5หุ้น วิเคราะห์Business model โดย ดร นิเวศน์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2614
ผู้ติดตาม: 258

5หุ้น วิเคราะห์Business model โดย ดร นิเวศน์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุปงานสัมมนา ก้าวสู่การลงทุนในเวียดนาม 2561
ช่วง 5 Business Models (21/1/2018)
วิทยากร
• คุณ Tuan NhanSenior Manager - Institutional Sales & Trading, Viet Capital Securities
• ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เผยแพร่แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าคนแรกในประเทศไทย ผู้จุดประกายการลงทุนหุ้นเวียดนาม
• คุณบอล ภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง นักลงทุนอาชีพแบบเน้นคุณค่า เจ้าของแฟนเพจ “Road to Billion”
1) SVC
ทำธุรกิจ dealer รถยนต์ยี่ห้อ Honda, Toyota, Ford, Mitsubishi มี 22 showrooms ทั่วประเทศ
ทำ after sale services และขายอะไหล์รถยนต์ แต่มีธุรกิจอื่นอีกเช่นอสังหาและทำบริหารพื้นที่ เช่นให้เช่าพื้นที่จัดงานแต่งงาน,
รีสอร์ท (โรงแรม) รวมทั้งมี land bank ด้วย
คุณ Tuan
SVC mkt share 10%
ถ้ามองย้อนกลับไป 4 ปี พบว่ายอดขายรถยนต์ในเวียดนามเติบโตปีละ 20-40% เมื่อเทียบกับประเทศไทย ทำไมถึงโตขนาดนั้น เพราะยอดขายรถยนต์ในเวียดนามยังอยู่ในฐานที่ต่ำ
คุณ Tuan ตามบริษัทนี้มา 5 ปี พบว่ามีศักยภาพ แต่อยากให้บริษัทตัดธุรกิจอสังหาออกไป แล้วมาโฟกัสที่ธุรกิจหลักคือการขายรถยนต์ และเน้นส่วนงานที่มี margin สูงๆ เช่น การบริการหลังการขาย และขายอะไหล่รถยนต์มากกว่านี้(margin ประมาณ 30%) แต่ว่าก้อยังไม่เห็นความชัดเจนตรงนี้จากผู้บริหาร
ถามถึงเรื่องผลกระทบจากมาตรการลดภาษีรถยนต์นำเข้า import tariff 30% >> 0% โดยเริ่มมีผลวันที่ 1 มกราคม 2018
ปีนี้ยอดขายน่าจะกลับขึ้นมา เพราะผู้คนต่างชะลอการซื้อขายเมื่อปีที่แล้ว เพื่อรอซื้อรถราคาถูกในปีนี้
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
มองภาพรวมของตลาดรถยนต์ก่อน และมีข้อมูลคนละชุดกับ คุณ Tuan ไทยขายรถยนต์ได้ปีละ ล้านคัน ที่เวียดนามขายได้ปีละ สามแสนคัน (ผู้จดบันทึก: น่าสนใจมาก วิทยากรคู่นี้มีมุมมองที่ต่างกันในหลายๆบริษัท ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้เห็นมุมมองหลายๆด้านจากผู้เชียวชาญ สัมมนาในวันนี้ สนุกมากๆ ขอบพระคุณทีมผู้จัดงาน)
คุณบอลก้อเพิ่งไปพบผู้บริหาร SVC มาเหมือนกัน ใครๆก้อเก็งว่าปีที่แล้วไม่ดี ปีนี้ต้องดีแน่ แต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป
มองว่ายังไงแล้ว การที่ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ประกอบนอกเข้ามาทั้งคันไม่มีผลอะไรที่ทำให้ราคารถยนต์ถูกลง เพราะสุดท้ายก้อถูก offset ด้วย Special consumption tax อยู่ดี
อีกประเด็นนึงคือ รัฐบาลเวียดนามออกมาตรการเพื่ม เพื่อชะลอการนำเข้ารถประกอบทั้งคัน เพราะระบุให้ผู้นำเข้าออก Certificate ต่างๆออกมา เช่น Certificate of Origin และใช้เวลาตรวจสอบค่อนข้างนาน ทำให้รถยี่ห้อต่างๆระงับการส่งรถเข้าเวียดนาม
ธุรกิจนี้ โดยธรรมชาติมี margin ไม่สูงมาก อำนาจต่อรองเองก้อไม่สูง เพราะลูกค้าย้ายไปซื้อที่showroom
ไหนก้อได้ที่ได้โปรโมชั่นดีกว่า
ส่วนหุ้นที่คล้ายๆกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน คราวที่แล้วเราพูดเรื่อง Haxaco (HAX) ซึ่งทำ showrooms ขายรถ Benz
(ผู้จดบันทึก: คุณบอลหมายถึง รอบสัมมนาเดือนสิงหาคม 2017 )
แต่เทียบกับ SVC ที่ยังถือหุ้นใหญ่โดย Ben Thanh group ทำให้ระบบบริหารงานยังมีอารมณ์ SOE (ผู้จดบันทึก: State-Owned Enterprise ) อยู่ สไตล์การบริหารจะไม่ aggressive เท่า HAX
ดร. นิเวศน์
จำไม่ได้ว่ามีในพอร์ตมั้ย หุ้นเยอะจำไม่ได้ แต่คิดว่าคงไม่มี ธุรกิจนี้ไม่ค่อยโดดเด่น margin บางมาก สัก 1% ได้ ตัวนี้เป็นดีลเล่อร์ใหญ่ ยอดขายหมื่นกว่าล้านบาท มีโชว์รูม22 แห่ง ถือว่าใหญ่เลยละ ในเมืองไทยไม่ค่อยมีหรอก ยอดขายระดับนี้ แถมยังมีธุรกิจ Real estate อีก ถือว่าหุ้นตัวนี้ไม่ธรรมดา จากระบบเศรษฐกิจของเวียดนามตอนนี้ ดูตัวเลข GDP พอทุกคนเริ่มรวย ก้ออยากจะซื้อรถยนต์ใช้
มาดูราคา mkt cap 1,900 ล้านบาท ยอดขายหมื่นกว่าล้านมีหนี้พอสมควร แต่ถ้าธุรกิจยังไปได้เรื่อยๆ ก้อไม่น่าจะมีความเสี่ยงเรื่องล้มละลาย ลองมาดูเมืองไทย mkt cap ขนาดนี้ จะเทียบกับธุรกิจอะไรได้บ้างในเมืองไทย กดซื้อไม่กี่ที เราก้อติดผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้วP/BV 1.14 , PE 13xด้วยศักยภาพของการเติบโตในธุรกิจนี้ ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโชว์รูม แต่เช่าได้ระยะ 50 ปี จะเรียกว่าแพงก้อเรียกไม่ได้ เล่นเก็งกำไร แต่ไม่เหมาะจะถือยาว เผื่อถ้าในอนาคตมีระบบปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อน่าจะกระตุ้นยอดขายได้อีก แต่ตัวใครตัวมันนะ อย่ามาโทษกัน
คุณ Tuan
เรื่องภาษีที่กระทบราคาขายของรถยนต์ ถึงแม้ว่าจะจะมี offset จากการขึ้น Special consumption tax แต่สุดท้าย net net แล้วยังมี discount อีกประมาณ 25%
เห็นด้วยเรื่องมี margin ต่ำ แต่อย่างที่บอกถ้าผู้บริหารหันมาเอาจริงเอาจังกับเรื่องการบริการหลังการขาย กับขายอะไหล่รถยนต์ จะทำกำไรได้สูงกว่าปัจจุบัน ลองดูธุรกิจอื่นๆในตลาดที่ผู้บริหารเน้น core competency ของตัวเอง ต่างก้อประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งนั้น
2) QNS
Business Lines
1. Soy Milk
2. Sugar
3. 95 MW Business Power Paint in An Khe , Largest biomass plant in Vietnam
4. เบียร์ท้องถิ่นยี่ห้อ Duag Quat Beer , น้ำดื่มและ soft drinkยี่ห้อ “Thach Bich”, ขนมยี่ห้อ “Biscafun”
คุณ Tuan
ทำนมถั่วเหลือง มี mkt share 85% ในธุรกิจนมถั่วเหลือง, NPAT 61% ไม่ธรรมดา แต่มีการไปลงทุนทำโรงงานน้ำตาล และโรงไฟฟ้าชีวมวล ประมาณ USD 200 ล้าน
ลองคิดดูนะ ลงทุนเพิ่ม 30% แต่ยอดขายปีที่แล้วเพิ่มแค่ 4% แบบนี้เป็น Value trapมันจะต้องมีอะไรสักอย่างในการบริหารธุรกิจ ตัวนี้เป็นผู้นำตลาดนมถั่วเหลือง มีเครือข่ายการกระจายสินค้าที่ดี แต่ทำไมทำยอดขายเพิ่มได้น้อยมาก
ตัวนี้คุณ Tuan แกพยายามติดต่อเข้าพบผู้บริหารมา 3 ปีแล้ว แต่ไม่เคยสำเร็จเลย ผู้บริหารทำธุรกิจแบบครอบครัว ไม่สนใจที่จะให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์เลย มองหุ้นตัวนี้เป็น commodities และไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน

คุณบอล ภาคย์ภูมิ
ตัวนี้หลักๆ มี 3 ธุรกิจ คือ
นมถั่วเหลือง น้ำตาล แล้วก้อ biomass
เห็นด้วยที่ว่าธุรกิจไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
แต่ส่วนเรื่องการขยายโรงงานน้ำตาล เค้าคงมองว่าอาจจะเป็นเพราะผู้บริหารมองว่าปีนี้ รัฐบาลจะลดภาษีน้ำตาล เลยขยายกำลังการผลิต แต่กลายเป็นว่าเอาเงินไปลงทุนในธุรกิจที่มันกำลังแย่ (หรือเปล่า?) ส่วนตัวผมไม่ขอคอมเม้นท์ เพราะไม่ชอบธุรกิจน้ำตาล
มามองในมุมธุรกิจนมถั่วเหลือง คนเวียดนามเป็นชาติที่ดื่มนมเยอะในอันดับต้นๆ ของโลก (ได้อิทธิพลมาจากจีน ที่ชอบดื่มน้ำเต้าหู้) แต่ปริมาณการดื่มนม70% นี่คือต้มดื่มเองที่บ้าน
ลองมาดูเปรียบเทียบกับไทย บริษัทอย่าง Lactasoy, Vitamilk ที่บ้านเรา ขายเข้าร้านสะดวกซื้อ เดินเข้าไปหยิบง่ายๆ
โดยรวมๆ ตลอดนมถั่วเหลืองยังมีโอกาสโตมากกว่านี้ 2-3 เท่า หุ้นตัวนี้ก้อลงมาเยอะ ไม่รู้ว่ามันจะ bottom เมื่อไร

ดร. นิเวศน์
ตัวนี้ถ้า mkt cap เล็กกว่านี้อีกสักหน่อยน่าสนใจ แต่เอาแบบเก็งกำไรนิดๆนะ เพราะมองว่าบริษัทใหญ่ๆ ลงมาทำนมถั่วเหลืองไม่น่าจะเวริค์สักเท่าไร ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีmarginพอใช้ stable ชัดเจน มีโอกาสโตได้บ้าง
แต่ผมเคยทำงานโรงงานน้ำตาลมาก่อนธุรกิจน้ำตาลเนี้ยกำลังจะเปิดเสรี หมายความว่าจะมีประเด็นเรื่องน้ำตาลจากไทยก้ออาจจะไหลเข้าประเทศเวียดนาม เพราะผมมองว่าเครื่องจักรเอย หรือคุณภาพน้ำตาลเอย จากไทยน่าจะมีคุณภาพมากกว่า ได้ผลผลิตที่ดีกว่า ที่เวียดนามนี่น่าจะเป็นเครื่องจักรและกระบวนการผลิตยังเป็นแบบโบราณๆ อยู่ผลผลิตยังต่ำ ชาวไร่ยังปลูกอ้อยกระจัดกระจาย ไม่มีระบบ ใครจะขายอะไรก้อขายไป ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าน้ำตาลไทย ถ้าน้ำตาลไทยเข้าไป เค้าจะสู้ไหวมั้ย อันนี้ก้อเป็นประเด็นที่ต้องตาม
Mkt cap 17,000-18,000 ล้านบาท ไม่เล็กนะ แต่ถ้าเอาเฉพาะโรงน้ำตาลอย่างเดียวไม่คุ้มแน่นอน แต่เพราะมีส่วนของนมถั่วเหลืองเข้ามาช่วยแต่ถ้าเผื่อฟลุ๊คจู่ๆวันนึงรัฐบาลเวียดนามเกิดออกกฎหมายมาช่วยชาวไร่ ชาวโรงงานน้ำตาล ก้ออาจจะได้อานิสงค์ รวมทั้งเผื่อวันนึงราคาน้ำตาลโลกเกิดขึ้นราคาขึ้นมาก้ออาจจะได้เป็นสองเด้ง แต่ก้อเช่นเคย ถือเก็งกำไร แต่ถ้าเค้าทำนมถั่วเหลืองอย่างเดียว ผมว่าไม่น่าสนใจ

3) Ho Chi Minh City Infrastructure Investment JSC ( CII )
Business Lines:
1. Toll Collection
2. Real Estate : Low-rose resident in Thu Thiem , Lakeview
3. Construction : BOT highway projects
4. BT Project : Thu Thiem BOT Infrastructure project
5. Others
คุณ Tuan
ตัวนี้ธุรกิจซับซ้อน ไม่ชอบ งบไม่ค่อยคลีน ไม่โปร่งใส มี earning จากธุรกิจแบบไม่ใช่เงินสด
เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจก่อสร้าง ทำอุโมงค์ สะพาน
มีที่ดินที่มีมูลค่ามากในเขต Thu Thiemเยอะ น่าจะประมาณ USD 200-240 ล้าน (เขต Thu Thiemอยู่ใน โฮจิมินท์ district 1จะถูกพัฒนาให้เป็นCBD เมืองใหม่ในอนาคต จะกลายเป็น the next Pudong, the next Manhattan)
ทำธุรกิจครอบคลุมทั้งระบบของงานก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่ออกแบบ ถึงลงมือสร้าง
ประเมินมูลค่ายาก คาดการณ์ projection ยาก ถ้าจะเล่นจะออกแนว financial game
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
มี 3 ธุรกิจหลัก อยู่ในสเกลที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ล่าสุดมีโปรเจคสร้างทางด่วนเข้าเขต Thu Thiemงบประมาณ USD 2 billion ในสเกลระดับนี้คู่แข่งรายอื่นทำไม่ได้ แสดงว่าเค้ามีความสามารถในการแข่งขันระดับนึงที่จะเข้าถึงเงินทุนขนาดใหญ่
ข้อเสียคือลงทุนเยอะ แล้วโครงการใช้เวลาก่อสร้างนาน
อย่างที่สองคือ ธุรกิจอสังหา เพราะเวลาเค้าทำงานแล้วรัฐบาบไม่มีเงินจ่ายเงินเค้า เลยแลกด้วยที่ดิน ตอนที่ได้ที่ดินมาดูเหมือนไม่มีมูลค่า แต่พอเวลาผ่านไปราคาที่ดินกลับวิ่งขึ้นไป 2-3 เท่าตัว
อีกธุรกิจที่ผมชอบมาก แต่ยังอีกไกล คือ ธุรกิจระบบบำบัดน้ำ และล่าสุดไปวางระบบส่งน้ำประปาแถวๆ อุโมงค์ Cu Chi (เป็นโปรเจคแบบ BOO, เพิ่มเติมโดยผู้จดบันทึก BOO = Build-Own-Operate สัญญาก่อสร้างโครงการที่ทำกับรัฐบาล เมื่อสร้างโครงการเสร็จแล้ว ผู้ลงทุนจะเป็นเจ้าของและมีสิทธิดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ในระยะเวลาที่กำหนด) ผมมองว่าน่าจะมีอนาคต (แต่ตอนนี้ ยังไม่ใช่เวลา) เพราะคนเวียดนามส่วนใหญ่ยังใช้น้ำบาดาลกันอยู่ ก้อจะให้มาจ่ายค่าน้ำประปา (ถึงแม้ค่าน้ำจะยังไม่แพง) เทียบกับใช้น้ำบาดาลฟรี ใครจะหันมาจ่ายค่าน้ำง่ายๆ มันก้อจะใช้เวลาอีกสักพักนึง
Earning ส่วนใหญ่จะเป็น one time gain และปีนี้ก้อจะรับรู้รายได้ประเภทone time gain เข้ามาอีกสักก้อนนึง เวลาประเมินมูลค่าจะใช้วิธี DCF
ผู้บริหาร CII จะเก่งเรื่องการหาเงินทุน
หุ้นที่คล้ายๆกันในอุตสาหกรรมนี้ ก้อจะมี HUT แต่ศักยภาพต่างกัน แต่ก้อทำงานให้รัฐบาลแล้วไดที่ดินมาเป็นสิ่งตอบแทน แล้วก้อเอาที่ดินไปสร้างบ้านขาย
ดร. นิเวศน์
บริษัทนี้น่าสนใจ เพราะเวียดนามเนี้ย ถนนหนทางยังขาดแคลนอยู่มาก เป็นผู้นำ มีศักยภาพที่จะแข่งขันกับคนอื่นได้ ตัวนี้ทำหลายอย่าง เหมือน TTW+S + BEM ในส่วนของทางด่วนของไทยมารวมกันที่ดิน Thu Thiemนี่เค้าได้มาเยอะ และอาจจะได้เพิ่มอีกเพราะไปทำสะพานให้เค้า ก้ออาจจะได้ที่ข้างๆมาอีก แล้วเอาไปดำเนินการต่อ ที่แถวนี้จะกลายเป็นที่สุดยอดในโฮจิมินท์ เลยล่ะ คล้ายๆแถวสาธร แต่โครงการมันยังไม่เสร็จ รายได้เลยยังไม่มี กำไรก้อเลยยังไม่เข้า
ที่สำคัญไปดู mkt cap ตอนนี้ 13,000 ล้านบาท เผลอๆเอาที่ดินตีราคาเข้าไปอาจจะตกใจ เพราะที่ดินที่เวียดนามนี่แพงมากๆดังนั้นบริษัทนี้มีศัยภาพมาก
และถ้าดอกเบี้ยลงอีก เค้าจะได้ประโยชน์อีกเยอะ ผมก้อถืออยู่นะ แต่ยังไม่ได้อะไรเลย ถ้าพวกคุณซื้อตอนนี้ ซื้อได้ถูกกว่าผมอีก
คุณ Tuan
เห็นด้วยกับ ดร. นิเวศน์เรื่องราคาที่ดินที่ยังไม่ได้ปรับเข้ามาใน Book
ระวังเรื่อง convertible bonds ที่เค้าออกมา 2 รอบ ก้อคิดว่าจะมี dilutions
บริษัทไปร่วมมือกับ Hong Kong Land เพื่อพัฒนาโรงแรม
ตัวนี้ถ้าจะถือ ต้องถือยาวมากๆ

4) Vincom Reatail ( VRE )
คุณ Tuan
ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้า41 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 200 แห่งโดยห้างสรรพสินค้าหลักจะอยู่ในโฮจิมินท์ และฮานอย
เข้าตลาดเดือนที่แล้ว
จับมือกับ consortium partner ที่ลงทุนเข้ามาอีก UDS 300 ล้าน
ถ้าไปที่เวียดนาม ห้างสรรพสินค้าเค้าจะแนวพรีเมียม สินค้าที่ขายในห้างก้อมีราคาพอสมควรเพราะเน้น จับลูกค้าที่มีรายได้สูง เค้าบอกว่าสร้างห้างสรรพสินค้าเพื่อรองรับกำลังซื้อในอีก 3-5 ปี รายได้ที่ใช้สำหรับจับจ่ายใช้สอย disposable income ของคนเวียดนามจะเพิ่มมากขึ้น และห้างสรรพสินค้าเหล่านี้จะตอบโจทย์
โดยส่วนตัวไม่ค่อยชอบ เค้าพยายามผลักดันการเพิ่มพื้นที่ GFA (Ground Floor Area) ให้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่มันทำกำไรได้หรือเปล่ายังเป็นคำถามอยู่ สรุปเค้าไม่ซื้อหุ้นตัวนี้
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
เวลาดูการเติบโต หรือการสร้างรายได้พวกห้างสรพพสินค้าค้าปลีก เราก้อจะดู GFA กับ NLA (ผู้จดบันทึก: NLA = พื้นที่เช่าสุทธิ ) ของ CPN จะมีประมาณหลักแสนปลายๆ แต่ถ้ามาดูของ VRE พบว่าของเค้าจะใหญ่กว่า CPN แล้วนิดนึง
แต่ที่น่าสนใจคือ VRE Mkt share เฉพาะในโฮ จิ มินท์ 60% เพราะไม่ได้มีผู้เล่นมากมาย CPN Mkt share ประมาณไม่ถึง 20% (น่าจะสัก 18% )เพราะในเมืองไทยมีผู้เล่นในตลาดเยอะ อย่างเช่น The Mall
ที่ผมชอบหุ้น VRE เพราะ Growth, retail spending/capita ยังน้อยดี เทียบแล้วศักยภาพในการเติบโตได้อีก 3-4 เท่า สบายๆ ไม่อย่างนั้น พวก ZARA, H&M ไม่มาเปิดสาขาที่นี่ ZARA เพิ่งเปิดสาขาแรกเมื่อปีที่แล้วที่โฮ จิ มินท์ ยอดขายวันแรกสูงที่สุดในโลก คนเวียดนามมาต่อแถวซื้อ แล้วคนที่มาซื้อเป็นคนเวียดนามล้วนๆ อย่างบ้านเรา CPN ตอนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจีนมาซื้อทั้งนั้น
อีกอย่างที่ผมชอบคือ เค้าอยู่ในเครือ VIN group ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามด้านค้าปลีก มีทั้ง Vin Mart Plus, VinPro นู่น นี่ คือขายทุกอย่างทั้งของชำ ผักสด ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ เพราะฉะนั้นเวลาเค้าเปิดห้างใหม่ เค้าสามารถเอาบริษัทในเครือไปลง ได้พื้นที่เช่าแล้ว 70-80% ในวันแรกๆที่เปิดห้างสรรพสินค้า คนอื่นทำแบบนี้ไม่ได้หรอก แน่นอนว่ากำไรยังไม่เยอะ แต่เค้าได้โลเคชั่น นอกจากนี้เค้าทำธุรกิจอสังหา เป็นขอได้เปรียบ ถ้าคู่แข่งจะเข้ามาเปิดสาขาใหม่ จะหาพื้นที่ไม่ได้ อย่างเช่น AEON
ภายในปี 2021 ผู้บริหาร VRE บอกว่าจะเปิดพื้นที่เช่า เพิ่มเป็น 2 เท่า หมายความว่าถ้าเราคิดอัตราค่าเช่าเท่าเดิม รายได้ก้อจะ double ละ แต่ถ้าเพิ่มค่าเช่าขึ้นมาได้สัก 1/3 ของ CPN อย่างน้อยก้อดูมีศักยภาพ ถ้าผมเป็นผู้เช่า มาเปิดตามสาขาต่างๆในห้างเข้าผมก้อโตไปตามเค้าได้ ตรงนี้มองเป็นความได้เปรียบเชิงแข่งขัน และมีอำนาจต่อรองสูง เพราะเค้าเป็นเจ้าของที่ดินด้วย ถึงจะแพงแต่ทุกคนเห็นว่าศักยภาพเค้าชัดเจน เค้าไล่ขยายตลาดเพราะถ้าเค้าไม่ทำคู่แข่งต้องเข้ามาแน่นอน เค้าจึงจ้องเร่งขยายสาขา แต่วันนึงเป็นผู้ชนะได้แน่นอน ถ้าเราถือยาวๆไป เมื่อกำไรมา valuation เค้าก้อจะถูกลงเอง
ดร. นิเวศน์
ตัวนี้เมื่อเทียบกับ CPN โดยดูที่ Mkt cap พบว่าตัวนี้เล็กกว่า CPN 30% แต่เมื่อดูไปที่ศักยภาพของประเทศเวียดนาม ไม่แพ้ใครแน่ ในเศรษฐกิจที่โตเร็วมากๆ พวกที่เป็น real estate จะเป็นผู้ชนะ เพราะราคาที่ดินจะเพิ่มเร็วมากๆการเพิ่มขึ้นของรายได้ เค้าจะต้องไปจอดในห้าง จอดข้างทางไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แล้วพอคนเวียดนามมีรายได้มาก อยากไปเดินเที่ยวนู่น นี่ ยังไม่มีที่ไป ก้อไปเดินห้าง ร้านอาหารดังๆ ต่อไปก้อขึ้นห้าง มันถือเป็นโอกาส ในสมัยช่วงที่กำลังบูมมาก CPN สามารถปรับราคาค่าเช่าขึ้นได้ 3-5% ทุก 3 ปีตอนนั้นแระ ที่จะกินกำไร เพิ่มมาร์จินขึ้นเร็วมาก เพราะต้นทุนมันคงที่
ตอนนี้เราบอกว่ามันแพง ใครจะไปเช่า แต่อีกสักพัก ก้อมีคนเข้าไปเอง ยิ่งถ้าคนเดินมากในอนาคต เหมือนบ้านเรา เสาร์ อาทิตย์ ไม่มีที่ไป ก้อเดินห้าง เย็นสบาย ตรงนี้ผมมองว่าน่าสนใจ หุ้นตัวนี้ที่ดินเค้าเยอะมาก
แต่จุดที่ผมกลัวคือ ถ้า e-commerce เข้ามากๆ การขึ้นค่าเช่าจะลำบาก เหมือนห้างในอเมริกา ที่ปิดตัวลงไปบ้าง แต่ที่เวียดนามควรจะต้องผ่านกระบวนมีห้างก่อน แล้วถึงเจ๊งทีหลัง (ฮา) ส่วนตัวผมมองว่าตัวนี้น่าจะโอเคในระดับนึง แต่ไม่ได้เชียร์มากเพราะไม่แน่ใจว่าเวียดนามจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเหมือนไทยมั้ย


คุณ Tuan
อยากจะ reiterate(ย้ำ)ว่า นี่คือบริษัท USD 4.7 billion
ตอนนี้ PE ประมาณ 45x, สมมติต่อให้ EPS growth 100% ก้อยังมี PE 25x อยู่ดี
พอมาดูที่ Cash flow ในปี 2017 มีรายรับ USD 200 million , แต่ net profit USD 400 million สงสัย ไหมครับ ทำไม net profit มากกว่ารายรับถึง 2 เท่า ก้อเพราะมันไม่ได้มาจากเงินสดรับแต่มันเป็นการปรับมูลค่าที่ดินในพอร์ต ถ้าคุณจะถือหุ้นตัวนี้ คุณต้องไปไล่เดินห้างเค้ามีกี่แห่งๆ แล้วคอยตีราคาที่ดินมาประเมินมูลค่าหุ้น
ก้อยังไม่ชอบอยู่ดี
5) VietCapital Securities JSC (VCI)
คุณ Tuan
ตัวนี้คุณเค้าถนัดเลย เพราะเป็นบริษัทของเค้าเอง ^^ บริษัทนี้ก่อตั้งมา 10 ปีแล้ว ก่อตั้งช่วงพีคของตลาดหลักทรัพย์เวียดนามเลยให้บริการครบวงจรทำกำไรมาตลอด 10 ปี
สัดส่วนรายได้มาจาก 3กิจกรรมใหญ่ๆ ในสัดส่วนที่เท่าๆกัน (อย่างละ 1/3 ) คือ Investment Banking, Broker และ Financial Investment
ROE 32% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกันของเวียดนามถึง3เท่า ทำให้ P/BV สูงกว่าบริษัทอื่น ในแง่ของ Mkt share หลายปีที่ผ่านมาก ... ถ้าในปีที่แย่ๆ ทำได้ขั้นต่ำที่ 50%, แต่ถ้าในปีที่ดีๆ จะทำได้ถึง 70%
ทำกำไรจาก Investment banking มากที่สุด แต่ถ้าเป็น Mkt share ทั้งหมดจะประมาณ 9%
Deal IPOs ในครึ่งปีแรกของ 2018 ก้อมี Techcombank, Genco2, Genco3,PV Power ส่วนดีลใน 2H2018 ยังบอกอะไรมากไม่ได้แต่รับรองว่าเด็ด ^^
เชื่อมั่นว่าในอนาคตจะไปได้ดี
คุณบอล ภาคย์ภูมิ
ตัวนี้ไม่อยากคอมเม้นท์อะไรมาก เป็นหุ้นที่แปลกมาก เป็นหุ้นที่ดี เพราะก้อถือมาตั้งแต่ IPO ตัวนี้เค้าเด่นเรื่อง Investment Banking เอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ ออกบอนด์ ออกหุ้น deal ทั้งประเทศผ่านโบรกนี้ประมาณ 60-70% มีดีลดีเยอะมาก นักลงทุนคนไหนอยากได้ IPO ก้อต้องมาเทรดกับเค้า
บางคนบอกต่างชาติจะมาทำดีลเอง แต่สุดท้ายก้อต้องประสานงานกับ Viet Cap อยู่ดี เพราะเรื่องของกฎ ข้อกำหนดต่างๆ
แถมยอดการเทรดหุ้นในเวียดนามเพิ่มมากขึ้น พอมีหุ้นเจ๋งๆ เข้ามาในตลาด ก้อจะช่วย drive ธุรกิจของ Broker ให้ดีขึ้น แถมยอดเทรดต่อวันของเวียดนามตอนนี้มีแค่ประมาณ 1/5 ของยอดเทรดในประเทศไทยเท่านั้น ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกเยอะ, mkt cap ของประเทศยังโตได้อีกสัก 2-3 เท่า
แต่ความเสี่ยงก้อคือ คนเก่งๆ (อย่างเช่นคุณ Tuan ) อาจจะโดนซื้อตัวไปก้อได้ ทางบริษัทอาจจะได้รับผลกระทบ
ดร. นิเวศน์
ผมก้อมีตั้งแต่ IPO เหมือนกัน แล้วก้อยังถืออยู่ บริษัทนี้เก่งมาก เหมือนภัทร ในเมืองไทยที่ไม่มีทิสโก้
เรื่องจะโดนซื้อตัวพนักงาน ไม่ต้องห่วง บริษัทนี้ถ้าไม่มี คุณ Tuan ก้อไม่เป็นไร เพราะลูกค้าก้อจะติดกับแบรนด์มากกว่าติดกับคน ฐานลูกค้ายังอยู่กับบริษัท
บริษัทนี้ทุกอย่างแข็งแกร่งหมด ดีหมด แต่เค้าอยู่ในธุรกิจที่มีความผันผวน เช่น ปล่อยmarginเยอะ อาจจะเจ้งได้ หรือ วอลุ่มหาย ก้อแย่เลย และสุดท้ายถ้าธุรกิจที่ลงทุนเจ๊ง ก้อแย่ไปอีก

คุณ Tuan
รายได้จากการปล่อย margin ไม่เยอะ เป็นเศษเสี้ยว เพราะค่อนข้างconservative5 จะปล่อยmarginแบบเลือกเฉพาะเจาะจง ดังนั้น risk profile ค่อนข้างต่ำ แต่ VCI จะเน้นทำ Investment banking มากกว่า
บริษัท brokers รายอื่นๆจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะไปทำโปรโมชั่นลดค่าคอมฯ ทำให้ต้องไปหารายได้ชดเชย จากการปล่อยmarginเพราะได้กำไรดีกว่า
ในส่วนของการลงทุนนั้นถ้าตลาดหลักทรัพย์โดยรวมตก ในส่วนนี้จะ drop ลง อาจจะมีขาดทุนกำไร แต่ยังมีกำไรอยู่
Unlisted position >> mark to cost
Listed position >> mark to market

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้commentหุ้นทั้ง5ตัว
ช่วยกันสรุปสัมมนา โดย อมร และ น้องเป้ ผู้ช่วยแปลสัมภาษณ์คุณ Tuan Nhan ช่วง 5 Business Models
###

8
โพสต์โพสต์