ยักษ์ธุรกิจ AEC

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น วีไอ กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เห็นคอลัมน์นี้ในฐานเศรษฐกิจ ที่แนะนำพวกบริษัทใหญ่ๆใน AEC แล้วว่าน่าสนใจรวบรวมเก็บไว้ครับ
เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่ลงทุนในตปทนะครับ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

Publication: Than News - Thansettakij
Provider: Than News

June 9, 2013
รูปภาพ

บริษัทวิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ (Wilmar International) เป็นบริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรใหญ่ที่สุดในอาเซียนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ผู้ก่อตั้งคือนายก๊วก คูน ฮอง (Kuok Khoon Hong) หลานชายของ นายโรเบิร์ต ก๊วก อดีตมหาเศรษฐีอันดับ1 ของอาเซียน ที่เสียตำแหน่งให้กับนายธนินท์ เจียรวนนท์ ในปี 2556 นี้เอง
ล่าสุดนิตยสารฟอร์บส์ จัดอันดับให้ นายก๊วก คูน ฮอง เป็นมหาเศรษฐีพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯอันดับ 554 อยู่อันดับ 24 ของอาเซียน มีสินทรัพย์สุทธิ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 78,000 ล้านบาท)
วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทที่มีมูลค่าการตลาดมากที่สุดในตลาดหุ้นสิงคโปร์โดยในช่วงต้นปี 2556 มีมูลค่าตลาด 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 840,000 ล้านบาท) มีรายได้รวมประมาณ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 720,000 ล้านบาท) มีธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มครบวงจรมีโรงงานน้ำมันพืช 300 แห่งในจีน อินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นบริษัทที่ครองตลาดน้ำมันพืชครึ่งหนึ่งของประเทศจีนในแบรนด์ปลามังกรทอง ส่วนในอินเดียครองตลาดใหญ่ในรัฐคุชราช และกำลังบุกครองอุตสาหกรรมน้ำตาลในเอเชีย
นายก๊วก คูน ฮอง เกิดในปี 2493 เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุตสาหกรรมน้ำมันพืชและพืชน้ำมันตั้งแต่ปี 2516 แต่นายโรเบิร์ต ก๊วก มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของมาเลเซียผู้เป็นลุง ให้หลานนายคูน ฮอง ไปขายแป้งโดยให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เฟดเดอรัล ฟลาว มิลส์ฯ ในปี 2529 2 ปีต่อมานายฮอง ได้เสนอให้ลุงขยายธุรกิจเข้าสู่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม โดยขณะนั้นธุรกิจหลักของนายโรเบิร์ต คือน้ำตาล ภายใต้สมญานามว่า ราชาน้ำตาล (Sugar King)
ในปี 2532 นายก๊วก คูน ฮอง ได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ก๊วกออยล์แอนด์เกรนส์ในสิงคโปร์และมีเรื่องไม่ลงรอยกับลุง จึงได้ตัดสินใจออกจากกลุ่มก๊วกบราเธอร์ส ไปเปิดบริษัท วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ ทำธุรกิจน้ำมันปาล์มร่วมกับ นายมาร์ตัว ซีโตรัส (Martua Sitorus) นักธุรกิจอินโดนีเซียเชื้อสายจีน ในประเทศอินโดนีเซียในปี 2534 โดยนักลงทุนคนหนึ่งที่ร่วมซื้อหุ้นในบริษัท วิลมาร์ฯ ซึ่งเป็นบริษัทเปิดใหม่ในขณะนั้นคือนายปีเตอร์ ลิ้ม นักค้าหุ้นที่ลงทุนไป 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในขณะนั้น
วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เข้าตลาดหุ้นสิงคโปร์ในปี 2549 และเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 2550 ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว นายปีเตอร์ ลิ้มได้กลายเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของสิงคโปร์จากเงินลงทุนก้อนนี้ ส่วนนายซีโตรัส ได้กลายเป็นมหาเศรษฐีของอินโดนีเซียจากหุ้นในบริษัท วิลมาร์ฯ เช่นกัน
ในปี 2550 บริษัท ก๊วก บราเธอร์ฯ ของนายโรเบิร์ต ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่โดยถอดเอากิจการน้ำมันพืชและไร่ปาล์ม ของครอบครัวก๊วก ในมาเลเซียคือบริษัท พีพีบีออยล์ฯและกิจการในเครือออกจากตลาดหุ้นในมาเลย์และขายให้กับ บริษัท วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ ที่อยู่ในตลาดหุ้นสิงคโปร์
บริษัท พีพีบีออยล์ฯ ที่เข้าควบรวมกับวิลมาร์ ก่อตั้งในปี 2511 เดิมเป็นไร่อ้อย และขยายตัวเป็นบริษัทเจ้าของไร่ปาล์มน้ำมัน ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย มีไร่ปาล์ม รวมแล้วเกือบ 80,000 เฮกตาร์ในรัฐซาบาห์และซาราวัก และอีกส่วนหนึ่งในอินโดนีเซีย รวมกันแล้วประมาณ 280,000 เฮกตาร์ เมื่อรวมกันแล้ว วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจะเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันพืชครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์มีมูลค่าตลาด 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯทันทีในขณะนั้น
การขายกิจการไร่ปาล์มและปาล์มน้ำมันในมาเลเซีย ให้กับบริษัทวิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ มีผลให้วิลมาร์เป็นเจ้าของกิจการไร่ปาล์มและโรงกลั่น โรงงานน้ำมันพืชและเครือข่ายการจัดจำหน่าย ใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ จีน เวียดนาม นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ส่วนบริษัท ก๊วก บราเดอร์สฯ ของนายโรเบิร์ตและลูก ๆ ได้เป็นเจ้าของหุ้น 32% ของวิลมาร์ ซึ่งเป็นหุ้นใหญ่สุด
หลังจากที่ครอบครัวก๊วก ได้ควบรวมกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในฝั่งมาเลเซียและอินโดนีเซีย เข้าด้วยกันภายใต้การบริหารงานของนายก๊วก คูน ฮอง แล้ว บริษัท วิลมาร์ฯได้ขยายกิจการน้ำมันปาล์ม แบบโจนทะยานและรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่คือน้ำตาลจนทำให้มูลค่าตลาดของบริษัท วิลมาร์ฯ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
บริษัท วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลฯภายใต้การบริหารของนายก๊วก คูน ฮอง ขยายตัวแบบก้าวกระโดดด้วยการซื้อกิจการและร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชโดยรุกหนักในปี 2553 ด้วยการซี้อหุ้นของ บริษัท เคนคานา อะกรีฯ ซึ่งเป็นบริษัทหีบพืชน้ำมันใหญ่ที่สุดของจีนมีกำลังผลิต 15.6 ล้านตัน
ภายในปี 2555 วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลมีไร่ปาล์มในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และแอฟริกา รวมแล้วมากกว่า 326,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 2.04 ล้านไร่) โดยล่าสุดนายก๊วก คูน ฮองได้รุกเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นสูงจากน้ำมันพืชแล้ว ด้วยการตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีใหม่ของอเมริกา ตั้งโรงงาน bio-refinery ทำก๊าซชีวภาพ เคมีภัณฑ์และโอเลโอเคมี ชั้นสูงด้วยเทคโนโลยีใหม่ ที่เมืองสุราบายา อินโดนีเซีย มีกำลังการผลิต 360,000 ตันต่อปี
นอกจากนี้วิลมาร์ ยังได้ซื้อโรงงานผลิตโอเลโอเคมีของบริษัท คูลิมฯ (Kulim) ผลิตน้ำมันปาล์มและเจ้าของไร่ปาล์มรายใหญ่รายหนึ่งในประเทศมาเลเซียเพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่เคมีโอเลโอ
ในปี 2556 วิลมาร์ ซื้อหุ้นกว่า 50% ของไร่ปาล์มของกลุ่มโนเบิลกรุ๊ป ในรัฐปาปัว ของอินโดนีเซีย มีสัมปทานที่ดินทำไร่ 22,953 เฮกตาร์ โดยจะร่วมกันทำไร่ปาล์มน้ำมัน และเป็นช่องทางให้วิลมาร์ ทำไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลในปาปัว วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รุกเข้าสู่อุตสาหกรรมน้ำตาลในปี 2553 โดยซื้อกิจการบริษัท Sucrogen ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลดิบใหญ่สุดของออสเตรเลีย เป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาล 70% ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ มีกำลังการผลิตรวม 1.4 ล้านตัน และยังมีโครงการสร้างโรงงานน้ำตาลที่ปาปัวของอินโดนีเซียพร้อมไร่อ้อยลงทุน 2,000 ล้านดอลลาร์ มีกำลังการผลิตอ้อย 16 ล้านตัน และน้ำตาล 1.5 ล้านตันต่อปี
ในปี 2556 มีข่าวว่าวิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีแผนที่จะซื้อน้ำตาลส่งออกทั้งหมดของออสเตรเลียเพื่อครองตลาดน้ำตาลและทำให้ครอบครัว ก๊วก กลับมาเป็นราชาน้ำตาลในตลาดโลกอีกครั้งหนึ่งและในคราวนี้ครอบครัว ก๊วก จะได้เป็นทั้งราชาน้ำตาลและน้ำมันพืชแห่งเออีซีพร้อมกัน

รูปภาพ
wilmar.png
company factsheet
http://media.corporate-ir.net/media_fil ... r_2013.pdf
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ทยอยเอาคอลัมน์เก่าๆมาลงครับ

รูปภาพ
ยักษ์ธุรกิจ AEC 'ซาน มิเกล'

วันพุธที่ 04 กรกฏาคม 2012 เวลา 09:28 น. - วิชัย สุวรรณบรรณ พิมพ์

ตัวคอลัมน์ด้วยยักษ์ธุรกิจใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ 'ซาน มิเกล' (San Miguel)
ในปี 2554 นิตยสารฟอร์บส จัดให้ บริษัท ซานมิเกล คอร์เปอเรชั่นฯ (SMC) อยู่อันดับที่ 901 ในหมู่ 2,000 บริษัทใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยยอดขายรวม 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 165,000 ล้านบาท) สินทรัพย์ 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 570,000 ล้านบาท) และมูลค่าตลาด 8,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 261,000 ล้านบาท)
ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1889 (พ.ศ. 2432 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5) เมื่อมีนักธุรกิจชาวมะนิลาคนหนึ่งชื่อนาย Don Enrique Ma Barretto de Ycaza y Esteban ขออนุญาตรัฐบาลสเปนตั้งโรงเบียร์ขึ้นในฟิลิปปินส์ ที่เมืองซาน มิเกล ยี่ห้อเบียร์เลยตั้งตามชื่อเมืองและโด่งดังมาจนกระทั่งทุกวันนี้
โรงเบียร์เริ่มเดินเครื่องในอีกหนึ่งปีต่อมา และในช่วงเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมาบริษัท ได้แตกตัวสินค้าออกมาไปมากมายจนนับไม่ถ้วน แต่เบียร์ ซาน มิเกล ยังเป็นตัวหลัก ขณะนี้ติดอันดับ1ใน10 ยี่ห้อเบียร์ที่ขายดีที่สุดในโลก

สินค้าอุปโภคบริโภค ที่ซาน มิเกล ผลิตขึ้นมาป้อนตลาด 60 ประเทศทั่วโลก เหมือนกับเอาสินค้าของเบียร์ช้างมารวมกับซีพี มีทั้งเบียร์ เหล้า เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อไก่ เนื้อสัตว์แปรรูปและอาหารสำเร็จรูป แป้ง ผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งพัฒนาที่ดิน รามอน เอส. อัง และ เอ็ดการ์โด คอจังโก จูเนียร์ สองผู้ยิ่งใหญ่แห่งซาน มิเกล ประธานกรรมการและซีอีโอของบริษัท ซานมิเกลฯ ชื่อนายเอ็ดการ์โด คอจังโก จูเนียร์ (Educardo M. Cojuangco Jr.) อายุ 75 ปีแล้ว เป็นมหาเศรษฐีที่ครั้งหนึ่งมีสินทรัพย์เท่ากับ 25 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ เคยลงสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีประเทศฟิลิปปินส์แต่ไม่ได้รับเลือก

รูปภาพ
นายคอจังโก จูเนียร์ อดีตที่ปรึกษาประธานาธิบดีมาร์คอส กลายเป็นเจ้าของซาน มิเกล หลังจากที่ได้โอกาสซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มหนึ่งในปีค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) และสามารถรวบรวมหุ้นจากผู้ถือหุ้นหลายกลุ่มได้ถึง 31 %
คอจังโก้ รออยู่ 1 ปี เมื่อประธานบริษัทคนเดิมคือนายโซรีอาโน จูเนียร์ เสียชีวิตในปีค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) เขาจึงขึ้นนั่งตำแหน่งประธานบริษัท แต่หลังจากที่พลังประชาชนชาวฟิลิปปินส์โค่นรัฐบาลประธานาธิบดีมาร์คอส ในปี 2529 นายคอจังโกที่ขึ้นเครื่องบินไปฮาวายพร้อมกับมาร์คอส ก็ไม่ได้บริหารซาน มิเกล อีกเพราะรัฐบาลของนางคอราซอน อาควิโน ได้ตั้งลูกชายของนายโซรีอาโน่มาบริหารงานแทน แต่นายคอจังโก้ ก็ได้กลับมาในตำแหน่งประธานบริษัทซาน มิเกลฯ อีกครั้งในปี 2541 เนื่องจากบริษัทมีผลประกอบการตกต่ำต่อเนื่องหลายปี พอเจอวิกฤติต้มยำกุ้งของไทยในปี 2540 เข้าไป ลูกชายโซรีอาโน่ก็เลยตัดสินใจลาออก ทำให้นายคอจังโก้กลับมากุมบังเหียนบริษัทอีกครั้ง

รูปภาพ
สำนักงานใหญ่ของซาน มิเกล ในกรุงมะนิลา คราวนี้ ท่านผู้เฒ่าคอจังโก้ ร่วมกับนายรามอน เอส. อัง (Ramon S. Ang) รองประธาน ปรับโครงสร้างและยุทธศาสตร์ของบริษัทใหม่ เน้นธุรกิจที่กำไร และขยายตัวโดยการร่วมทุนและซื้อกิจการต่างชาติทั่วเอเชียและออสเตรเลีย พร้อมกับรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่มากมาย ทั้งน้ำมัน ไฟฟ้า สาธารณูปโภค สื่อสารโทรคมนาคม สายการบิน ฯลฯ
กิจการที่ซาน มิเกล ซื้อเข้าพอร์ตในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีอาทิ บริษัทเบอร์ริ ของออสเตรเลีย อินโดฟิล รีซอร์ส ของออสเตรเลีย บริษัทแทมปากันฯ เหมืองแร่ทองแดงและทองใหญ่สุดในฟิลิปปินส์ สายการบินฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ส บริษัทเอสโซ่ฯและเอ็กซอนโมบิลของมาเลเซีย เอ็กซอนโมบิล ของบอร์เนียว
ซานมิเกล ขยายโรงงานออกไปหลายประเทศ ทั้งฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย และประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย ซาน มิเกล รุกเข้ามา ด้วยการเข้าซื้อบริษัท ไทยอมฤต บริวเวอรี่ฯ ในปี 2546 ในราคาประมาณ 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้โรงงานผลิตเบียร์ที่ปทุมธานี และในปี 2548 ทุ่มเงินลงทุนอีกกว่า 1,000 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะระยอง
ในส่วนของสินค้าสุรานั้น ซาน มิเกล เข้าร่วมทุนกับกลุ่มตระกูลไชยวรรณ ตั้งบริษัทไทยซาน มิเกล ลิเคอร์ฯขึ้นด้วยเงินทุนกว่าพันล้านบาท ผลิตสินค้าสุราจากโรงงานสุราที่จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นคลื่นอีกลูกหนึ่งที่ซาน มิเกล ยักษ์ธุรกิจเออีซี พร้อมจะเปิดสมรภูมิในไทย
ความเคลื่อนไหวล่าสุดแพลมออกมาจากวงการน้ำอัดลม ว่าซานมิเกล ขายโรงงานผลิตเครื่องดื่มส่วนหนึ่งให้กับเป๊ปซี่ที่ร้างลากับบริษัทเสริมสุขฯ มาหารังผลิตสินค้าใหม่นับเป็นเรื่องแปลก เพราะซาน มิเกล ในฟิลิปปินส์ คบหากับโค้กมาตลอด
ทั้งหมดนี่ ก็คือความเคลื่อนไหวของ ซาน มิเกล ราชันน้ำเมาแห่ง AEC

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,754 5-7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รูปภาพ
sanmiguel.jpg
http://www.sanmiguel.com.ph/
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : 'เอสเอ็ม ไพรม์ โฮลดิ้งส์'

Date: September 26 2012

เอสเอ็ม ไพรม์ โฮลดิ้งส์ เป็นบริษัทแม่ในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็ม ที่ก่อตั้งและสร้างขึ้นโดยนายเฮนรี่ ไซ นักธุรกิจที่รวยที่สุดหกปีซ้อนของประเทศฟิลิปปินส์
เอสเอ็ม (SM) เป็นตัวย่อของร้านขายรองเท้าที่มีชื่อว่า Shoe Mart (SM) ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของนายไซ ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่มีทั้งบริษัทพัฒนาที่ดิน ธนาคาร ค้าปลีก เหมืองแร่ โรงแรม บริการสุขภาพ โดยเป็นเจ้าของเครือข่ายห้างค้าปลีกและธนาคารใหญ่ที่สุดในประเทศตากาล็อก จนนายไซ ได้รับฉายาว่า "ราชาค้าปลีก" ของประเทศ

รูปภาพ
นายเฮนรี่ ไซ ปัจจุบันอายุ 87 ปีแล้วมีลูกหกคน นิตยสารฟอร์บส์ ประเมินว่ามีทรัพย์สินสุทธิเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนปีนี้อยู่ที่ 9,100 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 282,100 ล้านบาท) เป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์หกปีซ้อน โดยในปี 2549 ที่ขึ้นชั้นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งเป็นปีแรกมีสินทรัพย์สุทธิ 4,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 124,000 บาท)
นายไซ และครอบครัว เป็นเจ้าของ บริษัทเอสเอ็ม ไพรม์ฯ เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและมีห้างสรรพสินค้าชื่อ เอสเอ็มมอลล์ 33 แห่ง รวมทั้งเอสเอ็ม ซิตี้ นอร์ธ อีดีเอสเอ ศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์และใหญ่เป็นที่สามในโลกมีพื้นที่ให้เช่า 482,878 ตารางเมตร และห้างมอลล์ออฟเอเชียอันดับสองในฟิลิปปินส์และอันดับสี่ของโลก
ครอบครัวนายไซ เป็นเจ้าของธนาคารบองโก เดอ โอโร ยูนิแบงก์ (Banco de Oro Unibank) ธนาคารใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ และ ไชน่าแบงก์ (China Bank) ธนาคารเอกชนแห่งแรกของประเทศและขณะนี้เป็นธนาคารใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศ

รูปภาพ
ธนาคารบองโก เดอ โอโร ยูนิแบงก์ กลายเป็นแบงก์ที่ใหญ่สุดในประเทศหลังจากที่นายไซซื้อหุ้นทั้งหมดของธนาคาร อีควิทาเบิ้ล พีซีไอ แบงก์ (Equitable PCI Bank) ในปี 2549 และควบรวมกับธนาคารบองโก เดอ โอโร ในปี 2550 เพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและทำธุรกิจการเงินได้ครอบจักรวาล ขณะนั้น อีควิทาเบิ้ล พีซีไอ แบงก์ เป็นแบงก์ใหญ่อันดับสามของประเทศ
ธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งของครอบครัว นายไซ คือธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ครอบครัวนี้เป็นเจ้าของรีสอร์ตและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจระดับสูงของประเทศโดยมีความเคลื่อนไหวล่าสุด คือการคุยกับลอเรนซ์ โฮ ลูกชายของ สแตนลี่ โฮ เจ้าพ่อกาสิโนในมาเก๊า และเจมส์ แพกเกอร์มหาเศรษฐีจากออสเตรเลีย เพื่อทำโครงการสร้างกาสิโนและสถานที่พักผ่อนในมะนิลาด้วยเงินลงทุนหนึ่งพันล้านดอลลาร์
บริษัทเอสเอ็มฯของครอบครัวนายไซ ได้รับใบอนุญาตเปิดกาสิโนหนึ่งในสี่ใบจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ โดยมีเงื่อนไขว่าการลงทุนขั้นต่ำอย่างน้อยต้องหนึ่งพันล้านดอลลาร์ และสร้างขึ้นในบริเวณที่เรียกว่าเอนเตอร์เทนเมนต์ซิตีมะนิลา หรือแพกคอร์ซิตี้ (Pagcor City) เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเลที่อ่าวมะนิลา
สื่อมวลชนในประเทศฟิลิปปินส์เชื่อว่า เอสเอ็มโฮลดิ้งส์ เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงมาโดยตลอดนั้นเกิดจากอุปนิสัยของนายเฮนรี่ ไซ ที่ไม่เคยยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่าง ๆ และนิสัยรักการเรียนของเขา
นายเฮนรี่ ไซ เกิดที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้เมืองเซียะเหมิน มณฑลฮกเกี้ยนของจีนในวันคริสต์มาสคือวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2467 พออายุได้ 12 ขวบก็นั่งเรือมาที่ประเทศฟิลิปปินส์เพื่อตามหาพ่อที่เดินทางมาแสวงโชคตั้งแต่ตัวเขายังเล็กและพบพ่อทำงานหนักเป็นเจ้าของพื้นที่ร้านซาริซาริ ซึ่งก็คือร้านโชวห่วยในภาษาตากาล็อกมีเนื้อที่แค่ 30 ตารางเมตรริมถนนเล็ก ๆ สกปรก ๆ ใกล้ ๆ ไชน่าทาวน์ในมะนิลา
เฮนรี่ ไซ ช่วยพ่อทำงานในร้านซาริซาริอย่างหนักเช่นเดียวครอบครัวคนจีนที่สร้างเนื้อสร้างตัวทั้งหลาย จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นเข้ายึดครองทำให้เศรษฐกิจตกต่ำร้านค้าของสองพ่อลูกโดนทำลาย พ่อของเฮนรี่ ไซ ตัดสินใจเดินทางกลับจีน ปล่อยให้ลูกชายสู้ต่อไปเพียงลำพัง
หลังสงครามโลก เฮนรี่ ไซ ไม่ยอมแพ้กลับไปเปิดร้านค้าขายอีกโดยใช้รถเข็นเอารองเท้าเก่าทหารอเมริกันไปขายตามถนนและเติบโตจนเปิดร้านขายรองเท้านำเข้าและสามารถเปิดวงเงินกู้กับธนาคารไชน่าแบงก์ได้ในปี 2492 และเป็นคนแรกที่เปิดร้านขายรองเท้าติดแอร์ชื่อว่า Shoe Mart (SM)
จนกระทั่งปีพ.ศ. 2514 กิจการร้านรองเท้าติดแอร์ ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นห้างสรรพสินค้าเอสเอ็มมอลล์ และขยายเป็นธุรกิจใหญ่โตกลายเป็นราชาค้าปลีกแห่งฟิลิปปินส์ในที่สุด
ในขณะที่นายเฮนรี่ ไซ ต้องทำงานหนักเพื่อสร้างฐานะ เขาก็ไม่เคยทิ้งเรื่องการศึกษา ตั้งแต่เหยียบแผ่นดินตากาล็อกตอนอายุ 12 ขวบแม้ยากจนแต่ดิ้นรนเข้าเรียนที่โรงเรียนจีนที่ตั้งโดยมิสชันนารีซึ่งต้องเร่งเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองอย่างหนักแต่ก็สามารถเรียนจนจบมัธยมได้ และในปี 2493 ก็ตัดสินใจเรียนต่อในมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์นยูนิเวอร์ซิตีสาขาพาณิชยศาสตร์แต่เรียนได้สองปีต้องกลับไปดูแลธุรกิจ
ปัจจุบันเฮนรี่ ไซ มอบหมายให้ลูกชายลูกสาวและหลานช่วยดูแลธุรกิจที่หลากหลายโดยมีลูกชายคนโตซึ่งเป็นลูกคนที่สามคือ เฮนรี่ ไซ จูเนียร์ ฉายา บิ๊กบอย และลูกสาวคือ เทเรซิตา ไซ-โคซอน เป็นหัวเรือสำคัญ
ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานายฮานส์ ไซ ลูกชายอีกคนหนึ่งของนายเฮนรี่ ไซ ประกาศว่าบริษัทของเขามีแผนจะสร้างศูนย์การค้า 4-5 แห่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และหนึ่งแห่งในประเทศจีนทุกๆปีในแผนสามปีข้างหน้า
คำประกาศนี้ทำให้สื่อมวลชนในฟิลิปปินส์ยกย่องให้นายเฮนรี่ ไซ เป็นราชาค้าปลีกและศูนย์การค้าแห่งเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเท่ากับว่า "เฮนรี่ ไซ" เป็นราชาค้าปลีกแห่งเออีซี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,778 27-29 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปภาพ
smph.jpg
http://www.smprime.com
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
Lastpun
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 819
ผู้ติดตาม: 2

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับมีประโยชน์ดีครับ :D :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 5

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC :'พงสะหวัน กรุ๊ป'

บริษัท พงสะหวัน กรุ๊ปฯ เป็นกลุ่มบริษัทใหญ่ของประเทศลาว ที่ประกาศว่า พร้อมรับมือกับการรวมตัวของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สื่อมวลชนในประเทศไทยประเมินว่า กลุ่มพงสะหวัน กรุ๊ป ในปัจจุบันมีธุรกิจมูลค่ารวมกันกว่า 8,000 ล้านบาทจากกิจการธนาคาร สายการบิน การค้าระหว่างประเทศ โทรคมนาคม น้ำมัน โรงแรม และก่อสร้าง กิจการหลัก ๆ ในเครือประกอบด้วยธนาคารพงสะหวันซึ่งเป็นแบงก์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สายการบินลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ส สายการบินเอกชนแห่งแรกของลาว โรงแรมพงสะหวันรีสอร์ทที่วังเวียน บริษัทพงสะหวันก่อสร้างฯ และบริษัทพงสะหวันเทเลคอมมูนิเคชั่นสแปร์พาร์ทซัพพลายฯ

รูปภาพ
ผู้ที่ก่อตั้ง กลุ่มบริษัทพงสะหวัน กรุ๊ปฯ คือนายอ๊อด พงสะหวัน ปัจจุบันอายุ 56 ปี มีบุตร 4 คน เป็นนักธุรกิจชาวลาวที่มีความคิดทันสมัย กล้าบุกเบิกจนกลายเป็นนักธุรกิจแถวหน้าสุดคนหนึ่งของประเทศที่มีพลเมืองเพียง 6 ล้านคน แต่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดประเทศหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เล่ากันว่า นายอ๊อด เคยเป็นเด็กส่งน้ำแข็งในตลาด แต่ด้วยความเป็นคนชอบศึกษาเรียนรู้จึงสามารถสร้างธุรกิจอันใหญ่โตขึ้นมาได้ ซึ่งในเรื่องนี้ผู้ก่อตั้งพงสะหวัน กรุ๊ป ให้สัมภาษณ์สื่อของไทย ว่าครอบครัวของเขาไม่ได้ยากจน พ่อแม่มีความคิดอนุรักษนิยมไม่ยอมให้ลูกไปเปิดธุรกิจเอง ทำให้อ๊อดต้องทะเลาะกับพ่อในวัย 20 กลาง ๆ เพราะมีความฝันอยากมีธุรกิจของตัวเอง
นายอ๊อดให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า เขาเริ่มต้นทำธุรกิจส่งเนื้อมะขามมาขายประเทศไทย เอาแตงโมจากสะหวันนะเขตไปขายที่เมืองเวียงจันทน์ จนกระทั่งอายุใกล้ 30 ปี ก็เริ่มธุรกิจโรงเลื่อยไม้และส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ไปหลายประเทศ จนกระทั่งปี 2538 จึงได้ตั้งบริษัท พงสะหวันเทเลคอมมูนิเคชั่นสแปร์พาร์ทซัพพลายฯ ขึ้นที่เวียงจันทน์เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและสื่อสารโทรคมนาคมแบรนด์ดัง ๆ จากต่างประเทศ
หลังการขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ไม่นาน นายอ๊อดก็สนใจกิจการธนาคาร ทั้งที่ไม่มีพื้นความรู้ทางด้านการเงินมาก่อน แต่เป็นความฝันที่อยากจะให้สถาบันการเงินในประเทศลาวมีความทันสมัยเหมือนในประเทศอื่นและนโยบายของรัฐบาลลาวเองก็ต้องการให้มีการพัฒนาสถาบันการเงินในประเทศเพื่อเป็นพื้นฐานให้มีการลงทุนในประเทศมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้เอกชนตั้งธนาคารได้ และธนาคารพงสะหวันก็เป็นรายหนึ่งในกลุ่มของผู้ที่ไปขอใบประกอบกิจการธนาคารจากรัฐบาล และเป็นธนาคารที่ประความสำเร็จมากที่สุด

รูปภาพ
ผู้ก่อตั้งธุรกิจกลุ่มพงสะหวัน กรุ๊ป ใช้เวลา 5 ปี ศึกษาและปรึกษาผู้รู้ทางด้านการเงินการธนาคารจนกระทั่ง สามารถเปิดธนาคารพงสะหวันขึ้นได้ในเดือนมีนาคม 2550 จากนั้นก็ขยายกิจการอย่างรวดเร็วปล่อยเงินกู้เข้าสู่รากหญ้าสู้กับตลาดเงินกู้ใต้ดิน รณรงค์เปลี่ยนนิสัยคนลาวให้นำเงินมาฝากที่ธนาคารมากกว่าเก็บซ่อนไว้ที่บ้าน
ธนาคารพงสะหวันสามารถสร้างฐานลูกค้าได้ถึง 2 แสนบัญชีภายใน 2 ปี ทำให้ทิ้งห่างคู่แข่งกลายเป็นธนาคารเอกชนใหญ่ที่สุดในประเทศในทันที
แต่ความสำเร็จของธนาคารพงสะหวันไม่ได้มาโดยง่ายในปี 2553 มีการปล่อยข่าวลือว่านายอ๊อดโดนจับ ทำให้คนฝากเงินตื่นตกใจแห่ไปถอนเงินแต่ผู้บริหารธนาคารก็ใช้วิธีเรียกทีวีมาแถลงข่าวทุกวันและธนาคารชาติแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ช่วยโดยการออกข่าวปฏิเสธข่าวลือและยืนยันว่าธนาคารพงสะหวันมีฐานะมั่นคง
หลังจากตั้งตัวได้แล้ว ธนาคารพงสะหวันเร่งขยายเครือข่ายข้ามพรมแดน ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ฯทำธุรกิจหลักทรัพย์ร่วมกัน ปี 2551 ร่วมกับธนาคารกรุงเทพทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงิน และต้นปี 2555 ทั้ง 2 แบงก์เชื่อมระบบบัตรเอทีเอ็ม ทำให้คนลาวกดเงินบาทจากตู้เอทีเอ็มของแบงก์กรุงเทพได้ทั่วไทย พร้อมทั้งร่วมเป็นพันธมิตรกับเซ็นทรัลพลาซาที่อุดรธานีเพื่อให้คนลาวใช้บัตรเครดิตที่ห้างสรรพสินค้าในไทยได้
นอกจากฝั่งชายแดนไทยแล้ว ธนาคารพงสะหวันยังได้เจรจากับธนาคารเวียดนามเพื่อการเกษตรและพัฒนาท้องถิ่น (อะกริแบงก์) ในความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราสำหรับการค้าชายแดนลาว-เวียดนามและการเชื่อมต่อระบบบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิตเช่นเดียวกับฝั่งไทย
เมื่อกิจการธนาคารเคลื่อนที่ไปด้วยดีแล้ว นายอ๊อดก็รุกเข้าสู่ธุรกิจสายการบิน เริ่มต้นด้วยการซื้อกิจการบริษัท ลาวคาปริคอร์แอร์ จำกัด ซึ่งเป็นสายการบินในประเทศในปี 2553 และเปลี่ยนชื่อเป็นสายการบินพงสะหวัน พร้อมกับสั่งซื้อเครื่องบินจากรัสเซียและจีน แต่สุดท้ายว่าจ้างบริษัทบางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด จากประเทศไทยให้หาบุคลากรเกือบทั้งหมดในช่วงแรก และวางระบบการจัดการและการตลาดสำหรับเส้นทางบินระหว่างประเทศ โดยใช้เครื่องบินโบอิ้งและเปลี่ยนชื่อเป็นสายการบินลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ส
หนังสือพิมพ์ในเวียดนามรายงานว่า ลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ บินระหว่างเวียงจันทน์-กรุงเทพฯเป็นปฐมฤกษ์ก่อนจะขยายเส้นทางบินไปเมืองใหญ่ ๆ ใน กัมพูชา จีน เวียดนาม และสิงคโปร์ โดยจะซื้อเครื่องบินโบอิ้งสภาพดี 6 ลำใน 2 ปี
อ๊อด พงสะหวัน และทายาทคนสำคัญคือนายไพบูลย์ พงสะหวัน หนุ่มปริญญาโทจากประเทศสหรัฐอเมริกา ยังมีงานอีกมาก ในการผลักดันกลุ่มบริษัทของเขาให้ต่อกรกับยักษ์ธุรกิจแห่งเออีซีทั้งหลายได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ แต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศลาว จะทำให้กลุ่มพงสะหวัน กรุ๊ปมีอนาคตที่ยาวไกล
เชื่อว่าพงสะหวัน กรุ๊ป จากประเทศลาว มีโอกาสอย่างมากที่จะขึ้นสู่ทำเนียบยักษ์ธุรกิจแห่งเออีซี
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,780 วันที่ 4-6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บริษัทฯ นี้ไม่ได้ listed ใน ตลท ลาวนะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 6

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : 'ซาลิม กรุ๊ป'

คนที่ก่อตั้งและสร้างอาณาจักรธุรกิจที่มีชื่อว่า ซาลิม กรุ๊ป (Salim Group) เคยเป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และครั้งหนึ่งสื่อตะวันตกระบุว่าเป็นคนจีนโพ้นทะเลที่รวยที่สุดในโลก

รูปภาพ
เขาคนนั้นคือนายลิม ซิว เหลียง หรือในชื่อ ซูโดโน ซาลิม ที่คนอินโดนีเซียคุ้นเคย นายลิม แม้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาที่สิงคโปร์อายุ 97 ปี แต่อาณาจักรธุรกิจที่เขาสร้างขึ้นมา แม้สะดุดไปช่วงหนึ่ง ยังยิ่งใหญ่และขยายเติบโต ภายใต้การบริหารงานของลูก ๆ นำโดยนายแอนโทนี่ ซาลิม
ซาลิม กรุ๊ป เคยเป็นเจ้าของหลายบริษัทในประเทศไทย อาทิ เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (ปัจจุบันอยู่ในอ้อมกอดของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี) บริษัทเฟิร์สแปซิฟิกแลนด์ฯ บริษัทเฟิร์สแปซิฟิกเดวี่ส์ฯ ทำธุรกิจค้าขายและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยร่วมกับนายวินัย พงศธร ลูกชายของอดีตผู้บริหารระดับสูงของเบอร์ลี่ยุคเกอร์ มีบริษัทเงินทุนร่วมกับนายปิ่น จักกะพาก และเกือบจะซื้อธนาคารเอเชีย (ปัจจุบันธนาคารยูโอบี) เข้ามาอยู่ในเครือข่าย
แม้ว่าในปัจจุบัน ครอบครัว ซาลิม จะเสียตำแหน่งผู้ร่ำรวยที่สุดในอินโดนีเซียไป แต่ยังรักษาแชมป์กลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของเมืองอิเหนาและที่สำคัญยังเป็นผู้ผลิตบะหมี่สำเร็จรูปใหญ่ที่สุดของโลก บะหมี่ยี่ห้อ Indomie ของบริษัทหาซื้อได้ทั่วโลก แผนกบะหมี่ของบริษัทอินโดฟูดของกลุ่มซาลิม ล่าสุดมี 15 โรงงาน กำลังการผลิตบะหมี่สำเร็จรูปรวมกัน 15,800 ล้านชิ้นต่อปีและกำลังขยายเพิ่มขึ้นอีก
ชัดเจนว่า ครอบครัว ซาลิม เป็นราชาบะหมี่สำเร็จรูปแห่งเออีซี

รูปภาพ

นายลิม ซิว เหลียง ผู้ก่อตั้งซาลิม กรุ๊ป เป็นชาวฮกเกี้ยนเกิดที่ประเทศจีน เป็นลูกชาวนาที่อพยพตามพี่ชายและพี่เขยมาแสวงโชคที่เมดาน เมืองตอนเหนือของเกาะสุมาตราในปี 2479 ตอนนั้นพี่ชายมาค้าขายน้ำมันถั่วลิสงและกานพลูอยู่ที่นั่น
จุดเปลี่ยนสำคัญของนายลิม คือการได้ช่วยส่งเสบียงให้กับกองกำลังทหารกู้ชาติที่ต่อสู้กับชาวดัตช์เพื่อเอกราชของประเทศอินโดนีเซียและได้สร้างสัมพันธ์กับอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต ขณะที่ยังเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยอยู่ เมื่อ ซูฮาร์โต ได้เป็นประธานาธิบดี นายลิม ก็ได้สิทธิ์ผูกขาดการค้าหลายชนิดของประเทศ สินค้าสำคัญที่สร้างความร่ำรวยให้อย่างรวดเร็ว คือการผูกขาดการค้ากานพลู
กานพลูเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตบุหรี่หอม เป็นสินค้าชื่อดังของประเทศในอดีต มหาเศรษฐีชื่อดังของประเทศอิเหนาส่วนใหญ่ก็ร่ำรวยขึ้นมาจากการทำบุหรี่หอม คล้ายกับเศรษฐีในประเทศไทยจำนวนมากที่ร่ำรวยมาจากสัมปทานผลิตสุรา
จากกานพลู นายลิมได้สิทธิ์ผูกขาดการนำเข้ารถยนต์ สร้างโรงงานปูนซีเมนต์คือบริษัทอินโดซีเมนต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศมี 12 โรงงานมีกำลังการผลิตรวม 18.6 ล้านตัน สร้างธุรกิจอาหารในนามของบริษัทอินโดฟูด ผู้ผลิตบะหมี่สำเร็จรูปรายใหญ่ที่สุดของโลก และยังมีผลิตภัณฑ์อาหารอีกหลายชนิด โรงงานแป้งสาลี ในนามของกลุ่มบริษัทอินเตอร์ฟลาวเออร์ (Interflour) เป็นโรงงานแป้งสาลีใหญ่ที่สุดในเออีซี มีธุรกิจปาล์มครบวงจร รวมทั้งไร่ปาล์ม โรงเลื่อยและอสังหาริมทรัพย์
นอกจากการขยายตัวในประเทศแล้ว นายลิม ซิว เหลียง ยังได้นำเงินจากอินโดนีเซียไปขยายอาณาจักรนอกประเทศในนามของกลุ่มเฟิร์สแปซิก ซึ่งมีมือบริหารคนสำคัญคือนายมานูเอล ปังกิลินัน (แมนนี่) อดีตนักการธนาคารจากประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อนของลูกชาย
กลุ่มเฟิร์สแปซิฟิก มีฐานธุรกิจอยู่ที่ฮ่องกงเริ่มตั้งบริษัทในปี 2524 หลังจากที่นายปังกิลินันเข้ามาร่วมงานแล้วก็ใช้วิธีการขยายธุรกิจด้วยการซื้อกิจการในช่วงแรก ๆ ลุยซื้อกิจการธนาคารทั้งในฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และเน้นธุรกิจทางด้านการเงินและโทรคมนาคม แต่ภายหลังขายธุรกิจการเงินออกไปและหันมาทำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เหมืองแร่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมืองแร่ทองคำ และขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์
การถอยออกจากธุรกิจการเงินของเฟิร์สแปซิฟิก สอดคล้องกับการถอยออกจากธุรกิจธนาคารของบริษัทแม่ที่อินโดนีเซีย โดยก่อนเกิดวิกฤติการเงินต้มยำกุ้งในปี 2540 ซาลิม กรุ๊ปมีกิจการรวม 500 บริษัท มีพนักงานทั่วอินโดนีเซีย 200,000 คน ทรัพย์สินมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ (620,000 ล้านบาท) มีหนี้ 4,800 ล้านดอลลาร์ หนึ่งในกิจการสำคัญของครอบครัว ซาลิมขณะนั้นคือธนาคารเซ็นทรัลเอเชีย (บีซีเอ) แบงก์เอกชนใหญ่ที่สุดในประเทศ
วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ทำให้ธนาคารทั้งระบบของอินโดนีเซียปั่นป่วน ประชาชนแห่ถอนเงินจากแบงก์บีซีเอ รัฐบาลอิเหนาในตอนนั้น บีบซื้อบีซีเอจากครอบครัวซาลิม ทำเป็นแบงก์รัฐในปี 2541 และต่อมาขายแบงก์ต่อให้กับสองพี่น้องตระกูลฮาร์โตโน นายโรเบิร์ต บีดี และไมเคิล บัมบัง ฮาร์โตโน ทำให้สองพี่น้องกลายเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย
อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวซาลิม หยุดชะงักไประยะหนึ่งคือการสิ้นอำนาจของประธานาธิบดี ซูฮาร์โตและเกิดจลาจลเผาบ้านของนายลิม ซิว เหลียง ในเดือนพฤษภาคม 2541 ทำให้ครอบครัวซาลิมต้องย้ายไปอยู่สิงคโปร์นับแต่วันนั้น
แม้ครอบครัวซาลิมต้องขายสินทรัพย์บางส่วนและย้ายนิวาสถานไปอยู่สิงคโปร์แต่ธุรกิจหลัก ๆ ทางด้านอุตสาหกรรมยังเดินต่อโดยนายแอนโทนี ซาลิมต้องเดินทางไปมาระหว่างจาการ์ตาและสิงคโปร์ เพื่อสานต่ออาณาจักรธุรกิจหลังยุคซูฮาร์โต เปลี่ยนการบริหารเป็นระบบมืออาชีพ ทำให้กิจการหลัก ๆ ของครอบครัวสามารถขยายตัวและแข่งขันได้โดยไม่ต้องมีรัฐบาลมาช่วย
ปัจจุบัน ซาลิม กรุ๊ป รุกเข้าไปลงทุนขนาดใหญ่ในเขตเบงกอลตะวันตก รัฐทางตะวันออกของประเทศอินเดียมีโกลกาตา (กัลกัตตา) เป็นเมืองหลวง เพื่อสร้างอาณาจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร ถนนไฮเวย์ เมืองใหม่และสะพาน เป็นแนวรบธุรกิจใหม่ของครอบครัว ซาลิม โดยร่วมกับรัฐวิสาหกิจอินเดีย บริษัทของจีนและสิงคโปร์
นี่คือ ซาลิม กรุ๊ป ราชันย์บะหมี่สำเร็จรูป แห่งเออีซี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,782 วันที่ 11-13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ปล.Salim group ยังเป็น unlisted company นะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 7

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : 'อองเบ็งเส็ง'

รูปภาพ
สองสามีภรรยานักธุรกิจที่มีสีสันที่สุดของเออีซี คืออองเบ็งเส็ง และ คริสติน่า ออง เจ้าของแบรนด์เนมและสิทธิ์ในแบรนด์เนมสินค้าระดับสูง โรงแรมและรีสอร์ตหรูมากมายจนสามารถพูดได้ว่าครอบครัวนี้เป็น ราชาแบรนด์หรูแห่งเออีซี
สามีภรรยาคู่นี้เป็นเจ้าของแบรนด์ มัลเบอร์รี่ (Mulberry) คลับ 21 (Club 21) ฮาร์ดร็อคโฮเต็ลแอนด์รีสอร์ท ฮาร์ดร็อคคาเฟ่ โรงแรมและรีสอร์ตโฟร์ซีซันในหลายเมือง สิงคโปร์กรังด์ปรีซ์ผู้จัดการแข่งรถฟอร์มูล่าวัน โรงแรมหรู ฮัลคิน และเมโทรโพลิแทน ยีนส์อาร์มานี่ ไอศกรีมฮาเกน ดาส รีสอร์ตและสปาโคโมแชมบาลาที่โด่งดังมาจากบาหลี
นิตยสารฟอร์บส์ ระบุว่า อองเบ็งเส็ง (ปัจจุบันอายุ 67 ปี) และ คริสติน่า ออง ล่าสุดมีทรัพย์สินสุทธิรวมกันที่ 1,900 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 58,900 ล้านบาท) เป็นมหาเศรษฐีอันดับสิบในสิงคโปร์

รูปภาพ
ทั้งคู่เป็นเจ้าของหลายธุรกิจในประเทศไทย มีร้านคลับ 21 และร้านขายเสื้อผ้าแบรนด์เนมหลายยี่ห้อ โรงแรมเมโทรโพลิแทนกรุงเทพฯ คอนโดมิเนียม เดอะเม็ท ที่สาทรเป็นอาคารที่สูงอันดับห้าของประเทศไทยมี 66 ชั้น รีสอร์ตพ้อยท์ยามู ที่แหลมยามู ภูเก็ต และโรงแรมฮาร์ดร็อคที่พัทยา

รูปภาพ
โครงการใหญ่ล่าสุดของอองเบ็งเส็งคือ ตึกโฟร์ซีซันส์เพลส 65 ชั้น สูงเป็นอันดับสองในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย อยู่ใกล้ ๆ กับ อาคารคู่เปโตรนาสที่สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โครงการนี้เป็นคอมเพล็กซ์ ที่มีทั้งคอนโดมิเนียม โรงแรมห้าดาวที่บริหารโดยโฟร์ซีซัน แอนด์รีสอร์ตแคนาดา เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และศูนย์การค้า
นายอองเบ็งเส็ง ได้รับฉายาว่า นักธุรกิจจอมลุย เขาเกิดในครอบครัวที่มีฐานะพอสมควรในประเทศมาเลเซียและอพยพตามครอบครัวไปอยู่ที่สิงคโปร์ตอนอายุ 4 ขวบ เรียนหนังสือในโรงเรียนมิสชันนารี สมัยหนุ่ม ๆ เป็นนักกรีฑาระดับแนวหน้าของประเทศและไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษทางด้านประกัน
เรียนจบแล้ว อองเบ็งเส็ง ทำงานด้านประกันภัยให้หลายบริษัทจนได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของบริษัท Haw Par เจ้าของยาหม่องตราเสือ
การแต่งงานกับคริสติน่า อองในปี 2515 เป็นการเอาเงินต่อเงิน เพราะบิดาของคริสติน่า ออง คือ ปีเตอร์ ฟู ยุน เสียก (Peter Fu Yun Siak) เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท คูโอ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ (Kuo International) บริษัทเทรดดิ้งที่เริ่มต้นด้วยการค้าขายไม้ ขี้ผึ้งและเปลี่ยนไปค้าน้ำมัน
หลังจากแต่งงานแล้ว นายอองทำงานกับพ่อตาซื้อขายน้ำมันทำเงินได้จำนวนมากเนื่องจากเก็งตลาดเก่ง ก่อนขยายเข้าสู่ธุรกิจอื่นอีกมากมาย
ธุรกิจของ อองเบ็งเส็ง และภรรยา ส่วนใหญ่อยู่ในสามกลุ่มหลัก ๆ คือโรงแรมและรีสอร์ตหรู เสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นหรู และตัวแทนจำหน่ายรถหรู
ธุรกิจโรงแรม เป็นกิจการที่นายอองเบ็งเส็ง ร่วมกับพ่อตาเริ่มขึ้นในปี 2518 ด้วยการซื้อโรงแรมสิงคโปร์ฮิลตันและขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในช่วงหนึ่งได้ไปกว้านซื้อโรงแรมชื่อดังมากมายทั้งในยุโรปและอเมริกา แต่หลังจากที่เกิดวิกฤติการเงินต้มยำกุ้งในปี 2540 นายอองได้ขายโรงแรมในอเมริกาและยุโรปออกไป และหันมาขยายตัวในเอเชีย ก่อนจะนำโรงแรมมารวมกันภายใต้ชื่อกลุ่มเอชพีแอล โฮเต็ลส์แอนด์รีสอร์ต (HPL Hotels & Resorts) จดทะเบียนในสิงคโปร์
ปัจจุบัน กลุ่มเอชพีแอล เป็นเจ้าของโรงแรมและรีสอร์ต 18 แห่งใน 8 ประเทศ ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ ภูฏาน ฯลฯ
รูปภาพ
เอชพีแอล ยังเป็นเจ้าของและหุ้นส่วนในโครงการคอนโดมิเนียมและศูนย์การค้าระดับบนในภูมิภาค อาทิโครงการโฟร์ซีซันพาร์ก โครงการนาซิม เจด (Nassim Jade) ที่สิงคโปร์ โฟร์ซีซันเพลส ที่กัวลาลัมเปอร์ เดอะเม็ท ที่กรุงเทพฯ ศูนย์การค้าฟอรัมเดอะช็อปปิ้งมอลล์ที่สิงคโปร์ รวมทั้งยังเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ ฮาร์ดร็อคคาเฟ่ และไอศกรีมฮาเกน ดาส
ทางด้านคริสติน่า เริ่มทำธุรกิจโดยเปิดร้านคลับ 21 ในปี 2515 ที่สิงคโปร์ ปีเดียวกับที่เธอแต่งงานกับอองเบ็งเส็ง ปัจจุบัน คลับ 21 กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการร้านขายสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนม มีเครือข่ายร้านขายสินค้าแบรนด์เนมชั้นนำทั่วโลก ตั้งแต่ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย อังกฤษไปถึงอเมริกา
คลับ 21 บริหารเครือข่ายร้านขายสินค้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลกมากมายหลายแบรนด์ อาทิ Donna Karan, Calvin Klein, Giorgio Armani, Mulberry, Dolce & Gabbana, Diesel, Paul Smith, Issey Miyake, Comme des Garcons, Lanvin ฯลฯ
นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้ว คริสติน่ายังบริหารบริษัท โคโมโฮเต็ลส์แอนด์รีสอร์ทส์ จำกัด เจ้าของและผู้บริหารโรงแรมและรีสอร์ตระดับบนหลายแห่งอาทิ โรงแรม ฮัลกินลอนดอน และเมโทรโพลิแทน ลอนดอน เมโทรโพลิแทนกรุงเทพฯ รีสอร์ตที่เกาะมัลดีฟส์และภูเก็ต รีสอร์ตที่บาหลีและภูฏาน รีสอร์ตที่เกาะเติกส์และเคคอส และสปาโคโมแชมบาลาที่โด่งดังมาจากรีสอร์ตของเธอที่บาหลี
กลุ่มธุรกิจตัวแทนรถหรูนั้นอยู่ภายใต้ร่มธงของ โคโมโคโฮลดิ้งส์กรุ๊ป (Komoco Holdings Group) ก่อตั้งขึ้นในปี 2529 เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และขยายตัวเข้าสู่รถแบรนด์หรูหลังจากที่นายอองเบ็งเส็งเข้าร่วมถือหุ้น กลุ่มนี้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฮุนได ฮาร์เลย์ เดวิดสัน รถจี๊ป เฟอร์รารี่ เบนซ์ โดยขยายตัวเข้าไปในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอังกฤษ ทำให้ต่อยอดไปสู่การซื้อสิทธิ์ในการจัดการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน เป็นธุรกิจหลักกลุ่มที่สามของอองเบ็งเส็งและภรรยา
ฟันธงได้เลยว่าสองสามีภรรยาคู่นี้ คือราชาและราชินีสินค้าแบรนด์หรู แห่งเออีซี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,784 วันที่ 18-20 ตุลาคม พ.ศ. 2555
hpl.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 8

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : อนันดา กริชนัน

รูปภาพ

นายอนันดา กริชนัน เป็นมหาเศรษฐีมาเลเซีย เชื้อสายชาวทมิฬจากศรีลังกา ซึ่งเคยมีข่าวลือว่าจะซื้อทีมฟุตบอลนิวคาสเซิลในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษแต่เขาปฏิเสธ นิตยสารฟอร์บส์จัดให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับสองในมาเลเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งบอกได้ว่าเป็นมหาเศรษฐีอันดับสองของเออีซี

ฟอร์บส์ ประเมินว่า นายกริชนัน ปัจจุบันอายุ 74 ปีมีสินทรัพย์สุทธิ 9,900 ล้านดอลลาร์ (306,900 ล้านบาท) มีลูกชายคนเดียว แต่ลูกชายไม่รับมรดกกลับไปบวชเป็นพระในบวรพระพุทธศาสนา สายพระวัดป่าในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 18 ปีแล้วมีชื่อทางพระว่า อาจารย์สิริปันโน จบจากประเทศอังกฤษพูดได้ 8 ภาษา

นายกริชนัน เป็นเจ้าของกิจการมากมาย หลัก ๆ ในปัจจุบันคือบริษัท Maxis Bhd บริษัท Astro Holdings Sdn Bhd บริษัท Tanjong Plc บริษัท MEASAT Global Bhd บริษัท Excorp N.V. บริษัท PanOcean Management บริษัท Pacific States Investments และบริษัท Pan Pools Malaysia

บริษัท Maxis Bhd เป็นเจ้าของเครือข่ายโทรคมนาคมในมาเลเซียเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์รายใหญ่ที่มีลูกค้ากว่า 14 ล้านหมายเลข
Astro Holdings ทำธุรกิจทางด้านคอนเทนต์ ทั้งการสร้างภาพยนตร์ รายการทีวี พิมพ์นิตยสาร มีสถานีวิทยุ เจ้าของเคเบิลทีวีใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย Tanjong Plc เป็นเจ้าของเครือข่ายโรงหนังและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการนันทนาการ และยังมีรีสอร์ตที่เป็นสวนน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี
บริษัท MEASAT Global Bhd เป็นเจ้าของดาวเทียม 4 ดวงมีพื้นที่ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม 145 ประเทศ ตั้งแต่เอเชียยันแอฟริกา มีรายงานด้วยว่า นายกริชนันเป็นเจ้าของกิจการเดินเรือ น้ำมัน เกมมิ่ง (พนัน) และมีหุ้นในบริษัทสร้างหนังทีวีของฮ่องกงทั้งทีวีบี และชอว์ บราเธอร์

นายกริชนัน เกิดในปี 2471 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ในเขตบริกฟิลด์ส (Brickfields) ย่านที่เรียกกันว่า ลิตเติลอินเดีย พ่อแม่เป็นชาวทมิฬ ที่อพยพมาจากประเทศศรีลังกา ตอนเป็นเด็ก เข้าเรียนที่โรงเรียน วิเวกนันทะทมิฬสคูล ที่บริกฟิลด์ส ต่อมัธยมที่โรงเรียน วิคทอเรีย อินสติติวท์ ในกัวลาลัมเปอร์และชิงทุนโคลัมเบียได้ไปเรียนต่อรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยที่ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย จบปริญญาตรีได้เกียรตินิยม และไปเรียนต่อโทเอ็มบีเอที่ฮาร์วาด ยูนิเวอร์ซิตี้ จนจบการศึกษาในปี 2507
เรียนจบแล้ว นายกริชนันเริ่มทำงานในบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจในกัวลาลัมเปอร์ก่อนที่จะตั้งบริษัทของตัวเองชื่อว่า เอ็กส์ออยล์ เทรดดิ้ง ทำธุรกิจซื้อขายสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในหลายประเทศ ก่อนจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจเกี่ยวกับการพนันคือลอตเตอรี่และรับแทงม้า ก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมและบันเทิง

ชื่อของนายกริชนันเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวโลกเมื่อเขาช่วยจัดคอนเสิร์ต Live Aid ร่วมกับนายบ๊อบ เกลดอฟ (Bob Geldof) ช่วงกลางทศวรรษ 1980 หลังจากนั้นไม่นาน ก็กวาดซื้อบริษัทโทรคมนาคม บริษัทดาวเทียม และบันเทิง โดยการซื้อกิจการที่สร้างความฮือฮาให้แก่วงการคือการซื้อบริษัท แมกซิส คอมมูนิเคชั่นฯ ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยซื้อจากบริษัท บริติชเทเลคอมฯ และทีทีแอนด์ดี ในราคา 680 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หลังจากกวาดซื้อบริษัทโทรคมนาคมและบันเทิงในมาเลเซียแล้ว นายกริชนันนำธุรกิจโทรศัพท์มือถือและรายการทีวี ขยายเข้าสู่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซีย

สื่อในมาเลเซียและสิงคโปร์ ระบุว่านายกริชนัน เป็นนักธุรกิจที่เก็บตัวเงียบที่สุด ไม่ชอบเป็นข่าว ไม่ชอบงานสังคม เคลื่อนไหวอย่างเงียบเชียบ คนรู้จักชีวิตส่วนตัวของเขาน้อยมาก แม้ว่าเขาเป็นเศรษฐีใหญ่ขนาดนี้และมักจะเก็บงำการเคลื่อนไหวทางธุรกิจเป็นความลับ ไม่มีตำแหน่งบริหารในบริษัทของตัวเอง ไม่เคยเข้าร่วมประชุมของบริษัท ไม่ร่วมการสัมมนาใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนมากให้มืออาชีพเป็นคนทำงานแทน

วงการค้าหุ้นในมาเลเซียระบุว่า นายกริชนัน ซึ่งมีชื่อที่รู้จักกันในหมู่เพื่อนฝูงว่า ทัค (TAK) มีพรสวรรค์ในเรื่องของ ‘เวลา’ มหาเศรษฐีอันดับสองของเออีซี คนนี้รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะซื้อ (ธุรกิจ) อะไรและขายเมื่อใด เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ดังนั้นคนในวงการค้าหุ้นมักจะพยายามติดตามดูว่า ทัคกำลังทำอะไร โดยล่าสุด มีข่าวว่า ทัคกำลังขายหุ้นในบริษัทโทรคมนาคมและดาวเทียมออกไป ทั้งที่ยังขยายตัวและทำกำไรอยู่รวมทั้งธุรกิจพนันด้วย ทำให้วงการวิเคราะห์กันจ้าละหวั่น ว่า ทัคกำลังจะทำอะไร

นักธุรกิจที่รู้จักนายกริชนันกล่าวว่า การสร้างตึกแฝดปิโตรนาสสูง 88 ชั้น เป็นความคิดของนายกริชนัน ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทปิโตรนาสคนหนึ่ง โดยเขาเสนอแนวคิดให้อดีตประธานาธิบดี ดร. มหาธีร์ โมฮัมหมัด และร่วมถือหุ้นในโครงการด้วยก่อนที่จะขายหุ้นไปในภายหลัง

คนวงการธุรกิจระบุว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นายกริชนันเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการซื้อขายกิจการ และควบรวมกิจการซึ่งเป็นดีลระดับยักษ์ว่า 20 ดีลโดยไม่มีการเปิดเผย
นายกริชนัน แม้จะรวยมหาศาลแต่ยังอยู่บ้านหลังเก่าในกัวลาลัมเปอร์และไม่นิยมสังคมชั้นสูง ปัจจุบันใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับภรรยาคนที่สองและลูกสาวที่ยังเล็กอยู่ ที่ตอนใต้ของฝรั่งเศสโดยเดินทางกลับมากัวลาลัมเปอร์เป็นครั้งคราวเพื่อจัดการธุรกิจ ส่วนลูกสองคน ชายหนึ่งและหญิงหนึ่งจากภรรยาคนแรกซึ่งมีข่าวว่าเป็นคนไทยนั้น ลูกชายเป็นพระอยู่ประเทศไทย ลูกสาวไปเป็นหมออยู่ที่อังกฤษ
อย่างไรก็ดี มีข่าวว่า นายกริชนันมหาเศรษฐีอันดับสองของเออีซี ในชุดเสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ มักแวะเวียนมาเยี่ยมอาจารย์สิริปันโนที่จำวัดอยู่ที่ต่าง ๆ ในแถบชนบทของไทยและมาเลเซียเสมอ
รูปภาพ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,786 วันที่ 25-27 ตุลาคม พ.ศ. 2555
maxis.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2611
ผู้ติดตาม: 63

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ พี่kotaro
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul Octopus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 804
ผู้ติดตาม: 2

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ได้ความรู้มากเลยครับ
Disclaimer & Disclosure: The articles posted only represent my personal view. They are by no means a guarantee to the stock performance. Have no plan to change my position to the stock mentioned over the next 72 hrs.
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 11

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : เมียนมาร์ โกลเด้น สตาร์

รูปภาพ

บริษัท เมียนมาร์ โกลเด้น สตาร์ฯ (MGS) ก่อตั้งในปี 2532 เป็นผู้ครองตลาดน้ำอัดลม 40 % ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และมีธุรกิจในเครือที่หลากหลาย ทั้งผลิตและค้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์นม เบียร์ บริการสวนสนุกในร่ม ธนาคาร ส่งออกสินค้าเกษตร โรงแรม และนิคมอุตสาหกรรม ผู้ก่อตั้งคือนายเทียน ทุน หรือ เต็ง ทุน ผู้ที่นำเป๊ปซี่เข้าตลาดเมียนมาร์เป็นคนแรกและปัจจุบันก็ได้กลายมาเป็นคู่แข่งคนสำคัญของเป๊ปซี่

เป๊ปซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล ย้อนกลับเข้าตลาดประเทศเมียนมาร์ใหม่อีกครั้งในปีนี้ (2555)โดยร่วมกับกลุ่มทุนอื่นที่ไม่ใช่เอ็มจีเอส และเป็นเวลาเดียวกันกับที่เลิกสัญญากับบริษัท เสริมสุข ในประเทศไทย

สำนักข่าวตะวันตกเคยประเมินมูลค่าสินทรัพย์ธุรกิจของนายเต็ง ทุนเมื่อหลายปีก่อนว่าน่าจะอยู่ในระดับ 40 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.24 พันล้านบาท) แต่ในปัจจุบันเชื่อว่ามูลค่าธุรกิจต้องมากกว่านี้หลายเท่าตัวจากการขยายกิจการในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทหารเมียนมาร์ในอดีต

รูปภาพMax Myanmar Owner & CEO Zaw Zaw.

นายเต็ง ทุน เป็นพ่อตาของนายซอ ซอ มหาเศรษฐีหนุ่มที่รวยที่สุด หนึ่งในสองคนของเมียนมาร์ นายซอ ซอ เป็นเจ้าของกลุ่มธุรกิจในนามของแม็กซ์ เมียนมาร์ หากรวมอาณาจักรธุรกิจของพ่อตาลูกเขยคู่นี้ ก็จะกลายเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์ในทันที ธุรกิจของนายเต็ง ทุน เติบใหญ่ขึ้นมาจากกิจการน้ำอัดลมที่ได้เข้าร่วมกับเป๊ปซี่ และขยายตัวต่อหลังจากที่เป๊ปซี่ถอนตัวออกจากเมียนมาร์

บริษัทเป๊ปซี่ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ ร่วมกับบริษัทเอ็มจีเอสฯ นำน้ำอัดลมเป๊ปซี่เข้าตลาดประเทศเมียนมาร์ในปี 2534 แต่เป๊ปซี่ โดนกลุ่มสิทธิมนุษยชนสากลต่อต้านหนัก จึงตัดสินใจถอนตัวออกจากตลาดเมียนมาร์ในปี 2540 โดยขายหุ้นและโรงงานบรรจุขวดน้ำอัดลมที่ชานเมืองย่างกุ้งให้เอ็มจีเอส ในราคาเงินสด 4 ล้านดอลลาร์

รูปภาพ

หลังจากเป๊ปซี่ ถอนตัวออกไป เอ็มจีเอส ออกน้ำอัดลมยี่ห้อ ‘สตาร์ โคล่า’ มาแทนแบรนด์เป๊ปซี่ และสามารถครอง 40 % ของตลาดน้ำอัดลมมูลค่ากว่า 500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 15,500 ล้านบาท) ของประเทศเมียนมาร์ได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากน้ำดำแล้ว ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เอ็มจีเอสขยายสินค้าเครื่องดื่มออกไปอีกหลายแบรนด์คือ เควนช์ (Quench) ครัสเชอร์ ออเร้นจ์ (Crusher Orange) ครัสเชอร์ คลาวดี้ (Crusher Cloudy) ครัสเชอร์ ฟรุตติโอ (Crusher Frutio) และโซดา มิแรนด้า คลับ โซดา (Miranda Club Soda)

สื่อตะวันตกรายงานว่า กิจการในเครือของ เอ็มจีเอส มีทั้งหมด 15 บริษัทและหนึ่งธนาคารเอกชน คือ ธนาคารทุนฟาวเดชั่นแบงก์ ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารเอกชนของเมียนมาร์ที่พัฒนาสู่ความทันสมัยได้เร็วที่สุดและมีกิจกรรมซีเอสอาร์มากมาย
เอ็มจีเอส มีบริษัทในเครืออีกสองบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านผลิตภัณฑ์นม คือบริษัท เอ็มจีเอส ฟู้ด จำกัด และบริษัท ดากอง แดรี่ โปรดักท์ จำกัด ซึ่งผลิตนมข้นหวานแบรนด์ ‘ซัน’ (Sun) และ ‘ควีน’ (Queen) โดยร่วมกับบริษัทของรัฐคือ บริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก โคโอเปอเรชั่นฯ (เอ็มอีซี)

รูปภาพ

ธุรกิจเบียร์ของเอ็มจีเอส อยู่ภายใต้บริษัท ดากอง เบฟเวอเรจส์ฯ ผลิตเบียร์ลาเกอร์แบรนด์ ดากอง เบียร์ (Dagon Beer) สำหรับตลาดทั่วไปและแบรนด์ สโคล (SKOL) เป็นเบียร์ระดับพรีเมียม โดยเป็นกิจการร่วมทุนกับบริษัท เอ็มอีซี ของรัฐบาลและบริษัทเบียร์ในสิงคโปร์
ธนาคารทุนฟาวเดชั่นแบงก์ ของนายเต็ง ทุนก่อตั้งในปี 2537 มีนโยบายเอากำไรทั้งหมดตั้งเป็นกองทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจน รวมทั้งเป็นกองทุนเพื่อแจกรางวัลสำหรับศิลปินนักวาดและนักเขียนดีเด่นชาวเมียนมาร์และนานาชาติประจำปี ปัจจุบันแบงก์แห่งนี้มีสาขาที่บายิงเนาว์ (ไทยเรียก บุเรงนอง) และมัณฑะเลย์
นอกจากทุนการศึกษาแล้ว นายเต็ง ทุน ยังทำเช่นเดียวกับบริษัทน้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยและทั่วโลกคือการสนับสนุนวงการกีฬาทั้งทีมชาติฟุตบอล ทีมชาติวอลเลย์บอล สมาคมกอล์ฟและสมาคมเพาะกาย รวมทั้งศูนย์พัฒนาเยาวชน
สื่อมวลชนในเมียนมาร์ยกย่องนายเต็ง ทุนว่าเป็นเศรษฐีใจบุญผู้ซึ่งบริจาคเงินในแต่ละปีมากกว่าภาษีที่เสียให้กับรัฐบาล
ปัจจุบัน นายเต็ง ทุน อายุกว่า 76 ปีแล้วยังเคลื่อนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โครงการล่าสุดของนายเต็ง ทุน คือการเปิดสายการบินใหม่ คือสายการบินโกลเด้น เมียนมาร์ แอร์ไลน์ ซึ่งมีแผนจะเริ่มบินในปี 2556 โดยมีลูกชาย 2 คนและลูกสาว 1 คน ลูกชายคนโตคือนายถั่น ซิน ทุน (Thant Zin Tun) ดูแลธุรกิจโรงแรมและนิคมอุตสาหกรรม ลูกชายคนเล็กคือ โอ ทุน (Oo Tun) และลูกสาว ดอว์ มิ มิ ทุน (Daw Mi Mi Tun) ดูแลบริษัท เอ็มจีเอสฯและกิจการในเครือ

นายถั่น ซิน ทุน เป็นประธานบริษัท มัณฑะเลย์โนโวเทลโฮเต็ลฯ และประธานบริหารนิคมอุตสาหกรรมเมียนมาร์ เซาเทิร์นดีเวลลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดพะอัน รัฐกะเหรี่ยง มีบริษัทเอกชนพม่า 20 บริษัทร่วมกันสร้างขึ้น มีเนื้อที่รวม 970 เอเคอร์ (2,450 ไร่) ตั้งอยู่ห่างจากด่านเมียวดี-แม่สอดเพียง 11 กิโลเมตรและอยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตก นายถั่นประกาศว่าโรงงานที่จะอยู่ในนิคมแห่งนี้ จะให้ค่าแรงเท่ากับประเทศไทยเพื่อดึงดูดแรงงานให้กลับไปพม่าผลิตสินค้ามาแข่งกับไทยและจีน
รัฐบาลพม่าภายใต้การนำของนายพลเต็ง เส่ง มีนโยบายเปิดนิคมอุตสาหกรรมแบบนี้ในทุกรัฐของประเทศเพื่อสร้างงาน ดึงคนพม่ากลับประเทศ โดยให้บริษัทเอกชนเป็นผู้บริหารงาน
นับว่านาย เต็ง ทุนและครอบครัวคือลูกชายและลูกเขย กำลังอยู่ในแถวหน้าของธุรกิจประเทศเมียนมาร์ ทำให้มีโอกาสถีบตัวขึ้นเป็นยักษ์ธุรกิจรายหนึ่งของเออีซีในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างแน่นอน

+ศึกน้ำดำเมียนมาร์
ท่ามกลางบรรยากาศการปฏิรูปเศรษฐกิจในเมียนมาร์ซึ่งกระตุ้นให้นักลงทุนนานาชาติบุกเข้าไปแสวงหาลู่ทางการค้า-การลงทุน เป๊ปซี่โค และโคคา-โคลา สองบริษัทผู้ผลิตน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลกได้กลับเข้าไปทำตลาดในเมียนมาร์อีกครั้ง โดยล่าสุดเป๊ปซี่โคได้จับมือกับบริษัทไดมอนด์ สตาร์ฯ พันธมิตรท้องถิ่น ให้เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่ เซเว่นอัพและมิรินด้า แต่เพียงผู้เดียวในเมียนมาร์ พร้อมรุกกิจกรรมการตลาดและโฆษณา เช่นการขึ้นป้ายขนาดใหญ่และแจกเครื่องดื่มให้ชิมฟรี ซ้ำจับมือกับองค์การยูเนสโกทำกิจกรรมซีเอสอาร์ด้วยการเข้าไปส่งเสริมการฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรด้านการบริหารจัดการ พร้อมโครงการพัฒนาการเกษตร ขณะที่โคคา-โคลา ก็มีพันธมิตรท้องถิ่นอย่างปินยา แมนูแฟคเจอริ่ง เป็นผู้ผลิตน้ำอัดลมป้อนให้เพื่อการจัดจำหน่ายในเมียนมาร์ ตามด้วยแคมเปญ "เปิดความสุข"(Open Happiness)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,788 วันที่ 1-3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 12

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : 'รอยัล กรุ๊ป กัมพูชา'

รูปภาพรูปภาพ

กลุ่มบริษัท รอยัล กรุ๊ป ปัจจุบันเป็นขุมข่ายธุรกิจใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของประเทศกัมพูชา ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ของกลุ่มนี้คือ นึก ออกญา คิธ เม้ง (Neak Oknha Kith Meng) ชาวกัมพูชาที่หนีตายสมัยเขมรแดงตั้งแต่เป็นเด็ก มาเลี้ยงหมูที่ประเทศไทย และไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
นายคิธ เม้ง มีโอกาสกลับมาสร้างอาณาจักรธุรกิจที่บ้านเกิดเมืองนอนอีกครั้งจนได้รับบรรดาศักดิ์ เป็น "ออกญา" และเป็นประธานสภาหอการค้าแห่งกัมพูชา
คิธ เม้งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญา (บรรดาศักดิ์โบราณของขอม ที่ประเทศไทยในอดีตนำมาใช้และเพี้ยนมาเป็นพระยาในตอนหลัง) ในฐานะนักธุรกิจที่ร่วมฟื้นฟูประเทศเขมร และบริจาคเงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ที่ต่ำกว่าชั้นสมเด็จเพียงชั้นเดียว
ตำแหน่งออกญาในอดีตเป็นบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง หรือผู้ช่วยกษัตริย์ขอมในกิจการงานต่าง ๆ มีประวัติว่าเริ่มใช้กันประมาณศตวรรษที่ 15 โดยในปัจจุบันมีการเติมคำว่า นึกหรือเนียก นำหน้าออกญา ซึ่งเป็นการเติมกันเองเพื่อให้ดูว่าเหนือกว่าพวกที่ได้ตำแหน่ง ล็อกออกญา (lok oknha) หรือออกญาธรรมดา โดยตำแหน่งทางการจริง ๆ มีแค่ออกญาเท่านั้นและขณะนี้มีนักการเมืองและนักธุรกิจในกัมพูชาตามตัวเลขทางการกว่า 220 คน ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้

กลุ่มบริษัท รอยัล กรุ๊ปฯ ของนึก ออกญา คิธ เม้ง มีธุรกิจที่หลากหลาย เป็นเจ้าของโมบิเทล (MobiTel) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์รายใหญ่ในนาม เทเลเซิร์ฟ (TeleSURF) เจ้าของสถานีโทรทัศน์ สัมปทานทางรถไฟสองสายพนมเปญ-ปอยเปตและพนมเปญ-ท่าเรือสีหนุวิลล์ โดยร่วมกับบริษัท ทอลล์ โฮลดิ้งส์ ของออสเตรเลีย (Toll Holdings) ธนาคารเอเอ็นแซดกัมพูชา และบริษัทประกัน โรงแรมรอยัลพาร์ค รีสอร์ทที่เสียมเรียบ และแคมโบเดียน่า ซึ่งเป็นโรงแรมห้าดาวในพนมเปญ
โครงการยักษ์ล่าสุดของกลุ่มรอยัลกรุ๊ป คือการลงทุนพัฒนาเกาะรงหรือเกาะรัง ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อันดับสองในอ่าวไทยของกัมพูชา เป็นโครงการขนาดใหญ่มีทั้งโรงแรม รีสอร์ต กาสิโน และสนามกอล์ฟ มีเป้าหมายที่ทำให้เกาะของกัมพูชาแห่งนี้เป็น ‘ริเวียร่าแห่งอินโดจีน’ เพื่อเป็นสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
เกาะรง ยังมีธรรมชาติบนเกาะและใต้น้ำที่สมบูรณ์ หาดทรายขาว น้ำทะเลใสเป็นกระจก อยู่ห่างจาก สีหนุวิลล์ เพียง 30 นาทีทางเรือ มีพื้นที่รวม 78 ตารางกิโลเมตร บริษัท โรยัลกรุ๊ปฯได้สัมปทานมาทำประโยชน์ 99 ปี และมีเป้าหมายจะรักษาธรรมชาติรอบเกาะไว้เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีอายุยืนยาวเช่นเดียวกับบาหลีของอินโดนีเซีย

นายคิธ เม้ง ประสบความสำเร็จทางธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อย นับเป็นเจ้าสัวหนุ่มที่น่าจับตาคนหนึ่งของกัมพูชาในขณะนี้
เขาเกิดในครอบครัวที่มีอันจะกินในปี 2511 เป็นบุตรคนสุดท้องของนักธุรกิจเขมรเชื้อสายจีน มีชีวิตสุขสบายจนกระทั่งปี 2518 เมื่อเขมรแดงขึ้นมามีอำนาจและกวาดต้อนผู้คนออกจากเมืองไปทำนา พ่อแม่ของเขาเสียชีวิตจากความอดอยากในค่ายแรงงาน ตัวเขาเองและพี่ชายชื่อเทียน หนีกลับกรุงพนมเปญและข้ามมาฝั่งไทยได้แต่ต้องใช้ชีวิตเลี้ยงหมูและกินนอนในเล้าหมู ที่ซอยสวนพลูส่วนพี่ชายคนโตหนีไปอีกทางและเข้าไปอยู่ในค่ายอพยพ
ในปี 2523 ญาติและพี่ชายของนายคิธ เม้ง ที่อาศัยอยู่ที่ค่ายอพยพในประเทศไทยได้มาพบกับสองพี่น้องและช่วยจัดการให้อพยพไปอยู่ที่กรุงแคนเบอรา ประเทศออสเตรเลีย ทำให้ คิธ เม้ง มีโอกาสเรียนมัธยมที่โรงเรียน เมลบา (Melba) อยู่นอกเมืองแคนเบอรา แต่ต้องทำงานทุกอย่างทั้งล้างจาน แจกใบปลิว ล้างตลาดเพื่อให้ชีวิตอยู่ได้
เมื่อกัมพูชาเปิดประเทศ โสพัน คิธ พี่ชายคนโตเดินทางกลับมาเปิดกิจการในกัมพูชาในปี 2534 ส่วนมากค้าขายกับหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งขายเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อแคนนอน แต่พี่ชายคนโตเสียชีวิตไปก่อนทำให้คิธ เม้ง ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 20 ปีกว่า ๆ ต้องเข้ามากุมบังเหียนธุรกิจของครอบครัว
คิธ เม้ง ทำงานหนักและเป็นนักธุรกิจที่กล้าเสี่ยง สามารถที่จะเข้ากับรัฐบาลนายฮุน เซ็น ได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งบริษัท รอยัล แคมโบเดีย ในปี 2532 ที่ประเทศออสเตรเลีย อีกหนึ่งปีต่อมาตั้งบริษัทรอยัลกรุ๊ปออฟคอมพานีฯ พร้อมกับตั้งบริษัทร่วมทุน รอยัลแมเนจเม้นท์และอินเวสท์เม้นท์ทรัสต์ฯ
ช่วงปี 2533 – 2542 บริษัทของคิธ เม้ง และ คิธ เทียน ได้เป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องถ่ายเอกสารแคนนอน ตามด้วยโทรศัพท์โมโตโรล่า และ เบล เฮลิคอปเตอร์ ร่วมทุนกับบริษัท มิลลิคอมอินเตอร์เนชั่นแนลฯ ตั้งบริษัทโมบิเทลฯ ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต่อด้วยบริการโทรศัพท์ทางไกลและอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์เป็นรายแรกของประเทศทำให้สองพี่น้องขึ้นชั้นเศรษฐีและนักธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศกัมพูชาในเวลาอันสั้น

หลังจากที่ได้ครองตลาดโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตแล้ว สองพี่น้องต่อยอดธุรกิจเข้าสู่กิจการวิทยุโทรทัศน์ โดยร่วมกับกลุ่มโมเดิร์นไทม์ส กรุ๊ป ตามด้วยการตั้งเอเยนซีโฆษณาและโปรดักชันเฮาส์สำหรับผลิตรายการโทรทัศน์

รูปภาพ
รอยัลกรุ๊ปรุกเข้าสู่ธุรกิจธนาคารโดยร่วมกับ เอเอ็นแซด ซึ่งเป็นธนาคารของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จัดตั้งธนาคาร เอเอ็นแซดรอยัลแบงก์ จากนั้นก็ตั้งบริษัทประกันกับบริษัท สวิสรี (Swiss Re) และเข้าสู่ธุรกิจฟาสต์ฟูด เป็นเจ้าของแฟรนไชส์เคเอฟซีและพิซซ่า ฮัท ในกัมพูชา ก่อนจะรุกเข้าสู่ธุรกิจโรงแรมที่เมืองเสียมเรียบ ใกล้นครวัด โดยทุนร่วมกับกลุ่มโอบิรอย (Oberoi) จากนั้น ข้ามขั้นไปทำธุรกิจสัมปทานรัฐ อาทิ ทางรถไฟ และพัฒนาเกาะรง

รูปภาพ
กลุ่มรอยัลกรุ๊ป ยังเป็นเจ้าของเซซาร์รีสอร์ทแอนด์กาสิโนใกล้ชายแดนเวียดนาม และมีอาคารโรยัลทาวเวอร์ สูง 36 ชั้นมีกำหนดเปิดในปีหน้า (2556) เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ชื่อ เอ็มบาสซี่ เพลส และโรงเรียนนานาชาติ นอร์ทบริดจ์ อินเตอร์เนชั่นแนล สกูลในกรุงพนมเปญด้วย
กล่าวได้ว่า นึก ออกญา คิธ เม้ง เป็นหนึ่งในยักษ์ธุรกิจเออีซี จากประเทศกัมพูชาที่น่าจับตาที่สุดคนหนึ่ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,792 วันที่ 15-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10548
ผู้ติดตาม: 68

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เข้ามาขอบคุณอีกคนครับ หมอ kotaro

เอามาลงเรื่อยๆนะครับ
My House
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1317
ผู้ติดตาม: 9

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 14

โพสต์

สุดยอดไปเลยครับ ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 15

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : ลิปโป้ กรุ๊ป

รูปภาพMochtar Riady

ลิปโป้ กรุ๊ป (Lippo Group) เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่สัญชาติอินโดนีเซีย เคยดังระดับโลกเมื่อครั้งที่นายบิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพราะมีทายาทของผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทนี้คนหนึ่งไปสนิทกับนายคลินตัน ตั้งแต่ครั้งเป็นผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอส์ และทำธุรกิจร่วมกันซึ่งต่อมากลายเป็นคดีอื้อฉาวที่มีชื่อว่า คดีไวต์วอเตอร์
ผลจากคดีนี้ทำให้มีการสอบสวนและขุดคุ้ยอย่างหนัก จนประธานาธิบดีคลินตันต้องออกมาแถลงเคลียร์ตัวเองเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการไวต์วอเตอร์และการเสียภาษี ทำให้ทายาทของผู้ก่อตั้งกลุ่มลิปโป้ คนดังกล่าวกลายเป็นบุคคลที่รัฐบาลสหรัฐฯไม่ให้วีซ่าเข้าประเทศติดต่อกันหลายปีในสมัยประธานาธิบดีบุช แต่หลังจากที่โอบามาได้เป็นประธานาธิบดี ก็มีการยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว
ลิปโป้ กรุ๊ปนี้เอง เป็นเจ้าของบริษัทโอเวอร์ซีส์ ยูเนี่ยนเอ็นเตอร์ไพร้ส์ฯ(โอยูอี) ในสิงคโปร์ ที่ประกาศตัวชนกับเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของเบียร์ช้าง ในศึกแย่งซื้อบริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟฯ (เอฟแอนด์เอ็น) ของสิงคโปร์
ลิปโป้ในอดีตเป็นเจ้าของธนาคารใหญ่ในอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันธุรกิจหลักของกลุ่มนี้คืออสังหาริมทรัพย์ ตามด้วยค้าปลีก ธนาคารและบริการการเงิน บริการเครือข่ายบรอดแบนด์ หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโกล๊บ เคเบิ้ลทีวี และบริการสุขภาพ มีบริษัทจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย จีน ฮ่องกง มาเก๊า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเกาหลีใต้ มีสินทรัพย์รวม 11,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 340,000 ล้านบาท)
ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ลิปโป้ฯ คือ นายมอคตาร์ ไรอาดี้ ชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน เกิดในปี 2472 ที่ชวาตะวันออก เป็นลูกของคนขายผ้าปาเต๊ะ ภายหลังเป็นนักการธนาคารที่ประสบความสำเร็จมาก จนนายหลิมซิวเลียง มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของอินโดนีเซียในอดีต ขอให้มาช่วยบริหารแบงก์เซ็นทรัลเอเชีย (บีซีเอ) เมื่อครั้งยังเป็นของนายหลิมซิวเหลียงอยู่เพื่อให้เป็นแบงก์เอกชนอันดับหนึ่งของประเทศอิเหนา

นายมอคตาร์ เริ่มบริหารแบงก์บีซีเอในปี 2518 และทำให้สินทรัพย์ของธนาคารแห่งนี้เพิ่มจาก 12,800 ล้านรูเปีย เป็น 5 ล้านล้านรูเปียตอนที่เขาลาออกในปี 2533
ขณะที่บริหารแบงก์บีซีเออยู่นั้น มอคตาร์ก็เริ่มสร้างฐานธุรกิจของตัวเองโดยตั้งบริษัท ลิปโป้ จำกัด ในปี 2519 ทำธุรกิจหลากหลาย ร่วมกับครอบครัวของหลิมซิวเหลียง โดยให้แบงก์บีซีเอสนับสนุนทางด้านการเงิน

รูปภาพJames Riady

เขาได้ส่งลูกชายคือนายเจมส์ ไรอาดี้ ไปสหรัฐอเมริกาเพื่อมองหาลู่ทางขยายธุรกิจทางด้านการเงินไปยังเมืองลุงแซม ทำให้เจมส์เริ่มเข้าสู่วงการธุรกิจสหรัฐฯในปี 2520 และมีโอกาสรู้จักและสร้างสัมพันธ์กับนายบิล คลินตัน สมัยเป็นผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอส์ ความสัมพันธ์นี้เองทำให้นายมอคตาร์ มีโอกาสเดินทางไปพบนายคลินตัน สมัยเป็นประธานาธิบดีสองครั้งเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชีย
ตอนที่เจมส์ ไรอาดี้ อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาได้ตั้งธนาคารลิปโป้ ที่ลอสแองเจลีส ร่วมกับนักการเงินจากฮ่องกง ช่วงนี้เองครอบครัวไรอาดี้เริ่มสร้างฐานธุรกิจในฮ่องกง
ในปี 2521 เจมส์ออกจากสหรัฐอเมริกากลับอินโดนีเซียพร้อมด้วยลูกสี่คน ที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และต้องหาโรงเรียนให้ลูกและพบว่าไม่สามารถหาโรงเรียนที่เหมาะสมได้ จึงตัดสินใจตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาชื่อ เพอริตา ฮาราปัน (Perita Harapan) ขึ้น เพื่อสร้างโรงเรียนที่มีมาตรฐานสำหรับลูกๆ ภายหลังโรงเรียนที่ตั้งขึ้นได้ขยายเครือข่ายไปถึง 20 โรงเรียน และมีมหาวิทยาลัยคริสเตียนอีกหนึ่งแห่ง โดยนายเจมส์เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ในปี 2533
หลังจากที่นายมอคตาร์ลาออกจากแบงก์บีซีเอแล้ว ก็ไปสร้างกิจการของตัวเองโดยร่วมกับลูกชายในชื่อ กลุ่มลิปโป้ เริ่มด้วยธนาคารลิปโป้ ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่แล้วและขยายกิจการออกไปอย่างรวดเร็วกลายเป็นแบงก์เอกชนใหญ่อันดับสองของประเทศ รองจากแบงก์บีซีเอเท่านั้น

รูปภาพ
มอคตาร์รุกเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตั้งบริษัท ลิปโป้ คาราวาชิฯ (Lippo Karawaci) สร้างหมู่บ้านจัดสรรในพื้นที่ทิ้งร้างแถบชานเมือง โดยหมู่บ้านแรกอยู่ทางตะวันตกของจาการ์ตาโครงการนี้เมื่อเปิดตัวขึ้นในปี 2536 กลายเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาชานเมืองของประเทศอินโดนีเซีย

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของครอบครับ ไรอาดี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็นโครงการสร้างเมืองใหม่และศูนย์การค้าทันสมัยทำให้กลุ่มลิปโป้ รุกเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกในปี 2539 โดยซื้อกิจการ มาตาฮารี (Matahari) แต่ในปี 2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ทำให้สุดท้ายต้องขายหุ้นธนาคารลิปโป้ให้กับทางการ และสุดท้ายธนาคารลิปโป้ โดนธนาคารซีไอเอ็มบีของมาเลเซียซื้อกิจการไป
อย่างไรก็ดีครอบครัวไรอาดี้ยังคงมีเครือข่ายบริษัทการเงินในฮ่องกง จึงสามารถรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในอินโดนีเซีย ฮ่องกง จีน และอีกหลายประเทศได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2544 ได้ขยายธุรกิจการศึกษาไปที่ประเทศจีนโดยการตั้งมหาวิทยาลัยในมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน

ในปี 2548 กลุ่มลิปโป้ ร่วมกับกลุ่ม แอสโทร (Astro) ของนายอนันดา กริชนัน มหาเศรษฐีอันดับสองของมาเลเซีย ทำธุรกิจเคเบิลทีวีในอินโดนีเซียและอีกหลายประเทศ โดยโครงการนี้ตอนหลังกลายเป็นองุ่นเปรี้ยวเมื่อเกิดคดีฟ้องร้องกับนายอนันดา ในเรื่องเงิน ๆ ทองๆ แต่ลิปโป้ยังเดินหน้าโครงการเคเบิลทีวีต่อไป
ในปี 2549 ธุรกิจครอบครัวไรอาดี้ ฝั่งฮ่องกงที่บริหารโดยสตีเฟน ลูกชายคนที่สองของมอคตาร์ เข้าซื้อกิจการโอยูอีในสิงคโปร์ และทุ่มเงินกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั่วเมืองลอดช่อง รวมทั้งตึกดีบีเอสทาวเวอร์ 1 และ 2 โรงแรมคราวน์พลาซ่าสิงคโปร์ ที่ติดกับสนามบินชางงี และอาคารสำนักงานโอยูอีเบย์ฟร้อนท์ ที่มารีน่าเบย์ และกำลังสร้างตึกคู่ 35 ชั้น ชื่อ ทวีนพีคส์ (TwinPeaks) ใกล้ถนนออร์ชาร์ดกำหนดเสร็จในปี 2558

รูปภาพSiloam Hospitals
ในปี 2555 กลุ่มลิปโป้ สร้างโรงพยาบาลหกแห่งในอินโดนีเซียโดยต้องการเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพชั้นนำของอาเซียน และรุกต่อธุรกิจทีวี โดยยิงดาวเทียมของตัวเองที่รับส่งสัญญาณทีวีได้ 400 ช่อง ในระบบไดเร็กต์ทูโฮมโดยเจมส์ ประกาศว่า ลิปโป้จะรุกอย่างต่อเนื่องในภูมิเอเชียเนื่องจากความเฟื่องฟูกำลังย้ายจากมหาสมุทรแอตแลนติกสู่แปซิฟิก
นี่คือกลุ่มลิปโป้ ยักษ์ธุรกิจแห่งเออีซีจากอินโดนีเซียที่กำลังต่อกรกับกลุ่มทีซีซี ยักษ์ธุรกิจเออีซี จากประเทศไทย ในสมรภูมิประเทศสิงคโปร์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,794 วันที่ 22-24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
lippo.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 16

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : อีเดนกรุ๊ป เมียนมาร์

รูปภาพChit Khine

ผู้ก่อตั้งและเจ้าของกลุ่มบริษัท อีเดนกรุ๊ปของประเทศเมียนมาร์ คือนายชิต ไค (Chit Khine) เป็นนักธุรกิจแถวหน้าของประเทศเมียนมาร์ ที่กำลังมีบทบาทสำคัญเรื่องการค้าข้าวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในฐานะประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์
เมียนมาร์เคยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกแต่เสียแชมป์ให้กับประเทศไทยหลังจากที่เมียนมาร์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2505
บัดนี้รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง มีนโยบายฟื้นฟูการส่งออกข้าวและนักธุรกิจที่รับหน้าที่ช่วยรัฐบาลในเรื่องนี้คือนายชิต ไค โดยในเดือนมกราคม 2553 รัฐบาลเมียนมาร์ ผลักดันให้มีการรวมสมาคมผู้ค้าข้าวสารและข้าวเปลือก สมาคมโรงสีข้าวเมียนมาร์และสมาคมผู้ผลิตข้าวเปลือกเมียนมาร์ เป็นสมาคมเดียวคือ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ เพื่อให้มีการพัฒนาวงการค้าข้าวของเมียนมาร์ทั้งระบบทั้งเรื่องการปรับปรุงดิน การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ ปุ๋ย การยกระดับการผลิตโดยการใช้เครื่องจักรและการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านถนน ท่าเรือและโรงสี
ในปี 2553 นายชิต ไค ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ เมียนมาร์ไทม์ส ว่า สมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ กำลังทำงานเพื่อสนับสนุนชาวนาในการซื้อปุ๋ยและเทคนิคใหม่ ๆ ในการปลูกข้าวซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมาคมนี้เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาการปลูกข้าวในประเทศ
หลังจากที่ก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมข้าวแล้วรัฐบาลเริ่มให้การสนับสนุนการส่งออกด้วยการลดภาษีข้าวส่งออกจาก 10 % เป็น 7 % ในปี 2554
นายชิต ไค มีบริษัทค้าข้าวของตัวเองด้วยชื่อ บริษัท คิตซานา คยุน ทาร์ฯ ซึ่งกำลังเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการค้าข้าวในประเทศและต่างประเทศ
ก่อนที่นายชิต ไค จะเข้ามาโลดแล่นอยู่วงการธุรกิจค้าข้าว นั้นเขาทำธุรกิจภัตตาคาร ก่อสร้างและโรงแรมมาก่อน และแน่นอนว่า ต้องสานสัมพันธ์กับนายพลที่มีอำนาจในรัฐบาลทหารมาอย่างต่อเนื่องจนโดนสหรัฐอเมริกาและยุโรปบรรจุอยู่ในกลุ่มพ่อค้าต้องห้าม เช่นเดียวกับนักธุรกิจแถวหน้าของเมียนมาร์คนอื่น ๆ
ปัจจุบัน นอกจากบริษัทค้าข้าวแล้ว นายชิต ไค ยังเป็นเจ้าของธุรกิจก่อสร้างในนามของบริษัทอีเดน กรุ๊ปฯ ซึ่งได้งานก่อสร้างสถานที่ราชการและบ้านพักข้าราชการบางส่วนในเมืองเนย์ปิตอว์ ภัตตาคารอีเดนบีบีบีเรสเตอรองต์ที่พุกาม ภัตตาคารซิกเนเจอเรสเตอรองต์ที่ย่างกุ้ง สนามกอล์ฟอิรทะยากอล์ฟ รีสอร์ตที่ตองยี โรงแรมทิงกาฮาโฮเต็ล ที่เนย์ปิตอว์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์มารีน่าเรสิเดนซ์ที่ย่างกุ้ง โรงแรมอีเดนการ์เดนรีสอร์ตโฮเต็ลที่ตองยี อีเดนการ์เดนรีสอร์ตที่พุกาม อีเดนการ์เดนรีสอร์ตที่หาดงาปาลี ธนาคารเมียนมาร์ลีดดิ้งแบงก์ (เอ็มแอลบี) และสนามกอล์ฟโรยัลเมียนมาร์กอล์ฟแอนด์คันทรี่คลับที่เมืองเนย์ปิตอว์
สื่อต่างชาติระบุว่า ไม่ค่อยมีคนรู้ว่านายชิต ไค มีสินทรัพย์เท่าไหร่เนื่องจากเป็นคนที่เก็บตัว แต่มีรายงานว่าตอนที่เขาซื้อมารีน่าเรซิเดนซ์ ซึ่งเป็นอพาร์ตเมนต์หรูหราให้ชาวต่างชาติเช่าในปี 2547 นั้นเขาจ่ายเงิน 4.8 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 144 ล้านบาทในอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) เป็นเงินสด
ข้อมูลจากวิกิลีกส์ ระบุว่านายชิต ไค เกิดในปี 2491 ที่เขตอิรวดี เริ่มเข้าสู่ธุรกิจครั้งแรกเมื่อมีอายุกว่า 30 ปี โดยเปิดภัตตาคารชื่อ อีเดนเรสเตอต์รอง ที่ย่างกุ้ง และชอบเคลื่อนไหวทางการเมืองจนโดนจับติดคุกช่วงปลายทศวรรษ 1980 เนื่องจากไปร่วมกับกลุ่ม 888 ที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลแต่ติดคุกได้ไม่นานก็ได้รับการปล่อยตัวด้วยความช่วยเหลือจากบิดาซึ่งเป็นข้าราชการระดับกลาง จากนั้นจึงมุ่งทำธุรกิจอย่างเดียว
นายชิต ไค ทำธุรกิจภัตตาคารได้ไม่นานก็พบว่าเขาสามารถทำเงินจากธุรกิจก่อสร้างได้มากกว่าภัตตาคารเยอะถ้ามีสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ ทำให้เริ่มวิ่งเต้นเส้นสายจนได้ใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาลทหาร และในที่สุดบริษัทอีเดนฯก็ได้งานก่อสร้างมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศ โดยเป็นที่รู้กันว่าอีเดนกรุ๊ป เป็นบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในเขตย่างกุ้งและพุกาม
เมื่อรัฐบาลทหาร มีโครงการสร้างเมืองเนย์ปิตอว์ขึ้น บริษัทอีเดนฯก็เสนอตัวเข้าร่วมในการก่อสร้างเมืองใหม่ ร่วมกับนักธุรกิจชั้นนำที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลอีกหลายรายที่เสนอตัวร่วมสร้างเมืองใหม่ให้กับรัฐบาลทหารเช่นกัน
วิกิลีกส์ระบุว่า งานก่อสร้างหลายงานที่นายชิต ไค ทำให้กับรัฐบาลนั้นไม่ได้เงินค่าจ้าง แต่รัฐบาลจะมอบสิทธิประโยชน์เป็นทรัพย์สินที่ดินให้ไปทำประโยชน์รวมทั้งสิทธิ์ในการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศเป็นการตอบแทนโดยมีรายงานว่าเขาได้รับสิทธิ์ในการนำเข้ารถเบนซ์และฮัมเมอร์ และนำไปขายต่อได้ราคาสูง
ในปี 2551 มีรายงานว่านายชิต ไค ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัท เอเชีย เจเนอรัล อิเล็คทริคฯ (เอจีอี) ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตหม้อแปลงและสวิตช์ไฟโดยในช่วงนี้เองกลุ่มอีเดน ขยายกิจการออกไปค่อนข้างหลากหลายทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเข้าร่วมกับบริษัทของเวียดนามในการสำรวจและขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ
สื่อต่างประเทศรายงานว่า การทำธุรกิจของนายชิต ไค มีความหลากหลายเนื่องจากนักธุรกิจแถวหน้าของเมียนมาร์คนนี้ไม่ชอบทำธุรกิจที่แข่งขันโดยตรงกับนักธุรกิจชั้นนำอื่น ๆ โดยกลุ่มอีเดน มักจะทำธุรกิจที่กลุ่มอื่นไม่ทำ หรือในพื้นที่ที่กลุ่มอื่นไม่สนใจ และมีรายงานว่า เขามีธุรกิจค้าขายผ่านชายแดนจีนที่ทำเงินเป็นกอบเป็นกำอยู่ด้วยเช่นกัน
นายชิต ไค แต่งงานแล้วกับนางคิน โซ วิน มีลูก 5 คน เป็นนักธุรกิจแถวหน้าคนหนึ่งของเมียนมาร์ที่เชื่อว่าในไม่ช้าจะก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ธุรกิจแห่งเออีซีอีกรายหนึ่ง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,796
วันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 17

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : ฮองเหลียงกรุ๊ป มาเลย์

รูปภาพTan Sri Quek Leng Chan

กลุ่มฮองเหลียงกรุ๊ป (Hong Leong Group) และบริษัทในเครือ เป็นกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่คลุมสองประเทศคือสิงคโปร์และมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นโดยพี่น้องตระกูลเคว็ก สี่คน ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ เดินทางจากมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน มาแสวงโชคที่เมืองลอดช่องในปี 2471 เริ่มต้นด้วยการเปิดร้านฮาร์ดแวร์ ขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างและสามารถขยายไปทำการค้า พัฒนาที่ดินและการเงินได้สำเร็จในปี 2484
ช่วงต้นทศวรรษปี 1960 ลูกชายของ 1 ใน 4 พี่น้องชื่อนาย เคว็ก เหลง ชาน ทนายความ ดีกรีกฎหมายจากอังกฤษ ตอนอายุ 20 ปีต้น ๆ ได้รับมอบหมายจากครอบครัวให้ไปขยายธุรกิจในเขตมาเลเซีย แต่หลังจากนั้นไม่นานสิงคโปร์ก็แยกตัวออกจากประเทศมาเลเซียในปี 2508
การแยกประเทศครั้งนั้น ทำให้กลุ่มฮองเหลียงแยกตัวเป็น 2อาณาจักร เนื่องจากนายเคว็ก เหลง ชาน ตัดสินใจตั้งมั่นในมาเลเซียสร้างอาณาจักรธุรกิจของตัวเองไม่คิดกลับสิงคโปร์ แต่ธุรกิจทั้ง 2 กลุ่มยังเกาะเกี่ยวกันเพราะมีต้นรากเดียวกัน
ปัจจุบัน กลุ่มฮองเหลียงในสิงคโปร์และมาเลเซียได้แยกและร่วมกัน ขยายกิจการไปอย่างหลากหลายครอบคลุมภูมิภาคเอเชียและอีกหลายสิบประเทศ โดยปัจจุบันกลุ่มฮองเหลียงในสิงคโปร์ มีนาย เคว็ก เหลง เบง ลูกพี่ลูกน้องของนายเคว็ก เหลง ชาน เป็นผู้นำ
กลุ่มฮองเหลียง ในมาเลเซียปัจจุบันมีธุรกิจหลากหลายทั้งอุตสาหกรรมและจัดจำหน่าย การเงินการธนาคาร ประกัน อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและบริการโดยมีรายงานว่า นายเคว็ก เหลง ชาน มีหุ้นอยู่ในกิจการกาสิโนรีสอร์ตที่อังกฤษและมาเก๊า ด้วย
กลุ่มฮองเหลียงในมาเลเซีย มีบริษัทในเครือรวม 500 บริษัทกระจายไปทั่วโลกส่วนใหญ่อยู่ในมาเลเซีย และมีกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศต่าง ๆ รวมกว่า 13 บริษัท
นิตยสารฟอร์บส์ระบุว่าสินทรัพย์รวมของ นายเคว็ก เหลง ชาน อายุ 69 ปี และลูก 3 คน เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม 2555 อยู่ที่ 4,800 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 148,000 ล้านบาท)
สื่อตะวันตกรายงานว่า นายเคว็ก เหลง ชาน ประสบความสำเร็จ เพราะยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจในยุคต้น ๆ ที่เน้นทางด้านการผลิตในมาเลเซียนั้นเป็นการต่อยอดกับธุรกิจบริษัทฮองเหลียง ในสิงคโปร์ที่เน้นหนักทางด้านการค้า จัดจำหน่ายและบริการการเงิน
นายเคว็ก เหลง ชาน ตั้งบริษัท ฮองเหลียงกรุ๊ป มาเลเซียขึ้นในปี 2506 ทำธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ที่คุ้นเคยอยู่แล้ว จากนั้นจึงรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอื่น ๆ
กลุ่มอุตสาหกรรมของฮองเหลียง มาเลเซีย มีบริษัทหลัก ๆ คือ Hume Furniture Industries เป็นโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ บริษัทฮองเหลียง ยามาฮ่า มอเตอร์ฯ ผลิตและจัดจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ ยี่ห้อยามาฮ่า บริษัท มาเลเซียนนิวส์พริ้น อินดัสตรี้ส์ฯ ผู้ผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ของประเทศมาเลเซีย และบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2527
ธุรกิจใหญ่ฐานที่ 2 ของฮองเหลียงกรุ๊ปมาเลเซียคือ บริการการเงินโดยมีการตั้งบริษัท ฮองเหลียงไฟแนนซ์ฯ ในปี 2511 ตามด้วยบริษัทประกันภัยในชื่อของบริษัท มาเลเซียแปซิฟิกอินชัวรันส์ฯ ในปี 2515 และขยายสู่ธุรกิจประกันชีวิตในปีต่อมา ก่อนจะรุกเข้าสู่กิจการธนาคารทั้งในฮ่องกงและมาเลเซีย
กลุ่มฮองเหลียงมาเลเซีย ซื้อธนาคารตาวเฮงแบงก์ (Dao Heng Bank) ในฮ่องกงในปี 2525 และต่อมาได้ซื้อธนาคารอีก 2 แห่งจากรัฐบาลฮ่องกงคือ ธนาคารฮังลุง (Hang Lung Bank) และธนาคารโอเวอร์ซีส์ทรัสต์ สุดท้ายได้ขายธนาคารในฮ่องกงให้กับธนาคารดีบีเอสของสิงคโปร์
ฮองเหลียงมาเลเซีย ทำธุรกิจธนาคารในฮ่องกงก่อนเปิดธนาคารในมาเลเซีย โดยในปี 2537 ซื้อธนาคาร เอ็มยูไอ แบงก์ และเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารฮองเหลียง จัดการควบรวมกับ ฮองเหลียงไฟแนนซ์ และควบรวมกับธนาคารอีโอเอ็นแบงก์กรุ๊ป (EON Bank Group) ในปี 2554 ทำให้ปัจจุบันมีสาขาถึง 300 แห่ง ในมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกงและเป็นแบงก์ต่างประเทศแห่งแรกที่ได้รับใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์ในเวียดนาม

รูปภาพ

ฐานธุรกิจขาที่ 3 ของฮองเหลียงมาเลเซีย คืออสังหาริมทรัพย์และโรงแรม ภายใต้การบริหารงานของบริษัท กัวโคแลนด์ฯ (Guocoland) ซึ่งมีบริษัทเครือข่ายทั้งในประเทศจีน มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรูปแบบทั้งบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ ซึ่งมีโครงการมากมายในแต่ละประเทศ และบริษัท กัวแมนโฮเต็ลฯ ซึ่งบริหารโรงแรม 38 แห่งในอังกฤษและโรงแรมกัวแมนที่พอร์ทดิคสันมาเลเซีย

รูปภาพ

หนังสือพิมพ์ในสิงโปร์ ระบุว่าบริษัท กัวโคแลนด์ฯ ของนายเคว็ก เหลง ชาน พยายามกวาดที่ดินผืนงาม ๆ ทั้งในมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน เข้ามาอยู่ในมืออยู่เสมอโดยครั้งหนึ่งได้เปิดศึกกับครอบครัวของนายอึ้ง เต็ง ฟง มหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของสิงคโปร์เพื่อแย่งซื้อบริษัทโย เฮียบ เส็ง เนื่องจากบริษัทผลิตอาหารและเครื่องดื่มเก่าแก่แห่งนี้ของสิงคโปร์เป็นเจ้าของที่ผืนงาม ๆ หลายผืน แต่ต้องพ่ายแพ้ในศึกครั้งนั้น
นับว่าธุรกิจกลุ่มฮองเหลียงมาเลเซียที่นายเคว็ก เหลง ชาน สร้างขึ้นมานั้นยิ่งใหญ่ไม่แพ้กลุ่มฮองเหลียงสิงคโปร์ แต่ด้วยนิสัยส่วนตัวของเขา และลูก ๆ ที่ไม่ยอมเป็นข่าวจึงไม่มีสื่อมวลชนใดได้สัมภาษณ์สมาชิกครอบครัวมหาเศรษฐีมาเลเซียคนนี้ได้ แต่ปรากฏว่า เมื่อเร็ว ๆนี้ลูกสาวของนายเคว็ก เหลง ชาน กลายเป็นข่าวใหญ่ในสื่อทั้งที่มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างในวงการข่าวบันเทิง
ครอบครัว นายเคว็ก เหลง ชาน กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับภูมิภาคเนื่องจากลูกสาวคนเดียวของเขา ตัดสินใจแต่งงานกับ นายฉอย จูน (Choi Joon) พี่เขยของจวน จีฮุง ดาราสาวดังชาวเกาหลี จวน จีฮุง จึงกลายเป็นญาติกับครอบครัวนี้ไปโดยปริยาย
นี่คือ กลุ่มฮองเหลียง มาเลเซีย ยักษ์ธุรกิจอีกหนึ่งตนที่น่าเกรงขามในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,798 วันที่ 6- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 18

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : ฮองเหลียงกรุ๊ป สิงคโปร์

รูปภาพ

กลุ่มฮองเหลียงกรุ๊ป (Hong Leong Group) และบริษัทในเครือ เป็นกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่คลุมสองประเทศ คือ สิงคโปร์และมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นโดยพี่น้องตระกูลเคว็ก สี่คน ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ เดินทางจากมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน มาแสวงโชคที่เมืองลอดช่องในปี 2471 เริ่มต้นด้วยการเปิดร้านฮาร์ดแวร์ ขายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
นายเคว็ก ฮอง ปึง พี่ใหญ่ของครอบครัว เก็บหอมรอมริบได้ 7,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 210,000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) จึงตั้งบริษัท ฮองเหลียง จำกัด ขึ้นในปี 2484 และในตอนหลังแบ่งหุ้นให้น้อง ๆ 3 คนคือ ฮอง ไค ฮอง ไล และ ฮอง เหลียง
นายเคว็ก ฮอง ปึง เริ่มทำงานหนักตั้งแต่อายุ 16 ปี ในช่วงแรก ๆ ต้องอาศัยนอนบนพื้นร้านฮาร์ดแวร์ของญาติทำงานตั้งแต่ตี 4 ถึงเที่ยงคืนได้เงินเดือน 5 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 150 บาทในอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) ก่อนจะแยกตัวมาสร้างอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ในสิงคโปร์กลายเป็นมหาเศรษฐีติดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์และเสียชีวิตเมื่อปี 2537 ในวัย 82 ปี
คนที่เป็นผู้นำรุ่นที่ 2 ของกลุ่มฮองเหลียงในสิงคโปร์ คือ นายเคว็ก เหลง เบง ลูกชายคนโตที่ตอนเล็ก ๆ โดนพ่อดุด่าเสมอว่าเป็นนักวิชาการเกินไป ค้าขายไม่เป็น ในขณะที่กลุ่มฮองเหลียงมาเลเซีย ซึ่งเป็นธุรกิจอีกอาณาจักรหนึ่งของกลุ่มฮองเหลียงที่เติบโตเคียงคู่กันมา มีผู้นำคือนายเคว็ก เหลง ชาน ลูกชายคนโตของนายฮอง ไล เป็นผู้ดูแล
อาณาจักรธุรกิจฮองเหลียงสิงคโปร์และบริษัทในเครือ ขยายจากร้านฮาร์ดแวร์เข้าสู่ธุรกิจการเงิน การค้า อสังหาริมทรัพย์และโรงแรม โดยนิตยสารฟอร์บส์ระบุว่า เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม 2555 นายเคว็ก เหลง เบง ปัจจุบันอายุ 71 ปี และครอบครัวมีสินทรัพย์สุทธิรวมกัน 2,400 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 144,000 ล้านบาท) เป็นมหาเศรษฐีใหญ่คนหนึ่งในสิงคโปร์
จุดเปลี่ยนสำคัญของฮองเหลียงในสิงคโปร์ คือ การเปิดบริษัท ฮองเหลียงไฟแนนซ์ฯ ในปี 2509 เพื่อปล่อยกู้ให้แก่บริษัทขนาดกลางและเล็ก หลังจากนั้น 2 ปี ก็ขยายเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ปัจจุบันฮองเหลียงไฟแนนซ์ เป็นบริษัทเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์มีสาขากว่า 28 แห่ง ยังเชี่ยวชาญปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กเหมือนเดิม
ในปี 2515 นายเคว็ก ฮอง ปึง ด้วยสายตาที่เฉียบคม ตัดสินใจซื้อกิจการบริษัท ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ฯ (ซีดีแอล) ในขณะที่เป็นบริษัทเล็ก ๆ มีพนักงาน 8 คน เป็นบริษัทที่สร้างโครงการที่เป็นศูนย์การค้าและคอนโดมิเนียมแห่งแรกของสิงคโปร์ และบริษัทนี้ได้รุกเข้าสู่ธุรกิจบริการที่พักโดยสร้างออร์คิด อินน์ ซึ่งในปัจจุบันใช้ชื่อ คอปโทร์น ออร์คิด
หลังจากที่นายเคว็ก เหลง เบง เรียนจบกฎหมายจากอังกฤษกลับมาช่วยธุรกิจครอบครัว ได้ช่วยขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงแรมออกไปอย่างรวดเร็ว โดยหลังจากได้รับตำแหน่งประธานฮองเหลียง สิงคโปร์ในปี 2533 ได้เปิดแนวรุกสู่นอกประเทศ โดยใน 5 ปีต่อมาได้นำบริษัท ซีดีแอลโฮเต็ลส์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เข้าตลาดหลักทรัพย์ในฮ่องกงเพื่อเตรียมขยายธุรกิจโรงแรมในระดับนานาชาติ
ดีลที่ทำให้ซีดีแอลโอเต็ลส์อินเตอร์เนชั่นแนล ชื่อดังระดับโลกคือการเข้าซื้อโรงแรมพลาซ่าโฮเต็ลของนายโดนัล ทรัมป์ ที่นิวยอร์กในปี 2538 จากนั้นก็เข้าซื้อโรงแรมคิงส์ที่อังกฤษ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมคอปโทร์น (Copthorne) ในปี 2541 และขยายเครือข่ายโรงแรมไปทั่วยุโรป ปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ลอนดอน

รูปภาพ

หลังจากนั้น กลุ่มคอปโทร์น ก็เพิ่มแบรนด์ใหม่ คือ มิลเลนเนียมโฮเต็ลส์แอนด์รีสอร์ทส์ เพื่อรุกธุรกิจโรงแรมนอกยุโรป โดยในปี 2550 เปิดโรงแรมแกรนด์มิลเลนเนียมสุขุมวิท ที่กรุงเทพฯ และแกรนด์มิลเลนเนียม กัวลาลัมเปอร์ ก่อน ขยายไปสู่เมืองใหญ่ๆ ของโลกทั้งปารีส ปักกิ่ง โดฮา ดูไบ และยังได้เพิ่มแบรนด์เป็นสตูดิโอ เอ็ม โฮเต็ลด้วย
ปัจจุบันกลุ่มซีดีแอล ภายใต้การนำของนายเคว็ก เหลง เบง มีบริษัทในเครือ 250 บริษัท มีกิจการใน 20 ประเทศ และมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่สิงคโปร์ ลอนดอน ฮ่องกง อัมสเตอร์ดัม นิวซีแลนด์และมะนิลา เป็นกลุ่มพัฒนาที่ดินใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเออีซี
นอกจากนี้กลุ่มโรงแรมมิลเลนเนียมแอนด์คอปโทร์นของนายเคว็ก เหลง เบง ยังเป็นกลุ่มโรงแรมใหญ่อันดับ 40 ของโลก มีโรงแรมมากกว่า 88 แห่งใน 19 ประเทศ รวมทั้งโรงแรมมิลเลนเนียมรีสอร์ทที่ป่าตอง ภูเก็ตของไทยด้วย
ในส่วนของธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นกิจการดั้งเดิมของครอบครัวและเป็นกิจการคาบเกี่ยวกันระหว่างฮองเหลียงสิงคโปร์และฮองเหลียงมาเลเซียนั้น ก็ขยายใหญ่ขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำของเอเชีย มีโรงงานผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์จากปูนซีเมนต์ในมาเลเซียและสิงคโปร์ โรงงานผลิตเครื่องยนต์ ดีเซล ตู้เย็นและบรรจุภัณฑ์ในประเทศจีนและล่าสุดยังรุกเข้าสู่ธุรกิจอี-บิสิเนส โดยมีการตั้งบริษัท ซิตี้ อี-โซลูชั่นส์ จำกัด ขึ้นเพื่อบุกเบิกธุรกิจใหม่ของครอบครัว
ธุรกิจกลุ่มฮองเหลียงกำลังมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นไปอีกเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจของโลกได้ย้ายมาสู่ทวีปเอเชียและสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ กำลังจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นบรรยากาศและบริบทใหม่ในการกระตุ้นการขยายตัวของ ยักษ์ธุรกิจใหญ่แห่งอาเซียน แต่ครอบครัวเคว็ก กำลังประสบปัญหาลูกหลานในรุ่นที่ 3 มีน้อย และโตไม่ทันที่จะมารับตำแหน่งสำคัญขององค์กร
พี่น้องตระกูลเคว็ก ที่ดูแลกิจการฮองเหลียงสิงคโปร์ ในรุ่นที่ 2นอกจากนายเคว็ก เหลง เบง แล้วยังมี นายเหลง จู นายเหลง เชย์ นายเหลง กี และนายเหลง เพ็ค ที่ช่วยกันบริหารธุรกิจในกลุ่มอยู่แล้ว โดยมีมืออาชีพช่วยบริหารในบางบริษัท
ปัญหาสำคัญคือจะให้ใครมาเป็นผู้นำครอบครัวในรุ่นที่ 3 ต่อจากนายเควก เหลง เบง ซึ่งอายุมากแล้ว จะเป็นน้อง ๆ ที่ช่วยบริหารงานอยู่หรือจะข้ามไปที่รุ่นที่ 3 ซึ่งมีอยู่ 9 คน เป็นผู้ชาย 6 คน ผู้หญิง 3 คน ที่อาจจะให้ผลัดกันเป็นผู้นำ เพื่อหาคนที่เก่งที่สุด หรือไม่ก็หาคนนอกตระกูลมา เป็นผู้นำในยุคต่อไป
คงต้องจับตาดูก้าวต่อไปของฮองเหลียง สิงคโปร์ภายใต้การบริหารงานของคนรุ่นที่ 3 ในฐานะหนึ่งในยักษ์ธุรกิจเออีซี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,800 วันที่ 13-15 ธันวาคม พ.ศ. 2555
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 19

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC :แอลที กรุ๊ป อิงค์
รูปภาพLucio Tan

แอลที กรุ๊ป อินคอร์ปอเรชั่น คือบริษัทแม่ของอาณาจักรธุรกิจใหญ่ของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าของบริษัทระดับแนวหน้าของเมืองตากาล็อกมากมาย อาทิ บริษัทเบียร์ เอเชีย บริวเวอรี่ อิงค์ บริษัท ฟอร์จูน โทแบ็กโก คอร์ปฯ โรงผลิตเหล้ารัม ตานเวย์ ดิสทิลเลอรี่ บริษัท อีตัน พร๊อพเพอร์ตี้ ฟิลิปปินส์ จำกัด บริษัท ฟิลิปปินส์ แอร์ไลน์ส อิงค์ บริษัท แอร์ ฟิลิปปินส์ ธนาคารฟิลิปปินส์ เนชั่นแนล แบงก์ และธนาคาร อัลลายด์แบงกิ้ง คอร์ป
เจ้าของ แอลที กรุ๊ป อิงค์ คือนายลูเซียว ตัน (Lucio Tan) มหาเศรษฐีอันดับสองของประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันอายุ 78 ปี นิตยสารฟอร์บส์ ระบุว่ามีสินทรัพย์สุทธิเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2555 รวม 3,500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 105,000 ล้านบาท)
นายลูเซียว ตัน เป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีนเช่นเดียวกับมหาเศรษฐีอีกหลายคนในเออีซี เกิดในปี 2477 ที่เมืองเซียะเหมิน มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน เมืองนี้เดิมชื่อ อามอย อพยพตามพ่อแม่มาอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ
ลูเซียว ได้รับการศึกษาอย่างดี จบมัธยมที่วิทยาลัยเจียงไคเช็กคอลเลจ และเรียนต่อเคมีวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัย ฟาร์อีสเทิร์น ยูนิเวอร์ซิตี มะนิลา เรียนยังไม่ทันจบก็ลาออกมาทำงานที่โรงงานยาสูบท้องถิ่นแห่งหนึ่งเสียก่อน โดยรับหน้าที่เป็นพนักงานซื้อใบยาสูบป้อนโรงงาน
ประสบการณ์จากโรงงานยาสูบส่งผลให้นายลูเซียว ตัน ในวัย 32 ปี แม้เป็นคนไม่สูบบุหรี่ ตัดสินใจตั้งโรงงานบุหรี่ของตัวเองชื่อ ฟอร์จูน โทแบ็กโก ในปี 2509 เริ่มต้นเป็นบ้านหลังเล็ก ๆ แต่กิจการบุหรี่นี้เองที่ทำให้นายตันสามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจฟาร์มสุกรได้ในเวลาต่อมา
กิจการฟาร์มสุกรเริ่มในปี 2513 โดยเขานำสายพันธุ์และเทคโนโลยีฟาร์มสุกรครบวงจร มาจากประเทศไต้หวัน บริษัท ฟอร์โมสต์ ฟาร์มฯ ที่นายตันตั้งขึ้นมีเนื้อที่ถึง 370 ไร่ผลิตเนื้อสุกรชำแหละได้ 50 ตันต่อวัน เป็นฟาร์มสุกรขุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เลยทีเดียว
จากฟาร์มสุกร ลูเซียวรุกเข้าสู่ธุรกิจธนาคารในปี 2520 โดยการซื้อธนาคาร เจเนอรัลแบงก์แอนด์ทรัสต์ ของรัฐบาลซึ่งไปไม่รอด เปลี่ยนชื่อเป็น อัลลายด์ แบงก์ (Allied Bank) และจัดการฟื้นฟูทำให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ในที่สุดก่อนจะรุกต่อเข้าธุรกิจก่อสร้างในปีต่อมา
ลูเซียวรุกเข้าสู่ธุรกิจก่อสร้างโดยการซื้อกิจการบริษัท ริเวอร์ไซด์ สตีล อิงค์ ผู้ผลิตโครงสร้างเหล็กและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท แกรนด์สแปน ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่นฯ บริษัทนี้ต่อมาได้พัฒนาขึ้นมาเป็นผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างและยักษ์ใหญ่ก่อสร้างของประเทศฟิลิปปินส์ รับงานก่อสร้างใหญ่ ๆ อาทิ อาคารสูง สะพาน สนามบิน โรงงานไฟฟ้า
เมื่อประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์คอส เปิดเสรีอุตสาหกรรมเบียร์ในปี 2525 ลูเซียวรุกเข้าสู่ธุรกิจนี้ทันทีโดยตั้งบริษัทเอเชีย บริวเวอรี่ จำกัด ขึ้นมาทำเบียร์ขายแข่งกับซาน มิเกล และกลายเป็นบริษัทเบียร์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศฟิลิปปินส์ในเวลาไม่นาน

รูปภาพ
ช่วงนี้เองที่นายลูเซียว ตัน ได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับประธานาธิบดีมาร์กอส จนกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มเพื่อนนักธุรกิจวงใน และมีรายงานว่ามีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจโดยใช้อำนาจรัฐในหลายเรื่อง แต่การสอบสวนของหน่วยงานรัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์ในภายหลัง ที่ประธานาธิบดีมาร์กอส โดนประชาชนโค่นลงจากอำนาจ ไม่สามารถระบุความผิดที่ชัดเจนกับนายตันได้
อย่างไรก็ดี เป็นที่ชัดเจนว่า อาณาจักรธุรกิจของนายลูเซียว ตันขยายเติบโตอย่างรวดเร็วในยุคของประธานาธิบดีเผด็จการมาร์กอส โดยหลังจากที่เข้าสู่ธุรกิจเบียร์แล้วได้เคลื่อนต่อเข้าสู่ธุรกิจท่องเที่ยว ด้วยการตั้งบริษัท ลัคกี้ ทราเวิล จำกัดในปี 2526 ตามด้วยธุรกิจโรงแรม โดยการซื้อกิจการโรงแรมเซ็นจูรี่พาร์คโฮเต็ลในปี 2528 และยังได้สร้าง โรงแรมชาร์เตอร์ด เฮาส์ โรงแรมสามดาวอยู่ใจกลางย่านธุรกิจของมะนิลา จากนั้นก็ทำโรงงานสุรา
นายตันขยายเข้าสู่ธุรกิจกลั่นสุราในปี 2531 โดยการซื้อกิจการบริษัท ตานเวย์ ดิสทิลเลอรี่ (Tanduay Distillery) ผู้ผลิตเหล้ารัม (เหล้าที่ผลิตจากอ้อยหรือกากน้ำตาล) จากครอบครัวเอลลีซัลเด (Elizalde) และเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 50 เท่าตัว กลายเป็นเหล้ารัมที่มีจำหน่ายในระดับนานาชาติ
หลังจากที่ลูเซียว ตัน ประสบความสำเร็จกลายเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของประเทศ และเชื่อว่าการศึกษาจะช่วยให้คนหลุดพ้นจากความยากจนได้ เขาจึงแสดงความเชื่อนั้นด้วยการตั้งกองทุนเพื่อให้ทุนการศึกษาและซื้อมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตีออฟเดอะอีสต์มาบริหารเอง
เสร็จจากเรื่องการศึกษา ลูเชียว ตัน รุกต่อเข้าสู่ธุรกิจสายการบินโดยการเข้าซื้อหุ้นสายการบินฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ส ในปี 2536 และตั้งแอร์ฟิลิปปินส์เป็นสายการบินในประเทศอีกสามปีต่อมา

รูปภาพ
ในปี 2543 ลูเซียว ตัน ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารอีกแห่งหนึ่งของฟิลิปปินส์คือ ธนาคารฟิลิปปินส์เนชั่นแนล แบงก์ และมีข่าวลือตลอดมา ธนาคารฟิลิปปินส์จะรวมกับอัลลายด์ แบงก์เพื่อเตรียมรับศึกการแข่งขันจากต่างประเทศที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
ในที่สุดในปี 2555 มหาเศรษฐีอันดับ 2 ของฟิลิปปินส์ ก็ตัดสินใจรวมบริษัททั้งหมดมาอยู่ภายใต้บริษัทแม่บริษัทเดียวคือ บริษัท แอลที กรุ๊ป อิงค์ และตั้งลูกชายคนโตคือนายมิเกล ตัน หนึ่งในลูก 6 คนเป็นประธาน เพื่อเป็นการรับมือกับยุคเออีซีที่กำลังจะมาถึง และส่งผ่านอาณาจักรธุรกิจสู่รุ่นลูกไปในตัว
บริษัท แอลที กรุ๊ป อิงค์ ภายใต้การบริหารงานของบรรดาลูก ๆ 6 คนของลูเซียว ตัน ได้เตรียมตัวแล้วกับการแข่งขันในระดับเออีซี นับเป็นการมองการณ์ไกลอย่างยิ่งของมหาเศรษฐีอันดับสองของประเทศฟิลิปปินส์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,802 วันที่ 20-22 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ltg.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 20

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : กลุ่มพารา อินโดฯ

รูปภาพchairul tanjung

กลุ่มพารากรุ๊ป (Para Group) ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นอาณาจักรธุรกิจ ที่สร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวอิเหนาซึ่งถือว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ เป็นทันตแพทย์ ที่หันมาเอาดีทางธุรกิจชื่อนายไชรูล ตันยุง
นายไชรูล ตันยุง เป็น 1 ในสมาชิก 10 คนแรกที่ก่อตั้งและเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษา สมาคมนักธุรกิจอาเซียน ซึ่งมีนักธุรกิจคลื่นลูกใหม่ดัง ๆ ในประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมมากมาย รวมทั้งนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ และนายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จากประเทศไทย
นิตยสารฟอร์บส์ ระบุว่า นายไชรูล ตันยุง เกิดที่จาการ์ตา ปัจจุบันอายุ 50 ปี มีสินทรัพย์สุทธิ 3,400 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 102,000 ล้านบาท) เมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่5 ของประเทศอินโดนีเซีย
ธุรกิจในกลุ่มพารา ประกอบด้วยสถานีโทรทัศน์ชั้นนำ 2 สถานี เว็บไซต์สื่อออนไลน์ Detik.com เครือห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ ในอินโดนีเซีย ธนาคารเมกะ (Bank Mega) บริษัทประกันและบริษัทในเครือ บริษัทให้บริการสวนสนุก ศูนย์การค้า เครือร้านขายสินค้าแฟชั่นแบรนด์อาร์มานี่และจิมมี่ ชู
นายไชรูล เกิดในปี 2505 เรียนจบทันตแพทย์ที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ออฟอินโดนีเซีย แต่ไม่ชอบอาชีพหมอฟัน จึงเข้าสู่โลกธุรกิจด้วยการร่วมกับเพื่อนทำโรงงานรองเท้าเด็กส่งออกโดยได้เงินกู้จากธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ของอินโดนีเซีย เป็นบริษัทแรกของกลุ่มพารากรุ๊ป
โรงงานผลิตรองเท้าเด็กของนายไชรูลและเพื่อนไปได้ดี ตัวเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ของนักธุรกิจแห่งเมืองอิเหนา เพราะกลุ่มพาราเจริญก้าวหน้า ทั้งที่สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอินโดนีเซียประสบปัญหาย่ำแย่หลายรอบจากปัญหาการเมืองและวิกฤติการเงิน ทั้งในประเทศและที่ลุกลามมาจากประเทศไทยตอนเกิดวิกฤติการเงินต้มยำกุ้งในปี 2540
พารากรุ๊ปเริ่มขยายตัวอย่างก้าวกระโดด 1 ปีก่อนเกิดวิกฤติการเงินต้มยำกุ้ง โดยการซื้อธนาคารคาร์แมน (Bank Karman) ซึ่งในขณะนั้นเป็นแบงก์ขนาดเล็กของรัฐที่กำลังย่ำแย่ และเปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารเมกะ พร้อมกับปรับเปลี่ยนการบริหารงานจนกลายเป็นธนาคารที่มีผลประกอบการที่ดีมีความมั่นคงและปัจจุบันเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศแห่งหนึ่ง
จากนั้นก็ขยายเข้าสู่ธุรกิจประกัน บริษัทเงินทุน และนายหน้าค้าหลักทรัพย์ โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินประกอบด้วย แบงก์เมกะ แบงก์เมกะชะรีอะห์อินโดนีเซีย เมกะอินชัวรันส์ เมกะไลฟ์ พาราไฟแนนซิ่ง และเมกะแคปิตอลอินโดนีเซีย ในกลุ่มนี้ นายไชรูลได้ตั้งบริษัท เมกะโกลบอลไฟแนนซ์ฯ เป็นบริษัทแม่

รูปภาพ
จากธุรกิจการเงิน นายไชรูลรุกเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างศูนย์การค้าบันดุง ซูเปอร์มอลล์ ซึ่งภายในศูนย์ มีร้านค้าย่อย 250 ร้าน ห้างสรรพสินค้าเมโทรดีพาร์ตเม้นต์สโตร์ สวนสนุกในร่ม โรงโบว์ลิ่งและโรงภาพยนตร์ ต่อมาธุรกิจในกลุ่มอสังหาฯได้พัฒนาที่ดินอีก 3 โครงการ
ธุรกิจกลุ่มที่ 3 คือ กิจการโทรทัศน์และบันเทิง โดยการตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง ทรานส์ทีวี และยังซื้อกิจการทีวีช่อง 7 จากกลุ่มคอมปัส-กรามีเดีย (Kompas-gramedia) และเปลี่ยนชื่อเป็น ทรานส์-7 สถานีโทรทัศน์ทั้ง 2 ช่องของนายไชรูล ปัจจุบันเป็น 2ใน 5 ช่องที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในอินโดนีเซีย ธุรกิจในกลุ่มที่ 3 นี้ยังรวมถึงบริษัทเว็บไซต์ Detik.com ผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ชั้นนำของประเทศ บริษัท ทรานส์คอฟฟี่ฯ และบริษัท ทรานส์ไลฟ์สไตล์ฯ ที่ทำธุรกิจต่อยอดจากกิจการทีวี
ธุรกิจทุกกิจการของนายไชรูล ประสบความสำเร็จสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง สร้างความมั่งคั่งให้กับนายไชรูลและครอบครัวอย่างรวดเร็ว นิตยสารฟอร์บส์บรรจุชื่อของทันตแพทย์นักธุรกิจคนนี้เป็น1 ในทำเนียบ 40 มหาเศรษฐีอิเหนาที่รวยที่สุดเป็นครั้งแรกในปี 2549 จากนั้นอันดับความมั่งคั่งของนายไชรูลก็ไต่ขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน
ในปี 2551 นายไชรูลได้เปลี่ยนชื่อบริษัทแม่กลุ่มพารา จากพีที พารา อินติ ฮอลตินโด เป็น บริษัท ไชรูล ตันยุง คอร์เปอเรชั่นฯ (CT Corp) ก่อนที่จะรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ๆ
การเปลี่ยนชื่อครั้งนั้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทางธุรกิจรุ่นใหม่ของนายไชรูล โดยหลังจากที่ธุรกิจกลุ่มสื่อประสบความสำเร็จระดับหนึ่งแล้ว ก็มีการจัดตั้งบริษัท ซีที โกลเบิ้ล รีซอร์สฯ ขึ้นมาเพื่อรุกธุรกิจพลังงาน เหมืองแร่ และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2554 นายไชรูล ประกาศว่าจะขยายธุรกิจไปสู่กิจการเคเบิลทีวี และสื่อออนไลน์ที่กำลังเติบโตขึ้นมาทดแทนสื่อสิ่งพิมพ์ พร้อมจะเปิดสาขาธนาคารแบงก์เมกะให้ได้ 500 สาขาในปี 2555 และยังประกาศด้วยว่าจะลงทุนครั้งใหญ่สร้างสวนสนุกทั่วทุกเกาะของประเทศอินโดนีเซียภายในปี 2563
ในปี 2555 นายไชรูล กลายเป็นเจ้าพ่อค้าปลีกภายในประเทศหลังจากที่ได้รับเงินกู้ 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 22,500 ล้านบาท) จากธนาคารและสถาบันการเงินนานาชาติ 10แห่ง ให้ซื้อหุ้นกิจการห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ครบ 100% จากเดิมที่ถือหุ้นเพียง 40% ทำให้เป็นเจ้าของเครือข่ายห้างไฮเปอร์มาร์ทใหญ่ที่สุดของประเทศในทันที จากนั้นยังได้ซื้อหุ้นบางส่วนของสายการบินการูด้า อินโดนีเซียอีกด้วย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นายไชรูล ประสบความสำเร็จสามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ได้มาจากครอบครัวธุรกิจที่ร่ำรวยคือ เครดิตความน่าเชื่อถือที่ทันตแพทย์นักธุรกิจคนนี้สร้างและสะสมขึ้นมา ทำให้สามารถกู้เงินจากสถาบันการต่างประเทศมาขยายกิจการได้ตลอดเวลา
นายไชรูล ตันยุง ด้วยวัยเพียง 50 ปี ประสบความสำเร็จขนาดนี้ ย่อมมีโอกาสขึ้นมายืนเป็นนักธุรกิจแถวหน้าของเออีซีได้อย่างแน่นอน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,804 วันที่ 27-29 ธันวาคม พ.ศ. 2555
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 21

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC: 'กลุ่มวินกรุ๊ป เวียดนาม'

รูปภาพpham-nhat-vuong

วินกรุ๊ป (VinGroup) เวียดนาม เป็นกลุ่มบริษัทที่ผงาดขึ้นมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศเวียดนามในเวลาอันรวดเร็ว แม้เศรษฐกิจของประเทศนี้จะประสบกับปัญหาเงินเฟ้อมาอย่างต่อเนื่อง แต่วินกรุ๊ปก็สามารถขยายตัวได้ดี ทำให้เจ้าของกิจการคือ นายฟาม นัท หวัง (Pham Nhat Vuong) ได้แชมป์มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศคอมมิวนิสต์แห่งนี้ติดต่อกันหลายปี
นายฟาม นัท หวัง ปัจจุบันอายุ 44 ปี คือชาวเวียดนามที่จบการศึกษาด้านวิศวกรรมเทคโนโลยีธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยมอสโคว์ จีโอโลจี ยูนิเวอร์ซิตี้ ในกรุงมอสโก เมื่อจบการศึกษาแล้วเดินทางต่อไปยูเครนเพื่อทำมาหากินโดยตั้งบริษัท แอลแอลซี เทคโนคอมฯ ผลิตอาหารอบแห้งมีทั้งผัก ผลไม้ และบะหมี่
กิจการของนายฟาม ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทำให้เขามีเงินทุนจำนวนหนึ่งอยู่ในมือจึงตัดสินใจกลับมาลงทุนในประเทศบ้านเกิดในปี 2544 เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามที่แม้เป็นรัฐบาลคอมมิวนิสต์ แต่ก็ได้ประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ‘โดย เหม่ย’ ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเกิดขึ้น
หลังจากที่เหยียบแผ่นดินบ้านเกิดอีกครั้ง นายฟามลงมือทำธุรกิจทันทีโดย ตั้งบริษัท ฮ่อน เทร่ ทัวริซึ่ม อินเวสเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ฯ สร้างโรงแรมห้าดาว ชื่อ วินเพิร์ล รีสอร์ท ญาจาง ที่เกาะฮ่อง เทร่ ใกล้อ่าวญาจาง ที่สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของประเทศเวียดนาม อยู่ในเมืองคั๋นฮหว่า ตรงชายฝั่งทะเลกลางใต้ของประเทศ โครงการนี้เริ่มก่อสร้างในปีต่อมา
ในปี 2545 นายฟาม ตั้งบริษัท เวียดนาม คอมเมอร์เชียล จอยต์ สต๊อกฯ มีเงินทุนจดทะเบียน 196,000 ล้านด่อง (ประมาณ 285 ล้านบาทที่อัตราแลกเปลี่ยน 687 ด่องเท่ากับ 1 บาท) เพื่อสร้างศูนย์การค้าและสำนักงานให้เช่าในเมืองฮานอย ชื่อ อาคารวินคอมเซ็นเตอร์ บาเทร่ย ใช้เวลาสร้างเฟสแรก 2 ปี

รูปภาพ
โรงแรมห้าดาว วินเพิร์ล รีสอร์ท ญาจาง ของนายฟาม เปิดให้บริการในปี 2546 มีห้องพักทั้งหมด 225 ห้อง โดยหลังจากนั้นไม่นาน บริษัท วินเพิร์ลฯ ก็รุกต่อเข้าสู่ธุรกิจสวนสนุกโดยเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าบนเกาะฮ่อน เทร่ ใกล้กับรีสอร์ตให้เป็นวินเพิร์ล อะมิวเมนท์ พาร์ค เป็นการสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวของ ญาจาง ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอยู่แล้ว
หลังจากสร้างสวนสนุกวินเพิร์ล อะมิวเมนท์พาร์ค บนเกาะฮ่อน เทร่ เสร็จแล้ว นายฟามใช้วิธีเพิ่มผู้เข้าชมสวนสนุกด้วยการสร้างกระเช้าลอยฟ้าที่ถือว่าเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งสำหรับประเทศเวียดนาม ที่เริ่มนโยบายปฏิรูป โดยเหม่ย ได้ไม่นานเพราะเป็นโครงการกระเช้าลอยฟ้าข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก
นายฟามสร้างกระเช้าลอยฟ้าเชื่อมท่าเรือท่องเที่ยวฝุกุย กับเกาะฮ่อน เทร่ มีความยาว 3.2 กิโลเมตร เปิดบริการในปี 2550 พร้อมกับขยายห้องพักวินเพิร์ล รีสอร์ท ญาจาง เพิ่มห้องดีลักซ์จนทำให้มีห้องพักทั้งสิ้น 485 ห้อง ก่อนจะเสนอตัวเป็นสถานที่จัดประกวดทั้งนางงามเวียดนามและนางงามนานาชาติบ่อยครั้งจนเกาะฮ่อน เทร่ ได้รับฉายาว่า เกาะแห่งเวทีนางงาม
การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มเพิร์ล ทำให้ฟามมีปัญหาเรื่องเงินทุนเพื่อใช้ในการขยายตัว แต่เขาก็โชคดี ที่รัฐบาลเวียดนามเห็นความสำคัญของตลาดทุน จึงเปิดตลาดหลักทรัพย์ขึ้นที่นครโฮจิมินห์ ในปี 2551
นายฟามไม่รั้งรอที่จะนำบริษัท เพิร์ลฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ซิตีต้นปี 2551 ได้อักษรย่อว่า VPL และกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนในหมวดธุรกิจท่องเที่ยวที่มีราคาตลาดสูงสุดในทันที
ในปี 2553 นายฟาม ขายกิจการในยูเครนให้กับบริษัท เนสท์เล่ฯ ในตอนนั้นบริษัท แอลแอลซี คอมฯ ของเขามียอดขายประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,000 ล้านบาท) สำนักข่าวบลูมเบิร์ก เชื่อว่าเนสท์เล่ซื้อกิจการนายฟามไปในราคา 150 ล้านดอลลาร์ แต่ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมยืนยันและเปิดเผยราคาซื้อขายโดยระบุว่าเป็นความลับทางการค้า
การขายกิจการครั้งนั้น สะท้อนให้เห็นความต้องการรุกเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของนายฟาม อย่างมาก โดยที่ตัวเขาเองให้สัมภาษณ์นักข่าวจากบลูมเบิร์กว่า ‘ผมมีเงินเท่าไหร่ ผมทุ่มลงในโครงการพัฒนาที่ดินหมด โอกาสในธุรกิจนี้มีอีกมหาศาล’
หลังจากขายหุ้นที่ยูเครนแล้ว นายฟามขยายโครงการอาคาร วินคอม เซ็นเตอร์ บาเทร่ย ที่ฮานอย จนกลายเป็นศูนย์การค้าหรูที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามพร้อมสร้างอพาร์ตเมนต์ราคาแพง จากนั้นเริ่มโครงการศูนย์การค้า วินคอม เซ็นเตอร์ และอาคารวินคอม ไฟแนนเชียล เซ็นเตอร์ ที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี และอาคารวินคอม เรียลเอสเตท เทรดดิ้งที่เมืองฮานอย
ความสำเร็จจากธุรกิจศูนย์การค้าทำให้นายฟาม ประกาศว่าจะขยายเครือข่ายศูนย์การค้าออกไปทั่วประเทศและขยายเครือข่ายโรงแรมออกจากญาจางไปอีกหลายเมืองโดยเริ่มที่ดานัง และวางจุดยืนเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินอันดับ 1 ของประเทศเวียดนามที่พร้อมจะออกไปลงทุนต่างประเทศ
นายฟาม รวมกลุ่มวินคอมและวินเพิร์ล มาอยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นวินเพิร์ล วัน เมมเบอร์ คอมพานี หรือเรียกชื่อย่อ ๆ ว่า ‘วินกรุ๊ป’ ในเดือนมกราคม 2555
ภายในปี 2555 กลุ่มวินกรุ๊ป เป็นเจ้าของทรัพย์สินกรรมสิทธิ์พื้นที่ดิน อาคารสำนักงาน โรงแรม และศูนย์การค้ารวม 18 แห่ง ในเมืองฮานอย โฮจิมินห์ซิตี ฮึงเยียน ญาจาง ไฮฟอง และดานัง ทั้งที่พัฒนาแล้วและอยู่ระหว่างการพัฒนารวม 93 ตารางกิโลเมตร โครงการล่าสุดที่กำลังพัฒนาอยู่ชื่อ รอยัลซิตี อยู่ห่างจากใจกลางเมืองฮานอยไป 5 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะประกอบด้วยอพาร์ตเมนต์ระดับสูง สวนสนุกในร่มและลานสเกตน้ำแข็งแห่งแรกของประเทศ รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน โรงเรียนนานาชาติ บ้านเดี่ยวและศูนย์การค้า

รูปภาพ
การขยายตัวอย่างไม่หยุดหย่อนทำให้นายฟามและภรรยาคือนางฟาม ทู หวง ได้แชมป์คนรวยหุ้นมากที่สุดในประเทศเวียดนาม จากการจัดอันดับเศรษฐีหุ้นเวียดนาม 100 คน เป็นปีที่ 3 ในปี 2555โดยทิ้งห่างอันดับ 2 ไกลมาก
นายฟาม ซึ่งกำลังพยายามระดมเงินจากตลาดทุนนานาชาติประกาศว่าต้องการไปลงทุนในสิงคโปร์และฮ่องกงเช่นเดียวกับนักพัฒนาที่ดินระดับบิ๊กของแถบนี้บ้าง คำประกาศนี้ทำให้ครอบครัวนายฟามที่มีลูก 3 คน กลายเป็นยักษ์ธุรกิจเออีซีที่น่าสนใจขึ้นมาทันที

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,808 วันที่ 10 - 12 มกราคม พ.ศ. 2556
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 22

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : ฮองอันห์-ซาลาย (HAGL) เวียดนาม

รูปภาพDoan Nguyen Duc

เจ้าของกลุ่ม บริษัท ฮองอันห์-ซาลาย (Hoang Anh Gia Lai-HAGL) ของเวียดนามคือนายด่วน เหงียน ดึ๊ก (Doan Nguyen Duc) เป็น 1 ใน 2 มหาเศรษฐีธุรกิจที่ผลัดกันครองตำแหน่งมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักธุรกิจอีกคนหนึ่งคือนายฟาม นัท หวัง (Pham Nhat Vuong)
นายด่วน เป็นนักธุรกิจประเภทเจ้าสัวที่สร้างตัวขึ้นมาด้วยสองมือ ไม่ได้จบการศึกษาสูง ๆ ชอบใส่กางเกงยีนส์ เสื้อแขนสั้น รองเท้าผ้าใบ แต่มีเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ส่วนตัว ขยายธุรกิจเข้าลาว เขมรและเมียนมาร์ในธุรกิจที่หลากหลายตั้งแต่วัสดุก่อสร้าง โรงแรม คอนโดมิเนียม เหมืองแร่ สวนยาง ยันสโมสรฟุตบอล
มีรายงานในสื่อที่เวียดนาม ว่าด้วยนิสัยที่ชอบแต่งตัวมอซอ ทำให้ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่กงสุลสถานทูตสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้วีซ่านายด่วนเข้าประเทศสหรัฐฯเพราะแต่งตัวเหมือนคนงานโรงงานไปขอวีซ่าและบอกว่าเป็นมหาเศรษฐี แต่ในวันต่อมาเจ้าหน้าที่สถานทูตได้ขอโทษและออกวีซ่าให้
นายด่วน เหงียน ดึ๊ก เป็นคนจากแถบที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนาม เกิดในปี 2506 เรียนหนังสือและพยายามสอบเข้าเรียนวิทยาลัยการป่าไม้ถึงสี่ครั้งแต่สอบไม่ผ่าน แต่มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับมหาเศรษฐีของโลกในห้องสมุดของวิทยาลัยนั้น จึงตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเข้าสู่ธุรกิจโดยล้มโครงการเรียนวิทยาลัยกลับไปช่วยครอบครัวทำธุรกิจค้าไม้ ก่อนเริ่มธุรกิจค้าไม้ของตัวเองตอนมีอายุเพียง 22 ปี
5 ปีต่อมาในปี 2533 นายด่วนมีโอกาสทำงาน ในโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่งและเมื่อมีประสบการณ์มากพอ จึงลงทุนตั้งโรงงานเล็ก ๆ ในปี 2536 ที่เมืองเปอร์กุ เขตซาลาย ทำโต๊ะและเก้าอี้นักเรียน ขายโรงเรียนและราชการ แถวจังหวัดบ้านเกิด
นายด่วนทำเฟอร์นิเจอร์และค้าไม้ไปด้วย ทำเงินได้อย่างมาก มีรายงานว่าภายในปี 2543 ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และค้าไม้ทำกำไรให้ปีหนึ่งนับสิบล้านดอลลาร์
ในปี 2545 นายด่วนสร้างโรงงานแปรรูปหินแกรนิตและบุกเข้าสู่ธุรกิจกีฬา โดยสร้างข่าวดังข้ามมาถึงประเทศไทยเมื่อเขาตามจีบ และสามารถดึงตัวนายเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง นักฟุตบอลชื่อดังในเวลานั้นจากประเทศไทย ไปเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลของเขาได้สำเร็จ
ทีมฟุตบอลอาชีพฮองอันห์-ซาลาย ของนายด่วน กลายเป็นทีมชั้นนำในพรีเมียร์ลีกของเวียดนาม (V-League) นอกจากเขาจะโด่งดังจากการดึงนายเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง นักเตะจากประเทศไทย มาร่วมทีมแล้ว ยังมีการเปิดสถาบันฝึกสอนฟุตบอลที่เขตจังหวัดซาลาย โดยร่วมมือกับสโมสรอาร์เซนอลของอังกฤษ ทำให้นายด่วนเป็นที่รู้จักในประเทศอังกฤษด้วย
ช่วงเวลาที่ทำสโมสรฟุตบอลนี้เองที่นายด่วน เริ่มสะสมที่ดิน หรือแลนด์แบงก์โดยมองข้ามช็อตไปแล้วว่า เมืองโฮจิมินห์และเมืองใหญ่อื่น ๆ ของเวียดนามจะต้องเจริญก้าวหน้า ธุรกิจพัฒนาที่ดินจะมาแรง ในตอนนั้นที่ดินยังมีราคาถูก บางส่วนยังเป็นพื้นที่เกษตร ทำให้สามารถสะสมที่ดินราคาถูกเป็นแลนด์แบงก์สำหรับการสร้างคอนโดมิเนียมได้ถึง 20,000 ยูนิต

รูปภาพ

ในปี 2548 นายด่วน สร้างข่าวดังในประเทศอีกครั้งหนึ่งด้วยการซื้อเครื่องบินส่วนตัว 12 ที่นั่งยี่ห้อบีชคราฟท์ (Beachcraft) ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา เป็นนักธุรกิจคนแรกของเวียดนาม และทำให้กลายเป็นแฟชั่นสำหรับเศรษฐีเวียดนามในเวลาต่อมาว่าต้องมีเครื่องบินส่วนตัว แต่ นายด่วน เหงียน ดึ๊ก ให้สัมภาษณ์ข่าวว่า เขาไม่เคยใช้เครื่องบินเพื่อการพักผ่อนส่วนตัวเลย ส่วนใหญ่ใช้ในการทำธุรกิจทั้งสิ้น

รูปภาพ
เมื่อรัฐบาลเวียดนามเปิดตลาดหลักทรัพย์ขึ้นที่โฮจิมินห์ซิตี ในปี 2551 นายด่วนนำธุรกิจเข้าตลาดหุ้น และได้เป็นนักลงทุนที่ร่ำรวยที่สุดของตลาดทันทีในปีนั้นและปีต่อมา โดยในปี 2552 ราคาตลาดของหุ้นนายด่วนมีมูลค่า 683.5 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ปี 2551 ราคาตลาดอยู่ที่ 325 ล้านดอลลาร์
หลังจากที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว นายด่วนบุกธุรกิจคอนโดมิเนียมในกรุงโฮจิมินห์ ทำ 23 โครงการ 500 ยูนิต ขายให้ชนชั้นกลางและทยอยเอาแลนด์แบงก์ที่สะสมไว้มาพัฒนาเป็นโครงการต่าง ๆ จนกลายเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินใหญ่อันดับหนึ่งของเวียดนามในปี 2553 แต่ตกมาเป็นที่สองในปี 2554
นอกจากโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมแล้ว บริษัท ฮองอันห์-ซาลายฯ ยังมีโรงแรมทั้งสี่ดาวและห้าดาวอยู่ในหลายเมืองของเวียดนามด้วย
เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มประสบปัญหาตลาดตกต่ำตั้งปี 2554 บริษัท ฮองอันห์-ซาลายฯเพิ่มธุรกิจปลูกยางพารา สร้างเขื่อนไฟฟ้าและเหมืองแร่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงนี้เองที่นายด่วนตัดสินใจซื้อเฮลิคอปเตอร์ส่วนตัวอีกหนึ่งลำเพื่อใช้ในการบินไปเจรจาธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเจ้าตัวระบุว่ามีความสะดวกรวดเร็วกว่าเครื่องบินส่วนตัว
ธุรกิจใหม่ที่บริษัท ฮองอันห์-ซาลายฯ บุกแหลก ก็คือสวนยางพารา โดยได้สัมปทานปลูกยางนับแสนไร่ที่ประเทศลาวตอนใต้นอกเหนือจากสวนยางในประเทศบ้านเกิดและยังรุกเข้าไปปลูกยางในกัมพูชาด้วย โดยตั้งเป้าว่าจะมีพื้นที่ปลูกยางรวมกัน 51,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 311,000 ไร่) ใน 3 ประเทศ และนำบริษัทเจ้าของสวนยางเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่สิงคโปร์รวมทั้งจะทำโรงงานยางแปรรูป
ล่าสุด บริษัท ฮองอันห์-ซาลายฯ รุกเข้าไปทำสนามบิน 2 แห่งในลาว ที่แขวงอัตตะปือตอนใต้สุดของลาว และสนามบินที่แขวงพัน อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลาวติดกับพรมแดนเวียดนาม และยังลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลที่อัตตะปือ และประกาศจะลงทุน 300 ล้านดอลลาร์ สร้างโรงแรมห้าดาว ศูนย์การค้า เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ในเนื้อที่สัมปทานประมาณ 50 ไร่กลางกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์
การรุกทำธุรกิจนอกประเทศอย่างดุเดือด ของนายด่วน เหงียน ดึ๊ก ทำให้นสพ.วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ยกให้นายด่วนเป็นนักธุรกิจ 1 ใน 24 คนที่มีอิทธิพลสูงสุดในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเท่ากับเป็นนักธุรกิจที่มีอิทธิพลสูงสุดคนหนึ่งในเออีซีไปโดยปริยาย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,812 วันที่ 24 - 26 มกราคม พ.ศ. 2556
hagl.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 23

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : 'มอง ฤทธี กัมพูชา'

รูปภาพ

กลุ่ม มอง ฤทธี กรุ๊ป ปัจจุบันเป็นขุมข่ายธุรกิจใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของประเทศกัมพูชา ผู้ก่อตั้งและเจ้าของกลุ่มนี้คือ ออกญา มอง ฤทธี (Oknha Mong Reththy) ทำธุรกิจหลายด้านทั้งส่งออก นำเข้า อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้างท่าเรือ ค้าซีเมนต์ โรงอิฐ ขนส่ง และเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตร มีฟาร์มหมู ไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล ไร่ยาง และไร่ปาล์มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา มีบริษัทในเครือกว่า 10 บริษัทและพนักงานมากกว่า 3 พันคน
นายมอง ฤทธีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นออกญา (บรรดาศักดิ์โบราณของขอม ที่ประเทศไทยในอดีตนำมาใช้และเพี้ยนมาเป็นพระยาในตอนหลัง) ในฐานะนักธุรกิจที่ร่วมฟื้นฟูประเทศเขมรและใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรี ฮุน เซ็น และยังได้ตำแหน่งวุฒิสมาชิกด้วยในปี 2549 โดยมีข่าวลือว่านายมอง ฤทธี กับ ฮุน เซ็น เคยนอนอยู่วัดเดียวกันตอนหนุ่ม ๆ

รูปภาพ

นายมอง ฤทธี ซึ่งเกิดในปี 2502 เขียนเล่าประวัติตัวเองว่า บ้านเดิมอยู่จังหวัดตาแก้ว เกิดมายากจนมาก เรียนโรงเรียนวัด จบแค่ประถม 4 อายุ 12 ปี พ่อไล่ให้ไปทำงานเป็นลูกจ้างในร้านบะหมี่ที่กรุงพนมเปญ ต้องตื่นตี 4 นอน 4 ทุ่ม ลำบากมาก ทำงานได้ 2 ปี ก็หนีไปทำงานก่อสร้างและกลับบ้าน
กลับถึงบ้านยิ่งยากจนกว่าเดิม นายมอง ฤทธี ตัดสินใจบวชเป็นพระตอนอายุ 16 ปี และอยู่ในจีวรหลายปี ช่วงเขมรแดงมีอำนาจต้องไปทำงานเป็นแรงงานทาสและถูกจับแต่งงานหมู่ แต่แยกกับภรรยาไปคนละทิศคนละทาง
เมื่อเขมรแดงหมดอำนาจในปี 2522 นายมอง ฤทธี เดินด้วยเท้าจากบ้านเกิด มาหางานทำในพนมเปญ และรองเท้ายางคู่นั้น เขายังเก็บใส่ตู้โชว์มาจนทุกวันนี้ มาถึงพนมเปญ ต้องนอนใต้ต้นไม้ ขออาหารกิน โชคดีได้เจอภรรยาที่โดนบังคับแต่งงานโดยบังเอิญ ทำให้กลับมาอยู่ด้วยกัน เมียถอดตุ้มหูทองที่ได้จากแม่ให้เอาไปขายเป็นทุนทำธุรกิจปะยาง ขายกล้วยปิ้งเลี้ยงตัว
นายมอง ฤทธี ดิ้นรนจนได้งานเป็นพนักงานแบกของที่ท่าเรือพนมเปญในปี 2523 และพยายามเก็บเงินจนกระทั่งสามารถซื้อรถมอเตอร์ไซค์พร้อมด้วยกระบะหลัง ทำให้สามารถทำธุรกิจขนสินค้าและคนไปมาระหว่างพนมเปญและจังหวัดกำปงสปือ ในช่วงวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุด
10 ปีต่อมา นายมอง ฤทธี ได้ทำงานในรัฐวิสาหกิจกรวดหินและทรายของกระทรวงขนส่งและสื่อสารของรัฐบาลกัมพูชาโดยทำธุรกิจส่วนตัวไปด้วย หลังจากนั้นไม่นานก็ลาออกจากรัฐวิสาหกิจ เป็นนักธุรกิจเต็มตัวโดยในปี 2536 เป็นตัวแทนให้บริษัทก่อสร้างจากต่างประเทศและตั้งบริษัทนำเข้าส่งออกของตัวเอง ส่งออกยางพาราและนำเข้าวัสดุก่อสร้างและรถยนต์
มีรายงานจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตะวันตกว่า ธุรกิจที่ทำเงินให้กับนายมอง ฤทธี มากคือการขายทรายให้กับประเทศสิงคโปร์เพื่อเอาไปถมทะเล โดยรายงานระบุว่า นายมอง ฤทธี เป็นนักธุรกิจ1 ใน 2 รายที่ได้สัมปทานขุดทรายที่เกาะกง ส่งขายสิงคโปร์ซึ่งทำให้เกิดผลเสียทางระบบนิเวศอย่างมาก
จากธุรกิจขายทราย นายมอง ฤทธี รุกต่อเข้าสู่ธุรกิจปาล์มน้ำมันโดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2537 ภายใต้บริษัทที่มีชื่อว่า MRICOP ได้สัมปทานปลูกปาล์มในเนื้อที่ 1.1 หมื่นเฮกตาร์ (ประมาณ 6.9 หมื่นไร่) ที่ตำบลเปรย์นพ จังหวัดพระสีหนุ โดยได้พันธุ์มาจากประเทศมาเลเซีย ไทย และ คอสตาริกา
ธุรกิจปาล์มน้ำมันของมอง ฤทธี เป็นธุรกิจครบวงจรตั้งแต่ไร่ปาล์ม โรงงานสกัดน้ำมันไปถึงโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาลและระยะเวลายาวนาน ซึ่งแน่นอนว่าสุดท้ายโครงการนี้ นายมอง ฤทธี ไม่ได้ทำเองแต่เพียงลำพัง หุ้นส่วนสำคัญของเขาคือกลุ่มทีซีซี ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกิจการที่เป็นเจ้าของไร่ปาล์มผืนใหญ่นี้ในปี 2549

รูปภาพ

กลุ่มทีซีซี ของเจ้าสัวเจริญ ยังควงคู่นายมอง ฤทธี ไปลงทุนสร้างท่าเรือเอกชนแห่งแรกของกัมพูชาชื่อ ออกญา มองพอร์ต ที่จังหวัดเกาะกง และโรงงานน้ำตาลแห่งแรกของประเทศด้วย โดยเฟสแรกของท่าเรือสร้างเสร็จในปี 2547 ส่วนโรงงานน้ำตาลสร้างที่อำเภอ เสรย์อัลเบล เมืองสีหนุวิลล์ใช้เงินลงทุน 50 ล้านดอลลาร์เริ่มโครงการปี 2549
นอกจากไร่ปาล์มที่ร่วมกับเจ้าสัวเจริญแล้ว นายมอง ฤทธี ยังมีที่ดินกว่า 1 แสนเฮกตาร์ (ประมาณ 6.25 แสนไร่) อายุสัมปทาน 70 ปี ที่ตำบลเสียมปัง และสตรึงแตรง ในจังหวัดสตรึงแตรงปลูกยาง สบู่ดำ มันสำปะหลัง อ้อย ต้นอาเคเซีย และมีพื้นที่เช่า 5 พันเฮกตาร์ (3.1 หมื่นไร่) อยู่จังหวัดดูมณฑลคีรี ปลูกยางและอาเคเซียโดยกำลังมองหาผู้ร่วมทุนใหม่โดยจะทำธุรกิจโรงงานกระดาษ ชิ้นไม้สับและเหมืองแร่
อย่างไรก็ดีกลุ่มอนุรักษนิยมและชาวบ้านหลายกลุ่ม ระบุว่าสัมปทานการเกษตรของมอง ฤทธี ทำให้มีการรุกพื้นที่ป่าและการบังคับอพยพชาวบ้านจำนวนมาก ข้อกล่าวหาเหล่านี้นายมอง ฤทธี ปฏิเสธข่าวเสมอมา
มอง ฤทธี ร่วมทุนกับนักธุรกิจเวียดนามด้วย ทำโรงงานอิฐและกระเบื้องปูพื้นที่จังหวัดพระสีหนุ อยู่ตอนใต้ของประเทศ เริ่มในปี 2553 โดยเป็นธุรกิจในกลุ่มวัสดุก่อสร้างซึ่งแตกแขนงมาจากบริษัทก่อสร้างที่นายมอง ฤทธี ได้งานก่อสร้างจากรัฐบาลมากมาย

รูปภาพ
นอกจากนักธุรกิจชาวเอเชียด้วยกันแล้ว มอง ฤทธี ยังร่วมทุนกับบริษัทฟาร์มจากยอร์กไชร์ของอังกฤษทำฟาร์มหมูตั้งแต่ปี 2551 มีการซื้อแม่พันธุ์มาจากอังกฤษ 600 ตัว สร้างฟาร์มและโรงชำแหละโดยประกาศว่าจะผลิตหมูให้ได้ 1 ล้านตัวต่อปีภายในปี 2558 ด้วยฟาร์มขนาดใหญ่ 16 แห่ง โรงงานอาหารสัตว์ 15 โรงและโรงชำแหละสุกรทันสมัย 4 แห่ง
กลุ่มมอง ฤทธีหลังจากร่วมทุนกับอังกฤษแล้ว ยังร่วมทุนกับบริษัทฝรั่งเศสสร้างโรงงานน้ำตาลใหญ่ที่สุดในประเทศ เพื่อผลิตน้ำตาลปีละ 8 หมื่นตัน ที่จังหวัดสตรึงแตรง น้ำตาลที่ผลิตได้ไม่ได้ขายในประเทศ แต่ส่งออกไปยุโรปเนื่องจากได้สิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้า
นายมอง ฤทธี เคยขับรถด้วยตัวเองจากพนมเปญทะลุไทยไปปีนัง มีลูกชาย 3 คน หญิง 2 คนและหลานอีกเกือบโหล นับเป็นนักธุรกิจที่มีสีสันมากที่สุดคนหนึ่งในเออีซี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,814 วันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 24

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : ลี ยง พัด กัมพูชา

รูปภาพ

ลี ยง พัด (Ly Yong Phat) เป็นนักธุรกิจกัมพูชาที่ได้รับฉายาว่า ‘เจ้าพ่อเกาะกง’ มีชื่อไทยว่า พัด สุภาภา เป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจใหญ่กลุ่มหนึ่งของกัมพูชาชื่อ แอลวายพีกรุ๊ป (L.Y.P.Group)
ลี ยง พัด เกิดที่อำเภอเสาธง จังหวัดเกาะกงในปี 2501 ในครอบครัวคนจีนไหหลำที่ข้ามฝั่งมาจากจังหวัดตราดของประเทศไทย ได้ชื่อไทยว่าพัด สุภาภา เป็นคนใฝ่รู้จึงสามารถพูดได้ 3 ภาษาคือไทย จีน และเขมร ทำให้สามารถเริ่มค้าขายตั้งแต่อายุ 20 ปีต้น ๆ
เกาะกง และจังหวัดตราด นั้นมีชาวจีนไหหลำอพยพไปตั้งรกรากอยู่จำนวนมากเพื่อทำโรงเลื่อยและค้าขายตั้งแต่ครั้งในอดีต มีประวัติบันทึกที่จังหวัดระยองว่า มีการค้าขายระหว่างเกาะกงกับกรุงเทพฯ มาตั้งแต่ก่อนปี 2460 โดยระบุว่านายเทียน สินธุวณิชย์ หรือ ขุนพานิชชลาสินธุ์ ชาวจีนไหหลำอยู่ที่ระยองร่ำรวยจากการเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างเกาะกง ผ่านระยองเข้ากรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีบันทึกที่จังหวัดตราดว่า เกาะช้างเคยเป็นท่าจอดเรือหลบมรสุมเพื่อสะสมเสบียง และน้ำจืดเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัดจีนไหหลำและญวน
ช่วงเกิดสงครามในกัมพูชา พัด สุภาภา อยู่ที่จังหวัดตราด พอเขมรแดงหมดอำนาจลงในปี 2522 จึงกลับเกาะกง และร่วมกับเพื่อนทำการค้าเครื่องยนต์เก่านำเข้าจากสิงคโปร์ขึ้นท่าเรือที่เกาะกง ต่อมาได้รับโอนธุรกิจนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศแต่เพียงผู้เดียวจากพันธมิตรที่มีสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจทางการเมืองในขณะนั้นจึงตั้งบริษัท ฮีโร่คิง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อผูกขาดขายบุหรี่ในประเทศกัมพูชา

รูปภาพ

ภายในปี 2542 นายลี ยง พัด ก็ขึ้นแท่นเป็นพ่อค้าเศรษฐีที่ได้รับการยอมรับกันในหมู่พ่อค้าชาวจีนที่เกาะกง เห็นได้ชัดจากที่เขาได้รับเลือกตั้งเป็น นายกสมาคมชาวไหหลำของจังหวัดเกาะกงในปีนั้น
สองปีต่อมา นายฮุน เซ็น ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียวของกัมพูชา โดยไม่ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมเด็จนโรดม รณฤทธิ์ อีกต่อไป นายลี ยง พัด เริ่มสยายปีกธุรกิจทันที โดยขอสัมปทานสร้างรีสอร์ตและกาสิโน ในพื้นที่นับพันไร่ที่บ้านจามเยี่ยม อำเภอมณฑเสม จังหวัดเกาะกง ในนามบริษัท เกาะกง อินเตอร์เนชั่นแนล รีสอร์ท แอนด์ คลับ จำกัด ลูกค้าส่วนใหญ่ของบ่อนที่นายลี ยง พัด สร้างขึ้นมาก็คือชาวไทยที่หลั่งไหลข้ามฝั่งไปเล่นการพนันที่เกาะกง
รีสอร์ตและโรงแรมที่เกาะกง ประสบปัญหาไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง นายลี ยง พัด จึงตั้งบริษัท เกาะกง อิเล็คทริค จำกัด ขึ้นมาเป็นตัวแทนจำหน่ายไฟฟ้าที่เกาะกงโดยซื้อไฟฟ้าจากฝั่งไทย

รูปภาพ

นอกจากบ่อนแล้ว ธุรกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้นายลี ยง พัดคือ สัมปทานขุดทรายในเกาะกง ร่วมกับนายมอง ฤทธี มหาเศรษฐีธุรกิจอีกคนหนึ่งของกัมพูชา ขายให้รัฐบาลสิงคโปร์เพื่อนำไปถมทะเลขยายเกาะสิงคโปร์ให้ใหญ่ขึ้น สื่อตะวันตกระบุว่า การขายทรายให้สิงคโปร์ทำเงินให้พ่อค้านักการเมืองของกัมพูชาปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 250 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 7,500 ล้านบาท) เป็นโครงการที่ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการขุดกันจนเกิดปัญหาทางนิเวศอย่างหนัก
ในปี 2545 นายลี ยง พัด ทุ่มเงินกว่า 2,000 ล้านบาท สร้างถนนสายจามเยี่ยม-หัวเขาเป็นถนนคอนกรีต 4 เลน และสะพานข้ามแม่น้ำครางครืนเชื่อมเกาะกงกับจังหวัดตราด ได้สัมปทานเก็บเงินค่าผ่านสะพาน เมื่อสร้างเสร็จแล้วสร้าง เกาะกง ซาฟารีเวิลด์ นำสัตว์จากต่างประเทศเข้ามาให้นักท่องเที่ยวได้ชม ทั้งลิงอุรังอุตัง ปลาโลมาแบบเดียวกับซาฟารีเวิลด์ของไทย และโดนกลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่าสงวนต่างประเทศ ประท้วงหลายครั้งในเรื่องการค้าสัตว์ป่าสงวน
ต่อมานายลี ยัง พัด ยังได้พัฒนารีสอร์ตที่เกาะกง ให้มีระดับสูงขึ้นโดยลงทุน 600 ล้านบาท สร้างโรงแรมหรูระดับห้าดาวเพื่อให้เกาะกงเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของกัมพูชา
ธุรกิจต่อจากรีสอร์ต คือน้ำตาล โดยนาย ลี ยง พัด ร่วมลงทุนกับกลุ่มน้ำตาลขอนแก่น ของตระกูลชินธรรมมิตร์ 1 ใน 5 กลุ่มธุรกิจน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดของไทยสร้างโรงงานน้ำตาลขึ้น โดยนายลี ยง พัด ได้สัมปทานพื้นที่กว่า 4,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 2,500 ไร่) ที่เกาะกงเพื่อทำไร่อ้อย และสัมปทานไร่อ้อยนี้เองที่เจ้าพ่อเกาะกง โดนสื่อตะวันตกตามวิพากษ์วิจารณ์ ว่าใช้ทหารและตำรวจไล่ประชาชนออกจากพื้นที่สัมปทานอย่างไม่เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวบ้าน
ในปี 2543 นายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น แต่งตั้งนายลี ยง พัด ให้เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ต่อมาให้บรรดาศักดิ์เป็นออกญา และให้เป็นวุฒิสมาชิกในอีก 6 ปีต่อมา ทำให้เจ้าพ่อเกาะกง ยกระดับขึ้นเป็นนักธุรกิจระดับชาติ สร้างโรงแรมในเมืองหลวงกรุงพนมเปญ และโรงไฟฟ้าแคมโบเดีย อิเล็คทริค พาวเวอร์ ส่งกระแสไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์เข้าพนมเปญทำให้ไฟฟ้าในเมืองหลวงไม่ติด ๆ ดับ ๆ อีกต่อไป
นายลี ยง พัด ยังได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น ให้สร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะกงเนื้อที่ 2,100 ไร่ ห่างจากอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เพียง 2 กิโลเมตร ด้วยเคยคุยว่าทั้งฮุนไดและไนกี้สนใจไปลงทุน
โรงงานน้ำตาลของนายลี ยง พัด และตระกูลชินธรรมมิตร์ เริ่มเดินเครื่องอย่างเป็นทางการในปี 2553 มีกำลังการผลิตน้ำตาลทรายดิบ 70,000 ตันต่อปี ในปีนี้เองที่เจ้าพ่อเกาะกงรุกธุรกิจโรงงานน้ำตาลต่อทันทีโดยจะร่วมกับกลุ่มมิตรผลของตระกูลว่องกุศลกิจในโรงงานใหม่ แต่โครงการได้หยุดไปและมิตรผลถอนตัวไป แต่นายลี ยง พัด ไม่ยอมแพ้เพราะได้สัมปทานที่ป่าจำนวนมหาศาลเพื่อใช้ปลูกอ้อย ใช้ชื่อเมียเป็นเจ้าของมาแล้ว จึงเดินหน้าต่อจนในที่สุดโรงงานน้ำตาลแห่งที่ 2 ที่จังหวัดกำปงสปือ มูลค่า 150 ล้านดอลลาร์ก็เปิดหีบอ้อยได้ในปี 2554
ในปี 2555 นายลี ยง พัด ทำโครงการใหญ่ที่สุดในชีวิตโดยร่วมทุนกับบริษัท ไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งฯ ลงทุน 3,000 ล้านดอลลาร์ สร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,800 เมกะวัตต์ ที่เกาะกงใช้พลังถ่านหิน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ขายให้ไทย และในเวลาเดียวกันก็คั่วโครงการสร้างเมืองใหม่ใกล้ดาวทาวน์ของกรุงพนมเปญ เป็นโครงการที่กลุ่มแอล วาย พี กรุ๊ปจะลงทุนสร้างสาธารณูปโภคทั้งถนน ประปา ไฟฟ้า ระบบน้ำเสีย สวนสัตว์ซาฟารี สนามกอล์ฟ 36 หลุม และโรงแรมห้าดาวสำหรับเมืองใหม่นี้ ในขณะที่รัฐบาลจะสร้างสนามกีฬาที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดของประเทศในที่ดินของโครงการเพื่อเตรียมเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ในปี 2563
ตอนนี้ นายลี ยง พัด เป็นนักธุรกิจระดับชาติแถวหน้าของกัมพูชาไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนหลอมรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปลายปี 2558 คิดว่าลูกหลานไหหลำคนนี้คงไม่หยุดอยู่แค่ในประเทศกัมพูชาอย่างแน่นอน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,816 วันที่ 7 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 25

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : ฮวา แสน กรุ๊ป เวียดนาม

รูปภาพ

‘ฮวา แสน กรุ๊ป’ (Hoa Sen Group) เป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศเวียดนาม เป็นของนายเล ฟวก วู (Le Phuoc Vu) มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของประเทศ ซึ่งจัดอันดับตามราคาตลาดหุ้นในปีที่แล้ว (2555) เป็นผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศและรู้จักกันในฐานะราชาแผ่นหลังคาเหล็ก
นายเล ฟวก วู เกิดวันที่ 28 พฤษภาคม 2506 ที่จังหวัดกว่าง นาม เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นเพราะเรียนไม่สูง ไม่ได้เรียนในมหาวิทยาลัย เริ่มต้นทำธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างโดยในปี 2544 ตั้งบริษัท ฮวา แสน จ้อยท์ สต๊อก จำกัดที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดบิ่ง เซือง (Binh Duong) ซึ่งเป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศ อยู่ห่างไปทางเหนือของกรุงโฮจิมินห์ประมาณ 30 กิโลเมตร ตอนก่อตั้งมีพนักงาน 22 คน เงินทุนจดทะเบียน 30,000 ล้านด่อง นำเข้าสินค้าหลังคาเหล็ก และวัสดุก่อสร้างทั้งไม้และพลาสติกเข้ามาจำหน่ายในประเทศ
นายวู เล่าให้นักข่าวเวียดนามฟังว่า ก่อนที่จะตั้งบริษัท ฮวา แสนฯ เขาเริ่มธุรกิจร้านขายแผ่นเหล็ก ด้วยความยากลำบากเพราะตอนเปิดร้าน มีเงินติดตัวเพียงล้านด่องเศษ ๆ และแหวนทอง 2 วง แต่ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่ร้าน 500,000 ด่องต่อเดือนและต้องวางเงินค้ำประกันค่าเช่าถึง 5ล้านด่อง เกือบจะไม่ได้เปิดร้าน แต่โชคดีที่มีคนรู้จักให้กู้เงิน 50 ล้านด่อง ทำให้สามารถเปิดร้านได้
นายวูระบุว่า หลังจากเปิดร้านได้ไม่นาน ก็มีเงินหมุนเวียนเนื่องจากวัสดุก่อสร้างเป็นสินค้าที่มีความต้องการในประเทศเวียดนามในขณะนั้น ทำให้สามารถใช้คืนเงินกู้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
จุดทะยานของบริษัท ฮวา แสนฯ เริ่มขึ้น ในปี 2547-2548 เมื่อบริษัทได้เงินกู้แบบให้ความช่วยเหลือจากกองทุนของยูเอ็น (ODA capital) เพื่อใช้ในการลงทุนสร้างโรงเหล็กรีดเย็นแห่งแรกของบริษัท ในช่วงนั้น นายวู ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในเวียดนามว่า เขาต้องศึกษาทุกอย่างด้วยตัวเองเพราะไม่มีความรู้มาก่อน จบแค่มัธยม ใช้วิธีจ้างอาจารย์มาจากประเทศอังกฤษและออสเตรเลียมาช่วย และเดินทางไปดูโรงงานในต่างประเทศหลายแห่งด้วยตัวเอง
หนังสือพิมพ์ในเวียดนาม ระบุว่านาย วู เป็นนักธุรกิจที่มีความสามารถและแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ทำให้โรงเหล็กรีดเย็นแห่งแรกที่สร้างขึ้นมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าโรงงานอื่น ทั้งที่ตัวเขาเองไม่ได้จบการศึกษาสูง ๆ

รูปภาพ

โรงงานเหล็กรีดเย็นแห่งแรกเสร็จไม่ถึงปี ฮวา แสน ก็ขึ้นสายการผลิตเหล็กรีดเย็นเพิ่มต่อเนื่อง ทำกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 180,000 ตันในอีก 2 ปีต่อมา และยังได้ลงทุนสร้างโรงงานผลิตแผ่นเหล็กชุบเคลือบสังกะสี ได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากประเทศอินเดียมีกำลังการผลิต 45,000 ตันต่อปี
ขณะที่ ฮวา แสน ขยายโรงงานผลิตเหล็กได้เพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าของตัวเองไปด้วย โดยเปิดเครือข่ายร้านขายวัสดุก่อสร้าง เป็นโมเดลที่ต่างจากนักอุตสาหกรรมเหล็กส่วนใหญ่ที่มักจะเน้นเฉพาะการผลิต และไม่สนใจค้าปลีก
นาย วู เคยให้สัมภาษณ์ว่าการสร้างเครือข่ายร้านขายปลีกของตัวเอง เป็นโมเดลที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จในธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างอย่างมากและพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับโมเดลนี้ให้แก่นักธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน
ในปี 2550 ฮวา แสน สร้างข่าวฮือฮาไปทั่วประเทศ ในฐานะเจ้าบุญทุ่มในวงการฟุตบอล โดยการเสนอตัวเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมฟุตบอลแห่งชาติของเวียดนาม ในวงเงิน 200,000 ดอลลาร์ สูงเป็น 2 เท่าของเงินสปอนเซอร์ในปีก่อนหน้า
หลังจากเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศในฐานะผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของทีมฟุตบอลแห่งชาติแล้ว ฮวา แสน ก็นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นโฮจิมินห์ มีมูลค่าตลาดในขณะนั้น 1,834,000 ล้านด่อง
ขณะที่บริษัท ฮวา แสนฯ เข้าตลาดหุ้น ธุรกิจพัฒนาที่ดินกำลังเป็นธุรกิจยอดฮิตในประเทศเวียดนาม บรรดาเศรษฐีนักธุรกิจระดับต้น ๆ ของประเทศ แทบทุกคนเฮโลเข้าสู่ธุรกิจนี้กันหมด ไม่เว้นแม้นายเล ฟวก วู นักธุรกิจผู้ชาญฉลาดที่สุดคนหนึ่งในขณะนั้น
ฮวา แสน เริ่มโครงการอพาร์ตเมนต์ที่โฮจิมินห์ซิตี ชื่อโครงการ เฝอดอง-ฮวา แสน เป็นโครงการแรกในปี 2552 และเตรียมเดินหน้าต่อทันทีอีก 2 โครงการ โดยนายวู ประกาศว่าจะบุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และจะเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ มีแผนจะเพิ่มโครงการพัฒนาที่ดินทั่วประเทศโดยนาย วู ได้เคยแถลงต่อผู้ถือหุ้นของเขาว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตัวสร้างกำไรให้แก่บริษัทในยุคต่อไป
สิ้นคำประกาศของนายวู บริษัท ฮวา แสนฯ ก็เริ่มกว้านซื้อที่ดิน โดยที่ดินผืนงามผืนหนึ่งอยู่ในเมืองโฮจิมินห์ซิตี เพี่อสร้างสำนักงานใหญ่ ให้เป็นสัญลักษณ์ถึงความใหญ่โตของบริษัท แต่การรุกเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เดินหน้าได้ไม่ถึง 2 ปี นายวู ตัดสินใจเปลี่ยนยุทธศาสตร์กะทันหัน ถอนตัวออกจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยเดินหน้าไปเพียงโครงการเดียวคือโครงการสร้างอพาร์ตเมนต์ ส่วนที่เหลือได้ขายออกไป
การพลิกตัวอย่างกะทันหันของนายวู นั้นเกิดจากเค้าลางความตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดในช่วงนั้น ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนามตกต่ำอย่างหนักในเวลาต่อมา เนื่องจากมีโครงการอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นอย่างมากมาย ในขณะที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ขึ้นที่สหรัฐอเมริกาและกำลังซื้อของคนเวียดนามมีน้อยกว่าโครงการบ้านและคอนโดฯที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด
นายวู หันกลับมาเน้นธุรกิจหลักคือโรงงานเหล็กและเครือข่ายร้านขายวัสดุก่อสร้างโดยทำสิ่งที่คนอื่นคาดไม่ถึงคือการสร้างโรงงานเหล็กผลิตเหล็กเคลือบสังกะสีอย่างหนาและเคลือบสีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ในขณะนั้น โครงการโรงเหล็ก ฮวา แสน ฟู มาย เริ่มสร้างในปี 2552 และใช้เวลาสร้างเพียง 1 ปี สินค้าจากสายการผลิตสายแรกก็เริ่มออกตลาด โดยนายวู ให้สัมภาษณ์ว่า ตอนนั้นเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ เป็นช่วงที่คนอื่นถอย แต่เขาเลือกที่จะรุกด้วยการลงทุนครั้งใหญ่ โดยร่วมกับพันธมิตร 7 ราย เพราะการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจขาลงจะได้ต้นทุนต่ำที่สุด

รูปภาพ
ปัจจุบันบริษัท ฮวา แสนฯ ครองตลาดแผ่นเหล็กลอนและท่อเหล็กเป็นอันดับ 1 ของประเทศ มีสาขาร้านขายวัสดุก่อสร้างเหนือจดใต้ 106 สาขา และเป็นผู้ส่งออกแผ่นเหล็กลอนเคลือบใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มยักษ์ธุรกิจแห่งเออีซี ที่น่าจับตาที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,818 วันที่ 14 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
hsg.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ไม่ได้ update นานเลย วันนี้ว่าง update หน่อย

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : 'พับบลิคแบงก์เบอร์ฮาด'

รูปภาพ

“พับบลิคแบงก์เบอร์ฮาด” เป็นธนาคารใหญ่อันดับ3 ในมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นโดยนายเต ฮง เปียว “แบงเกอร์” ที่ได้รับการยกย่องในความเป็นมืออาชีพ มากที่สุดในประเทศมาเลเซีย
การจัดอันดับจากฟอร์บส์ล่าสุด ปรากฏว่า นายเต ฮง เปียว (Teh Hong Piow) ได้เป็นมหาเศรษฐีรวยที่สุดอันดับ 9 ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) มีสินทรัพย์สุทธิล่าสุด 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 168,000 ล้านบาท) โดยในปัจจุบันพับบลิคแบงก์เบอร์ฮาด เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 3 ในประเทศมาเลเซีย มีสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของอาเซียนให้บริการครอบคลุมทั้งการเงิน หลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน ประกันและแบงก์อิสลาม สื่อในมาเลเซียระบุว่าเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มบริษัทเอกชนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของมาเลเซีย

รูปภาพ

พับบลิคแบงก์เบอร์ฮาด นับเป็นธนาคารที่มีสาขาอยู่ในโซนเออีซีมากเป็นอันดับต้น ๆ ธนาคารหนึ่งโดยมี 7 สาขาในกัมพูชา 4 สาขาในเวียดนาม และ 1 สาขาในลาว อีกทั้งยังมีสาขาในฮ่องกง ศรีลังกาและสำนักงานตัวแทนในจีนนอกจากนี้นายเต ฮง เปียว ยังเป็นเจ้าของบริษัทแอลพีไอแคปิตอล (LPI Capital) ซึ่งในแวดวงเซียนหุ้นมาเลเซีย ระบุว่าเป็นบริษัท เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ (Berkshire Hathaway)ฯ แห่งมาเลเซีย และบริษัท ลองแพค ประกันภัยฯ (Lonpac Insurance) ซึ่งมี 17 สาขาในมาเลเซีย และหนึ่งสาขาในสิงคโปร์และยังมีบริษัทประกันร่วมทุนในกัมพูชา คือบริษัท แคมพูแบงก์ ลอนแพค อินชัวรันซ์ฯ ตั้งขึ้นปี 2550 โดยกลุ่มแอลพีไอ ถือหุ้น 45%นายเต ฮง เปียว เกิดในปี 2473 ประเทศสิงคโปร์เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวชาวจีนโพ้นทะเลที่ยากจน บิดาเป็นชาวกวางตุ้งที่อพยพมาอยู่สิงคโปร์ตั้งแต่อายุ 15 ขวบทำงานเป็นพ่อครัวเพื่อแลกที่ซุกหัวนอน เวลาที่เหลือเป็นพ่อค้าหาบเร่ขายทุกอย่างทั้งผลไม้ ผัก แว่นตา นาฬิกา เพื่อเลี้ยงครอบครัว
ตอนที่แม่เสียชีวิตขณะที่นายเต ฮง เปียวมีอายุ 6 ขวบ เขาต้องเป็นคนดูแลน้องชาย 5 คน น้องผู้หญิง 3 คน และยังต้องช่วยพ่อค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้รู้จักธุรกิจของคนจน ๆ ตั้งแต่ยังเล็กหลังจากที่เรียนจบมัธยมโรงเรียนแองโกล-ไชนีส ที่สิงคโปร์แล้ว นายเต ฮง เปียว ต้องพับแผนการชีวิตที่ต้องการเป็นนักกฎหมายและเข้าทำงานเป็นพนักงานธุรการในธนาคาร โอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้ง คอร์เปอเรชั่น (โอซีบีซี) ตอนอายุ ครบ 20 ปีเนื่องจากครอบครัวยากจนเงินเดือนพนักงานธุรการที่โอซีบีซี น้อยมาก แต่ นายเต ฮง เปียว ไม่สนใจเพราะฝันใหม่ของลูกพ่อครัวคนนี้คือ การเป็นนายธนาคาร และด้วยฝันอันนี้ทำให้ นายเต ฮง เปียว ขยันขันแข็ง ทำงานไปด้วยเรียนวิชาการเงินทางไปรษณีย์ไปด้วยทำให้ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานธนาคารตอนอายุ 25 ปี
หลังจากได้รับบรรจุเป็นพนักงานธนาคารโอซีบีซีได้ ห้าปี ก็ได้รับการทาบทามจากหัวหน้างานซึ่งเป็นคนจีนมาเลเซีย ให้ข้ามฝั่งจากสิงคโปร์ มากรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็น 1ในทีม 10 คนเพื่อก่อตั้งธนาคารของคนท้องถิ่นในมาเลเซียที่มีชื่อว่าธนาคาร มาลายัน แบงกิ้ง เบอร์ฮาด ปัจจุบันคือเมย์แบงก์นายเต ฮง เปียว น่าจะเป็นผู้จัดการแบงก์หนุ่มที่สุดในมาเลเซียในปี 2507 เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทั่วไปของเมย์แบงก์ แต่นั่งตำแหน่งได้แค่ 2 ปีก็ตัดสินใจเปิดกิจการธนาคารของตัวเองคือ พับบลิคแบงก์ ซึ่งตอนเปิดตัวเป็นอาคารสูง 3ชั้นในกัวลาลัมเปอร์เล่ากันว่าในขณะนั้นผู้ว่าการธนาคารชาติของมาเลเซีย ต้องการให้นายเต ฮง เปียว เป็นผู้บริหารสูงสุดของเมย์แบงก์ในสมัยนั้น แทนที่ลูกพี่ที่ดึงนายเต ฮง เปียว มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่ นายเต ฮง เปียว มีแผนการของตนเอง จึงอาศัยคอนเนกชันที่สร้างขึ้นตอนมาร่วมสร้างเมย์แบงก์ ล็อบบี้สมาคมจีนมาเลย์ (พรรคเอ็มซีเอ) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับ2 ในพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อขอใบอนุญาตธนาคารซึ่งบังเอิญตอนนั้นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นคนจีนมาเลย์ จึงได้ใบอนุญาตไป 1 ใบนายเต ฮง เปียว ปรารถนาจะเปิดธนาคารในมาเลเซียเนื่องจากมองเห็นความต้องการบริการธนาคารของคนมาเลย์ เพราะว่าธนาคารขณะนั้นส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติที่มักปล่อยกู้บริษัทใหญ่ ๆ และไม่ให้ความสนใจปล่อยกู้คนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็ก
ตอนแรกนายเต ฮง เปียว มีปัญหาเรื่องเงินทุนเพื่อเปิดธนาคารพับบลิคแบงก์ แต่เผอิญทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และได้กำไรมา 10 ล้านริงกิตจึงทุ่มเงินทั้งหมดในธุรกิจแบงก์และเปิดธนาคารของตัวเองขึ้นในปี 2509 เริ่มแรกเน้นปล่อยกู้ธุรกิจของคนท้องถิ่นและธุรกิจขนาดเล็กประเภทเอสเอ็มอีหลังจากที่ตั้งแบงก์แล้วนายเต ฮง เปียว ไม่กลับไปทำธุรกิจพัฒนาที่ดินอีกเลยโดยเคยให้สัมภาษณ์สื่อในมาเลเซียว่า “ผมรู้สึกว่า เป็นเรื่องไม่ฉลาดที่ทำธุรกิจหลายด้านในเวลาเดียวกันเพียงเพื่อขยายกิจการ ผมคิดว่านักธุรกิจควรจะทุ่มเทให้กับธุรกิจที่คิดว่ารู้ดีที่สุดเพียงธุรกิจเดียวจะดีกว่า”
ปรากฏว่าพับบลิคแบงก์ เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่เริ่มต้นและขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เข้าตลาดหุ้นกัวลาลัมเปอร์ในปี 2510 ธนาคารแห่งนี้ทำท่าจะเจอปัญหาหนักครั้งแรกในปี 2518 เมื่อเกิดเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศ แต่ธนาคารกลับมีกำไรเพิ่มและขยายตัวต่อมาอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของนายเต ฮง เปียว ได้เป็นอย่างดี
พับบลิคแบงก์เปิดธุรกิจการเงินจนครบจึงเริ่มรุกออกนอกประเทศโดยเปิดบริษัทไฟแนนซ์ในฮ่องกงปี 2533 สาขาแบงก์ในเวียดนามปี 2535 กัมพูชา ศรีลังกา และลาวในปี 2538 และแบงก์ในฮ่องกง ปี 2549 โดยตัวนายเต ฮง เปียว เองได้ขยายธุรกิจในมือเพิ่มบริษัทลงทุน และ ประกัน หุ้นของกิจการที่ นายเต ฮง เปียว เป็นเจ้าของและบริหารกลายเป็นหุ้นที่เซียนหุ้นมาเลเซียและทั่วโลกอยากได้เพราะมีแต่ความเจริญเติบโต ทำให้นายแบงก์คนนี้ กลายเป็นนักการเงินและนักการธนาคารที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของโลก
ปัจจุบันนายเต ฮง เปียว อายุ 83 ปีแล้ว มีลูกชายหนึ่งคนและลูกสาว 3 คน แต่ยังบริหารงานกิจการในเครืออย่างใกล้ชิด เชื่อว่านายธนาคารผู้นี้น่าจะเป็นตำนาน “แบงเกอร์” ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของเออีซี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ AEC world ปีที่33 (1) ฉบับที่ 2,827 (3) วันที่ 17 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
PBK.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 37

Re: ยักษ์ธุรกิจ AEC

โพสต์ที่ 27

โพสต์

รูปภาพ

ยักษ์ธุรกิจ AEC : เอสร่า โฮลดิ้งส์

รูปภาพ

เจ้าของและผู้บริหารของบริษัทเอสร่า โฮลดิ้งฯ (Ezra Holdings) เป็นสองพ่อลูกที่ปั้นบริษัทเจ้าของอู่ต่อเรือเล็ก ๆ ทำธุรกิจให้บริการการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งประเทศสิงคโปร์ให้เป็นบริษัทระดับโลกได้สำเร็จ และขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่อาเซียน โดยล่าสุดได้รุกเข้าซื้อหุ้นบริษัท ไรมอนแลนด์ฯ ในประเทศไทยโดยใช้บริษัทในเครือคือ เจเอส ออยล์ เข้าซื้อกิจการ
หลังจากที่ซื้อบริษัท ไรมอนด์แลนด์ฯ แล้ว เอสร่า โฮลดิ้งส์ ได้เชิญให้นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังขึ้นเป็นประธานบริษัท
ผู้ก่อตั้งบริษัทเอสร่า โฮลดิ้งส์ฯ คือนายลี เคียน ซู ซึ่งทำงานในวงการเดินเรือและอู่ต่อเรือมานานกว่า 30 ปี เริ่มทำงานเป็นเด็กฝึกงานในปี 2508 ทำงานอย่างขยันขันแข็งจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ท่าเรือในอีกสี่ปีต่อมาและมีโอกาสได้ทำงานในบริษัท จูร่ง ชิปยาร์ดฯในปี 2513 จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายท่าเรือ

รูปภาพ

จุดพลิกผันที่สำคัญของลี เคียน ซูเกิดขึ้นในปี 2519 เมื่อได้เข้าทำงานในบริษัท ออฟชอร์ ซัพพลาย แอสโซซิเอชั่นฯ ของประเทศอังกฤษ เป็นผู้จัดการฝ่ายตลาดในธุรกิจบริการจัดหาเรือสนับสนุนงานนอกชายฝั่งรับผิดชอบภาคพื้นเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออกไกล จนกระทั่งปี 2531 ได้ไปทำงานเป็นผู้อำนวยการบริษัทตัวแทนเรือและสะสมประสบการณ์จนแก่กล้า แล้วจึงร่วมกับภรรยา ตั้งบริษัทเอสร่า โฮลดิ้งส์ฯ ขึ้นในปี 2535

รูปภาพ

หลังจากที่ก่อตั้งบริษัทเอสร่า โฮลดิ้งส์ฯ ขึ้นแล้วนายลี เคียน ซูและลูกชายคือ นายไลโอเนล ลี ก็ช่วยกันขยายธุรกิจของบริษัทออกไปอย่างรวดเร็ว โดยนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นสิงคโปร์ในปี 2546 และอีกสองปีต่อมาเข้าซื้อบริษัทในเวียดนามที่ทำธุรกิจผลิตและติดตั้งแท่นโครงสร้างสำหรับการขุดเจาะบ่อน้ำมันนอกชายฝั่งและขยายสำนักงานครอบคลุมหลายประเทศในแถบเอเชียเน้นธุรกิจการให้บริการทางทะเลสำหรับการสำรวจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง
ในปี 2550 นายลีผู้พ่อ เริ่มเข้าสู่ทำเนียบหนึ่งใน 40 มหาเศรษฐีชาวสิงคโปร์จัดโดยนิตยสารฟอร์บส์ อยู่อันดับที่ 18 มีสินทรัพย์สุทธิ 450 ล้านดอลลาร์ (13,500 ล้านบาท)
ในปีต่อมา สองพ่อลูกตระกูลลี ขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงแรมโดยลงทุนสร้างตึกสูง 30 ชั้นชื่อ ‘ทาวเวอร์ 15’ ใจกลางย่านธุรกิจสิงคโปร์ และทำโรงแรมแบรนด์ แคลปสัน เปิดให้บริการปี 2552 เป็นโรงแรมที่มีสกาย เทอร์เรส บาร์ ฟาบริก้า เป็นจุดเด่น
หลังจากเปิดโรงแรมแคลปสัน ได้ 1 ปี นายไลโอเนล ลี เช เต็ก ลูกชายของลี เคียน ซู ขณะที่มีอายุ 37 ปีย้ายไปปักหลักอยู่ที่เมืองฮุสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อบริหารการควบรวมธุรกิจกับบริษัท Aker Marine Contractor (เอเอ็มซี) ของนอร์เวย์
ขณะนั้นนายไลโอเนล ลี ที่ตามพ่อออกทะเลทำงานติดดินตั้งแต่เล็ก และเข้าทำงานธุรกิจครอบครัวเต็มตัวหลังจากจบจากมหาวิทยาลัยที่เมืองซิดนีย์ ออสเตรเลียเมเจอร์ธุรกิจระหว่างประเทศ ได้รับความไว้วางใจจากพ่อ ให้ดูแลเครือข่ายกิจการระหว่างประเทศ ต้องเดินทางไปมาระหว่างสามทวีปทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เพื่อบริหารกิจการที่เริ่มจากเล็ก ๆ จนขึ้นขั้นเป็นธุรกิจระดับโลกแล้ว
นายลี คนลูก ให้สัมภาษณ์สื่อในสิงคโปร์ ว่าขณะที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 นั้น เอสร่า ตัดสินใจสวนทางเศรษฐกิจโลกโดยการตั้งเป้าเป็นบริษัทโลก ด้วยการนำบริษัทในเครือคือ EOC Limited เข้าตลาดหุ้นที่เมืองออสโล ของนอร์เวย์และใช้ยุทธศาสตร์การขยายตัวโดยการซื้อบริษัทระดับโลก
เป้าหมายของนายไลโอเนล ลี ขณะนั้น คือการเข้าซื้อ Aker Marine Contractor (เอเอ็มซี) ในวงเงิน 250 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 7,500 ล้านบาท) โดยการซื้อครั้งนั้นนายไลโอเนล ลี ระบุว่า เป็นการทำให้บริษัทโตเร็วขึ้นถึง 20 ปีเพราะซื้อบริษัทที่มีอายุแก่กว่าเอสร่า 20 ปี
เอเอ็มซี เป็นบริษัทเก่าแก่กว่า 40 ปีเชี่ยวชาญงานก่อสร้างบนพื้นทะเล มีฐานการผลิตและวิจัยอยู่ที่เมืองฮุสตัน นับเป็นจิ๊กซอว์ ตัวสำคัญที่ทำให้ เอสร่า สามารถขยายงานให้บริการการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่งที่ครบวงจรมากขึ้น
หลังจากที่เอสร่าซื้อบริษัท เอเอ็มซีฯ แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น EMAS และใช้ชื่อนี้เป็นแบรนด์ระดับโลกขณะที่ในสิงคโปร์ยังใช้แบรนด์ เอสร่า อยู่เหมือนเดิม
การขยายตัวตามยุทธศาสตร์ของไลโอเนล ลี ทำให้กลุ่ม เอสร่า โฮลดิ้งส์ ผงาดขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลก มีสำนักงานอยู่ใน 16 ประเทศคลุมตลาดห้าทวีป มีพนักงานทั่วโลก 5,000 คน ให้บริการที่ครบวงจร ทั้งผลิต ประกอบโครงสร้าง ขนส่งและติดตั้งแท่นและอุปกรณ์สำหรับงานขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง โดยมีอู่ต่อเรือ 2 แห่งในเวียดนามที่เมืองโฮจิมินห์ซิตี และ วุงเตา และมีฐานการผลิตอุปกรณ์สำหรับตลาดนานาชาติ อยู่ที่เมืองฮินนา ในนอร์เวย์และเมืองฮุสตันสหรัฐอเมริกา
ในปี 2555 นายลี เคียน ซู ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัทขณะที่มีอายุ 67 ปี หลังจากที่บริหารงานเอสร่า มา 20 ปีจนบริษัทมีรายได้เกินพันล้านดอลลาร์ (30,000 ล้านบาท) มีมูลค่าในตลาดหุ้น เกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 60,000 ล้านบาท) ให้อดีตซีอีโอบริษัทเอเชียแปซิฟิกบริวเวอรี่ฯผู้ชำนาญการสร้างแบรนด์ระดับโลก มาเป็นประธานแทน ส่วนการบริหารวันต่อวัน ปล่อยให้ ไลโอเนล ลี ซึ่งแสดงฝีมือการบริหารงานมาจนเข้าตาพ่อแล้ว ให้คุมหางเสือเรือธุรกิจของครอบครัวต่อไปโดยดีลแรก ๆ ที่ไลโอเนล ทำหลังจากพ่อวางมือคือการซื้อไรมอนแลนด์
พลันที่ ไลโอเนล ลี ซื้อหุ้นใหญ่บริษัทไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) ในประเทศไทยแล้วก็ประกาศว่าจะทำให้เป็นแบรนด์ อสังหาริมทรัพย์ข้ามชาติในอนาคต ก็คงต้องจับตาดูว่าหนุ่มไลโอเนล และประธานบริษัทที่ชำนาญการสร้างแบรนด์ระดับโลกจะช่วยกันดัน ไรมอนแลนด์ ไปได้ถึงขนาดไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของเรา

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ AEC world ปีที่33 (1) ฉบับที่ 2,833 (6) วันที่ 7 - 10 เมษายน พ.ศ. 2556
EZRA.jpg
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
โพสต์โพสต์