Brexit (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1893
ผู้ติดตาม: 313

Brexit (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ผมขอเขียนถึงเรื่อง Brexit ต่อเพราะยังมีประเด็นที่ค้างคาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลงเพียง 2-3 วันหลังจากวันที่อังกฤษลงประชามติคือวันที่ 23 มิถุนายนและหลังจากนั้นก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดคำถามว่า Brexit นั้นจะทำความเสียหายให้กับประเทศอังกฤษดังที่เสียงส่วนใหญ่วิเคราะห์กันจริงหรือไม่ ซึ่งผมเข้าใจว่าอาจมีเหตุผลดังนี้

1) การอ่อนตัวลงของค่าเงินปอนด์อังกฤษลงไประดับต่ำสุด ในรอบ 31 ปีนั้น จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพราะจะช่วยกระตุ้นการส่งออกและการท่องเที่ยวของอังกฤษ

2) ผู้ว่าการธนาคารกลางของอังกฤษแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยกล่าวว่าต้องการลดดอกเบี้ยและเพิ่งประกาศลดสัดส่วนของทุนต่อสินเชื่อ เพื่อ ให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อได้ง่ายขึ้น แบงก์ ออฟ อเมริกา พันธมิตรของภัทรฯ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางของอังกฤษจะลดดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ (จาก 0.5% ในขณะนี้) และจะเพิ่มคิวอีอีก 50,000 ล้านปอนด์ นอกจากนั้นธนาคารกลางของญี่ปุ่นและธนาคารกลางของยุโรปก็มีแนวโน้มสูงว่าจะ ผ่อนคลายนโยบายทางการเงินโดยการเพิ่มคิวอี เพราะเงินเยนและยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างมาก ทำให้ต้องการกดให้ค่าเงินของตนอ่อนตัวลง ในขณะเดียวกันตลาดล่วงหน้าคาดการณ์ว่าโอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับ ดอกเบี้ยขึ้นในเดือนธันวาคมก็ลดลงจากประมาณ 50% ก่อน Brexit มาเป็น 8% ในขณะนี้

3) ในทำนองเดียวกันนักลงทุนเชื่อมั่นว่าธนาคารกลาง ต่างๆ พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอีกหากปัญหาเกิดขึ้นอีกในอนาคต ในกรณีของประเทศอังกฤษนั้น นักลงทุนบางฝ่ายเชื่อว่าในระหว่างที่มีความผันผวนและเกิดความไม่แน่นอนใน กระบวนการเจรจา Brexit นั้น ธนาคารกลางอังกฤษจะมีมาตรการ “ดูแล” เพิ่มเติม ทำให้เชื่อว่าธนาคารกลางอังกฤษจะ “ปิดความเสี่ยง” ความผันผวนที่จะเกิดขึ้นจากการเจรจา Brexit ใน 2-3 ปีข้างหน้า

4) นักลงทุนบางคนมีความเชื่อว่าในที่สุดแล้วอังกฤษจะไม่ออกจาก การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เพราะประชาชนจะรับรู้ถึงผลกระทบในทางลบที่จะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการดำเนินการต่อต้านการออกจากสหภาพยุโรปแล้ว เช่นการลงนามออนไลน์กว่า 3 ล้านชื่อและการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อตีความว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่จะไปแจ้งสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการว่า จะขอเจรจาออกจากการเป็นสมาชิกตามมาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน

ประเด็นข้อ 4 นั้นผมเห็นด้วยกับ The Economist ที่สรุปว่า “By far, the most likely outcome of this sorry situation remains Brexit. But it would be wrong completely to discount the possibility of an inelegant humiliating and yet welcome, Breversal.”

ที่ Economist มองว่าการกลับประชามติอย่างไร้ความสง่างาม และน่าอับอายนั้น ผมคาดเดาว่าอาจเป็นดังนี้ครับ

1) นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษที่มาจากการซาวเสียงของพรรคอนุรักษ์นิยมในเดือน กันยายน แสดงจุดยืนชัดเจนว่าต้องการเจรจาให้เกิด Brexit และในที่สุดต้องยอมแจ้งสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ โดยอ้างมาตรา 50 ในต้นปี 2017 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเจรจาที่จะต้องเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี คือต้นปี 2019

2) การเจรจาในปี 2017 เป็นไปอย่างไม่ราบรื่น เพราะมาตรา 50 นั้นเป็นการเจรจาให้ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป มิได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใหม่ระหว่าง อังกฤษกับสหภาพยุโรป ที่สำคัญคือหากอังกฤษได้รับเงื่อนไขที่ดีกว่า เมื่อออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ก็จะเป็นเงื่อนไขให้กับฝ่ายค้านในประเทศ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน ต้องการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปเช่นกัน

3) ภายในอังกฤษเองก็เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงและประชาชนเริ่มเห็นว่า Brexit นั้นจะไม่สามารถทำให้อังกฤษรักษาการเข้าสู่ตลาดยุโรป (ในการขายสินค้าและบริการ) ในขณะเดียวกันไม่ต้องรับภาระต่างๆ เช่น ค่าสมาชิกและการรับคนยุโรปเข้ามาทำงานและตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ นอกจากนั้นประเทศสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือก็จะขอแยกตัวจากอังกฤษ เพราะต้องการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป

4) ในที่สุดนายกรัฐมนตรีอังกฤษต้องประกาศยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในปี 2018 ซึ่งเป็นเสมือนการลงประชามติและหากประชาชนเลือก สส.และพรรคที่สนับสนุนการยุติการเจรจาออกจากสหภาพยุโรปให้มาตั้งรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะสามารถขอถอนการขอออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยอ้างว่าประชาชนเปลี่ยนใจแล้ว

หากเป็นไปเช่นที่กล่าวข้างต้นก็จะมีแต่ความวุ่นวายในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า และในกรณีที่อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปก็อาจเป็นไปในลักษณะหนึ่งใดดังนี้

- อังกฤษเจรจาได้เงื่อนไขใกล้เคียงกับนอร์เวย์คือสามารถเข้าสู่ตลาดสินค้าและ บริการของสหภาพยุโรปคล้ายปัจจุบัน โดยยอมแลกกับการรับกฎเกณฑ์เงื่อนไขและคนงานจากยุโรป ตลอดจนต้องจ่ายค่าสมาชิกเต็มจำนวน แต่จะไม่มีสิทธิมีเสียงในรัฐสภายุโรป

- อังกฤษเป็นเสมือนแคนาดาที่สามารถเข้าสู่ตลาดสินค้าของสหภาพยุโรป กล่าวคืออังกฤษกับสหภาพยุโรปเป็นเขตการค้าเสรี แต่จะไม่รวมถึงบริการ จึงสูญเสียความเป็นศูนย์กลางทางการเงินของสหภาพยุโรปอย่างมีนัยสำคัญ

การเจรจาล้มเหลว ทำให้ไม่สามารถกำหนดกรอบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรปให้เสร็จสิ้นทันเวลา 2 ปีได้ ทำให้มีสถานะเหมือนกับประเทศอื่นๆ กว่า 100 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกและจะต้องเจรจาอีกหลายปีกว่าจะสามารถได้รับสิทธิ
[/size]
โพสต์โพสต์