เงินเฮลิคอปเตอร์/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1893
ผู้ติดตาม: 313

เงินเฮลิคอปเตอร์/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

สองสัปดาห์ที่ท่านคงได้ยินข่าวเรื่องนักวิเคราะห์ทั้งหลายคาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจพิจารณาใช้มาตรการการเงินแบบ เฮลิคอปเตอร์ (Helicoper Money) เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต และให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นมาบ้าง

“เงินเฮลิคอปเตอร์” เป็นคำศัพท์ที่ เกิดจากแนวคิดที่มิลตัน ฟรีดแมน นักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน นำมาใช้เขียนในบทความวิจัย “The Optimum Quantity of Money” หรือ ปริมาณเงินที่เหมาะสมในระบบเศรษฐกิจ ในปี 1969 จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เป็นการเปรียบเทียบว่า หากธนาคารกลางอยากเร่งให้เกิดเงินเฟ้อและเกิดผลผลิตในเศรษฐกิจซึ่งเติบโตต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ก็สามารถแจกเงินให้กับคนทั่วไป คนก็จะใช้เงินในการจับจ่ายใช้สอยหรือทำกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อขึ้น ตามเป้าหมายที่ธนาคารอยากเห็น

การแจกเงินนี้เปรียบเสมือนนำเฮลิคอปเตอร์มาบินอยู่เหนือท้องฟ้า แล้วโปรยเงินลงมาแจกชาวบ้านนั่นเอง (สมัยก่อน วิธีหนึ่งในการแจกใบปลิวให้กับฝูงชนที่มาชุมนุมกัน หรือชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลยากแก่การเข้าถึง คือ การใช้เฮลิคอปเตอร์บินไปโปรย)

ถามว่าการอัดฉีดสภาพคล่องแบบนี้ต่างกับที่ธนาคารกลางต่างๆทำอยู่ในปัจจุบันอย่างไร

ข้อแตกต่างก็คือ การอัดฉีดเงินแบบเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ที่เรียกกันว่า คิวอี หรือ Quantitative Easing ที่ทำกันอยู่นั้น ธนาคารกลางจะนำเงินออกมาซื้อพันธบัตรในตลาด เพื่อหวังให้อัตราดอกเบี้ยลดลง และคนจะใช้เงินมากขึ้น เพราะเก็บไว้ก็ไม่ได้ผลตอบแทนอะไรมากนัก และให้รัฐบาลผู้ออกพันธบัตรนำไปใช้จ่ายเป็นงบประมาณ หรือเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยกู้ต่อ

แม้อัตราดอกเบี้ยจะลดลงมาต่ำจริง แต่ธนาคารพาณิชย์ก็อาจจะไม่ปล่อยกู้เพราะกลัวความเสี่ยง ธุรกิจต่างๆก็อาจจะไม่กู้ไปลงทุนเพิ่ม เพราะดูลาดเลาแล้วอาจไม่คุ้ม ปริมาณเงินที่อยู่ในระบบก็ล้นเหลือ คนก็จะหันไปหาสินทรัพย์อะไรที่พอจะมีผลตอบแทนบ้างเพื่อลงทุน แต่เป็นการลงทุนแบบ financial investment ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนมือสินทรัพย์จากคนหรือนิติบุคคลหนึ่ง ไปยังอีกคนหรือนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ได้นำไปใช้ลงทุนที่ทำให้เกิดกิจกรรมใหม่ในภาคเศรษฐกิจโดยตรง คล้ายๆที่เป็นอยู่ในหลายประเทศในปัจจุบัน

นักวิเคราะห์หลายคนจึงคาดว่าคราวนี้ ธนาคารกลางของญี่ปุ่นเห็นทีจะต้องใช้มาตรการนี้แน่ๆ เพราะพยายามทำมาทุกวิถีทางแล้ว ไม่ประสบผลสำเร็จ

สาเหตุของการทำนโยบายไม่ประสบผลสำเร็จส่วนหนึ่งก็มาจากนักลงทุนที่จ้องจะเก็งกำไรค่าเงินเยนนี่แหละค่ะ เนื่องจากที่ผ่านมา ตลาดอ่านมาตรการของธนาคารกลางญี่ปุ่นถูกต้องเกือบทั้งหมด

อย่างไรก็ดี ในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางของญี่ปุ่นก็ไม่ได้ประกาศใช้นโยบายการเงินเฮลิคอปเตอร์ตามคาด แถมยังประกาศไม่เพิ่มปริมาณเงินที่จะอัดฉีดเพิ่มเติม คือยังคงมาตรการเดิม สร้างความผิดหวังเป็นอย่างมากให้กับตลาด และส่งผลให้เงินเยนกลับแข็งค่าขึ้น แทนที่จะอ่อนลงตามคาด อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นญี่ปุ่นขานรับด้วยการปรับตัวขึ้น

แต่ดิฉันมองตรงกันข้ามค่ะ ดิฉันดีใจที่ธนาคารญี่ปุ่นไม่ทำตามที่ตลาดคาดหวัง เพราะค่าเงินเยนก็จะอ่อนไปได้ไม่นานเหมือนที่ดิฉันเขียนถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  และก็จะสิ้นเปลืองเงินที่จะทำการอัดฉีดสภาพคล่องไปเปล่าๆ

ขอปรบมือให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นค่ะ ถ้าต้องการใช้มาตรการเฮลิคอปเตอร์ ก็ขอให้เก็บเอาไว้ใช้เป็นก๊อกสุดท้ายจริงๆจะดีกว่า
[/size]
โพสต์โพสต์