คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 1

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โลกในมุมมองของ Value Investor                   1 สิงหาคม 2552

        Value Investor ระดับเซียนนั้น   ผมคิดว่าจะต้องเป็น “นักคิด”  ที่เฉียบคม  และการคิดนั้น   จะต้องเป็นการคิดในเชิงกลยุทธ์  นั่นคือ  เป็นการคิดเกี่ยวกับแนวทางการต่อสู้   การแข่งขัน  ที่จะทำให้ฝ่ายหนึ่งชนะและอีกฝ่ายหนึ่งแพ้   หรือใครจะนำและใครจะตาม   “ตำแหน่ง”  ของใครดีกว่าตำแหน่งของคนอื่นและทำให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขัน   ว่าที่จริง  นักลงทุนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นคนคิดว่าจะต้องใช้กลยุทธ์อะไร   เขาเพียงแต่ต้องรู้หรือดูให้เป็นว่ากลยุทธ์หรือตำแหน่งของใครเป็นอย่างไรและดีกว่าคู่แข่งอย่างไร   เขาคิดและ  “ตัดสิน”  ว่าใครจะชนะหรือใครได้เปรียบและอนาคตจะเป็นอย่างไร   ความคิดของเขามักจะถูกมากกว่าผิดเพราะมันเป็นความคิดที่มีเหตุผลและมีหลักวิชาการที่ถูกต้อง

        ความคิดที่มีเหตุผลและเป็นเชิงกลยุทธ์นั้น  ผมคิดว่าต้องมีการฝึกฝนและบางทีอาจจะเป็นเรื่องของความชอบส่วนตัวด้วย   ดูอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์  เองนั้น  เขาชอบเล่นบริดจ์เป็นชีวิตจิตใจและเล่นได้เก่งมากทีเดียว   บริดจ์นั้นเป็นเกมที่ต้องใช้ทั้งความคิดและความจำและต้องมีกลยุทธ์ที่ดีเยี่ยม  การที่เขาชอบเล่นเกมนี้เป็นเครื่องชี้อย่างหนึ่งว่าเขาชอบ   “การคิดและการวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้ได้ชัยชนะในการแข่งขัน”

        ส่วนตัวผมเองนั้น   เมื่อมองย้อนหลังไปในช่วงที่ยังเป็นเด็ก  ผมชอบเล่นเกมที่เกี่ยวกับความคิดและการแข่งขันหลายอย่าง   แต่สิ่งหนึ่งที่ผมชอบเป็นชีวิตจิตใจก็คือการเล่นหมากรุกจีนซึ่งผมจะเล่นกับเพื่อนบ่อย ๆ  และเมื่อเล่นแล้วผมแทบจะลืมกินอาหาร  หมากรุกนั้นเป็นเกมการแข่งขันที่ต้องใช้การวางแผน  โดยแผนที่ดีนั้นจะต้องมีการมองไปข้างหน้าหลาย ๆ  ก้าว   นอกจากการวางแผนเพื่อเอาชนะแล้ว  คนเล่นยังต้องคอยระวังและป้องกันการ “รุก”  ของคู่ต่อสู้ด้วย   ผมไม่ได้เป็นนักเล่นหมากรุกที่ยอดเยี่ยมอะไร  แต่ทุกวันนี้เมื่อมีเวลาว่างผมก็ยังเล่นหมากรุกจีนอยู่  เพียงแต่ว่าเป็นการเล่นกับคอมพิวเตอร์เป็นหลักเนื่องจากหมากรุกจีนนั้น  คนที่เล่นกันในปัจจุบันดูเหมือนจะมีน้อยมากและต่างก็อายุมากกันแล้ว

        การเล่นเกมที่ต้องใช้ความคิดในเชิงกลยุทธ์นั้น   ผมคิดว่านอกจากจะช่วยทำให้เราคิดเก่งในการใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์แล้ว  ยังช่วยลับสมองเราไม่ให้เสื่อมถอยเร็วเกินไปเวลาเราแก่ตัวลงด้วย   และเกมที่ผมคิดว่าช่วยฝึกสมองให้คิดแบบเชิงกลยุทธ์เราได้นั้น  นอกจากบริดจ์และหมากรุกทุกประเภทแล้ว  ยังน่าจะรวมถึงเกมโกะ   และโมโนโปลี่   ส่วนเกมอย่างหมากฮอสหรือการเล่นไพ่อย่างเกมไพ่รัมมี่นั้น   ถึงจะต้องใช้การวางกลยุทธ์บ้างแต่ผมคิดว่ามันยังใช้ไม่มากพอ  นอกจากนั้น   เกมใช้สมองอย่างอื่นเช่นเกมต่ออักษรให้เป็นคำที่เรียกว่า  Cross Words  หรือเกมเรียงตัวเลขอย่างซูโดกุ นั้น  ผมคิดว่าไม่ใช่เกมที่ใช้กลยุทธ์เป็นหลักในการเล่น  ดังนั้น  จึงไม่เป็นประโยชน์ในแง่ของการลงทุน

        ลำพังการมีความสามารถในการเล่นเกมต่าง ๆ  ดังกล่าวคงไม่เป็นประโยชน์กับการลงทุน  นักลงทุนที่จะเก่งนั้นต้องคิดไปถึงเรื่องของกลยุทธ์ในการต่อสู้และการแข่งขันใน  “ชีวิตจริง”  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางธุรกิจ   การที่จะมีความสามารถอย่างนั้นได้   นอกจากความสามารถในการคิดแล้ว  สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือ  “วิชาการ”  นั่นหมายถึงว่าเราจะต้องศึกษาและต้องอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการต่อสู้และการแข่งขันต่าง ๆ  ให้มาก   การแข่งขันหรือการต่อสู้ที่ต้องใช้กลยุทธ์นั้น   นอกจากในวงการธุรกิจแล้วก็ยังมีในเรื่องของสงคราม   การเมือง   และ  เชื่อไหมครับว่า เป็นเรื่องของชีวิตของเราแต่ละคน  ไม่ว่าจะเป็นดารานักแสดง   หรือคนธรรมดา  ถ้าเราคิดเป็นแบบกลยุทธ์เราก็จะเห็นว่าใครใช้กลยุทธ์อย่างไรและเขา  “ชนะ” เพราะเหตุใด   แต่ถ้าเราอ่านหรือศึกษาโดยไม่ได้คิดแบบเชิงกลยุทธ์   เราก็จะอ่านผ่าน ๆ  ไปและอาจคิดไปว่าคนชนะนั้น  เป็นไปเพราะเหตุผลต่าง  ๆ  เช่น  เขาเก่ง  เขาฉลาด  เขาสวยหรือหล่อ  หรือแม้แต่เพราะเป็นเรื่อง “บังเอิญ”  หรือ  “โชค”

        ถ้าเราฝึกฝนการคิดอย่างเป็นกลยุทธ์อยู่เสมอเราก็จะมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเป็นแบบเชิงกลยุทธ์   นั่นคือ  เรามักจะถามเสมอว่าอะไรหรือกลยุทธ์อะไรที่ทำให้คนหนึ่ง  “ชนะ” อีกคนหนึ่ง  “แพ้”  บริษัทหนึ่งชนะและอีกบริษัทหนึ่งแพ้  องค์กรหนึ่งชนะและอีกองค์กรหนึ่งแพ้   ประเทศหนึ่งชนะและอีกประเทศหนึ่งแพ้  เราจะเห็นถึงความได้เปรียบและความเสียเปรียบของคู่แข่งหรือคู่ต่อสู้รวมทั้งรู้ว่าอะไรเป็นความได้เปรียบ“ชั่วคราว”  และอะไรเป็นความได้เปรียบ “ถาวร”  และนี่ก็คือสิ่งที่ วอเร็น  บัฟเฟตต์ เรียกว่า  Durable Competitive Advantage หรือความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  ซึ่งเป็น  “เสาหลัก”  ในการลงทุนในหุ้นสุดยอดสไตล์บัฟเฟตต์

        สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการคิดเชิงกลยุทธ์และวิชาการเกี่ยวกับกลยุทธ์การแข่งขันนั้น  ผมแนะนำว่าควรจะเริ่มจากการอ่านหนังสือกลยุทธ์ทางการตลาดซึ่งมีอยู่มากมาย  แต่คนที่ผมคิดว่าสามารถอธิบายได้อย่างเข้าใจง่ายและสั้นก็คือ  อัลรีส (Al Ries)  ซึ่งเสียชีวิตแล้ว  และ  แจ๊คเทร้าท์ (Jack Trout) ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการตลาด  การวางตำแหน่งของบริษัทในการแข่งขัน  และกลยุทธ์ต่าง  ๆ   ที่ธุรกิจใช้ในการต่อสู้กัน   หลังจากเข้าใจเรื่องกลยุทธ์ในการแข่งขันทางการตลาดแล้ว  เราก็จะเข้าใจกลยุทธ์ในเรื่องอื่น ๆ  อีกมาก   และถ้าเราหมั่นฝึกฝนการคิดแบบนี้ไปเรื่อย ๆ   ถึงจุดหนึ่งเราก็จะเข้าใจ  “เบื้องหลัง”  ความสำเร็จและความล้มเหลวของแต่ละบริษัทหรือแต่ละคน   และนั่นจะนำไปสู่การเลือกหุ้นลงทุนที่มีประสิทธิภาพสูง
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
mandy
Verified User
โพสต์: 99
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เรียบง่าย เฉียบคม เหมือนเดินครับท่าน

ข้าน้อยขอคารวะ  :D
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 2

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ ตามอ่านทุกอาทิตย์เลย :D

เคยอ่านของ Al Ries & Jack Trout เรื่อง Marketing Warfare เล่มเดียว

มีเล่มอื่นดีๆอีกไหมครับ :D
ศิษย์เซียน007
Verified User
โพสต์: 1252
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:) ถ้านักลงทุนคิดได้อย่างที่ท่านอ.ว่าไว้เทพแห่งชนะชัยคงจะอวยพรให้เขาผู้นั้นอยู่เสมอๆครับ  :pray:

โชคดีของข้าน้อยที่ได้มีโอกาสศึกษาคัมภีร์ปิงฝ่าของท่าซุนวู ทำให้ทราบได้ว่าการตนักรู้ที่มาก(ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาอย่างทุ่มเท่และต่อเนื่อง)ของผู้นำย่อมสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันได้อยู่เสมอๆ(เหมือนท่านเจ้าสำนัก)ด้วยเหตุว่าการตนักรู้ที่มากนั้นย่อมทำให้การคาดการณ์ล่วงหน้าของแท่ทัพนั้นแม่นยำ(เห็นโอกาส(ในวิกฤต)ได้อย่างชัดเจนเหมือนดั่งการมองเห็นสิ่งต่างๆใต้แสงสุริยา)นำพาไปสู่การเคลื่อนที่และการวางกำลังไพร่พลได้อย่างเหมาะสม  :idea:

ปล.นักลงทุนก็เปรียบเหมือนดั่งแม่ทัพของพอร์ตการลงทุนของท่านเอง โกะเป็นสิ่งมห้ศจรรยฺอย่างหนึ่งเลยที่เดียวพราะเม็ดหมากไร้ตำแหน่งแต่คุณค่าอยู่ที่การวางหมากของผู้เดินหมากเอง  :8)
eyebrow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Diablo
Verified User
โพสต์: 822
ผู้ติดตาม: 1

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ชอบครับ :cool:
รูปภาพ
niyom_value
Verified User
โพสต์: 362
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ครับ เห็นด้วยเลยครับ การลงทุน เป็นการเอาชนะกันที่ความคิด และความคิดก็เกิดจากความรู้ จากการอ่าน การฟัง รวมทั้งการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 57

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมอีกคนหนึ่งที่หลงไหลหมากรุกจีนในตอนเป็นเด็ก ผม่ามันสนุกกว่าหมากรุกไทยและฝรั่ง แต่เดี๋ยวนี้หาคนเล่นด้วยยากจริงๆ  :D

ท่านแจ็คเทราส์เขียนอีกเล่มที่ผมได้อ่าน คือเรื่องยักษ์จินนี่ เล่มปกแข็งสีฟ้าน้ำเงิน อ่านแล้วสุดยอดครับ น่าอ่านมากๆ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ant_vi
Verified User
โพสต์: 46
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับบทความดี ๆ และมีประโยชน์เข่นนี้
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 2

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

[quote="naris"]ผมอีกคนหนึ่งที่หลงไหลหมากรุกจีนในตอนเป็นเด็ก ผม่ามันสนุกกว่าหมากรุกไทยและฝรั่ง แต่เดี๋ยวนี้หาคนเล่นด้วยยากจริงๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="naris"]ผมอีกคนหนึ่งที่หลงไหลหมากรุกจีนในตอนเป็นเด็ก ผม่ามันสนุกกว่าหมากรุกไทยและฝรั่ง แต่เดี๋ยวนี้หาคนเล่นด้วยยากจริงๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
gnomeller
Verified User
โพสต์: 425
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมเองก็ชอบรวบรวมเอาหนังสือที่มีประโยชน์มาขายในเวบไซท์ผมเหมือนกันครับ. ผมชอบอ่านแนวคิดของคนเก่งๆนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต แต่เรื่องเกมส์ไม่สันทัดเท่าไหร่ เกมส์ชีวิตจริงก็เล่นไม่ค่อยเก่งซะด้วย  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Renne
Verified User
โพสต์: 322
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

หลักๆที่เล่นนี่หมากฮอส รองๆมานี่หมากรุก :) (จะว่าไป ผมก็หาคนในนี้เล่นเป็นเพื่อนอยู่เหมือนกันนะครับ ฮา)

ยอมรับเลยว่าหมากรุกใช้ความคิดพลิกแพลงมากกว่าเยอะครับ เพราะการที่หมากฮอสมีตาบังคับ เดินแล้วเดินเลย ถอยไม่ได้(ยกเว้นฮอส) ทำให้เกิดการเดินรูปเข้าล๊อคง่ายๆ บางทีไม่ต้องคิด ใช้จำเอาก็มี

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆของอาจารย์ครับ m( _ _ )m

ปล. ไม่รู้ว่าจะมีผมคนเดียวหรือเปล่า หลายๆบทความในนี้ของพี่และอาจารย์หลายๆคน ผมจับเอาใส่เวิร์ด ปริ้นออกมาเย็บเป็นเล่มเลยนะ อ่านจากกระดาษรู้สึกมันดีกว่าอ่านจากหน้าคอม กันไฟล์หายด้วย เย็บแล้วใส่ปกเป็นเล่มอย่างดี  :twisted:
"มีสติ คิดก่อนทำ และอย่าดูถูกตลาดมากเกินไป"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
ภาพประจำตัวสมาชิก
SEHJU
Verified User
โพสต์: 1238
ผู้ติดตาม: 3

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

[quote="Renne"]หลักๆที่เล่นนี่หมากฮอส รองๆมานี่หมากรุก :) (จะว่าไป ผมก็หาคนในนี้เล่นเป็นเพื่อนอยู่เหมือนกันนะครับ ฮา)

ยอมรับเลยว่าหมากรุกใช้ความคิดพลิกแพลงมากกว่าเยอะครับ เพราะการที่หมากฮอสมีตาบังคับ เดินแล้วเดินเลย ถอยไม่ได้(ยกเว้นฮอส) ทำให้เกิดการเดินรูปเข้าล๊อคง่ายๆ บางทีไม่ต้องคิด ใช้จำเอาก็มี

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆของอาจารย์ครับ m( _ _ )m

ปล. ไม่รู้ว่าจะมีผมคนเดียวหรือเปล่า หลายๆบทความในนี้ของพี่และอาจารย์หลายๆคน ผมจับเอาใส่เวิร์ด ปริ้นออกมาเย็บเป็นเล่มเลยนะ อ่านจากกระดาษรู้สึกมันดีกว่าอ่านจากหน้าคอม กันไฟล์หายด้วย เย็บแล้วใส่ปกเป็นเล่มอย่างดี
Hughes
Verified User
โพสต์: 1088
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สมัยนี้คงต้องปรับให้เข้ากับเทรนด์

ดร น่าจะลองเล่น Warcraft, C&C, Dawn of War ดูนะครับ  :lol:
เล่นหุ้นคนแก่ แต่แอบเปรี้ยวเป็นบางเวลา
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 57

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

[quote="densin"][quote="naris"]ผมอีกคนหนึ่งที่หลงไหลหมากรุกจีนในตอนเป็นเด็ก ผม่ามันสนุกกว่าหมากรุกไทยและฝรั่ง แต่เดี๋ยวนี้หาคนเล่นด้วยยากจริงๆ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

[quote="naris"][quote="densin"][quote="naris"]ผมอีกคนหนึ่งที่หลงไหลหมากรุกจีนในตอนเป็นเด็ก ผม่ามันสนุกกว่าหมากรุกไทยและฝรั่ง แต่เดี๋ยวนี้หาคนเล่นด้วยยากจริงๆ
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ผมอยากเล่นหมากรุกจีนแบบ1/2กระดาน
ใครรู้จักweb ที่เล่นบ้างขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2502
ผู้ติดตาม: 9

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมก็เคยเล่นโกะสมัยเรียนจบใหม่ๆ เล่น online ใน yahoo น่ะครับ
ผมว่าเหมาะกับการบริหารความคิดในกาลงทุนมาก
เรามีทรัพยากรจำกัด จะทำยังไงให้เกิดประโยชน์ (พื้นที่) สูงสุด
มากกว่าไปไล่ฆ่าฝ่ายตรงข้าม แล้วเราตายเอง ถ้าพลาด (แมงเม่าน่าจะคุ้นๆนะ :lol:  :lol:  :lol:)

ตอนนี้ลืมๆสูตรการวางหมากไปแล้ว :oops:
booklover เขียน:เคยอ่านของ Al Ries & Jack Trout เรื่อง Marketing Warfare เล่มเดียว

มีเล่มอื่นดีๆอีกไหมครับ :D

Positioning ครับ :8)
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
IWILLBEVI
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 363
ผู้ติดตาม: 1

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 20

โพสต์

booklover wrote:
เคยอ่านของ Al Ries & Jack Trout เรื่อง Marketing Warfare เล่มเดียว

มีเล่มอื่นดีๆอีกไหมครับ  

Positioning ครับ
_________________
มีครับ "22 Immutable laws of marketing" เป็นหนังสือการตลาดเล่มแรกที่ผมอ่านเมื่อกว่า 17 ปีที่แล้ว เนื้อหายังคงคลาสสิกและทันสมัยอยู่ตลอดครับ แนะนำครับ ตามลิงค์ข้างล่างเลย  รู้สึกจะมีคนเอาไปแปลหลายครั้งแล้ว

[/url]http://www.amazon.com/22-Immutable-Laws ... 306667[url]
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 2

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ลืมไปเลยว่า Positioning ก็ใช่  

22 Immutable laws of marketing จะไปซื้อมาอ่านนะครับ

ขอบคุณที่แนะนำนะครับ น้องลี่ พี่ IWILLBEVI :D
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 22

โพสต์

วันก่อนอ่านบทความ อ.นิเวศน์ ท่านพูดถึง bridge
          สมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย

     บริดจ์ได้ชื่อว่าเป็นกีฬาเก่าแก่อีกประเภทหนึ่งที่มีคนเล่นกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก แม้แต่กระทั่งมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกอย่าง บิลล์ เกตส์ เจ้าของไมโครซอฟท์ที่ได้ชื่อว่ามีความฉลาดเป็นเลิศก็ยังใช้เกมชนิดนี้ในการบริหารสมองและผ่อนคลายความเครียดจากธุรกิจหลายแสนล้านบาทของเขาเป็นประจำ เพราะจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ ได้ผลสรุปออกมาว่าการเล่นบริดจ์นั้นช่วยให้สมองมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ไม่เจ็บป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ง่าย รวมทั้งช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีสังคมเพิ่มขึ้นเพราะการเล่นบริดจ์แต่ละครั้งนั้นจะต้องใช้ผู้เล่นไม่ต่ำกว่า 4 คน
     
        ที่สำคัญการเล่นบริดจ์ยังทำให้ผู้เล่นเป็นนักวางแผนชั้นเยี่ยมอีกด้วยเพราะการเล่นบริดจ์มีความแตกต่างจากการเล่นไพ่ชนิดอื่น ที่ต้องอาศัยการวางแผนในการเล่นให้ดี มิเช่นนั้นอาจพลาดท่าให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย รวมทั้งผู้เล่นจะต้องเข้าใจในภาษาบริดจ์และเข้าใจฝ่ายตรงข้ามด้วยว่าเขาจะประมูลไพ่ออกมาต่อสู้กับเราอย่างไร ซึ่งต้องเรียกว่าไม่ใช่เพียงแค่ใช้ โชค ก็เล่นได้แต่ต้องอาศัย ประสบการณ์ เท่านั้นถึงจะเอาชนะในเกมนั้นได้    
 
      กีฬาบริดจ์เริ่มต้นจากประเทศใดไม่มีหลักฐานระบุไว้แน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าเล่นกันครั้งแรกในยุโรปเมื่อประมาณ 144 ปีที่ผ่านมา และกีฬาชนิดนี้มีการพัฒนาการเล่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
     
      สำหรับในประเทศไทยนั้นบริดจ์เข้ามาแพร่หลายครั้งแรกเมื่อ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 ) ยังทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และเสด็จไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงที่กีฬาบริดจ์แพร่หลาย และเป็นกีฬายอดนิยมในประเทศอังกฤษ หลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จกลับมาประทับที่ประเทศไทย จึงทรงมีพระดำริให้เล่นกันที่พระราชวังพญาไท จากนั้นจึงมีเจ้านายและข้าราชบริพารเล่นตามกันอีกหลายคน
     
      หลังจากที่มีการเล่นบริดจ์กันไปสักระยะหนึ่งจนถึง พ.ศ.2489 หม่อมเจ้าเจษฎากร วรวรรณ ดำริว่าควรจะจัดตั้งสมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทยขึ้น แต่ปรากฏว่าท่านสิ้นพระชนม์ไปก่อน ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2491 ทางคณะกรรมจึงได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนก่อตั้ง สมาคมบริดจ์แห่งประเทศไทย กับกรมตำรวจอย่างเป็นทางการ โดยมี เรือเอกฮันเตอร์ (Lieutenant Senior Grade William H.Hunter) ผู้ช่วยทูตทหารเรืออเมริกัน เป็นนายกสมาคมฯคนแรก

       ในอดีตคนเล่นไพ่บริดจ์จะเป็นนักเรียนนอก และขุนนาง รวมไปถึงเอกอัครราชทูตทุกคนจะต้องเล่นกีฬาชนิดเป็น ไม่อย่างนั้นถือว่าไม่ผ่านการเป็นทูต เพราะการเล่นบริดจ์จะทำให้ทุกคนมีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไปในตัวด้วย แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเล่นกีฬาประเภทนี้จึงมีการขยายออกไปสู่วงกว้างมากขึ้น จึงทำให้มีฐานคนเล่นเพิ่มมากขึ้น ที่ไม่ใช่ไฮโซหรือผู้ดีอีกต่อไป
     
      นั่นเป็นคำบอกเล่าของ ดิเรก คุณะดิลก หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาบริดจ์ที่ได้รับการฝึกฝนฝีมือมาจากผู้เป็นบิดา (พิศวง คุนะดิลก) ที่ได้ชื่อว่าเป็นปรมาจารย์ด้านการเล่นบริดจ์มือหนึ่งของเมืองไทยจนมีชื่อติดอยู่ในอันดับต้นๆของโลก ดิเรกสืบทอดความรู้เรื่องไพ่บริดจ์จากบิดาจนมาเปิดเป็นโรงเรียนสอนบริดจ์อย่างเป็นจริงเป็นจังที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ลูกศิษย์ลูกหาของดิเรกมีมากมายส่วนมากเป็นฝรั่ง แต่ที่พิเศษคือเขาเคยเล่นไพ่บริดจ์โต๊ะเดียวกับ "บิลล์ เกตส์" มาแล้ว

      ขณะที่คุณหญิงชดช้อย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เร็วๆนี้ประเทศอินโดนีเซียได้เห็นประโยชน์ของไพ่บริดจ์จึงจับมือกับกระทรวงศึกษาธิการให้บรรจุไพ่บริดจ์เข้าไปในหลักสูตรของเด็กประถม เพื่อเป็นวิชาเสริมให้เด็กๆได้ใช้เวลาว่างในช่วงบ่ายฝึกทักษะการคิดคำนวณ ส่วนประเทศไทยนั้นมีการบรรจุการเล่นไพ่บริดจ์ลงในไปวิชาเลือกของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล และอีกหลายมหาวิทยาลัยชื่อดังของเมืองไทย เองก็นำไพ่บริดจ์ไปไว้ในชมรมเพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการคิดคำนวณกันในยามว่างจากวิชาเรียน

 credit to : http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... a%c1%cd%a7

     
         
      รูปภาพ.........The right way to think is the way Zeckhauser plays bridge. Its just that simple    
                                                                                        Charlie Munger
   
                                                                                       

  รูปภาพ.........Playing bridge  well requires analytic ability to understand and evaluate probabilities and make informed decisions. It also requires players to put themselves in other peoples shoes and consider their opponents situation and strategy.  Finally, its important to be able to cope well with individual and team disappointment.  Indeed, I has become a worse technical player, but a better partner, in part because of learning to share the successes and disappointments as a teammate rather than as an individual.
               
         
       คำพูดของ Richard Zeckhauser เกี่ยวกับ bridge
       
   A.  It was a fun thing to do (playing bridge) , and a good way to get into Harvard.  

  B.  A successful marriage is like a successful bridge partnership.  There will be disasters in every relationship, but you have to be able to cope with the disasters effectively and try not to make the other person feel that theyre to blame.

  C.   I do a lot of work with economic uncertainty, and in a very crude way, bridge compliments my economic skills.

  D.  " Warren Buffett says that bridge is the best preparation for business.

รูปภาพ

   
       Richard Jay Zeckhauser  

             Zeckhauser started playing when he was eleven years old, encouraged by his Aunt Iola and Uncle Benjamin, who happened to be a U.S. champion in bridge and chess.


            Richard Jay Zeckhauser (born 1940 )  is an American economist and the Frank P. Ramsey Professor of Political Economy at the Kennedy School of Government at Harvard University. He holds a BA (summa cum laude) and a PhD in economics from Harvard University. Early in his career he was one of the "whiz kids" assembled by Defense Secretary Robert S. McNamara to apply cutting-edge analysis to Cold War military strategy. He is the author or co-author of many books and articles. His most recent book, with Peter Schuck, is Targeting in Social Programs, an incisive examination of how -- and why -- to deploy scarce public resources to solve public problems. While he declines most offers of formal authority he has long been an important informal leader at the Kennedy School and Harvard, especially with respect to the development of younger scholars.

           Wins :    North American Bridge Championships  

http://en.wikipedia.org/wiki/Richard_Zeckhauser
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 23

โพสต์

แง่คิดจากหมากรุก ในการแข่งเกมกลยุทธ์ โดย Mudleygroup

 
        เคยมีคนบอกว่าผมเล่นหมากรุกสไตล์แปลกๆ แม้กระทั่งอาจารย์ของผมเอง (เซียนป่อง) นั่นเป็นเพราะสมัยเล็กนั้นหมากรุกในชีวิตของผม เดินมาในสายของการเดิมพันมาโดยตลอด เพราะพ่อจะต้องไปคุมงานในที่ต่างๆ การเดิมพันก็จะเป็นน้ำอัด ลม รวมถึงข้าวฟรี เป็นต้น ถ้าแพ้ก็จะเสียเบียร์ หรือ ลิโพให้กับคนแถวนั้น สรุปคือผม เดินสายเดิมพันมาตลอด เจอกลยุทธ์ต่างๆมากมายของนักเดิมพันมาพอสมควร ฝีมือหมากรุกผมพัฒนาถึงขีดสูงสุดคือราวๆอายุ 14 ปี ครั้งนั้นต้องต่อสู้กับเจ้าหนูสมาธิ ศิษย์รุ่นพี่ในการแข่งขันถึง 6 กระดาน เรียกได้ว่า อานนท์ที่มาเป็นเพื่อนสมัยนั้นต้องรอตั้งแต่เช้าจนเย็นเลยทีเดียว สรุปผมก็แพ้ไปในกระดานสุดท้าย แต่เป็นเกมที่ผมประทับใจมากที่สุดเกมหนึ่งในชีวิต ซึ่งทำให้ผมได้จัดว่าเป็นนักหมากรุกดาวรุ่งที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น แต่ด้วยหนทางสายนี้ในประเทศไทยยากต่อการดำรงชีวิตจริงในประเทศแห่งนี้ ไม่เหมือนประเทศอื่น ผมจึงต้องวางมือไปเมื่ออายุแค่ 16

      ทีนี้มาพูดถึงหลักการและกลยุทธ์พื้นฐานบ้าง หลังจากดูหนังผมเห็นฉากหมากรุกที่หนังพยามสื่อ นั่นหล่ะใช่เลยความจริงที่ผมลืมสัมผัสถึงมันมานาน เคยคิดมั้ยว่า ในเกมที่ต้องเดิมพันกับคู่ต่อสู้ที่เป็นมนุษย์ด้วยกันแล้ว คุณมีอิสระในการเลือก หรือตัดสินใจจริงๆหรือปล่าว หรือการตัดสินใจของคุณเป็นเพียงการวางทางเลือกมาจากฝ่ายตรงข้าม นี่หล่ะหมากรุกเมื่อไรก็ตามที่คุณเจอกับคู่ต่อสู้ที่มีระดับเหนือกว่าคุณมากคุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าการติดสินใจของคุณที่แท้จริงมีเพียงเลือกว่าจะจบเป็นผู้แพ้ในรูปแบบไหนแค่นั้นเอง ที่เป็นสาเหตุทำไมผู้ที่มีระดับเหนือกว่าจึงต่อเรือให้ฝ่ายตรงข้าม เพราะว่าคุณต้องเดินภายใต้เงื่อนไขที่เค้ากำหนดให้คุณอยู่ดี สังเกตุสีหน้าของผู้เล่นหมากรุกที่ทุกคนแสดงออกมาคุณก็จะรู้ดีเวลาที่คุณนั้นถูกบีบให้อยู่ในภาวะที่ต้องตัดสินใจภายใต้ทางเลือก

      ทีนี้จะเรียกว่าหมากรุกอีกระดับคือการที่ผู้เล่นมีระดับใกล้เคียงกันนั่นเอง คนที่หลุดจากทางเลือกเหล่านั้นที่ฝ่ายตรงข้ามวางไว้ได้ก่อนเกมนั้นก็จะไม่เสียเปรียบทันที

        สิ่งที่นักหมากรุกทุกคนเรียนรู้เองโดยเฉพาะเกมที่ต้องไปเดิมพันกับคนหลายๆคนด้วยแล้ว จะทำให้เราทราบพื้นฐานของคนได้ทันที

    1. พื้นฐานของคนมองที่ผลประโยชน์เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อคุณวางผลประโยชน์ที่มากเพียงพอที่เค้าจะสนใจแล้ว เค้าก็จะก้าวไปสู้ทางเลือกที่คุณยื่นให้มาเอง โดยคิดว่านั่นหล่ะเป็นการตัดสินใจของเค้าเองและดีที่สุดต่อตัวเค้าเอง เช่น การที่ผมเดินเอาเรือ ม้า หรือ โคน ไปให้ฝ่ายตรงข้ามกินฟรี หรือวางแผนซับซ้อนขึ้นมาอีกหน่อยให้เค้าคิดว่าแผนของเค้าทำให้กินสิ่งพวกนี้จากผมได้ฟรีๆ เป็นต้น แน่นอนถ้านี่เป็นเกมระดับมืออาชีพการที่กินของเค้าฟรีๆ หรือผลประโยชน์ใดๆที่คุณได้มาง่ายๆ มันจะแฝงไปด้วยอะไรคุณต้องคุณให้ดีและหนัก เพราะเค้าเล่นเกมพวกนี้มาเป็นหมื่นแสนกระดาน การผิดพลาดในตาราง 8*8 เป็นเรื่องยากมากสำหรับคนพวกนี้

      จากนี้คุณมองถึงเกมในตลาดทุนการตัดสินใจ ซื้อ ขาย ของคุณ เกิดจากการวางหมากของฝ่ายที่เหนือกว่าคุณหรือไม่ คุณจะรู้เองเมื่อผลลัพท์ในตอนจบออกมา ดูจากผลงานหนึ่งปีแล้วคุณจะรู้ว่าคุณเดินหมากภายใต้กลไกของใครหรือไม่ คุณบอกว่าคุณตัดสินใจซื้อ ขาย ด้วยกราฟ ก็แสดงว่าคุณอาจถูกชี้นำได้ด้วยกราฟเป็นต้น นั่นคือจุดอ่อนของคุณ ซึ่งในหมากรุกถ้าคู่ต่อสู้รู้ว่าคุณถูกชี้นำได้ง่ายด้วยวิธีไหนคุณจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที
ทำไมเราถึงไม่รู้สึกว่าโดนชี้นำล่ะ เพราะระหว่างเกมคุณจะยังได้ผลประโยชน์อยู่ คุณจึงไม่รู้สึกถึงอันตรายใดๆทั้งนั้น ที่คือสาเหตุทำไมเค้าถึงให้คุณทำกำไรบ้าง แต่ถ้าคุณเรียนรุ้พอคุณจะสามารถทราบได้ว่าเมื่อไรที่เค้าให้ เมื่อเราที่เค้าจะเอาคืน คุณต้องรู้เท่าทัน การที่คุณรอดไม่ใช่ว่าคุณชนะ แต่เพียงแต่ว่าเกมนี้มีผู้เล่นหลายคน คุณรอด ก็จะมีเหยื่อมาแทนคุณเสมอนี่หล่ะข้อดีของเกมนี้ คุณสู้กับคนที่เหนือกว่าได้โดยไม่จำเป็นต้องเอาชนะ เพียงแต่หาเหยื่อมาแทนที่คุณ

     2. ภายใต้สถานการณ์บางอย่างมนุษย์จะตัดสินใจด้วยอารมณ์เสมอ นี่เป็นกฏห้ามเวลาคุณไปเล่นหมากรุกในสนามแข่งขัน แต่ถ้าในสนามเดิมพัน คุณจะเจอวิธีการต่างๆมากมาย ที่ทำให้คุณหลุด ผมเป็นคนอารมณ์ร้อนนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมหลุดขั้วได้ง่ายเมื่อก่อน โดยเฉพาะ ม.ปลายเมื่อต้องห่างจากหมากรุกไป แต่เมื่อไรก็ตามที่คุณอยุ่ในเกมคุณต้องดึงตัวเองกลับมาให้ได้ อย่าทำให้คุณมีอารมณ์ที่เป็นผลลบต่อเกมนั้นเด็ดขาด อารมณ์กลัว จะทำให้คุณไม่กล้าตัดสินใจ อารมณ์ดีใจจะทำให้คุณประมาทคู่ต่อสู้เป็นต้น ถ้าคุณเจอนักพนันระดับสูงเค้าอาจจะไม่ขู่ให้คุณกลัวหรือตกใจ แต่เค้าจะทำให้คุณมีความสุข หรือสนุกสนานแทน คุณอาจจะมีความสุขที่ได้เล่นกับเค้า นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เสียเปรียบโดยไม่รุ้ตัว โดยที่คุณไม่รุ้เลยว่าจริงๆแล้วเค้าเพียงเบียร์จากเกมที่ชนะคุณ และ ถ้าเป็นเกมขนาดใหญ่คุณอาจจะเป็นทุกข์แทนตอนจบเมื่อเสียผลประโยชน์มากมายให้กับเค้าเป็นต้น ดังนั้นการจะมีอารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ผิดอะไร และเป้นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าหากคุณเข้าเป็นเล่นเกมที่มีผลประโยชน์ที่สำคัญต่อตัวคุณไม่ว่าทางใดทางหนึ่งคุณควรจะคิดให้ดีๆว่าการใช้อารมณ์นั้นคุ้มหรือไม่ ที่จะเสี่ยงกับผลประโยชน์

     3. มนุษย์จะไม่ยอมรับในข้อผิดพลาดของตัวเอง คุณจะสังเกตุได้ว่าการขอเดินใหม่อีกทีเป็นพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์เลย เมื่อเห็นผลลัพท์ที่ผิดพลาดแล้ว มนุษย์มักจะไม่มองจข้อผิดพลาดนั้นเท่าไร นี่เป็นสาเหตุเวลาในวงพนันหมากรุก ทางเลือกที่ถูก เราจะวางกับดักไว้เผื่อเค้าเลือกทางถูกเสมอ เช่นเมื่อเค้าเลือกทางนี้เราจะแสดงให้เค้าเห็นว่าเค้าจะเสียอะไรเมื่อเลือกเดินแบบนี้ เค้าก็จะเปลี่ยนใจเค้าสู้ทางเลือกที่เรามีให้เค้าทันที เป็นต้น ฝีมือคนเราจะก้าวหน้าเมื่อเราได้ตัดสินใจบนความคิดของเราและมองความผิดพลาดที่เราก่อขึ้นทุกครั้งไว้เป็นบทเรียน ถ้าเราเปลี่ยนตาเดินอยุ่เสมอเราจะไม่ได้เรียนรู้อะไรจากเกมนี้

         "เกมยิ่งซับซ้อนเท่าไร ศัตรูยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น"

" วิธีการแยบยลที่สุดของศัตรู คือการทำให้เราคิดว่าเราคุมเกมได้ "
" ศัตรูที่ต้องหาวิธีกำจัดให้ได้ก่อน คือศัตรูภายในตัวเราเอง เพราะมันคือศัตรูที่เราคิดว่าเป็นเพื่อนสนิท และนึกไม่ถึงเสมอมา "

      กฎข้อแรก คือ ต้องปกป้องการลงทุนของคุณเอง ผมชอบความคิดที่ว่าพวกเราทำเรื่องเดิมๆตามปรัชญาส่วนตัวของพวกเรา เมื่อเราตัดสินใจว่าอะไรถูก โดยไม่คิดว่าตัวเราถูกหรือผิด พลังงานที่พวกเราจะใช้ลงทุนปกป้องมันก็มากขึ้นด้วย ซึ่งนี่ก็คือวิธีพื้นฐานที่จอมหลอกลวงใช้ พวกเราจะทำให้คุณลงทุนเล็กน้อย จากนั้นก็มากขึ้น พวกเราจะไม่บอกให้คุณซื้อ แค่ให้มองดู แม้ว่าการมองจะเป็นการลงทุน แต่เมื่อคุณใช้พลังงานของคุณในการมอง นั่นแหละที่การลงทุนเล็กๆได้เกิดขึ้นแล้ว จากการลงทุนเล็กๆก็ค่อยๆใหญ่ขึ้น จนกระทั่งในที่สุดคุณก็ได้ลงทุนมากซะจนคุณไม่รู้สึกผิด เพราะถ้าคุณผิดพลาด หมายความว่าคุณโง่ และไม่มีใครยอมรับได้หรอกว่าพวกเขาโง่


credit: http://mudleygroup.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jnos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 97
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ท่านอาจารย์ยังคงยอดเยี่ยมเหมือนเช่นเคย :D
"ผู้ที่ยืนเขย่งเท้า จะยืนได้ไม่มั่นคง
ผู้ที่ก้าวเท้ายาวเกินไป จะเดินได้ไม่ไกล"
slowseaa
Verified User
โพสต์: 28
ผู้ติดตาม: 0

คิดเชิงกลยุทธ์ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ข้าน้อยขอคารวะ
โพสต์โพสต์