รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนขายของ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 792
ผู้ติดตาม: 122

รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รัก A แต่ ซื้อ B / โดย คนขายของ

หนึ่งในสถานะการณ์ที่นักลงทุนมักพบเจออยู่เสมอในการลงทุนคือ กว่าจะเข้าใจถึงความสุดยอดของกิจการที่ สนใจ ราคาหุ้นก็มักขึ้นไปสูงมากแล้ว ด้วยความรู้สึกเสียดายที่พลาดโอกาส ทำให้เริ่มมองหากิจการที่คล้ายๆ กัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่ราคายังไม่ขยับมากนักเพื่อเข้าลงทุน ด้วยความหวังว่าตลาดจะเริ่มเห็นคุณค่า และให้ราคาสูงขึ้นในทิศทางเดียวกันในไม่ช้า หรืออาจจะเป็นในกรณีที่ หุ้น A ได้รับความสนใจจาก ตลาดเป็นอย่างมาก และราคาขึ้นไปสูงลิ่ว ทำให้นักลงทุนที่ตกรถเริ่มหันมามองหุ้น B ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรม เดียวกันแต่ราคายังไม่ไปไหน แล้วตัดสินใจลงทุนในหุ้น B เพราะเมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนเช่น PE หรือ PBV แล้ว ดูคุ้มค่ากว่า การตัดสินใจลงทุนด้วยข้อสรุปแบบนี้ใช้ได้หรือไม่? ในบทความนี้เราจะลองมาดูกรณีศึกษาในอดีตกัน

ในช่วงต้นปี 1985 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ค้าปลีกสมัยใหม่ในรูปแบบ “Discount Store” จะมีการเติบโตแบบพุ่งทะยาน มีหุ้นค้าปลีกสองตัวที่จะเป็นดาวรุ่งในธุรกิจนี้ Walmart (WMT) มียอดขายราว 6.4 พันล้านเหรียญ มูลค่ากิจการอยู่ที่ 6.3 พันล้านเหรียญ มี PE 20 เท่า ในขณะที่ห้าง Target (TGT) มียอดขาย 8 พันล้านเหรียญ มูลค่ากิจการ 3.5 พันล้านเหรียญ และมี PE 13.6 เท่า ราคาหุ้น WMT ในช่วง 1980-1985 นั้นขึ้นมาถึง 794% แต่ราคาของ TGT นั้นขยับมาเพียง 48% ในช่วงเวลา เดียวกัน ถ้าหากนักลงทุนย้อนเวลาไปอยู่ในปี 1985 เราจะเลือกลงทุนในหุ้นตัวไหน? ผมเชื่อว่าคงมีหลายคนเลือกซื้อหุ้น TGT ด้วยเหตุผลที่ว่าราคาถูกกว่า หรือ PE ต่ำกว่าดูเสี่ยงน้อยกว่า หรือเลือก TGT เพราะเชื่อว่า หุ้น WMT ขึ้นมาต่อเนื่องยาวนานแล้ว TGT ยังไม่ขึ้น น่าจะขั้นตามในไม่ช้า ซึ่งการให้เหตุผลในลักษณะนี้ มักเป็นที่นิยมในการเขียนบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผ่านมาราว 32 ปีมาในยุคปัจจุบัน ลองมาดูการว่า ผลตอบแทนของ คนที่เลือก WMT กับ TGT ในตอนต้นปี 1985 นั้นต่างกันเพียงใด?

ในวันนี้มูลค่ากิจการของ TGT อยู่ที่ 36.9 พันล้านเหรียญ ขึ้นมา 12 เท่า ในขณะที่ WMT มีมูลค่า กิจการอยู่ที่ 2.1 แสนล้านเหรียญ ขึ้นมาจากตอนต้นปี 1985 ถึง 40 เท่า ถ้านักลงทุนใช้มุมมองในแง่ PE ย้อนหลัง หรือ ดูแค่รายได้ว่าของใครมากกว่ากัน เขาคงเลือก TGT เพราะคิดว่าถูกกว่าคุ้มค่ากว่า แต่ถ้าเขาลงรายละเอียดมากขึ้นจะพบว่า รายได้ของ WMT โตไวกว่า TGT มาก ถึงแม้ในตอนต้นปี 1985 ยังน้อยกว่า 25% แต่พอมาปี 1986 รายได้ของทั้งสองก็เกือบเท่ากัน และ รายได้ของ WMT เริ่มทิ้งห่าง TGT ถึง 10% ในปี 1987 ในแง่ของกำไรสุทธิ แม้จะใกล้เคียงกันในปี 1985 แต่ภายในระยะเวลา 5 ปี กำไรของ WMT ก็มากกว่า TGT ถึงเกือบ 3 เท่า

ทำไมถึงต่างกันเช่นนั้น? ผมคิดว่าประเด็นหลักคือ หนึ่ง Walmart ในยุคนั้นถูกขับเคลื่อนโดย Sam Walton ผู้ก่อตั้งซึ่งทุ่มเทชีวิตเพื่อสร้างกิจการค้าปลีกที่แข็งแกร่งที่สุดในอเมริกา สอง การใช้เทคโนโลยี ดาวเทียมเข้ามาช่วยประสานงานทั้งในส่วนของการจัดส่งสินค้าและร้านค้าที่กระจายอยู่ทั่วประเทศในปี 1987 ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารของ WMT เหนือกว่าคู่แข่งอย่างโดดเด่น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการพิจารณาถูกหรือแพงโดยใช้ตัวเลขใดตัวเลขหนึ่ง หรือ อัตราส่วนอันใดอันหนึ่งเพียงอย่างเดียวนั้น อาจทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสได้ นอกจากนั้นการที่สรุปว่าหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันราคาหุ้นน่าจะไปในทิศทางเดียวกันนั้น อาจจะเป็นข้อสรุปที่ไม่ได้เป็นจริงในทุกกรณี เช่น ในขณะที่กำไร WMT โตแบบก้าวกระโดในปี 1987-1988 กำไรของ TGT กลับลดลงอย่างมาก ซึ่งราคาก็ตอบรับไปในทิศทางเดียวกัน

แต่กระนั้นก็ตาม การตัดสินใจซื้อหุ้น B ที่ดูเหมือนซึ่งราคายังถูกอยู่เมื่อเทียบกับหุ้น A ผู้เป็นเจ้าตลาด ก็มีบางกรณีที่ดูเหมือนว่าเป็นการลงทุนที่ดีได้ เช่นการตัดสินใจซื้อหุ้น PEPSI (PEP) ตอนต้นปี 1995 แทนที่จะซื้อหุ้น Coca-Cola (KO) เพราะ PE ของ KO นั้นอยู่ที่ 26 เท่า แต่ของ PEP อยู่ที่ 16 เท่า ผ่านมา 22 ปีผลตอบแทนของ PEP นั้นมากกว่า KO มากกว่าหนึ่งเท่า ทั้งนี้เพราะดูเหมือนว่าตลาดในช่วงต้นปี 1995 ไม่ได้ให้ราคาธุรกิจร้านอาหารที่ PEP ถือครองเท่าใดนัก ทำให้มูลค่ากิจการของ PEP เป็นแค่ครึ่งเดียวของ KO ในปี 1997 PEP จึงได้ spin-off ธุรกิจร้านอาหารออกมาชื่อว่า Yum Brands ทำธุรกิจร้าน KFC และ Pizza Hut เป็นต้น ทุกวันนี้มูลค่าของ PEP รวมกับ YUM นั้นมากกว่า KO แล้ว

โดยสรุป ไม่ว่าในตอนตัดสินใจเราละเลือกลงทุนในหุ้น A ซึ่งเป็นหุ้นที่เป็นที่นิยม ราคาขึ้นมาพอสมควร หรือ หุ้น B ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่ราคาเหมือนยังถูกอยู่ นักลงทุนไม่ควรตัดสินใจว่าถูกหรือแพง โดยดูจาก ราคาในอดีตว่าขึ้นมาเยอะไหม เพราะว่ากิจการที่ดีสามารถทำกำไรเพิ่มต่อเนื่องยาวนานได้หลายปี หรือว่าดู PE, PBV หรือ เงินปันผลมาเปรียบเทียบกัน เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถบอกได้ว่าอนาคตบริษัทจะเป็นอย่างไร การวิเคราะห์กิจการที่ดีนักลงทุนควรศึกษาถึง กลยุทธ์การทำธุรกิจของบริษัท ความทุ่มเท และ แรงจูงใจของผู้บริหาร เข้าใจโอกาส และความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้นอย่างท่องแท้ ถ้าลงรายละเอียดได้แบบนี้ ไม่ว่าเลือก A หรือว่า B ก็สามารถเป็นการลงทุนที่ดีได้เหมือนกัน
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
randomwalk
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 728
ผู้ติดตาม: 1

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ สรุปแล้วไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ต้องวิเคราะห์เชิงลึกเป็นกรณีไป
cntclub
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 289
ผู้ติดตาม: 0

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ บทความยอดเยี่ยมเสมอเลยนะครับ
Power Of Thinking
ภาพประจำตัวสมาชิก
neuhiran
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 817
ผู้ติดตาม: 10

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากๆเลยครับ เขียนบทความได้ยอดเยี่ยมเช่นเคย
duravit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 254
ผู้ติดตาม: 4

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

บทความยอดเยี่ยมมากครับ
TBOON
Verified User
โพสต์: 46
ผู้ติดตาม: 0

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ
drget
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 74
ผู้ติดตาม: 17

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เป็นบทความที่ใหม่สดซึ่งผมติดตามอยู่ไม่กี่คนใน พ.ศ.นี้ครับ
donnyvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 466
ผู้ติดตาม: 9

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่ชาย ^^
"The Winners .... never Quit, The Quitters .... never Win"
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

centel vs.mint :mrgreen:
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: รัก A แต่ซื้อ B / คนขายของ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

synex vs. sis
โพสต์โพสต์