100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/วิวรรณ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1893
ผู้ติดตาม: 313

100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/วิวรรณ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    100 ปีเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินช่วงชีวิตของคนส่วนใหญ่ การที่สถาบันใดๆมีอายุยาวนานถึงร้อยปี นับว่าเป็นวาระใหญ่ควรแก่การเฉลิมฉลอง

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือกำเนิดจาก “สำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานไชยศรี พระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2442 ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1เมษายน 2445 และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2453

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะสำหรับผู้เรียนเพื่อเข้ารับราชการเท่านั้น เพื่อให้เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรในสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงได้พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า จำนวนเก้าแสนกว่าบาทให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการ บนที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน 1,309 ไร่ ที่อำเภอปทุมวัน และพระราชทานเงินที่เหลือจากการสร้างให้ใช้เพื่อกิจการของโรงเรียน

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 และ ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (เนื่องจากประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงปีปฏิทินจาก วันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคมตามแบบสากล ในปี พ.ศ.2483 การนับปีใหม่จึงเสมือนหนึ่งถอยไปนับตั้งแต่ 1 มกราคม ดังนั้น เดือนมีนาคม พ.ศ. 2459 เมื่อนับตามปฏิทินสากล จึงเป็น มีนาคม พ.ศ. 2460) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเปิดดำเนินการมาครบ 100 ปี ในวันที่ 26 มีนาคม 2560 หรือในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า

    การเรียนการสอนในช่วงแรก ประกอบด้วย 4 คณะคือ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

    ในหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือได้ว่าเป็นเสาหลักในการสร้างบุคลากรให้กับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน สร้างบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตมาแล้ว 196,320 คน และมีนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่อีก 18,756 คน อาจกล่าวได้ว่าในหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่ชาวไทยถึง กว่า 200,000 คน ทั่วราชอาณาจักร รวมถึงประเทศในภูมิภาคด้วย ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ฯลฯ และเมื่อปลายปีที่แล้วดิฉันไปบรรยายที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี นอกเหนือจากนิสิตชาวเอเชียแล้ว ยังมีนิสิตชาวเยอรมนี อยู่ในชั้นเรียนด้วย ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายของนิสิตมากพอสมควรทีเดียว

    หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมมหาวิทยาลัยอื่นเรียกผู้เรียนว่า “นักศึกษา” แต่จุฬาฯเรียกว่า “นิสิต” เรื่องนี้มีที่มาค่ะ

    คำว่า “นิสิต” แปลว่า “ผู้อยู่อาศัย” ซึ่งหมายถึงนักศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่เดิมนั้น ต้องพักอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยด้วย เนื่องจากในสมัยก่อน บริเวณนี้ถือว่าอยู่ค่อนข้างไกลจากเขตพระนครซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญ การเดินทางไป-กลับจึงไม่สะดวก ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีหอพักสำหรับนิสิตมาตั้งแต่ปีแรกของการสถาปนา และหอพักนิสิตจุฬาฯ ก็ก่อตั้งมาครบ 100 ปีในปีนี้ด้วยค่ะ

    จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2475 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปทั้งสิ้น 84 คน และมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาต่อมาทุกปีเรื่อยมา ยกเว้นปีเดียวที่ไม่มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษา คือ ปี พ.ศ. 2488 เนื่องจากภาวะสงคราม เวลาผ่านไปจุฬาฯมีคณะต่างๆเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในปัจจุบัน ประกอบขึ้นด้วย 21 คณะ คือ คณะครุศาสตร์ คณะจิตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

    นอกจากคณะแล้วยังประกอบด้วยวิทยาลัย 3 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและเคมี และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข พร้อมด้วยศูนย์ต่างๆ 34 ศูนย์ และสถาบันอีก 14 สถาบัน

    ในโอกาสครบ 100 ของการสถาปนา สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชวนนิสิตเก่า และประชาชนทั่วไปร่วมแรงร่วมใจกันสนับสนุนเงินทุน เพื่อนำไปสร้างห้องนิทรรศการ ในบริเวณอุทยานร้อยปี เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เงินบริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ค่ะ ผู้ประสงค์จะบริจาคสามารถติดต่อได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ
[/size]
โพสต์โพสต์