นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของสหรัฐ (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1892
ผู้ติดตาม: 313

นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของสหรัฐ (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสหรัฐ ซึ่งทำให้การตรวจสอบประเทศคู่ค้าของกระทรวงการคลังสหรัฐว่าด้วยการบิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน (currency manipulation) มี ความเข้มงวดขึ้นอย่างมาก โดยได้นำมาใช้ในรายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐในวันที่ 29 เมษายน ซึ่งรวมถึงการขึ้นบัญชีประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐ ได้แก่ จีน เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ว่าอยู่ในข่ายของการถูกเฝ้าติดตาม (Monitoring list) โดย ที่กระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวถึงจีนว่าตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายใหม่ 3 ข้อนั้น หากนำมาใช้ในอดีตก็จะทำให้จีนต้องถูกกล่าวโทษว่าเป็นประเทศที่บิดเบือนอัตรา แลกเปลี่ยน 12 ปีใน 15 ปีที่ผ่านมา

ในกรณีของญี่ปุ่นนั้นก็เป็นเรื่องที่จะทำให้ญี่ปุ่นลำบากใจ เพราะต้องการเข้าแทรกแซงมิให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นไปมากกว่านี้ แต่ก็ต้องระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญี่ปุ่นกำลังจะเป็นเจ้าภาพการ ประชุมผู้นำกลุ่มจี7 ในวันที 26-27 พฤษภาคมนี้ แต่สำหรับเยอรมนีนั้น ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลเยอรมนีมากนักในทางปฏิบัติเพราะรัฐบาลสหรัฐ น่าจะเป็นการกล่าวโทษธนาคารกลางของกลุ่มประเทศที่ให้เงินยูโรทั้ง 14 ประเทศ (อีซีบี) มากกว่า นอกจากนั้นรัฐบาลเยอรมนีเองก็ไม่ได้เห็นดีเห็นงามกับนโยบายคิวอีของอีซีบี

อย่างไรก็ดีการออกกฎหมายใหม่ของสหรัฐ ประกอบกับนโยบายชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐนั้น มีความชัดเจนว่าสหรัฐไม่ประสงค์จะให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผมตีความว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่ยินยอมให้ประเทศอื่นๆ “เกาะ” การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐโดยอาศัยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่น ที่สหรัฐเคยสนับสนุนการใช้มาตรการคิวอีของอีซีบีและมาตรการคิวอีของธนาคาร กลางญี่ปุ่นเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า กล่าวคือในช่วงดังกล่าวเศรษฐกิจยุโรปดูเปราะบางมากและมีปัญหากรีกรุมเร้า ทำให้เกรงว่ากลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรจะแตกสลาย แต่วันนี้สถานการณ์โดยรวมดูดีขึ้น (แม้ว่ากรีกจะยังมีปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก) และกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรก็มีความมั่นคงและเศรษฐกิจโดยรวมก็ฟื้นตัวได้ อย่างค่อยเป็นค่อยไป

ในกรณีของญี่ปุ่นนั้นสหรัฐคงมองว่าได้สนับสนุนรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอา เบะมาด้วยดีตลอดเวลา 2 ปีมาแล้ว และสหรัฐเองก็กำลังมีปัญหาการเมืองภายในที่ประชาชนมองไม่พอใจกับนักการ เมืองกลุ่มเดิมๆ ที่ประชาชนมองว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของคนส่วนใหญ่ได้ จึงเกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองที่บุคคลนอกวงการนักการเมือง คือนาย Donald Trump ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจนกลายเป็นผู้แทนของพรรครีพับลิกันในการเลือก ตั้งประธานาธิบดี ในส่วนของพรรคเดโมแครต นาย Sanders ซึ่งมีอุดมการณ์สังคมนิยมซ้ายจัด ยังสามารถขับเคี่ยวกับนาง Hillary Clinton ได้อย่างยืดเยื้อ ทำให้นาง Clinton ต้องนำเสนอนโยบายที่เอียงซ้ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแข่งกับนาย Sanders

ดังนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้จึงน่าจะเป็นการเลือกระหว่างนาย Trump ที่ที่นโยบายขวาจัดและนาง Clinton ที่ ต้องนำเสนอนโยบายซ้ายจัด แต่ที่สำคัญคือนโยบายทั้งสองขั้วนั้นเป็นนโยบายที่ต่อต้านการค้าเสรีและเป็น นโยบายที่มองประเทศคู่ค้า ว่าเอาเปรียบสหรัฐอเมริกาที่มีตลาดที่เปิด ตลอด จนการกล่าวหาประเทศคู่ค้าว่าดำเนินนโยบายบิดเบือนอัตราแลกเปลี่ยน โดยทำให้เงินของตนอ่อนค่าเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้ สามารถส่งสินค้าออกมาขายที่สหรัฐได้มาก แต่นำเข้าสินค้าจากสหรัฐน้อย ทำให้สหรัฐต้องขาดดุลการค้าและอุตสาหกรรมสหรัฐต้องปิดตัวและประชาชนไม่ สามารถหางานที่มีรายได้ดีทำได้ เพราะงานที่มีรายได้ดีถูก “ส่งออก” ไปให้กับประเทศคู่ค้าเสียส่วนใหญ่

กล่าวโดยสรุป คือผมเชื่อว่านโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของสหรัฐนั้น จะมีความเข้มข้นมากขึ้นและจะชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า ไม่ต้องการให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าและแรงกดดันดังกล่าวจะรุนแรงยิ่งขึ้น ใน 4-5 เดือนข้างหน้า เมื่อใกล้วันเลือกตั้งของสหรัฐคือสัปดาห์แรก ของเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้รายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐที่กล่าวถึงข้างต้นนั้นเป็นรายงานที่ กระทรวงการคลังจะต้องนำส่งปีละ 2 ครั้ง และครั้งต่อไปมีกำหนดนำส่งวันที่ 15 ตุลาคม ซึ่งห่างจากวันเลือกตั้งเพียง 3 สัปดาห์ จึงน่าจะกลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรง โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่อาจถูกกล่าวโทษและประเทศที่อยู่ในบัญชีที่ต้องเฝ้า ติดตาม

อย่างไรก็ดีหากการเมืองสหรัฐมีความร้อนแรงเป็นพิเศษเกี่ยวกับประเด็น อัตราแลกเปลี่ยน กระทรวงการคลังสหรัฐก็อาจชะลอการนำส่งรายงานดังกล่าวไปหลังการเลือกตั้ง ดังที่เคยทำแล้วเมื่อปี 2008 และ 2012 ก็ได้ เพื่อมิให้การประเมินของกระทรวงการคลังถูกกดดันโดยกระแสการหาเสียงในขณะนั้น (ซึ่งจากประสบการณ์ในอดีตผู้สมัครมักจะหาเสียงโดยการโจมตีว่าต่างประเทศเป็น สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำ และมักจะชิงดีชิงเด่นกันในการนำเสนอมาตรการที่จะ “ลงโทษ” ต่างชาติที่เอาเปรียบสหรัฐ) และเพื่อมิให้ผลของการประเมินของกระทรวงการคลัง (เช่นการนำเอาญี่ปุ่นและจีนเข้าไปในบัญชีที่ต้องเฝ้าติดตาม) ถูกนำเอาไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง

คำถามสุดท้ายในใจของหลายคนน่าจะเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ไทยจะถูกนำเข้าไปอยู่ในบัญชีที่ต้องเฝ้าติดตามนั้นมีมากน้อยเพียงใด ในความเข้าใจของผมนั้นโอกาสที่ประเทศไทยจะเข้าไปอยู่ในบัญชีดังกล่าวน่าจะมีไม่มากนัก เพราะ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐเฉลี่ยปีละ 15,000 ล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2015 นั้นได้ปรับสูงขึ้นเป็น 17,300 ล้านดอลลาร์ (ตัวเลขของฝ่ายสหรัฐ ซึ่งผมเข้าใจว่าทางการสหรัฐจะใช้เป็นเกณฑ์ มิได้ใช้ตัวเลขของฝ่ายไทยที่มีมูลค่าเกินดุลน้อยกว่า) ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ไทยก็ยังเดินดุลการค้ากับสหรัฐใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ดังนั้นจึงไม่น่าจะถึงเกณฑ์ 20,000 ล้านดอลลาร์ที่กำหนดในกฎหมายใหม่ของสหรัฐ แต่หากไทยกินดุลการค้ากับสหรัฐเกินกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่ไทยจะถูกนำไปขึ้นบัญชีที่ต้องเฝ้าจับตามอง เพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมาถึง 8% ของจีดีพีในปีที่แล้ว และน่าจะเกินดุลใกล้เคียงกันในปีนี้ ที่สำคัญคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยนั้นน่าจะเกินเกณฑ์ของกฎหมาย สหรัฐ (3% ของจีดีพี) ต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า

ในส่วนของเงื่อนไขที่ 3 นั้นเป็นเรื่องที่สหรัฐน่าจะต้องมาตรวจสอบตัวเลขร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีข้อมูลยืนยันได้ว่าไทยมีการซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิเข้ามาเป็น ทุนสำรองเพิ่มขึ้นเทียบเท่ากับ 2% ของจีดีพีหรือไม่ เพราะการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทุนสำรองนั้นอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของค่า เงินที่มีอยู่ในทุนสำรอง ซึ่งเป็นเงินสกุลที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์สหรัฐ (เช่นทุนสำรองมีเงินยูโรและเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์)

กล่าวโดยสรุปคือในอนาคตข้างหน้าสหรัฐคงจะไม่ยอมให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากนัก และป้องกันไม่ให้ประเทศหนึ่งประเทศใดลดค่าเงินของตนเพื่อ “เอาเปรียบ” สหรัฐ ในกรณีของไทยนั้นยังไม่น่าจะถูกขึ้นบัญชีต้องเฝ้าติดตาม แต่มีความเป็นไปได้ในอนาคตเพราะปัจจุบันเกินดุลการค้ากับสหรัฐ 17,000 ล้านดอลลาร์แล้ว หากเกินดุลเพิ่มขึ้นอีก 3,000 ล้านดอลลาร์ก็คงจะถูกขึ้นบัญชีอย่างแน่นอนครับ
[/size]
โพสต์โพสต์