ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ


โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
guitarz
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ค่าความนิยม (Goodwill)

ค่าความนิยม หมายถึง คุณค่าของกิจการที่ไม่มีรูปธรรม ซึ่งอาจเป็นชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือการบริหารกิจการที่ดี ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ซึ่งคุณค่านี้ทำให้ผลประกอบการของบริษัทนั้นดีอย่างที่เป็นอยู่
ค่าความนิยมถือเป็นสินทรัพย์รายการหนึ่ง ที่แสดงอยู่ภายใต้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน ในทางบัญชี ค่าความนิยมจะเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์เดียวคือเมื่อการซื้อกิจการเกิดขึ้น การซื้อกิจการในที่นี้ หมายถึง การที่บริษัทใหญ่เข้าซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อย บริษัทใหญ่ต้องบันทึกค่าความนิยมเป็นสินทรัพย์เมื่อบริษัทใหญ่ให้ราคาจ่ายซื้อบริษัทย่อยสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ได้รับ (ทั้งนี้สินทรัพย์สุทธิที่จะได้รับคือ สินทรัพย์มีตัวตนและไม่มีตัวตนที่สามารถระบุได้ ลบ หนี้สินที่เกิดขึ้นแล้วและที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ของบริษัทย่อยไม่ว่าสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้นได้บันทึกในงบดุลของบริษัทย่อยหรือไม่) ส่วนต่างระหว่างราคาจ่ายซื้อที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธินี้คือ ค่าความนิยม ที่บริษัทใหญ่ต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ในงบการเงินรวม (เมื่อบริษัทใหญ่ซื้อหุ้นของบริษัทย่อย) หรืองบการเงินเฉพาะกิจการ (เมื่อบริษัทใหญ่ซื้อสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยแทนการซื้อหุ้น)
ในการเข้าซื้อกิจการนั้น ตามปกติแล้ว มักเริ่มต้นด้วยการที่ผู้ซื้อ (ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นบริษัทใหญ่) จะนำงบดุลของบริษัทผู้ขาย (ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นบริษัทย่อย) มาตรวจสอบดูว่าสินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลนั้นมีมูลค่าตามบัญชี (book value) อยู่ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเท่าไร เพื่อที่จะนำมาประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สิ้น ณ วันนั้นๆ (เนื่องจากมูลค่ายุติธรรม (fair value) ของสินทรัพย์และหนี้สินแต่ละรายการมักจะแตกต่างไปจากมูลค่าตามบัญชีที่ระบุไว้ในงบดุล)

หลังจากที่รู้มูลค่ายุติธรรมแล้ว ผู้ซื้อกับผู้ขายก็จะเจรจาตกลงราคาจ่ายซื้อ ถ้าราคาจ่ายซื้อที่ตกลงกันสูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ ค่าความนิยมจะเกิดขึ้นและบันทึกโดยบริษัทใหญ่ (ในกรณีที่การซื้อกิจการนั้นทำให้เกิดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นที่ยังไม่ได้รับรู้ในงบดุลของบริษัทย่อย บริษัทใหญ่ต้องบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นก่อน จากนั้นจำนวนที่เหลือจึงจะสามารถรับรู้เป็นค่าความนิยมจากการซื้อกิจการได้)
ตามปกติ บริษัทใหญ่อาจไม่อยากที่จะบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ได้จากบริษัทย่อยเนื่องจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องถูกตัดจำหน่ายภายในระยะเวลาเป็นอย่างสูง 10 ปี แต่ค่าความนิยมนั้นไม่มีการตัดจำหน่าย
ดังที่กล่าวแล้วว่า เนื่องจากค่าความนิยมถือเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัดจึงไม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนของแต่ละปี อย่างไรก็ดี บริษัทใหญ่ต้องทำการทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมเช่นเดียวกับสินทรัพย์อื่นๆ ถ้ามูลค่าของค่าความนิยมที่บันทึกไว้สูงกว่าประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บริษัทใหญ่ต้องบันทึกการด้อยค่าของค่าความนิยมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที หากในปีต่อมาบริษัทใหญ่ประเมินว่าค่าความนิยมที่เคยด้อยค่าไป กลับมาให้ประโยชน์ในอนาคตสูงกว่าราคาตามบัญชี บริษัทใหญ่จะไม่สามารถกลับบัญชีการด้อยค่าของค่าความนิยมได้อีก (ซึ่งแตกต่างจากวิธีปฏิบัติของสินทัพย์ชนิดอื่น)


ค่าความนิยมที่เป็นลบ

ในกรณีที่บริษัทใหญ่สามารถต่อรองราคาจ่ายซื้อบริษัทย่อยได้ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ ส่วนต่างระหว่างราคาจ่ายซื้อกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิถือว่าเป็น "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ (Bargain Purchase)" ที่บริษัทใหญ่สามารถรับรู้ในงบกำไรหรือขาดทุนทันทีในงวดที่การซื้อกิจการเกิดขึ้น



ถ้าสงสัยตรงไหนหรืออยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมถามได้เลยนะครับ :B :mrgreen: :D
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"บริษัทใหญ่ต้องทำการทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมเช่นเดียวกับสินทรัพย์อื่นๆ"

มีวิธีทดสอบอย่างไรบ้างครับ
panida_k
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

nearly เขียน:"บริษัทใหญ่ต้องทำการทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมเช่นเดียวกับสินทรัพย์อื่นๆ"

มีวิธีทดสอบอย่างไรบ้างครับ
สำหรับค่าความนิยมนั้น บริษัทจะต้องทดสอบการด้อยค่าพร้อมกับสินทรัพย์อื่นๆค่ะ โดยที่บริษัทจะดูที่หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด (cash generating unit) ซึ่ง CGU ที่บริษัทเลือกจะต้องสามารถก่อให้เกิดเงินสดเป็นอิสระจากเงินสดของสินทรัพย์อื่นๆได้ค่ะ

คราวนี้พอรู้ CGU แล้ว บริษัทก็จะเปรียบเทียบระหว่าง
(1)มูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์รวมค่าความนิยม (Book value + Goodwill)
(2)มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหน่วยสินทรัพย์นั้น (Recoverable amount) ซึ่งมูลค่าอันนี้จะเอามาจากราคาขายสุทธิ (Net selling price) หรือมูลค่าจากการใช้ (Value in use) โดยที่บริษัทจะเลือกอันที่มูลค่าสูงกว่ามาค่ะ

ถ้าหากว่ามูลค่า (2) < (1) ก็จะเกิดการด้อยค่าขึ้นค่ะ บริษัทจะต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่า โดยบริษัทจะต้องแบ่งส่วนผลการขาดทุนจากการด้อยค่าไปลดมูลค่าตามบัญชีของ
(a) ค่าความนิยมของหน่วยสินทรัพย์นั้นเป็นอันดับแรก
(b) ถ้าหากมีส่วนที่เหลือ จึงนำไปลดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์อื่นๆในหน่วยสินทรัพย์นั้นค่ะ

ในปีถัดๆมา หากมูลค่า (2) > (1) บริษัทต้องกลับบัญชีผลขาดทุนจากการด้อยค่า (reverse impairment) ของสินทรัพย์อื่นๆที่ไม่ใช่ค่าความนิยมก่อนและบันทึกในกำไรหรือขาดทุนทันที
แต่บริษัทไม่สามารถทำการกลับบัญชีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมได้ค่ะ
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ :D
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18396
ผู้ติดตาม: 75

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ค่าความนิยมในปัจจุบันมีการตัดค่าเสื่อมแล้วใช่ไหมครับ
แล้วค่าสุดท้ายที่บันทึกในรายการของงบดุลเป็นเท่าไรละครับ 1 บาทหรือเปล่าครับ ที่ต้องคงไว้ในงบการเงิน
ระยะเวลาการตัดสูงที่สุดที่ทางบัญชีสามารถให้ตัดค่าเสื่อมได้กี่ปีละครับ
ทางบัญชีประเมินค่าความนิยมโดยใช้สิ่งใดประกอบละครับ เพราะตัวที่ซื้อบริษัทนั้นซื้อเกิดมูลค่าของสินทรัพย์อยู่แล้ว ทำให้เกิดค่าความนิยมมาปรับ เพื่อให้ราคาที่ซื้อและมูลค่าของสินทรัพย์ที่ซื้อมาเท่ากัน
สุดท้ายคือ ถ้าหากซื้อบริษัทในราคาที่ต่ำกว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ในบริษัท แล้ว ทางบัญชีบันทึกอย่างไงละครับ แล้ว อจ.เคยพบเจอ CASE นี้หรือไม่ครับ
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
guitarz
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอตอบเป็นข้อๆนะครับ
ค่าความนิยมในปัจจุบันมีการตัดค่าเสื่อมแล้วใช่ไหมครับ
แล้วค่าสุดท้ายที่บันทึกในรายการของงบดุลเป็นเท่าไรละครับ 1 บาทหรือเปล่าครับ ที่ต้องคงไว้ในงบการเงิน
ระยะเวลาการตัดสูงที่สุดที่ทางบัญชีสามารถให้ตัดค่าเสื่อมได้กี่ปีละครับ
สำหรับสินทรัพย์เหล่านี้จะเรียกว่าค่าตัดจำหน่าย (amortization) ครับ (คล้ายๆค่าเสื่อมสภาพซึ่งใช้กับพวกอาคารและอุปกรณ์มากกว่าครับ)
ค่าความนิยมนั้นมาตราฐานบัญชีปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้ลงค่าตัดจำหน่ายแล้วครับ แต่ในอดีตเคยมีการลงบันทึกในจุดนี้ครับ

ส่วน 1 บาทที่คุณ miracle พูดถึงนั้นมาจากที่กฏของกระทรวงพาณิชย์สำหรับอาคารและอุปกรณ์โดยให้เก็บไว้ในบัญชีที่ 1 บาท
เมื่อตัดค่าเสื่อมหมดแล้วยังมีการใช้งานอยู่ แต่มันไม่เกี่ยวข้องกับค่าความนิยมครับผม

ทางบัญชีประเมินค่าความนิยมโดยใช้สิ่งใดประกอบละครับ เพราะตัวที่ซื้อบริษัทนั้นซื้อเกิดมูลค่าของสินทรัพย์อยู่แล้ว ทำให้เกิดค่าความนิยมมาปรับ เพื่อให้ราคาที่ซื้อและมูลค่าของสินทรัพย์ที่ซื้อมาเท่ากัน
ค่าความนิยมนั้นเกิดจากราคาที่บริษัทจ่ายซื้อ สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม (fair value) ของสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทย่อย ลบ หนี้สินทั้งหมด
ดังนั้น ค่าความนิยมเกิดจากการที่บริษัทใหญ่ยินดีจ่ายเงินให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยเกินกว่าราคาสินทรัพย์สุทธิ (net asset)
เนื่องจากเกิดความแตกต่างในสินทรัพย์ที่ได้กับเงินที่จ่ายไป ดังนั้นก็จะเกิดส่วนต่างตรงนี้ซึ่งจะนำมาบันทึกเป็น goodwill ครับ

สุดท้ายคือ ถ้าหากซื้อบริษัทในราคาที่ต่ำกว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ในบริษัท แล้ว ทางบัญชีบันทึกอย่างไงละครับ
ในกรณีนี้จะทำให้เกิดกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ (Bargain Purchase) หรือที่แต่ก่อนเรียกว่าค่าความนิยมติดลบครับ
ซึ่งต้องทำการบันทึกลงในงบกำไรขาดทุน (income statement) ทันทีครับ :D
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ส่วน bargain purchase
ลงในงบกระแสเงินสดยังไงคับ
ทำไมต้องบังคับลงงบกำไรขาดทุนเพราะ
การซื้อมาในราคาต่ำกว่าราคายุติธรรม
ยังไม่เกิดกิจกรรมขายต่อจริง
กำไรจริงก็ยังไม่เกิด

ขอบคุณคับ งงมานานละ ตัวอย่างหุ้น ivl
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
guitarz
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

nut776 เขียน:ส่วน bargain purchase
ลงในงบกระแสเงินสดยังไงคับ
ทำไมต้องบังคับลงงบกำไรขาดทุนเพราะ
การซื้อมาในราคาต่ำกว่าราคายุติธรรม
ยังไม่เกิดกิจกรรมขายต่อจริง
กำไรจริงก็ยังไม่เกิด

ขอบคุณคับ งงมานานละ ตัวอย่างหุ้น ivl

ตัว bargain purchase ลงเป็นเหมือนรายได้เลยครับ
เป็นแบบนี้นะครับ (จาก IVL)

รูปภาพ

และก็จะมี Note มาขยายความต่อว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างครับ อย่างในที่นี้บริษัทมีการบันทึกค่า bargain purchase จากการซื้อกิจการหลายรายการครับ

รูปภาพ

ส่วนทำไมต้องลงในงบกำไรขาดทุนนั้น มันเป็นกฏตามมาตราฐานบัญชีครับผม
ทางบัญชีแล้วนั้นมองว่ากำไรนั้นเกิดขึ้นแล้วครับ เพราะได้รับสินทรัพย์สุทธิสูงกว่าเงินที่จ่ายไปในการซื้อกิจการครับ
ถ้าสมมุติว่ามาตราฐานบัญชีไม่บังคับให้เป็นแบบนี้ และอนุญาตให้ทำในรูปแบบอื่นนั้นก็อาจจะมีปัญหาตามมาได้ครับ

เช่นให้ตั้งเป็นหนี้สินไว้และเมื่อมีขายออกถึงค่อยรับรู้ ในกรณีนี้ก็ไม่ตรงกับคำนิยามของหนี้สินเพราะว่าไม่ได้มีภาระผูกผันซึ่งบริษัทต้องจ่ายในอนาคตครับ

หรือจะให้บันทึกเข้าเป็นรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (other comprehensive income) สุดท้ายก็ต้องแปลงกับมาเป็นกำไรอยู่ดีครับ ซึ่งถ้าให้เป็น OCI อยู่ก็อาจจะทำให้เกิดการแทรกแซงหรือตบแต่งบัญชีอีกว่าจะรับเป็นกำไรในงวดไหน อย่างไรครับ

หรือบางทีบริษัทซื้อกิจการโดยไม่ได้คิดว่าจะขายต่อออกไป ก็ไม่รู้จะไปบันทึกกำไรในปีไหน

เพราะฉะนั้นแล้วบันทึกเป็นกำไรไปเลยน่าจะเหมาะสมที่สุดครับ
คงพอเห็นภาพและนะครับ :B
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

โอ้ ขอบคุณมากๆเลยคับ
show me money.
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอร่วม share ด้วยครับ
ความจริงกฎทางบัญชีทุกอย่างทีเหตุผล ตรรกะทาง ธุรกิจ หลักเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียง "มาตรฐานกำหนด" เท่านั้น ทุกอย่างมีพัฒนาการ มีหลักคิด ที่เป็นเหตุเป็นผล ทำไมเลิก LIFO ก็มีเหตุผล ค่านิยมเลิกตัดแต่มาใช้การด้อยค่า ก็มีเหตุผล และทุกวิธีในอนาคตก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้า business paradigm เปลี่ยน
ในอดีต เราไม่เห็นตัวนี้เลย แต่ปัจจุบันเพราะกระแสการซื้อควบรวมกิจการมีมากขึ้น ผู้บริหารปัจจุบันอยากให้นักลงทุนรู้ว่าฉันเก่งนะซื้อได้ของราคาถูกๆ จากมูลค่ายุติธรรมที่จะต้องจ่าย ก็เลยคิดว่าต้องแสดงให้ดู เมื่อก่อน ซื้อ A 120 ก็ลง 120 แต่เดี๋ยวนี้บอกไม่ใช่ A นี่ 150 ฉันจ่ายแค่ 120 กำไรตั้ง 30

ลองดูสมการบัญชีง่ายๆ A = L + E
เมื่อก่อน Cash + CA(excl cash) + NCA = L + E
Cash (-120) + CA(excl cash) + INV(A120)+ NCA = L + E
เดี๋ยวนี้ Cash (-120) + CA(excl cash) + INV(A150)+ NCA = L + E + Prfit(30)

เห็นอะไรไหม
- ข้อดี เงินลงทุน A แสดงที่ FMV 150 เมื่อก่อน at cost (กรณีไม่ใช่บริษัทย่อย) เดี๋ยวนี้แสดงบนงบเป็น FMV
- ข้อน่าระวังแต่เราก็ไม่รู้ได้ ไอ้ FMV 150 นี่ราคาจริงไหม สร้างขึ้นระหว่างคนซื้อคนขายไหม
- ต้องสังเกตความเป็นไปได้ ว่า deal นี้มี logic แค่ไหน ทำไมคนขายถึงยอม ถ้ายอมขายแล้ว A มี synergy ในแง่ผู้ถือหุ้ย A ก็คุ้ม เพราะระยะยาว A จะมีกำไรเพิ่มขึ้นชดเชยค่าหุ้นที่รับน้อยลง ส่วนคนซื้อก็ happy แน่นอนจ่ายน้อย กำไรดี ปันผลงาม
- แต่ถ้าดูแล้วไม่เห็นว่ามี synergy หรือเป็นการโอนขายกันเองในกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย มี conflic of interest แสดงว่าปั่นราคา A เอบันทึกกำไรลมแน่นอน เดี๋ยวสักพัก เงินลงทุน A จะด้อยค่าในภายหลังได้
- ทุกอย่างมีสองด้านได้เสมอครับ ของดีจริงก็มี จะหลอกกันก็ได้ อีกรูปของกลบัญชี หรือ creative accounting
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เพิ่มเติมต่อ

ความจริงตอนกฎออกมาให้บันทึก Bargaing gain เป็นกำไรทั้งจำนวนในงบกำไรขาดทุน ก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วย
เพราะในระบบอุปถัมภ์แบบเมืองไทย ความสัมพันธ์นอกรูปแบบอาจทำให้บริษัทแต่งตัวเลขหลอกนักลงทุนกันเพลิน

แต่มาคิดดูอีกที บันทึกไว้อย่างนี้ก็ดีสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ เพราะมันเหมือนสัณญานเตือนให้เราวิเคราะห์บริษัทให้ใกล้ชิดขึ้น หรือหยิบ Bargaining gain ทั้งจำนวนมาปรับออกได้ง่ายขึ้น ดีกว่าให้ทยอยรับรู้แล้วปล่อยให้มันฝังอยู่ในงบกำไรขาดทุนทุกงวดในลักษณะของการ smooth income

อย่างที่เคยพูดไปแล้ว (สงสัยในคอร์สที่สอน) ว่าสิ่งที่พวกอาจารย์ๆ กำลังช่วยนักลงทุนคือบอกว่า แถวนี้มันมีเสือมาป้วนเปี้ยนอยู่ แม้เราจะกำจัดเสือไม่ได้ แต่ถ้านักลงทุนรู้แล้วว่ามันอยู่แถวนั้น นักลงทุนก็เลี่ยงเสีย อย่าเข้าไปยุ่งกับมัน หรือระวังตัว นักลงทุนก็จะไม่โดนเสือกัด

สงสารแต่นักลงทุนที่ไม่มีความรู้เท่านั้น... เล่นดูแต่ตัวเลขกำไร แล้วจะโดนเสือกัดไหมเนี่ย?
Likhit
Verified User
โพสต์: 270
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

กลัวโดนเสือตะปป เหมือนกันครับ อาจารย์ หลังจากที่ผมอ่านเองจากหนังสือที่ อ.เขียน

และสอบถามในเวป ทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่ผมรู้ยังน้อยมาก สมัยเรียนก็ไม่เคยลง account เลย

แม้แต่ตัวเดียวเพราะไม่ใช่วิชาบังคับ ไม่ว่า account 101หรือ 111 ไม่คิดว่าวันหนึ่งจะต้องมา

ใช้ อย่างไงก็แล้วแต่ ผมเป็นนักลงทุน ไม่ใช่ auditor บางเรื่องที่ลึกเกินไปก็ไม่จำเป็นต้องรู้

ผมแค่ต้องการเข้าไปแกะงบว่า ผู้บริหารสั่งให้ผู้ครวจสอบเอาความเลวร้ายไปซุกไว้ตรงใหน

บ้าง ซึ่งก็มีหลายจุดเหลือเกิน ถ้าศึกษากันจริงๆเรื่องงบการเงินนี่รายละเอียดเยอะมาก
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ฟังอย่างนี้แล้ว น่าจะเปิดคอร์ส ACCT 101 สำหรับนักลงทุน จับนักลงทุนมาเรียนพื้นฐานบัญชีที่จำเป็นใช้ในการอ่านงบ พวกค่าเผื่อหนี้สูญ การกลับบัญชี ค่าเสื่อม การด้อยค่า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี งบกระแสเงินสด ทีนี้มองทะลุหมดเลย ต่อไปจะได้เน้นเรื่องการวิเคราะห์อย่างเดียว
maestro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอสอบถามเกี่ยวกับรายการส่วนเกินระหว่างราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของบริษัทย่อยที่ได้มา และรายการผลต่างที่เกิดจากรายการภายใต้ควบคุมเดียวกัน (ในงบของ ivl) ว่าเกี่ยวข้องกับการซื้อกิจการอย่างไร และมีการบันทึกในงบการเงินอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

maestro เขียน:ขอสอบถามเกี่ยวกับรายการส่วนเกินระหว่างราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของบริษัทย่อยที่ได้มา และรายการผลต่างที่เกิดจากรายการภายใต้ควบคุมเดียวกัน (ในงบของ ivl) ว่าเกี่ยวข้องกับการซื้อกิจการอย่างไร และมีการบันทึกในงบการเงินอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
จากหมายเหตุข้อ 5 2554
(พันบาท)
Grupo Arteva, S. de R.L. de C.V. ประเทศเม็กซิโก 5(ค) 1,826,218
Indorama Polymers Poland Sp. z o.o. ประเทศโปแลนด์ 5(จ) 1,530,365
Guangdong IVL PET Polymer Company Limited 5(ฉ) 406,754
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Auriga Polymers Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา 5(ช) 2,855,832

Wellman International Limited ประเทศสาธารณรัฐไอร์แลนด์5(ฌ) 133,395
รวมกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ 6,752,564

ตัวอย่างการลงรายการเงินลงทุน Grupo Arteva, S. de R.L. de C.V. ประเทศเม็กซิโก ตาม 5(ค)

Dr เงินลงทุน 9,527,323
สิ่งตอบแทนในการซื้อค้างรับ 420,408

Cr สินทรัพย์ที่จ่ายตอบแทน 7,694,219
เงินสด 427,294
กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ 1,826,218

เงินลงทุนอื่นลงในหลักการเดียวกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
guitarz
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอตอบเพิ่มเติมนะครับ
maestro เขียน:รายการส่วนเกินระหว่างราคาทุนที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของบริษัทย่อยที่ได้มา
ตามที่ผมเข้าใจคือ ราคาทุน = เงินที่จ่ายไปในการซื้อกิจการ
อันนี้ทำให้เกิด Goodwill นะครับ (จ่ายไปมากกว่าสิ่งที่ได้มา)



ส่วน
maestro เขียน:รายการผลต่างที่เกิดจากรายการภายใต้ควบคุมเดียวกัน (ในงบของ ivl)
หรือที่ตาม note ในหัวข้อ Differences arising from common control transactions
จากnotesของIVL เขียน:The differences arising from common control transactions represent the excess of the book values of certain subsidiaries over their cost as of the date of their acquisition and have been recorded as a reserve. It is non-distributable and will be retained until the respective subsidiaries are sold or otherwise disposed of.
ภายใต้ควบคุมเดียวกัน/common control ในที่นี้หมายถึงการที่บริษัทลูก มีบริษัทแม่เป็นบริษัทเดียวกันก็จะเรียกว่าบริษัทลูกเหล่านั้นอยู่ภายใต้ควบคุมเดียวกันครับ

คือตามปกติแล้วในการซื้อขายกิจการ ถ้า จ่ายไปน้อยกว่าสิ่งที่ได้รับมา (gain on bargain purchase) จะลงเป็นกำไรในรอบปีนั้นๆเลยครับ
แต่ว่าหากเป็นการซื้อขายกิจการระหว่างบริษัทย่อย (เช่น บริษัท A มีลูก 2 ตัว บริษัท B C ) แล้วมีการซื้อขายกันในระหว่าง B C นั้นแล้วเกิดกำไร (bargain purchase) อาจนำไปสู่การตบแต่งบัญชีได้ครับ ดังนั้นจึงไม่ลงเป็นกำไรในทันที และจะลงก็ต่อเมื่อขายออกไปสู่ภายนอกครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

มองแบบนักบัญชีก็อย่างที่หลายๆคำตอบที่ผ่านมาว่ามันไปมาอย่างไร ลงอย่างไร รับรู้อย่างไร แต่ถ้ามองแบบนักวิเคราะห์ นักลงทุน ต้องมองมิติอีกด้าน

ความจริงว่าจะไม่โพสต์เท่าไร เพราะเรื่อวเหล่านี้เป็นวิธีคิด วิธีมอง วิธีอ่าน ตัวเลขและข้อมูลที่ผ่านงบฯ และเป็นส่วนที่ผมไม่ค่อยเปิดเผยเท่าไร เพราะเป็นเทคนิคส่วนตัวในการวิเคราะห์งบการเงิน

เอาหลักการก็แล้วกัน มองทางด้านบริษัทที่ขาย หากบริษัทที่ถือหุ้นเดิมอยู่ จะขายราคาต่ำกว่าราคาตลาดที่มีอยู่ทำไมในราคาที่ fiscount ถ้าคุณมีทองอยู้วันนี้คุณจะขายทองทิ้งในราคาต่ำกว่าตลาดหรือไม่ ถ้าคุณขาย คงมีเหตุผลไม่กี่ข้อ (มักจะเป็นเชิงลบ) เช่น ถือไว้ก็ไม่ได้ประโยชน์ มีหนี้สินที่ต้องชำระเลยต้องขาย (ต้องการเงิน) อยากเปลี่ยนไปมีอย่างอื่นที่น่าจะให้ประโยชน์มากกว่า เป็นต้น ในด้านคนซื้อจึงสามารถซื้อได้ราคาต่ำกว่า fair market value (FMV) ในด้านคนซื้อผมก็จะดูว่าซื้อมาแล้วได้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์อย่างไร เช่น ทำให้เกิด vertical or horizental strategies อย่างไร และ ROA จากเงินลงทุน > WACC บริษัทไหม ภาพรวม ROA ควรต้องสูงขึ้นจึงจะดีในระยะยาว ถ้าซื้อมาเพื่อขายต่อเอากำไรในอนาคตดูไม่ดีหรือถูกหลักการทำธุรกิจ ยกเว้นเป็นบรษัทประเภท venture capital ในการซื้อตำ มากๆ ได้กำไรต่อรองเยอะๆ ผมสงสัยหลายๆ เรื่อง ทั้งการแต่งกำไร และ ประโยชน์เชิงธุรกิจจริงๆ ของดีๆ ทำไมเจ้าของเดิมไม่เอาแล้วขายถูกๆ ดูไม่มีเหตุผลเท่าไร อาจซ่อนหนี้ในตัวบริษัทที่ขายก็ได้ ซื้อปั๊บหนี้โผล่ปุ๊บเป็นต้น

เอาเท่านี้ครับเป็นแง่คิด ดังนั้นในแง่การลงทุน การรู้วิธีการบัญชีลึกๆ ซับซ้อน ยังไม่สู้มองมิติทางด้านธุรกิจให้ออกอย่างแท้จริง เพราะคือเกราะป้องกันการลงทุนระยะยาวที่แท้จริง
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อาจารย์สรรพงศ์พยายามจะบอกว่า ถ้าบริษัทในตลาดแสดง "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ" ในงบกำไรขาดทุน ให้นักลงทุนระวังค่ะ เพราะนอกจากกำไรรายการนี้จะใหญ่และเป็น one-time gain แล้ว บริษัทยังสามารถสร้างตัวเลขได้ เพราะกำไรรายการนี้เกิดจาก M&A ที่บริษัทไปซื้ออีกบริษัทหนึ่งด้วยราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม อย่างที่อาจารย์สรรพงศ์ว่า กำไรรายการนี้ไม่ค่อย make sense เพราะของดีและถูกมีที่ไหน? ถ้าผู้ถือหุ้นเดิมยอมขายถูกก็อาจแสดงให้เห็นว่าผู้ถือหุ้นอยากทิ้งหุ้นเต็มแก่ คงต้องมีอะไรสักอย่างที่ทำให้ราคาขายต่ำกว่ามูลค่าจริง
investor9000
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 19

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมสงสัยว่า Goodwill จากการซื้อธนาคารนครหลวงไทยกว่า 14,000 ล้านบาท
มันจะคงอยู่ในงบไปตลอดกาลหรือไม่ หากวันหนึ่งธนชาติเกิดจะขายส่วนนี้ขึ้นมา
แล้วได้กำไรส่วนเกินจาก BV มาไม่ถึง 14,000 ล้านบาท เช่นได้กำไรมาแค่ 8,000 ล้านบาท
ดังนั้นธนชาติจะต้องบันทึก Loss ทันที 6,000 ล้านเลยใช่ไหม แล้วทำไมไม่มีการตัดจ่าย
ค่าความนิยมนี้ออกไป และปล่อยให้ราคาตลาดของ ธนชาติ สะท้อนความเป็นจริงออกมาเอง
มากกว่าจะปล่อยให้มี ค่าความนิยมมโหฬารถึง 14,000 ล้านบาท
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

investor9000 เขียน:ผมสงสัยว่า Goodwill จากการซื้อธนาคารนครหลวงไทยกว่า 14,000 ล้านบาท
มันจะคงอยู่ในงบไปตลอดกาลหรือไม่ หากวันหนึ่งธนชาติเกิดจะขายส่วนนี้ขึ้นมา
แล้วได้กำไรส่วนเกินจาก BV มาไม่ถึง 14,000 ล้านบาท เช่นได้กำไรมาแค่ 8,000 ล้านบาท
ดังนั้นธนชาติจะต้องบันทึก Loss ทันที 6,000 ล้านเลยใช่ไหม แล้วทำไมไม่มีการตัดจ่าย
ค่าความนิยมนี้ออกไป และปล่อยให้ราคาตลาดของ ธนชาติ สะท้อนความเป็นจริงออกมาเอง
มากกว่าจะปล่อยให้มี ค่าความนิยมมโหฬารถึง 14,000 ล้านบาท

ค่านิยมปัจจุบันไม่ตัดจำหน่ายแต่ต้องประเมินการด้อยค่าแทน ถ้ามูลค่าเงินลงทุนลดลง (ค่านิยมลดลง) ก็จะมีการตัดจำหน่ายค่านิยมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน สมมติว่าการประเมินมูลค่าเป็นไปอย่างเหมาะสม การลดลงของค่าความนิยมย่อมแสดงว่ารายได้หรือกระแสเงินสดในอนาคตของธนาคารนครหลวงไทยลดลงกว่าวันที่ซื้อ เงินลงทุนกำลังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนกว่า 14,000 ล้านบาท PBV ย่อมควรจะประเมินลดลง (แม้จะคิดค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่าเงินลงทุนรายงวดแล้วก็ตาม)
investor9000
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 19

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:
investor9000 เขียน:ผมสงสัยว่า Goodwill จากการซื้อธนาคารนครหลวงไทยกว่า 14,000 ล้านบาท
มันจะคงอยู่ในงบไปตลอดกาลหรือไม่ หากวันหนึ่งธนชาติเกิดจะขายส่วนนี้ขึ้นมา
แล้วได้กำไรส่วนเกินจาก BV มาไม่ถึง 14,000 ล้านบาท เช่นได้กำไรมาแค่ 8,000 ล้านบาท
ดังนั้นธนชาติจะต้องบันทึก Loss ทันที 6,000 ล้านเลยใช่ไหม แล้วทำไมไม่มีการตัดจ่าย
ค่าความนิยมนี้ออกไป และปล่อยให้ราคาตลาดของ ธนชาติ สะท้อนความเป็นจริงออกมาเอง
มากกว่าจะปล่อยให้มี ค่าความนิยมมโหฬารถึง 14,000 ล้านบาท

ค่านิยมปัจจุบันไม่ตัดจำหน่ายแต่ต้องประเมินการด้อยค่าแทน ถ้ามูลค่าเงินลงทุนลดลง (ค่านิยมลดลง) ก็จะมีการตัดจำหน่ายค่านิยมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน สมมติว่าการประเมินมูลค่าเป็นไปอย่างเหมาะสม การลดลงของค่าความนิยมย่อมแสดงว่ารายได้หรือกระแสเงินสดในอนาคตของธนาคารนครหลวงไทยลดลงกว่าวันที่ซื้อ เงินลงทุนกำลังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนกว่า 14,000 ล้านบาท PBV ย่อมควรจะประเมินลดลง (แม้จะคิดค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่าเงินลงทุนรายงวดแล้วก็ตาม)
ขอทราบวิธีการประเมินมูลค่า Goodwill ด้วยครับ ทำอย่างไรเรา(ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน) จะทราบได้ว่าการประเมินมีความเหมาะสมถูกต้องเป็นธรรม และไม่เป็นการสมยอมกันระหว่างผู้บริหารกับผู้สอบบัญชี
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 11

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

investor9000 เขียน:
sun_cisa2 เขียน:
investor9000 เขียน:ผมสงสัยว่า Goodwill จากการซื้อธนาคารนครหลวงไทยกว่า 14,000 ล้านบาท
มันจะคงอยู่ในงบไปตลอดกาลหรือไม่ หากวันหนึ่งธนชาติเกิดจะขายส่วนนี้ขึ้นมา
แล้วได้กำไรส่วนเกินจาก BV มาไม่ถึง 14,000 ล้านบาท เช่นได้กำไรมาแค่ 8,000 ล้านบาท
ดังนั้นธนชาติจะต้องบันทึก Loss ทันที 6,000 ล้านเลยใช่ไหม แล้วทำไมไม่มีการตัดจ่าย
ค่าความนิยมนี้ออกไป และปล่อยให้ราคาตลาดของ ธนชาติ สะท้อนความเป็นจริงออกมาเอง
มากกว่าจะปล่อยให้มี ค่าความนิยมมโหฬารถึง 14,000 ล้านบาท

ค่านิยมปัจจุบันไม่ตัดจำหน่ายแต่ต้องประเมินการด้อยค่าแทน ถ้ามูลค่าเงินลงทุนลดลง (ค่านิยมลดลง) ก็จะมีการตัดจำหน่ายค่านิยมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน สมมติว่าการประเมินมูลค่าเป็นไปอย่างเหมาะสม การลดลงของค่าความนิยมย่อมแสดงว่ารายได้หรือกระแสเงินสดในอนาคตของธนาคารนครหลวงไทยลดลงกว่าวันที่ซื้อ เงินลงทุนกำลังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนกว่า 14,000 ล้านบาท PBV ย่อมควรจะประเมินลดลง (แม้จะคิดค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่าเงินลงทุนรายงวดแล้วก็ตาม)
ขอทราบวิธีการประเมินมูลค่า Goodwill ด้วยครับ ทำอย่างไรเรา(ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน) จะทราบได้ว่าการประเมินมีความเหมาะสมถูกต้องเป็นธรรม และไม่เป็นการสมยอมกันระหว่างผู้บริหารกับผู้สอบบัญชี
เรื่องนี้ตอบยากเพราะเป็นเรื่องซับซ้อนและเป็นแดนสนธยาที่ต้องอาศัยความเชื่อใจบริษัท ผู้ประเมิน ผู้สอบบัญชี และผู้กำกับดูแล

แต่จะพยายามอธิบายคร่าวๆ ให้ฟังเพื่อให้เห็นภาพว่ามันซับซ้อนอย่างไร

การประเมินค่าความนิยม Goodwill ทำขึ้น 2 ลักษณะ

ลักษณะแรกทำเพื่อบันทึก GW ในงบรวมวันที่ บ.ใหญ่เข้า take บ.ย่อย จำนวน GW ที่คำนวณได้จะถูกบันทึกในงบรวมและจะแสดงด้วยจำนวนนี้ไปจนกว่าจะด้อยค่า

ลักษณะที่ 2 คือการประเมินการด้อยค่าที่ต้องทำทุกปี ถ้าพบว่ามีการด้อยค่าก็ต้องบันทึกลด GW และการขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำไรขาดทุนทันที (การด้อยค่าของ GW จะไม่มีการกลับบัญชี)

ต่อไปนี้เป็นข้อกำหนดในการประเมิน GW

การประเมินค่าความนิยม GW ณ วันที่ซื้อกิจการ (เป็น GW ที่แสดงในงบการเงินรวมก่อนพิจารณาการด้อยค่า)
1. ทำวันที่เกิดการซื้อกิจการ เป็นวันที่บริษัทบันทึก GW เริ่มแรก
2. ตามปกติวัดตามสูตรนี้ (ถ้าใหญ่ซื้อหุ้น 100% ของย่อย)
GW = ราคาที่จ่ายซื้อ - (มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ระบุได้ - มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินที่ีะบุได้)
3. ถ้าใหญ่ไม่ได้ซื้อหุ้นย่อยทั้ง 100% เรื่องจะยุ่งขึ้นอีก เพราะต้องนำ "ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม (NCI)" เข้่ามาเกี่ยวด้วย แถมวิธีวัดมูลค่า NCI ก็ยังทำได้ 2 วิธี โดยวิธีทั้ง 2 ทำให้ค่าความนิยมที่บันทึกมีจำนวนแตกต่างกัน (วิธีคิด NCI จะคิดจากสินทรัพย์สุทธิของย่อยก็ได้ หรือคิดจากมูลค่ายุติธรรมของหุ้นที่ NCI ถืออยู่ก็ได้) ถ้าใหญ่ไม่ได้ซื้อย่อย 100% สูตรการคำนวณค่าความนิยมเป็นดังนี้
GW = ราคาจ่ายซื้อ + NCI - มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ของย่อย
โปรดสังเกตว่า การวัดค่า NCI ต่างวิธีทำให้ GW ที่บันทึกในงบรวมมีจำนวนต่างกัน

การประเมิน GW หลังการซื้อกิจการ (ประเมินการด้อยค่่า)
บริษัทใหญ่ต้อง
1. กระจาย GW ให้กับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด (Business Unit ที่ก่อให้เกิดรายได้)
2. วัดว่า กระแสเงินสดคิดลด DCF ที่จะได้รับในอนาคตของ BU แต่ละหน่วย ต่ำกว่ามูลค่าที่บันทึกในงบรวมหรือไม่ ถ้าต่ำก็แสดงว่า GW เกิดการด้อยค่า (ถ้าจำนวนที่ด้อยค่าสูงกว่า GW บริษัทต้องลดจำนวนสินทรัพย์ของ BU นั้นลงโดยวิธีปันส่วน)

นี่เป็นวิธีคร่าวๆ ในการประเมินการด้อยค่าของค่าความนิยม การประเมินโดยละเอียดอยู่ในมาตรฐานการบัญชีเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ (ม.36)

เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

การประเมินมูลค่าขอลค่านิยม ในฐานะนักลงทุนทำได้ยากครับ เขาลงในบัญชีเท่าไรก็เท่านั้น เป็นเรื่องที่ทางบริษัทต้องประเมินมูลค่า ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากการหาค่า PV ของกระแสเงินสดในอนาคต (future cash flow) ซึ่งผู้บริหารมักจะมองในด้านดีไว้ก่อน เขาก็จะต้องไปต่อรองกับผู้สอบบัญชีเองว่า ที่เขาใช้ตัวเลขแบบนี้มีเหตุผลพอเชื่อได้แค่ไหน เจอผู้สอบบัญชีที่มีความรอบรู้ทางการเงินก็เหนื่อยหน่อย แต่ส่วนมากผู้สอบบัญชีมักจะเถียงไม่ได้ เว้นแต่บางตัวเลขมี่ดูเว่อร์ๆมากเท่านั้น ในทางการเงินแค่บางที่ค่าคิดลดหายไปสัก 0.5% มูลค่าปัจจุบันก็เพิ่มขึ้นมามากแล้ว หลายคนจึงอาจว่าอย่างนี้เราใช้ข้อมูลการเงินทำอย่างไรล่ะ ถูกหลอกได้อย่างนี้ ในด้านการวิเคราะห์เพื่อลดความเสี่ยงในการซื้อหุ้นในราคาที่ไม่ถูกหลอกก็คือ ผมจะวิเคราะห์จากภาพรวม โดยวิเคราะห์อัตราส่วน ROA = EBIT/TA จากงบรวมครับ ROA ใช้ EBIT ไม่ใช้ NI (กำไรสุทธิ) ส่วน TA คือสินทรัพย์รวมเฉลี่ย เปรียบเทียบกับ ROA จากงบเดี่ยวโดยปรับเอาเงินลงทุนจากบริษัทย่อยออก การไม่เอากำไรสุทธิเพราะตัดเรื่องอัตราผลตอบแทนจากโครงสร้างทุนออก (capital structure) หาก ROA ในงบรวมสูงกว่า ROA งบเดี่ยว แสดงว่า บริษัทย่อยมีความสามารถในการทำกำไรสุงกว่า แสดงว่าการซื้อเข้ามาเกิดประโยชน์ต่อบริษัท เรียกได้ว่ามี synergy ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ถ้าเป็นไปได้ควรวิเคราะห์อีก คือวิเคราะห์เทียบย้อนหลังเอาแค่ไม่เกินสองปี ทำแบบเดียวกันเพื่อดูว่าแนวโน้ม ROA จากงบรวมดีขึ้นไหม งบเดี่ยวอาจ drop ลงมาก แต่งบรวม drop น้อยกว่า แสดงว่าบริษัทย่อยยังดี ถ้าตรงข้ามแสดงว่าย่อยน่าจะเริ่มมีความสามารถลดลง ถ้อย่างนี้เมื่อเห็นว่ายังไม่มีการรับรู้การด้อยค่าก็ต้องระวังไว้มากๆ จะซื้อก็คิดดีๆ ต้อผื่ส่วนลดมูลค่าตามแนวทางบัพเฟตต์ไว้มากๆ
โพสต์โพสต์