บลจ.ไทยพาณิชย์ ชี้ช่องลงทุนธุรกิจการแพทย์ ผลตอบแทนอู้ฟู่ +42.20%

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น วีไอ กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
noonnsn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 435
ผู้ติดตาม: 4

บลจ.ไทยพาณิชย์ ชี้ช่องลงทุนธุรกิจการแพทย์ ผลตอบแทนอู้ฟู่ +42.20%

โพสต์ที่ 1

โพสต์

บลจ.ไทยพาณิชย์ ชี้ช่องลงทุนธุรกิจการแพทย์ ผลตอบแทนอู้ฟู่ +42.20%
วันที่ 28 กันยายน 2563 - 11:55 น.
บลจ.ไทยพาณิชย์ ปันผลกองทุนเฮลธ์แคร์ ‘SCBGHC’ เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา เผยมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มธุรกิจการแพทย์ โชว์ผลตอบแทนเป็นบวกตั้งแต่จัดตั้งสูงสุด 42.20%

นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลกองทุนหุ้นเฮลธ์แคร์ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลบอลเฮลธ์แคร์ (SCBGHC) เมื่อวันที่ 23 ก.ย.63 ที่ผ่านมา สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ก.ย.62 – 31 ส.ค.63 ในอัตรา 0.3279 บาทต่อหน่วย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 24 มี.ค.63 ไปแล้วจำนวน 0.1584 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.1695 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 5 รวมจ่ายปันผล 0.7432 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อ 2 ก.ย.58)

สำหรับ กองทุน SCBGHC มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ Janus Global Life Sciences Fund (กองทุนหลัก) เป็นกองทุนที่มีการบริหารเชิงรุก โดย Janus Capital Management LLC จดทะเบียนภายใต้กฎหมายของประเทศไอร์แลนด์และอยู่ภายใต้ UCITS ลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences)

ได้แก่ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย พัฒนา ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตัวเอง การแพทย์หรือเภสัชกรรม รวมไปถึงบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตหลักมาจากผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี การจดสิทธิบัตร หรือตลาดอื่นใดที่ได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ชีวภาพ


ปัจจุบันกองทุนหลักมีจำนวนหลักทรัพย์ในพอร์ตประมาณ 70 – 100 ตัว กระจายไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยที่เกี่ยวข้องในหลากหลายมูลค่าตลาด เช่น ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ยาและเภสัชกรรม บริการด้านสาธารณสุข และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น

นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ภาพรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์มีการปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มย่อยที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตราการล็อกดาวน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนกลุ่มที่ปรับตัวสูงสุดคือกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ประกอบกับการเพิ่มทุนที่สำเร็จในบางบริษัท ส่งผลให้มีผลดำเนินงานที่ดีติดต่อกันในช่วงที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่า ความกดดันด้านการเมืองที่มาพร้อมการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังคงมีอยู่จากคำสั่งพิเศษ (Executive Orders) ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับการปรับราคายาในสหรัฐฯ แต่นักวิเคราะห์ต่างก็มองว่ามีความเป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นจริง เนื่องจากไม่ได้การสนับสนุนจากทั้งสองฝ่ายพรรคการเมือง และทั่วโลกยังคงมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอุตสาหกรรม Biopharmaceutical ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นอย่างมากเพื่อให้วิกฤตนี้จบลง

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ยังสามารถรับแรงกดดันจากวิกฤติเศรษฐกิจโดยรวมได้ค่อนข้างดี ซึ่งทำให้เห็นว่าแม้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ความต้องการทางการแพทย์นั้นก็ไม่ได้ลดลงตาม ถึงแม้ว่าการพัฒนาวัคซีนยังอยู่ในระยะทดสอบ ซึ่งอาจจะใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะผ่านการอนุมัติให้ใช้งานจริง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ส่งผลให้เกิดความผันผวนระยะสั้นอยู่ก็ตาม ผู้จัดการกองทุนก็ยังมองว่าอุตสาหกรรมกลุ่มเฮธล์แคร์ยังคงเป็นกลุ่มที่น่าสนใจลงทุน และคงอยู่ในทิศทางเติบโตสูงได้ในระยะยาวต่อไป
โพสต์โพสต์