หรือ “เงินดิจิตอล” ยังเป็นเรื่องที่คนไทยแทบไม่รู้จัก คนจำนวนมากยังคิดว่านี่คือ “เงินเก๊” ที่มีแก๊งต้มตุ๋นเอามาหลอกขายให้กับคนที่โลภมากอยากรวยเร็ว คล้าย ๆ กับพวกแชร์ลูกโซ่ เหตุผลก็เพราะว่าค่าของ “บิทคอยน์” มีการปรับตัวขึ้นหวือหวามาก ย้อนหลังไปไม่เกิน 10 ปี เงินดิจิตอลสกุลที่เรียกว่าบิทคอยน์ซึ่งน่าจะเป็น “เงินดิจิตอลสกุลแรก” ที่ถูกก่อกำเนิดขึ้นโดยคนที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ยังมีค่าน้อยมากและแทบไม่มีคนใช้ มีเรื่องเล่ากันว่าในปี 2010 นาย Hanyecz ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ชาวฟลอริดาได้เอาเงินจำนวน 10,000 บิทคอยน์ที่ตัวเอง “ขุดได้” ไปซื้อพิสซ่า 2 ถาด ถ้าคิดคร่าว ๆ ราคา 2 ถาดเท่ากับ 1,000 บาท ก็เท่ากับว่าคนรับบิทคอยน์ตีราคา 1 บิทคอยน์เท่ากับ 0.1 บาท แต่ราคาบิทคอยน์ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2560 นั้นเคยมีการซื้อขายสูงถึงเกือบ 100,000 บาท เงิน 10,000 บิทคอยน์มีค่าเท่ากับ 1,000 ล้านบาท ก็หมายความว่า นาย Hanyecz ได้สร้างตำนาน “ซื้อพิสซ่าถาดละ 500 ล้านบาท”

ดัชนีราคาบิทคอยน์ที่มีการบันทึกตั้งแต่ประมาณ 7 ปีที่แล้วคือประมาณ เดือนกรกฎาคม 2010 นั้น เริ่มที่ประมาณ 0.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 บิทคอยน์ หลังจากนั้นมันก็ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและกระโดดขึ้นเป็นช่วง ๆ ภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี ราคาก็ขึ้นเป็นหลัก 100 เหรียญ หรือเป็นเงิน “ร้อยเด้ง” และในช่วงประมาณ 2-3 เดือนก่อนที่จะจบปี 2013 ราคาบิทคอยน์ก็ขึ้นมาถึงเกือบ 1,000 เหรียญ หรือขึ้นมาอีกเกือบ 10 เด้งในเวลาเพียง 2 เดือน เท่ากับว่าราคาบิทคอยน์นั้นขึ้นมาประมาณไม่น้อยกว่า “พันเด้ง” ในเวลา 3 ปีเศษ ๆ และน่าจะต้องถือว่าเป็นการขึ้นของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่น่าทึ่งที่สุดในโลกครั้งหนึ่งก็ว่าได้ หลังจากนั้น อาจจะเพราะว่ามันขึ้นมาแรงมากเกินไปและคนอาจจะคิดว่ามันถูก “ปั่น” ขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลคล้าย ๆ กับ “Tulip Mania” หรือการปั่นราคาหัวทิวลิปในเนเธอร์แลนด์สมัยหลายร้อยปีก่อนที่ทำให้ดอกทิวลิปที่ “ไม่มีค่าหรือประโยชน์ใช้สอย” มีราคาเท่ากับบ้านทั้งหลัง ดังนั้น ราคาบิทคอยน์จึงค่อย ๆ ตกลงมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจนเหลือประมาณ 200 เหรียญเศษ ๆ คนที่ซื้อที่ “ดอย” ขาดทุนไปเกือบ 80% ในเวลาประมาณปีครึ่ง

แต่ดูเหมือนว่าบิทคอยน์นั้นไม่ใช่ทิวลิป เพราะคนเริ่มเห็นประโยชน์ของมันในแง่ที่ว่ามันเป็นเงินจริง ๆ และเป็น “เงินแห่งอนาคต” เพราะมันถูกออกแบบมาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่มีข้อดีหลาย ๆ อย่างที่ “เงินกระดาษ” สู้ไม่ได้ มันคล้าย ๆ กับเทคโนโลยีอิเล็คโทรนิกส์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่ในที่สุดกำลังทำลายเทคโนโลยีกระดาษอย่างหนังสือหรือสิ่งอื่นที่จับต้องได้ ดังนั้นคนก็เริ่มที่จะใช้เงินบิทคอยน์มากขึ้น ราคาบิทคอยน์ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถึงต้นปี 2017 ราคาบิทคอยน์ปรับตัวทะลุจุดสูงสุดเดิม ราคาปิดที่ประมาณ 1,000 เหรียญสหรัฐต่อ 1 บิทคอยน์ และหลังจากนั้น ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวขึ้นแบบ “ม้วนเดียว” ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนมีราคาสูงสุดถึง 2,850 เหรียญในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2017 คนที่ถือบิทคอยน์ไว้ตั้งแต่ราคาบิทคอยน์เท่ากับ 0.06 เหรียญเมื่อ 7 ปีก่อนจะได้กำไรเกือบ 50,000 เท่า แน่นอน มีน้อยคนที่ไม่ขายในช่วงที่ผ่านมา แต่คนที่ถือในราคา 1 เหรียญก็น่าจะกลายเป็นมหาเศรษฐีได้ถ้าซื้อไว้พอสมควรและถือยาวมาจนถึงวันนี้

นาทีนี้ถ้าจะถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับบิทคอยน์ก็คงต้องตอบว่ามันคงเป็น “ฟองสบู่” ถ้าจะเรียกแบบเท่ ๆ ก็คงต้องเรียกว่า “Bubble Coin” มันน่าจะ “แตก” ได้ตลอดเวลา เพราะตัวของมันเองนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่กิจการที่จะก่อให้เกิดรายได้และกำไรมหาศาลแบบหุ้นกูเกิล เฟซบุค หรืออะเมซอน ว่าที่จริงมันเป็นแค่ “นามธรรม” หรือ “ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์” ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนสามารถอ้างอิงและนำไปใช้เป็น “เงิน” นั่นก็คือ เอาไว้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เอาไว้เป็นเครื่องมือในการเก็บรักษาความมั่งคั่งหรืออำนาจในการซื้อในอนาคต หรือเอาไว้ใช้ในการเก็งกำไร ซึ่งทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับว่าคนจะใช้มันไหม ถ้าไม่ใช้ มันก็ไม่มีประโยชน์ เหนือสิ่งอื่นใด บิทคอยน์ก็ไม่ได้เป็นเงินดิจิตอลเพียงตัวเดียว ขณะนี้มีเงินดิจิตอลน่าจะไม่ต่ำกว่า 10 สกุลและหนึ่งในนั้นก็คือ Ethereum ที่ก้าวขึ้นมาแข่งด้วยระบบที่อาจจะดีกว่าก็ได้ ความไม่แน่นอนของการแข่งขันและเหตุการณ์ไม่แน่นอนของเงินดิจิตอลเองที่ไม่มีรัฐบาลของประเทศไหนเป็นเจ้าของทำให้ราคาของบิทคอยน์ผันผวนอย่างหนัก ในบางครั้งคนก็ไม่แน่ใจว่าถึงวันหนึ่งเมื่อระบบ “ล่มสลาย” เราจะไปเอาเงินจากใคร? ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าวว่าบิทคอยน์ “ถูกแฮ็ค” ทำให้ราคาร่วงมาอย่างหนักก่อนจะดีขึ้นเมื่อพบว่าโบรกเกอร์ที่ค้าขายบิทคอยน์ต่างหากที่โดนแฮ็ค บิทคอยน์ยังปลอดภัย เป็นต้น

ไม่ว่าราคาบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรในอนาคตผมก็คิดว่ามันคงจะต้องอยู่กับเราต่อไป ที่จริงถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ “เงินดิจิตอล” จะต้องอยู่กับเราต่อไปเรื่อย ๆ เราคงไม่เลิกเงินกระดาษที่รัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นผู้ “รับรองหรือรับประกัน” ว่ามันเป็นสิ่งที่ “ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” เป็นไปได้ว่าเงินดิจิตอลก็จะเป็นเงินที่ “รับรองและรับประกันโดยเทคโนโลยี” ที่สามารถ “ชำระหนี้ได้ตามกฎของสังคมโลก” ที่เป็นเอกชน เป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเงินดิจิตอลที่ “ไม่มีกำแพงของรัฐ” มาขวางกั้น สามารถใช้ได้ทุกที่และอาจจะมีชัยเหนือรัฐเช่นเดียวกับกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่เดิมรัฐเป็นผู้ผูกขาดการทำ นี่อาจจะเป็นเวลาที่ “การปฏิวัติของเงินตราเริ่มขึ้นแล้ว” และมันจะดำเนินต่อไปโดยที่ไม่มีใครขวางได้ เหมือนกับสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในแวดวงของไอทีและดิจิตอลที่กำลังปฏิวัติการดำเนินการแบบเก่า ๆ

ในฐานะของนักลงทุนแนว VI รุ่นที่เกิดในยุคอานาล็อกไม่มีทั้งคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอื่น ๆ อีกมากนั้น ผมก็ได้แต่ทึ่งกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่น่าเชื่อ บ่อยครั้งผมก็ไม่สามารถใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับมันได้ทุกเรื่อง ผมเรียนรู้แนวคิดในภาพใหญ่ของมันและก็พยายามดูเทรนด์หรือแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่อง “โกหก” ผมคิดว่ามันเป็น “เรื่องจริง” ผมคิดว่าสิ่งเก่า ๆ ในที่สุดก็จะต้องค่อย ๆ หดตัวลง แม้ว่าจะไม่หมดไปแต่อนาคตที่สดใสไม่มีแล้ว ส่วนตัวผมเองนั้น ผมไม่ได้กระตือรือร้นที่จะต้องใช้มันแต่ก็ไม่ปฏิเสธยกเว้นแต่ว่าความเสี่ยงจะสูงเกินไป ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินนั้นผมคิดว่ามีความเสี่ยงสูง ดังนั้น บ่อยครั้งผมก็ไม่อยากใช้ถ้าไม่จำเป็น เหนือสิ่งอื่นใด ผมไม่ค่อยเข้าใจหรือมีความสามารถในการใช้เพียงพอ

ในส่วนของการลงทุนเองนั้น ผมไม่มีความสามารถพอที่จะวิเคราะห์ “ปัจจัยของการเก็งกำไร” ในเรื่องของค่าเงินไม่ว่าจะเป็นเงินแบบกระดาษหรือเงินดิจิตอล ดังนั้น ผมหลีกเลี่ยงที่จะลงทุน ผมชอบลงทุนในสิ่งที่ผมรู้ดี กรณีของบิทคอยน์หรือเงินดิจิตอลอื่น ๆ นั้น ผมไม่สามารถจะบอกได้เลยว่ามันควรมีค่าเท่าไร ผมคิดว่ามันคงแพงเป็นฟองสบู่แต่มันก็อาจจะไม่จริง เพราะถึงแม้ราคาจะขึ้นมามโหฬารแต่มูลค่าตลาดของเงินบิทคอยน์ทั้งหมดก็มีเพียงประมาณ 45,000 ล้านเหรียญ หรือ 1.5 ล้านล้านบาท ไม่ได้ใหญ่มากเมื่อเทียบกับว่ามันอาจจะกลายเป็นเงินที่ยิ่งใหญ่สกุลหนึ่งของโลกในอนาคต อย่างไรก็ตาม มันก็อาจจะมีมูลค่าลดลงได้มากถ้าทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปในด้านที่เลวร้ายลงอย่างที่เราคาดไม่ถึง

ประเด็นสุดท้ายก็คือ ผมจะไม่ลงทุนอะไรเลยที่กำลังร้อนแรงและราคาขึ้นไปสูงมากในระยะเวลาอันสั้น เพราะโอกาสที่จะกำไรเร็ว ๆ และมากนั้นจะน้อยลง ในขณะที่โอกาสจะขาดทุนหนักในระยะเวลาอันสั้นนั้นมักจะสูงกว่า การลงทุนในสถานการณ์แบบนี้สำหรับ VI แล้วต้องถือว่า “ผิดศีล” อย่างแรง
rTee
Verified User
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เท่าที่ติดตาม ดร.นิเวศน์ มาเข้าใจว่า ดร. ท่านไม่ถนัดในเรื่องเทคโนโลยี
การที่ ดร. รับว่า crypto currency เป็น “เรื่องจริง” ไม่ใช่ “โกหก” ผมถือเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญมาก

ด้วยความที่ผมไม่ใช่ VI ตัวจริง หลังจากศึกษาเรื่องนี้ได้ระดับหนึ่งก็ได้ซื้อเงินสกุล Ethereum มาเก็บไว้แล้ว แม้ราคาจะขึ้นมาสูงมากในเดือนที่ผ่านมา (ติดดอยอยู่ตอนนี้)

ไม่ทราบว่ามีพี่ๆเพื่อนๆท่านใดเริ่มศึกษาหรือลงทุนใน crypto currency บ้างมั๊ยครับ?
ใน ThaiVI มีห้องไหนสำหรับคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องนี้โดยเฉพาะมั๊ยครับ?
CR[t]
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Ethereum มีคนพัฒนา application มาใช้งานเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้ชัดเจนมาก อีกอย่างที่ทำให้คนต้องการมากๆ เลยคือ เวลา ICO = IPO บริษัทต่างๆ จะรับเงินเฉพาะ Ethereum ซึ่งกลายเป็นว่าถูกนำมาใช้สำหรับระดมทุนซะมากกว่า

ส่วนตัวไม่ได้ถือ Crypto Currency ไว้มาก มีบ้างที่ได้จาก Mining ส่วนมากได้มาก็แลกกลับเป็นเงินบาทเกือบหมด หลังๆถึงเริ่มมาถือรอราคาขึ้น แต่ถ้าถามผมว่าทำไมถึงไม่ซื้อมาถือเกร็งกำไรเลยก็เพราะว่าผมก็ประเมินมูลค่าไม่ได้นั่นเอง mining แล้วขายเรื่อยดีกว่า
Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
rTee
Verified User
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ส่วนมากที่เห็นคือประเมินมูลค่าโดยใช้ market cap เทียบกับทองคำ หรือ USD ในระบบครับ
ในสมมติฐานว่า crypto currency / blockchain จะกลายมาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแทนการเงินแบบระบบเดิม
ภาพประจำตัวสมาชิก
NT
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 328
ผู้ติดตาม: 1

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ของมีจำกัด.. ยังไงก็ขึ้นได้เรื่อยๆ (ต่างกับเงินจริงที่ Fed พิมพ์ออกมาได้เรื่อยๆ) ตราบใดที่มันยังมีประโยชน์อยู่.. เชื่อว่ามากกว่าครึ่งของธุรกิจอยู่ใน underground economy..
namdee
Verified User
โพสต์: 135
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

จากจุดนี้อาจทำให้อาจารย์กลับมาสนใจ IT city ก็ได้นะครับ ไม่ว่าสกุลอะไร ก็ต้องใช้การ์ดจอขุดหมด 555
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

NT เขียน:ของมีจำกัด.. ยังไงก็ขึ้นได้เรื่อยๆ (ต่างกับเงินจริงที่ Fed พิมพ์ออกมาได้เรื่อยๆ) ตราบใดที่มันยังมีประโยชน์อยู่.. เชื่อว่ามากกว่าครึ่งของธุรกิจอยู่ใน underground economy..
ตอนแรก ผมกะคิดงี้ แต่เซียน เขาบอกว่า เด๋วมันกะ งอก crypto currencty อื่นออกมา
ดังนั้น supply งอกได้ คับ แต่อาจจะงอก คู่กันกับของเก่า
show me money.
CR[t]
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

nut776 เขียน:
NT เขียน:ของมีจำกัด.. ยังไงก็ขึ้นได้เรื่อยๆ (ต่างกับเงินจริงที่ Fed พิมพ์ออกมาได้เรื่อยๆ) ตราบใดที่มันยังมีประโยชน์อยู่.. เชื่อว่ามากกว่าครึ่งของธุรกิจอยู่ใน underground economy..
ตอนแรก ผมกะคิดงี้ แต่เซียน เขาบอกว่า เด๋วมันกะ งอก crypto currencty อื่นออกมา
ดังนั้น supply งอกได้ คับ แต่อาจจะงอก คู่กันกับของเก่า
นี่เลยครับ ตาราง ICO มีต่อเนื่องมากครับ

https://tokenmarket.net/ico-calendar
Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
rTee
Verified User
โพสต์: 112
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

CR[t] เขียน:
nut776 เขียน:
NT เขียน:ของมีจำกัด.. ยังไงก็ขึ้นได้เรื่อยๆ (ต่างกับเงินจริงที่ Fed พิมพ์ออกมาได้เรื่อยๆ) ตราบใดที่มันยังมีประโยชน์อยู่.. เชื่อว่ามากกว่าครึ่งของธุรกิจอยู่ใน underground economy..
ตอนแรก ผมกะคิดงี้ แต่เซียน เขาบอกว่า เด๋วมันกะ งอก crypto currencty อื่นออกมา
ดังนั้น supply งอกได้ คับ แต่อาจจะงอก คู่กันกับของเก่า
นี่เลยครับ ตาราง ICO มีต่อเนื่องมากครับ

https://tokenmarket.net/ico-calendar
ICO มันมีเหรียญออกมาก็จริง แต่ผมมองว่ามันเป็นเหมือนแจกหุ้น IPO มากกว่านะครับ

ผมมอง Crypto currency ว่าเป็น Public blockchain มากกว่า หลักๆเลยคือต้องโอนเงินแทนระบบธนาคารได้
ซึ่งถ้าสุดท้ายเกิดขึ้นจริงก็น่าจะเหลือ Public blockchain หลักแค่ 1 อันเท่านั้น
อย่างเหรียญหลักๆตอนนี้ก็พยายามจะแข่งเป็นที่ 1 กันอยู่ (Bitcoin / Ethereum / Ripple / Litecoin)
Crypto currency เกิดใหม่จะมาแทนที่ได้เลยคงไม่ใช่เรื่องง่าย

อันนี้เปรียบเทียบ Market cap ของแต่ละเหรียญครับ
https://coinmarketcap.com/
CR[t]
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อีกมุมมองนึงนะครับ ถ้าไม่นับเงินสกุลหลักๆ แล้ว เหรียญอย่างอื่น ก็เป็นเหมือนการสร้าง community ที่ใช้ concept
ของ sharing economy ที่ไม่ใช่ว่าใครมีเงินมากแล้วได้ไปทั้งหมด ทุกคนที่เข้ามาทำกิจกรรมในเหรียญนั้นๆ มีส่วนร่วมกัน
เช่น

- ผู้สร้างเหรียญ -> ออกแบบบริการขึ้นมาโดยมีเหรียญเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนหรือจะมองเหมือนคะแนนสะสมก็ได้
- ผู้ใช้งาน -> ได้รับบริการที่รวดเร็วด้วยต้นทุนที่ต่ำเพราะไม่ต้องมีตัวกลางในการแลกเปลี่ยนหรือพ่อค้าคนกลางหลายต่อ
- ผู้ที่สนับสนุนการให้บริการ(นักขุดหรือคนที่นำทรัพยากรมาให้ทำงานแลกเปลี่ยน) -> ได้เหรียญเป็นค่าตอบแทน

รวมๆ แล้วทุกคนที่เข้ามามีส่วนร่วมได้ส่วนแบ่งในการอยู่ใน community นี้ไป แล้วก็สามารถกลับมาใช้ซ้ำได้อย่างต่ำเนื่อง
เช่นเหรียญ SIA ที่มีการนำเสนอบริการการเก็บข้อมูลแบบคล้ายๆ cloud แต่ต่างที่ไม่ได้เก็บไว้ที่ server ส่วนกลาง
ของ cloud เช่น amazon หรือ google แต่เก็บไว้ที่เครื่องของใครก็ได้ที่อยากจะแบ่งพื้นที่ harddisk ในการเก็บไฟล์ให้
โดยจะได้รับเหรียญ SIA เป็นค่าตอบแทน ส่วนคนขุดที่ทำการ process transaction ให้ก็ได้ค่าบริการเป็นเหรียญ SIA เหมือนกัน
สุดท้ายผู้สร้างเหรียญก็ได้ค่า fee ในการใช้บริการกับมูลค่าของเหรียญที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เหรียญนั้นได้รับความนิยม

แน่นอนว่าเหรียญต่างๆ ก็จะผูกกับ Bitcoin โดยที่ Bitcoin ก็ผูกกับ US dollar อีกที ท้ายที่สุดแล้วเหรียญหลักๆ
เช่น Bitcoin ก็เป็นตัวหลักในการแลกเปลี่ยน ใช้อ้างอิงและที่พักเงิน ในการกรณีที่คนไม่ต้องการถือเงินสกุลเล็กสกุลน้อยไว้
เพื่อที่จะยังสามารถเคลื่อนย้ายเงินได้อย่างรวดเร็วเพราะ exchange ทั่วโลกรับ Bitcoin อยู่แล้วและสามารถแปลงเป็น local
ของแต่ละประเทศได้ในทันที
Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

อ่านแล้วสนุกครับเรื่องนี้
มันมีหลากหลายเรื่องตีกันอยู๋ในเรื่องเดียวกัน
ตอนนี้มี Block chain ที่อยู่เบื้องหลังของ Bitcoin มาใช้งานสำหรับ Fintech ในเมืองไทย
แต่ในเมืองนอกกระแสนี้แรงพอควรครับ
:)
:)
nchan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

มีครับ เคยทำเหมืองขุดบิตคอยน์เมื่อตอน 3-4 ปีก่อน
ยุคสุดท้ายของการ์ดจอ ก่อนที่จะไป asic

ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า มันจะกลับมาอีกครั้ง
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 2

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

อ่านเจอสักที่เขียนผมว่าวิเคราะห์ได้ตรงจุดดีครับ

ประมานว่า price ขึ้นกับ supply จำกัด demand ที่เพิ่ม

สำคัญต้องมี trust บาง coin ตอบโจทย์เรื่อง scarcity แต่ยังไม่ตอบโจทย์เรื่อง trust
NOPVARIT
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอถามคุณ rTee และ ผู้รู้ท่านอื่นหน่อยครับ

1.ถ้าเราประเมินมูลค่า crypto currency / blockchain โดยใช้ market cap เทียบกับทองคำ ณ.อดีต จนถึงปัจุบัน ทองคำมี market cap อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ?

2.ถ้าเราประเมินมูลค่า crypto currency / blockchain โดยใช้ market cap เทียบกับ USD ในระบบ ณ.อดีต จนถึงปัจุบัน USD มี market cap อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ?

3.หรือมีอื่นๆที่เสริมเพิ่มเติมในการประเมินมูลค่าเป็นความรู้เกี่ยวกับ crypto currency / blockchain ด้วยก็ดีครับ...

ขอบคุณทุกคำตอบมากครับ
Green
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2895
ผู้ติดตาม: 235

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมคิดว่า หากเราจะยก เรื่อง Demand and Supply มาเป็นเหตุผล สำหรับการ ขึ้นลงของราคา ของ Crypto Currency พวกนี้

สิ่งที่ต้องคำนึงคือ Demand ที่ว่านั้น เป็น Demand จริง หรือ Demand เทียม

ยกตัวอย่าง เรื่อง ราคาน้ำมันเป็นต้น เช่น

Demand จริง= ความต้องการที่ใช้น้ำมัน ในอุตสาหกรรม การใช้ในการอุปโภค เช่น เติบน้ำมันรถยนต์ เป็นต้น
Demand เทียม = ความต้องการที่จะซื้อน้ำมัน เพื่อการเก็งกำไร ได้ส่วนต่างจากราคา ที่เกิดขึ้น

หากในช่วงที่ คน เฮโล เข้าไปกันมากๆ Demand เทียม จะเกิดขึ้นเยอะ จนราคาสินค้าตัวนั้นๆ มันกระโดดชึ้นไปจากความเป็นจริงมาก
ส่วนหาก เวลา ที่คนกลัวกันมากๆ มันก็จะเป็นตรงกันข้าม

ไม่รู้นะ การที่ Crypto currency มีการขึ้นลงราคาที่ หวือ หวา มากๆ
มันอาจจะไปกระทบ ต่อ ประโยชน์หลักๆ ของการมี crypto currency ก็ได้
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.

Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
CR[t]
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

Re: Bubble Coin/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

NOPVARIT เขียน:ขอถามคุณ rTee และ ผู้รู้ท่านอื่นหน่อยครับ

1.ถ้าเราประเมินมูลค่า crypto currency / blockchain โดยใช้ market cap เทียบกับทองคำ ณ.อดีต จนถึงปัจุบัน ทองคำมี market cap อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ?

2.ถ้าเราประเมินมูลค่า crypto currency / blockchain โดยใช้ market cap เทียบกับ USD ในระบบ ณ.อดีต จนถึงปัจุบัน USD มี market cap อยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ครับ?

3.หรือมีอื่นๆที่เสริมเพิ่มเติมในการประเมินมูลค่าเป็นความรู้เกี่ยวกับ crypto currency / blockchain ด้วยก็ดีครับ...

ขอบคุณทุกคำตอบมากครับ
ลองดูรูปนี้ก็ได้ครับ ส่วนตัวคิดว่าเหรียญ Crypto ต้องผ่านการคัดเลือกผู้ชนะอีกเยอะครับ หลายๆ เหรียญก็มีสินค้า backed หลายๆ เหรียญก็ไม่มี ก็ต้องพิจารณากันต่อไปครับ แต่ถ้าอันไหนสินค้าหรือบริการที่ backed อยู่ ชัดเจนแล้วแนวโน้มดี นอกจากขุดผมก็ซื้อสะสมไว้ครับ

concept ของพวกนี้คือ decentralized แต่ช่วงนี้ก็มีความพยายามรวบมาเป็น centralized ซะเหลือเกิน
แนบไฟล์
IMG_4009.JPG

Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
โพสต์โพสต์