Brexit/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1892
ผู้ติดตาม: 313

Brexit/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

การลงประชามติให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) โดยคะแนนเสียง 52% ต่อ 48% นั้นถือได้ว่าผิดคาดและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอังกฤษและสหภาพยุโรปอย่างมาก และก่อนอื่นก็ต้องขอยอมรับว่าผมคาดการณ์ผิดพลาด เพราะ ประเมินว่าเสียงข้างมากจะลงคะแนนให้อังกฤษอยู่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปและ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์นักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ หลายคนก็คาดการณ์ในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้เกิดความปั่นป่วนราคาหุ้นปรับลดลง ทำให้ความมั่งคั่งโดยรวมของโลกหายไปถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งแปลว่า Brexit ทำให้โลกจนลง จีดีพีโลกขยายตัวลดลงและแรงกดดันของภาวะเงินฝืดเพิ่มขึ้น แต่จะมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นเรื่องคาดการณ์ได้ยากยิ่ง เพราะมีตัวแปรอยู่มากโดยเฉพาะตัวแปรทางการเมือง แต่เท่าที่เห็นในขณะนี้มีประเด็นสำคัญบางประการดังนี้

1) จะมีการทำประชามติกันใหม่หรือไม่?

มีการวิเคราะห์ว่าประชามติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน “ไม่มีผลทางกฎหมาย” และจะต้องไปต่อสู้กันอีกในรัฐสภา ซึ่งมีการยืนยันว่าประชามตินั้นไม่เป็นข้อผูกพันทางกฎหมาย” แต่ผมมองว่าการลงคะแนนเสียงของประชาชนทั้งประเทศนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่ากฎหมายเสียอีก ใน ประเทศที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยซึ่งอำนาจอยู่ในมือประชาชนแต่ผู้เดียว ส่วนที่มองว่าจะต้องต่อสู้กันและลงมติในรัฐสภานั้น ก็มีการขยายความว่าได้มีการลงชื่อกว่า 3 ล้านชื่อใน social media แต่ผมกลับมองว่าเป็นไปไม่ได้ที่สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติฝืนมติของประชาชนในวัน ที่ 23 มิถุนายน สำหรับการกล่าวอ้างว่าประชามติไม่มีสถานะทางกฎหมาย จึงอาจเป็นเงื่อนไขที่ไม่ต้องทำตามนั้น

แม้แต่ประชาธิปไตยของอังกฤษนั้นก็ยังไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์ อักษรมารองรับเลย มีแต่ขนบธรรมเนียมประเพณีและแนวทางปฏิบัติ นอกจากนั้นคำกล่าวลาออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี Cameron เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มิ.ย.ก็ย้ำว่า “The British people have voted to leave the EU, and their will must be respected….. The will of the British people is an instruction that must be respected… so there can be no doubt about the result” และในตอนสุดท้าย.The British people have made a choice. That not only needs to be respected, but those on the losing side, myself included, should help to make it work..

2) อังกฤษจะมีเวลาเจรจาออกจากสหภาพยุโรปอีกหลายปี

การเจรจาเพื่อจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการนั้น อังกฤษต้องแจ้งให้สหภาพยุโรปทราบความประสงค์อย่างเป็นทางการโดยอ้างมาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอนและเมื่อแจ้งความจำนงดังกล่าวแล้ว ก็จะมีเวลา 2 ปีเต็มที่จะเจรจาเพื่อให้อังกฤษได้ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และแม้ว่าจะไม่เคยมีประเทศสมาชิกใดขอออก แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่าหากการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จภายในเวลา 2 ปี ประเทศที่ประสงค์จะออก ก็จะต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไปในทันทีและจะมีสิทธิเท่าเทียม กับประเทศอื่นๆ ภายใต้กฎเกณฑ์ขององค์กรการค้าโลก(WTO) เรื่อง นี้ฝ่ายที่สนับสนุนการให้ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปรู้ดีว่า การแจ้งสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการย่อมจะทำให้อังกฤษถูกกดดันด้วยเวลา 2 ปีและจะเสียเปรียบในการเจรจา จึงพูดกันว่า จะเจรจาให้ใกล้สำเร็จก่อนแล้วจึงจะแจ้งความจำนงที่จะออกอย่างเป็นทางการ ทำให้เชื่อว่าการเจรจาน่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี

แต่ในความเป็นจริงในทางการเมืองนั้น Brexit ได้สร้างกระแสของฝ่ายค้านในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์กที่มีการเรียกร้องขอทำประชามติเหมือนอังกฤษบ้าง ดังนั้นรัฐบาลของประเทศดังกล่าวจึงมีความจำเป็นทางการเมืองที่จะแสดงให้ กลุ่มฝ่ายค้านดังกล่าวเห็นว่าการออกจากสหภาพยุโรปนั้นมีแต่ข้อเสีย แทบจะไม่มีข้อดี กล่าวคือผมเชื่อว่ากรณีของประเทศอังกฤษจะต้องกลายเป็นเยี่ยงอย่างว่าการออก จากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปนั้นไม่ได้เป็นเรื่องง่ายและเรื่องดีดังที่บาง ฝ่ายคิด

ในขั้นแรกผู้นำสหภาพยุโรปจึงเรียกร้องให้อังกฤษแสดงความจำนงที่จะออกจาก สหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ “โดยเร็วที่สุด” นอกจากนั้นประธานคณะมนตรีของสหภาพยุโรปยังกล่าวว่าเขาได้สั่งการห้ามไม่ให้ มีการเจรจาปรึกษาหารือกับอังกฤษ จนกว่าจะมีการแจ้งมาอย่างเป็นทางการจากอังกฤษ “no notification, no negotiation”

3) อังกฤษอาจเจรจาสำเร็จหรือกลับประชามติได้

การเจรจากับสหภาพยุโรปรวมทั้งการแจ้งความจำนงของอังกฤษอย่างเป็นทางการ นั้นเป็นภาระหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งน่าจะเป็นนาย Boris Johnson อดีตผู้ว่าการกรุงลอนดอน ที่เป็นแกนนำในการรณรงค์เพื่อ Brexit (แม้ว่าคนลอนดอนเกือบ 60% ต้องการให้อังกฤษอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป) ผมเข้าใจว่ากระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเสร็จสิ้นภายใน 2 กันยายนนี้ แต่ก็ยังทำให้เกิดสุญญากาศไปอีกเกือบ 3 เดือนและ เมื่อเข้าสู่ตำแหน่งแล้วนายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องถูกกดดันให้เริ่มกระบวนการ เจรจาออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการในทันที แต่หากมองในแง่ดีก็อาจคาดหวังว่าการเจรจาจะเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว

แต่หากมีปัญหารุมเร้าก็อาจพยายามมองในแง่ดีต่อไปอีกว่าเมื่อเผชิญปัญหา มากมาย ทั้งจากสหภาพยุโรปและจากการที่สก็อตแลนด์ (และอาจรวมถึงไอร์แลนด์เหนือ) ที่ต้องการแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร นายกรัฐมนตรีจะถูกกดดันให้ยุบสภาและพรรคที่หาเสียงให้อังกฤษอยู่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปสามารถชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ทำให้สามารถอ้างได้ว่าประชาชนอังกฤษเปลี่ยนใจไปคนละทางกับการลงประชามติ ดังนั้นรัฐบาลใหม่ของอังกฤษจึงจะสามารถเพิกถอนความจำนงการขอออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้

แต่ในความเป็นจริงนั้นคงจะเป็นอย่างที่นายกรัฐมนตรีเยอรมันกล่าวว่า “I can see no way to reverse it’ และตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะ “wishful thinking” ครับ
[/size]
โพสต์โพสต์