โชติช่วงชัชวาล ‘รอบใหม่’(1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1893
ผู้ติดตาม: 313

โชติช่วงชัชวาล ‘รอบใหม่’(1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่มีการรายงานผลประชามติอย่างกว้างขวางนั้น กรุงเทพธุรกิจรายงานข่าวในวันเดียวกันให้  “จับตาโชติช่วงชัชวาลรอบใหม่” โดยอธิบายว่ารัฐบาลเตรียมผลักดันตั้งเขตการค้าเสรีภาคตะวันออก (โดยจำลองเขตการค้าเสรีนครเซี่ยงไฮ้ที่ผลักดันให้จีนเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ของโลก) ทั้งนี้โดยให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งลงทุนหลักของประเทศในอุตสาหกรรมใหม่ แห่งอนาคต และให้เชื่อมต่อในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” แผนพัฒนาเศรษฐกิจรอบใหม่นี้ จะทำให้เศรษฐกิจไทย “โชติช่วงชัชวาล” ครั้งใหม่ หลังจากที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต

นอกจากนั้นในวันที่ 4 สิงหาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยที่กล่าวโดยสรุปว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจะทำให้ฝ่ายราชการและองค์กรอิสระควบคุมการเมืองให้ “นิ่ง” ได้ นอกจากนั้นก็ยังจะสามารถป้องกันมิให้นักการเมืองดำเนินนโยบายประชานิยมสร้าง ความเสียหายและขจัดคอร์รัปชัน ทั้งนี้โดยสรุปว่าหากให้เทคโนแครทสามารถบริหารประเทศในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไทยคงจะพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและไม่ติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

  จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ต้องการที่จะจำกัดอำนาจของนักการเมืองและให้การดำเนินนโยบายอยู่ในกรอบของ แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศใน 20 ปีข้างหน้า โดยจะตราเป็นกฎหมายให้นักการเมืองต้องดำเนินการที่กฎหมายระบุ (เข้าใจว่ากฎหมายกำหนดแผนยุทธศาสตร์จะมีผลบังคับใช้ภายในกลางปีหน้า) ทั้งนี้เป็นที่คาดหวังว่านโยบายต่างๆ ของรัฐบาลนี้บวกกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีจะเป็นแม่แบบของการทำให้ประเทศไทยโชติช่วงชัชวาลเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อนหน้า

ดังนั้นจึงควรที่จะต้องมาพิจารณากันว่าเงื่อนไขต่างๆ ทางเศรษฐกิจและปัจจัยด้านต่างประเทศจะเอื้ออำนวยให้เป็นไปดังที่คาดหวังหรือ ไม่ ผมต้องขอกล่าวก่อนเลยว่า ผมคิดว่าสถานการณ์ในขณะนี้แตกต่างจากสถานการณ์เมื่อ 30 ปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด (โชติช่วงชัชวาล) นั้นน่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก

ในขั้นแรกนั้นจะต้องขอย้อนกลับไปเมื่อกว่า 30 ปีก่อนหน้า เพื่อสรุปว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมืองและการต่างประเทศในขณะนั้น เอื้ออำนวยหรือท้าทายการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไรบ้างในช่วงดังกล่าว ผมเป็นข้าราชการอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น และมีหน้าที่ติดตามภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องจึงจำความ ได้ดีในระดับหนึ่ง

หากมองในแง่ลบนั้นก็จำได้ว่าในช่วงนั้นมีความพยายามทำรัฐประหารโดยทหาร อีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ครั้งหนึ่งเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการลดค่าเงินบาท โดยมีนายทหารระดับสูงออกมาคัดค้าน แต่ในที่สุดผมขอสรุปว่า ปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกฟื้นและโชติช่วงชัชวาลในช่วงปี 1984-1993

1) การลดค่าเงินบาทจาก 23 บาทต่อ 1 ดอลลาร์เป็น 27 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน 1994 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้ สูง

2) ไทยค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย แปล ว่าสามารถลงทุนเพื่อขุดเอาก๊าซมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตที่มีค่ายิ่งและเป็น พื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์

3)  เมื่อมีก๊าซธรรมชาติแล้วก็สามารถสร้างนิคม อุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเพื่อสร้างโรงงานผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและส่งออก สินค้าดังกล่าวจากท่าเรือ สรุปว่าในช่วง 30 ปี จากปี 1985 ถึงปี 2005 อุตสาหกรรมไทยขยายตัวเฉลี่ยปีละ 8-9% (ภาคการเกษตรขยายตัวเพียง 2% ต่อปีในช่วงเดียวกัน) แปลว่าอุตสาหกรรมซึ่งมีฐานอยู่ที่ Eastern Seaboard เป็นหัวจักรหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเป็นเวลา 20 ปีและประเทศไทยก็ยังกิน “บุญเก่า” มาจนทุกวันนี้ แต่ศักยภาพตรงนี้กำลังแผ่วตัวลงแล้ว

4) การยุติสงครามในอินโดจีน ทำให้นักลงทุนมองได้ว่าความมั่นคงของประเทศไทยและภูมิภาคพัฒนาไปในทางที่ดีแล้ว

5) ญี่ปุ่น (และเยอรมัน) ตกลงกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นอีก 3 ประเทศ (สมัยนั้นมีแต่ G5 ไม่ใช้ G20) ว่าจะยอมให้เงินของตนแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ ปี 1985 เป็นต้นไป ทำให้นักธุรกิจญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการลงทุนออกนอกประเทศ ในขณะนั้นญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกมากนักนอกจากประเทศไทย จึงเร่งเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในช่วง 1985-1990

6) แรงงานของไทยอยู่ที่ช่วงขยายตัวสูงและ แรงงานส่วนใหญ่ แม้จะมีการศึกษาไม่สูงนัก (3/4 เรียนไม่จบมัธยมปลาย) แต่ก็อายุน้อยสามารถทำงานได้ทุกประเภท นอกจากนั้นสภาพแรงงานก็อ่อนแอและมีไม่มาก เว้นแต่รัฐวิสาหกิจ ดังนั้นแรงงานจึงถูกจริงและไม่ต้องเผชิญปัญหาเรื่องการเรียกร้องค่าจ้าง การนัดหยุดงานและการเรียกร้องสวัสดิการมากนัก

7) เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหลักจากที่ตกต่ำมานาน 3 ปี จากปี 1980 กล่าวคือเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1985 จนกระทั่งปี 1990

ในความเห็นของผม 7 ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยให้การลงทุนใน Eastern Seaboard ประสบผลสำเร็จในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย นอกจากนั้นตลาดหุ้นก็ยังทะยานขึ้น 10 เท่าตัว ระหว่างปี 1984-1993

เพราะนักลงทุนเห็นว่าไทยกำลังจะเป็น “เสือเศรษฐกิจ” ตัวใหม่ครับ
[/size]
โพสต์โพสต์