The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1892
ผู้ติดตาม: 313

The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สำหรับนักลงทุนระยะยาวนั้น การคาดการณ์ได้ถูกต้องว่าประเทศที่ตนเองลงทุนนั้น จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตอย่างไรนับว่ามีประโยชน์มาก เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ จะได้รู้ว่าบริษัทจดทะเบียนที่เราจะลงทุนนั้นจะมีการเติบโตเร็วขึ้นหรือช้าลงและอาจจะหยุดโตเมื่อไรตามภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ประเทศหรือสังคมที่เศรษฐกิจไม่โตนั้น โอกาสก็ยากที่ดัชนีหุ้นของประเทศจะปรับตัวขึ้นไปได้มาก ตัวอย่างของตลาดหุ้นในยุโรปและญี่ปุ่นที่ไม่ไปไหนมานานตามภาวะเศรษฐกิจที่โตน้อยมากมานานย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดี ประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างไร? เรื่องนี้ผมคิดว่าโมเดลของ Arthur Lewis นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบิล ที่ตีพิมพ์ผลการศึกษาเรื่องของการพัฒนาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ 60 ปีที่แล้วสามารถจะอธิบายได้ดี

แนวความคิดของ Lewis ก็คือ ในสังคมที่มีคนอยู่ในสองภาค ภาคหนึ่งคือสังคมแบบ “ทุนนิยม” เช่นในเมืองหลวงหรือเมืองท่าขนาดใหญ่ กับอีกภาคหนึ่งคือสังคมแบบ “พออยู่พอกิน” เช่นในชนบทหรือในต่างจังหวัดที่ห่างไกลนั้น กระบวนการการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะเริ่มต้นโดยที่โรงงานอุตสาหกรรมหรือธุรกิจสามารถที่จะลงทุนขยายงานโดยที่มี “แรงงานส่วนเกินที่ไม่จำกัด” จากชนบท ดังนั้นพวกเขาจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าแรงเพิ่ม นี่ทำให้ธุรกิจมีกำไรดีกว่าปกติและกำไรที่ได้ก็นำไปลงทุนขยายงานเพิ่มโดยที่สามารถดึงคนจากชนบทมาทำงานโดยไม่ต้องจ่ายค่าแรงเพิ่ม กระบวนการนี้ทำให้ประเทศพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ จุดที่แรงงานในภาคพออยู่พอกินถูก “ดูดซับ” ไปหมดและการลงทุนเพิ่มต่อไปจะทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นนั้นก็คือจุดที่เรียกว่า “Lewis Turning Point” (LTP)

ณ. จุด LTP นั้น ค่าแรงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การหาแรงงานจะยากขึ้นมาก อุตสาหกรรมที่ต้องจ่ายค่าแรงสูงขึ้นนั้นจะทำให้การลงทุนมีความคุ้มค่าน้อยลงเพราะผลตอบแทนจะต่ำลงส่งผลให้การขยายการลงทุนของประเทศลดลง ผลก็คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะชะลอลงกว่าที่เคยเป็นมาก การที่จะทำให้ประเทศเจริญเติบโตต่อไปนั้น ก็จะต้องอาศัยแรงงานใหม่นั่นก็คือ คนที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นแรงงานใหม่ แต่โดยปกติมันมักจะไม่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเหมือนกับการเคลื่อนย้ายคนจากภาคเกษตรในต่างจังหวัดอยู่แล้ว อีกวิธีหนึ่งก็คือ การเพิ่ม Productivity หรือผลิตภาพของแรงงานให้มีความสามารถในการทำงานสูงขึ้นซึ่งอาจจะใช้การเพิ่มสัดส่วนของเครื่องจักร เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน และอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ เหมือนกับการดึงคนที่มีค่าแรงต่ำจากภาคเกษตรมาทำงาน

ประเทศที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่ามีการพัฒนาทางเศรษฐกิจตรงกับโมเดลของ Arthur Lewis ก็คือจีน ส่วนตัวผมเชื่อว่าประเทศไทยเองก็เป็นแบบเดียวกัน ว่า เศรษฐกิจของเรากำลังมุ่งเข้าสู่ “จุดกลับของลิวอิส” หรือ LTP ซึ่งหมายความว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะช้าลงเมื่อเทียบกับอดีต “อย่าถาวร” สิ่งที่ทำให้เชื่อว่าเป็นอย่างนั้นก็คือ ในปัจจุบันการหาแรงงานของไทยนั้นยากขึ้นมากจนเราต้องนำเข้าแรงงานจากเพื่อนบ้านจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ค่าแรงเองก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเร็ว ๆ นี้ และว่ากันว่าในชนบทของไทยนั้น เวลานี้มีแต่คนแก่กับเด็ก อัตราการว่างงานของไทยนั้นต่ำมากจนแทบเป็นศูนย์ ส่วนคนหนุ่มสาวต่างก็เข้ามาทำงานในเมืองกันหมด ประเทศจีนเองนั้นก็มีอาการแบบเดียวกันที่ค่าแรงปรับตัวขึ้นสูงจากที่เคยต่ำมากจนเวลานี้สูงกว่าค่าแรงของไทยไปแล้ว

ที่หนักไปกว่านั้นก็คือ Demography หรือโครงสร้างประชากรของทั้งจีนและไทยนั้นต่างก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการที่ประชากรวัยทำงานจะเพิ่มขึ้น มีการศึกษาและพบว่าประชากรในวัยทำงานทั้งของจีนและไทยนั้นจะเพิ่มขึ้นอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้นก็จะลดลง คาดการณ์กันว่าอาจจะภายในปี 2020-2025 หรือประมาณ 6-11 ปี จีนก็อาจจะถึงจุด LTP ส่วนของไทยเองนั้น ผมก็คิดว่าไม่ต่างกันมาก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นและไม่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นเช่นการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพของแรงงาน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศก็จะช้าลงมาก

โครงสร้างประชากรของจีนนั้น กล่าวกันว่ามีความผิดเพี้ยนไปอย่างแรงตรงที่มีนโยบาย “ลูกคนเดียว” มานานซึ่งทำให้จำนวนเด็กเกิดใหม่ในช่วงเวลานั้นมีน้อยลงไปมาก แม้ว่าในขณะนี้เริ่มจะมีการปรับในบางเขตของประเทศ ก็ไม่น่าจะทันกาล ส่วนของไทยเองนั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน “รุ่นใหม่” ทำให้เรามีลูกน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด ผมดูตัวเลขประชากรของไทยกับของจีนแล้วปรากฏว่าต่างก็มีโครงสร้างประชากรใกล้เคียงกันมากทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้มีนโยบายลูกคนเดียวแบบจีน นั่นคือ เรามีเด็กอายุ 0-14 ปี 17.6% ในขณะที่จีนมี 17.1% อายุ 15-24 ปี เรามี 15% ในขณะที่จีนมี 14.7% ในด้านของคนสูงอายุ ตั้งแต่ 55-64 ปี เรามี 10.9% ขณะที่จีนมี 11.3% และคนที่เกษียณแล้วที่ 65 ปีขึ้นไป เรามี9.5% ในขณะที่จีนมี 9.6% ว่าที่จริงทั้งไทยและจีนต้องบอกว่าเรากำลังเป็นสังคม “คนแก่” ของเอเซียในขณะที่ “คู่แข่ง” ของเราในอาเซียนเองนั้น ต่างก็ยังเป็นสังคมของคน “หนุ่มสาว”

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่น่าจะ “เด็ก” ที่สุด เพราะมีเด็กอายุไม่เกิน 14 ปีสูงถึง 33.7% ของประชากรหรือเกือบเท่าตัวของไทยในขณะที่คนแก่อายุเกิน 65 ปี ที่เกษียณแล้วมีแค่ 4.5% หรือน้อยกว่าครึ่งของไทย ลองลงมาคือมาเลเซียที่มีเด็ก 28.8% และคนแก่แค่ 5.5% ตามด้วยอินโดนีเซีย ที่มีเด็ก 26.2% และคนแก่ 6.5% ทั้งหมดนั้นน่าจะมาจากเรื่องของศาสนาที่ห้ามคุมกำเนิดทำให้มีประชากรเกิดมาก ส่วนเวียตนามซึ่งไม่ได้มีข้อห้ามคุมกำเนิดเองก็ค่อนข้างเป็นสังคมคนหนุ่มสาวมีเด็ก 24.3% และคนแก่เพียง 5.7% ในส่วนของสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แม้ว่าโดยรวมยังอ่อนกว่าไทยเล็กน้อย แต่ตัวเลขเด็กเกิดใหม่ลดลงอย่างฮวบฮาบ ปัจจุบันมีคนแก่ 8.5% แต่มีเด็กเพียง 13.4% เท่านั้น ทำให้สิงคโปร์ต้องรนณรงค์ให้คนมีลูกมากขึ้น

ประเทศคู่แข่ง-และ “คู่ค้า” ที่อยู่รอบบ้านเรานี้ กำลังมาแรงในด้านของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พวกเขายังห่างจากจุด LTP มาก ว่าที่จริงหลายประเทศเพิ่งจะเริ่มพัฒนาทางเศรษฐกิจและอาศัยแรงงานที่มีค่าแรงถูกที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ไทยเองใกล้หรืออาจจะถึงจุด LTP แล้ว ดังนั้น การที่จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไปจึงต้องการแรงงานเพิ่มซึ่งในปัจจุบันก็คือแรงงานต่างด้าวเป็นหลัก เพราะเป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มคนโดยการกระตุ้นให้คนไทยมีลูกมากขึ้นหรือเปิดรับคนเข้าเมืองแบบ อเมริกาหรือออสเตรเลีย นอกจากนั้น การเพิ่มผลิตภาพของแรงงานเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดเนื่องจากมันจะช่วยสร้างความ “อยู่ดีกินดี” ของประชาชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากมันต้องอาศัยการศึกษาที่ดีของประชากรและอื่น ๆ อีกมากรวมถึงการจัดการและลงทุนในด้านของสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องอาศัยรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและมองการณ์ไกล ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ไทยยังไม่พร้อมนัก

ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าเมืองไทยเองนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่จะ “รวม” เป็นเออีซีในปีหน้า เราคงเสียเปรียบ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวเราคงสู้ไม่ได้ และผลที่ตามมาก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นก็อาจจะไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนไทยที่สามารถรุกเข้าไปในเออีซีก็อาจจะเติบโตได้ดีและรุ่งเรืองได้ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจไทยอาจจะไม่โดดเด่นนัก นอกจาก “ซุปเปอร์สต็อก” เหล่านั้นแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่จะอยู่รอดและสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวก็คือ เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นโดยตรง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul Octopus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 804
ผู้ติดตาม: 2

Re: The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เป็นบทความที่ดี ขอบคุณมาก
Disclaimer & Disclosure: The articles posted only represent my personal view. They are by no means a guarantee to the stock performance. Have no plan to change my position to the stock mentioned over the next 72 hrs.
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จีนเสี่ยงสังคมผู้สูงอายุคนอยากมีลูกน้อยลง เผยคนจีนอยากมีลูกน้อยลง ทางการกังวลขาดแคลนแรงงานในอนาคตนอกเหนือจากญี่ปุ่นที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว.......

http://www.posttoday.com/รอบโลก/Asia-in ... ีลูกน้อยลง
mehtee
Verified User
โพสต์: 13
ผู้ติดตาม: 0

Re: The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมว่าจีนรอปล่อยก๊อกสอง ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวรึเปล่านะครับ
so simple
Verified User
โพสต์: 334
ผู้ติดตาม: 0

Re: The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อีกจุดหนึ่งที่ผมคิดว่าเศรษฐกิจไทย จะโตได้ช้า เนื่องจากความเสียหายในเรื่องจำนำข้าว
ที่มหาศาลมาก ทำให้เราต้องตั้งงบประมาณใช้หนี้ถึง 30 ปี สูญเสียงบลงทุนไปมากที่จะนำ
มาพัฒนาในด้านอื่น
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: The Lewis Turning Point/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ก่อนอื่น
ขอบคุณบทความครับ
....

วันนี้
จะลองจดโน๊ต The Lewis Turning Point (LTP)
ที่ไปศึกษาเรื่องนี้มาเพิ่ม
...
1. หัวใจของ LTP นี้อยู่ที่ "Dual-sector_model" (สังคมที่มีคนอยู่ในสองภาค)
http://en.wikipedia.org/wiki/Dual-sector_model

1.1 "The Essence of Labor Market Dualism
At the core of the Lewis model is labor market dualism.
http://digitalcommons.ilr.cornell.edu/c ... t=articles

1.1.1 One sector is that which “ทุนนิยม”
is alternatively called “capitalist,” “formal,” “modern,” “industrial,” or “urban.”

1.1.2 The other is that which “พออยู่พอกิน”
is alternatively called “subsistence,” “informal,” “traditional,” “agricultural,” or “rural.”





...
ต.ย. taiwan
2. "The two phases predicted by Lewis appear clearly in the data for Taiwan:
source:
http://digitalcommons.ilr.cornell.edu/c ... t=articles
p.10

2.1 falling unemployment at essentially constant wages,

2.2 then rapidly rising real wages at full or over-full employment.

http://image.free.in.th/v/2013/ix/150203082634.JPG




...
แล้วไปลองดู data ไทยจากข้อ 2.1 และ 2.2

ไทย 2.1 ??
http://image.free.in.th/v/2013/it/150203082909.png
ไทย 2.2
http://image.free.in.th/v/2013/it/150203083049.png
source:
http://www.tradingeconomics.com/thailand/minimum-wages
~~~




3. "middle income trap" “กับดักของประเทศรายได้ปานกลาง”
3.1 อธิบายศัพย์
http://www.siamintelligence.com/middle-income-trap/
3.2
บทความที่เชื่อมโยง "middle income trap" / LTP
http://www.acya.org.au/2014/09/will-chi ... come-trap/
มี chart
http://www.acya.org.au/wp-content/uploa ... income.jpg

3.3 ต.ย. เกาหลี escape fr middle income trap
มี chart
http://www.acya.org.au/wp-content/uploa ... /09/sk.jpg

3.4 ถ้าพ้นจาก รายได้ปานกลาง ต่อไปก็คือ
high-income_economy "ประเทศรายได้สูง"
http://en.wikipedia.org/wiki/World_Bank ... me_economy

....
(โน๊ตไว้เผื่อ
ใครจะไปอ่านต่อจะได้หาง่าย)
...
โพสต์โพสต์