เรื่องทีพีพีอีกครั้ง (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1893
ผู้ติดตาม: 313

เรื่องทีพีพีอีกครั้ง (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ได้มีการรายงานว่า การเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นของคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนไทยคณะใหญ่เมื่อ 25-28 พ.ย. นำโดยรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งตามข่าวนั้นทางญี่ปุ่นให้ความสนใจประเทศไทยอย่างมาก และฝ่ายไทยก็ได้เชื้อเชิญให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในไทย ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (เช่นทางรถไฟเชื่อมกาญจนบุรี กรุงเทพ สระแก้ว มาบตาพุด) และการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมที่เป็นอนาคตของเศรษฐกิจไทย ซึ่งได้รับการตอบสนองที่ดีจากฝ่ายญี่ปุ่น

แต่เรื่องที่ผมให้ความสนใจอย่างมากอีกเรื่องหนึ่ง คือคำบอกเล่าของนักธุรกิจไทยเกี่ยวกับความสนใจของฝ่ายญี่ปุ่น ในการให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกทีพีพี ตัวอย่างเช่นคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.สมคิด และนักธุรกิจไทยในเรื่องนี้ ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ 27 พ.ย. ซึ่งผมขอคัดลอกมาบางส่วนดังนี้

ดร.สมคิด: ปฏิกิริยา ตอบรับในการพบกับรองนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายอาโซะ) และนักธุรกิจญี่ปุ่น ทำให้เห็นสัญญาณที่ดีของประเทศญี่ปุ่นในการลงทุนในประเทศไทย ไม่คิดจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น เป็นกำลังใจที่ดีของรัฐมนตรีไทยในการกลับไปทำงานปฏิรูปประเทศ ซึ่งเชื่อว่าทำได้ใน 2-3 ปี ซึ่งอยากให้ความมั่นใจว่า ทุกอย่างอยู่ในช่วงที่ดี เพราะนักลงทุนญี่ปุ่นเองก็มีความมั่นใจที่จะลงทุน นักลงทุนไทยเองก็ควรมีความมั่นใจ หากไม่กระเตื้องกลับไปก็ต้องออกแรงกระตุ้นอีกที

 นักลงทุนญี่ปุ่นได้สอบถามเกี่ยว กับจุดยืนของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิกทีพีพี โดยอยากให้ไทยเข้าร่วม เพราะมีผลในเรื่องของการลดภาษี เช่น เวียดนามอาจได้เปรียบไทยในเรื่องการส่งออกรถยนต์ ซึ่งได้ชี้แจงว่าไทยให้ความสำคัญเรื่องนี้สูงสุด และกระทรวงพาณิชย์กำลังศึกษาความเหมาะสมในการเข้าร่วมทีพีพี (ตรง นี้ผมขอเรียนเพิ่มเติมว่าหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ รายงานข่าวว่าฝ่ายไทยคิดว่า จะใช้เวลาพิจารณาและเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมทีพีพีอีก 1-2 ปี ในความเห็นของผมนั้นหากอ่านจากคำสัมภาษณ์ ก็อาจสรุปได้ว่ามาตรการที่จะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นมั่นใจ และมาลงทุนในไทยคือการเข้าร่วมทีพีพีนั่นเอง)

นายฐาปน (กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทไทยเบฟเวอเรจ) : การลงทุนของญี่ปุ่นในไทยลดลงอย่างมากเนื่องจากหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่ราว 50% อยู่ในเวียดนาม (ทั้งนี้) เวียดนามรวมอยู่กลุ่มทีพีพี ซึ่งส่วนนี้รองนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่าเรื่องทีพีพีไทยมีความสนใจที่จะเข้า ร่วมอย่างมาก แต่คงต้องศึกษาข้อดี-ข้อเสียซึ่งมีขั้นตอนและระยะเวลาในการศึกษาอยู่

นายสุพันธ์ มงคลสุธี (ประธานสภาอุตสาหกรรม) ญี่ปุ่นสนใจเรื่องของทีพีพีมาก เขาชอบเปรียบเทียบไทยกับเวียดนาม แต่รองนายกรัฐมนตรีต้องการให้เกิดการลงทุนในลักษณะที่ไทยเป็นศูนย์กลาง แล้วค่อยมีการขยายออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. รองนายกสมคิดกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมนาหอการค้าทั่วประเทศว่า “ผู้ใหญ่ในญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับประเทศไทยสูงมาก…เขายังมั่นใจกับไทย …อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยกคลื่นมาลงทุน เราจำเป็นต้องเอื้ออำนวยความสะดวกด้วย โดยเฉพาะความมั่นคงปลอดภัยของคนญี่ปุ่นในไทย ที่สำคัญทุกฝ่ายในญี่ปุ่นย้ำกับเราว่าให้เข้า TPP ซึ่ง เราไม่ได้ตอบ ว่าเราจะเข้าเมื่อไหร่ เราตอบว่าเราสนใจอย่างจริงจังที่จะเข้า แต่ต้องศึกษาผลกระทบต่างๆให้ถี่ถ้วนก่อน” (ประชาชาติธุรกิจ 29 พ.ย.) นอกจากนั้นหนังสือพิมพ์อื่นยังรายงานอีกด้วยว่า ญี่ปุ่นเสนอจะช่วยเหลือไทยในการประเมินข้อตกลงทีพีพีอีกด้วย ซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่า ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับทีพีพีอย่างจริงจัง และคงจะต้องการให้ไทยเข้าทีพีพีในโอกาสแรก

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากในเชิงการเมือง แม้จะเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่และเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศในระยะ ยาว เพราะการเข้าร่วมเขตการค้าเสรีนั้น บังคับให้ต้องลดอุปสรรคที่กีดกันการค้า ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคด้านภาษีหรือมาตรการอื่นๆ ที่มีผลในการกีดกันการค้า (ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้น) นอกจากนั้นก็จะยังเพิ่มแรงจูงใจให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะเมื่อตลาด (ที่เข้ามารวมกัน) มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะเพิ่มโอกาสในการลงทุน ขยายการผลิตอีกด้วย

ในกรณีของประเทศไทยที่มองเห็นอย่างเป็นรูปธรรม ก็น่าจะเป็นเรื่องรถยนต์ ซึ่งเมื่อทีพีพีมีผลในการเปิดตลาดรถยนต์ของสหรัฐให้กับญี่ปุ่น และสมาชิกทีพีพีอื่นๆ มากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์กับไทยในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นในเอเชีย ด้วย แต่หากไทยไม่เป็นสมาชิกทีพีพี ชิ้นส่วนรถยนต์ที่นำเข้าจากไทยมาในทีพีพี จะไม่รับการยกเว้นภาษีศุลกากรของสหรัฐ เป็นต้น ดังนั้นแม้ว่า ไทยจะได้ทำเขตการค้าเสรีกับญี่ปุ่นแล้วก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องสำคัญเพราะตลาดรถยนต์สหรัฐเป็นตลาดที่ใหญ่ที่ สุดของโลกตลาดหนึ่ง

แต่ประเด็นที่สำคัญคือฝ่ายที่ได้รับผลกระทบในทางลบจากการเปิดตลาด เพราะแข่งขันสู้กับบางประเทศสมาชิกในทีพีพีไม่ได้ จะคัดค้านการเข้าร่วมทีพีพีอย่างมุ่งมั่น ซึ่งแม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็จะเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันต่อต้านอย่างเข้มแข็ง ตัวอย่างเช่น สหรัฐผลิตเนื้อไก่ได้ในราคาที่ถูกกว่าประเทศไทย โดยเฉพาะเนื้อสะโพก ซึ่งคนสหรัฐไม่นิยมบริโภค จึงจะสามารถขายในตลาดนอกประเทศในราคาที่ถูกมาก และเมื่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศลาตินอเมริกาตกต่ำ ก็อาจยิ่งทำให้มีความพยายามนำเอาสินค้ามาขายที่เอเชีย

ในกรณีของเนื้อไก่นั้น หากขายได้ในราคาถูก ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคไทยหลายสิบล้านคน แต่ผลประโยชน์ที่แต่ละคนได้รับจะมีมูลค่าน้อย และยากที่จะเกิดการรวมตัวกันของผู้บริโภคไก่ ที่จะออกมาเรียกร้องให้ไทยเข้าร่วมทีพีพี โดยรวมนั้นผู้ที่เสียประโยชน์จะมีน้อยคน แต่เสียผลประโยชน์ต่อคนสูง และเป็นผู้ผลิตที่มีทักษะในการรวมตัวกัน เพื่อกดดันรัฐบาลไม่ให้เปิดตลาด แต่ ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการเปิดตลาดจะเป็นผู้บริโภคจำนวนมากที่แต่ละคนได้ ที่สำคัญคือผู้บริโภค หรือผู้ที่ในอนาคตจะได้ประโยชน์จากการเปิดตลาด (เช่นการจ้างงานเพิ่มขึ้นของบริษัทต่างชาติที่จะมาลงทุนเพิ่ม) จะไม่สามารถมองเห็นผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับในอนาคตอย่างชัดเจนมากนัก

ดังนั้นแรงสนับสนุนการเปิดการค้าเสรี จึงไม่มีพลังมากนัก และผู้นำที่ผลักดันการเปิดเสรีจึงจะต้องมีความเข้าใจ และเชื่อมั่นในประโยชน์ของการค้าเสรีอย่างลึกซึ้ง และประชาชนให้ความไว้วางใจ และศรัทธาสูง เพราะการเปิดตลาดให้ต่างชาติเข้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตในประเทศนั้น จะต้องถูกโจมตีทางการเมืองอย่างแน่นอน

อีกประเด็นที่เป็นอุปสรรคสำคัญ คือทีพีพีเป็นข้อตกลงที่มีสาระครอบคลุมกว้างขวางเกินกว่าการค้า-ขายสินค้า กล่าวคือเป็นการกำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ในหลายด้าน เช่น การค้า e-commerce สิทธิแรงงาน มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ การผูกขาดของรัฐวิสาหกิจ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทั้งหมดคือการที่ภาครัฐจะต้องยอม สูญเสียอธิปไตยของประเทศทางเศรษฐกิจ โดยยอมที่จะทำตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ในทีพีพี กล่าวคือภาครัฐอาจเป็นฝ่ายที่สูญเสียมากที่สุดในการรวมตัวทางเศรษฐกิจอย่าง จริงจัง เพราะอำนาจต่างๆ จะถูกรวมศูนย์เอาไว้ตามกรอบที่ประเทศทีพีพี 12 ประเทศที่ได้ตกลงกันเอาไว้ก่อนหน้า

เรื่องที่เอ็นจีโอน่าจะคัดค้านมากที่สุด น่าจะเป็นเรื่องที่สหรัฐผลัดดันให้ไม่สามารถลอกสูตรยามาผลิตยาราคาถูกได้ เป็นเวลา 5 ปี และอาจยืดออกไปเป็น 8 ปี (แม้ว่าบริษัทยาสหรัฐจะผิดหวังอย่างยิ่งกับเงื่อนไขดังกล่าวเพราะที่อเมริกา ได้อยู่แล้ว 12 ปี และประเทศพัฒนาอื่นๆ ก็ได้อยู่แล้ว 5 ปี) นอกจากนั้นก็ยังมีเงื่อนไขคุ้มครอง การลงทุนของต่างชาติที่ให้สิทธิบริษัทต่างชาติฟ้องร้องรัฐบาลที่กำหนดนโยบาย หรือมาตรการที่กระทบต่อการค้าและการลงทุน ซึ่งหากเพียงแต่ตั้งเงื่อนไขให้ต้องศึกษานานๆ และรัฐบาลที่ตัดสินใจเข้าหรือไม่เข้าทีพีพีควรจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งก็จะสามารถประวิงเวลาไปได้อีก 18 เดือน

ผมจึงไม่ชื่อว่าประเทศไทยจะเข้าร่วมทีพีพีในเร็ววันนี้ แต่ที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ทีพีพีจะเกิดขึ้นจริง และมีผลบังคับเมื่อใด ซึ่งเป็นเรื่องที่จะกล่าวถึงในครั้งต่อไปครับ
[/size]
CARPENTER
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 433
ผู้ติดตาม: 3

Re: เรื่องทีพีพีอีกครั้ง (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

TPP GMOs พ.ร.บ.ปโตเลี่ยม พวกพ่อค้า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักวิชาการ เชียร์และสนับสนุนกันจัง
คนพวกนี้ อยู่รายล้อม รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรบางคนก็สนับสนุนจนออกหน้า
ฟังดูเหมือนคนพวกนี้หวังดีต่อคนไทยเหลือเกิน ขู่ว่าถ้าไม่สนับสนุนเรื่องพวกนี้ประเทศชาติล่มจมแน่
แต่มีคนกลุ่มหนึ่ง มาคัดค้านเรื่องพวกนี้ กลุ่มที่คัดค้าน มีเหตุผล มีงานวิจัยมาอ้างอิง
จากการศึกษาของผม ผมขอสรุปว่า คนสนับสนุน เพราะ เห็นแต่ประโยชน์ของตัวเอง
นโยบายที่ผ่านๆมาของรัฐบาลไทย ทำให้คนไทยกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งรวยขึ้น กลุ่มใหญ่จนลง
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: เรื่องทีพีพีอีกครั้ง (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

"I don't think the TPP is a good thing for Malaysia or even for other countries," he told the Nikkei conference, reiterating his past criticism of the trade agreement reached by 12 governments late last year. Mahathir stressed that nations were obliged to agree to trade rules that could affect their "freedom of action" -- something that could be especially problematic for less-developed states."

http://asia.nikkei.com/Politics-Economy ... s-Mahathir
โพสต์โพสต์