ตลาดพันธบัตรของจีน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1893
ผู้ติดตาม: 313

ตลาดพันธบัตรของจีน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

เมื่อ 2 ปีก่อนหน้าทางการของจีนเห็นถึงปัญหาของการที่บริษัทต่างๆ ของจีนกู้สินเชื่อมาเป็นจำนวนมากจนกระทั่งหนี้สินของบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเก่าและอสังหาริมทรัพย์ ประสบปัญหาทางการเงิน กล่าวคือมีหนี้สินมากเกินไปและในสภาวะที่เศรษฐกิจและยอดขายขยายตัวในอัตรา ที่ลดลง จึงจำต้องหาวิธีลดหนี้ลง ซึ่งทางการจีนเห็นว่าควรที่จะหาวิธีลดหนี้สินของบริษัทต่างๆ โดยการส่งเสริมตลาดหุ้นให้มีการซื้อ-ขายในปริมาณที่เพิ่มขึ้น จนผลักดันให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของจีนเพิ่มขึ้นจาก 2,000 กว่าจุดมาถึงจุดสูงสุดกว่า 5,000 จุด

ทางการจีนให้เหตุผลว่าหากราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น บริษัทก็จะสามารถเพิ่มทุนได้โดยง่าย ซึ่งจะเป็นการลดสัดส่วนของหนี้ต่อทุน ทำให้บริษัทมั่นคงมากขึ้นและลดภาระและความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ลงอีกด้วย

ประชาชนพึงพอใจกับการปรับขึ้นของราคาหุ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกลางปี ที่แล้ว ซึ่งต่อมาราคาหุ้นที่ปรับขึ้นจนเป็นฟองสบู่ก็ทรุดตัวลงไปเกือบครึ่งหนึ่ง แม้จะมีมาตรการเข้ามาช่วยพยุงตลาดมากมายก็ไม่สามารถฟื้นตลาดได้จนปัจจุบัน ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 2,700 จุดและมูลค่าหุ้นลดลงไปถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์ และน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการเปลี่ยนตัวเลขา กลต.

แต่ดูเสมือนว่าทางการจีนก็ยังหาทางที่จะลดภาระและความเสี่ยงของธนาคารที่ ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจมากเกินไป จนล่าสุดมีการประเมินว่าสินเชื่อธุรกิจในจีนนั้นสูงถึง 160% ของจีดีพีแล้ว (จากการรายงานของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2016) ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 98% ในปี 2008 ในขณะที่สินเชื่อของธุรกิจสหรัฐนั้นคิดเป็นสัดส่วนเพียง 70% ของจีดีพี ทั้งนี้ หากรวมหนี้สินของครัวเรือนเข้ามาด้วยก็จะพบว่าภาคเอกชนจีนมีหนี้สินมากกว่า 200% ของจีดีพี

แต่ปัญหาหลักคือหนี้ของภาคธุรกิจ และในหลายกรณีเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จ้างงานหลายแสนคน แตกต่างจากประเทศไทยซึ่งบริษัทต่างๆ โดยรวมมีหนี้สินไม่มาก เว้นแต่เอสเอ็มอีของไทยที่เริ่มมีปัญหามากขึ้น แต่ในกรณีของประเทศไทยนั้น ความเป็นห่วงมาตกอยู่ที่ครัวเรือนซึ่งมีหนี้สินมากกว่า 80% ของจีดีพี

ทางเลือกอีกทางหนึ่งของจีนในการลดสัดส่วนของสินเชื่อของธุรกิจคือการส่ง เสริมการออกพันธบัตร (กู้เงิน) โดยตรงให้กับประชาชน ซึ่งจากรายงานของหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal และสื่ออื่นๆ ก็ให้ภาพเหมือนกันว่าจำนวนพันธบัตรที่ออกใหม่นั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าว กระโดด เช่นเมื่อปีที่แล้วได้มีการออกพันธบัตรใหม่ทั้งสิ้นมูลค่ารวมกันถึง 2.94 ล้านล้านหยวน (450,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 21% จากปีก่อนหน้า และในเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้มีการออกพันธบัตรใหม่เพิ่มขึ้น 150% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้มูลค่าโดยรวมของตลาดพันธบัตรจีนนั้นสูงถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ กลายเป็นตลาดพันธบัตรที่ใหญ่เป็นที่ 3 ของโลก แปลว่าตลาดพันธบัตรของจีนกำลังได้รับการส่งเสริมให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความพยายามผ่องถ่ายสินเชื่อออกจากธนาคาร เพื่อลดความเสี่ยงของธนาคาร และกระจายความเสี่ยงไปสู่นักลงทุนทั้งที่เป็นรายใหญ่และรายย่อยและทั้งที่ เป็นคนจีนและคนต่างชาติ

ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้ลดกฎเกณฑ์และข้อห้ามต่างๆ ทำให้บริษัทและรัฐบาลท้องถิ่นสามารถออกพันธบัตรได้ง่ายยิ่งขึ้นและให้ต่าง ชาติสามารถเข้ามาซื้อและถือครองพันธบัตรจีนได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นจังหวะดีที่จะส่งเสริมให้ตลาดพันธบัตรจีนขยายตัวได้อย่างต่อ เนื่อง เพราะปัจจุบันนโยบายคิวอีในญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งจะต้องเพิ่มเติมให้เข้มข้นยิ่งขึ้นในเดือนมีนาคม ก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศดังกล่าวต้องปรับลดลงไปอีก

เช่น พันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน 10 ปีนั้นให้ผลตอบแทนเพียง 0.2% ในขณะที่พันธบัตร 10 ปีของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นแทบจะไม่มีผลตอบแทนเลย ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลจีน 10 ปีนั้นปัจจุบันยังให้ผลตอบแทนประมาณ 2.8-2.9% แต่ก็ปรับลดลงจากประมาณ 3.5% ในปี 2015 ที่ผ่านมา การที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลต่ำนั้นก็จะสามารถออกพันธบัตรโดยจะมีต้นทุน (จ่ายดอกเบี้ย) ต่ำตามไปด้วย

แต่การลงทุนในพันธบัตรที่ออกโดยบริษัทจีนและรัฐบาลท้องถิ่นนั้น ดูจะมีความเสี่ยงอยู่มาก และนักวิเคราะห์ต่างประเทศก็มองว่าอาจจะเกิดฟองสบู่ในราคาพันธบัตรได้ นอก จากนั้นยังน่าจะมีปัญหาว่าพันธบัตรส่วนใหญ่จะขาดสภาพคล่องในตลาดรอง กล่าวคือมีการแย่งชิงกันซื้อพันธบัตรที่ออกมาใหม่และคาดว่าจะถือครองจนหมด อายุพันธบัตร แต่หากมีความต้องการจะขายก่อนหมดอายุก็จะมีปัญหาในการหาผู้มาซื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่ขาดความมั่นใจ นอกจากนั้นบริษัทที่ให้ความสนใจเข้ามาออกพันธบัตรเป็นจำนวนมาก คือบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีบ้านคงค้างขายไม่ได้ในเมืองระดับ 3 ที่ฟองสบู่แตกและสถานะทางการเงินมีความอ่อนแอและเปราะบางอย่างมาก

แต่ที่มีการเข้าซื้อพันธบัตรที่ออกใหม่กันอย่างต่อเนื่องและขยายตัวอย่าง รวดเร็วนั้นส่วนใหญ่น่าจะมาจากความเชื่อของผู้ซื้อพันธบัตรว่า หากผู้ออกพันธบัตรมีปัญหาไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือคืนเงินต้นได้ รัฐบาลกลางก็จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือและจัดการกับปัญหา ทำให้ไม่มีปัญหาหนี้เสีย แม้ว่ารัฐบาลจีนจะเคยประกาศว่าผู้ถือพันธบัตรมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับความ เสียหายได้เสมอ แต่ในทางปฏิบัตินั้นรัฐบาลมักจะเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้ผู้ถือพันธบัตรได้รับ ความคุ้มครองเกือบทุกครั้ง

ทำให้เกิดความเชื่อว่าการซื้อพันธบัตรเป็นการ ลงทุนที่มีความปลอดภัยสูง จึงเป็นเหตุจูงใจให้ธนาคารเองก็เข้ามาซื้อพันธบัตรดังกล่าว และผู้ซื้อรายย่อยก็มีพฤติกรรมนำเอาพันธบัตรที่ซื้อไปแล้วมาเป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกันการกู้เงินเพื่อไปซื้อพันธบัตรเพิ่มเติม ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นมาก็อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นใจในระบบการเงินของจีนโดยรวมได้

แต่หากเป็นเช่นนั้นก็อาจทำให้ผู้ซื้อหลายคนมองว่า รัฐบาลจะต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อมิให้ปัญหาเกิดขึ้นกับระบบการเงินโดยรวมและ กลับกลายเป็นการชี้นำให้มีการเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นไปอีก
[/size]
โพสต์โพสต์