จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1890
ผู้ติดตาม: 311

จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การเป็น Value Investor ที่มุ่งมั่นนั้นหมายความว่าเรามองการซื้อหุ้นเหมือนกับการลงทุนทำธุรกิจ นี่คือหลักคิดที่ VI โดยเฉพาะที่เป็นสายของการลงทุนระยะยาวแนวฟิสเชอร์หรือบัฟเฟตต์ยึดถือ ดังนั้นสำหรับคนเหล่านี้แล้ว พวกเขาจึงมักจะคิดถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทที่เสนอขายต่อลูกค้าและสังคมนอกเหนือไปจากกำไรที่บริษัทจะได้รับด้วย พูดง่ายๆ พวกเขาไม่อยากจะทำธุรกิจที่มีผลกระทบทางลบต่อลูกค้าและสังคมโดยรวมแม้ว่ามันจะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้งดงามกว่าปกติ ตัวอย่างง่ายๆ ของธุรกิจแบบนี้ก็เช่นสิ่งที่เรียกกันว่า “ธุรกิจบาป” ทั้งหลาย เช่น การขายบุหรี่ ค้าอาวุธ หรือบริการทางเพศ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม VI บางคนอาจจะอยากลงทุนในธุรกิจที่เสริมสร้างความเจริญและความดีงามให้แก่ลูกค้าและสังคมแม้ว่าธุรกิจนั้นอาจจะไม่ได้ทำกำไรมากนัก ขอเพียงให้มีผลตอบแทนพอสมควรเขาก็ยินดีที่จะลงทุนด้วย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการให้ความรู้ ธุรกิจที่ช่วยให้คนที่ยากจนหรือเสียเปรียบสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น นอกจากเรื่องของตัวธุรกิจแล้ว ทัศนคติของผู้บริหารก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นด้วย นั่นก็คือ VI อาจจะอยากหรือไม่อยาก “ทำธุรกิจ” กับคนที่คิดเหมือนหรือแตกต่างจากตนในบางเรื่องที่เขาคิดว่าสำคัญ

ธุรกิจกลุ่มแรกที่ผมจะพูดถึงที่ “จิตสำนึก” เข้ามามีส่วนต่อการตัดสินใจของ VI บางคนก็คือ ธุรกิจที่ “ผิดศีล” ซึ่งหลักๆ ก็คือ ศีลห้าในศาสนาพุทธ VI บางคนที่ “เคร่งศาสนา” มากก็อาจจะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ทำผิดศีลห้าได้แก่การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด และการดื่มสุราและของมึนเมา ซึ่งธุรกิจที่จะเข้าข่ายน่าจะรวมถึงธุรกิจอาหารที่ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ต้องฆ่าสัตว์ ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายเหล้า เบียร์ ไวน์ ซึ่งนี่น่าจะรวมถึงร้านค้าปลีกทั้งหลายที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการเป็นผู้ค้าปลีกที่เหล้าเบียร์เป็นเพียงส่วนน้อยของสินค้าที่ขายนั้น VI บางคนก็อาจจะมองว่าไม่ใช่เป็นประเด็นใหญ่ ว่าที่จริงบริษัทหรือร้านที่ขายเองนั้นก็ไม่ได้ดื่มเองหรือส่งเสริมให้คนดื่ม การขายก็เป็นเพียงแต่การบริการให้ความสะดวกกับลูกค้า เหนือสิ่งอื่นใด บาปของการดื่มสุราหรือเบียร์นั้นก็ไม่น่าจะรุนแรงเมื่อเทียบกับบาปจากการผิดศีลข้ออื่น โดยเฉพาะถ้าคนดื่มนั้นไม่ได้ดื่มมากจนครองสติไม่อยู่

ธุรกิจบางอย่างนั้นอาจจะไม่ได้ผิดศีลแต่มีส่วนในการทำลายสุขภาพทางกายและใจของคนที่บริโภคหรือใช้บริการ ตัวอย่างน่าจะรวมถึงบุหรี่ที่เป็นโทษต่อคนสูบมาก ลอตเตอรี่หรือคาสิโนที่มักทำให้คนเล่นติดและบางครั้งทำให้เสียทรัพย์สินจนทำให้เกิดปัญหาทางการเงินและครอบครัวตามมา นอกจากนั้น บางคนก็อาจจะมองไปถึงเกมคอมพิวเตอร์ที่เด็กชอบเล่นและบางคนก็ติดจนเป็นปัญหาให้กับตัวเด็กและพ่อแม่ด้วย นี่ก็เช่นกัน ดีกรีหรือระดับของการทำลายสุขภาพทางกายและใจก็เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา VI บางคนอาจจะไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด บางคนก็ดูว่า ถ้าเป็นเรื่องของบุหรี่หรือคาสิโนจะไม่สนใจลงทุน แต่อะไรที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นสินค้าอันตรายจริงๆ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงบ้างสำหรับบางคนแต่ก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ของสังคม เช่น ลอตเตอรี่หรือเกม แบบนี้ก็พอลงทุนได้ เหนือสิ่งอื่นใด การเล่นหุ้นหรือการลงทุนในตลาดเองนั้นก็เป็นความเสี่ยงอยู่ไม่น้อยไปกว่ากัน

ธุรกิจที่ช่วยให้คนและสังคมดีขึ้นนั้นผมคิดว่า VI ส่วนใหญ่น่าจะอยากลงทุนมากกว่าธุรกิจอย่างอื่นที่มีผลตอบแทนดีพอๆ กัน ธุรกิจเกี่ยวกับการให้ความรู้หรือธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษานั้นดูเหมือนจะเข้าข่ายนี้โดยไม่มีข้อสงสัย ดังนั้น กิจการเกี่ยวกับหนังสือ สำนักพิมพ์ หรืออาจจะรวมถึงหนังสือพิมพ์ น่าจะได้รับการต้อนรับที่ดีถ้าผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นสูงพอเป็นหุ้น VI ได้ VI บางคนหรืออาจจะส่วนใหญ่ก็น่าจะมองว่าธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและยานั้นเป็นธุรกิจที่พึงประสงค์ในการลงทุน อย่างไรก็ตาม VI บางคนกลับมองตรงกันข้ามว่า ธุรกิจโรงพยาบาลบางแห่งที่มีกำไร “มโหฬาร” ซึ่งขับเคลื่อนราคาหุ้นขึ้นไปสูงลิ่วนั้น เป็นหุ้นที่เขาจะไม่ลงทุน เพราะเขารู้สึกหรือมี “จิตสำนึก” ว่า กำไรที่มากกว่าปกติของโรงพยาบาลนั้น เกิดจากการคิดค่ารักษาพยาบาลที่สูงมากซึ่งเป็นเหมือนกับการ “ขูดรีด” คนที่กำลังเจ็บ จริงอยู่ ถ้าคุณไม่มีเงินคุณก็ไม่ต้องเข้ามารักษา แต่นี่ก็เหมือนกับเป็นการกีดกันให้คนจนต้องได้รับบริการทางการแพทย์ที่ด้อยลงไป ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด โรงพยาบาลเอกชนที่คิดค่าบริการแพงและกำไรมาก สำหรับพวกเขาแล้ว ไม่ใช่ธุรกิจที่เขาอยากลงทุนเนื่องมาจาก “จิตสำนึก” เลย

จิตสำนึกอีกแบบหนึ่งที่อาจจะมีผลต่อการลงทุนก็คือ จิตสำนึกต่อผลประโยชน์ของสังคมหรือประเทศชาติ นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บริษัทได้สิทธิประโยชน์จากรัฐ เช่น ได้รับสัมปทานผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดในกิจการสาธารณูปโภค เช่น โทรคมนาคม คมนาคม พลังงาน และอื่นๆ ประเด็นไม่ใช่ว่าแค่เป็นการได้รับสิทธิหรือสัมปทาน แต่เป็นเรื่องที่บริษัทอาจจะได้รับมันมาในราคาหรือต้นทุนที่ต่ำมากและบริษัทสามารถตั้งราคาขายบริการแก่ประชาชนในราคาที่สูงซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรมหาศาลโดยไม่ต้องแข่งขันหรือใช้ความพยายามอะไรนัก ผลประโยชน์ของประชาชนหรือประเทศชาติเสียหายไปแต่บริษัทได้กำไรมากเกินไปโดยที่แทบจะไม่มีความเสี่ยงเลยนั้น มันอาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกหรือจิตสำนึกแก่คนที่มองว่า นี่ไม่ใช่ธุรกิจที่เขาอยากทำเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นที่ทำกำไรมากเพราะความสามารถของบริษัทในการเสนอสินค้าที่ดีกว่าคู่แข่ง ไม่ใช่กำไรมากเพราะ “อำนาจรัฐ”

จิตสำนึกที่เกี่ยวกับการลงทุนเรื่องสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ทัศนคติ มุมมอง หรือความเชื่อ หรือนิสัยของผู้บริหารหรือเจ้าของ กับตัว VI เอง นี่เป็นเรื่องที่เป็น “ส่วนตัว” จริง ๆ ระหว่าง VI กับเจ้าของหรือผู้บริหาร ตัวอย่างเช่น VI คนหนึ่งอาจจะมีความคิดทางการเมืองแบบหนึ่งและมีความรู้สึกที่รุนแรง เขาก็อาจจะไม่อยากลงทุนในบริษัทที่ผู้บริหารหรือเจ้าของมีแนวความคิดที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงและได้แสดงให้ VI เห็นหรือเป็นที่รู้กันทั่วไป ประเด็นอาจจะอยู่ที่ว่า VI อาจจะรู้สึกว่าผู้บริหารที่มีความคิดแบบนั้นในทางการเมือง ก็น่าจะมีความคิดอย่างอื่นที่ไม่ถูกต้องหรือสอดคล้องกับตนเองไปด้วย อย่าลืมว่าคนที่มีความคิดต่างกันโดยเฉพาะในเรื่องของการเมืองนั้น มักจะคิดว่าความคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง “ไม่มีเหตุผล” ดังนั้น พวกเขาจึงคิดว่าเขาไม่อยากลงทุนด้วยถ้ากิจการมันไม่ดีเด่นจริงๆ

เรื่องของจิตสำนึกนั้นยังน่าจะมีอีกมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าคิดหรือรู้ว่าผู้บริหารเป็น “คนโกง” จิตสำนึกก็อาจจะบอกว่า เราไม่อยากลงทุนหรือเกี่ยวข้องกับคนแบบนี้แม้ในใจอาจจะคิดว่ามีโอกาสทำกำไรจากตัวหุ้นได้ง่ายๆ เนื่องจากหุ้นตัวนั้นมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมาก แต่ประเด็นก็คือ เราคิดว่าเราจะรู้สึก “ผิด” ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัทหรือคนแบบนั้น จิตสำนึกจะบอกว่า “เราไปหาหุ้นตัวอื่นดีกว่า” เหนือสิ่งอื่นใด มีหุ้นอีกจำนวนมากที่เราสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจมากกว่า ผมเองไม่รู้ว่า VI แต่ละคนมีจิตสำนึกอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการลงทุน บางคนอาจจะไม่มีเลย นั่นคือ การลงทุนของเขานั้น อิงกับเรื่องของคุณค่าและราคาเป็นหลัก บางคนมีน้อยเฉพาะในบางเรื่อง และบางคนก็อาจจะมีมากขึ้นซึ่งอาจจะทำให้พลาดโอกาสลงทุนในกิจการที่มีคุณสมบัติในการทำกำไรที่ดีเยี่ยมบางบริษัท แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมไม่คิดว่าเราจำเป็นที่จะต้องตัดจิตสำนึกออกจากการลงทุน นั่นก็คือ ถ้าลงทุนแล้วไม่สบายใจก็อย่าลงทุน เท่านั้นเอง
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 84

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมเคยได้ยินมาว่า ศีลข้อดื่มสุราหรือของมึนเมา เป็นศีลที่สำคัญที่สุด

เพราะ เมื่อเราไม่มีสติ เราอาจจะทำผิดศีลที่เหลือทั้ง 4 ข้อได้อย่างง่ายดาย

ขับรถชนคนตาย พูดโกหก ประพฤติผิดในกาม และลักทรัพย์
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
bennn
Verified User
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เห็นด้วยกับดร. ครับ ถ้าลงทุนแล้วไม่สบายใจก็อย่าลงทุน  เท่านั้นเอง
เพราะหัวข้อนี้กว้างมาก เป็นเรื่องส่วนบุคคลและสังคมนั้นๆ
บางเรื่อง จะคิดให้ถูกก็ได้ผิดก็ได้ อาจไม่มีอะไรขาวหมดจดเลย

เช่น ธุรกิจหนังสือ สำนักพิมพ์ ก็มีทั้งสิ่งพิมพ์ที่ดีและไม่ดี มีทั้งหนังสือให้ความรู้ มีทั้งหนังสืิอที่กระตุ้นอบายมุข มอมเมาสังคมได้เหมือนกัน
ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ก็อาจจะเป็นธุรกิจที่ช่วยให้คนที่ยากจนหรือเสียเปรียบสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นก็ได้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 1

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จิตสำนึก นับวันยิ่งน้อยลงน้อยลง ในสังคมปัจจุบัน

ผลประโยชน์ส่วนตน มันบังตาไปหมด

แต่ผมว่ามันเป็นหลักสำคัญมากที่ VI ทุกคนควรยึดถือไว้

ถ้าเริ่มต้นมองว่า นิดหน่อยเองไม่เป็นไร ต่อไปเมื่อมีทรัพย์สินมากก็คงไม่ต้องไปคาดหวังว่าจิตสำนึกมันจะเกิดขึ้นมาได้เอง

เมื่อคนมีทรัพย์สินมากมายแล้วขาดจิตสำนึก ไม่ต้องบอกว่าสังคมจะเป็นเช่นไร

ราตรีสวัสดิ์ประเทศไทย
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
Kritkarun
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 943
ผู้ติดตาม: 8

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ๕ ประ
การเป็นไฉน คือ การค้าขายศาตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การค้าขายเนื้อสัตว์ ๑
การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายการค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ฯ

บทว่า มชฺชวณิชฺชา ได้แก่ "ให้เขาทำ"ของเมาอย่างใดอย่างหนึ่ง"แล้วก็ขาย"ของเมา

อาชีพที่พระพุทธเจ้า"ห้าม" หมายถึงการ"ขาย" (แม้ว่าจะไม่ได้ผลิตเองก็ตาม)
iruma
Verified User
โพสต์: 60
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แนะนำหนังสือที่พูดถึง "ศีล5" ครับ

ดังตฤณ : ผิดที่ไม่รู้

http://dungtrin.com/guilt/
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 23

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

รายการรู้ใช้เข้าใจเงิน หัวข้อเดียวกัน

http://www2.mcot.net/fm965/audio/view/i ... MYFhuAcaXo
somkiad999
Verified User
โพสต์: 249
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

[quote="chatchai"]ผมเคยได้ยินมาว่า ศีลข้อดื่มสุราหรือของมึนเมา เป็นศีลที่สำคัญที่สุด

เพราะ เมื่อเราไม่มีสติ เราอาจจะทำผิดศีลที่เหลือทั้ง 4 ข้อได้อย่างง่ายดาย

ขับรถชนคนตาย พูดโกหก ประพฤติผิดในกาม และลักทรัพย์[/quote]

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับผม
ศิษย์เซียน007
Verified User
โพสต์: 1252
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

คือว่าน้อยคนจริงๆคับที่ดื่มเหล้าหรือเบียร์แล้วจะสามารถครองสติไว้ได้อ่ะคับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 4

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

จิตสำนึกกับการลงทุนในหุ้น "โรงพยาบาล" ของอาจารย์น่าสนใจมากครับ

ผมเคยสนใจคิดหาข้อมูลหุ้นโรงพยาบาลของประเทศญี่ปุ่นเพื่อลงทุน เพราะมองว่าสังคมคนชราที่ประเทศนี้คงไม่แพ้ประเทศไหน
หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ ปรากฎว่า ประเทศญี่ปุ่น ไม่ยอมให้เอาโรงพยาบาลเข้าตลาดหุ้น
ผมลองไปหาเหตุผลดูเจอว่า เพราะรัฐบาลไม่อยากให้ โรงพยาบาลซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาคนไข้และมีการซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายบางส่วนจากทางรัฐบาล ต้องถูกมองเป็นการถูกบงการได้โดยอำนาจเงิน
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 23

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="kabu"]จิตสำนึกกับการลงทุนในหุ้น "โรงพยาบาล" ของอาจารย์น่าสนใจมากครับ

ผมเคยสนใจคิดหาข้อมูลหุ้นโรงพยาบาลของประเทศญี่ปุ่นเพื่อลงทุน เพราะมองว่าสังคมคนชราที่ประเทศนี้คงไม่แพ้ประเทศไหน
หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ ปรากฎว่า ประเทศญี่ปุ่น ไม่ยอมให้เอาโรงพยาบาลเข้าตลาดหุ้น
ผมลองไปหาเหตุผลดูเจอว่า เพราะรัฐบาลไม่อยากให้ โรงพยาบาลซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาคนไข้และมีการซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายบางส่วนจากทางรัฐบาล ต้องถูกมองเป็นการถูกบงการได้โดยอำนาจเงิน[/quote]


ผมเคยฟังเคสของฝั่งแอฟริกามาครับ ว่าที่นั่นภาครัฐยังไม่สามารถสนับสนุนระบบสาธารณะสุขที่ดีได้ ดังนั้นหลายคนถึงตั้งความไว้ที่ภาคเอกชนที่จะไปลงทุนสร้างโรงพยาบาลราคาย่อมเยาสำหรับประชาชน ถ้าไม่มีโรงพยาบาลเอกชนราคาถูก ผู้ป่วยก็จะไม่มีทางเลือกในการรักษาที่ดี

พอกลับมาดูหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในไทย ผมยังไม่เห็นมีโรงพยาบาลไหนประกาศให้ชัดเจนว่าจะเน้นทำประโยชน์ให้สังคมเป็นหลัก มุ่งสร้างกำไรเป็นรอง ถ้าเกิดผมเจอขึ้นมาจริงๆผมก็คงมั่นใจที่จะถือหุ้นได้นานๆครับ ถือว่าเงินลงทุนเราช่วยสังคมทางอ้อม
ภาพประจำตัวสมาชิก
JUMP
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 188
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณครับ
MacBook
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

[quote="Thai VI Article"][size=150] [code] การเป็น Value Investor ที่มุ่งมั่นนั้นหมายความว่าเรามองการซื้อหุ้นเหมือนกับการลงทุนทำธุรกิจ นี่คือหลักคิดที่ VI โดยเฉพาะที่เป็นสายของการลงทุนระยะยาวแนวฟิสเชอร์หรือบัฟเฟตต์ยึดถือ ดังนั้นสำหรับคนเหล่านี้แล้ว พวกเขาจึงมักจะคิดถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทที่เสนอขายต่อลูกค้าและสังคมนอกเหนือไปจากกำไรที่บริษัทจะได้รับด้วย พูดง่าย ๆ พวกเขาไม่อยากจะทำธุรกิจที่มีผลกระทบทางลบต่อลูกค้าและสังคมโดยรวมแม้ว่ามันจะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้งดงามกว่าปกติ ตัวอย่างง่าย ๆ ของธุรกิจแบบนี้ก็เช่นสิ่งที่เรียกกันว่า “ธุรกิจบาป” ทั้งหลาย เช่น การขายบุหรี่ ค้าอาวุธ หรือบริการทางเพศ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม VI บางคนอาจจะอยากลงทุนในธุรกิจที่เสริมสร้างความเจริญและความดีงามให้แก่ลูกค้าและสังคมแม้ว่าธุรกิจนั้นอาจจะไม่ได้ทำกำไรมากนัก ขอเพียงให้มีผลตอบแทนพอสมควรเขาก็ยินดีที่จะลงทุนด้วย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการให้ความรู้ ธุรกิจที่ช่วยให้คนที่ยากจนหรือเสียเปรียบสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น นอกจากเรื่องของตัวธุรกิจแล้ว ทัศนคติของผู้บริหารก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นด้วย นั่นก็คือ VI อาจจะอยากหรือไม่อยาก “ทำธุรกิจ” กับคนที่คิดเหมือนหรือแตกต่างจากตนในบางเรื่องที่เขาคิดว่าสำคัญ
ธุรกิจกลุ่มแรกที่ผมจะพูดถึงที่ “จิตสำนึก” เข้ามามีส่วนต่อการตัดสินใจของ VI บางคนก็คือ ธุรกิจที่ “ผิดศีล” ซึ่งหลัก ๆ ก็คือ ศีลห้าในศาสนาพุทธ VI บางคนที่ “เคร่งศาสนา” มากก็อาจจะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ทำผิดศีลห้าได้แก่การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด และการดื่มสุราและของมึนเมา ซึ่งธุรกิจที่จะเข้าข่ายน่าจะรวมถึงธุรกิจอาหารที่ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ต้องฆ่าสัตว์ ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายเหล้า เบียร์ ไวน์ ซึ่งนี่น่าจะรวมถึงร้านค้าปลีกทั้งหลายที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการเป็นผู้ค้าปลีกที่เหล้าเบียร์เป็นเพียงส่วนน้อยของสินค้าที่ขายนั้น VI บางคนก็อาจจะมองว่าไม่ใช่เป็นประเด็นใหญ่ ว่าที่จริงบริษัทหรือร้านที่ขายเองนั้นก็ไม่ได้ดื่มเองหรือส่งเสริมให้คนดื่ม การขายก็เป็นเพียงแต่การบริการให้ความสะดวกกับลูกค้า เหนือสิ่งอื่นใด บาปของการดื่มสุราหรือเบียร์นั้นก็ไม่น่าจะรุนแรงเมื่อเทียบกับบาปจากการผิดศีลข้ออื่น โดยเฉพาะถ้าคนดื่มนั้นไม่ได้ดื่มมากจนครองสติไม่อยู่
ธุรกิจบางอย่างนั้นอาจจะไม่ได้ผิดศีลแต่มีส่วนในการทำลายสุขภาพทางกายและใจของคนที่บริโภคหรือใช้บริการ ตัวอย่างน่าจะรวมถึงบุหรี่ที่เป็นโทษต่อคนสูบมาก ลอตเตอรี่หรือคาสิโนที่มักทำให้คนเล่นติดและบางครั้งทำให้เสียทรัพย์สินจนทำให้เกิดปัญหาทางการเงินและครอบครัวตามมา นอกจากนั้น บางคนก็อาจจะมองไปถึงเกมคอมพิวเตอร์ที่เด็กชอบเล่นและบางคนก็ติดจนเป็นปัญหาให้กับตัวเด็กและพ่อแม่ด้วย นี่ก็เช่นกัน ดีกรีหรือระดับของการทำลายสุขภาพทางกายและใจก็เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา VI บางคนอาจจะไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด บางคนก็ดูว่า ถ้าเป็นเรื่องของบุหรี่หรือคาสิโนจะไม่สนใจลงทุน แต่อะไรที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นสินค้าอันตรายจริง ๆ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงบ้างสำหรับบางคนแต่ก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ของสังคม เช่น ลอตเตอรี่หรือเกม แบบนี้ก็พอลงทุนได้ เหนือสิ่งอื่นใด การเล่นหุ้นหรือการลงทุนในตลาดเองนั้นก็เป็นความเสี่ยงอยู่ไม่น้อยไปกว่ากัน
ธุรกิจที่ช่วยให้คนและสังคมดีขึ้นนั้นผมคิดว่า VI ส่วนใหญ่น่าจะอยากลงทุนมากกว่าธุรกิจอย่างอื่นที่มีผลตอบแทนดีพอ ๆ กัน ธุรกิจเกี่ยวกับการให้ความรู้หรือธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษานั้นดูเหมือนจะเข้าข่ายนี้โดยไม่มีข้อสงสัย ดังนั้น กิจการเกี่ยวกับหนังสือ สำนักพิมพ์ หรืออาจจะรวมถึงหนังสือพิมพ์ น่าจะได้รับการต้อนรับที่ดีถ้าผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นสูงพอเป็นหุ้น VI ได้ VI บางคนหรืออาจจะส่วนใหญ่ก็น่าจะมองว่าธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและยานั้นเป็นธุรกิจที่พึงประสงค์ในการลงทุน อย่างไรก็ตาม VI บางคนกลับมองตรงกันข้ามว่า ธุรกิจโรงพยาบาลบางแห่งที่มีกำไร “มโหฬาร” ซึ่งขับเคลื่อนราคาหุ้นขึ้นไปสูงลิ่วนั้น เป็นหุ้นที่เขาจะไม่ลงทุน เพราะเขารู้สึกหรือมี “จิตสำนึก” ว่า กำไรที่มากกว่าปกติของโรงพยาบาลนั้น เกิดจากการคิดค่ารักษาพยาบาลที่สูงมากซึ่งเป็นเหมือนกับการ “ขูดรีด” คนที่กำลังเจ็บ จริงอยู่ ถ้าคุณไม่มีเงินคุณก็ไม่ต้องเข้ามารักษา แต่นี่ก็เหมือนกับเป็นการกีดกันให้คนจนต้องได้รับบริการทางการแพทย์ที่ด้อยลงไป ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด โรงพยาบาลเอกชนที่คิดค่าบริการแพงและกำไรมาก สำหรับพวกเขาแล้ว ไม่ใช่ธุรกิจที่เขาอยากลงทุนเนื่องมาจาก “จิตสำนึก” เลย
จิตสำนึกอีกแบบหนึ่งที่อาจจะมีผลต่อการลงทุนก็คือ จิตสำนึกต่อผลประโยชน์ของสังคมหรือประเทศชาติ นี่คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่บริษัทได้สิทธิประโยชน์จากรัฐ เช่น ได้รับสัมปทานผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดในกิจการสาธารณูปโภค เช่น โทรคมนาคม คมนาคม พลังงาน และอื่น ๆ ประเด็นไม่ใช่ว่าแค่เป็นการได้รับสิทธิหรือสัมปทาน แต่เป็นเรื่องที่บริษัทอาจจะได้รับมันมาในราคาหรือต้นทุนที่ต่ำมากและบริษัทสามารถตั้งราคาขายบริการแก่ประชาชนในราคาที่สูงซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรมหาศาลโดยไม่ต้องแข่งขันหรือใช้ความพยายามอะไรนัก ผลประโยชน์ของประชาชนหรือประเทศชาติเสียหายไปแต่บริษัทได้กำไรมากเกินไปโดยที่แทบจะไม่มีความเสี่ยงเลยนั้น มันอาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกหรือจิตสำนึกแก่คนที่มองว่า นี่ไม่ใช่ธุรกิจที่เขาอยากทำเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นที่ทำกำไรมากเพราะความสามารถของบริษัทในการเสนอสินค้าที่ดีกว่าคู่แข่ง ไม่ใช่กำไรมากเพราะ “อำนาจรัฐ”
จิตสำนึกที่เกี่ยวกับการลงทุนเรื่องสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ทัศนคติ มุมมอง หรือความเชื่อ หรือนิสัยของผู้บริหารหรือเจ้าของ กับตัว VI เอง นี่เป็นเรื่องที่เป็น “ส่วนตัว” จริง ๆ ระหว่าง VI กับเจ้าของหรือผู้บริหาร ตัวอย่างเช่น VI คนหนึ่งอาจจะมีความคิดทางการเมืองแบบหนึ่งและมีความรู้สึกที่รุนแรง เขาก็อาจจะไม่อยากลงทุนในบริษัทที่ผู้บริหารหรือเจ้าของมีแนวความคิดที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงและได้แสดงให้ VI เห็นหรือเป็นที่รู้กันทั่วไป ประเด็นอาจจะอยู่ที่ว่า VI อาจจะรู้สึกว่าผู้บริหารที่มีความคิดแบบนั้นในทางการเมือง ก็น่าจะมีความคิดอย่างอื่นที่ไม่ถูกต้องหรือสอดคล้องกับตนเองไปด้วย อย่าลืมว่าคนที่มีความคิดต่างกันโดยเฉพาะในเรื่องของการเมืองนั้น มักจะคิดว่าความคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง “ไม่มีเหตุผล” ดังนั้น พวกเขาจึงคิดว่าเขาไม่อยากลงทุนด้วยถ้ากิจการมันไม่ดีเด่นจริง ๆ
เรื่องของจิตสำนึกนั้นยังน่าจะมีอีกมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าคิดหรือรู้ว่าผู้บริหารเป็น “คนโกง” จิตสำนึกก็อาจจะบอกว่า เราไม่อยากลงทุนหรือเกี่ยวข้องกับคนแบบนี้แม้ในใจอาจจะคิดว่ามีโอกาสทำกำไรจากตัวหุ้นได้ง่าย ๆ เนื่องจากหุ้นตัวนั้นมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมาก แต่ประเด็นก็คือ เราคิดว่าเราจะรู้สึก “ผิด” ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัทหรือคนแบบนั้น จิตสำนึกจะบอกว่า “เราไปหาหุ้นตัวอื่นดีกว่า” เหนือสิ่งอื่นใด มีหุ้นอีกจำนวนมากที่เราสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจมากกว่า ผมเองไม่รู้ว่า VI แต่ละคนมีจิตสำนึกอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการลงทุน บางคนอาจจะไม่มีเลย นั่นคือ การลงทุนของเขานั้น อิงกับเรื่องของคุณค่าและราคาเป็นหลัก บางคนมีน้อยเฉพาะในบางเรื่อง และบางคนก็อาจจะมีมากขึ้นซึ่งอาจจะทำให้พลาดโอกาสลงทุนในกิจการที่มีคุณสมบัติในการทำกำไรที่ดีเยี่ยมบางบริษัท แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมไม่คิดว่าเราจำเป็นที่จะต้องตัดจิตสำนึกออกจากการลงทุน นั่นก็คือ ถ้าลงทุนแล้วไม่สบายใจก็อย่าลงทุน เท่านั้นเอง[/code][/size][/quote]
bennn
Verified User
โพสต์: 412
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

[quote="vim"][quote="kabu"]จิตสำนึกกับการลงทุนในหุ้น "โรงพยาบาล" ของอาจารย์น่าสนใจมากครับ

ผมเคยสนใจคิดหาข้อมูลหุ้นโรงพยาบาลของประเทศญี่ปุ่นเพื่อลงทุน เพราะมองว่าสังคมคนชราที่ประเทศนี้คงไม่แพ้ประเทศไหน
หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ ปรากฎว่า ประเทศญี่ปุ่น ไม่ยอมให้เอาโรงพยาบาลเข้าตลาดหุ้น
ผมลองไปหาเหตุผลดูเจอว่า เพราะรัฐบาลไม่อยากให้ โรงพยาบาลซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาคนไข้และมีการซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายบางส่วนจากทางรัฐบาล ต้องถูกมองเป็นการถูกบงการได้โดยอำนาจเงิน[/quote]


ผมเคยฟังเคสของฝั่งแอฟริกามาครับ ว่าที่นั่นภาครัฐยังไม่สามารถสนับสนุนระบบสาธารณะสุขที่ดีได้ ดังนั้นหลายคนถึงตั้งความไว้ที่ภาคเอกชนที่จะไปลงทุนสร้างโรงพยาบาลราคาย่อมเยาสำหรับประชาชน ถ้าไม่มีโรงพยาบาลเอกชนราคาถูก ผู้ป่วยก็จะไม่มีทางเลือกในการรักษาที่ดี

พอกลับมาดูหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในไทย ผมยังไม่เห็นมีโรงพยาบาลไหนประกาศให้ชัดเจนว่าจะเน้นทำประโยชน์ให้สังคมเป็นหลัก มุ่งสร้างกำไรเป็นรอง ถ้าเกิดผมเจอขึ้นมาจริงๆผมก็คงมั่นใจที่จะถือหุ้นได้นานๆครับ ถือว่าเงินลงทุนเราช่วยสังคมทางอ้อม[/quote]

ปัญหาแต่ละประเทศนั้นต่างกันครับ
ประเทศเราแทบไม่ได้มีการสนับสนุนโรงพยาบาลเอกชนจากภาครัฐครับ
ธุรกิจโรงพยาบาลเป็นธุรกิจบริการครับ ทีนี้สิ่งที่คนไข้ต้องการมากกว่าการรักษาคือ
ความรวดเร็วในการให้บริการ ความสะดวกสบาย การพักในห้องที่ดี เครื่องไม้เครื่องมือที่ดี
ทุกอย่างมีต้นทุนครับ และคนไทยก็ต้องการส่วนเพิ่มมาตรงนี้ สังเกตจากความต้องการรักษาในรพ. เอกชน
ทีนี้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็เป็นเรื่องธรรมดาครับ ที่ค่ารักษาไปเทียบกับรพ.รัฐ ทำไม่ได้เพราะมีเงินสนับสนุนอยู่มากครับ
ต้นทุนมันมีหลายส่วนครับไม่ใช่เฉพาะกำไรของโรงพยาบาลเอกชนอย่างเดียว
อุปสงค์อุปทานมีส่วนสำคัญครับ
ถ้าบีบให้รพ. ลดค่ารักษาลงซัก 10% โดยที่รพ. แทบจะไม่มีกำไรกันเลย ซึ่งก็จะมีคนบอกว่าค่ารักษายังแพงอยู่ดี
สุดท้ายแล้วโรงพยาบาลจะขาดแคลนมากกว่านี้นะครับ
โรงพยาบาลราคาย่อมเยานั้นอาจจะทำได้ แต่การลงทุนเครื่องไม้เครื่องมือเพิ่มเติม รวมไปถึงความรวดเร็วในการให้บริการก็ต้องทำใจนะครับ
ไม่งั้นระยะยาวก็คงอยู่ไม่ได้(ถ้าไม่มีเงินสนับสนุน)
ฉะนั้นเวลาที่ท่านได้รับการรักษาบริการที่ดีขึ้น การรักษาที่ดีขึ้น ด้วยเครื่องมือที่ดี ก็ต้องคิดถึงส่วนนี้ด้วยครับ
การที่กล่าวถึงแต่เฉพาะส่วนของธุรกิจโรงพยาบาลโดยไม่ดูภาพรวม คิดว่าไม่ถูกต้องครับ
โพสต์โพสต์