ต้นทุนขาย


โพสต์ โพสต์
san_opal
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ต้นทุนขายคือ ต้นทุนของสินค้าที่บริษัทขายไปในระหว่างงวด ต้นทุนขายถือเป็นค่าใช้จ่ายรายการแรกในงบกำไรขาดทุน ถ้าเรานำต้นทุนขายมาหักจาก "รายได้จากการขาย" เราจะได้กำไรขั้นต้น

หลายคนอาจสงสัยว่า ต้นทุนขายนั้นคำนวณมาได้อย่างไร ความจริงแล้ว วิธีคิดของต้นทุนขายในทางบัญชีคือ
ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าที่ซื้อหรือผลิตในระหว่างงวด – สินค้าคงเหลือปลายงวด

เมื่อพูดถึงต้นทุนขายเรามักคิดถึงต้นทุนขาย 2 ประเภทคือ

1.ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย
สำหรับธุรกิจที่ซื้อมาขายไปหรือธุรกิจที่ขายสินค้าโดยไม่มีการแปรสภาพ ต้นทุนขายจะประกอบด้วยราคาสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย ค่าขนส่งที่เราเป็นคนจ่าย ค่าภาษีอากรขาเข้า ค่าประกันสินค้ารนะหว่างขนส่ง หักด้วยสินค้าส่งคืนและส่วนลดการค้า

2.ต้นทุนสินค้าที่ผลิตได้
สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต สินค้าต้องได้รับการแปรสภาพจากวัตถุดิบไปเป็นสินค้าสำเร็จรูปก่อนที่จะพร้อมนำไปขาย ดังนั้น ต้นทุนขายในที่นี้จึงประกอบด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า เช่น วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายการผลิตก็เช่น ค่าวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้อาคารสถานที่ เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน เช่น ค่าเสื่อมราคาโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ในโรงงาน

ต้นทุนขายมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร?
การคำนวณสินค้าคงเหลือมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะมีผลต่องบกำไรขาดทุนแตกต่างกันไป วิธีหลักๆ ที่ใช้กันเป็นประจำมีดังต่อไปนี้

1. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO: First In First Out) คือการคำนวณต้นทุนขายโดยสมมุติว่าสินค้าที่ซื้อหรือผลิตก่อนจะถูกขายออกไปก่อน

ตัวอย่างการคำนวณตามวิธีเข้าก่อนออกก่อน บริษัท XYZ มีสินค้า A จำนวน 100 บาท สินค้า B จำนวน 200 บาท สินค้า C จำนวน 300 บาท อย่างละ 1 ชิ้น เมื่อบริษัทได้รับสินค้า A, B และ C เข้ามาตามลำดับ จำนวนของสินค้าคงเหลือในคลังเก็บสินค้าจะเท่ากับ 600 บาท (100+200+300) ต่อมาหากมีการขายเกิดขึ้น ให้ถือว่าบริษัทขายสินค้า A ออกไปชิ้นแรก เพราะฉะนั้น เมื่อมีการบันทึกบัญชี ให้ถือว่ามีต้นทุนขายเกิดขึ้นย 100 บาท และจำนวนสินค้าคงเหลือจะเท่ากับ 500บาท (200+300) หากต่อมาบริษัทขายสินค้าออกไปอีก 1 ชิ้น บริษัทจะถือว่าได้ขายสินค้า B ออกไป ทำให้ต้นทุนขายมีจำนวน 200 บาท และสินค้าคงเหลือ (สินค้า C) มีจำนวนเท่ากับ 300 บาท

วิธีการคำนวณต้นทุนขายแบบ FIFO นี้ มักทำให้การคิดราคาต้นทุนของสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากหากในโลกปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อมักเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี การที่เราคิดต้นทุนจากสินค้าที่เราซื้อมาอันดับแรกๆ ย่อมทำให้ต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริง และเนื่องจากกำไรขั้นต้นคำนวณจากรายได้ลบต้นทุนขาย การมีต้นทุนขายต่ำจะทำให้กำไรสูงกว่าที่ควรจะเป็น

2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Moving Average) คือ การคำนวณต้นทุนขายโดยการเฉลี่ยราคาสินค้ากับปริมาณที่ซื้อในแต่ละชุด

ตัวอย่างการคำนวณวิธีถัวเฉลี่ย บริษัท XYZ มีสินค้าคงเหลือ 100 ชิ้น จำนวนเงินรวม 1,000 บาท สินค้าชุดนี้ถือว่ามีมูลค่าชิ้นละ 10 บาท ต่อมาบริษัทขายสินค้าออกไป 20 ชิ้น บริษัทจะมีต้นทุนขาย 200 บาท (20*10) สินค้าคงเหลือในคลังจะเหลือ 80 ชิ้น (100-20) จำนวน 800 บาท (80*10) หรือชิ้นละ 10 บาท เมื่อบริษัทซื้อสินค้าชุดที่ 2 เข้ามาเพิ่ม 50 ชิ้น จำนวนเงินรวม 750 บาท ตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก สินค้าต่อชิ้นจะมีมูลค่า 11.90 บาท โดยคำนวณจาก (800+750)/(80+50) เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาใหม่ 100 ชิ้น ต้นทุนขายที่เกิดขึ้นใหม่จะเท่ากับ 1,190 บาท (100*11.90) ทำให้สินค้าคงเหลือในคลัง 30 ชิ้น (130-100) จะมีมูลค่ารวม 357 บาท (30*11.90) เมื่อใดที่บริษัททำการซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ บริษัทต้องคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าใหม่ทุกครั้ง

3. วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification) วิธีนี้คำนวณต้นทุนขายตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากสินค้าแต่ละชิ้นมีต้นทุนไม่เท่ากัน วิธีนี้เหมาะกับธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ หรือสินค้าราคาสูง เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร ซึ่งสามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีต้นทุนเท่าใด อย่างไรก็ตาม ในยุคคอมพิวเตอร์ก้าวไกล การคำนวณต้นทุนขายนั้นเข้าใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกที ไม่ว่าสินค้านั้นจะมีชิ้นใหญ่หรือเล็ก เนื่องจากระบบการสแกน Bar code ที่นำมาใช้จะทำให้บริษัททราบต้นทุนขายใกล้เคียงความจริงมากขึ้น

ตัวอย่างการคำนวณตามวิธีราคาเจาะจง หาก บริษัท XYZ ซื้อสินค้า A ซึ่งมีมูลค่า 1,000,000 บาท บริษัทต้องบันทึกบัญชีว่ามีสินค้าคงเหลือ 1,000,000 บาท ต่อมาเมื่อบริษัทซื้อสินค้า B ซึ่งมีมูลค่า 1,500,000 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 2,500,000 บาท (1,000,000+1,500,000) และเมื่อซื้อสินค้า C ซึ่งมีมูลค่า 3,000,000 บาท มูลค่าสินค้าคงเหลือก็จะเท่ากับ 5,500,000 บาท (1,000,000+1,500,000+3,000,000) หากลูกค้าซื้อสินค้า A บริษัทต้องบันทึกต้นทุนขายจำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนของสินค้า A นั่นเอง
โดยสรุป การเลือกวิธีคำนวณต้นทุนขายหรือสินค้าคงเหลือมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีที่เหมาะสมกับกิจการที่แตกต่างกันออกไป การคำนวณต้นทุนขายด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกันจะทำให้กำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิแตกต่างกัน รวมทั้งทำให้สินค้าคงเหลือที่แสดงในงบดุลมีจำนวนแตกต่างกันไปด้วย

ถ้ามีข้อสงสัยอะไรถามได้เลยนะค่ะ
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

สินค้าชำรุดที่ส่งคืนไม่ได้คิดเป็นต้นทุนสินค้าด้วยหรือเปล่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สวัสดีครับ

ผมมีคำถามเกี่ยวกับวิธีคิดสินค้าคงเหลือดังนี้ครับ

1 ตามความเข้าใจผม อาจาร์ยบอกว่าตอนนี้วิธี LIFO เลิกใช้ในไทยแล้ว ฉนั้นตอนนี้ก็น่าจะเหลือแค่ 3 วิธีคือ FIFO, Moving Average และ Specific Identification ตามที่น้องเขียนอธิบายไว้ใช่ไหมครับ

2 วิธีการดูว่าบริษัทไหนใช้วิธีอะไร ให้ดูใน หมายเหตุประกอบงบ แต่หลังจากที่ผมไปดูในหมายเหตุประกอบงบ บริษัททุกๆที่ ก็มีแต่แจ้งว่าใช้ตามมาตรฐานฉบับไหน นั้นหมายความว่าผมต้องรู้ทุกๆมาตรฐานการบัญชีใช่ไหมครับ และถึงแม้ว่าจะรู้ทุกๆมาตรฐานการบัญชี แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทใช้วิธีไหนที่มาตรฐานการบัญชีอนุญาติให้ใช้ครับ

ขอบคุณมากนะครับที่ช่วยเขียนบทความดีๆมาให้อ่านกัน :D :D
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 84

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้างวดไหน มีการตั้งสำรองสินค้าคงคลังเสื่อมคุณภาพ ค่าใช้จ่ายนี้จะลงบันทึกในรายการต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุนใช่หรือเปล่าครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
san_opal
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

nearly เขียน:สินค้าชำรุดที่ส่งคืนไม่ได้คิดเป็นต้นทุนสินค้าด้วยหรือเปล่าครับ
สินค้าชำรุด ถ้าเป็นการชำรุดในอัตราปกติถือเป็นต้นทุนขาย ถ้าไม่ปกติหรือเรียกว่า "เกินปกติ" คือ อาจเกิดจากความผิดพลาด ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารค่ะ
san_opal
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

green-orange เขียน:สวัสดีครับ

ผมมีคำถามเกี่ยวกับวิธีคิดสินค้าคงเหลือดังนี้ครับ

1 ตามความเข้าใจผม อาจาร์ยบอกว่าตอนนี้วิธี LIFO เลิกใช้ในไทยแล้ว ฉนั้นตอนนี้ก็น่าจะเหลือแค่ 3 วิธีคือ FIFO, Moving Average และ Specific Identification ตามที่น้องเขียนอธิบายไว้ใช่ไหมครับ

2 วิธีการดูว่าบริษัทไหนใช้วิธีอะไร ให้ดูใน หมายเหตุประกอบงบ แต่หลังจากที่ผมไปดูในหมายเหตุประกอบงบ บริษัททุกๆที่ ก็มีแต่แจ้งว่าใช้ตามมาตรฐานฉบับไหน นั้นหมายความว่าผมต้องรู้ทุกๆมาตรฐานการบัญชีใช่ไหมครับ และถึงแม้ว่าจะรู้ทุกๆมาตรฐานการบัญชี แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทใช้วิธีไหนที่มาตรฐานการบัญชีอนุญาติให้ใช้ครับ

ขอบคุณมากนะครับที่ช่วยเขียนบทความดีๆมาให้อ่านกัน :D :D
ข้อ 1 ใช่ค่ะ
ข้อ 2 ในหมายเหตุประกอบงบการเงินต้องดูที่ "นโยบายการบัญชี" บริษัทจะเขียนอธิบายไว้ว่าวิธีที่บริษัทใช้คืออะไร
san_opal
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

chatchai เขียน:ถ้างวดไหน มีการตั้งสำรองสินค้าคงคลังเสื่อมคุณภาพ ค่าใช้จ่ายนี้จะลงบันทึกในรายการต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุนใช่หรือเปล่าครับ
สินค้าล้าสมัยเกิดจากการบริหารคือขายไม่เก่งหรือสั่งมามากไป ถือเป็นค่าใช้จ่ายบริหารค่ะ

Credit: อาจารย์ ภาพร

ขอบพระคุณค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

san_opal เขียน:
green-orange เขียน:สวัสดีครับ

ผมมีคำถามเกี่ยวกับวิธีคิดสินค้าคงเหลือดังนี้ครับ

1 ตามความเข้าใจผม อาจาร์ยบอกว่าตอนนี้วิธี LIFO เลิกใช้ในไทยแล้ว ฉนั้นตอนนี้ก็น่าจะเหลือแค่ 3 วิธีคือ FIFO, Moving Average และ Specific Identification ตามที่น้องเขียนอธิบายไว้ใช่ไหมครับ

2 วิธีการดูว่าบริษัทไหนใช้วิธีอะไร ให้ดูใน หมายเหตุประกอบงบ แต่หลังจากที่ผมไปดูในหมายเหตุประกอบงบ บริษัททุกๆที่ ก็มีแต่แจ้งว่าใช้ตามมาตรฐานฉบับไหน นั้นหมายความว่าผมต้องรู้ทุกๆมาตรฐานการบัญชีใช่ไหมครับ และถึงแม้ว่าจะรู้ทุกๆมาตรฐานการบัญชี แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทใช้วิธีไหนที่มาตรฐานการบัญชีอนุญาติให้ใช้ครับ

ขอบคุณมากนะครับที่ช่วยเขียนบทความดีๆมาให้อ่านกัน :D :D
ข้อ 1 ใช่ค่ะ
ข้อ 2 ในหมายเหตุประกอบงบการเงินต้องดูที่ "นโยบายการบัญชี" บริษัทจะเขียนอธิบายไว้ว่าวิธีที่บริษัทใช้คืออะไร
ขอบคุณครับ
ข้อ 2 ตอนแรกหาไม่เจอเพราะไปดูหมายเหตุงบ bigc q22010 แต่ในหมายเหตุเค้าอ้างให้ไปอ่านหมายเหตุในงบปี 2009 (มิน่าผมหาไม่เจอตอนแรก)
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 1

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :bow: :bow: :bow:
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 36

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับ

สอบถามครับ พวกบริษัทฯ ที่ซื้อสินค้าทีวัตถุดิบเป็นสินค้าโภคภัณฑ์

แล้วต้องมีการตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือล่ะครับ ต้องบันทึกรวมไปในต้นทุนขายในงวดไหนด้วยใช่ไหมครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
untrataro25
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1051
ผู้ติดตาม: 37

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากครับ เข้ามาสูบ :P
"เพราะเรียบง่าย จึงชนะ"
san_opal
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 13

โพสต์

kotaro เขียน:ขอบคุณครับ

สอบถามครับ พวกบริษัทฯ ที่ซื้อสินค้าทีวัตถุดิบเป็นสินค้าโภคภัณฑ์

แล้วต้องมีการตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือล่ะครับ ต้องบันทึกรวมไปในต้นทุนขายในงวดไหนด้วยใช่ไหมครับ
ปกติแล้วถ้ามีการตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือ เราจะ
Dr. Loss on write-down of inventory
Cr. Allowance for write-down of inventory
เพราะฉะนั้นมูลค่าของสินค้าก็จะ​ลดลงเหลือเท่ากับจำนวนที่เราrev​alue ณ ปัจจุบัน ส่วนตัว Loss on write-down of inventory จะเข้าไปอยู่ใน single line item ของ P/L ในงบกำไรขาดทุนของงวดนั้นทันที จึงทำให้ไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนขายค่ะ

แต่ทางที่ดีที่สุด บริษัทควรทำการป้องกันความเ​สี่ยงสินค้าโภคภัณฑ์ โดยการซื้อขายอนุพันธ์ทางกา​รเงิน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนขายไม่แกว่งจนเกินไป เพราะถ้าสินค้าขาดทุนก็จะมี​กำไรจาก future หรือ forward มาช่วยแบ่งเบาค่ะ ^^
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 14

โพสต์

san_opal เขียน:
kotaro เขียน:ขอบคุณครับ

สอบถามครับ พวกบริษัทฯ ที่ซื้อสินค้าทีวัตถุดิบเป็นสินค้าโภคภัณฑ์

แล้วต้องมีการตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือล่ะครับ ต้องบันทึกรวมไปในต้นทุนขายในงวดไหนด้วยใช่ไหมครับ
ปกติแล้วถ้ามีการตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้าคงเหลือ เราจะ
Dr. Loss on write-down of inventory
Cr. Allowance for write-down of inventory
เพราะฉะนั้นมูลค่าของสินค้าก็จะ​ลดลงเหลือเท่ากับจำนวนที่เราrev​alue ณ ปัจจุบัน ส่วนตัว Loss on write-down of inventory จะเข้าไปอยู่ใน single line item ของ P/L ในงบกำไรขาดทุนของงวดนั้นทันที จึงทำให้ไม่มีผลกระทบต่อต้นทุนขายค่ะ

แต่ทางที่ดีที่สุด บริษัทควรทำการป้องกันความเ​สี่ยงสินค้าโภคภัณฑ์ โดยการซื้อขายอนุพันธ์ทางกา​รเงิน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนขายไม่แกว่งจนเกินไป เพราะถ้าสินค้าขาดทุนก็จะมี​กำไรจาก future หรือ forward มาช่วยแบ่งเบาค่ะ ^^
ถ้าสินค้่คงเหลือเป็นเรื่องปกติธุรกิจที่บริษัทต้องเจอเป็นประจำเนื่องจากโภคภัณฑ์แกว่งตัวขึ้นลงตามธรรมชาติตลาด ขาดทุนจากการลดลงของราคาสินค้าคงเหลืออาจรวมเป็นต้นทุนขาย แต่ถ้าขาดทุนนั้นเกิดจากการบริหาร เช่น บริษัทสั่งสินค้ามากเกินควร ทำให้ขาดทุนเกิดขึ้นทั้งที่ไม่ควรเกิดขึ้น หรือทำให้ขายไม่ออกจนสินค้าล้าสมัยหรือเก็บเก่า ขาดทุนนี้ถึงจะถือเป็นค่าใช้จ่ายบริหารค่ะ ก่อนจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายบริหาร บริษัทต้องพยายามผ่านด่านต้นทุนขายไปให้ได้เสียก่อน (คือหาข้ออ้างว่าทำไมการสั่งสินค้านี้จึงไม่ใช่ปกติธุรกิจ)

กฎง่ายๆ ทางบัญชีคือ ordinary loss - cost of goods sold
Extraordinary - admin ค่ะ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ถ้าคุณวิเคราะห์บริษัทที่สินค้าคงเหลือเป็นโภคภัณฑ์ คุณต้องดูว่าบริษัททำการป้องกันความเสี่ยงหรือไม่

วิธีดู สังเกตว่า
1. มีรายการในงบดุลที่เรียกว่า "อนุพันธ์ทางการเงิน derivatives" หรือ "สินทรัพย์ตามสัญญาอนาคต future contracts" หรือ .... ชื่ออาจมาหลากหลาย และเกิดได้ทั้งสินทรัพย์และหนี้สิน หรือเกิดทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน แต่ชื่อต้องเกี่ยวพันกับ เครื่องมือทางการเงิน futures, forwards, options (สงสัยถามไปที่ห้อง เครื่องมือทางการเงินสิคะ ห้องนั้นเงียบมาก)

2. มีรายการกำไรขาดทุนเกิดขึ้นจากอนุพันธ์และสินค้าคงเหลือในงบกำไรขาดทุน ปกติกำไรจากราคาสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นจะบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนไม่ได้ แต่ถ้ามีการป้องกันความเสี่ยงไว้ เผลอๆ เราจะเห็นบริษัทบันทึกกำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าคงเหลือให้เรางงเล่น (เพราะกำไรจากสินค้า แต่จะขาดทุนจากอนุพันธ์ค่ะ)

3. ดูงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ บางครั้งการป้องกันความเสี่ยง (ที่เรียกว่าการป้องกันความเสี่ยงกระแสเงนสด) จะทำให้เกิดกำไรขาดทุนจากอนุพันธ์พักไว้ในนั้น

3. อ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหมายเหตุจะบอกไว้แน่นอนว่าบริษัทป้องกันความสี่ยงหรือไม่ และป้องกันความเสี่ยงอะไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 16

โพสต์

การรับรู้ค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นตามเกณฑ์คงค้าง ถูกไหมครับ
ดังนั้น เมื่อมีการผลิตสินค้าขึ้น ต่อให้ผลิตมากมายเพียงใด ถ้าไม่มีการจำหน่ายสินค้า จะไม่ถูกรับรู้ เป็น ต้นทุนขาย

ทั้งนี้ อยากรบกวน ถามเรื่อง เดบิต เครดิต หน่อย

ปกติแล้วเมื่อ ขายสินค้า ออกไป บัญชีจะ บันทึก
เดบิต ค่าใช้จ่าย เครดิต สินค้าคงเหลือ

แล้วถ้าหาก ผลิตสินค้า เข้ามา บัญชีจะบันทึกอย่างไร ?
เดบิต สินค้าคงเหลือ เครดิต เงินสด/เจ้าหนี้การค้า ????

(สงสัยประมาณว่า ต้นทุนผลิต มีทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงทางตรง,ทางอ้อม, ค่าเสื่อมราคา ฯลฯ
ต้อง เดบิต เครดิต รายการที่เกี่ยวข้องทุกรายการใช่หรือเปล่า)
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 17

โพสต์

[quote="i-salmon"]การรับรู้ค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นตามเกณฑ์คงค้าง ถูกไหมครับ
ดังนั้น เมื่อมีการผลิตสินค้าขึ้น ต่อให้ผลิตมากมายเพียงใด ถ้าไม่มีการจำหน่ายสินค้า จะไม่ถูกรับรู้ เป็น ต้นทุนขาย

ทั้งนี้ อยากรบกวน ถามเรื่อง เดบิต เครดิต หน่อย

ปกติแล้วเมื่อ ขายสินค้า ออกไป บัญชีจะ บันทึก
เดบิต ค่าใช้จ่าย เครดิต สินค้าคงเหลือ

แล้วถ้าหาก ผลิตสินค้า เข้ามา บัญชีจะบันทึกอย่างไร ?
เดบิต สินค้าคงเหลือ เครดิต เงินสด/เจ้าหนี้การค้า ????

(สงสัยประมาณว่า ต้นทุนผลิต มีทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงทางตรง,ทางอ้อม, ค่าเสื่อมราคา ฯลฯ
ต้อง เดบิต เครดิต รายการที่เกี่ยวข้องทุกรายการใช่หรือเปล่า)[/quote]

ผลิตมาก แต่ไม่ขาย ต้นทุนขายจะไม่เกิด

ในการรับรู้ต้นทุนขาย นักบัญชีมีเทคนิคการบันทึกบัญชีที่ยุ่งนิดหน่อย โดยเฉพาะการบันทึกต้นทุนผลิตเป็นต้นทุนขาย

คุณเข้าไปที่ ดร.ภาพร เอกอรรถพร (fanpage) ในนั้นจะมีเอกสารบรรยายบันไดขั้นที่ 1-3 เรื่องการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนผลิตและต้นทุนขายจะแสดงอยู่ในนั้น มีการเดบิตเครดิตในรายละเอียด ช่วยอ่านตรงนั้นก่อน ถ้าติดตรงไหน ค่อยถามกลับมานะคะ
woodooshy
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 295
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 19

โพสต์

Re : A.Parporn

ขอบคุณครับ ลองไปโหลดอ่านดูแล้ว
เนื้อหาเยอะมากเลยครับ ทีแรกผมคิดว่าน่าจะพออยู่บันไดกลางๆได้
ตอนนี้คิดว่าผมต้องเข้าคอร์สบันไดชั้นใต้ดินแล้วครับ T^T

สรุปว่า ต้นทุนผลิตของสินค้าที่ยังไม่ได้ขาย
ต้องเครดิต ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการผลิตทุกรายการ
แต่เก็บมูลค่าไว้ในรูปของ สินค้าคงเหลือ(WIP) ในงบดุล
โดยถ้าหากมีการแปรรูปเป็นก็บวกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วเก็บมูลค่อยู่ใน สินค้าคงเหลือ(FG)
และเมื่อมีรายการขายสินค้าสำเร็จรูป จึงค่อยดึงค่าใช้จ่ายตรงนั้นมารับรู้เป็นต้นทุนขาย
ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ ><
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ต้นทุนขาย

โพสต์ที่ 20

โพสต์

[quote="i-salmon"]Re : A.Parporn

ขอบคุณครับ ลองไปโหลดอ่านดูแล้ว
เนื้อหาเยอะมากเลยครับ ทีแรกผมคิดว่าน่าจะพออยู่บันไดกลางๆได้
ตอนนี้คิดว่าผมต้องเข้าคอร์สบันไดชั้นใต้ดินแล้วครับ T^T

สรุปว่า ต้นทุนผลิตของสินค้าที่ยังไม่ได้ขาย
ต้องเครดิต ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการผลิตทุกรายการ
แต่เก็บมูลค่าไว้ในรูปของ สินค้าคงเหลือ(WIP) ในงบดุล
โดยถ้าหากมีการแปรรูปเป็นก็บวกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วเก็บมูลค่อยู่ใน สินค้าคงเหลือ(FG)
และเมื่อมีรายการขายสินค้าสำเร็จรูป จึงค่อยดึงค่าใช้จ่ายตรงนั้นมารับรู้เป็นต้นทุนขาย
ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ ><[/quote]

ค่่อนข้างถูกนะคะ เพียงแต่ระวังคำศัพท์ที่ใช้นิดนึง สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์ แต่ต้นทุนขายเป็นค่าใช้จ่ายค่ะ คำศัพท์พวกนี้ล้อเล่นไม่ได้เพราะแสดงอยู่คนละงบการเงิน และมีผลต่อการวิเคราะห์มากค่ะ
โพสต์โพสต์