เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ


โพสต์ โพสต์
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากทราบว่ามีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้างครับ ไม่ค่อยเข้าใจเลย
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เห็นว่าเป็นช่องทางในการตกแต่งกำไรได้ด้วย
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

BHT เขียน:เห็นว่าเป็นช่องทางในการตกแต่งกำไรได้ด้วย

การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญนั้นหลักการจริงๆ ก็มีพื้นฐานไม่ต่างจากหลักการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญทั่วไป ธนาคารทุกที่จะมีเกณฑ์ขั้นต่ำของประเภทลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ดังนี้
ประเภทการจัดชั้นลูกหนี้เงินให้สินเชื่อ และอัตราร้อยละที่ต้องตั้งตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย 2551

การจัดชั้นลูกหนี้หรือสินทรพย์ธนาคาร แบ่งเป็น
(ก) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ เช่น ตาย ล้มละลาย ถูกฟ้องยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑๒ เดือน เป็นต้น
(ข) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๖ เดือน วงเงินโอดีถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกำหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนำเข้าบัญชีเพื่อชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า ๖ เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงินหรือวันที่ครบกำหนดสัญญาแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เป็นต้น
(ค) สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๓ เดือน เป็นต้น
(ง) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น
(จ) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชำระ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น

การกันเงินสำรอง
-ลูกหนี้จัดชั้นปกติ 1%
-ลูกหนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ 2%
-ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ 100%

ดังนั้น ทุกธนาคารต้องจัดลำดับชั้นลูกหนี้ ให้เป็นกลุ่มๆ ตามข้างต้น การจัดกลุ่มก็ใช้เกณฑ์ระยะเวลาคงค้างที่ค้างจ่ายชำระ ส่วนบางธนาคารอาจมีการเพิ่มหลักอื่นๆ อีกก็ได้เช่น บวกเพิ่มมากขึ้นตามลักษณะอุตสาหกรรม หรือหลักประกัน ซึ่งส่วนนี้อาจแตกต่างไปตามแต่ละธนาคารอีก

ส่วนเรื่องการใช้เป็นเครื่องตกแต่งกำไรก็ได้ เช่น ปีที่กำไรธนาคารมีมากๆ ก็ตั้งให้เกินเกณฑ์ ธปท. ขั้นต่ำไว้เพื่อดึงไม่ให้กำไรกระโดมากไป พอปีหน้าก็ตั้งลดลงแต่ไม่ให้ต่ำกว่าเกรณฑ์ กำไรปีหน้านั้นก็จะดูดีต่อเนื่อง ถ้าปีก่อนหน้าไม่ตั้ง ปีต่อมาอาจดูเหมือนกำไรลด เป็นต้น อันนี้ก็เป็นเทคนิคการทำ smoothing income ได้แบบหนึ่งเพื่อรักษาระดับราคาหุ้นไม่ใผนผวนตามภาวะเศรษฐกิจเกินไป กลบัญชี บางทีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า creative accounting มีทั้งสิ่งที่ดี (ถูก) และไม่ดีแต่ส่วนใหญ่ไม่ดีกับคนอ่านงบการเงิน
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

BHT เขียน:เห็นว่าเป็นช่องทางในการตกแต่งกำไรได้ด้วย

การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญนั้นหลักการจริงๆ ก็มีพื้นฐานไม่ต่างจากหลักการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญทั่วไป ธนาคารทุกที่จะมีเกณฑ์ขั้นต่ำของประเภทลูกหนี้เงินให้กู้ยืม ดังนี้
ประเภทการจัดชั้นลูกหนี้เงินให้สินเชื่อ และอัตราร้อยละที่ต้องตั้งตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย 2551

การจัดชั้นลูกหนี้หรือสินทรพย์ธนาคาร แบ่งเป็น
(ก) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ เช่น ตาย ล้มละลาย ถูกฟ้องยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑๒ เดือน เป็นต้น
(ข) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๖ เดือน วงเงินโอดีถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกำหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนำเข้าบัญชีเพื่อชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า ๖ เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงินหรือวันที่ครบกำหนดสัญญาแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เป็นต้น
(ค) สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๓ เดือน เป็นต้น
(ง) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น
(จ) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชำระ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น

การกันเงินสำรอง
-ลูกหนี้จัดชั้นปกติ 1%
-ลูกหนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ 2%
-ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ 100%

ดังนั้น ทุกธนาคารต้องจัดลำดับชั้นลูกหนี้ ให้เป็นกลุ่มๆ ตามข้างต้น การจัดกลุ่มก็ใช้เกณฑ์ระยะเวลาคงค้างที่ค้างจ่ายชำระ ส่วนบางธนาคารอาจมีการเพิ่มหลักอื่นๆ อีกก็ได้เช่น บวกเพิ่มมากขึ้นตามลักษณะอุตสาหกรรม หรือหลักประกัน ซึ่งส่วนนี้อาจแตกต่างไปตามแต่ละธนาคารอีก

ส่วนเรื่องการใช้เป็นเครื่องตกแต่งกำไรก็ได้ เช่น ปีที่กำไรธนาคารมีมากๆ ก็ตั้งให้เกินเกณฑ์ ธปท. ขั้นต่ำไว้เพื่อดึงไม่ให้กำไรกระโดมากไป พอปีหน้าก็ตั้งลดลงแต่ไม่ให้ต่ำกว่าเกรณฑ์ กำไรปีหน้านั้นก็จะดูดีต่อเนื่อง ถ้าปีก่อนหน้าไม่ตั้ง ปีต่อมาอาจดูเหมือนกำไรลด เป็นต้น อันนี้ก็เป็นเทคนิคการทำ smoothing income ได้แบบหนึ่งเพื่อรักษาระดับราคาหุ้นไม่ใผนผวนตามภาวะเศรษฐกิจเกินไป กลบัญชี บางทีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า creative accounting มีทั้งสิ่งที่ดี (ถูก) และไม่ดีแต่ส่วนใหญ่ไม่ดีกับคนอ่านงบการเงิน
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

แล้วในความเป็นจริง การตั้งสำรองนี้มันแบบว่าไปเป็นเงินสำรองเพื่อว่าเวลาเกิดปัญหาจริง ก็เอามาใช้ชดเชยหนี้สูญนั้นไปรึเปล่าครับ หรือว่าเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี เหมือนกันว่าพอเราทำงานเงินเหลือก็เก็บออมแยกไว้ พอเกิดเรื่องร้อนเงินก็ถอนมาใช้
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ขอถามเพิ่มเติมนะครับ
1. การตั้งสำรองนั้น บริษัทเอาเงินที่ไหนมาตั้งสำรองครับ
เพิ่มทุน หรือ ไปกู้มาครับ

2. ถ้าเป็นแบบที่อาจารย์ว่า ถ้าตั้งสำรองมากขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทจะมีหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญเพิ่มมากขึ้น ถูกมั้ยครับ ฉะนั้นเวลาดูก็ควรจะดู ว่าตั้งสำรองเท่าไหร่ เทียบกับ หนี้สูญ(หรือสงสัยจะสูญในไตรมาสนั้นๆ) จะดีกว่ามั้ยครับ

3. เท่าที่อ่านดูในหลักการ หนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ ในชั้น (ก) และ (ข) โอกาสที่จะกลับรายการ ก็แทบจะไม่มีหรือน้อยมาก ถูกต้องมั้ยครับ ในความเป็นจริง
หรือถึงกลับรายการได้ ก็อาจจะได้ไม่เท่าเดิม เพราะเสียโอกาสทางดอกเบี้ย และ ต้นทุนการขึ้นโรงขึ้นศาล ไปแล้ว
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

BHT เขียน:แล้วในความเป็นจริง การตั้งสำรองนี้มันแบบว่าไปเป็นเงินสำรองเพื่อว่าเวลาเกิดปัญหาจริง ก็เอามาใช้ชดเชยหนี้สูญนั้นไปรึเปล่าครับ หรือว่าเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี เหมือนกันว่าพอเราทำงานเงินเหลือก็เก็บออมแยกไว้ พอเกิดเรื่องร้อนเงินก็ถอนมาใช้
อยากจะเข้าใจการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ต้องย้อนกลับไปว่า สำรองนี้ตั้งขึ้นเพื่อรองรับหนี้สูญที่จะเกิดขึ้น การจะมีหนี้สูญได้ เราต้องมีลูกหนี้ การมีลูกหนี้คือเราเอาเงินให้เขายืม (เงินจากไปแล้ว) แล้วรอเขามาใช้ (รอเงินเข้า) แต่ดูแล้วลูกหนี้มีปัญหาไม่น่าจะใช้เงินเราคืน (เงินท่าทางจะไม่เข้า) เราเลยต้องตั้งสำรองหนี้สูญเพื่อหักจากลูกหนี้ที่แสดงเป็นสินทรัพย์ของเรา เพื่อให้เห็นว่าในที่สุดเราจะไม่ได้เงินคืนมาเท่ากับที่จ่ายไป (เน้นที่บัญชีลูกหนี้ ไม่ใช่เน้นที่หนี้สูญ)

ทีนี้ถ้าเราตั้งสำรองน้อย เราก็แสดงลูกหนี้สูงไป พอเราได้รับชำระหนี้เราจะได้น้อยกว่าที่เราคาดไว้ (น้อยกว่าลูกหนี้ที่แสดงในบัญชี) ถ้าตั้งสูงเกินก็หมายความว่าลูกหนี้น้อยเกิน เมื่อลูกหนี้นำเงินมาชำระ เราก็จะได้เงินเกินจากลูกหนี้ที่มีอยู่ในบัญชี

ก็แล้วทำไมเราไม่ตั้งสำรองให้พอดีๆ?

ตามหลักบัญชีเขาก็ให้ตั้งให้พอดี แต่ ธปท. ในขณะที่ออกกฎเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วตั้งใจช่วยธนาคารที่ตกอยู่ในภาวะต้มยำกุ้ง จึงตั้งกฎที่เรียกว่าการตั้งสำรองตามเกณฑ์ ธปท. อนุญาตให้ธนาคารตั้งสำรองน้อยอย่างถูกกฎหมาย (แล้วคุยกับ กลต. ไม่ให้เอาเรื่องตอนส่งงบ) ธนาคารจะได้แสดงลูกหนี้ในบัญชีสูง ขาดทุนต่ำ ทั้งที่เงินสดอาจได้รับน้อยกว่าลูกหนี้ที่บันทึกไว้ แต่ตอนนี้ สถานะทางการเงินของธนาคารแกร่งขึ้น ธนาคารจึงตั้งสำรองเพิ่มจากเกณฑ์ ธปท. เพื่อให้งบการเงินสะท้อนภาพความจริงมากขึ้น (บางแบงค์ก็ทำ บางแบงค์ก็ไม่ทำ บางแบงค์ทำมาก บางแบงค์ทำน้อย) ที่บางแบงค์ทำอย่างนั้นก็เพื่อรองรับมาตรฐานการบัญชีใหม่ที่จะบังคับใช้ในปี 56 โดย ม.บัญชีจะบังคับให้แบงค์ต้องตั้งสำรองให้พอดีๆ (หรือตั้งตามจริง) ซึ่ง ธปท. ก็เห็นด้วยว่าถึงเวลาอันควรแล้วที่แบงค์จะแสดงสถานะที่แท้จริงของตัวเองสักที หลังจากที่ได้รับยกเว้นมานาน (กว่า 10 ปี จนถึงปัจจุบัน)

เข้าใจตรงนี้ก็จบสำหรับการตั้งสำรองที่ต่ำเกินไปตามเกณฑ์แบงค์ชาติและการตั้งสำรองที่พอดีๆ ตาม ม.บัญชี

กรณีต่อไป

บริษัททั่วไปหรือแบงค์อาจจงใจไม่อยากตั้งสำรองให้พอดี ด้วยประโยชน์ต่องบกำไรขาดทุน (ซึ่งมักมีผลกระทบต่อราคาหุ้น)

สมมุติว่าเป็นแบงค์ และสมมุติว่าแบงค์มีสถานะการเงินดีมาก แบงค์อาจตั้งสำรองหนี้สูงมากเกิน เพื่อทำให้กำไรลดลงหน่อย กำไรจะได้ไม่เว่อร์มากและทำให้เกิดผลไม่ดีกับราคาที่พุ่งเกินหรือต้องจ่ายปันผลมากเกิน (ส่วนเงินสดธนาคารก็เก็บหนี้ไปตามปกติ ถ้าตั้งสำรองมาก เงินสดจะสูงกว่ากำไร เฉพาะรายการลูกหนี้) การตั้งสำรองสูงจะทำให้สำรองสะสมอยู่ในบัญชีอย่างนั้น (และมีจำนวนสูงเกินจำเป็นเพราะไม่มีหนี้สูญมาตัด) ทีนี้วันดีคืนดี สภาพเศรษฐกิจเปลี่ยน กำไรของแบงค์ลดลง แบงค์ก็จะตั้งสำรองต่ำลงไปหน่อย เพื่อปรับกำไรให้มากขึ้น นั่นเป็นการ smooth income แบบหนึ่ง แต่ถ้าทำเลยเถิดไปขนาดเอาหนี้สูญมากลับบัญชีเพื่อเพิ่มกำไรหรือลดขาดทุน มันก็กลายเป็นแต่งบัญชีไป เรียก Cookie Jar หรือ Creative Accounting (จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ศรัทธา)

อธิบายอย่างนี้เข้าใจไหมคะ พยายามเข้าใจว่า บัญชีมี 2 โลกค่ะ โลกของงบกำไรขาดทุน กับ โลกของงบกระแสเงินสด การตั้งสำรองหนี้สูญมีผลกระทบกับงบกำไรขาดทุน แต่เป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด (หมายถึงยังไม่มีเงินสดไหลออกไปจริงสำหรับสำรองที่ตั้งเพิ่มขึ้น ณ วันสิ้นงวด) แต่ถ้าถามว่าสำรองนี้เป็นแต่ตัวเลขทางบัญชีหรือเปล่า บางทีก็ใช่บางทีก็ไม่ใช่ ที่ว่าใช่คือถ้าแบงค์บันทึกสำรองสูงเกินจริง ตั้งเสร็จก็กลับบัญชี ส่วนที่ตั้งสูงเกินจริงนี้เป็นเรื่ิองของตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น แต่ถ้าตั้งพอดีๆ บัญชีกับเงินสดจะเท่ากัน เพียงแต่เกิดเหลื่อมกันคนละงวด แต่ถ้าตั้งต่ำไป ส่วนที่ต่ำไปนั้นจะทำให้กำไรทางบัญชี มีจำนวนสูงกว่าเงินสดอยู่เสมอค่ะ

พอไหวไหมคะ?
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

firewalker เขียน:ขอบคุณมากครับ ขอถามเพิ่มเติมนะครับ
1. การตั้งสำรองนั้น บริษัทเอาเงินที่ไหนมาตั้งสำรองครับ
เพิ่มทุน หรือ ไปกู้มาครับ

2. ถ้าเป็นแบบที่อาจารย์ว่า ถ้าตั้งสำรองมากขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทจะมีหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญเพิ่มมากขึ้น ถูกมั้ยครับ ฉะนั้นเวลาดูก็ควรจะดู ว่าตั้งสำรองเท่าไหร่ เทียบกับ หนี้สูญ(หรือสงสัยจะสูญในไตรมาสนั้นๆ) จะดีกว่ามั้ยครับ

3. เท่าที่อ่านดูในหลักการ หนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ ในชั้น (ก) และ (ข) โอกาสที่จะกลับรายการ ก็แทบจะไม่มีหรือน้อยมาก ถูกต้องมั้ยครับ ในความเป็นจริง
หรือถึงกลับรายการได้ ก็อาจจะได้ไม่เท่าเดิม เพราะเสียโอกาสทางดอกเบี้ย และ ต้นทุนการขึ้นโรงขึ้นศาล ไปแล้ว
อ่านคำตอบข้างบนก่อนดีไหมคะ ติดขัดตรงไหนค่อยถามใหม่
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

parporn เขียน:
firewalker เขียน:ขอบคุณมากครับ ขอถามเพิ่มเติมนะครับ
1. การตั้งสำรองนั้น บริษัทเอาเงินที่ไหนมาตั้งสำรองครับ
เพิ่มทุน หรือ ไปกู้มาครับ

2. ถ้าเป็นแบบที่อาจารย์ว่า ถ้าตั้งสำรองมากขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทจะมีหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญเพิ่มมากขึ้น ถูกมั้ยครับ ฉะนั้นเวลาดูก็ควรจะดู ว่าตั้งสำรองเท่าไหร่ เทียบกับ หนี้สูญ(หรือสงสัยจะสูญในไตรมาสนั้นๆ) จะดีกว่ามั้ยครับ

3. เท่าที่อ่านดูในหลักการ หนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ ในชั้น (ก) และ (ข) โอกาสที่จะกลับรายการ ก็แทบจะไม่มีหรือน้อยมาก ถูกต้องมั้ยครับ ในความเป็นจริง
หรือถึงกลับรายการได้ ก็อาจจะได้ไม่เท่าเดิม เพราะเสียโอกาสทางดอกเบี้ย และ ต้นทุนการขึ้นโรงขึ้นศาล ไปแล้ว
อ่านคำตอบข้างบนก่อนดีไหมคะ ติดขัดตรงไหนค่อยถามใหม่
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมขออนุยาดถามคำถามเดิมแหละนะครับ

คำถามแรก คือผมเข้าใจแล้วครับว่า ที่ตั้งสำรองไป เงินสดไม่ได้ออกไปไหน แต่ถามในกรณีที่บริษัทมีหนี้สูญมาก <ในกรณีนี้ผมทึกทักว่าโอกาสได้คืนน้อย หรือถึงได้คืนก็ไม่คุ้ม หรือใช้เวลาเป็นปี> ฉะนั้นเงินสดส่วนนึงก็ต้องถูกกันไปไว้ในการสำรองหนี้สูญ <คือ เงินจากไปแล้ว แต่ท่าทางจะไม่มีเงิน เข้า ก็ต้องไปเอาเงินจากลูกหนี้รายอื่นมาโปะ> ทีนี้ถ้าเกิดกรณี แบบวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านๆมา คือ หนี้สูญเพิ่มขึ้นมาก เงินสดคงไม่น่าจะพอ ดังนั้น บริษัท ก็ต้องไปหาเงินมาเพื่อกันสำรอง บริษัทจะหาเงินจากไหนครับ 1) เพิ่มทุน 2) กู้กันเองระหว่างแบงค์

คำถามสอง คือถามดูนะครับ เผื่อมีประโยชน์นะครับ เพราะ ถ้าเราจะดูว่าบริษัทมีการแต่งงบกำไรหรือไม่ ก็ดูได้จาก ratio การตั้งสำรอง/ลูกหนี้ทั้งหมด <= ในคำถามข้อนี้ผมอาจจะยกตัวอย่างไม่ดีในกรณีปกติเพราะ หนี้สูญเป็นจัดว่าเป็นหนี้ส่วนน้อยเมื่อเทียบกับหนี้ทั้งหมด อัตราส่วนอาจจะผิดเพี้ยน
ปล. สูตรคิดเอาเองนะครับ เอาไว้วิเคราะห์ ถ้าใช้ได้จริงจะได้เปรียบเทียบเองได้ ขออนุยาดอย่าถือสานะครับ อิอิ

คำถามที่ 3 ก็ถามกลับมาเหมือนคำถามแรกครับ ดูจากคำถามแรกก็ได้ครับ เพราะ หนี้สูญส่วนใหญ่จะไม่ได้รับคืน และถ้ามีหนี้สูญมากๆ บริษัทน่าจะแย่เอาง่ายๆ

ขอเพิ่มอีกคำถามครับ จะดูรู้ได้ไงว่าแบงค์นี้ดีหรือไม่ ดูจากจำนวนหนี้สูญด้วยได้มั้ยครับ ว่าหนี้สูญมีเท่าไหร่ของลูกหนี้ทั้งหมด โดยปกติทางบัญชี ตัวเลขเท่าไหร่ถือว่าปลอดภัยครับ หรือว่าตราบใดที่เงินเข้ายังมากกว่าเงินออก ก็ยังถือว่าไม่เป็นไร...
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=46&t=51663

ไปอ่านในบทความนี้มาเห็นมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญด้วย ผมขออ่านให้เข้าใจเพิ่มนิดนึงก่อนครับ เผื่อจะมีคำถามเพิ่มอีก :D :D :D
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

firewalker เขียน:
parporn เขียน:
firewalker เขียน:ขอบคุณมากครับ ขอถามเพิ่มเติมนะครับ
1. การตั้งสำรองนั้น บริษัทเอาเงินที่ไหนมาตั้งสำรองครับ
เพิ่มทุน หรือ ไปกู้มาครับ

2. ถ้าเป็นแบบที่อาจารย์ว่า ถ้าตั้งสำรองมากขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทจะมีหนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญเพิ่มมากขึ้น ถูกมั้ยครับ ฉะนั้นเวลาดูก็ควรจะดู ว่าตั้งสำรองเท่าไหร่ เทียบกับ หนี้สูญ(หรือสงสัยจะสูญในไตรมาสนั้นๆ) จะดีกว่ามั้ยครับ

3. เท่าที่อ่านดูในหลักการ หนี้สูญ หรือ หนี้สงสัยจะสูญ ในชั้น (ก) และ (ข) โอกาสที่จะกลับรายการ ก็แทบจะไม่มีหรือน้อยมาก ถูกต้องมั้ยครับ ในความเป็นจริง
หรือถึงกลับรายการได้ ก็อาจจะได้ไม่เท่าเดิม เพราะเสียโอกาสทางดอกเบี้ย และ ต้นทุนการขึ้นโรงขึ้นศาล ไปแล้ว
อ่านคำตอบข้างบนก่อนดีไหมคะ ติดขัดตรงไหนค่อยถามใหม่
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมขออนุยาดถามคำถามเดิมแหละนะครับ

คำถามแรก คือผมเข้าใจแล้วครับว่า ที่ตั้งสำรองไป เงินสดไม่ได้ออกไปไหน แต่ถามในกรณีที่บริษัทมีหนี้สูญมาก <ในกรณีนี้ผมทึกทักว่าโอกาสได้คืนน้อย หรือถึงได้คืนก็ไม่คุ้ม หรือใช้เวลาเป็นปี> ฉะนั้นเงินสดส่วนนึงก็ต้องถูกกันไปไว้ในการสำรองหนี้สูญ <คือ เงินจากไปแล้ว แต่ท่าทางจะไม่มีเงิน เข้า ก็ต้องไปเอาเงินจากลูกหนี้รายอื่นมาโปะ> ทีนี้ถ้าเกิดกรณี แบบวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านๆมา คือ หนี้สูญเพิ่มขึ้นมาก เงินสดคงไม่น่าจะพอ ดังนั้น บริษัท ก็ต้องไปหาเงินมาเพื่อกันสำรอง บริษัทจะหาเงินจากไหนครับ 1) เพิ่มทุน 2) กู้กันเองระหว่างแบงค์

คำถามสอง คือถามดูนะครับ เผื่อมีประโยชน์นะครับ เพราะ ถ้าเราจะดูว่าบริษัทมีการแต่งงบกำไรหรือไม่ ก็ดูได้จาก ratio การตั้งสำรอง/ลูกหนี้ทั้งหมด <= ในคำถามข้อนี้ผมอาจจะยกตัวอย่างไม่ดีในกรณีปกติเพราะ หนี้สูญเป็นจัดว่าเป็นหนี้ส่วนน้อยเมื่อเทียบกับหนี้ทั้งหมด อัตราส่วนอาจจะผิดเพี้ยน
ปล. สูตรคิดเอาเองนะครับ เอาไว้วิเคราะห์ ถ้าใช้ได้จริงจะได้เปรียบเทียบเองได้ ขออนุยาดอย่าถือสานะครับ อิอิ

คำถามที่ 3 ก็ถามกลับมาเหมือนคำถามแรกครับ ดูจากคำถามแรกก็ได้ครับ เพราะ หนี้สูญส่วนใหญ่จะไม่ได้รับคืน และถ้ามีหนี้สูญมากๆ บริษัทน่าจะแย่เอาง่ายๆ

ขอเพิ่มอีกคำถามครับ จะดูรู้ได้ไงว่าแบงค์นี้ดีหรือไม่ ดูจากจำนวนหนี้สูญด้วยได้มั้ยครับ ว่าหนี้สูญมีเท่าไหร่ของลูกหนี้ทั้งหมด โดยปกติทางบัญชี ตัวเลขเท่าไหร่ถือว่าปลอดภัยครับ หรือว่าตราบใดที่เงินเข้ายังมากกว่าเงินออก ก็ยังถือว่าไม่เป็นไร...
ตอบคำถามแรกคือ เพิ่มทุนค่ะ ไอ้กู้ระหว่างแบงค์อาจเป็นไปไม่ได้เพราะต่างคนต่างแย่ แบงค์กลัวการเพิ่มทุนด้วยทุน เพราะเขาอาจเสียสมบัติวงค์ตระกูล เขาจึงอยากเพิ่มทุนด้วยหนี้ แต่หนี้ก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง BIS Ratio และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน แบงค์จึงออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (วันก่อนอ่านเรื่องแบงค์กรุงไทยออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิแบบไถ่ถอนครั้งเดียว อะไรเทือกนั้น) ซึ่งจะทำให้ BIS Ratio เพิ่ม แต่ D/E ratio น้อยลง (บันทึกหุ้นกู้เป็นส่วนทุนค่ะ) อีกอย่างหนึ่งที่แบงค์ทำคือหาต่างชาติเงินหนามาเป็นหุ้นส่วน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด สังเกตแบงค์ไทยตอนนี้มีหุ้นส่วนเป็นต่างชาติแทบทั้งนั้น

วิธีวิเคราะห์หนี้สูญมีมากมาย แต่เวลาดูต้องดูระยะยาว จะ plot กร๊าฟออกมาดูก็ได้ และต้องวิเคราะห์อัตราส่วนหลายตัวพร้อมกัน ขอไม่ลงลึกนะคะ

คำถามข้อสาม คำตอบคือ อนาคตเจ๊งค่ะ

คำตอบสุดท้าย ดูได้ระดับหนึ่ง ตั้งมาก (แบบพอดีๆ ดีกว่าตั้งน้อย) แต่ถ้าตั้งมากไว้รอกลับบัญชีก็เป็นการแต่งบัญชี ให้ทำการวิเคราะห์ Trend และเปรียบเทียบระหว่างอุตสาหกรรมจะทำให้เห็นภาพดีขึ้นค่ะ
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากครับอาจารย์ภาพร :D
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรียนถามเรื่องการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณครับ คำตอบยาวดีจัง ไว้ลองไปเปิดงบการเงินดู แล้วถ้ายังงงก็จะมาถามอีกครับ
โพสต์โพสต์