Experts talk: Update สถานการณ์ในตลาดหุ้นเวียดนาม

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2637
ผู้ติดตาม: 269

Experts talk: Update สถานการณ์ในตลาดหุ้นเวียดนาม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สัมมนา “วันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม” 16 กันยายน 2561
Experts talk: Update สถานการณ์ในตลาดหุ้นเวียดนาม โดย
1) คุณธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ หรือ คุณเอก (ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศเวียดนาม, ประสบการณ์14 ปีในการทำงานที่เวียดนาม และ 5 ปีในตลาดหุ้นเวียดนาม)
2) คุณวิศวกร ปันยารชุน หรือ คุณแจ๊ค (นักลงทุนหุ้นคุณค่า ประสบการณ์ 9 ปีในตลาดหุ้นเวียดนาม)
พิธีกร: คุณจิตติมา ทวาเรศ
สรุปเนื้อหาโดย Amorn & Pornchanok ( N’ Pae )

Q1: ถามคุณเอก ซึ่งทำงานอยู่ที่นั่น พึ่งบินมาเมืองไทยเมื่อวานว่า เวียดนามตอนนี้เป็นอย่างไร
คุณเอก : ผมอยู่ที่เวียดนามมา14 ปี สมัยก่อน ตอนมาแรกๆเจอแต่ยุง แมลงวัน และไฟดับทุกวัน
เดี๋ยวนี้เดินในสวนสาธารณะ หายุงหรือแมลงไม่ได้สักตัว และ ไม่มีไฟดับเลย
เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ตลาดเวียดนามผันผวนมากเพราะ เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง ค่าเงิน Đong devalue แต่ตอนนี้กลับกัน เงินเฟ้อต่ำ ดอกเบี้ยต่ำ ค่าเงินเค้าค่อนข้างนิ่งมา 4-5 ปีแล้ว เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย เงินเฟ้อลดลง เศรษฐกิจอีก 10-15 ปีข้างหน้าจะเป็นช่วงปีทองของเวียดนาม GDP น่าจะโตกว่านี้อีกเป็น 2-3 เท่าตัว เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่ารัฐบาลเวียดนามมาถูกทางแล้ว ดังนั้น Market cap ของตลาดหุ้นเวียดนามโตกว่านี้แน่นอน
มองเวียดนามเหมือนไทยสมัยปี 1990 ช่วงเราเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย
Fundamental ตอนนั้นของไทยเหมือนกันกับเวียดนามตอนนี้
ตอนปี 1998 ไทยเปิดเสรีทางด้าน financial market แล้วแป็ก เพราะโดนโจมตีค่าเงิน แต่เวียดนามฉลาดพอที่จะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของไทย แล้วเอาไปปรับปรุงแก้ไข
ตอนนี้ fundamental ต่างๆของเวียดนามดีกว่า เค้ากลายเป็นผู้ส่งออกมากกว่านำเข้า ผ่านไป 8 เดือนแรก (ปี 2018) เวียดนามเกินดุลการค้ากำไร $ 4,700 ล้านเหรียญถือเป็นครั้งแรกของเวียดนาม
2-3ปีก่อน ได้แค่ 2,000-3,000 ล้านเหรียญ และเดือนที่ผ่านมา (สิงหา) ส่งออก $ 23.5 Billion สูงกว่าส่งออกของไทยที่เฉลี่ยออกมาแล้วเดือนนึงยังไม่ถึง $ 21 Billion ต่อไปนี้เวียดนามเริ่มส่งออกมากกว่าไทยแล้ว
ตลาดหุ้นจะโตตาม Size ของ GDP และโตประมาณ 100-120% ตอนนี้ตลาดหุ้นเวียดนามอยู่ที่ 70% ของ GDP ถ้ามองยาวๆอีก 5-10 ปี จะไปได้อีกไกล
ส่วนไทย ประชาชนแก่ตัวลง บริโภคน้อยลง ไม่มีการลงทุน ส่งออกก็ไม่โต ตอนนี้เราพึ่งพาการลงทุนจากภาครัฐเป็นหลัก หนี้สาธารณะก็เพิ่มสูงขึ้น เพิ่มงบประมาณขาดดุล (การใช้งบประมาณขาดดุล จะต้อง finance ด้วยหนี้สาธารณะ)
แต่เวียดนาม วันนี้ประชากร 95 ล้านคน อยู่ในวัยหนุ่มสาว มีการบริโภคสูง ตลาดก็โตเร็ว
ชนชั้นกลางประมาณ 14 ล้านคนที่ครอบครัวมีรายได้เกิน $1,000 ต่อเดือน ถ้าดูจากประเทศที่กำลังพัฒนามีประชากรสัก 30-40%เป็นคนชั้นกลาง
ถ้าคนชั้นกลางมีมากขึ้น เกิด Urbanization ขึ้น และมี Modern Trade ตามมา
ส่วนประเทศไทย หนี้ครัวเรือน (Household debt) 80% ของ GDP การบริโภคจะเพิ่มขึ้นไม่ได้มาก (เพราะทุกบ้านมีหนี้ในการซื้อรถ ซื้อบ้านหมดแล้ว ไม่มีตังค์ไปซื้ออย่างอื่น)
แต่ เวียดนามมี consumer loan แค่ 8-10% (เค้ายังไม่มีการประกาศ household debt ออกมา) การบริโภคมีโอกาสโตมากขึ้น ส่งผลให้การลงทุนจะเพิ่มขึ้นมหาศาล
ตอนนี้มีแต่คนขอเงินกู้สร้างโรงงานแต่หาที่สร้างไม่ได้
ปีที่แล้วเงินลงทุนจากต่างชาติ ไหลมาลงทุน 36,000 ล้านเหรียญ เป็นเงิน FDI ล้วนๆ (ไม่ใช่เงินลงทุนเล่นหุ้น)
เป็น Project ที่ Commit ว่าจะสร้าง Fix asset ซึ่งจะเกิดการสร้างงานและก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มการผลิตและส่งออก
การลงทุนปีนี้อีก 1.2 ล้านล้านบาท จะ generate รายได้ขนาดไหน ยิ่งถ้าลงทุนแบบนี้อย่างต่อเนื่อง อนาคต GDPของเวียดนามน่าจะใหญ่กว่าไทย
ตอนนี้ธนาคารกลางของเวียดนามมีนโยบายคุมเงินเฟ้อให้ต่ำ ดอกเบี้ยให้ต่ำแค่ 3-4% ทำให้ต้นทุนทางการเงินของคนที่ต้องกู้เงินลงทุนก็จะต่ำ ในขณะเดียวกันค่าเงิน Đong ไม่มีภาระต้อง Devalue เพราะนักลงทุนต้องการ (1) cost of capital ต่ำ เงินเฟ้อต่ำ (2) และยอดขายต้องสามารถ predict ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลเวียดนามพยายามทำมา ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้การเข้ามาลงทุนทั้งนั้นเลย

หุ้นตกแบบนี้ ต้องรีบซื้อสิครับ

Q2: ถามพี่แจ๊คว่าตลาดหุ้นตกหนักในปีนี้ ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อเวียดนามมากน้อยแค่ไหน
คุณแจ๊ค : ออกตัวไว้ก่อนว่าผมและคุณเอกอวยประเทศเวียดนามมาก (โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟัง) เพราะว่าตามประเทศนี้มานาน
โดยปกติตลาดหุ้นจะสะท้อนเศรษฐกิจล่วงหน้า 6 เดือน
1. ช่วงต้นปีเศรษฐกิจดีมาก ( GDP ครึ่งปีแรกสูงสุดในรอบสิบปี ดัชนีหุ้นเลยขึ้นเมื่อปีที่แล้ว 50%)
2. Moody’s Investor Service ได้ upgrade เวียดนามขึ้นมาขั้นนึง ทำให้ตลาดหุ้นโตต่อได้
3. ดัชนีที่สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของเวียดนามดีกว่าไทย และสูงที่สุดในรอบสิบปี
4. มีการนำเงินลงทุน (FDI)เข้ามามาก ทำให้เวียดนามเป็น manufacturing hub ของโลก
ญี่ปุ่นมาช้าแต่อัดเงินหนักมาก ปัจจัยที่ต่างชาติมาลงทุนเยอะเป็นผลมาจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTA (Free trade agreement ) และเวียดนามมีแผนทำ FTA อีก 18 ประเทศ ทำให้มีการลงทุนจากต่างประเทศอีกเยอะ
Industrial park เวียดนามวางแผนไว้ว่าจะมีถึง 300-400 แห่ง ในขณะที่เมืองไทยมีไม่ถึง 50 แห่ง
ตลาดหุ้น peak ตอนเดือน มีค คุณแจ๊คเริ่มรู้สึกไม่ดี เพราะทุกคนมองดีมากๆกันหมด
แต่ไม่คิดว่าเป็นฟองสบู่ของตลาดหุ้น เพราะ PE ตอนนั้น20 เท่า ก็ยังไม่ถือว่าสูงแต่หุ้นบางตัวขึ้นมา 100% แล้ว มองย้อนกลับไปสมัยก่อน 2007-2008 เทรดกันที่ PE 40 กว่าเท่า แต่ขนาดตลาดเล็กกว่านี้ 4-5 เท่า
ประเด็นคือมูลค่าซื้อขายตอนช่วง มีค 2018 เท่าๆกับปี 2008 แสดงว่าตลาดหุ้นร้อนแรงเกินไป
ดังนั้นพอมีข่าวเกี่ยวกับ emerging market มากระทบ และก่อนหน้านั้น MSCI มีการ reallocation asset โดยเพิ่มสัดส่วนจีนเข้าไป เลยต้องลดสัดส่วนลงทุนในประเทศใน Emerging Market รวมทั้งข่าวค่าเงินประเทศใน Emerging market มีปัญหาอย่างเช่น อาเจนติน่า ตุรกี แต่จากเหตุการณ์นั้น ประเทศเวียดนามกับไทย ถือว่าโดนกระทบน้อยมาก รวมกับข่าวเก็งกำไรค่าเงิน
ฝรั่งกำไรพอสมควรหลังจากลงทุนมา 3-4 ปี เลยขายทำกำไรออกมา ทำให้หุ้นเวียดนามตก 20% กว่า
ตอนนี้ ถ้ามองผ่านสายตาผู้จัดการกองทุนของ Dragon capital ที่มองว่าตลาดเวียดนามมี PE ค่อนข้าง Ok แล้ว

บลจ หลายๆที่ในไทยออกกองทุนออกมาตอน performance ดีๆเมื่อปลายปี2017 ตอนนั้นยังน่าสนใจ ยิ่งตอนนี้ตลาดหุ้นลงมา 20% ทำให้ดูน่าสนใจขึ้นไปอีก

Q3 : ถามคุณเอกและคุณแจ๊คว่าตอนหุ้นตกแรง ได้ทำอะไรไปบ้าง การเคลื่อนไหวของหุ้นใหญ่ กลาง เล็กในตลาดเป็นอย่างไรในช่วงนั้น
คุณเอก: หุ้นประเภท VietCom bank, SSI ที่มี fundamental แข็งแรง ราคาจะไม่ค่อยตก ต่างจากพวกที่พื้นฐานไม่แข็งแรงอย่างเช่นพวก Vietin Bank (CTG) แบบนี้จะตกแรง ผมเล่นแต่หุ้นที่เป็น Fundamental ตัว Top อย่างเดียว
และผมขายหุ้นไปช่วง1,200 ตอนนี้กลับเข้ามาซื้อเพิ่มไปเรื่อยๆ
คุณแจ๊ค ส่วนคุณแจ๊คบอกว่า ผมไม่ได้ขายเลย เงินส่วนใหญ่ยังอยู่ที่นั่น โครงสร้างตลาดหุ้นเวียดนามขึ้นไป 3-4 ปีแล้ว แต่ขึ้นเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) เป็นพวก VN30 ขึ้น แต่หุ้น Mid-small cap ไม่ค่อยขึ้น
สถาบัน กองทุนไม่ค่อยถือหุ้น Mid-small cap และการเคลื่อนไหวของนักลงทุนต่างประเทศมีผลต่อดัชนีโดยตรง นักลงทุนรายย่อยที่เวียดนามจะซื้อตาม
มีข้อสังเกตว่า ช่วงที่ผ่านมา หุ้น Mid – small cap กำไรดีไม่เท่ากับหุ้น Big cap
และช่วงครึ่งปีแรกหุ้นที่ขึ้นเป็น Big cap – โดยหุ้นกลุ่ม Real estate, Bank
ตอนนี้ผมเท่าทุน (หุ้นขึ้นตอนต้นปี และ ตอนนี้ตกกลับมาที่เดิม) เพราะไม่ได้ขายออก แต่โดยรวมถือว่า ok เพราะตลาดขึ้นมาสองปีแล้ว ผลประกอบการก็ดี

Q4 : ถามพี่เอก ภาพรวมของพอร์ตเป็นอย่างไร
คุณเอก : ตลาดหุ้นเวียดนามอยู่ในกลุ่มตลาดชายขอบ (Frontier market) , แต่ว่าบริษัทเล็กๆจะมี transparency หรือ Corporate Governance สู้ไทยไม่ได้ จึงค่อนข้างระวัง เลยเล่นหุ้นพวกตัว Top เอาไว้ก่อน ซึ่งจะถูกติดตามอย่างดีจากนักวิเคราะห์ และรัฐบาล ผบห จะทำอะไรที่หวือหวามากไม่ได้
ผมจะเลือกเฉพาะหุ้นที่โตตาม GDP ที่โตไปเรื่อยๆ
ซึ่งเหมือนไทย ตอนนั้น หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ก็ซื้อ SCG, PTT ในช่วงเศรษฐกิจไทยเริ่มโต ผมซื้อ Top of sector หรือไม่ก็ซื้อพวกกองดัชนี หรือ ETF ไปเลย
ผมไม่ได้กู้เงินมาลงทุน เลยไม่มีความเสี่ยง
และขอขยายความเรื่อง FDI ว่าทำไมมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามากมายขนาดนี้
เพราะมี Factors ที่สนับสนุนการเข้ามาลงทุนของ FDI มีดังนี้ ซึ่งเวียดนามมีทั้งหมดคือ
1. การเมืองต้องนิ่ง ระบบ incentive ต่างๆที่เคยสัญญาไว้กับนักลงทุนจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงกลางทาง
2. ตลาด (ประชากร) ใหญ่พอสมควร มีการเติบโตของตลาดภายในประเทศ (เพราะการไปลงทุนเปิดโรงงาน ต้องขายคนระดับร้อยล้านคน ได้วอลุ่ม ได้กำไร)
3. มีแรงงานเพียงพอ
4. ต้นทุนการผลิตในภาพรวม ต้องถูกกว่าที่เดิม ถึงจะคุ้มค่าในการย้ายฐานมา
5. มี FTA ( อย่างที่พี่แจ๊คบอก ) ตัวนี้สำคัญมากๆ เพราะเอื้อประโยชน์ในการส่งออกมากๆ ยกตัวอย่าง เวียดนามเป็นฐานในส่งออกไปยุโรป อเมริกา พอมี FTA ได้ภาษีนำเข้าถูกว่าที่อื่น เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง เวียดนามส่งไปเสียภาษีแค่ 10% และ เวียดนามจะทยอยลดเหลือ 0% แต่ ไทยโดนเก็บภาษี 25% ในอนาคตไทยจะสู้กับเวียดนามอย่างไง
6. Infrastructure ต้องดี ถนนหนทางต้องดี ไฟไม่ดับ น้ำต้องไหล
ทำไมนักลงทุนต่างชาติไม่มาไทย เพราะไทยมีแค่ Infrastructure เพียงอย่างเดียวที่ดี ที่เหลืออีก 5 อย่างไม่มีเลย
ผมมั่นใจในตลาดหุ้นเวียดนาม และมั่นใจว่าไม่เกิด crisis เหมือนเกิดที่ไทยเมื่อปี 1998 เพราะอะไร ...มาดูกัน
สมัยนั้นไทย (ปี 1998) เราเสียหายมากเพราะมีการปล่อยให้กู้ USD ได้อย่างเสรี โดยส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะสั้น แล้วพอกู้มาเยอะๆ เอามาเปลี่ยนเป็นเงินบาท เอาไปฝากประจำ กู้มา 6% เอาไปฝากได้ 11% ได้กำไร 5% โดยไม่ต้องเอาเงินมาทำมาหากิน แล้วอีกด้านไปเปิด Thai baht offshore พอเราทำแบบนั้น ... Soros เห็นโอกาสเลยโจมตีค่าเงินบาท เพราะฝั่งนึงดึงเงินกลับ อีกฝั่งปล่อยกู้ hedge ตัวเอง...ทำให้เกิด Crisis ขึ้นมา
แต่สำหรับเวียดนามให้กู้เงินดอลลาร์กับธุรกิจได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ต้องเป็นผู้ส่งออกเท่านั้น เพราะไม่เค้าไม่ต้องการให้ภาระของการกู้เงิน USD ไปเป็นภาระต่อ international reserve ของเค้า ธุรกิจต้องสามารถนำ USD ที่กู้ไป กลับมาคืนหนี้ตัวเองได้
2. ลงทุนในเวียดนาม ต้นทุนการกู้ USD ถูกกว่ากู้ Đong ธุรกิจสามารถกู้ USD มาใช้ในเวียดนามได้ แต่ต้องขออนุมัติจาก แบงค์ชาติ เวียดนามก่อน เพราะทุกปีเค้ามีโควต้า เพื่อการจัดการ FX
3. การทำ Đong offshore จะถูกห้ามเด็ดขาด จะเปิด LC เป็นเงิน Đong, จะไปทำ non-US forward ไม่ได้ทั้ง นั้นทางการไม่รับรู้
จากทั้งสามข้อนี้เป็นการปิดประตูความเสี่ยง จะเกิดCrisisได้อย่างไร
ทำให้ผมมั่นใจว่า อีก 10-15ปี เวียดนามจะแซงไทย

Q5: ถามพี่แจ๊ค ความเสี่ยงที่เคยประสบมา และ มีการปิดความเสี่ยงไหม
คุณแจ๊ค : ความเสี่ยงในเรื่องการลงทุนมี 4 ข้อ
1. Regulation เวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เราต้องตาม update เราต้องมองทั้งผลกระทบในแง่บวกและลบ
2. ข้อสังเกตผมเอง คนเวียดนามมีความกล้าแบบบ้าบิ่น พบว่าคนเวียดนามมีความอยากทำธุรกิจมากกว่าคนจีน ตอนขอ FTA เขาไม่มีความพร้อมแต่สมัครคนแรกเลย เพราะเค้าเห็นโอกาสทางการค้า ยกตัวอย่างหุ้น Vincom ตอนที่เข้าไปซื้อทำอสังหา ทำห้างคล้าย CPN+LH (ตอนที่ซื้อก็ไม่คิดว่าจะเป็นแบบนี้) แต่วันดีคืนดีขยายมาทำรถยนต์เอง Vin Fast, ทำยา Vin Phar, ทำมือถือ รวมถึง Vintech เอา AI มาใช้ หรืออย่าง Mobile world ทำมือถือ ขยายไปค้าปลีก ทำ Supermarket
มองว่าเป็นข้อดี ก็ใช่ หรือมองว่าเป็นข้อเสียก็มีการ take risk เต็มที่
3. ความล่าช้าในการ privatize SOE
4. ค่าเงินมีความเสี่ยงต่อการลงทุน
ส่วน คุณเอก แชร์มุมมองความเสี่ยงในแง่ Macro
1. เรื่องความสัมพันธ์กับจีน จริงๆแล้วเวียดนามมีการรบกับจีนตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ตอนนี้มีปัญหาเรื่องทะเลจีนใต้อีก แต่คู่ค้าของจีนคือเวียดนาม มูลค่าการค้าแซงไทยแล้ว มันเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
เวียดนามขาดดุลการค้ากับจีนเป็นล้านล้านต่อปี และเวียดนามนำเข้าสินค้าจากจีนมากที่สุด
มันรุนแรงมากในสมัยก่อน มีกรณีที่การเผาโรงงานของบริษัทคนจีนในเวียดนาม เพราะมีป้ายหน้าโรงงานเป็นภาษาจีน แต่ตอนนี้มีไม่มีโอกาสเกิดอีก เพราะรัฐบาล commit กับบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนแล้วว่าจะไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก
แต่จริงๆเวียดนามไม่สู้กับจีนหรอก เพราะเค้าสู้ไม่ได้
แต่ถ้ามีการสู้รบกับจีนจริงๆ ค่าเงิน Đong จะดิ่งนรกเลย 5-10% ในวันเดียว เพราะเค้าเคยอยู่ในสงครามมาก่อน เค้าจะรีบทิ้งเงิน Đong ทันที
รัฐบาลก็รู้พยามยาม Keep stability ไม่ค่อยใช้กำลังทหาร พูดจากับจีนดีขึ้น
2. Public Debt ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา อาศัยกู้ ODA – Official Development Assistance (World Bank สนับสนุนเงินกู้ให้กับเวียดนาม) เอามาสร้างถนน โรงไฟฟ้า เป็นเงินกู้ จาก World bank , ADB , BOJ ระยะเวลากู้ 30 ปี ดอกเบี้ยต่ำ โดยกู้จากญี่ปุ่นเยอะที่สุด
ปีก่อน หนี้สาธารณะทะลุ 65% ซึ่งเป็นเพดานสูงสุดที่ National Assembly กำหนดไว้แล้ว
ตลอด1-2 ปี รัฐบาลเวียดนามพยายามลดการขาดดุลลง เลยเป็นเหตุผลที่มีการขายหุ้น Sabeco, Vinamilk ออกมาบางส่วนเพื่อลดหนี้สาธารณะลง ซึ่งที่ผ่านมาทำได้ดี ลดหนี้จาก 65% >>> 62.7%
ต่อไป Public debt อาจไม่ใช่ปัญหาเพราะสามารถขายหุ้น SOE ออกมาได้อีกเยอะ
3. Balance of Payment และ International Reserve ปีที่แล้วเงินไหลเข้าเวียดนามดูจาก Current account + Capital account = Balance of Payment ถ้าเป็นบวก จะทำให้ Reserve บวกเพิ่มขึ้น และถ้าทำ reserve ได้เยอะๆ จะช่วยเรื่องเสียรภาพของค่าเงิน (ยกตัวอย่างประเทศไทยในปัจจุบัน ลองเอา International reserve ÷ import > 12 เดือน หมายความว่า เราอยู่ได้ด้วยการนำเข้าอย่างเดียว โดยไม่ต้องส่งออกเลยก็ได้ ไปปีนึงเลย ค่าเงินบาทถึงได้นิ่ง) เวียดนามเลยเริ่มพยายามจะทำแบบไทย สิบกว่าปีก่อนเวียดนามแทบไม่มี reserve เลย ถ้าเกิดความปั่นป่วนโดยไม่มี Reserve เลยจะกระทบกับค่าเงิน Đong
• ตอนนี้เวียดนามเริ่มสะสม reserve ซึ่งมาจากการลงทุน FDI ที่เข้าอย่างมหาศาล
• Trade positive 8 เดือนแรก เข้ามา $ 4,700 ล้าน ก็ทำให้ Current Account เป็นบวกเพิ่มขึ้น
• นอกจากนี้พวกคนเวียดนามโพ้นทะเล (Viet Kieu) ที่หนีสงครามออกไปเมื่อหลายสิบปีก่อน มีการส่งเงินกลับมาประเทศตัวเอง 14,000-15,000 ล้านต่อปี ทำให้ reserveเพิ่มขึ้น
• ตอนนี้ International reserve ÷ import อาจมีถึง 3-4 เดือนของการนำเข้า ซึ่งถือว่าไม่ได้แย่ เพราะ IMF บอกว่าคุณควรจะมีสัก 3 เดือน เป็นอย่างน้อย
• ถ้า Fundamental ดีขึ้นแบบนี้ไปเรื่อยๆ เงินเฟ้อต่ำ ค่าเงินไม่ผันผวน ส่งผลดีต่อตลาดหุ้น แน่นอน

Q6: ดอกเบี้ยของเวียดนามจะสูงตามดอกเบี้ยโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นไหม
คุณเอก : เงินเฟ้อที่ธนาคารกลางของเวียดนามตั้งไว้ไม่เกิน 4% ซึ่งครึ่งปีแรกตอนนี้ใกล้แล้ว แบงก์ชาติเวียดนามเลยขึ้นดอกเบี้ย overnight ทันที จาก 0.5% ไปเป็น เกือบ4% นี่เป็นนโยบายระยะสั้นทำให้เงินเฟ้อลดลง และคุมราคาอาหาร อาหารสัตว์ในประเทศ น้ำมัน ตั๋วเครื่องบินทันที แล้วพอเงินเฟ้อนิ่งเมื่อไร เค้าถึงจะค่อยๆปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจหมุนต่อไปได้ แล้วค่อยยอมให้การไฟฟ้าขึ้นค่าไฟ หรือขึ้นค่าแรงได้
ดังนั้นถึงแม้ดอกเบี้ยทั่วโลกถึงสูง ก็ยังไม่กระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ ยกเว้นดอกเบี้ยสหรัฐขึ้นไปอีกเป็น 5% จะกระทบ เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยเวียดนามที่ risk free rate อยู่แถวๆ 2-3%

Q7: คนเวียดนามก็ลงทุน แต่คนรวยลงทุนหุ้น หรือ ทำธุรกิจ?
คุณแจ๊ค : สัดส่วนรายย่อยเวียดนามเยอะกว่าไทย แต่เงินเค้าน้อยกว่า ไม่ค่อยมีรายใหญ่เหมือนในไทย
ในอนาคตอาจมี VI เวียดนามที่มี port ใหญ่จนเราต้องเชิญมาไทย อนาคตจะมีกองทุนไทยที่ไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น ตอนนี้คนเวียดนามคิดเรื่องปากท้องก่อนมาลงทุนในหุ้น
ส่วนตัว มีหุ้น consumerไม่เยอะ แต่พอเห็นตัวเลขจากสไลด์ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนมาลงหุ้นกลุ่มนี้มากขึ้น
คนเวียดนามจะใช้จ่ายดีขึ้นกว่าคนจีนและคนไทย
คนจีนมีการบริโภคคิดเป็น 40% ของ GDP, ส่วนไทย 60%, แต่เวียดนามสูงถึง 70% ของ GDP
ตอนนี้ GDP ของเวียดนามน้อยกว่าไทยครึ่งนึง, รายได้ต่อหัวของเวียดนามน้อยกว่าไทย 3 เท่า, ถ้ารายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นก็จะมีการบริโภคมากขึ้น

Q8: มีการปรับสไตล์การลงทุน หรือ วิธีการเลือกหุ้นหรือไม่
คุณเอก : ตอนนี้ตลาดหุ้นเวียดนามยังอยู่ในตลาด Frontier แต่ถ้าเข้า MSCI Emerging Market เมื่อไหร่หุ้นขึ้นอีกเยอะ แต่เพราะอยู่เวียดนามมานาน เลยค่อนข้างเป็นห่วงเรื่อง Corporate Governance ของคนเวียดนามมากๆ อย่าง Crisis ที่ผ่านมา ธนาคารปล่อยเงินกู้ไปให้บริษัท แต่บริษัทดันเอาเงินไปซื้อที่ดิน เล่นหุ้นทำให้เกิดวิกฤต
แต่ผมซื้อสนามบิน กลุ่มผลิตไฟฟ้า, BSR, POW เน้นหุ้นใหญ่
ผมมองว่าอะไรที่ Long run Fundamental จะดีในอนาคต

Q9: เลือกหุ้นผิด หรือ มองผิดบ้างไหม
คุณแจ๊ค : ช่วง 4-5 ปีแรก ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเพราะไม่ได้ใช้เวลาศึกษาเยอะ
ช่วงหลังคุมจำนวนหุ้น Focus ไม่เกิน 14-15 ตัว เน้นตัวที่มองอนาคตไกลๆออก เคยมีเอาออกสัก 2-3 ตัวเพราะมีผลกระทบจากกฎระเบียบ
SOE ที่เกิดขึ้นเยอะ ถ้าผ่าน IPO ไปช่วงนึง ผลประกอบการจะค่อยๆดีขึ้น และของดีๆที่ยังไม่ออกยังมีเยอะ เช่น Airline ,Tourism , consumption, Finance
ทางด้านการเงิน มีคนใช้บัญชีกับธนาคารแค่ 30% ถือว่าน้อยมาก แล้วพวกดิจิตอลจะเข้ามาได้ขนาดไหน เราลงทุนในธนาคารที่มี exposure ทางด้านนี้ด้วย
E-commerce ต้องรอ เพราะ logistic cost ยังสูงอยู่ (ขนาด Amazon ยังไม่มาเมืองไทยเลย)
อีกกลุ่มเน้น กลุ่มที่เกี่ยวกับ FDI , M&A target

Q10: คำถามจากคนที่มาสัมมนา
ในเรื่องการหาข้อมูล จำเป็นต้องเดินทางไปเวียดนามไหม
คุณเอก : ผมอยู่ที่เวียดนาม อ่านหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ report จากViet cap , SSI ถ้าซื้อตามจะได้ผลตอบแทนในระยะสั้น
ส่วน คุณแจ๊ค ตอนไปเวียดนามใหม ๆ มีปัญหาคือ
1. ข้อมูลภาษาอังกฤษไม่เยอะ
2. Brokerไม่เก่ง
แต่ตอนนี้ Research ข้อมูลค่อนข้างแน่นและเป็นภาษาอังกฤษด้วย บางอันหาจาก Googleได้ แต่ต้อง apply เข้ากับคนเวียดนาม
การไปดูธุรกิจที่เวียดนามเพื่อเข้าใจว่าเขาคิดอย่างไร แต่ไม่จำเป็นต้องไปบ่อย ถ้าเราต้องเอาจริงเอาจังกับตลาดหุ้นเวียดนามจึงจะประสบความสำเร็จในการลงทุน
คุณเอก เห็นด้วยที่ คุณแจ๊ค บอกว่า อย่าคิดว่าคนเวียดนามเหมือนคนไทย การดีลงานกับคนเวียดนามยากกว่าคนไทยเยอะ ยกตัวอย่างความคิดของคนเวียดนามสมัยช่วงสงคราม เงินเฟ้อสูงๆ ได้เงิน Đong มา คนเวียดนามจะไปแลก US$ หรือ ซื้อทองเก็บ แต่คนไทยเอาเงินฝากธนาคาร เป็นต้น

Q11: กลุ่มนักลงทุนยังน้อยอยู่
คุณเอก : คุณเอก บอกว่าปี 2007 พวกแม่บ้านเล่นหุ้นมาก ไม่เข้าใจเรื่องลงทุน แล้วก็ออกจากตลาดไปหมดแล้ว หุ้นตอนนั้นขึ้นจาก Bubbleล้วนๆ ไม่มี fundamental รองรับเลย มาถึงวันนี้ทุกคนยังขยาดการเล่นหุ้นอยู่เลย
อีกเรื่องนึง Personal income tax หักภาษี 5%-35% กฎหมายเรื่องกองทุนหรือตัวช่วยลดภาษียังไม่มา แต่ในอนาคตถ้ากฎเกณฑ์พวกนี้มาเมื่อไร ในอีกสัก 10 ปี ตลาดหุ้นจะเติบโตกว่านี้แน่นอน
โพสต์โพสต์