ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่าอะไร


โพสต์ โพสต์
saimamen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 15

ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่าอะไร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ตามนั้นครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ :D
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แปลงรายการในสินทรัพย์หมุนเวียน เป็นเงินสด
show me money.
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ลูกหนี้การค้าในงบกระแสเงินสดลดลง ให้ความหมายว่า ลูกหนี้นำเงินสดมาชำระหนี้ ดังนั้น จึงตีความได้ว่าเงินสดเพิ่มขึ้นสำหรับรายการนี้ เนื่องจากลูกหนี้ลดลง

แต่ในความเป็นจริง หนี้สูญตัดบัญชีก็อาจทำให้ลูกหนี้ลดลงได้ แถมยังไม่มีเงินสดเข้า มีแต่การสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินสดอีกด้วย

การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยวิธีแปลงจากเกณฑ์คงค้าง ทำให้เราต้องระวังในการตีความมากๆ
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 4

โพสต์

parporn เขียน:ลูกหนี้การค้าในงบกระแสเงินสดลดลง ให้ความหมายว่า ลูกหนี้นำเงินสดมาชำระหนี้ ดังนั้น จึงตีความได้ว่าเงินสดเพิ่มขึ้นสำหรับรายการนี้ เนื่องจากลูกหนี้ลดลง

แต่ในความเป็นจริง หนี้สูญตัดบัญชีก็อาจทำให้ลูกหนี้ลดลงได้ แถมยังไม่มีเงินสดเข้า มีแต่การสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินสดอีกด้วย

การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยวิธีแปลงจากเกณฑ์คงค้าง ทำให้เราต้องระวังในการตีความมากๆ
รายการหนี้สูญตัดบัญชีจะมีการกระทบยอดในงบกระแสเงินสดอย่างไรคับ
หรือมีการแสดงรายการอื่นใด ในงบกระแสเงินสดคับ

ขอบคุณคับ
show me money.
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 5

โพสต์

nut776 เขียน:
parporn เขียน:ลูกหนี้การค้าในงบกระแสเงินสดลดลง ให้ความหมายว่า ลูกหนี้นำเงินสดมาชำระหนี้ ดังนั้น จึงตีความได้ว่าเงินสดเพิ่มขึ้นสำหรับรายการนี้ เนื่องจากลูกหนี้ลดลง

แต่ในความเป็นจริง หนี้สูญตัดบัญชีก็อาจทำให้ลูกหนี้ลดลงได้ แถมยังไม่มีเงินสดเข้า มีแต่การสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินสดอีกด้วย

การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยวิธีแปลงจากเกณฑ์คงค้าง ทำให้เราต้องระวังในการตีความมากๆ
รายการหนี้สูญตัดบัญชีจะมีการกระทบยอดในงบกระแสเงินสดอย่างไรคับ
หรือมีการแสดงรายการอื่นใด ในงบกระแสเงินสดคับ

ขอบคุณคับ
หนี้สูญตัดบัญชีมีวิธีปฎิบติที่พบกันอยู่ 2 แบบ
1. กลับลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงบดุลทิ้งด้วยจำนวนเท่ากัน - วิธีนี้ไม่มีผลกระทบกับงบกระแสเงินสดเพราะลูกหนี้-สุทธิไม่เปลี่ยนแปลง
2. กลับลูกหนี้ในงบดุลและค่าใช้จ่ายหนี้สูญในงบกำไรขาดทุน - วิธีนี้จะทำให้ลูกหนี้ลดลง ในขณะที่หนี้สูญทำให้กำไรจากการดำเนินงานลดลง (หลังจากนั้นจะถูกบวกกลับด้วยการลดลงของลูกหนี้)

ผลรวมของทั้ง 2 วิธีเท่ากัน แต่ส่วนประกอบแต่ละรายการไม่เท่า แบบที่ 2 บริษัทในเมืองไทยชอบทำทั้งๆ ที่ผิดหลักการ ทำให้ตกแต่งได้ทั้งงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด แถมตอนหนี้สูญกลับบัญชีก็นำมาเพิ่มในงบกำไรขาดทุนได้อีกด้วย
saimamen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 15

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับอ.ภาพร
mcthanyawat17
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ค่าเสื่อมราคาในงบกระแสเงินสด ที่เป็นบวก
เราไม่ได้รับเงินจริงๆมาใช่มั้ยคับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 8

โพสต์

mcthanyawat17 เขียน:ค่าเสื่อมราคาในงบกระแสเงินสด ที่เป็นบวก
เราไม่ได้รับเงินจริงๆมาใช่มั้ยคับ
ไม่ได้รับค่ะ

การบวกกลับมีนัยว่า รายการนี้เคยถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปคำนวณหากำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง (ที่เป็นรายการตั้งต้นการคำนวณกิจกรรมดำเนินงาน) เมื่อจะแปลงกำไรสุทธิที่เป็นเกณฑ์คงค้างให้เป็นเกณฑ์เงินสด รายการที่ไม่เป็นเงินสดทั้งหมดต้องนำมาบวกกลับ (จริงๆ ก็เหมือนกับการคำนวณหา EBITDA Earnings before interest, taxes, depreciation, amortization นั่นเอง)
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 9

โพสต์

parporn เขียน:
nut776 เขียน:
parporn เขียน:ลูกหนี้การค้าในงบกระแสเงินสดลดลง ให้ความหมายว่า ลูกหนี้นำเงินสดมาชำระหนี้ ดังนั้น จึงตีความได้ว่าเงินสดเพิ่มขึ้นสำหรับรายการนี้ เนื่องจากลูกหนี้ลดลง

แต่ในความเป็นจริง หนี้สูญตัดบัญชีก็อาจทำให้ลูกหนี้ลดลงได้ แถมยังไม่มีเงินสดเข้า มีแต่การสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินสดอีกด้วย

การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยวิธีแปลงจากเกณฑ์คงค้าง ทำให้เราต้องระวังในการตีความมากๆ
รายการหนี้สูญตัดบัญชีจะมีการกระทบยอดในงบกระแสเงินสดอย่างไรคับ
หรือมีการแสดงรายการอื่นใด ในงบกระแสเงินสดคับ

ขอบคุณคับ
หนี้สูญตัดบัญชีมีวิธีปฎิบติที่พบกันอยู่ 2 แบบ
1. กลับลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงบดุลทิ้งด้วยจำนวนเท่ากัน - วิธีนี้ไม่มีผลกระทบกับงบกระแสเงินสดเพราะลูกหนี้-สุทธิไม่เปลี่ยนแปลง
2. กลับลูกหนี้ในงบดุลและค่าใช้จ่ายหนี้สูญในงบกำไรขาดทุน - วิธีนี้จะทำให้ลูกหนี้ลดลง ในขณะที่หนี้สูญทำให้กำไรจากการดำเนินงานลดลง (หลังจากนั้นจะถูกบวกกลับด้วยการลดลงของลูกหนี้)

ผลรวมของทั้ง 2 วิธีเท่ากัน แต่ส่วนประกอบแต่ละรายการไม่เท่า แบบที่ 2 บริษัทในเมืองไทยชอบทำทั้งๆ ที่ผิดหลักการ ทำให้ตกแต่งได้ทั้งงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด แถมตอนหนี้สูญกลับบัญชีก็นำมาเพิ่มในงบกำไรขาดทุนได้อีกด้วย
รายการที่ 2 นี้อาจารย์พอมีตัวอย่างมั้ยครับ หรือยกตัวอย่างบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็ยิ่งดีครับ ปีก่อนๆก็ได้ครับ เดี๋ยวผมลองไปหาเปรียบเทียบเอา ขอบคุณมากครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ลูกหนี้การค้า ในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลดลง แปลว่า

โพสต์ที่ 10

โพสต์

firewalker เขียน:
parporn เขียน:
nut776 เขียน:
parporn เขียน:ลูกหนี้การค้าในงบกระแสเงินสดลดลง ให้ความหมายว่า ลูกหนี้นำเงินสดมาชำระหนี้ ดังนั้น จึงตีความได้ว่าเงินสดเพิ่มขึ้นสำหรับรายการนี้ เนื่องจากลูกหนี้ลดลง

แต่ในความเป็นจริง หนี้สูญตัดบัญชีก็อาจทำให้ลูกหนี้ลดลงได้ แถมยังไม่มีเงินสดเข้า มีแต่การสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินสดอีกด้วย

การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยวิธีแปลงจากเกณฑ์คงค้าง ทำให้เราต้องระวังในการตีความมากๆ
รายการหนี้สูญตัดบัญชีจะมีการกระทบยอดในงบกระแสเงินสดอย่างไรคับ
หรือมีการแสดงรายการอื่นใด ในงบกระแสเงินสดคับ

ขอบคุณคับ
หนี้สูญตัดบัญชีมีวิธีปฎิบติที่พบกันอยู่ 2 แบบ
1. กลับลูกหนี้และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงบดุลทิ้งด้วยจำนวนเท่ากัน - วิธีนี้ไม่มีผลกระทบกับงบกระแสเงินสดเพราะลูกหนี้-สุทธิไม่เปลี่ยนแปลง
2. กลับลูกหนี้ในงบดุลและค่าใช้จ่ายหนี้สูญในงบกำไรขาดทุน - วิธีนี้จะทำให้ลูกหนี้ลดลง ในขณะที่หนี้สูญทำให้กำไรจากการดำเนินงานลดลง (หลังจากนั้นจะถูกบวกกลับด้วยการลดลงของลูกหนี้)

ผลรวมของทั้ง 2 วิธีเท่ากัน แต่ส่วนประกอบแต่ละรายการไม่เท่า แบบที่ 2 บริษัทในเมืองไทยชอบทำทั้งๆ ที่ผิดหลักการ ทำให้ตกแต่งได้ทั้งงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด แถมตอนหนี้สูญกลับบัญชีก็นำมาเพิ่มในงบกำไรขาดทุนได้อีกด้วย
รายการที่ 2 นี้อาจารย์พอมีตัวอย่างมั้ยครับ หรือยกตัวอย่างบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็ยิ่งดีครับ ปีก่อนๆก็ได้ครับ เดี๋ยวผมลองไปหาเปรียบเทียบเอา ขอบคุณมากครับ
ส่วนใหญ่เลยค่ะ ถ้ามีหนี้สูญบวกกลับ ส่วนใหญ่ใช่
โพสต์โพสต์