แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปีนี้ (3)

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1892
ผู้ติดตาม: 313

แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปีนี้ (3)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ใน 2 ตอนก่อนหน้านี้ผมกล่าวถึงปัจจัย 5 ข้อที่ผมเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังของปีนี้ซึ่งเป็นข้อมูลในเชิงลบมากกว่าเชิงบวกเพราะปัญหาหลักของโลกในขณะนี้สรุปได้จากหัวข้อข่าวใน Wall Street Journal เมื่อเดือนที่แล้วว่า “Global Challenge: Express of Almost Everything” กล่าวคือปัจจุบันนี้ปัญหากลายเป็นเรื่องของการมี “มาก” เกินไป ไม่ใช่ “น้อย” เกินไป เช่นที่อเมริกามีสต็อกน้ำมันที่เมือง 

Cushing มลรัฐ Oklahoma สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 490 ล้านบาร์เรล (สูงที่สุดตั้งแต่เคยเก็บสถิติมาเริ่มต้นจากปี 1982) ทั้งนี้การมีวัตถุดิบเกินความต้องการโดยรวมนั้นเห็นได้จากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงถึง 34% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา กล่าวคือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในวันนี้ปรับลดลงกลับไปที่ระดับราคาในปี 2009 เมื่อ 6 ปีที่แล้ว เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าความพยายามที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤติในปี 2008 โดยการก่อหนี้เพิ่ม ซึ่งเป็นเหมือนความพยายามวิ่งให้เร็วขึ้นไปพร้อมๆ กับการเพิ่มน้ำหนักตัว ดังนั้นจึงทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างอ่อนแอและยากลำบาก

หนี้สินที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐและยุโรปนั้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาครัฐ ดังนั้น ในกรณีของยุโรปอเมริกาและญี่ปุ่นนั้น จึงเกือบจะไม่สามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อฟื้นเศรษฐกิจได้ ในกรณีของสหรัฐนั้น ความขัดแย้งทางการเมือง (ประธานาธิบดีมาจากพรรคเดโมแครต แต่รัฐสภาเสียงข้างมากเป็นของพรรครีพับลิกัน) ทำให้เกิดความชะงักงันด้านนโยบายการคลัง แม้แต่ในยุโรปเองหากเรื่องของกรีกเดินเข้าสู่ทางตันก็คงจะทำให้นโยบายการคลังต้องชะงักงันเช่นกัน ในส่วนของญี่ปุ่นนั้นปีหน้าก็คงจะต้องยอมปรับขึ้นภาษีหรือดำเนินนโยบายการคลังแบบรัดเข็มขัด ทำให้นำมาสู่ข้อสรุปที่สำคัญว่า นโยบายหลักของประเทศที่มีจีดีพีรวมกันกว่า 50% ของจีดีพีโลก (สหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น) ต้องหันมาพึ่งนโยบายการเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากจำรูป IS-LM ที่จำลองเศรษฐกิจมหภาคในตำราเศรษฐศาสตร์ 101 ได้ก็จะจำได้ว่าการใช้นโยบายการเงินนั้นจะเพิ่มจีดีพีได้โดยการลดดอกเบี้ยลงเพียงอย่างเดียว และในกรณีที่ใช้คิวอีนั้นก็เป็นการกระตุ้นให้เงินของประเทศอ่อนค่าลง ซึ่งเป็นการส่งออกภาวะเงินฝืดนั่นเอง

ในกรณีของสหรัฐนั้นหยุดคิวอีไปแล้ว แต่ก็ดูเสมือนว่าไม่กล้าปรับขึ้นดอกเบี้ยเพราะตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1 อ่อนแอเกินคาด ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยชั่วคราว เช่น อากาศหนาวเย็นผิดปกติหรือการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ (หากมองอีกมุมหนึ่งคือการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินยูโร) ในส่วนของญี่ปุ่นนั้นไม่ได้บอกเลยว่าจะหยุดคิวอีเมื่อใด เพราะธนาคารกลางญี่ปุ่นตั้งเป้าเอาไว้ว่าเงินเฟ้อจะต้องปรับขึ้นถึง 2% ก่อน แต่ไปๆ มาๆ เงินเฟ้อกลับปรับตัวลดลงไปใกล้ศูนย์อีกแล้ว สำหรับยุโรปนั้นธนาคารกลางเพิ่งเริ่มคิวอีเมื่อเดือนที่แล้วและขณะนี้กำลังเร่งซื้อพันธบัตรรัฐบาลอยู่ แม้ดอกเบี้ยจะติดลบก็ต้องยอมซื้อมาเก็บเอาไว้และยังจะต้องซื้อต่อไปอีกถึงกันยายนปีหน้า โดยอาจต้องซื้อต่อไปอีกขึ้นอยู่กับว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นจนเป็นที่พอใจหรือไม่

ในบรรยากาศดังกล่าวนี้จึงทำให้ผมไม่คาดหวังมากจากการส่งออกของไทย ซึ่งทางบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร ปรับการคาดการณ์ลงมาโดยเชื่อว่ามูลค่าส่งออกในปีนี้อาจจะต้องติดลบประมาณ 0.5% จากที่เดิมเคยคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 1.5% การส่งออกเป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจไทย โดยมูลค่าการส่งออกแม้จะกระท่อนกระแท่นมา 3 ปีแล้ว ก็ยังคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของจีดีพี ดังนั้น หากการส่งออกไม่ดี ก็ยากที่จะหาปัจจัยอื่นมาทดแทนได้ ส่วนการจะเร่งรัดให้ส่งออกมากขึ้นนั้นก็ทำได้ยากเพราะดังที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อในตลาดโลกค่อนข้างจะอ่อนแอ และที่สำคัญคือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกนั้นคือการผ่อนคลายทางการเงิน ให้ผลข้างเคียงที่สำคัญประการหนึ่งคือการทำให้ค่าเงินอ่อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะท้าทายการส่งออกของไทยต่อไปในอนาคต

ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดดอกเบี้ยลง 2-3 ครั้งติดต่อกันเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลง (โดยหนังสือพิมพ์รายงานว่าเป็นการเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) แต่ผมเข้าใจว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความเห็นว่าการลดดอกเบี้ยกับค่าเงินบาทเป็นคนละเรื่องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบันซึ่งประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า ดังนั้น การลดดอกเบี้ยจึงจะไม่ส่งผลแต่อย่างใดในการทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงและเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดนั้นเป็นผลมาจากการลดลงของการนำเข้าเป็นหลัก (เพราะราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างมาก)

ดังนั้น หากรัฐบาลเร่งการใช้จ่ายภายในประเทศด้วยนโยบายการคลัง ก็จะทำให้จีดีพีขยายตัวได้เพิ่มขึ้นและการเพิ่มขึ้นของการนำเข้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตและเครื่องจักร) เพื่อให้ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (แทนที่การเกินดุลในขณะนี้) ก็จะเป็นการช่วยในทางอ้อมให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้อีกด้วย

ในครั้งต่อไปผมจะเขียนถึงนโยบายการเงินและนโยบายการคลังกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยครับ
[/size]
แนบไฟล์
634505_0_1431516579.jpg

ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปีนี้ (3

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
opengn
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

Re: แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปีนี้ (3

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

Re: แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปีนี้ (3

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ทุกประเทศเป็นหนี้กันหมด แล้วใครเป็นเจ้าหนี้
โพสต์โพสต์