สภาวะความเสื่อมถอยเรื้อรัง (Secular Stagnation)/ดร.ศุภวุฒิ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1893
ผู้ติดตาม: 313

สภาวะความเสื่อมถอยเรื้อรัง (Secular Stagnation)/ดร.ศุภวุฒิ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ครั้งที่แล้วผมเขียนทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ความพยายามฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เปราะบาง และยืดเยื้อผิดปกตินานมา 6 ปีแล้วนั้น ทำให้มีกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งเริ่มเป็นห่วงว่า แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกในอนาคต มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่สภาวะเงินเฟ้อต่ำ (disinflation) เช่นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม นายคุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์ โดยพยายามให้ความมั่นใจว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะสามารถผลักดันเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นถึง 2% ต่อปี ได้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ ในขณะที่ตลาดไม่ค่อยจะมั่นใจ ซึ่งผมไม่เคยคิดว่าจะได้เห็นผู้ว่าการธนาคารชาติ ต้องออกมาพยายามพูดว่า เขากำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น เพราะ “สมัยก่อน” นั้น ธนาคารกลางต้องพยายามรักษาวินัยทางการเงินซึ่งหมายความว่า เงินเฟ้อนั้นยิ่งต่ำยิ่งดี

นอกจากการเกรงกลัวปัญหาเงินฝืดแล้ว ก็ยังมีความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะซึมยาว หรือเสื่อมถอยเรื้อรัง (secular stagnation) หรือไม่ โดยผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายดังกล่าวอ้างสาเหตุ 4 ประการ ดังที่ผมเขียนเกริ่นนำในครั้งที่แล้วคือ 1.การแก่ตัวของประชากรโลก 2.เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีวิวัฒนาการช้าลง และใช้เงินลงทุนต่ำ 3.โลกแบกหนี้สินสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4.ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้น ซึ่งผมจะขอขยายความเพิ่มในข้อ 1 และ 2 ส่วน 3 และ4 นั้นได้เคยกล่าวถึงและเป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วครับ

การแก่ตัวของประชากร

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ประชากรโลกกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กล่าวคือปัจจุบันมีผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีหรือมากกว่า) 600 ล้านคนคิดเป็น 8% ของประชากรโลก แต่ในปี 2035 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 13% ของประชากรโลกทั้งหมด (ซึ่งอาจรวมถึงผมด้วยหากผมอายุยืน) ทำให้จำนวนผู้สูงอายุต่อจำนวนผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน (ตามนิยามของยูเอ็นในที่นี้คืออายุ 25-64 ปี) 100 คน เพิ่มขึ้นจาก 16 คน ในปี 2010 เป็น 26 คน ในปี 2035 สำหรับประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นนั้น จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 69 คน ต่อคนวัยทำงาน 100 คน ในปี 2035 (จาก 43 คนในปี 2010) เยอรมัน 66 คนต่อ 100 คนในปี 2035 (จาก 38 คน) และจีนจาก 15 คน เป็น 36 คน สำหรับไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 20 คนต่อวัยทำงาน 100 คน และจะเพิ่มเป็น 55 คน ในปี 2040 และมีการประเมินว่าจำนวนผู้สูงอายุอาจมีสัดส่วนมากถึง 25% ของประชากรทั้งหมดในปี 2040 ทั้งนี้ ประเมินได้ว่าจำนวนผู้ที่อยู่ในวัยทำงานของไทยจะเพิ่มสูงสุดในปี 2017 และต่อจากนั้นก็จะลดลง ทำให้การขาดแคลนแรงงานของไทยจะทวีความรุนแรงขึ้นไปอีกในอนาคตอันใกล้

ทั้งนี้ การแก่ตัวของประชากรนั้น น่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ เห็นได้จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งการอัตราการเพิ่มของประชากรลดลงในช่วง 1980-1985 และต่อมาเศรษฐกิจก็เข้าสู่สภาวะถดถอยในปี 1989 และฟื้นตัวอย่างกระท่อนกระแท่นมาจนกระทั่งทุกวันนี้ มองได้ว่าสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น แปลว่าผู้สูงอายุไม่สามารถทำงาน แต่จะต้องบริโภคน้อยลงจากเงินออมที่จำกัด อันจะทำให้มีแรงจูงใจให้การลงทุนต้องลดลงไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างเชื่องช้า เพราะมีข้อจำกัดทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งทางออกคือผู้สงอายุจะต้องทำงานต่อเนื่องไปอีกจนกระทั่งอายุ 65 ปีหรือ 70 ปี เป็นต้น แต่หากเป็นเช่นนั้นช่องว่างทางเศรษฐกิจจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ระหว่างผู้สูงอายุที่มีการศึกษา (จึงมีรายได้ดี สุขภาพดี และทำงานประเภทบริหารต่อไปอีกได้โดยไม่ยาก) กับผู้สูงอายุที่มีการศึกษาต่ำและสุขภาพไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้แรงงานต่อเนื่อง ตอนที่อายุ 65-70 ปีได้ กล่าวคือการแก่ตัวของประชากรนั้น อาจเพิ่มช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้ช้าลงไปอีก

นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตว่าเทคโนโลยีสมัยก่อน เช่น เครื่องจักรไอน้ำ ไฟฟ้า รถไฟ เครื่องทำความเย็น รถยนต์ วิทยุ เครื่องบินและโทรทัศน์นั้น เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด และทำให้ต้องระดมทุนและใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก จึงจะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เช่น เครื่องจักรไอน้ำและไฟฟ้า ทำให้สามารถสร้างอุตสาหกรรมและเมืองขนาดใหญ่ได้ ส่วนรถไฟก็ทำให้เกิดความเชื่อมต่อกันในเชิงขนส่ง การค้าและการพาณิชย์ ส่วนเครื่องทำความเย็นก็ทำให้สามารถขนส่งอาหารไปได้ทั่วโลก เป็นต้น

แต่เทคโนโลยีปัจจุบันนั้น น่าจะมีผลต่อผลิตภาพน้อยกว่า เช่น Facebook อาจมีประโยชน์ในการสื่อสาร แต่ก็ไม่ได้เพิ่มผลผลิตมากนักและอาจทำให้ทำงานลดลงเพราะมัวแต่ “เล่น” Facebook ก็ได้ แต่ปัจจุบันมูลค่าหุ้นของ (market cap) Facebook นั้นสูงถึง 225,840 ล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าหุ้นของ General Motors เพียง 56,110 ล้านดอลลาร์ แปลว่า GM เพิ่มทุน (เพื่อนำไปลงทุนใหม่) ได้ยากกว่า Facebook อย่างเทียบกันไม่ติด ในขณะเดียวกัน Facebook มีพนักงานเพียง 10,082 คน หากลงทุนเพิ่มก็คงลงทุนไม่มาก และจ้างงานเพิ่มไม่มากเทียบกับ GM ที่มีพนักงานกว่า 200,000 คน กล่าวโดยสรุปคือเทคโนโลยีชั้นนำในสมัยนี้ (เช่น Facebook ซึ่งราคาหุ้นเท่ากับ 6 เท่าของราคาสินทรัพย์ (Book value)) ผลิตบริการที่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่มากและหากลงทุนเพิ่มก็ใช้ทรัพยากรไม่มาก เมื่อเทียบกับ GM ซึ่งเคยเป็นเทคโนโลยีชั้นนำ แต่ปัจจุบันราคาหุ้นเพียง 1.5 เท่าของราคาสินทรัพย์

ข้อสรุป ในความเห็นของผม คือ เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าและเปราะบาง แต่สาเหตุหลักน่าจะมาจากการสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง แม้หลังวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2008-2009 ประเทศต่างๆ ก็ยังสร้างหนี้เพิ่มต่อไปอีก จนกระทั่งปัจจุบันหนี้ของประเทศพัฒนาแล้ว (ทั้งหนี้เอกชนและภาครัฐ) เพิ่มขึ้นมากกว่า 270% ของจีดีพีแล้ว (ประเทศตลาดเกิดใหม่ประมาณ 150% ของจีดีพีโดยรวม) ซึ่งหนี้สินดังกล่าวเป็นภาระทำให้เศรษฐกิจฟื้นได้ช้า (เห็นได้จากกรณีประเทศญี่ปุ่น) และจะต้องรอเวลาให้หนี้สินลดลงอีกนานกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้

ปัจจัยที่สองคือ การแก่ตัวลงของประชากรโลก แต่เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้โดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำงานนานขึ้น แต่ย่อมเป็นเรื่องที่ท้าทายในเชิงการเมืองและอาจเพิ่มช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยดังที่กล่าวข้างต้น ปัจจัยที่สามคือ การที่ภาครัฐควรต้องสะสางปัญหาและความขัดแย้งในการใช้นโยบายการคลังเพื่อขับเคลื่อนการลงทุน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ผลตอบแทนที่สูงและการศึกษาและพัฒนาคุณภาพของแรงงาน ซึ่งประเด็นหลังนี้ควรจะให้ความสำคัญเท่ากับหรือมากกว่าประเด็นแรก ทั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงประเทศไทยเท่านั้น แต่ประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐ ก็ขับเคลื่อนนโยบายการคลังไม่ได้ เพราะความขัดแย้งทางการเมือง ส่วนญี่ปุ่นก็มีปัญหาว่าหนี้สาธารณะสูงถึง 240% ของจีดีพีแล้ว

ปัจจัยที่สี่คือ เรื่องของเทคโนโลยีว่าอาจมิได้มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใดในอนาคตอันใกล้ ที่เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจมากเท่ากับสมัยก่อน แต่ตรงนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะพัฒนาการทางเทคโนโลยีนั้นคาดการณ์ได้ยาก ที่สำคัญคือในระยะยาวนั้นปัจจัยที่จะจำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นปัจจัยด้านอุปทาน (supply) มากกว่าด้านอุปสงค์ (demand) ดังนั้น ความพยายามที่จะต้องเร่งการปรับปรุงประสิทธิภาพและการแข่งขันการส่งเสริมการศึกษาและการเร่งการลงทุนจะต้องทำอย่างต่อเนื่องต่อไปครับ
[/size]
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: สภาวะความเสื่อมถอยเรื้อรัง (Secular Stagnation)/ดร.ศุภวุ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ คงเกิดขึ้นแน่อนครับ แต่สิ่งที่ผมห่วงคือ เมื่อความั่งมีสร้างยากขึ้น ประเทศต่างๆก็จะเริ่มการแก่งแย่งเพื่อทำให้ตนเองเติบโตได้ โดยความขัดแย้งทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเริ่มเกิดจากประชาชนอยู่ยาก อำนาจและความมั่งมีกระจุกตัว จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองเหมือนอาหรับสปริง ส่วนระหว่างประเทศก็นำไปสู่ข้ออ้างในการทำสงครามเพื่อหาประโยชน์มากขึ้น จนนำไปสู๋สงครามโลกครั้งต่อไป ขอให้มันไม่เกิดด้วยเถิดครับ ไม่อยากเห็นภาพที่หดหู่นะครับ :cry:
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: สภาวะความเสื่อมถอยเรื้อรัง (Secular Stagnation)/ดร.ศุภวุ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ คงเกิดขึ้นแน่อนครับ แต่สิ่งที่ผมห่วงคือ เมื่อความั่งมีสร้างยากขึ้น ประเทศต่างๆก็จะเริ่มการแก่งแย่งเพื่อทำให้ตนเองเติบโตได้ โดยความขัดแย้งทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเริ่มเกิดจากประชาชนอยู่ยาก อำนาจและความมั่งมีกระจุกตัว จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองเหมือนอาหรับสปริง ส่วนระหว่างประเทศก็นำไปสู่ข้ออ้างในการทำสงครามเพื่อหาประโยชน์มากขึ้น จนนำไปสู๋สงครามโลกครั้งต่อไป ขอให้มันไม่เกิดด้วยเถิดครับ ไม่อยากเห็นภาพที่หดหู่นะครับ :cry:
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: สภาวะความเสื่อมถอยเรื้อรัง (Secular Stagnation)/ดร.ศุภวุ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ คงเกิดขึ้นแน่อนครับ แต่สิ่งที่ผมห่วงคือ เมื่อความั่งมีสร้างยากขึ้น ประเทศต่างๆก็จะเริ่มการแก่งแย่งเพื่อทำให้ตนเองเติบโตได้ โดยความขัดแย้งทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเริ่มเกิดจากประชาชนอยู่ยาก อำนาจและความมั่งมีกระจุกตัว จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองเหมือนอาหรับสปริง ส่วนระหว่างประเทศก็นำไปสู่ข้ออ้างในการทำสงครามเพื่อหาประโยชน์มากขึ้น จนนำไปสู๋สงครามโลกครั้งต่อไป ขอให้มันไม่เกิดด้วยเถิดครับ ไม่อยากเห็นภาพที่หดหู่นะครับ :cry:
opengn
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

Re: สภาวะความเสื่อมถอยเรื้อรัง (Secular Stagnation)/ดร.ศุภวุ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
I_Jay
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

Re: สภาวะความเสื่อมถอยเรื้อรัง (Secular Stagnation)/ดร.ศุภวุ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

มองอีกมุมนึง ถ้าคนรุ่นเบบี้บูมตายลงไปหมดแล้ว คืออีกสัก50-70ปีข้างหน้า ประชากรโลกอาจจะลดลงสักครึ่งนึง โลกคงจะน่าอยู่มากๆเลยนะ
gdp อาจจะลดลง แต่ความแออัดการแก่งแย่ง น่าจะดีขึ้น ซึ่งหมายถึงคนในโลกที่เกิดมาอนนี้ทั้งหมดคงไม่สามารถอยู่ให้เห็นได้
โพสต์โพสต์