หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 02, 2012 8:00 pm
โดย T50
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน คือ ขาดทุนจริงๆ หรือว่า เป็นการขาดทุนทางบัญชีครับ

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 02, 2012 10:53 pm
โดย sun_cisa2
T50 เขียน:ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน คือ ขาดทุนจริงๆ หรือว่า เป็นการขาดทุนทางบัญชีครับ
เป็นทั้งสองอย่าง ขาดทุนจริงคือกรณีที่มีการรับเงินค่าขายจากลุกหนี้ต่างประเทศหรือจ่ายชำระเจ้าหนี้ต่างประเทศ หรือชำระหนี้จากต่างประเทศจริง และส่วนต่างที่บันทึกเกิดจากยอดเงินที่รับหรือจ่ายแตกต่างไปจากยอดที่ได้บันทึกรายการไว้ เช่นขาย $ 100 ในวันนั้นอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ จะบันทึกลูกหนี้ 3,050 บาท ขาย 3,050 บาท อีก 1 เดือนได้รับชำระเงินมา $ 100 แต่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.40 บาทต่อดอลลาร์ จะบันทึกรับเงิน 3,140 บาท และเครดิตลูกหนี้ 3,050 ส่วนต่างลงเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 90 บาท ถ้าวันรับเงินอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าวันที่บันทึกลูกหนี้ก็จะกลายเป็น"]ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

ส่วนกรณีขาดทุนทางบัญชีหรือกำไรทางบัญชีเกิดจากการที่มีรายการลูกนี้/เจ้าหนี้ ที่ยังไม่ถึงเวลารับหรือชำระเงิน เมือถึงวันออกงบการเงินต้องปรับมูลค่าในงบเป็นอัตราแลกเปลี่ยนในวันสิ้นงวดไม่ใช่วันที่เกิดรายการ เช่น 20/12/54 ขาย $ 100 ในวันนั้นอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ จะบันทึกลูกหนี้ 3,050 บาท ขาย 3,050 บาท แต่ยังไม่ถึงวันรับเงิน ในวันที่ 31/12/54 ต้องออกงบการเงิน อัตราแลกเปลี่ยนในวันสิ้นงวด อยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์ ลูกหนี้ต่างประเทศที่มีอยู่ $100จต้องแสดงยอดที่อัตราแลกเปลี่ยน ณ 31/12/54 ที่ 3,100 บาท โดยปรับลูกหนี้เพิ่ม 50 บาท และรับรู้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 50 บาท รายการนี่เป็นกำไรทางบัญชี เจ้าหนี้หรือรายการที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศทุกรายการก็ต้องปฏิบัติแบบเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งขาดทุนทางบัญชีหรือกำไรทางบัญชี ขึ้นกับผลต่างระหว่างวันที่บันทึกรายการอัตราแลกเปลี่ยนจะแตกต่างจากกับวันที่ออกรายงาน (ออกงบ) เท่าไร

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 02, 2012 11:32 pm
โดย torpongpak
ขอบคุณครับ ผมมีคำถามเพิ่มคือถ้าบริษัทมีมาตรการลดความเสี่ยงด้านอัตราเเลกเปลี่ยนดังนี้
มาตรการลดความเสี่ยงในกรณีนี้ บริษัทฯได้ทำสัญญาขายเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาล่วงหน้า ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้พอสมควร โดยบริษัทฯจะทาสัญญาขายเงินล่วงหน้า ระยะเวลา 6 – 12เดือน ครั้งละประมาณ 300,000-2,000,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทาให้บริษัทฯสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
คำถามคือทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตอนที่ 30 บาท/$ เเต่ถ้าเกิดอีก6เดือนข้างหน้า ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็น 31 บาท/$ หมายความว่าบริษัทก็จะอดได้กำไรจากอัตราเเลกเปลี่ยนใช่ไหมครับ? เพราะดันไปซื้อขายสัญญาล่วงหน้าเเล้ว

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 03, 2012 9:38 am
โดย T50
torpongpak เขียน:ขอบคุณครับ ผมมีคำถามเพิ่มคือถ้าบริษัทมีมาตรการลดความเสี่ยงด้านอัตราเเลกเปลี่ยนดังนี้
มาตรการลดความเสี่ยงในกรณีนี้ บริษัทฯได้ทำสัญญาขายเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาล่วงหน้า ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้พอสมควร โดยบริษัทฯจะทาสัญญาขายเงินล่วงหน้า ระยะเวลา 6 – 12เดือน ครั้งละประมาณ 300,000-2,000,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทาให้บริษัทฯสามารถป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
คำถามคือทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตอนที่ 30 บาท/$ เเต่ถ้าเกิดอีก6เดือนข้างหน้า ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็น 31 บาท/$ หมายความว่าบริษัทก็จะอดได้กำไรจากอัตราเเลกเปลี่ยนใช่ไหมครับ? เพราะดันไปซื้อขายสัญญาล่วงหน้าเเล้ว
กรณีแบบนี้บริษัทอาจจะไม่ได้ต้องการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ต้องการไม่ให้เกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าหรือป่าวครับ การคาดการกำไรจากการแลกเปลี่ยนมันยากนะครับ

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 03, 2012 11:14 am
โดย torpongpak
ใช่ครับ...เเต่พอบริษัทขาดทุนหรือกำไร ชอบอ้างเรื่องอัตราเเลกเปลี่ยนมาตลอด...ผมจึงรู้สึกว่าลงทุนหุ้นส่งออก เหมือนลงทุนDollar Futureมากกว่า :D

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 03, 2012 12:07 pm
โดย sun_cisa2
โดยปกติการป้องกันความเสี่ยงมีมาตรฐานการบัญชีเรื่องนี้โดยตรง IAS 39 Financial Instruments สั้นๆ คือ อนุพันธ์ทีกิจการซื้อมาป้องกันความเสี่ยงต้องมีการบันทึกมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นงวด ซึ่งมูลค่ายุติธรรมนี้ไม่ใช่ต้นทุนที่กิจการจ่ายซื้ออนุพันธ์ แต่ต้อง mark to market (MTM) ซึ่งปกติอนุพันธ์ (derivatives) ในต่างประเทศจะมีตลาด trade จึงมักสามารถมีราคาปิดสิ้นวันเหมือนหุ้น นอกจากนี้การป้องกันความเสี่ยง ต้องพิจารณาถึงความมีประสิทธิภาพของการใช้เครื่องมือด้วย ประสิทธิภาพนี้คือความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (จากความผันผวน) หากมีประสิทธิภาพก็สารถนำผลดังกล่าวไปหักกลบส่วนต่างจากราคาสินทรัพย์นั้นได้ หากวัดแล้วไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนต่างมูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์จะไม่สามารถนำไปหักกลบกับส่วนต่างที่ผันผวนของราคาหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์นั้นได้ได้ ต้องรายงานกำไรขาดทุนแยกจากกัน นอกจากนี้ยังต้องดู่การป้องกันความเสี่ยงนี้เป็นการป้องกันความเสี่ยงมูลค่าหรือกระแสเงินสด เป็นไงครับดูแล้ววิธีมสงบัญชียุ่งยากมากเลยนะครับ แต่ในแง่ผู้ใช้ผมว่าถ้าคนไม่จบบัญชีอย่าสนใจมากนัก เพราะเรื่องนี้นักบัญชีเองจำนวนมากก็ยังงๆ แต่ในแง่นักลงทุนที่ใช้งบการเงิน ดูจากรายงานงบการเงินก็พอ ไม่ต้องกังวลเรื่องรายละเอียดมากนักว่ามายังไงลงรายการยังไง ปล่อยให้ผู้สอบบัญชีเขาดูความถูกต้องไป เพราะถ้าเขายังหลอกผู้สอบบัญชีได้ เราก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดีเหมือนหลายกรณีต่างประเทศ กว่าจะรู้ก็บอกว่าล้มละลายแล้ว ถามว่าไม่สามารถรู้ได้จากงบเลยหรือ ถ้าเขาซ่อนจริงๆ ยากครับ นอกจากงบการเงินแล้วต้องวิเคราะห์สถานะการณ์นอกเหนืองบการเงินประกอบครับ (เรื่องนี้ยาวครับ บอกกันในที่นี้ไม่ไหว)

ปกติผมจะตัดกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนออกกากกำไรขาดทุนสุทธิที่รายงาน เพื่อดูว่ากำไรขาดทุนที่ควรเป็นจากภาวะปกติดีไหม บางบริษัทรายงานเพิ่มขึ้น 100-200% แต่ส่วนที่เพิ่มมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้วหมด ถ้าตัดออก ปรากฎว่ากำไรปกติไม่โตเท่าไรเลย อย่สงนี้ไม่น่าสนครับ แสดงว่า volum การขายไม่เพิ่ม mareket share ไม่เพิ่มไม่โต แสดงว่าไม่มี value added เป็นต้น นี่คือตัวอย่าง หรือบริษัทแสดงสินทรัพย์เสี่ยง (อนุพันธ์) มูลค่าสูงๆ เช่น 10% สิทรัพย์หมุนเวียน และอย่าลืมว่าราคาอนุพันธ์ทีแสดงเป็นราคา MTM ณ วันปิดบัญชี วันนี่ที่เราวิเคราะห์ราคาอาจเปลี่ยนไปมาก พวกอนุพันธ์ (futures options swaps) พวกนี้เวลาซื้อขายถ้าขาดทุนต้องเติมเงินเข้าไปให้บัญชีซื้อขายไม่ติดล (คนเล่น trade futures จะรู้เรื่องดี) หลายบริษัทต่างประเทศล้มลงเพียงข้ามคืน (เขาเรียกกันว่า technical bankriptcy) ดังนั้นถ้ามูลค่าอนุพันธ์ในงบแสดงเป็นสินทรัพย์ไว้สูงๆ ผมจะไม่ชอบบริษัทเหล่านี้ เพราะเสี่ยง จัดเป๊น risky firm) ครับ

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 03, 2012 12:15 pm
โดย sun_cisa2
มูลค่ายุติธรรมของอนุพันธ์สามารถลดลงเหลือศูนย์ได้ ดังนั้นมูลค่าในงบยิ่งสูงอาจหมายถึงขาทุนได้ทั้งจำนวน

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 03, 2012 12:35 pm
โดย torpongpak
ขอบคุณครับอาจารย์มากครับ พอดีความรู้เรื่องFutureไม่มีอะครับ

ถ้าเช่นนั้นเเสดงว่าต่อให้ซื้อFutureป้องกันไว้ เเต่บริษัทก็ยังมีโอกาสขาดทุนน้อยลง หรือมีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้น ถ้าเล่นFutureเป็นใช่ไหมครับ?

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 03, 2012 1:23 pm
โดย sun_cisa2
torpongpak เขียน:ขอบคุณครับอาจารย์มากครับ พอดีความรู้เรื่องFutureไม่มีอะครับ

ถ้าเช่นนั้นเเสดงว่าต่อให้ซื้อFutureป้องกันไว้ เเต่บริษัทก็ยังมีโอกาสขาดทุนน้อยลง หรือมีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้น ถ้าเล่นFutureเป็นใช่ไหมครับ?
จะว่าอย่างนั้นก็ได้ แต่ ย้ำนะครับ ว่า ต้องเข้าใจจริงๆ และเล่นเป็น โดยหลักการพื้นฐานของ derivatives ทุกตัวถูกสร้างขึ้นมาป้องกันความผันผวนราคาไม่ใช่การเก็งกำไร ดังนั้นการซื้อลงทุน derivatve ต้องมี underlining asset (จะ)ซื้อไว้หรือ(จะ)ขายออกไป เช่น คุณมีน้ำมันดิบในมือไว้ 1 บาเรลที่ราคา 110 ดอลลาร์ ในอีก 1 เดือนข้างหน้าคุณไม่รู้ว่า ราคาจะไปอยู่ที่เท่าไร อาจขึ้นหรือลง วันนี้คุณต้องการล็อคกำไรไว้ที่ 10 ดอลลาร์ต่อบารเรล จึงซื้อ put option (สิทธิ์ขาย) ที่ 120 ดอลลาร์ต่อบารเรล ปรากฎว่า 1 เดือนผ่านไป (ไวเหมือนโกหก) น้ำมันดิบในตลาดอยู่ที่ 110 ดอลลาร์ต่อบารเรล คุณขายน้ำมันดิบไปได้กำไร 0 บาท แต่คุณจะได้กำไรจาก put option 10 บาท หรือถ้าน้ำมันดิบในตลาดอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบารเรล คุณขายน้ำมันดิบไปได้จะขาดทุน 10 บาท แต่คุณจะได้กำไรจาก put option 20 บาท รวมสุทธิได้ 10 บาท หรือถ้าหากน้ำมันดิบในตลาดอยู่ที่ 130 ดอลลาร์ต่อบารเรล คุณขายน้ำมันดิบไปได้กำไร 20 บาท แต่คุณจะขาดทุนจาก put option 10 บาท รวมสุทธิได้ 10 บาท

หลักพื้นฐานเดิมที่แท้จริงของอนุพันนธ์ในรูปป้องกันความเสี่ยงคือให้กิจการสามารถกำหนดกำไรไว้ล่วงหน้าได้แน่นอน (แต่ถ้ากำหนดกำไรมากเกินที่จะเป็นจริงมากยิ่งต้องเสียค่า premium มากขึ้นทวีคูณหรืออาไม่มีคนทำธุรกรรมกับคุณ) แต่ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือเก็งกำไร (speculative insrument) ในปัจจุบันของโลกตลาดทุนไปแล้ว อาจทำให้เป็นเศรษฐีข้ามคืนหรือคนสิ้นเนื้อประดาตัวเพียงชั่วข้ามคืนก็ได้ครับ ดังนั้นต่อให้ซื้อ Future ป้องกันไว้ ใช่ว่าจะมีโอกาสขาดทุนน้อยลง หรือมีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้น ตรงข้ามก็ได้ ต้องรู้จักมันอย่างดีจริงๆ และลงทุนามกลักการป้องกันความเสี่ยงจริงๆ (มี underlining asset) เนื้อแท้ของเครื่องมือคือ เสมอตัว (zero sum game)

Re: ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 03, 2012 1:37 pm
โดย torpongpak
ขอบคุณมากครับ ที่อ.กรุณาอธิบาย พอจะนึกภาพออกเล้วครับ :D