การ ‘ซึมยาว’ของเศรษฐกิจโลก/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1892
ผู้ติดตาม: 313

การ ‘ซึมยาว’ของเศรษฐกิจโลก/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ดังที่ผมเคยเขียนถึงก่อนหน้านี้กระแสความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าและเกิดปรากฏการณ์ซึมยาวนั้นกำลังเป็นเรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์กำลังให้ความสนใจอย่างมากเพราะมีความสำคัญทั้งในเชิงของความอยู่ดีกินดีของประชาชนทุกคนและในเชิงวิชาการ กล่าวคือ

เรื่องเศรษฐกิจซึมยาวนั้นเป็นเรื่องที่เคยเป็นห่วงกันอยู่พักหนึ่งหลังจากโลกเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงเมื่อ 80 ปีก่อนหน้า แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เศรษฐกิจโลกก็ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแรงและตรงกันข้ามเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างร้อนแรง ในขณะที่ (เมื่อมองกลับไป) นโยบายการเงินและการคลังโดยรวมผ่อนคลายเกินไป ทำให้โลกต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงในทศวรรษ 70 หลายคนอาจลืมไปแล้วว่าในช่วงปี 1979-1980 นั้นแทบจะทุกประเทศเผชิญกับเงินเฟ้อ 2 หลัก (คือ 10% หรือสูงกว่านั้น) ต่อปี ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นสูงถึง 20% จึงสามารถปราบเงินเฟ้อได้อยู่มือในเกือบ 10 ปีให้หลัง แต่ก็ต้องแลกกับการที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 1980-1982 และกว่าจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนก็ต้องทอดเวลาไปถึงปี 1986-1987

ดังนั้น จึงต้องตั้งคำถามว่าครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนอย่างไร เพราะการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่ผ่อนคลายมากในปัจจุบัน เช่น ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่นใกล้ศูนย์ โดยมองว่าจะเป็นเช่นนี้ไปได้อีกนานเพื่อพยุงให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและในหลายกรณีจะระวังปัญหาเงินฝืดมากกว่าปัญหาเงินเฟ้อโดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่น

ฝ่ายที่กลัวเศรษฐกิจจะซึมยาวชี้ว่าปัจจุบันนักลงทุนกลัวปัญหายูเครนมากกว่าปัญหาอิรัก กล่าวคือปัญหายูเครนนั้นหากรุนแรงมากขึ้น (ยุโรปกับรัสเซียคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจตอบโต้กัน) ก็จะเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ภาวะตกต่ำ กล่าวคือ กลัวกำลังซื้อหดตัวจากสงครามการค้ามากกว่าการกลัวปัญหาที่กลุ่ม ISIS เข้ายึดครองบ่อน้ำมันของอิรัก ซึ่งกรณีหลังนี้จะทำให้ราคาน้ำมันโลกปรับสูงขึ้นและเกิดปัญหาเงินเฟ้อ (แบบ cost-push) ซึ่งจะเป็นปัญหาที่อุปทานขาด แต่ในกรณีแรกจะเป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดแคลนอุปสงค์

ทำไมโลกในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าอาจเผชิญปัญหาขาดแคลนอุปสงค์? ฝ่ายที่กลัวโลกจะซึมยาวให้เหตุผลดังนี้

1. ศักยภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลดลง (lower potential growth) ซึ่งเป็นประเด็นที่น่ากลัวที่สุดหากเป็นจริงและอาจเป็นเพราะ

    1.1 ประชากรแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วมีคนแก่จำนวนมากซึ่งทำงานไม่ได้และบริโภคน้อย

    1.2 ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาครบถ้วนและแพร่หลายแล้วจึงไม่เกิดผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของการศึกษาเช่นสมัยก่อน

    1.3 วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเข้าสู่สภาวะอิ่มตัวแล้ว กล่าวคือเมื่อ 20 ปีที่แล้วเป็นจุดเกิดของยุคไอที (ทั้งอินเทอร์เน็ต การเพิ่มอย่างก้าวกระโดดของศักยภาพของคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม) แต่ตอนนี้โทรศัพท์ไอโฟน 6 ที่จะออกมาใหม่ ก็มิได้แตกต่างจากไอโฟน 3,4 หรือ 5 มากนัก ดังนั้นจึงไม่มีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจ

    1.4 ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งคนรวยนั้นบริโภคน้อยกว่าคนจนเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้

    1.5 หนี้สาธารณะของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมดสูงมากและยังมีพันธะมากมายในด้านรัฐสวัสดิการ ทำให้ต้องดำเนินนโยบายการคลังที่ตึงตัวไปอีกนานหลายปีเพื่อรักษาวินัยทางการคลัง

2. อุปสงค์ไม่พอเพียง (aggregate demand shortage) นักวิชาการกลุ่มนี้ เช่น อดีตรัฐมนตรีคลัง นาย Lawrence Summers และ Prof. Paul Krugman มองว่าภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นและทำให้เศรษฐกิจตกต่ำนั้นยังเป็นปัญหาสำคัญที่เหนี่ยวรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกำลังซื้อเสมือนเป็นลูกตุ้มถ่วงอยู่ทำให้ต้องกดดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำติดดิน (เพื่อลดภาระของหนี้สิน) เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ต่อไปและเป็นไปได้ว่าจะต้องยอมให้เกิดฟองสบู่ในบางส่วนของเศรษฐกิจ (เพราะดอกเบี้ยต่ำเกินไป) มิฉะนั้นแล้วเศรษฐกิจโดยรวมจะทรุดตัวลงอีก

หรือกล่าวอีกทางหนึ่งคือหากจะหวังให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและเข้าสู่สภาวะปกติ (อัตราการว่างงานต่ำและใช้กำลังการผลิตเป็นปกติ) ก็อาจต้องยอมให้ดอกเบี้ยจริงติดลบ (ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อมาก) ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดฟองสบู่ดังที่กล่าวข้างต้นและในระยะยาวก็น่าจะสร้างปัญหาว่าการออมจะตกต่ำเพราะผู้ออมจะไม่ได้ผลตอบแทนแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีในระยะสั้นมักจะเป็นประโยชน์ต่อตลาดทุนเพราะราคาหุ้นจะปรับสูงขึ้น รวมถึงราคาสินทรัพย์อื่นๆ เช่น ที่ดิน เป็นต้น
[/size]
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: การ ‘ซึมยาว’ของเศรษฐกิจโลก/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
JirawatIndra
Verified User
โพสต์: 0
ผู้ติดตาม: 0

Re: การ ‘ซึมยาว’ของเศรษฐกิจโลก/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ :D
Investgineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 83
ผู้ติดตาม: 5

Re: การ ‘ซึมยาว’ของเศรษฐกิจโลก/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมเชื่อว่า Low Potential growth เป็นไปได้ยากครับโดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีอิ่มตัว ถ้ามองภาพใหญ่ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมจะมี breakthroughs ในนวัตกรรมอะไรสักอย่างใช้เวลานานอาจจะ 50-100 ปีมีหน แต่เวลาที่ใช้ breakthroughs มันลดลงเรื่อยๆครับ จนทุกวันนี้อาจจะเหลือเพียงไม่กี่ปีที่จะมีนวัตกรรมเปลี่ยนโลก...ตราบใดที่มนุษย์ ยังขี้เกียจ และ ยังมีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด รอไม่นานหรอกครับ
โพสต์โพสต์