หุ้นจีน

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น วีไอ กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นจีน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมขอแชร์ข้อมูลหุ้นจีนที่ผมมีข้อมูลนะครับ รวมถึงภาพรวมต่างๆเกี่ยวกับหุ้นจีน
รวบรวมไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างกับใครที่สนใจนะครับ
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นจีน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการเข้าสู่ตลาดจีนของภาคบริการไทย"
แม้จีนจะผ่อนผันกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจค้าปลีกตามเงื่อนไขการเปิดเสรีเพิ่มขึ้น หลังจากเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกได้ 5 ปีแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลจีนยังคงสร้างกฎหมายใหม่ๆ ในระดับต่างๆ ขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนของต่างชาติอยู่ไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม การที่จีนได้เซ็นข้อตกลงการเปิดการค้าเสรีกับฮ่องกง หรือ CEPA (Mainland and Hong Kong Closer Economic Partnership Arrangement) ตั้งแต่ปี 2546 เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุนสัญชาติฮ่องกง และนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปทำธุรกิจในฮ่องกงเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว (3-5 ปี ขึ้นอยู่กับธุรกิจบริการแต่ละประเภท) ให้ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆด้านการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจใน ภาคบริการ เช่นการผ่อนผันเรื่องสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติให้นักลงทุนจากฮ่องกงสามารถถือหุ้นได้ 100% ในธุรกิจการจัดนิทรรศการ การท่องเที่ยว การแพทย์และทันตกรรม รวมทั้งบริการด้านการจัดจำหน่าย ซึ่งรวมถึงธุรกิจค้าปลีก ทั้งนี้พื้นที่ที่เป็นพื้นที่นำร่องภายใต้ข้อตกลง CEPA คือ มณฑลกวางตุ้ง

การมีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างฮ่องกงกับจีน ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลาย รายสามารถเข้าถึงตลาดจีนได้ง่ายขึ้นกว่าการพยายามเข้าไปลงทุนในจีนโดยตรง บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพีของไทยเอง ก็ใช้วิธีนี้ในการขยายตลาดสินค้าเนื้อหมูของตนเช่นกัน โดยเข้ามาลงทุนในฮ่องกงเพื่อใช้ฮ่องกงเป็นฐานในการขยายตลาดสู่จีนต่อไป ร่วมมือกับห้างชั้นนำของฮ่องกง อย่าง Park n Shop ซึ่งมีสาขากว่า 250 แห่งทั้งในฮ่องกง มาเก๊า และจีน เป็นแหล่ง จัดจำหน่ายเนื้อหมูของซีพีทั้งในฮ่องกงและจีน สำหรับในส่วนสินค้าแช่แข็ง ซีพีจะเน้นการจำหน่ายสินค้าเกี๊ยวกุ้งแช่แข็ง โดยเจาะตลาดพรีเมียมเป็นหลัก เพื่อหนีตลาดล่างซึ่งมีคู่แข่งสูง

นอกจากห้างค้าปลีกแล้ว ซีพียังกระจายสินค้าเนื้อหมูของตนผ่านร้านอาหารต่างๆ ในฮ่องกง ซึ่งการดึงร้านอาหารเป็นแนวร่วมนั้น เป็นผลมาจากการสำรวจตลาดฮ่องกงของบริษัทซีพี ซึ่งพบว่าชาวฮ่องกงรับประทานข้าวนอกบ้านบ่อยถึง 12 มื้อต่อสัปดาห์ ในขณะที่ทำอาหารกินเองที่บ้านเพียงประมาณ 6 มื้อต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยชาวฮ่องกงบริโภคเนื้อหมูประมาณ 60 กิโลกรัมต่อปี ดังนั้น การเจาะตลาดเนื้อหมูในฮ่องกง โดยดึงร้านอาหารต่างๆ เป็นพันธมิตร จึงเป็นกลวิธีที่แยบยลของซีพี ในการเข้าครองส่วนแบ่งตลาดในจีน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของซีพีในฮ่องกงกล่าวย้ำถึงความสำคัญในการที่ผู้ประกอบการไทยควรใช้ประโยชน์จากข้อตกลง CEPA โดยใช้ฮ่องกงเป็นฐานการลงทุน ก่อนเข้าเจาะตลาดในจีน อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่ง ในการเข้าไปลงทุนในฮ่องกงคือ ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทั้งค่าครองชีพ ค่าเช่าพื้นที่สำหรับสถานประกอบการ ค่าโฆษณา ค่าจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทย ควรศึกษาเชิงลึก และวางแผนการเงินและการลงทุนของตนอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ กลยุทธ์การเข้าถึงตลาดจีนของห้างค้าปลีกต่างชาติ

แม้ว่า CEPA จะเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างมาก แต่ห้างต่างชาติหลายแห่งได้รุกเข้าตลาดจีน ก่อนการเปิดเสรีระหว่างจีนกับฮ่องกงมานานแล้ว โดยหนึ่งในนั้นคือห้างคาร์ฟูร์จากฝรั่งเศส

Carrefour

คาร์ฟูร์เป็นห้างค้าปลีกจากฝั่งตะวันตกที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการครอบครองส่วนแบ่งตลาดในจีน โดยมียอดขายสูงเป็นอันดับ 6 ในประเทศจีน คิดเป็นมูลค่าถึง 29,600 ล้านหยวนเมื่อปี 2550 และมีสาขาในจีนทั้งสิ้น 112 สาขาทั่วประเทศ นอกจากแบรนด์ของตนเองแล้ว คาร์ฟูร์ยังบริหารธุรกิจค้าปลีกอีก 2 แบรนด์ ในจีนคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต 'Champion Supermarket' และร้านสะดวกซื้อ 'Dia Convenience Store'

ด้วยยุทธศาสตร์ที่เน้นการติดต่อประสานงานโดยตรงกับรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละมณฑลของจีน เพื่อขออนุญาตทำธุรกิจในมณฑลต่างๆ แทนการติดต่อผ่านรัฐบาลกลางที่ปักกิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงขั้นตอนจากหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่ยุ่งยาก และซับซ้อน ทำให้คาร์ฟูร์สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในประเทศจีน หลังจากเข้า ลงทุนในจีนในปี พ.ศ.2538 ด้วยการร่วมทุน กับนักลงทุนท้องถิ่น ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลจีนเริ่มเปิดเสรีบริการค้าปลีกในบางส่วน กอปรกับเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้บริโภค ชาวจีนเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตน จากเดิมที่เคยไปจ่ายตลาดที่ตลาด สด มาเป็นการซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตซึ่งมีความสะดวกสบายมากกว่า

อีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญของบริษัท คือการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่น โดยคาร์ฟูร์ไม่ได้มองว่าตลาดของจีนเป็นหนึ่งตลาด แต่กลับมองว่าจีนเป็นตลาดเล็กย่อยนับสิบตลาด ที่มีความต้องการทางด้านสินค้าแตกต่างกันไป ตามภูมิประเทศของท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้นบริการของคาร์ฟูร์ในแต่ละสาขาจึงเป็นบริการที่ถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในท้องถิ่นนั้นๆโดยตรง เช่น ในเมืองทางฝั่งตะวันออกติดชายฝั่งอย่างเซี่ยงไฮ้ กวางโจว ซึ่งเป็นตลาดที่มีการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมการบริโภคอย่างก้าวไกลแล้ว 50% ของสินค้าโทรทัศน์ที่ห้างคาร์ฟูร์จำหน่ายในเมืองเหล่านี้จะเป็นโทรทัศน์สีจอแบน แต่สำหรับในเมืองซึ่งตั้งอยู่ในตอนกลางและทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ที่ประชาชนยังมีรายได้ไม่สูงนัก ทางห้างจะเน้นจำหน่าย โทรทัศน์ที่มีเทคโนโลยีไม่ล้ำหน้าสักเท่าใดนัก ยอดขายโทรทัศน์จอแบนในตลาดดังกล่าวจึงคิดเป็นเพียง 20% ของยอดขายโทรทัศน์ทั้งหมดในพื้นที่นี้เท่านั้น

นอกจากนี้ คาร์ฟูร์ยังเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนที่แตกต่างจากผู้บริโภคในประเทศอื่น เช่น การจำหน่ายปลาสดในตลาดสหรัฐอเมริกา ปลาจะถูกแล่เป็นชิ้นและแพ็กใส่กล่องโฟมวางเรียงรายบนตู้แช่เย็น ในขณะ ที่ในฝรั่งเศส ซูเปอร์มาร์เก็ตจะจำหน่าย ปลาทั้งตัวในลักษณะแช่แข็งและในไทยจะมีการให้บริการทอดและย่างและปรุงแต่งปลาสดด้วยกรรมวิธีอื่นๆ แต่ในประเทศจีน ซึ่งผู้บริโภคนิยมเลือกซื้ออาหารสดใหม่จริงๆ และมักนิยมซื้อปลาเป็นๆ เพื่อนำไปปรุงอาหารเองที่บ้าน ดังนั้น คาร์ฟูร์จึงเลือกที่จะจำหน่ายปลาเป็นๆ ที่เลี้ยงไว้ในตู้ปลา เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ตามต้องการ เป็นการจำลองตลาดสดมาไว้ในซูเปอร์มาร์เก็ตของตน ทั้งนี้ ยุทธวิธีดังกล่าวได้รับการนำไปปรับใช้กับห้างค้าปลีกทุกห้างในจีน เช่นมีการนำต้นอ้อยเข้ามาจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อ โดยให้บริการควั่นอ้อยภายในบริเวณของห้าง หรือการแขวนส่วนต่างๆ ของเนื้อหมูบนตะขอและให้บริการชำแหละเนื้อหมูแก่ลูกค้า ดังที่พบเห็นได้ทั่วไปตามตลาดสด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายงานจากบริษัทที่ปรึกษา McKinsey1 กล่าวว่า เทคนิคการจำหน่ายปลาสดของคาร์ฟูร์ (และของห้างอื่นๆ) นั้น สามารถใช้ได้ผลเฉพาะในเมืองทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศที่อยู่ใกล้กับทะเลเท่านั้น แต่สำหรับตลาดทางตอนกลางและทางฝั่งตะวันตกของประเทศที่อยู่ห่างไกลทะเล ผู้บริโภคจะนิยม เลือกซื้อปลาแช่แข็ง เพราะให้ความรู้สึกที่สะอาด ปลอดภัยกว่าการเลือกซื้อปลาเป็นๆ เนื่องด้วยระยะทางที่ห่างไกลจากชายฝั่งถึงเมืองแต่ละเมืองนั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่คาร์ฟูร์ให้ความสนใจคือกลยุทธ์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นที่ยังครองตลาดค้าปลีกของจีนอยู่ใช้ในการดึงลูกค้า เช่นในขณะที่คาร์ฟูร์เป็นห้างแรกที่นำขนมฝรั่ง ไม่ว่าจะเป็นครัวซองต์ ขนมปังบาแกตต์ และชีสเค้กมาจำหน่ายในห้าง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่ของจีนนำไปปรับใช้ แต่คาร์ฟูร์กลับพบว่ายอดขายขนมในซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติจีนนั้นสูงกว่าของตน เป็นเพราะคาร์ฟูร์ไม่ได้นำขนมของจีนซึ่งชาวจีนนิยมรับประทาน เช่น เค้กนมสดแบบจีนมาจำหน่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ห้างคู่แข่งท้องถิ่นปฏิบัติ ทางคาร์ฟูร์จึงเริ่มนำขนมของจีนเข้ามาจำหน่ายบ้าง พบว่าขนมแบบจีนสามารถทำยอดขายได้พอๆ กับขนมแบบตะวันตก การเข้าใจถึงความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภคและข้อจำกัดในตลาดแต่ละแห่งของจีน ทำให้คาร์ฟูร์ประสบความสำเร็จกลายเป็นห้างค้าปลีกต่างชาติอันดับต้นๆ ในประเทศจีน

กลยุทธ์อีกประการหนึ่งที่เป็นหัวใจของคาร์ฟูร์คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพันธมิตรท้องถิ่น และการร่วมทุนกับทุนท้องถิ่นในจีน แทนการลงทุนในประเทศ จีนเอง 100% ทั้งนี้เนื่องจากคาร์ฟูร์เห็นว่าชาวจีนย่อมเข้าใจในความซับซ้อนของตลาด จีนมากกว่าต่างชาติเสมอ ทำให้การวางยุทธศาสตร์ของห้างทำได้อย่างคล่องแคล่ว และตรงจุดมากกว่าการลงทุนเองแต่เพียงผู้เดียว เช่นในเซี่ยงไฮ้ คาร์ฟูร์ร่วมทุนกับ Lianhua Supermarket ห้างค้าปลีกอันดับสองของประเทศจีน ดังนั้นแม้จะมีทุนเพียงพอที่จะลงทุนเองได้เต็มที่ และกฎระเบียบของรัฐบาลจีนก็ได้เปิดให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นในธุรกิจค้าปลีกได้ 100% แล้วก็ตาม แต่คาร์ฟูร์เลือกที่จะทำธุรกิจกับพาร์ตเนอร์ชาวจีน อันเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จที่สำคัญอีกดอกหนึ่งของห้าง

Wal-mart

ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกาแห่งนี้ตามคาร์ฟูร์เข้ามารุกตลาดจีนเมื่อปี 2539 โดยเริ่มดำเนินกิจการเป็นแห่งแรกที่มณฑลเซินเจิ้น กวางตุ้ง ปัจจุบัน Wal-Mart มีสาขาอยู่ 104 สาขาใน 55 เมืองทั่วประเทศจีน โดยแบ่งเป็นซูเปอร์ เซ็นเตอร์ 99 สาขา Sam's Club ซึ่งเป็นพื้นที่จำหน่ายสินค้าในลักษณะ Ware-house 3 สาขา รวมทั้งร้านขายของชำภายใต้ชื่อ Neighbourhood Market อีก 2 สาขา ยอดขายของ Wal-Mart ในปี 2550 มีมูลค่า 21,315 ล้านหยวน โดยมีอัตราการเติบโตของยอดขายจากปีก่อนหน้าถึง 42% ทำให้ Wal-Mart ติดอันดับที่ 13 ของการจัดอันดับ China Top 100 Chain Retailers 2550

แม้จะเป็นห้างค้าปลีกอันดับหนึ่งของโลก แต่ในตลาดจีน Wal-Mart กลับเป็นรองห้างคาร์ฟูร์จากฝรั่งเศส เนื่องจากคาร์ฟูร์ได้เริ่มทำธุรกิจในจีนมาก่อนและมีประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภคของชาวจีนที่โชกโชนกว่า จากการเข้าไปลงทุนในไต้หวันและศึกษาตลาดและความต้องการของชาวจีนเป็นเวลาถึง 18 ปีก่อนจะเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศจีน ทำให้คาร์ฟูร์มีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนมากกว่าห้างค้าปลีกต่างชาติอื่นๆ อย่างไรก็ตาม Wal-Mart ได้แก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวของตนด้วยการเข้าซื้อกิจการ Trust-mart ของไต้หวันซึ่งครอง อันดับ 1 ในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตของประเทศจีนและมีสาขากว่า 100 สาขาใน 34 เมือง ด้วยมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ Wal-Mart มีสาขาดำเนินการมากมายภายในชั่วพริบตา2

Tesco

การเริ่มรุกตลาดค้าปลีกในจีนของเทสโก้ ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่จากประเทศอังกฤษนั้น ถือว่าล่าช้ากว่าคู่แข่งอื่น เพราะเทสโก้เริ่มเข้ามาลงทุนในจีนตั้งแต่ปี 2547 เท่านั้น ด้วยการเข้าถือหุ้น 50% ในบริษัท Ting Cao ของบริษัท Ting Hsin โดย Ting Cao เป็นบริษัทที่ดูแลกิจการไฮเปอร์มาร์เก็ตภายใต้แบรนด์ Hymall แม้จะเพิ่งเริ่มทำธุรกิจค้าปลีกในจีน ตั้งแต่ปี 2541 แต่ Ting Cao สามารถขยาย ส่วนแบ่งตลาดของตนได้อย่างรวดเร็ว จนมีสาขากว่า 25 แห่งในประเทศจีนภายในระยะเวลา 6 ปีเท่านั้น (ตัวเลขปี 2547)

หลังจากนั้นเทสโก้ได้เปิดทำการอีก 18 สาขา ภายใต้ชื่อ Hymall ซื้อหุ้นของ Hymall จากบริษัท Ting Hsin เพิ่ม ขึ้นอีก 40% ในปี 25493 ทำให้เทสโก้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Hymall ในปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อห้าง Hymall ทุกแห่งให้เป็น Tesco ถึงแม้ว่าจะคงชื่อภาษาจีนของ Hymall คือ Le Gou เอาไว้ก็ตาม เนื่องจากคำว่า Le Gou มีความหมายที่ดีเพราะ แปลว่า "การจับจ่ายที่มีความสุข (Happy Shopping)" ดังนั้น กลยุทธ์การเจาะตลาดของ Latecomer อย่างเทสโก้คือการซื้อหุ้นในกิจการค้าปลีกของชาวจีน ที่มีฐานการตลาดที่มั่นคงระดับหนึ่งแล้ว ถือเป็นการย่นระยะเวลาในการครองพื้นที่ตลาดใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลามากนัก

หลังจากที่ได้สั่งสมประสบการณ์จากการลงทุนในประเทศจีนด้วยการร่วมหุ้นกับชาวจีนมาระยะหนึ่งแล้ว เทสโก้ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนจากการร่วมหุ้นมาเป็นการถือหุ้นด้วยตนเอง 100% ภายหลังที่รัฐบาลจีนได้ยกเลิกข้อกำหนดที่บังคับให้ทุนต่างชาติต้องร่วมหุ้นกับชาวจีนในธุรกิจค้าปลีก โดยเทสโก้เริ่มจากการรุกตลาดภาคใต้ของจีน ในปี 2551 เทสโก้เปิดสาขาในเมืองกวางโจว ซึ่งเป็นสาขาแรกที่เทสโก้ถือหุ้นเอง 100% ในภาคใต้ ปัจจุบันเทสโก้อยู่ในอันดับที่ 21 ของการจัดอันดับห้างค้าปลีกของจีน 100 อันดับแรกเมื่อปี 2550 โดยมียอดขาย 12,500 ล้านหยวนและมีสาขาเพียง 55 สาขาทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับปี 2549 ยอดขายของเทสโก้มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 34% แสดง ให้เห็นถึงศักยภาพสูงของทางบริษัทในการขยายธุรกิจในประเทศจีน โดยเทสโก้ได้ ตั้งเป้าไว้ว่าจะเปิดสาขาใหม่จำนวน 10 สาขาต่อปี

ข้อได้เปรียบของเทสโก้ในการลงทุน ในต่างประเทศคือ การมีฐานการเงินที่มั่นคง เนื่องจากธุรกิจในประเทศอังกฤษทำกำไรมหาศาลให้แก่เทสโก้ แต่ปัจจุบันกระแสต่อต้านการขยายตัวของห้างเทสโก้ในประเทศอังกฤษเอง เริ่มแผ่ขยายออกไปในวงกว้าง เนื่องจากผู้บริโภคบางกลุ่ม รวม ทั้งร้านค้าเล็กๆ ที่ถูกเทสโก้แย่งตลาดต่างเริ่มออกมารณรงค์ต่อต้านธุรกิจของเทสโก้ ทำให้ทางห้างต้องหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ และจีนก็เป็นตลาดสำคัญที่เทสโก้ ไม่สามารถมองข้ามได้

โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์

การสร้างสายสัมพันธ์อันยาวนานกับชาวจีนและรัฐบาลจีน การฝังตัวธุรกิจของตนในประเทศจีนเป็นระยะเวลาร่วมหลายสิบปี ทำให้ซีพีเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติระดับแนวหน้าที่เข้าใจตลาดจีนและพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนอย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ การเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจในจีน ทำให้ซีพีมีเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจในจีนอย่างกว้างขวาง

โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ของซีพีนั้น เปิดในจีนเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 ภายใต้ การบริหารของบริษัท Chia Tai Enterprise (CTEI) สาขาแรกที่เปิดคือในเซี่ยงไฮ้ เป็นการร่วมทุนกับบริษัท Shanghai Kinghill ซึ่งดูแลด้านการบริหาร กลยุทธ์ประการหนึ่งของซีพีที่คล้ายคลึงกับห้างค้าปลีกต่างชาติ อื่นๆ คือการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นในระยะแรก เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน แต่ผู้เดียว อีกทั้งยังอาจได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษี จากนั้นจึงค่อยๆ เข้าถือครองหุ้น ในบริษัทหุ้นส่วนมากขึ้น เพื่อครองอำนาจการบริหาร นอกจากนี้ โลตัสยังใช้กลยุทธ์ดึงตัวผู้บริหารมืออาชีพมาจากห้างอื่นๆ เช่น Wal-Mart ให้เข้ามาช่วยในการปรับโครงสร้างองค์กร และร่วมบริหารธุรกิจของห้างไปด้วยกัน

เช่นเดียวกับห้างค้าปลีกอื่นๆ ที่ไม่ได้เพียงแต่จำหน่ายสินค้าอาหารในบริเวณซูเปอร์มาร์เก็ตของตนเท่านั้น แต่มีการปล่อยเช่าพื้นที่สำหรับร้านค้าอื่นๆ ให้เข้ามาดำเนินธุรกิจ โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ก็ใช้กลวิธีเดียวกัน โดยเช่าพื้นที่จากอาคารพาณิชย์ต่างๆ และแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับการเปิดธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตของตน และพื้นที่อีกส่วนหนึ่งปล่อยเช่าให้แก่ร้านค้าต่างๆ โดยดำเนินการภายใต้คอนเซ็ปต์ของการสร้างห้างให้เป็นแหล่งชอปปิ้งครบวงจร ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่นิยมจับจ่ายใช้สอยสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่ทันสมัย ไปพร้อมๆ กับการเลือกซื้ออาหารสดใหม่

ในขณะที่กระแสต่อต้านการขยายตัวของห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่กำลังแผ่ขยายออกไป ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ และในประเทศไทยเอง แต่ในจีนนั้นไม่ปรากฏว่ามีกระแสดังกล่าวเกิดขึ้น ผู้บริหารของห้างโลตัสฯ ในกวางโจวกล่าวว่า ปัญหาการต่อต้านห้างค้าปลีกยังไม่เกิด ขึ้นในจีน เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนนิยมสินค้าใหม่ ทันสมัย ซึ่งร้านเล็กๆ ไม่สามารถตอบสนองได้ นอกจากนี้ ภาครัฐของจีนเองยังให้การสนับสนุนห้างค้าปลีกใหญ่ๆ โดยมองว่าสินค้าที่จำหน่ายในห้างนั้นมีคุณภาพ และได้มาตรฐานกว่าสินค้าที่จำหน่ายในร้านโชวห่วย ภาครัฐสามารถทำการตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้ยาก

ในด้านกลยุทธ์การเลือกที่ตั้งของห้าง โดยเฉพาะในเมืองที่หนาแน่นและมีพื้นที่จำกัด อย่างกวางโจวและฮ่องกงนั้น โลตัสฯ ใช้หลักการที่ว่าภายในระยะยะ 1-3 กิโลเมตรจากห้างจะต้องมีจำนวนประชากร ไม่ต่ำกว่า 300,000 คนที่อาศัยอยู่ในละแวก นั้น โดยประเมินว่าลูกค้าจะต้องเข้ามาจับจ่ายสินค้าในห้างไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม การเลือกทำเลที่ตั้งของห้าง จะต้องเลือกพื้นที่ที่มีโอกาสขยายห้างได้อีกในอนาคต เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานจากต่างถิ่นที่เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่เมืองใหญ่ รวมทั้งประชากรที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Super Brand Mall

นอกจากซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว ห้างสรรพสินค้าก็เป็นธุรกิจค้าปลีกอีกสาขาหนึ่งที่ต่างชาติเข้ามามีบทบาทพอสมควรในตลาดจีน

ห้าง Super Brand Mall อีกหนึ่งธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตั้งอยู่ในเขตผู่ตง (Pudong) ทำเลทองของเมืองเซี่ยงไฮ้ เปิดตั้งแต่ปี 2545 แม้ในระยะแรกจะประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่อง อันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2541 จนเกือบจะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างห้างต่อไป แต่ทางห้างก็ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนอย่างมาก จนสามารถดำเนินการก่อสร้างได้สำเร็จ แต่ก็ต้องประสบปัญหาการไม่สามารถปล่อยพื้นที่ให้เช่าได้หมด เนื่องจากในช่วงแรก ที่ดินในบริเวณดังกล่าวยังไม่ได้รับการพัฒนามากเท่าที่ควร กอปรกับ การหยุดชะงักของการดำเนินการก่อสร้างไประยะหนึ่ง ทำให้ลูกค้าบางรายขาดความมั่นใจในห้าง จึงย้ายไปเช่าพื้นที่ของห้างอื่น แต่ปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดของห้างได้ปล่อยเช่าหมดแล้ว บางรายเป็นผู้ประกอบการไทยที่เข้ามาทำธุรกิจร้านอาหารไทย หรือจำหน่ายเครื่องประดับ

สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ค้าปลีกของจีนนั้น ผู้บริหารของ Super Brand Mall กล่าวว่าเนื่องจากตลาดหลักๆ ของจีนเช่นเซี่ยงไฮ้นั้น มีผู้เข้ามาลงทุนมาก มาย จึงเริ่มอิ่มตัวแล้ว หรือเมืองเซินเจิ้น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับฮ่องกง ทำให้ชาวเซินเจิ้น มักเดินทางข้ามฝั่งไปจับจ่ายสินค้าแบรนด์ ดังๆ ในฮ่องกงโดยตรง ดังนั้นการจะตั้งห้างสรรพสินค้าในเซินเจิ้น จึงอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าใดนัก แต่เมืองที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญคือเมืองระดับสองและสาม โดยควรเป็นเมืองที่มีการค้าค่อนข้างคึกคัก แต่ผู้บริโภคระดับบนยังน้อยอยู่ เช่นเมืองซูโจว ซึ่งมีศักยภาพและมีโอกาสในการพัฒนาอีกมาก

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการลงทุนคือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยนักลงทุนควรศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า พื้นที่ที่ต้องการลงทุนนั้น ใครเป็นเจ้าของ ซึ่งหากรัฐเป็นเจ้าของแล้ว การเช่าพื้นที่จากรัฐจะมีความเสี่ยงที่จะถูกเวนคืนที่ดิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วนว่ารัฐมีนโยบายที่จะพัฒนาที่ดินผืนนั้นในอนาคตหรือไม่อย่างไร

เซ็นทรัลกรุ๊ป

ห้างเซ็นทรัลได้วางแผนที่จะเริ่มรุกเข้าตลาดจีนเช่นกัน โดยจะเปิดที่เมืองหางโจวเป็นแห่งแรก ในปี 2010 หลังจากได้ศึกษาตลาดและพบว่าปัจจุบันชาวจีนมีกำลังซื้อมากขึ้น สืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจจีนที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ก่อนเกิดวิกฤติ เศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ชาวจีนมีรสนิยมในการบริโภคที่เปลี่ยนไป คือปัจจุบันนิยมสินค้าทันสมัย คุณภาพดี ทำให้เซ็นทรัลจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดยจะรักษาภาพลักษณ์ที่นำสมัยของห้าง และสรรหาสินค้าคุณภาพสูงและมีความเป็นสากลมาจำหน่ายภายในห้าง

การลงทุนของเซ็นทรัลในครั้งนี้เป็นการลงทุนเองทั้งหมด 100% มูลค่าการลงทุน 500 ล้านบาท โดยจะเป็นการเข้า ไปเช่าพื้นที่ขนาด 23,000 ตร.ม. จากห้าง Mix C เป็นห้างที่มีฐานลูกค้าเป็นผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง โดยโครง การการก่อสร้างห้าง Mix C ในหางโจวมีมูลค่าทั้งหมด 5,000 ล้านเหรียญฮ่องกง หลังจากนั้น เซ็นทรัลได้วางแผนที่จะเปิดสาขาที่สอง ที่เมืองเชินหยาง ในปี 2011 โดยเป็นการเข้าไปเช่าพื้นที่ในห้าง Mix C เช่นกัน บริเวณพื้นที่ทั้งหมด 27,000 ตร.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 7 ชั้น มูลค่าการลงทุน ทั้งหมด 700 ล้านบาท ซึ่งจะมีการนำสินค้า คุณภาพสูงจากไทยไปจำหน่ายด้วย

สรุป
การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกของจีนกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น หลังจากที่รัฐบาลจีนเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีกเพิ่มมากขึ้น โดยยกเลิกข้อกำหนดต่างๆ มากมาย เช่นการจำกัดพื้นที่การลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ เฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ของจีนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดด้านสัดส่วนเพดาน การถือหุ้นโดยต่างชาติยังคงเป็นปัญหาอยู่ หลายแห่งจึงเน้นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง FTA ระหว่างจีนกับฮ่องกง หรือ CEPA แทน โดยการใช้ฮ่องกงเป็นฐานการลงทุนก่อนจะเข้าไปสู่จีน แต่พื้นที่การลงทุนที่จะได้รับประโยชน์จาก CEPA อย่างเต็มที่ ยังคงจำกัดอยู่ภายในมณฑลกวางตุ้ง เท่านั้น การจะขยายพื้นที่การลงทุนไปสู่มณฑลอื่น จึงจำเป็นจะต้องอาศัยสายป่าน และความสัมพันธ์ที่ดีกับหุ้นส่วนชาวจีน และรัฐบาลท้องถิ่นของจีน ซึ่งปัจจัยทั้งสอง ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในจีน นอกเหนือไปจากความรู้ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต่างชาติขาดไม่ได้

อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบภายในประเทศที่รัฐบาลจีนออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งยวดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ปีนี้ โดยเป็นการรวบรวมกฎหมายหลายร้อยฉบับให้อยู่ในกฎหมายเพียงฉบับเดียว และเพิ่มบทลงโทษต่อผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าด้อยคุณภาพให้แก่ประชาชน หลังจากเกิดกรณีนมผงปนเปื้อนสารเมลามีน ทำให้เด็กทารกจำนวนมากป่วยและเสียชีวิตเมื่อปีก่อน

อีกทั้งกฎหมายว่าด้วยสัญญาการจ้างงานที่ออกมาใหม่ตั้งแต่ปี 2551 เพิ่มการคุ้มครองคนงานมากขึ้น ทำให้นายจ้าง ไล่พนักงานออกได้ลำบากขึ้น ลดระยะการทดลองงานให้เป็นไปตามระยะเวลาของสัญญาจ้างงาน เช่นหากสัญญาจ้างมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนถึง 1 ปี อนุญาตให้นายจ้างบังคับทดลองงานได้เพียง 1 เดือน เท่านั้น และนายจ้างสามารถให้พนักงานแต่ละรายทดลองงานได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยไม่สามารถต่ออายุการทดลองงานของพนักงานได้ (ต่างจากไทยที่นายจ้างหลายรายต่ออายุการทดลองงานของพนักงานไปเรื่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายสวัสดิการในการทำงานให้แก่คนงาน) ซึ่งกฎหมายที่เข้มข้นดังกล่าว ในทางหนึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เป็นการเพิ่มความคุ้มครองให้แก่คนงาน แต่อีกนัยหนึ่งก็ย่อมหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับนายจ้าง ทำให้โรงงานและบริษัทหลายร้อย แห่งปิดตัวลงและย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้

นอกจากนี้ วิกฤติเศรษฐกิจที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ ทำให้รัฐบาลจีนออก นโยบาย "ซื้อสินค้าจีน" เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวอาจไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกมากนัก เนื่องจากเป็นนโยบาย ที่มุ่งประเด็นไปยังธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้างของรัฐ (government procurement) เสียมากกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะมีผู้ประกอบการภายในประเทศบางรายออกมาเรียกร้องว่ารัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งเลือกปฏิบัติ และนิยมซื้อสินค้าและทำธุรกิจกับบริษัทต่างชาติมากกว่าบริษัทภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแต่ละประเทศเกรงว่านโยบายดังกล่าวของจีนจะเป็นการฉวยโอกาสใช้นโยบายปกป้องตลาดของตนเอง (protectionism) โดยใช้วิกฤติเศรษฐกิจเป็นข้ออ้าง แต่สำหรับในธุรกิจค้าปลีกแล้ว สินค้าส่วนใหญ่ที่มีวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างต่างๆ ในจีน มักเป็นสินค้าที่ผลิตในจีนเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว นโยบาย "ซื้อสินค้าจีน" จึงคงจะไม่มีผลกระทบต่อสินค้าจากไทยมากนัก

สิ่งที่ไทยน่าจะได้ประโยชน์โดยตรง จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน คือการส่งออกผลไม้ไทยไปสู่จีน เนื่องจากปัจจุบันผลไม้ไทยที่ได้รับการนำเข้าสู่ประเทศจีนนั้นไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรแล้ว นโยบายล่าสุดของห้างเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยที่ประสานงานกับเทสโก้ในประเทศอังกฤษ และสถานทูตไทยในกรุงลอนดอน เพื่อโปรโมตผลไม้ไทยในเทสโก้ทุกสาขาทั่วสหราชอาณาจักร ภายใต้ชื่องาน "Health and Tasty from Thailand" ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2552 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีที่ไทยมีกับจีน โปรโมตผลไม้ไทยในห้างค้าปลีกต่างๆ ในจีน อย่างไรก็ตาม ปัญหาระยะทางที่ยาวไกล ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งตลาดกระจายสินค้าผลไม้จากไทยไปทั่วประเทศจีนที่มีอยู่ไม่กี่แห่ง เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ยังคงต้องการได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง หากไทยต้องการจะใช้

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง "เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการเข้าสู่ตลาดจีนของภาคบริการไทย" โดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (www.itd.or.th)
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นจีน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

การเติบโตและการพัฒนาของตลาดค้าปลีกจีน
------------------------------------------------
ด้วยจานวนประชากรอันมหาศาล และการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ทาให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีกาลังซื้อมากมาย ซึ่งสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างถลิวหา จากสถิติของ
ทางการจีนพบว่า ธุรกิจค้าปลีกของจีนขยายตัวถึงระดับ 2 หลักต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และปัจจุบัน
ชาวจีนใช้จ่ายเงินเกือบ 20 ล้านล้านหยวนต่อปีเพื่อซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภค
การเติบโตของกลุ่มคนชั้นกลางชาวจีนที่คาดว่าจะขึ้นไปแตะจานวน
900 ล้านคนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ทาให้เป็นโอกาสที่ดีสาหรับธุรกิจค้าปลีก
โดยเฉพาะช่องทางจัดจาหน่ายสมัยใหม่ที่มีรูปแบบทางธุรกิจที่ง่ายต่อการขยายสาขา
และเริ่มขยายออกไปยัง “เมืองเล็กเมืองน้อย” แม้กระทั่งในด้านซีกตะวันตกของจีน
ในปัจจุบัน
ร้านค้าปลีกสมัยใหม่เหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบในจีน ทั้งที่เป็นดิสเค้าท์สโตร์ (Discount
Store) ไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) อาทิ วอล-มาร์ท (Wal-
Mart) อาร์ที-มาร์ท (RT-Mart) คาร์ฟู (Carrefour) จากฝรั่งเศส โลตัส ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ (Lotus Super
Center) จากไทย และเทสโก้ (Tesco) ของอังกฤษที่ซื้อกิจการของไฮ-มอลล์ (Hymall) แต่ก็ยังวิ่งไล่ตามคู่แข่ง
จากต่างประเทศอยู่หลายขุม รวมไปถึงร้านจาหน่ายสินค้าเฉพาะด้าน (Specialized Shop) ที่กาลังได้รับ
ความนิยมเช่นกัน อาทิ สินค้าเฟอร์นิเจอร์และของใช้ของตกแต่งบ้านอย่างอีเกีย (Ikea) จากสวีเดน บีแอนด์คิว
(B & Q) ของอังกฤษ หรือสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอย่างโกเม โฮมแอพพลายแอนซ์ (Gome Home
Appliance) หรือ “กั๋วเหม่ย” หรือร้านค้าส่งสาหรับสมาชิก (Membership Store) เช่น เมโทร (Metro)
ของเยอรมัน หรือแม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store)
อย่างเซเว่น-อีเล็ฟเว่น (7-Eleven) ของญี่ปุ่น ที่ “ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด”
ทุกหัวระแหงในเมืองใหญ่ของจีน
ประการสาคัญ การเติบโตของตลาดค้าปลีกจีนยังไม่
หยุดแค่นั้น เพราะนอกจากจะเดินหน้าขยายตัวต่อไปตามการเติบโตของ
เศรษฐกิจและกาลังซื้อของชาวจีนแล้ว ยังจะพัฒนาในเชิงคุณภาพและ
ความสลับซับซ้อน ทาให้การแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกเพิ่มสูงขึ้น เกิดการพัฒนาในเชิงของคุณภาพของสินค้า
และการให้บริการ ... และขยายต่อไปยังโลกการค้าออนไลน์ ...
สถานการณ์ตลาดค้าปลีกในปัจจุบัน ... เติบโตเร็ว
เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2555 ผมมีโอกาสได้อ่านบทความเกี่ยวกับตลาดค้าปลีกของจีน เขียน
โดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ โรกาวสกี (Robert A. Rogowsky) ประจาสถาบันว่าด้วยการศึกษาระหว่าง
ประเทศด้านการค้าและการพัฒนาแห่งมอนเทอเรย์ (Trade and Development Monterey Institute for
International Studies) แห่งสถาบันด้านการฑูตเชิงการค้าและการพาณิชย์ (Institute for Trade and
Commercial Diplomacy) ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ (China Daily) แล้ว เห็นว่าข้อมูลในบทความ
ดังกล่าวมีความน่าสนใจหลายประการ กอรปกับว่ามีผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะทาตลาดสินค้าอาหารในจีน
ซักถามข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีกของจีนเข้ามาพอดี ผมเลยรวบรวมข้อมูลตลาดค้าปลีกของจีนมาแลกเปลี่ยน
กับผู้อ่าน ดังนี้
2
1. ตลาดการค้าปลีกของจีน ... เติบโตเร็ว
และทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจและ
รายได้ของชาวจีน ทาให้ผู้บริโภคชาวจีนมีกาลังซื้อเฉลี่ยต่อหัว
มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 13,400 หยวนในปี 2551
เป็นกว่า 15,000 หยวนในปี 2555 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
17,000 หยวนในปี 2558
ปัจจุบัน มูลค่าการค้าปลีกของจีนมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 14 ของเศรษฐกิจจีนโดยรวม
และมีอัตราขยายตัวสูงที่สุดในโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยเสริมได้แก่ การขยายตัวของชุมชนเมือง
(Urbanization) ซึ่งเป็นทาเลหลักของช่องทางจัดจาหน่ายสมัยใหม่ นับแต่ปี 2523 จานวนประชากรในชุมชน
เมืองได้เพิ่มขึ้นกว่า 200% และ ณ สิ้นปี 2554 มีชาวจีนกว่าครึ่งหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมือง
การศึกษาของ McKinsey ยังพบว่า ราว 2 ใน 3 ของชาวจีนจะอาศัยในเมืองในปี 2568
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในอีก 13 ปีข้างหน้า จีนจะมีจานวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใน
เมือง โดยมีเมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนจานวน 221 เมือง (ยุโรปมีเพียง 35 เมือง) และเมืองที่มี
ประชากรมากกว่า 5 ล้านคนอยู่อย่างน้อย 23 แห่ง ในจานวนนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนถึง
8 แห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เซินเจิ้น อู่ฮั่น ฉงชิ่ง เฉิงตู และกวางโจว
ชุมชนเมืองเหล่านี้จะกลายเป็นศูนย์กลางการค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งจะสร้างผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจถึงร้อยละ 90 ของเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่การบริโภคและรายได้เพื่อการจับจ่ายใช้สอย
โดยรวมจะมากกว่าของเยอรมนีถึง 2 เท่าตัว คนเหล่านี้ต้องการมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และโครงสร้าง
การค้าปลีกที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นสิ่งอานวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสาหรับคนเมืองดังกล่าว
อย่างไรก็ดี โครงสร้างตลาดการค้าปลีกของจีนในปัจจุบันยังมีลักษณะที่ “กระจายตัวเป็น
ส่วน ๆ” (Fragmented) โดยจีนมีจานวนกิจการค้าปลีกถึง 549,000 ราย ผู้ค้าปลีกเหล่านี้ส่วนใหญ่เปิด
สาขาภายในเมืองหรือมณฑลเดียวเท่านั้น ขณะเดียวกันผู้ค้าปลีกใหญ่สุด 100 อันดับแรกของจีนมีสัดส่วน
เพียงร้อยละ 11 ของมูลค่าตลาดโดยรวมเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
ตลาดค้าปลีกมิได้ถูกครอบงาโดยผู้ประกอบการค้าปลีกรายใดรายหนึ่ง
เหมือนอย่างเช่นที่วอล-มาร์ทยึดครองตลาดสหรัฐฯ เอาไว้ได้ในช่วงทศวรรษที่
ผ่านมา ปัจจุบัน วอล-มาร์ทในจีนมีสาขาราว 340 แห่งใน 125 เมือง
ว่าจ้างแรงงานจีนถึง 90,000 คน และมียอดขายปีละประมาณ 47,000
ล้านหยวน แต่คิดเป็นเพียงราวร้อยละ 3 ของยอดขายของตลาดจีน และไม่
ถึงร้อยละ 3 ของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งสะท้อนว่า วอล-มาร์ทยังคงเล็กมากในตลาดจีนและเมื่อเทียบกับในตลาด
จีน อย่างไรก็ดี ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ก็มีแนวโน้วที่จะมีสัดส่วนทางการตลาดเพิ่มขึ้น ผู้ค้าปลีกชั้นนา 20 รายแรกมี
สัดส่วนทางการตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.1 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 8.9 ในปี 2554
ประการสาคัญ ร้านค้าปลีกชั้นนาเหล่านี้มิได้มุ่งจับตลาดเฉพาะชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ใน
เมืองหลักของจีนดังเช่นในอดีตอีกต่อไป ความมั่งคั่งของชาวจีนที่พุ่งทะยาน
และกระจายตัวอย่างรวดเร็วทาให้ร้านค้าปลีกเหล่านี้หันมาจับตลาดผู้บริโภค
ชาวจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวที่มีฐานะดี คนรวยของจีนเหล่านี้มี
อายุเฉลี่ยน้อยกว่าของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นถึงราว 20 ปี ซึ่งหมายความว่าคน
เหล่านี้จะเป็นลูกค้าที่ดีไป อีกนานหลายสิบปี กิจการค้าปลีกหลายรายเริ่ม
ปรับกลยุทธ์เพื่อจับตลาดดังกล่าว อาทิ การปรับแนวทางการขยายสาขาของ
3
ซีพี โลตัสที่หันมามุ่งเน้นสาขาขนาดเล็กและมีลักษณะเฉพาะมากขึ้น อาทิ โลตัส ไลฟ์สเตชั่น (Lotus Life
Station) และบาซาร์ (Bazaar) เพื่อแตกตัวเข้าจับกลุ่มเป้าหมายระดับที่สูงขึ้นและให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของ
คนเมืองที่กาลังขยายตัวในเมืองใหญ่ของจีน
นอกจากนี้ ความมั่งคั่งที่กระจายตัวในเชิงภูมิศาสตร์ของจีนก็ส่งผลให้คนที่อาศัยอยู่ใน
เมืองรองระดับที่ 2 และ 3 (2nd & 3rd Tier Cities) มีฐานะดีขึ้น และกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่น่าสนใจ
ของผู้ค้าปลีกตามไปด้วย ท่ามกลางการสนับสนุนส่งเสริมของรัฐบาลจีน ผู้นาตลาดค้าปลีกของจีนยังคงเป็น
ผู้ประกอบการภายในประเทศ ซึ่งนาโดยกิจการของ China Resources Enterprise (CRE) ที่มีกิจการค้า
ปลีกหลากรูปแบบจานวนกว่า 4,000 แห่งภายใต้ชื่อ CR Vanguard, Suguo และ Ole’ และตามมาติด ๆ
ด้วยกลุ่มไป่เหลียน (Bailian Group) เจ้าของร้านค้าปลีกชื่อดังอย่าง “เหลียนฮัว” (Lianhua)
ขณะเดียวกัน วงการค้าปลีกในจีนที่มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น ก็มีข่าวความ
เคลื่อนไหวที่น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา อาทิ ข่าววอล-มาร์ท ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ของโลกจากสหรัฐฯ ที่ทุ่มเงินทุน
ขยายสาขาในจีนถึงเฉลี่ยปีละ 50 แห่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข่าวการก้าวแซงคาร์ฟูของอาร์ที-มาร์ทจนขึ้น
ครองอันดับ 1 ในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตของจีน ข่าวการปิดบริการจานวน 4 สาขาของเทสโก้ หรือแม้กระทั่ง
ข่าวการปิดกิจการของเบสท์-บาย (Best-Buy) ในตลาดจีนเมื่อปีที่ผ่านมา
แต่หลายฝ่ายก็ยังประเมินว่า ตลาดค้าปลีกของจีนยังอยู่ในระยะแรกเท่านั้น และยังจะ
สามารถเติบโตได้อีกมากในอนาคต เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีรายได้เฉลี่ย
ต่อหัวค่อนข้างต่าและมีลักษณะที่กระจุกตัวอยู่มาก คนชั้นกลางในจีนยังมี
รายได้เฉลี่ยต่อหัวที่น้อยกว่าของสหรัฐฯ มาก โดยประมาณว่าเพียงร้อยละ
1.4 ของผู้บริโภคจีนเท่านั้นที่มีรายได้มากกว่า 100,000 หยวนต่อปี และ
ร้อยละ 11 ที่มีรายได้ระหว่าง 34,000-100,000 หยวนต่อปี นี่อาจเป็น
เหตุผลสาคัญว่า ทาไมชาวจีนจึงยังมองว่าร้านค้าปลีกชั้นนาเหล่านี้มีลักษณะ
เสมือน “ร้านเฉพาะทาง” และดู “หรูหรา” สาหรับตลาดจีน
2. แนวโน้มการค้าปลีกของจีนในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา จาแนกได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่
2.1 ระดับการแข่งขันที่สูงขึ้น ในปี 2554 กิจการค้าปลีกชั้นนาของโลก 25 อันดับ
แรกล้วนเข้ามาประกอบการในตลาดจีนเรียบร้อยแล้ว แต่ผลการถาโถมเข้ามาของกิจการค้าปลีกชั้นนาของ
ต่างชาติเหล่านี้ได้นาไปสู่การแข่งขันที่รุนแรงในตลาดค้าปลีกของจีน โดยกิจการค้าปลีกของต่างชาติบางราย
อย่างเช่น อีเกีย เลือกเข้าสู่ตลาดอย่างระมัดระวัง แต่ส่วนใหญ่ต่างแย่งชิงกันเข้าสู่ตลาดจีนกันเป็นแถว แถมยัง
มีแผนที่จะขยายเครือข่ายสาขากันอีกมากในอนาคตอันใกล้ ตัวอย่างเช่น คาร์ฟูร์และเทสโก้ต่างวางแผนจะเปิด
สาขาใหม่ปีละ 25 แห่ง และ 16 แห่ง ตามลาดับ ขณะที่เมโทรมีแผนขยายสาขาเป็น ๑๐๐ แห่งภายในปี
2558 นอกจากนี้ วอล-มาร์ทยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นผ่านการทุ่มเงินนับพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซื้อหุ้นส่วนถึง
ร้อยละ 35 ของทรัส-มาร์ท (Trust-Mart) และกิจการของอีฮ้าวเตี้ยน (Yihaodian) หนึ่งในธุรกิจเว็บไซต์ด้าน
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจีน
เอที เคียร์นีย์ (A.T. Kearney) บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ
คาดการณ์ว่า ด้วยการเติบโตของกาลังซื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งของกลุ่มคน
ชั้นกลาง ธุรกิจค้าปลีกจะเติบโตได้ในอัตราเลขสองหลัก ต่อไปในอนาคต
โดยมีกิจการภายในประเทศเป็นผู้นาตลาด กั๋วเหม่ยซึ่งเป็นผู้นาการ
จาหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขยายสาขาถึงร้อยละ 20
โดยเฉพาะในเมืองขนาดเล็ก ขณะที่กิจการค้าปลีกของต่างชาติรายใหญ่ก็
4
กาลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเป้าไปที่เมืองระดับรองเช่นกัน อย่างไรก็ดี ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น
และสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตในอัตราที่ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา ทาให้ระดับมาร์จินของธุรกิจค้าปลีกลดลงจาก
ร้อยละ 12 เหลือร้อยละ 6 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้กิจการค้าปลีกของต่างชาติหลายรายจาเป็นต้อง
ปรับแต่งกลยุทธ์ใหม่ และปรับลดการเปิดสาขาต่ากว่าเป้าหมายเดิมที่วางไว้ ไม่เว้นแม้แต่รายใหญ่อย่างวอล-
มาร์ทและเทสโก้
จานวนสาขาของกิจการค้าปลีกต่างชาติในจีน ณ สิ้นปี 2554
วอล-มาร์ท 267
คาร์ฟูร์ 203
เทสโก้ 103
ล็อตเต้ มาร์ท 95
โลตัส 71
เมโทร 54
โอชอง 45
2.2 ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ปัจจุบัน แปลงเกษตรในจีนยังมีขนาดเล็กและมีมาตรฐานการ
เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ทาให้การรวบรวมสินค้าและจัดการด้านลอจิสติกส์และมาตรฐานสินค้า
จึงเป็นเรื่องยุ่งยากมาก ดังนั้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงผลการ
ดาเนินงานนับเป็นปัจจัยที่สาคัญอย่างยิ่งยวดในสภาวะตลาดที่มีการแข่งขันด้านราคาอย่างเข้มข้น การ
ดาเนินการบางส่วนเป็นสิ่งที่ง่าย เช่น เทคโนโลยีด้านแสงสว่าง ระบบความร้อน และระบบระบายอากาศเพื่อ
ลดต้นทุนด้านพลังงาน ขณะที่การดาเนินการหลายอย่างเป็นพื้นฐานสาคัญในเชิงโครงสร้าง เช่น ศูนย์กระจาย
สินค้าระดับภูมิภาค การจัดการสินค้าคงคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และห้องเก็บอาหารอุณหภูมิต่ามี
ความสาคัญต่อการค้าปลีกอาหารที่ทันสมัย
นอกจากนี้ กฎระเบียบด้านความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์ และรสนิยม
ของคนชั้นกลางก็ต้องการการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการจัดจาหน่ายสมัยใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น และยังช่วย
ให้สินค้าจีนที่จับตลาดระดับบน (High-End Market) เป็นที่น่าสนใจมากขึ้นในสหรัฐฯ และยุโรปเมื่อสินค้า
เหล่านั้นสอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศปลายทาง
การศึกษาล่าสุดพบว่า ผู้ค้าปลีกต่างชาติในจีนมุ่งเน้น “ภาพลักษณ์ของตราสินค้า”
เป็นสาคัญ มากกว่าการขยายกิจการเพียงอย่างเดียว เช่น เทสโก้คาดหวังว่าจะเอาประโยชน์จากประสิทธิภาพ
การดาเนินการ และการสร้างความภักดีต่อตราสินค้า มากกว่าขนาดของกิจการ ขณะที่บริษัทจีนให้
ความสาคัญกับ “ข้อมูลและความสามารถด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร” อันนับเป็นการมุ่งเน้นถึงประสิทธิภาพ
ของกระบวนการด้านธุรกิจที่มีรากฐานด้านคอมพิวเตอร์ มิใช่เพียงการขายออนไลน์
ขณะที่งานวิจัยของ Sloan School of Management แห่ง
สถาบันการศึกษาชั้นนาของโลกอย่าง MIT ค้นพบว่า ในทุก ๆ หนึ่งเหรียญ
สหรัฐฯ ของอสังหาริมทรัพย์ โรงงาน หรือเครื่องมืออุปกรณ์พื้นฐานที่บริษัท
มีอยู่ในสหรัฐฯ ผลตอบแทนมีมากกว่ามูลค่าตลาดเฉลี่ยมากกว่า 1 เหรียญ
สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ธุรกิจที่อาศัยคอมพิวเตอร์และการจัดการองค์กรที่ดีมี
มูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 10 เหรียญสหรัฐฯ ในตลาดสหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่า
รวมถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเรื่องสาคัญ
5
ขณะที่กิจการที่เกี่ยวข้องถูกกดดันให้เข้าถึงเมืองใหญ่ด้านซีกตะวันตก โครงสร้าง
และกระบวนการด้านลอจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจึงนับว่ามีความสาคัญอย่างมาก เหล่านี้นับเป็น “กระดูกสัน
หลัง” ของการจัดการสินค้าคงคลัง ตัวอย่างที่ดีได้แก่ การลงทุนในห่วงโซ่อุปทานและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ของ “ซูหนิง” (Suning) ผู้จาหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทาให้ขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นและ
จนเป็นส่วนสาคัญที่ทาให้เอาชนะ “กั๋วเหม่ย” ได้ในเวลาต่อมา การจัดการธุรกิจค้าปลีกระดับโลกจะช่วยให้เกิด
มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสาหรับจีน และเป็นประโยชน์ต่อเนื่องไปยังภาค
ธุรกิจอื่น ๆ
โครงสร้างการค้าปลีกที่สลับซับซ้อนเพิ่มขึ้น
ของจีนทาให้จีนกลายเป็นตลาดที่ “ยากเย็น” ยิ่งขึ้นของบริษัทต่างชาติ
กิจการค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าของจีนบางส่วนต้องพยายามปรับการ
บริหารจัดการให้สอดรับกับท้องถิ่นเพื่อความสาเร็จของธุรกิจ อาทิ แวง
การ์ด (Vanguard) ในเมืองเซินเจิ้น (Shenzhen) และยงฮุย
(Yonghui) แห่งมณฑลฟูเจี้ยน (Fujian) ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทีมบริหารรุ่นใหม่ในการขยายกิจการและ
แข่งขันกับผู้ประกอบการค้ารายใหญ่อย่างวอล-มาร์ทและคาร์ฟูร์ ขณะที่วาฮาฮา (Wahaha) ทิงอี้ (Tingyi)
และหวังเหล่าจี๋ (Wanglaoji) ก็ใช้ความเข้าใจและเข้าถึง “ความเป็นจีน” แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดจากค่าย
น้าดารายใหญ่ของโลกอย่างโคคา-โคล่า (Coca-Cola) และเป๊ปซี่ (Pepsi)
ไฮเออร์ (Haier) ผู้ผลิตตู้เย็นอันดับ 4 ของโลกก็ยังสามารถยึดครองตลาด
ภายในประเทศไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แม้กระทั่งผู้ผลิตผงซักฟอกท้องถิ่นอย่างไน้ซ์กรุ๊ป (Nice Group) และ
กว่างโจวลิบี้เอ็นเตอร์ไพร้ซ์กรุ๊ป (Guangzhou Liby Enterprise Group) ก็ยังคงครองตลาดผงซักฟอก
ประมาณร้อยละ ๓๕ ของตลาดผงซักฟอกโดยรวมของจีนเอาไว้ได้ด้วยแนวคิดและวิธีการดังกล่าว
ระดับการแข่งขันที่เข้มข้นดังกล่าวได้นาไปสู่สิ่งดี ๆ ต่อผู้บริโภคมากมาย อาทิ การ
แข่งขันด้านราคา การบริการลูกค้า การคืนของได้โดยไม่มีเงื่อนไข สภาพแวดล้อมที่ดีในการจับจ่ายใช้สอย การ
ให้ความสาคัญมากขึ้นกับคุณภาพและผู้บริโภค ความยืดหยุ่นของผลิตภัณฑ์และบริการ เหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วย
ให้ประสบการณ์ในการซื้อหาสินค้าของผู้บริโภคโดยรวมดีขึ้น
2.3 การเพิ่มขึ้นของโครงสร้างกฎระเบียบที่สอดคล้องกัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
รัฐบาลจีนได้ออกกฎระเบียบด้านการค้าปลีกที่สาคัญหลายฉบับ รวมทั้งกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ มาตรฐาน
ความปลอดภัยและคุณภาพอาหารที่เข้มงวด และกฎการป้องกันสิ่งแวดล้อม
นับแต่เกิดเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับนมผงซานลู่ (Sanlu) เมื่อปี ๒551 รัฐบาล
กลางและรัฐบาลท้องถิ่นได้เริ่มให้ความใส่ใจในเรื่องการควบคุมความ
ปลอดภัยและคุณภาพของอาหารมากขึ้น
ผลจากการนี้ ทาให้เราสังเกตเห็นบริษัทจานวนมากเพิ่มความ
พยายามในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของตนเองและของกิจการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ผู้ค้าปลีกต่าง
กาหนดว่าซัพพลายเออร์จาเป็นต้องผ่านการรับรองของระบบความปลอดภัยของอาหารและการปรับปรุง
คุณภาพ อาทิ QS และ ISO 9001 กลยุทธ์ทางการตลาดระหว่างประเทศด้านคุณภาพ คุณค่า และบริการที่
เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ช่วยให้ร้านค้าปลีกของจีนสามารถยกระดับภาพลักษณ์ของตราสินค้าของตนเอง
ผู้บริโภคที่มักจะจ่ายแพงกว่าให้แก่แบรนด์ต่างประเทศเพื่อแลกกับความมั่นใจในเรื่องการรับประกันคุณภาพ
และความปลอดภัย จะรู้สึกสบายใจมากขึ้นกับแบรนด์จีน และแบรนด์จีนเหล่านี้ก็จะน่าสนใจมากขึ้นในตลาด
ต่างประเทศ
6
นอกจากนี้ ผลจากกฎหมายแรงงานฉบับใหม่และกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่
เข้มงวดมากขึ้นยังนาไปสู่การขึ้นค่าจ้างแรงงานราวร้อยละ ๔๐ ความเข้มงวดกวดขันให้เป็นไปตามกฎระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาความปลอดภัยของอาหารและการพัฒนาที่ยั่งยืน และภาษีที่
สูงขึ้นได้ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น ต้นทุนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของภาคการค้าปลีกสมัยใหม่ระดับโลก
2.4 การเปลี่ยนไปใช้การค้าปลีกออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) การวิจัย
หนึ่งยังประเมินว่า ภายในปี ๒558 จีนจะมีจานวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง ๗๐๐ ล้านคน ซึ่งเท่ากับของ
สหรัฐฯ อินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย และอินโดนีเซียรวมกัน ในปี 2554 พลเมืองเน็ตชาวจีนใช้เวลารวมกันมากถึง
๑,๙00 ล้านชั่วโมงในการเล่นอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ แม้ว่าโลกอินเตอร์เน็ตจะเป็นเรื่องใหม่สาหรับคนชรา
และผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบท แต่อีกไม่นานพวกเขาเหล่านั้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตตัวยงเช่นกัน
จากสถิติยังพบว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่าน
มา ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ในจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในเชิง
ปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้การซื้อหาสินค้าออนไลน์กาลัง
กลายเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ในโลก
อินเตอร์เน็ตและมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในจีน โดยร้อยละ 36
ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตซื้อหาสินค้าในโลกออนไลน์ในปัจจุบัน และคาด
ว่า สัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๕๐ ในอนาคตอันใกล้ ซึ่ง
นั่นสะท้อนว่า ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจีนจะเติบโตขึ้นอีกมาก
บอสตันคอนซัลติ้งกรุ๊ป (Boston Consulting Group) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนาของ
โลกรายงานว่า จีนมีผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ถึง ๑๙๓ ล้านคน ซึ่งมากกว่าของสหรัฐฯ และมากกว่าของอังกฤษถึง
5 เท่า ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการค้าปลีกออนไลน์ในจีนจะขยายตัวถึงร้อยละ 30 ต่อปี อันจะส่งผลให้ตลาดการค้า
ปลีกออนไลน์ของจีนจะมีมูลค่าเท่ากับของสหรัฐฯ ภายในปี 2558 โดยอาจมีสัดส่วนถึงร้อยละ 8 ของมูลค่า
ตลาดค้าปลีกโดยรวมของจีน หรือราว 1.5 ล้านล้านหยวน
ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในจีนต่างกาลังเข้าสู่ตลาดการค้าออนไลน์ โดยนักการตลาดบาง
คนถึงกับกล่าวเอาไว้ว่า บริษัทต่าง ๆ จะไม่สามารถเข้ามามีบทบาทนาในตลาดจีนได้หากไม่เข้ามามีส่วนร่วมใน
โลกออนไลน์ จากข้อมูลของ China Chain Store & Franchise Association (CCFA) พบว่า ในจานวน
ผู้ค้าปลีกชั้นนา 100 อันดับแรกในจีน ราว 40 รายที่เข้าสู่โลกการค้าออนไลน์ในปัจจุบัน
อาทิ วอล-มาร์ทผ่าน Yihaodian.com และกั๋วเหม่ยผ่าน Coo8.com ขณะที่ร้านค้า
ปลีกจานวนมากเปิดบริการผ่านทาง Tmall.com ซึ่งเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ของกลุ่ม
อาลีบาบา (Alibaba Group)
แต่ละบริษัทยังพยายามสร้างความสามารถในการแข่งขันผ่านการนาเสนอสินค้าและ
บริการที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์แบบ C2C ของเถาเป่า (Taobao) นาเสนอสินค้าอุปโภคบริโภค
มากกว่า ๕๐๐ ล้านรายการ มีผู้ประกอบการมากกว่า ๕ ล้านราย และมียอดขาย ๕๐,๐๐๐ รายการต่อนาที
แตกต่างจากอีเบย์ (eBay) ที่สินค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อขายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์นี้เป็นสินค้าใหม่
นอกจากนี้ กิจการค้าปลีกยังมิเพียงใช้ประโยชน์จากโลกออนไลน์เพื่อการ
“จาหน่ายสินค้า” ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถสานสร้าง “ความสัมพันธ์” กับลูกค้าชาวจีนซึ่งใช้เวลา
ค่อนข้างมากในการท่องอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าข้อมูลกิจการและสินค้า โดยประมาณ 1 ใน 4 ของผู้บริโภค
ค้นหาข้อมูลออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ และอีกร้อยละ ๒๙ ค้นคว้าและซื้อสินค้าออนไลน์
7
จากการศึกษายังพบว่า บริษัทของจีนดูเหมือนจะให้ความสาคัญกับช่องทาง
“การค้าออนไลน์” มากกว่าคู่แข่งจากต่างประเทศ ขณะที่กิจการต่างชาติให้ความสาคัญกับการสร้าง
“ความภักดีต่อตราสินค้า” กล่าวคือ บริษัทจีนพยายามใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นกลไกหลักในการ
ขยายฐานลูกค้าและเข้าถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง ๒๐-
๔๐ ปีซึ่งมีความสาคัญกับธุรกิจอย่างมากในระยะยาว การวิจัยดังกล่าวยังระบุข้อมูลที่
น่าสนใจว่า มากกว่าร้อยละ ๔๐ ของกิจการต่างประเทศยังไม่มีแผนการที่จะมุ่งเน้นกับ
การขายออนไลน์ ขณะที่ร้อยละ ๙๓ ของบริษัทจีนประกอบการในโลกการค้าออนไลน์
อยู่ในปัจจุบันหรือมีแผนที่จะเข้าสู่โลกการค้าออนไลน์ในเร็ว ๆ นี้
บทสรุป
การขยายตัวของชุมชนเมืองและคนชั้นกลางในจีนจะมีส่วนสาคัญในการขับเคลื่อนการเติบโต
ของภาคการค้าปลีกของจีนในอนาคต กลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ล้วนกาลังแสวงหาธุรกิจค้าปลีกที่ทันสมัยเพื่อการ
จับจ่ายใช้สอยที่ “คุ้มค่า” และ “สะดวกสบาย” ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน การเติบโตของภาคการค้าปลีกในจีนก็มี
ความสาคัญต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาโดยรวมของจีน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการลงทุน จ้างแรงงาน การเพิ่ม
ระดับการแข่งขัน การลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและราคาจาหน่ายปลีก และคุณภาพของสินค้า และบริการ
นักวิชาการหลายฝ่ายเชื่อกันว่า เศรษฐกิจของประเทศ
หนึ่ง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่อยู่บนรากฐานของการบริโภคที่
แข็งแกร่งเพียงใด จะไม่สามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่หากปราศจาก
ระบบการค้าปลีกและการจัดจาหน่ายที่ได้รับการพัฒนาอย่าง
พร้อมสรรพ นอกจากนี้ นวัตกรรมและผลิตภาพของภาคการค้าปลีกยัง
ล้วนมีผลกระทบต่อภาคการผลิต การเกษตร และบริการมากกว่า
อุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งพัฒนาการของตลาดค้าปลีกของจีนที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนจะสะท้อนและ
ยืนยันหลักวิชาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี และน่าจะช่วยให้เราสามารถคาดการณ์แนวโน้มของวงการค้าปลีก
ของจีนในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ขณะที่ธุรกิจการค้าปลีกของจีนนับเป็นหนึ่งในภาคการตลาดที่น่าสนใจที่สุดในทศวรรษหน้า
โดยอุตสาหกรรมค้าปลีกของจีนจะมุ่งหน้าไปสู่ช่วงของ “ทวีกาลัง” จากการผสมผสานของปัจจัยเชิงบวก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจานวนผู้บริโภคที่มากมายและสลับซับซ้อน พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างใหญ่ ระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีและทันสมัย และโครงสร้างกฎระเบียบที่ลึกซึ้งมากขึ้นของจีน
ดังนั้น เราจึงควรจับตามองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด เพราะวิวัฒนาการของ
วงการค้าปลีกจีนในครั้งนี้จะมิเพียงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของจีนเท่านั้น แต่จะยังส่งผลกระทบ
ไปยังตลาดโลกทั่วทุกหัวระแหงอีกด้วย ...
---------------------------------------------
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร
อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์)
นางสาวณิชา ดีบุก
นักศึกษาฝีกงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต
สานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นจีน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Lianhua Supermarket Holdings Co., Ltd. is engaged in the operation of chain stores, including supermarkets, hypermarkets and convenience stores, primarily in the Eastern Region of the People's Republic of China. The Company operates in three segments: hypermarkets chain operation, supermarkets chain operation and convenience stores chain operation. Its segments operate under the brand names of Century Mart, Lianhua Supermarket, Hualian Supermarket and Lianhua Quik. As of December 31, 2011, Lianhua Supermarket and its subsidiaries operated a total of 5,150 outlets spanning 19 provinces and municipalities across the nation. Its subsidiaries include Shenyang Century Lianhua Supermarket Co., Ltd., Tianjin Yishang Lianhua Supermarket Co., Ltd., Shanghai Century Lianhua Supermarket Development Co., Ltd., Hangzhou Lianhua Huashang Group Co., Ltd., Guangxi Lianhua Supermarket Joint Stock Co., Ltd., Shanghai Lianhua Supermarket Development Co., Ltd. and others.

http://markets.ft.com/research/Markets/ ... ?s=980:HKG
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นจีน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Company Background

Lianhua Supermarket Holdings Co., Ltd. (“Lianhua Supermarket” or the “Company”) commenced its business in Shanghai in 1991. In the past 21 years, it has developed into a nationwide chain retail operator with a full range of retail segments, expanding through a combination of organic growth, franchises and merger and acquisitions. As at 31 December 2011, Lianhua Supermarket and its subsidiaries (the “Group”) operated a total of 5,150 outlets (excluding those operated by the Company’s associated companies) spanning 19 provinces and municipalities across the nation. The Company has maintained its leading position in the fast moving consumer goods retail industry in the People’s Republic of China (the “PRC”). Lianhua Supermarket was one of the first Chinese retail chain operators to be listed on The Stock Exchange of Hong Kong Limited (the “Stock Exchange”), on 27 June 2003.
The Group operates in three main retail segments – hypermarkets, supermarkets and convenience stores, in order to cater for the diverse needs of consumers. These segments operate under the brand names of “Century Mart”, “Lianhua Supermarket”, “Hualian Supermarket” and “Lianhua Quik”, respectively. In recent years, “Lianhua Supermarket”, “Hualian Supermarket” and “Lianhua Quik” have been singled out as one of the excellent brands of the PRC by the Franchise Committee of the PRC Retail Chain Operations Association.

http://www.lhok.com.cn/view.php?c=en_&M ... stId=20001
netirut
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นจีน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Outlet Development
Lianhua
แนบไฟล์
4-3-2556 23-02-53.jpg

Nek
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 254
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นจีน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ กำลังต้องการข้อมูล และไม่รู้ว่าจะไปหาได้ที่ไหน
โพสต์โพสต์