วางแผนการเงิน : แผนของใครของคนนั้น/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1895
ผู้ติดตาม: 313

วางแผนการเงิน : แผนของใครของคนนั้น/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

   ในสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันเขียนเรื่องการเกษียณและวางแผนเพื่อการเกษียณอายุงาน เนื่องจากเห็นว่า ประชากรไทย เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อเตรียมตัวรับการเกษียณอย่างมีคุณภาพ
   ทั้งนี้ ในการวางแผนการเงิน เราย้ำอยู่เสมอว่า แผนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการดำเนินชีวิต ระดับคุณภาพชีวิต และรสนิยมของแต่ละคนด้วย  สำหรับผู้มีรสนิยมดี แต่เมื่อวางแผนแล้วไม่สามารถบรรลุได้ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนค่ะ โดยมีทางเลือกคือ ออมเพิ่มขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือลดระดับการใช้จ่ายในอนาคตลง
   เนื่องจากเนื้อที่ในบทความมีจำกัด ตัวอย่างที่ดิฉันยกไปไม่ได้ครอบคลุมทุกรณีอยู่แล้ว ท่านต้องนำไปพิจารณาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวของท่านเอง ทั้งนี้ท่านสามารถปรึกษานักวางแผนการเงินได้
   ในสัปดาห์ที่แล้วมีผู้อ่านทักท้วงมาเกี่ยวกับเรื่องจำนวนเงินที่ต้องมีเพื่อการเกษียณ ซึ่งดิฉันเขียนไปว่า จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งสำรวจคนกรุงเทพฯ พบว่าส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2 ล้านบาท ซึ่งในความเห็นของดิฉัน ไม่เพียงพอแน่นอน
   หากท่านมีเงินก่อนเกษียณ 2 ล้านบาท ลงทุนได้ผลตอบแทนสุทธิ(หลังหักภาษี) 4% ต่อปี ท่านสามารถใช้เงินได้เดือนละ 12,120 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 20 ปี (240 เดือน หรือจนอายุ 80 ปี) แต่หากท่านอายุยืนถึง 85 ปี ท่านจะเหลือใช้เดือนละ 10,557 บาท หรือหากท่านอายุยืนถึง 90 ปี ท่านจะเหลือใช้เดือนละ 9,548 บาท เท่านั้น
การใช้นี้หมายถึงรวมทุกอย่างแล้ว ทั้งค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหาร เสื้อผ้า ฯลฯ
   เนื่องจากโลกเรามีเงินเฟ้อ หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 3% ต่อปี  เงิน 9,548 บาท ในปีที่ 30 (เมื่อท่านอายุ 90 ปี)จะมีอำนาจซื้อเท่ากับเงิน 3,886 บาท ในปีที่ท่านอายุ 60 ปีเท่านั้นเอง
   ดิฉันจึงเขียนว่า ถ้าจะอยู่อย่างสบายๆ ให้ตั้งเป้าหมายว่าต้องมีประมาณ 10 ล้านบาท ขออภัยที่ไม่ได้ย้ำว่า สำหรับผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพราะแบบสำรวจ เป็นการสำรวจคนในกรุงเทพฯ
	ผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด มีค่าครองชีพที่ต่ำกว่าแน่นอน  จึงอาจต้องการเงินน้อยกว่า แม้จะมีระดับความเป็นอยู่ที่เท่ากับในกรุงเทพฯ
	ข้าราชการมีสวัสดิการทางด้านการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว จึงอาจต้องการเงินน้อยกว่านี้
	ผู้ที่มีเงินออมน้อยยังมีความหวัง เพราะตอนนี้เรามีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ท่านสามารถใช้บริการได้
	ผู้ที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองและปลอดภาระ หรืออาศัยกับญาติหรือลูกหลาน ก็ไม่ต้องจ่ายค่าผ่อนชำระ ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ท่านก็จะมีภาระรายจ่ายน้อยลง 
	คนทั่วไปที่ไม่ได้พึ่งพาสวัสดิการของรัฐ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถออมได้ถึงจำนวนนี้ ท่านสามารถลดรายจ่ายได้	ด้วยการปลูกพืชผักรับประทานเอง  ทำอาหารรับประทานเอง หรือซื้อสำเร็จมา ความฟุ่มเฟือยต่างๆต้องตัดออกค่ะ การไปรับประทานอาหารนอกบ้านตามภัตตาคารก็เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในปัจจุบัน
   บทความของดิฉันต้องการให้ทุกท่านตระหนักถึงการเริ่มออมตั้งแต่ยังอายุน้อย เพราะจะได้เปรียบกว่าเยอะ  ยิ่งท่านเริ่มออมได้เร็ว ท่านก็จะยิ่งเพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตของท่านได้ในยามชราภาพค่ะ
   นอกจากนี้ยังมีผู้อ่านเขียนมาท้วงติงเรื่องคำแนะนำเกี่ยวกับการประกันชีวิต  ดิฉันขอเรียนว่า ดิฉันแนะนำในกรณีกว้างๆ  เชื่อว่าเมื่อท่านจะทำประกัน ท่านต้องปรึกษาตัวแทน เพื่อขอคำแนะนำและเลือกแผนการประกันที่เหมาะสมกับท่าน  เพราะแบบแผนมีมากมาย แต่ละท่านก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต และกับภาระการเงินของท่าน
   เรื่องประกันชีวิตที่ดิฉันเขียน เป็นการประกันเพื่อการเกษียณและหลังเกษียณ โดยเน้นการประกันสุขภาพ และการประกันแบบรับบำนาญเป็นรายงวด ซึ่งดิฉันเห็นว่าดี 
หากท่านอยู่ในกรณีอื่นๆ คือ ยังไม่ได้เกษียณ มีภาระหนี้ที่ต้องผ่อนอยู่ ท่านก็สามารถเลือกแบบประกันอื่นๆที่ให้ความคุ้มครองที่เหมาะสม เช่น บริษัทประกันจะรับภาระส่งหนี้แทนท่าน โดยครอบครัวท่านไม่ต้องรับภาระอีก หากท่านต้องเสียชีวิตไปก่อนวัยอันควร
   เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ดิฉันขอนำเอาตารางเงินออมที่แนะนำว่าท่านน่าจะมี ณ วันที่ท่านเกษียณอายุงาน เพื่อที่จะมีเงินใช้เดือนละ 20,000 บาท เทียบเท่าค่าเงินปัจจุบัน ซึ่งเคยลงในคอลัมน์นี้ไปแล้วเมื่อประมาณ 5 ปีก่อน และรวมเล่มไปแล้ว มาให้ท่านพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
รูปภาพ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ที่มา : หนังสือ Money Pro แผนการเงิน แผนชีวิต โดย วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ หน้า 74
   ตารางนี้บอกว่า หากตอนนี้ท่านอายุ 50 ปี และต้องการออมเพื่อมีเงินใช้เทียบเท่าเดือนละ 20,000 บาท ของค่าเงินปัจจุบัน ซึ่งจะเท่ากับ 26,878 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้า (ด้วยอัตราเงินเฟ้อปีละ 3%)  และท่านจะมีอายุขัยไปจนถึง 85 ปี (อยู่อีก 25 ปีหลังเกษียณ) ถ้าท่านสามารถออมและลงทุนได้ผลตอบแทน 4% ต่อปี ทั้งก่อนและหลังเกษียณ  เงินที่ท่านจะต้องมี ณ วันเกษียณคือ 5,092,104 บาท โดยถ้าเริ่มออมในวันนี้ ท่านจะต้องออมเดือนละ 34,581 บาท
   แต่หากท่านสามารถออมและลงทุนได้ผลตอบแทน 8% ต่อปี ด้วยเงินที่จะใช้หลังเกษียณจำนวนเท่ากัน ท่านสามารถออมด้วยจำนวนเงิน 19,035 บาทต่อเดือน ก็จะบรรลุเป้าหมายเดียวกัน  ประเด็นคือ จะได้ผลตอบแทน 8% ทำได้ไม่ง่ายนัก ท่านต้องลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์บางอย่างที่มีความเสี่ยงสูงบ้าง ซึ่งในวัย 50 ปี จะไม่ค่อยแนะนำให้ลงทุนมากนัก ดังนั้นท่านอาจต้องตั้งเป้าหมายที่ผลตอบแทนไว้เพียง 6% ซึ่งหมายถึงท่านจะต้องออม 25,456 บาทต่อเดือนค่ะ
   หากท่านเริ่มออมตอนอายุ 30 ปี ท่านสามารถจะลงทุนในพอร์ตที่ให้ผลตอบแทน 8% ต่อปีได้ โดย ณ วันเกษียณในอีก 30 ปีข้างหน้า ท่านควรจะมีเงิน  6,289,710 บาท ทั้งนี้ท่านสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ โดยการออมเงินและลงทุนเพียง เดือนละ 4,220 บาท เท่านั้น
   พื้นที่หมดแล้วค่ะ  หวังว่าจะสร้างความกระจ่างแก่ท่านได้เพิ่มเติมนะคะ ขอให้ทุกท่านเกษียณอย่างเกษมค่ะ
[/size]
โพสต์โพสต์